ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานสูงวัย
นพ. สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ กรมควบคุมโรค
2
คำนิยาม “แรงงานสูงวัย”
อายุ Vs อายุที่เพิ่มขึ้น (Aging) ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตาม พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546) วัยแรงงาน วัยทำงาน (ช่วงอายุ 15 – 60 ปี) Older workers Aging workers
3
คำนิยาม “แรงงานสูงวัย”
Aging workers คือ ผู้ทำงานที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากที่มีผลเกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยเฉพาะในประเด็นของสมรรถนะในการทำงาน ในตลอดช่วงอายุเวลาการทำงานทั้งหมด จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า ความสามารถทางกายภาพในการทำงานจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 30 ปี และคนส่วนใหญ่จะเริ่มรับรู้ว่าความสามารถในการทำงานของตนจะมีสมรรถนะสูงสุดในช่วงอายุ 50 ปี ดังนั้นในมิติทางด้านอาชีวอนามัยจึงได้กำหนดเกณฑ์ Aging workers คือแรงงานที่มีอายุ ปีขึ้นไป ในการจัดการดูแลทางสุขภาพที่เกี่ยวกับงาน เพื่อที่จะป้องกันโรคหรือผลกระทบทางสุขภาพและเป็นการเตรียมตัวทางสุขภาพเพื่อให้มีความพร้อมในการทำงานและใช้ชีวิตในระยะต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
4
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยเฉพาะทางด้านอายุ
สาเหตุหลักคือ การมีลูกมากช่วงหลังสงครามโลก (Baby boom) การมีลูกน้อยในช่วงปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ดีขึ้น ประชาชนอายุยืนยาวขึ้น
9
อัตราการพึ่งพิงตามช่วงอายุ (The age dependency ratio)
หมายถึงอัตราจำนวนผู้ที่อยู่ในช่วงอายุวัยแรงงาน ต้องทำงานเพื่อดูแลกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงที่อยู่ในกลุ่มอายุอื่น (ที่ไม่สามารถทำงานหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเองได้) ได้แก่กลุ่มเด็ก (ช่วงอายุ ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ ปีขึ้นไป) ปัจจุบันค่าเฉลี่ยอัตราการพึ่งพิงตามช่วงอายุทั่วโลกอยู่ที่ 50 ผู้พึ่งพิง (dependents) ต่อจำนวนผู้ทำงาน 100 คน แต่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 ในยุโรปค่าอัตราจะเป็น 58 ต่อ 100 ในบางประเทศ เช่น ฟินแลนด์จะเป็น 66 ต่อ 100 เป็นต้น นอกจากการคำนวณอัตราดังกล่าวแล้ว ในสภาพความเป็นจริงพบว่าผู้ที่มีอายุในช่วง 55 ปีขึ้นไป ไม่ได้ทำงานหรือลาออกจากงานแล้วมีเป็นจำนวนมาก เช่น ในยุโรปพบว่าผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปที่ยังทำงานอยู่มีเพียง 60% เท่านั้น รวมทั้งในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ 14 – 19 ปี ส่วนใหญ่ยังไม่ทำงานเพราะกำลังศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นทำให้อัตราการพึ่งพิงมีจำนวนสูงมากขึ้น
11
ทิศทางการจ้างงานจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรอันเนื่องมาจากอายุ สรุปจากประสบการณ์ในยุโรป
ประชากรช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับวัยแรงงานทั้งหมด ที่จะอยู่ในตลาดแรงงานจะมีสัดส่วนสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 30% ในช่วง 25 ปีข้างหน้า วัยแรงงานที่อายุน้อยกว่า 25 ปี จะมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ทำงานที่อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนในการทำงานต่อลดลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัตราการพึ่งพิงจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วง ปีข้างหน้า
12
การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพตามอายุ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านกาย (Physical) การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ (Mental) การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม (Social) จะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงต่อการทำงาน
13
การเปลี่ยนแปลงทางกายต่อสมรรถนะการทำงาน (Physical work capacity)
ระบบอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่อาจมีผลต่อสมรรถนะการทำงาน ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โครงสร้างของร่างกาย ระบบประสาท
14
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
Maximum oxygen consumption (Vo2 max) จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุ 45 ปี จะลดลงถึง 25% ดังนั้นจะมีผลต่อการทำงานที่ต้องออกแรงมาก อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้ค่า Vo2 max คงที่หรือดีขึ้น ข้อแนะนำต่อการปรับสภาพการทำงาน จะต้องปรับสภาพการทำงานที่ต้องออกแรงมากให้ลดลง ตามอายุที่มากขึ้น ส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด
15
การเปลี่ยนแปลงของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
ค่า Maximum isometric trunk extension and flexion strength ภายหลังอายุ ปี จะลดลง % ภายในทุกๆ 10 ปี นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาบ่งชี้ว่า คนงานที่ต้องทำงานออกแรงทางกายเป็นประจำไม่ได้ช่วยป้องกันให้สภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง คนงานที่ต้องทำงานที่ต้องใช้แรงทางกาย จำเป็นต้องออกกำลังกายเสริม เพื่อให้คงสภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เหมาะสมกับอายุของตน สภาพการทำงานและการใช้ชีวิตนอกงาน (เช่น การชอบออกกำลังกาย) จะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ดังนั้นคนอายุ 65 ปีที่ออกกำลังกายเป็นประจำอาจมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากกว่าคนอายุ 45 ปีได้ มีการศึกษาพบว่าคนงานในสายการผลิต (Blue collar workers) มีสัดส่วนในการออกกำลังกายนอกงานน้อยมาก ข้อเสนอแนะในการปรับสภาพงานเช่นเดียวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
16
การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ (Mental functional capacity)
สมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ หมายถึง ความสามารถในการทำงานอย่างหลากหลายที่ต้องอาศัยความเฉลียวฉลาดและความสามารถทางจิตใจในด้านต่างๆ เช่น สมรรถนะทางด้าน cognitive functions และสมรรถนะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสภาพแวดล้อมภายนอก Cognitive functions ได้แก่ สมรรถนะในด้านการรับรู้ ความจำ ความสามารถในการเรียนรู้ การคิด และการสื่อสารในการใช้ภาษา สมรรถนะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ความสามารถในการรับรู้ตัวตน การเห็นคุณค่าของตน การเห็นความสามารถของตน และการควบคุมตนเองได้ การเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เกิดกับจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน มักจะผสมผสานไปกับการเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายด้วย โดยเฉพาะระบบการรับรู้ทางประสาท เช่น การจำแนกสิ่งกระตุ้นอย่างถูกต้องและความเร็วในการตอบสนอง ซึ่งประเด็นหลักที่กระทบกับการทำงาน คือ กระบวนการจัดการข้อมูล
17
การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ (Mental functional capacity) (ต่อ)
กระบวนการจัดการข้อมูลของร่างกาย (Information processing) มี 3 องค์ประกอบ คือ การรับข้อมูล (Sensori-perceptive system) เป็นขั้นตอนที่ร่างกายรับข้อมูลเข้ามาผ่านทางประสาทรับสัมผัสทั้งหลาย เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง เป็นต้น การวิเคราะห์และแปลผล (Cognitive system) เมื่อรับสิ่งกระตุ้นเข้ามาแล้ว ทำการวิเคราะห์ แปลผลจากประสบการณ์ในอดีตและสั่งการ การตอบสนอง (Motor system) เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นนั้นๆ จากการศึกษาพบว่าระบบกระบวนการจัดการข้อมูลของร่างกายจะช้าทุกองค์ประกอบเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น
18
การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ (Mental functional capacity) (ต่อ)
