งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

01460443 การพัฒนาสังคม Social Development 10-11 : 5 พ.ย. 60.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "01460443 การพัฒนาสังคม Social Development 10-11 : 5 พ.ย. 60."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาสังคม Social Development 10-11 : 5 พ.ย. 60

2 ทฤษฎีและแนวคิดความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
Basic Human Needs Theory : BHN Basic Minimum Needs Theory : BMN

3 Paradigm (กระบวนทัศน์/แนวคิด)
ภายใต้กระแสการพัฒนาที่หลากหลายของโลก ทำให้การพัฒนาในเกือบทุกประเทศปรากฏผลให้เห็นอย่างกว้างขวางว่า - คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง : สะท้อนให้เห็นความไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและทันเหตุการณ์ - ประเด็นการพัฒนาคือ การแก้ไขปัญหาความยากจน หรือ “การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต” : ความเหมาะสมที่ประชาชนพึงจะได้รับคืออะไร : ควรที่จะอยู่ในระดับใดหรืออัตราขั้นต่ำที่พึงจะได้รับ

4 Paradigm (กระบวนทัศน์/แนวคิด)
แนวคิดและทฤษฎีพัฒนามาช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ปรับ เปลี่ยนกรอบแนวคิดใหม่จาก การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ มาเป็นเน้น การพัฒนามนุษย์ - ลักษณะของการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน - การพัฒนาสังคมเป็นแกนนำ “มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก” เชื่อว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้หรือขจัดปัญหาความยากจนได้เสมอไป - คนจำนวนมากที่ยังไม่อาจได้สิ่งซึ่งตนต้องการเป็นพื้นฐาน - ขณะที่สภาพเศรษฐกิจของประเทศเติบโต แต่ยังคงไว้ด้วยความยากจน - ความเหลื่อมล้ำและความแตกต่างทางฐานเศรษฐกิจและสังคมแพร่หลาย

5 ความเป็นมาของแนวคิดและทฤษฎี
ผลงาน : International Labour Organization, ILO เสนอ : World Employment Conference 2519 จุดกำเนิดทฤษฎี : 1) ความสำเร็จของการพึ่งพาตนเอง : ความสำเร็จการพัฒนาของจีน (โครงการต้าจ้าย) ในแนวคิด “Walking on Two Legs” การพัฒนาด้วยลำแข้งตนเอง/การพึ่งตนเองเป็นหลัก : - อาศัยความช่วยเหลือจากภายนอกให้น้อยที่สุด - เน้นพัฒนาชนบทให้ช่วยเหลือและร่วมมือในชุมชนมากที่สุด - ประชาชนเป็นผู้กำหนดความจำเป็นพื้นฐานชุมชน

6 2) การรวมตัวนักวิชาการเสนอทางเลือกการพัฒนาใหม่
ความเป็นมาของแนวคิดและทฤษฎี 2) การรวมตัวนักวิชาการเสนอทางเลือกการพัฒนาใหม่ Dag Hammarskjold : Another Development กลุ่มนักวิชาการระหว่างประเทศที่เรียกว่า The Club of Rome เป็นกลุ่มนักวิชาการที่ปรึกษาองค์กรระหว่างประเทศที่มีประสบการณ์จากการ ศึกษาทางการพัฒนาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยอมรับว่า “อิทธิพลบริษัทข้ามชาติ (Multi Cooperation) ที่มีต่อการพัฒนา ประเทศต่างๆ ในโลก อาจนำไปสู่การทำลายตนเองของโลกในอนาคต” - เกิดภาวะการขาดแคลนอาหารและอดอยากทั้งที่ประเทศตะวันตกมีอาหารเหลือเก็บอยู่หลายปี แต่ประเทศในแอฟริกาไม่มีอะไรจะบริโภค - ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมข้ามชาติจะดึงเอาทรัพยากรส่วนการยังชีพ (ประเทศบริวาร) เข้าสู่ประเทศที่มีอำนาจ (ประเทศศูนย์กลาง) - ระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมโลกมีปัญหามลภาวะต่างๆ จนทำให้เกิดการแพร่กระจาย และเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งมีแต่จะขยายตัวมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อทุกคนในประชาคมโลก

