งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

SKP ลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร ร้านกุญชรวาณิชย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "SKP ลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร ร้านกุญชรวาณิชย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 SKP ลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร ร้านกุญชรวาณิชย์
S K P สั ง ฆ ภั ณ ฑ์ ดี Q C C ก็ เ ช่ น กั น ลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร ร้านกุญชรวาณิชย์

2 สมาชิกในทีม นางสาวบุศญาภรณ์ ดวงบุตร นางสาวมณีพร ประมวลวงศ์ นางสาวปณิดา อารยะกุลสกล นางสาวมุทิตา จีนตุง นางสาวปรียานุช ธิฟู นางสาวรวิภา ศุภางค์เผ่า นางสาวแพรวไพลิน กิ่งโคกกรวด นางสาวรุ้งตะวัน เตียพานิช นางสาวภัทรศยา พานิชกุล นางสาวณัชธร วานิชยาวรกูล นางสาวภัทราวรรณ วุฒิเจริญ นางสาววรัทยา ตาบุรี

3 การค้นหาปัญหา/คัดเลือกหัวข้อ
1 การค้นหาปัญหา/คัดเลือกหัวข้อ หัวข้อ ความรุนแรง ความถี่ / โอกาสเกิดปัญหา การตรวจสอบ ตรวจจับ รวม มีต้นทุนจมในสินค้าคงคลังสูง 5 * 4 * 4 80 แก้ระบบการจัดการบัญชี 3 48 กำจัดปัญหาการเบิกจ่ายเงินในร้าน การค้นหาปัญหาและคัดเลือกปัญหา นั้นได้หัวข้อปัญหาและระดับความรุนแรงของปัญหาจากคำสัมภาษณ์ของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 1. ต้นทุนจมในสินค้าคงคลังสูง 2. ระบบการจัดการบัญชี 3. กำจัดปัญหาการเบิกจ่ายเงินในร้าน ซึ่งปัญหาที่ผู้ประกอบการได้ให้ ความรุนแรง และให้ความสำคัญมากที่สุดคือ หัวข้อที่ 1 ต้นทุนจมในสินค้าคงคลังสูง จึงเลือกปัญหาต้นทุนจมนี้ในการจัดทำ QCC *ระดับความรุนแรงจากคำสัมภาษณ์ของผู้ประกอบการ

4 สัมภาษณ์ปัญหาจากผู้ประกอบการ

5 การสำรวจสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย
2 การสำรวจสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังของร้านกุญชรวาณิชย์ การจัดการไม่เป็นระบบ (ไม่มีการนับสินค้าคงคลัง) ระบบ Q Continuous Review System เก่า ใหม่ ลูกค้า ดูสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังลดลงถึงระดับจุดสั่งซื้อใหม่ Reorder Point มีสินค้า ไม่มีสินค้า ซื้อที่ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด EOQ สั่งซื้อ ใช้ระบบ Q (Continuous Review System) เพราะผ้าไตรจัดอยู่ในสินค้าประเภท B ซึ่งมีมูลค่าปานกลางจากมูลค่าสินค้าทั้งหมด แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ระดับของสินค้าคงคลังสูง เพราะจะทำให้เกิดต้นทุนจมที่มาก ไม่สามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนอย่างอื่นได้ รวมถึงกิจการไม่มีการนับสินค้าคงคลังและวางแผนปริมาณในการสั่งซื้อ ยิ่งส่งผลให้สินค้าคงคลังมีระดับที่สูงขึ้นไปอีก ดังนั้น ระบบ Q จึงเหมาะสมที่สุด เพราะ - สามารถทราบสถานะของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ - มีการคำนวณจุดสั่งซื้อใหม่ ซึ่งเมื่อสินค้าคงคลังถึงระดับจุดสั่งซื้อนี้ถึงจะมีการสั่งซื้อสินค้า เพราะเป็นจุดที่มีสินค้าปลอดภัย (Safety Stock) ซึ่งมีไว้รองรับความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานำ (Lead Time) และคำนึงถึงระดับบริการ (Service Level) ที่มีระดับที่รับได้เมื่อสินค้าขาดมือ - มีการคำนวณ ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ) ส่งผลให้ปริมาณของสินค้าคงคลังเหมาะสม ทราบสถานะของสินค้าคงคลัง ระดับของสินค้าคงคลังเหมาะสม ต้นทุนจมต่ำ ไม่ทราบสถานะของสินค้าคงคลัง ระดับของสินค้าคงคลังสูง ต้นทุนจมสูง เป้าหมาย : ลดต้นทุนจมประเภทผ้าไตรในสินค้าคงคลังลง 50%