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการจัดการข้อมูลของร่างกายกับการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเทียบกับอายุที่เพิ่มขึ้น พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก นอกจากนี้ จากการศึกษาในด้าน cognitive functions พบว่า ความสามารถในการสื่อสารและการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนในสถานการณ์ต่างๆ ความสามารถจะดีขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ส่วนข้อจำกัดในด้านการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งในด้านความแม่นยำและความเร็วในผู้สูงอายุ สามารถทดแทนด้วยความมุ่งมั่นต่องาน ประสบการณ์และความรู้ที่ผ่านมาในอดีต จึงทำให้ผู้สูงอายุสามารถที่จะเรียนรู้การทำงานแบบใหม่ๆได้ ประสบการณ์การทำงาน คุณภาพของผลงาน และอายุมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ประสบการณ์การทำงาน (ซึ่งสัมพันธ์กับอายุ)จะมีผลเชิงบวกกับ cognitive functions และคุณภาพของผลงาน โดยสรุป อายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สมรรถนะทางกายด้อยลง แต่สมรรถนะทางความคิดและจิตใจจะดีขึ้น ดังนั้นการจัดสภาพงานสำหรับแรงงานที่อายุมากขึ้น คือลดความต้องการงานที่ต้องใช้แรงลง แต่เพิ่มลักษณะของงานที่ใช้สมรรถนะทางความคิดและจิตใจแทน
19
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างอายุที่เพิ่มขึ้นกับการพัฒนาทางด้านจิตใจที่เกี่ยวกับการทำงาน
เฉลียวฉลาดขึ้น ความสามารถในการกระจายงาน ความสามารถในการให้เหตุผล ความรู้ความเข้าใจในภาพรวมของงานทั้งหมด ความสามารถในการสื่อสารได้ดีกว่า การควบคุมอารมณ์และชีวิตดีกว่า มีความรับผิดชอบต่องานมากกว่า ซื่อสัตย์และมั่นคงต่อนายจ้างมากกว่า ขาดงานน้อยกว่า มีประสบการณ์ต่องานมากกว่า มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ในงานมากกว่า
20
ความสามารถในการทำงาน (Work ability)
เป็นกรอบแนวคิดใหม่ที่เกี่ยวกับกระบวนการการจัดการต้นทุนของมนุษย์ (human resources) ที่สัมพันธ์กับงาน แนวคิดนี้ริเริ่มโดย The Finnish Institute of Occupational Health เมื่อปลายทศวรรษ 1990 ความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์และงาน เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการทำงาน ทุนมนุษย์ งาน ความสามารถในการทำงาน
21
ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนมนุษย์และงาน
ต้นทุนของมนุษย์ บริบทของงาน สุขภาพและกำลังความสามารถทั้งทางกาย ใจและสังคม การเรียนรู้และสมรรถนะ คุณค่าและทัศนคติ แรงจูงใจ อุปสงค์ของงาน (Work demand): ลักษณะและความต้องการของเนื้องาน สภาพองค์กรและการบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมในการทำงาน
22
การเปลี่ยนแปลงในปัจจัยหนึ่งจะกระทบต่อ ความสามารถในการทำงาน
อายุมากขึ้น เจ็บป่วย Work process & tools มนุษย์ งาน
24
ความสามารถในการจ้างงาน (Employability)
หมายถึง การดำเนินการโดยการพัฒนาและปรับปรุงมาตรการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวประกอบด้วย การจ้างงาน การให้การศึกษา นโยบายการออกจากงานหรือเกษียณจากงาน ระบบสุขภาพและระบบการดูแลทางด้านสังคมที่จะรองรับ การป้องกันการกีดกันการจ้างงานอันเนื่องจากอายุ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของสังคมในภาพรวม โดยเฉพาะประเด็นการดูแลคุณภาพชีวิตผู้ทำงานตลอดช่วงอายุของการจ้างงาน
25
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจ้างงาน
การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน (Promotion of workability) การพัฒนาความสามารถในการจ้างงาน (Development of employability)
26
การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน (Promotion of workability)
การดำเนินการจะต้องทำทั้งในส่วนบริบทของงาน (Work) และผู้ทำงาน (Human resources) กิจกรรมหรือมาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การฝึกอบรมเรื่องการบริหารจัดการและดูแลแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวกับอายุ ในทุกระดับ การใช้มาตรการทางการยศาสตร์สำหรับแรงงานสูงวัย การส่งเสริมการออกกำลังกาย การฝึกอบรมแรงงานสูงวัยในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน
27
การบริหารจัดการและดูแลแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวกับอายุ ในสถานประกอบการ (กรณีศึกษาของ APS)
28
การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานสูงวัย
การจัดบริการอาชีวอนามัยถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ วัตถุประสงค์หลักของการจัดบริการอาชีวอนามัย คือการป้องกันโรคหรืออันตรายที่เกิดจากการทำงาน อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของการจัดบริการจะมีครบทั้ง 4 ด้านของการให้บริการทางสุขภาพ ได้แก่ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การวินิจฉัยและรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการดูแลสุขภาพนอกงานด้วย
29
กิจกรรมการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานสูงวัย
การป้องกันโรคหรือการบาดเจ็บที่เกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน โดยเฉพาะสิ่งคุกคามที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อแรงงานสูงอายุ การบริหารจัดการให้ผู้ทำงานที่เจ็บป่วยเป็นโรคหรือบาดเจ็บจากการทำงาน หรือเจ็บป่วยด้วยโรคนอกงาน สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเหมาะสม (Return to work management) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามวัยหรือวิถีชีวิต เช่น โรคไม่ติดต่อต่างๆ การส่งเสริมสุขภาพและบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน (Promotion of health and workability)
30
ตัวอย่างกิจกรรมการจัดบริการที่มุ่งเน้นแก่แรงงานสูงวัยเป็นการเฉพาะ
การปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยอาศัยหลักการยศาสตร์และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะทางกายของแรงงานสูงอาย การพัฒนาสมรรถนะทั้งทางกาย จิตใจและสังคม โดยปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับแรงงานสูงอายุ เช่นการลดความเครียดจากการทำงาน การสร้างความพึงพอใจในงาน เป็นต้น การปรับทัศนคติผู้จัดการหรือหัวหน้างานให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของแรงงานสูงวัย การปรับเวลาการทำงานให้แก่แรงงานสูงวัย เช่น การปรับเวลาการทำงานเป็นกะ เพื่อลดปัญหาการนอนในผู้สูงวัยและทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น การตรวจคัดกรองสุขภาพในกลุ่มแรงงานสูงวัย เพื่อคัดกรองโรคที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการลดความสามารถในการทำงานหรือต้องลาออกจากงานก่อนอายุเกษียณ
31
ตัวอย่างกิจกรรมการจัดบริการอาชีวอนามัยเป็นการทั่วไป แต่มีประโยชน์ต่อแรงงานสูงวัยเพิ่มขึ้น
การส่งเสริมสุขภาพทั่วไปและการป้องกันโรคไม่ติดต่อ เช่น การออกกำลังกาย การมีโภชนาการที่ดี การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ การลดความอ้วน เป็นต้น การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน เช่น การเฝ้าระวังดัชนีความสามารถในการทำงาน (workability index) การปรับสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การรณรงค์ให้เดินขึ้นบันได เป็นต้น การตรวจคัดกรองทางสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น การวิเคราะห์และบริหารจัดการเกี่ยวกับการลาป่วยของพนักงาน (sickness absence) การบริหารจัดการ Return to work
32
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโปรแกรมการส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน
ผลผลิตของงานเพิ่มขึ้น คุณภาพของงานดีขึ้น คน มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผลของเป้าหมายในระยะยาว คุณภาพชีวิตในช่วงอายุที่สามของชีวิต (The quality of life in the third age) ใช้ชีวิตหลังเกษียณจากการทำงานอย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิต ชีวิตมีความหมาย และมีสุขภาพดีตามช่วงอายุ
33
สรุป แรงงานสูงวัยเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญต่อองค์กร สถานประกอบการ และการจ้างงานในภาพรวม ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งมีผลต่อสมรรถนะและความสามารถในการทำงาน การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน (Workability) จำเป็นต้องดำเนินการไปทั้ง 2 ส่วน คือ ที่ตัวคนและบริบทของงาน การจัดบริการอาชีวอนามัยถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวกับงานให้แก่แรงงานสูงอายุ
34
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.