7 ความเป็นมาของแนวคิดและทฤษฎี
นักวิชาการ เสนอรายงานทั้ง 3 ฉบับ ในแง่การพัฒนาว่า 1. Limit to Growth จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. Manland at the Turning Point สภาวะมนุษยชาติกำลังมาถึงจุดที่ จะเปลี่ยนกลับ (Back to the Nature) 3. Reshaping the International Economic Order การจัดรูปแบบ ระหว่างประเทศหรือการจัดระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาที่พึ่งตนเองโดยคำนึงถึงสภาพท้องถิ่นจะทัดทานอิทธิพลบริษัทข้ามชาติให้ลดน้อยลง

8 ความเป็นมาของแนวคิดและทฤษฎี

9 ความเป็นมาของแนวคิดและทฤษฎี

10 ความเป็นมาของแนวคิดและทฤษฎี
3) การตอบสนองข้อเสนอเรียกร้องของทฤษฎีพึ่งพา : ทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) ไม่ได้เสนอแนะขั้นตอน กระบวนการเชิงเทคนิค/กลไกอย่างชัดเจนเพื่อพัฒนา (Mechanicaformal Formulation) 4) การแก้ไขปัญหาความล้มเหลวทฤษฎีภาวะทันสมัย : ปัญหาการดำเนินงานพัฒนาตามกรอบแนวคิดและทฤษฎีภาวะทันสมัยเกิดปัญหาการพัฒนาภาวะด้อยพัฒนา (Development of Underdevelopment)

11 สังคมจะต้องสร้างการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการ
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น สังคมจะต้องสร้างการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นที่จะทำให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ อย่างเหมาะสมตามสภาพได้ 1. Johan Gultung : เสนอความต้องการที่จำเป็นต่อการดำเนิน ชีวิตในสังคม นอกจากการอุปโภคบริโภควัตถุปัจจัย มนุษย์ยังมีความ ต้องการที่แฝงเร้นและฝังลึกอยู่ในจิตใจ 4 ประการ คือ 1.1) Security needs ความมั่นคงปลอดภัยของมนุษย์ต้องการ ความอยู่รอดและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งแบบรุนแรงทั้งระดับบุคคลและระดับ สังคม

12 แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น
1.2) Welfare needs ความจำเป็นในสวัสดิภาพในการต้องยังชีพ โดยต้องการปัจจัยขั้นพื้นฐานด้านเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การศึกษา นันทนาการ และการพักผ่อนหย่อนใจ (สวัสดิภาพ 3 วัย) คือ วัยเจริญเติบโต วัยทำงาน วัยชรา 1.3) Identity needs ความเป็นเอกลักษณ์ของตน มนุษย์ต้องการที่ จะได้รับการยอมรับและอยู่ร่วมกันได้กับคนในสังคมอย่างมีความผูกพันกัน ไม่ต้องการสภาวะความแปลกแยกความมีศักดิ์ศรีและอิสรภาพแห่งตน 1.4) Freedom needs ความมีเสรีภาพ มนุษย์ต้องการมีเสรีภาพใน การคิด การพูด การตัดสินใจ การเลือกวิถีชีวิตของตนเอง

13 2) Paul Streeten : แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น
จำแนกความจำเป็นขั้นพื้นฐานออกเป็น 2 ประการ 2.1 ความต้องการทางกายภาพ เป็นสิ่งของวัตถุต่างๆ อาหาร ที่อยู่ การคมนาคมและการบริการต่างๆ 2.2 ความต้องการทางจิตภาพ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ ความมั่นใจ ตนเอง การพึ่งตนเอง การมีศักดิ์ศรี การยอมรับ การเข้ามีส่วนร่วม

14 3. International Labour Organization (ILO) :
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 3. International Labour Organization (ILO) : กำหนดนโยบายความจำเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ใช้แรงงาน 1) Private Consumption การบริโภคของคนงานจะต้องมี : - อาหารพอกิน - ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม - มีเครื่องนุ่งห่มที่พอเพียง - มีอุปกรณ์เครื่องใช้ตามความจำเป็น

15 3. International Labour Organization :ILO
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 3. International Labour Organization :ILO 2) Public Support คนงานต้องการบริการสาธารณะ ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอุปโภค บริโภคสำหรับชุมชน เช่น - น้ำดื่มที่สะอาด - ความสะอาดของสิ่งแวดล้อม - การคมนาคมที่สะดวก - การให้บริการทางการศึกษา และสาธารณสุข