6 Time Function Map ขั้นตอนการจัดโครงการ
พิมพ์เขียวบริการ ขั้นที่1 เมื่อลูกค้ามาถึง จะมีพนักงานในร้านออกมาต้อนรับ พร้อมสอบถามความต้องการของลูกค้า ขั้นที่2 เมื่อลูกค้าระบุความต้องการแล้ว พนักงานจะค้นหาสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ 2.1 หากพบสินค้า จะส่งมอบให้ลูกค้าตรวจสอบคุณภาพ หากตรงตามความต้องการของลูกค้า สามารถชำระเงินได้ทันที 2.2 กรณีที่ไม่พบสินค้า ให้บอกลูกค้าว่าสินค้าหมดพร้อมสอบถามว่าสามารถใช้สินค้าอื่นที่คล้ายคลึงกันทดแทนได้หรือไม่ หรือยังต้องการสินค้าอยู่หรือไม่ 2.2.1 ไม่ต้องการ : ลูกค้าจะออกจากร้านได้เลย 2.2.2 ต้องการ : - นัดรับสินค้ากับลูกค้า - ทางร้านทำการจัดหาสินค้าตามใบสั่ง - เมื่อสินค้ามาถึง ให้ตรวจสอบสินค้า 1.) ผ่าน = ติดต่อลูกค้าว่าสินค้ามาถึงแล้ว 2.) ไม่ผ่าน = ติดต่อ supplier ให้ส่งสินค้าใหม่มา หลังจากนั้น เมื่อลูกค้ามารับสินค้าแล้ว ควรตรวจสอบคุณภาพสินค้าพร้อมกับลูกค้าอีกครั้ง และทำการชำระเงิน

7 ข้อมูลสภาพปัจจุบัน : ต้นทุนถือครองสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร
ต้นทุนถือครองสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร รวมทั้งหมด ฿106,211 ต่อปี ลดลง 50% ข้อมูลต้นทุนสินค้าประเภทผ้าไตร จากการจดบันทึก ต้นทุนรวมของสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตรของร้านกุญชรวาณิชย์ หลังจากได้ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร พบว่า ก่อนทำการแก้ไข มีต้นทุนถึง 106,211 บาท ต่อปี ซึ่งหากมีการจัดการในระบบ Q (Continuous Review System) จะสามารถคำนวณจุดสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดได้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนจมในสินค้าคงคลังนี้ลดลง ดังนั้นจึงได้ตั้งเป้าหมาย คือ ลดต้นทุนจมในสินค้าคงคลังลง 50% เป้าหมาย ( ข้อมูลปี 2558 )

8 การวางแผนกิจกรรม 3 จากตารางการวางแผนกิจกรรมข้างต้น จะแสดงให้เห็นถึงช่วงระยะเวลาของการจัดทำตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกลุ่ม QC จนถึงนำเสนอผลงานใน QCC DAY

