ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตร
ดร. ธวัฒน์ชัย งามศิริ
2
แผนการเรียนการสอน ชีววิทยาของปลา ลักษณะทั่วไปของปลา ประเภทของปลา
การแยกเพศและลักษณะของไข่ปลา การเพาะพันธุ์ปลาแบบต่างๆ
3
แผนการเรียนการสอน การเลือกสถานที่และการออกแบบโรงเพาะฟัก คุณภาพดิน
คุณภาพน้ำ องค์ประกอบในโรงเพาะฟัก
4
แผนการเรียนการสอน การเลี้ยงปลา การเลี้ยงปลาในบ่อ การเลี้ยงปลาในกระชัง
การให้อาหาร
5
หน่วยเรียนที่ 1 ชีววิทยาของปลา
ลักษณะทั่วไปของปลา ปลาจัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น (cold brooded or ectothermic)หายใจด้วยเหงือก (gill) สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบ (fin)และกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร
6
Fin Fin vertebrate Fin Fin Gill
7
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว โลมา วาฬและหมึก
แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน Phylum echinoderm โลมาและปลาวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม mammal ที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก หมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย Phylum mollusk
9
สัตว์น้ำ (aquatic animal)
หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า เต่ากระ ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น
10
ประเภทของปลา ปลาปากกลม (cyclostome) แบ่งเป็น
แฮกฟิช (Hagfish) พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด
11
ปลาแลมเพรย์ (Lampreys) พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
13
ประเภทของปลา 2ปลากระดูกอ่อน (cartilaginous fish) ได้แก่ |ปลาโรนัน ปลา
ฉนาก ปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 300 ชนิด
15
ประเภทของปลา 3 ปลากระดูกแข็ง (bony fish) คือปลาอื่นๆที่เหลือทั้งหมด ปลา กระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลาช่อน ปลากะพงขาว ปลาเก๋า เป็นต้น
16
การแยกเพศและลักษณะไข่ปลา
ลักษณะภายใน โดยการศึกษาลักษณะรังไข่ (ovary) และอัณฑะ(testis)
17
การแยกเพศและลักษณะไข่ปลา
ลักษณะภายนอก โดยการศึกษาลักษณะภายนอกของปลา ที่สามารถบ่งบอกลักษณะของเพศปลาชนิดนั้นๆ โดยลักษณะนั้นๆ ต้องมีความแตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย อาทิเช่น ลักษณะความเข้มของสี เช่น ปลาเพศผู้ของปลากัด หางนกยูง เป็นต้น ความยาวของครีบ เช่น กระดี่ สลิด กัด สอด เป็นต้น ความแตกต่างระหว่างติ่งเพศ เช่น ดุก บู่ นิล กด แขยง เป็นต้น ขนาดลำตัว ปลาเพศเมียจะมีขนาดความกว้างกว่าเพศผู้ (ในฤดูผสมพันธุ์) เช่น ปลาจีน ไน ยี่สก ดุก ตะเพียน สร้อย แก้มช้ำ เป็นต้น
24
ลักษณะของไข่ปลา micropyle chorion Perivitelline membrane Germinal disc
Perivitelline space
25
ประเภทของไข่ปลา แบ่งตามความสามารถในการลอยน้ำได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1 ไข่ลอย (Pelagic Egg) ไข่ชนิดนี้มีเปลือกบาง ค่อนข้างใส เปลือกไม่มีเมือกเหนียว ไข่แดงมีหยดน้ำมันอยู่มาก เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาแล้วมักจะลอยขึ้นอยู่ที่ผิวน้ำ การฟักตัวค่อนข้างเร็ว ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ประเภทนี้จะลอยตัวอยู่ผิวน้ำโดยหงายท้องขึ้น ตัวอย่าง เช่น ปลากระดี่จูบ ปลาแรด ปลากัด ปลากระดี่ชนิดต่างๆ และปลากะพงขาว 2 ไข่ครึ่งลอยครึ่งจม (Semibouyant Egg) ไข่ชนิดนี้มีเปลือกไข่บางไม่มีเมือกเหนียว ไข่โปร่งใส ไม่มีหยดน้ำมัน การฟักตัวรวดเร็ว เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาจะจมน้ำ จากนั้นเปลือกไข่จะค่อยๆดูดน้ำเข้าไปในช่อง Perivitelline Space ทำให้เปลือกไข่ขยายตัวออก 3 - 5 เท่า เกิดแรงพยุงให้ไข่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำได้ดี แต่ถ้าไม่มีกระแสน้ำไข่จะจมตัวลงตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ประเภทนี้จะว่ายน้ำพุ่งตัวขึ้นลงตลอดเวลา ตัวอย่าง เช่น ปลาสร้อย ปลาตะเพียน ปลาม้าลาย ปลาทรงเครื่อง และปลากาแดง