16 4. Mahbub ul Haq เสนอแนวคิดเชิงนโยบายการ
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 4. Mahbub ul Haq เสนอแนวคิดเชิงนโยบายการ ตอบสนองความต้องการของรัฐ โดยมุ่งเน้น : 1) ต่อสู้กับความยากจน 2) ต่อสู้กับภาวะทุโภชนาการ 3) ต่อสู้กับความเจ็บไข้ได้ป่วย 4) ต่อสู้กับความไม่รู้หนังสือ 5) ต่อสู้กับการว่างงาน 6) ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม

17 5. Mchale เสนอให้มีการกำหนดความจำเป็นขั้นพื้นฐานไว้
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 5. Mchale เสนอให้มีการกำหนดความจำเป็นขั้นพื้นฐานไว้ ในข้อกำหนดของการพัฒนาประเทศ 1) Basic Need จะต้องกำหนดในแผนพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน และ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ 2) Basic Need จะต้องสอดคล้องกับอุดมการณ์ของสังคมหรือประเทศ นั้นๆ โดยประชาชนสังคมหรือประเทศนั้นเป็นผู้กำหนด 3) ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการระบุขอบข่าย/ประเมินคุณค่า และ ระบุความจำเป็นขั้นพื้นฐานของตนเอง

18 6. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 6. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สนง. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำแนวคิด Basic Minimum Needs มากำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนา ชนบท โดยมีความมุ่งหวัง : กำหนดให้การพัฒนาชนบทมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมเพื่อที่จะ สามารถประเมินและวัดผลการพัฒนาได้ กำหนดเพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดบทบาทหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐในงานพัฒนาชนบท 3) กำหนดเพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและตรวจสอบ นโยบาย และมาตรการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ 4) กำหนดเพื่อที่จะให้มีการประสานแผนประสานกิจกรรมการพัฒนา ชนบทในระดับปฏิบัติการ

19 แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น
ในปี 2524 เป็นยุคเริ่มต้นได้สร้างตัวแบบที่มีตัวชี้วัดถึง 49 ตัว ต่อมาในปี 2526 มีตัวชี้วัด 9 ตัว และปัจจุบันมีตัวชี้วัด 8 ตัว (จปฐ.) : 1) ประชาชนในครอบครัวควรต้องมีอาหารการกินที่ถูกสุขลักษณะ และปริมาณเพียงพอ 2) ประชาชนในครอบครัวมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 3) ประชาชนวัยทำงานมีงานทำ มีเสรีภาพในการประกอบการ มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม

20 แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น
4) ประชาชนมีสิทธิได้รับบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีพ 5) ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 6) ครอบครัวมีการผลิตพอดำรงชีพ 7) สามารถควบคุมช่วงเวลา และจำนวนบุตร 8) ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่ 9) ประชาชนมีการพัฒนาจิตใจให้ดีขึ้น

21 Hollis B. Chenery and Ahtuwatia เสนอมาตรการทางการพัฒนา
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : ความจำเป็น 7. Redistribution with Growth Hollis B. Chenery and Ahtuwatia เสนอมาตรการทางการพัฒนา ที่จะมีการควบคุมความเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการ พลวัตรของการกระจายรายได้ (Dynamic Redistribution) ที่สามารถ แก้ไขปัญหาความยากจน การว่างงานและความไม่สมดุลกัน

22 สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
ทฤษฎีระดับกลาง (Middle-Range Theory) ไม่ใช่ ทฤษฎีหลัก (Grand theory) ที่แพร่หลายทุกประเทศ 1) จุดมุ่งหมายการพัฒนา : มุ่งสนองตอบความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ต้องการของ ประชาชนเป็นหลัก 2) สาขาการผลิตที่มุ่งเน้น : การเกษตรเป็นแกนนำสำคัญ ประชากรมีจำนวนมาก และยังยากจน เจ็บป่วยและคุณภาพชีวิตต่ำ

23 สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
3) พื้นที่ให้ความสำคัญ : เขตพื้นที่ชนบทที่มีประชาชนประกอบอาชีพภาคการ เกษตร โดยพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานสนับสนุนการผลิต ภาคเกษตร 4) การจัดลำดับความสำคัญการพัฒนา : อาศัยกลไกการตกลงทางการเมืองและสังคมเพื่อการ กำหนดเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานก่อนแล้วจัดลำดับสำคัญ การพัฒนา