9 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
4 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา แผนผังก้างปลา แสดงการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต้นทุนจมในสินค้าคงคลังสูง ซึ่งจากการวิเคราะห์เกิดจาก 4 สาเหตุ ได้แก่ 1. สาเหตุจากองค์การ ขาดการวางแผน ซึ่งไม่มีการจัดระเบียบในการทำงาน และขั้นตอนการทำงานไม่ชัดเจน การประสานงานล่าช้า - ขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังจากผู้บริหารระดับสูง 2. สาเหตุจากคนในองค์การ - พนักงานแต่ละคนมีหน้าที่ในการทำงานไม่ชัดเจน - พนักงานขาดความรอบคอบ เพราะไม่ได้รับการอบรมงาน - ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน อาทิ ไม่ทำหากไม่ได้รับคำสั่ง ขี้เกียจ 3. สาเหตุจากนโยบาย - ไม่มีการคาดการณ์เพื่อลดต้นทุนการสั่งซื้อสินค้าเกินจำเป็น - ไม่กำหนดช่วงเวลาเช็ค Stock ที่แน่นอน - ไม่มีโปรโมชั่นเพื่อระบายสินค้า ขาดความร่วมมือระหว่าง Suppliers ไม่มีการแยกประเภทของสินค้า 4. สาเหตุจากการปฏิบัติงาน - สั่งซื้อสินค้ามาเกินกว่าอุปสงค์ เหตุจากไม่ได้ตรวจว่ามีสินค้าเหลือเท่าใด และยี่ห้อที่ขายได้มากก็จะสั่งซื้อมาก - ขาดเทคโนโลยีช่วยในการทำงาน - ไม่มีการประมวลผลข้อมูล อาทิ ไม่มีการบันทึกข้อมูลและจดบันทึกเมื่อขายสินค้าได้ ซึ่งสาเหตุที่น่าสนใจอันที่จะก่อให้เกิดปัญหานี้ขึ้น คือ นโยบายขององค์การ และ การปฏิบัติงาน

10 ประชุมร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

11 การกำหนดมาตรการแก้ไข และการปฏิบัติ
5 ระบบ Q (Continuous Review System) ในการควบคุมสินค้าคงคลัง คือ สามารถควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริหารทราบสถานะของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจะสามารถตอบคำถาม 2 คำถามหลัก ในการสั่งซื้อสินค้า ดังนี้ When to order ? สั่งซื้อเมื่อสินค้าคงคลังลดระดับลงถึงจุดสั่งซื้อใหม่ที่กำหนดไว้ (Reorder Point) How much to order ? สั่งซื้อที่ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ)

12 ซึ่งเราได้กำหนดมาตรฐานการสั่งซื้อ ดังนี้
(จากการคำนวณสูตร Reorder Point และ EOQ) When to order ? Reorder Point = 116 เพราะฉะ นั้น : สั่งซื้อผ้าไตรเมื่อสินค้าคงคลังอยู่ที่ 116 ไตร (ผืน) How much to order ? การคำนวณสูตร จุดสั่งซื้อ Reorder Point และ ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด EOQ โดยใช้ข้อมูลในการคำนวณย้อนหลัง 1 ปี คือ เดือนมกราคม-ธันวาคม ปี พ.ศ.2558 สามารถใช้จุดสั่งซื้อและปริมาณสั่งซื้อที่คำนวณนี้ เป็นมาตรฐานการสั่งซื้อของกิจการได้ เพราะ สินค้าประเภทผ้าไตรเป็นสินค้าที่มีความต้องการอยู่ในระดับใกล้เคียงกันทุกปี จากการสัมภาษณ์เจ้าของกิจการ คือประมาณปีละ 288 ไตร(ผืน) >> ข้อมูลความต้องการซื้อของปี 2558 EOQ = 157 เพราะฉะนั้น : สั่งซื้อที่ปริมาณ 157 ไตร (ผืน) จะเป็นการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด

13 การเข้าไปตรวจนับจำนวนสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตรที่ร้านกุญชรวาณิชย์

14 การตรวจสอบผล ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังของร้านกุญชรวาณิชย์ 6 เก่า
การจัดการไม่เป็นระบบ (ไม่มีการนับสินค้าคงคลัง) ใหม่ ระบบ Q Continuous Review System ลูกค้า ดูสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังลดลงถึงระดับจุดสั่งซื้อใหม่ Reorder Point มีสินค้า ไม่มีสินค้า ซื้อที่ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด EOQ สั่งซื้อ ตรวจสอบผลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทราบสถานะของสินค้าคงคลัง ระดับของสินค้าคงคลังเหมาะสม ต้นทุนจมต่ำ ไม่ทราบสถานะของสินค้าคงคลัง ระดับของสินค้าคงคลังสูง ต้นทุนจมสูง เป้าหมาย : ลดต้นทุนจมประเภทผ้าไตรในสินค้าคงคลังลง 50%