26
3 ไข่จม (Demersal Egg) ไข่ชนิดนี้มักมีเปลือกหนา ไข่ทึบแสง ไม่มีหยดน้ำมัน การฟักตัวช้า เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาจะจมลงก้นบ่อ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ประเภทนี้จะเกาะคว่ำตัวอยู่ตามวัสดุต่างๆใต้น้ำ ไข่ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบ 3.1 ไข่จมแบบไม่ติดกับวัตถุ (Non Adhesive-demersal Egg) ไข่ชนิดนี้จะจมอยู่ตามพื้นก้นบ่อหรือก้นภาชนะ ปลาที่มีไข่แบบนี้มีไม่มากนัก เช่น ปลานิล ปลามังกร 3.2 ไข่จมแบบติดวัตถุ (Adhesive-demersal Egg) ไข่ชนิดนี้เมื่อปล่อยออกจากแม่ปลาและได้สัมผัสกับน้ำ จะเกิดสารเหนียวที่เปลือกไข่ ทำให้ไข่สามารถติดกับวัสดุต่างๆได้ทันทีที่ไข่ไปสัมผัส เช่นตามรากและลำต้นพันธุ์ไม้น้ำ หรือผนังบ่อ ตัวอย่าง เช่น ปลาสวาย ปลาบู่ ปลาทอง ปลาคาร์พ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ ปลานีออน ปลากราย และปลาออสการ์
27
การเพาะพันธุ์ปลา แบบธรรมชาติ natural controlled
เป็นการเพาะพันธุ์ปลาที่มีการจัดองค์ประกอบคล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุด ส่วนเป็นการเพาะพันธุ์ปลาในบ่อดิน ปลาที่สามารถเพาะพันธุ์แบบนี้ได้ อาทิเช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาสลิด ปลามังกร เป็นต้น วิธีการที่ประหยัด สิ้นเปลืองแรงงานน้อย ต้นทุนต่ำ ข้อเสียไม่สามารถประเมินผลผลิตได้ อัตราการรอดตายต่ำ การวางแผนการผลิตทำได้ยาก
28
การเพาะพันธุ์ปลา เลียนแบบธรรมชาติ semi-natural controlled
เป็นวิธีการเพาะพันธุ์ปลาที่จัดองค์ประกอบให้คล้ายคลึงธรรมชาติมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นปลาสวยงาม ปลาที่สามารถเพาะพันธุ์ อาทิเช่น ปลาทอง ปลาคาร์พ ปลากัด ปลาหางนกยูง ปลานิล ปลาตะเพียน ปลากระเบน เป็นต้น สามารถวางแผนการผลิต ประมาณการผลิตผลที่คาดว่าจะได้
29
การเพาะพันธุ์ปลา ผสมเทียม artificial method
การเพาะพันธุ์ปลาที่แม่ปลาและพ่อปลามีความพร้อมมากๆ สามารถรีดไข่ได้หรือแม่ปลามีความพร้อมของไข่ในระยะที่สามารถกระตุ้นได้ โดยรูปแบบการผสมมี 3 แบบ ได้แก่ แบบเปียก wet method รีดไข่ใส่ภาชนะที่มีน้ำ รีดน้ำเชื้อ ทำการผสม นำไปเพาะฟัก แบบแห้ง dry method รีดไข่ใส่ภาชนะที่ไม่มีน้ำ รีดน้ำเชื้อ ทำการผสม นำไปเพาะฟัก แบบแห้งดัดแปลง modified dry method รีดไข่ใส่ภาชนะที่ไม่มีน้ำ รีดน้ำเชื้อ ทำการผสม นำน้ำมาล้าง นำไปเพาะฟัก ปลาที่สามารถเพาะพันธุ์แบบนี้ได้ อาทิเช่น ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาจีน ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์
30
การเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลา
พ่อพันธุ์ ไม่พิการ น้ำเชื้อดีมีคุณภาพ มีลักษณะที่ดีที่ผู้เพาะพันธุ์ต้องการ ไม่ก้าวร้าว
31
การเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลา
ไม่พิการ มีส่วนท้องขยายใหญ่ ช่องเพศเปิด มีลักษณะที่ดีที่ผู้เพาะพันธุ์ต้องการ อายุเหมาะสม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.