24 สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
5) วีถีการผลิต : ให้ความสำคัญกับการใช้แรงงานอย่างเข้มข้นเพื่อให้ เกิดการจ้างงานและแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้น 6) เทคโนโลยีการผลิต : เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต โดยเป็นเทคโนโลยีภายในประเทศ 7) แหล่งทุนในการพัฒนา : การสะสมทุนภายในประเทศ สังคมและชุมชนจะเอื้อ ต่อการพัฒนามากกว่าภายนอกประเทศ

25 สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
8) การวัดผลการพัฒนา : พิจารณาจากสวัสดิการสังคม และการเพิ่มคุณภาพ ชีวิตของประชาชนในสังคม 9) ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาการผลิต : การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตและการค้าให้ ความสำคัญแก่สาขาการเกษตรเป็นหลัก พร้อมทั้งผลิต ผสมผสาน

26 สาระสำคัญทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
10) การวางแผนการพัฒนา : กำหนดจากระดับล่าง (bottom up approach) โดย สนองความต้องการประชาชนอย่างแท้จริง มุ่งใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและทักษะประชาชนให้ เกิดประโยชน์สูงสุด การเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเพื่อการ พึ่งพา ตนเองของชุมชน

27 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
1. การเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับประเด็น ต่างๆ : - รายได้ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการพัฒนา - อุตสาหกรรมไม่ได้เป็นแนวทางการพัฒนา - กลไกการตลาดไม่ใช่นำไปสู่การพัฒนาเสมอ - ชุมชนเมืองไม่ใช่ใจกลางของประเทศ - ฯลฯ

28 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
2. การประชุมสัมมนาและเสนอปัญหาการพัฒนาร่วมกัน ระดับนานาชาติ : - ที่ประชุม Alma Ata ประเทศสาธารณรัฐยูเคน “การพัฒนาสาธารณสุข” ปี 2000 “Health for All in 2000” - ที่ประชุม Cocoyoc “การพัฒนาการศึกษา” ความ พร้อมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนา - ที่ประชุม Karachi ประเทศปากีสถาน “การพัฒนาคุณภาพชีวิต”

29 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
3. การคำนึงถึงปัญหา และวิธีการแก้ไขความสมดุลต่างๆ : - การพัฒนาเมือง = การพัฒนาชนบท - การพัฒนาอุตสาหกรรม = การพัฒนาเกษตร - เทคโนโลยีพื้นฐาน = เทคโนโลยีขั้นสูง - ฯลฯ 4. การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศการพึ่งตนเองใน ระดับภูมิภาคต่างๆ

30 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
5. การให้ความสำคัญในการพัฒนาต่างๆ : 5.1 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ส่งผลดีต่อ - การพัฒนาเกษตรกรรายย่อย (Small holder agriculture) - ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในสาขาไม่เป็นทางการ (Informal sector) - ผู้ประกอบการรับช่วง (Sub contract) เช่น เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน แรงงานรับจ้าง เป็นต้น

31 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
5.2 การให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทเพื่อยกระดับ มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในชุมชนชนบท : - การยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น - การให้บริการของรัฐถึงมือประชาชนให้มากขึ้น เช่น น้ำใช้บริโภค อุปโภคและการเกษตร ระบบสื่อสาร การคมนาคม - กระจายอำนาจการตัดสินใจและกิจกรรมการวาง แผนออกสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นให้มากขึ้น (Land Reform)

32 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
5.3 การให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อเทคนิคการผลิต - การใช้แรงงานมากกว่าการใช้ทุน (Labor intensive technique) - การสร้างงาน - ประหยัดการใช้ทุนและเงินตราต่างประเทศ - การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)

33 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
5.4 การให้ความสำคัญกับการควบคุมประชากรให้มี อัตราการเพิ่มที่เหมาะสม เพราะความยากจนและอัตรา การว่างงาน มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับการมีอัตราการเพิ่ม ของประชากรในระดับสูง 5.5 กำหนดกลุ่มประชากรยากจนที่ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และการรับประโยชน์ จากการพัฒนาที่สมควร โดยสร้างโอกาสให้กลุ่มยากจน เข้าถึงระบบบริการของรัฐ โดยเฉพาะการศึกษา การบริการ สาธารณสุข ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การชลประทาน


ดาวน์โหลด ppt 01460443 การพัฒนาสังคม Social Development 10-11 : 5 พ.ย. 60.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google