15 ผลจากการควบคุมสินค้าคงคลัง ที่ส่งผลต่อต้นทุนในการถือครองสินค้าคงคลังต่อปี ( ด้านผ้าไตร )
เก่า ใหม่ ฿57,900 ฿106,211 ลดลง ผลจากการควบคุมสินค้าคงคลัง เดิม : มีต้นทุนถือครองสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร 106,211 บาท ต่อปี ใหม่ : มีต้นทุนถือครองสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร 57,900 บาท ต่อปี จากการนำ ผลรวมของ(ต้นทุนจากการถือครองเฉลี่ย*ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด) ดังนั้นจะสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 48,311 บาท ต่อปี หรือสามารถลดต้นทุนได้ 54.5% ( ข้อมูลปี 2558 ) 54.5% ต่อปี ลดต้นทุนได้ 48,311 บาท

16 ฿192,415.21 ฿164,122.13 195.196 180.146 Average Inventory เก่า ใหม่
ลดลง สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Average Inventory ) สินค้าคงเหลือเฉลี่ยเดิม 192, บาท ( ชิ้น) **หากมีการจัดการระบบใหม่ สินค้าคงเหลือเฉลี่ยใหม่ 164, บาท ( ชิ้น) ซึ่ง จะทำให้ สินค้าคงเหลือเฉลี่ย ลดลง 28, บาท ( ชิ้น) ฿28,293.07 ( ชิ้น)

17 การกำหนดมาตรฐานปฏิบัติงาน
7 ตรวจนับสินค้าคงคลังอยู่เสมอ - บันทึกเมื่อมีการเคลื่อนย้ายหรือขายสินค้าทุกครั้ง - กำหนดหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน กำหนดมาตรฐานปฏิบัติงาน โดย กำหนดจากสาเหตุที่น่าสนใจ ที่ได้จากแผนภูมิก้างปลา คือ นโยบายขององค์การ และ การปฏิบัติงาน

18 (ซึ่งสามารถนำไปลงทุนอื่นได้ ดีกว่าอยู่ในสินค้าคงคลังแล้วไม่เกิดคุณค่า)
Holding Cost Saving โครงการสามารถลดต้นทุนถือครองสินค้าคงคลังได้ 48,311 บาท โดยสมมติฐานที่ใช้ คือ หากไม่มีการวางแผนในการจัดการ หรือ จัดซื้อสินค้า จะทำให้มีต้นทุนในการถือครองสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร 106,211 บาท ต่อปี ซึ่งเมื่อวางแผนสินค้าคงคลังแล้ว จะมีต้นทุนที่เหมาะสม คือ 57,900 บาท ต่อปี ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากสั่งซื้อที่ปริมาณ 157 ไตร (ผืน) จะสามารถประหยัดต้นทุนจมได้ 48,311 บาท ต่อปี (ซึ่งสามารถนำไปลงทุนอื่นได้ ดีกว่าอยู่ในสินค้าคงคลังแล้วไม่เกิดคุณค่า)

19 ผลจากการดำเนินกิจกรรม QCC
ปัญหา และอุปสรรค์ ในการทำงาน - มีความซับซ้อนและใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการแก้ไข - กำหนดการทำงานค่อนข้างสั้นในการแก้ไขให้ทันเวลาจึงจัดการสินค้าคงคลัง ได้ประเภทเดียว - เวลาของสมาชิกในกลุ่มไม่ค่อยตรงกันจึงมีความลำบากในการทำงานเล็กน้อย สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการ - ได้ฝึกทักษะการหาวิธีการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ - ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม ข้อเสนอแนะ ควรมีการวางแผนการทำงานก่อนการดำเนินงานเพื่อที่จะได้ทราบแผนงานและระยะเวลาทำงานที่แท้จริง และควรเริ่มการดำเนินงานอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสามารถรับมือกับปัญหาหรือความแปรปรวนได้อย่างทันเวลา

20 THANK YOU


ดาวน์โหลด ppt SKP ลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภทผ้าไตร ร้านกุญชรวาณิชย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google