ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ
2
การสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซในมุมมองเชิงระบบ
การสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีความเข้าใจ เรื่อง ของธุรกิจและเทคโนโลยีและเรื่องปัญหาสังคม กล่าวคือ อีคอมเมิร์ซ มีสิ่งสำคัญ อยู่หลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง สิ่งที่สำคัญ ในเรื่องการสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซให้ ประสบผลสำเร็จคือ 1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของจนให้ชัดเจน ด้วยการสร้าง แผนงานสำหรับการพัฒนาเว็บไซด์ขึ้นมา 2. รู้จักเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งาน เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยต้องทำความเข้าใจในโครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ ว่ามีส่วนประกอบ พื้นฐานอะไรบ้าง แล้วปล่อยให้การดำเนินธุรกิจผลักดันตัวเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อ การใช้งานต่อไป
3
ปัจจัยที่มีต่อการสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ
ปัจจัยด้านขีดความสามารถขององค์กร สถาปัตยกรรมฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม การออกแบบเว็บไซด์ ทรัพยากรมนุษย์ โดยเบื้องต้นต้องมีการร่วมมือกับแผนกทรัพยากรบุคคลในการค้นหาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง หรืออาจจัดตั้งทีมงาน ที่มีความรู้และทักษะในการจัดการเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซให้ประสบ ความสำเร็จ โดยทีมงานดังกล่าวจะทำการตัดสินในเรื่องหลักๆที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี การ ออกแบบเว็บไซด์ และนโยบายทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและจริยธรรม นอกจานี้ยัง ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ตแวร์ที่จำเป็นต่อการสร้างเว็บไซด์ รวมถึงซอฟแวร์และ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
4
วงจรการพัฒนาระบบ วงจรการพัฒนาระบบ (Systems Development Life Cycle : SDLC) จัดเป็นวิธีการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมที่มักถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนา ระบบสารสนเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรอบการทำงานใน SDLC นั้นมี โครงสร้างชัดเจน กิจกรรมในแต่ละระยะจะมีลำดับแน่นอน โดยเมื่อเสร็จสิ้นในระยะ หนึ่ง ก็จะก้าวเข้าสู่ระยะถัดไป เช่น ได้ทำการวิเคราะห์เสร็จสิ้นแล้วก็จะเข้าสู่ระยะการ ออกแบบ เป็นต้น สำหรับวงจรพัฒนาระบบสำหรับอีคอมเมิร์ซนั้น ประกอบด้วย 5 ระยะ ด้วยกันคือ 1. การวางแผนและการวิเคราะห์ระบบ 2. การออกแบบระบบ 3. การสร้างระบบ 4. การทดสอบระบบ 5. การนำระบบไปใช้และการบำรุงรักษา
5
การวางแผนและการวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis/Planning)
การกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business Objectives) ต้องมีความ ชัดเจนในเรื่องรายละเอียด และพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ และความต้องการ ขึ้น ทั้งนี้วัตถุประสงค์ทางธุรกิจคือ เหล่าความสามารถต่างๆ ที่เราต้องการให้เว็บ ไซด์ของเรามี ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ (System Functionality) คือระบบ สารสนเทศชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้เพื่อให้ธุรกิจสามารถบรรลุตรงตามวัตถุประสงค์ ความต้องการในข้อมูลข่าวสาร (Information Requirements) คือ องค์ประกอบของข้อมูลที่ระบบจะต้องผลิตขึ้นมาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทาง ธุรกิจ เจ้าของธุรกิจหรือผู้จัดการต้องรวบรวมรายข้อมูลเหล่านี้ให้นักพัฒนาระบบ รับทราบในสิ่งที่จะต้องทำ เพื่อการพัฒนาได้ตรงตามวัตถุประสงค์
6
การออกแบบระบบ (System Design)
การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) ประกอบด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data flow Diagram : DFD) ที่ใช้อธิบายการไหลของข้อมูลในเว็บไซด์อี คอมเมิร์ซ ฟังก์ชั่นการประมวลผลที่จะต้องได้รับการจัดทำ และฐานข้อมูลที่ใช้งาน นอกจากนี้การออกแบบเชิงตรรกะยังผนวกรวมในเรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับระบบรักษา ความปลอดภัย การสำรองข้อมูลฉุกเฉิน และการควบคุมการใช้งานระบบ การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design) เป็นการแปลงแผนภาพเชิงตรรกะ มาเป็นส่วนประกอบทางกายภาพ เช่นรายละเอียดในสถาปัตยกรรมของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ขนาดของระบบสื่อสารและโทรคมนาคมที่ต้องการเชื่อมโยง วิธีการเชื่อมโยง วิธีการสำรองข้อมูลและการป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอก
7
การสร้างระบบ (Building the System)
การออกแบบและสร้างเว็บไซด์ต้องมีความชัดเจนในเรื่องการออกแบบเชิงตรรกะและเชิง กายภาพ โดยสามารถเริ่มพิจารณาถึงวิธีการสร้างเว็บไซด์จริงๆขึ้นมาซึ่งก็มีทางเลือกอยู่ หลายรูปแบบ เช่นการพัฒนาขึ้นเอง (In-House) โดยทีมงานภายใน หรือจะเลือกใช้ วิธีการเอาต์ซอร์ส (Outsourcing) วิธีการเอาต์ซอร์ส (Outsourcing) เป็นการจ้างหน่วยงานภายนอกซึ่งเป็นผู้ ให้บริการในเรื่องการพัฒนาเว็บไซด์ แทนที่เราจะใช้บุคลากรภายใน เนื่องจากบางครั้ง บุคลากรภายในอาจมีทักษะไม่มากพอหรือตามเทคโนโลยีไม่ทัน ในขณะที่ทีมงานวิธีการ เอาต์ซอร์สจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพัฒนาด้วยวิธีใด เรื่องต่อไปคือเรื่องการตัดสินใจว่า จะติดตั้ง เซิร์ฟเวอร์ไว้ที่บริษัทหรือใช้บริการเช่าโฮสต์ จากผู้บริการซึ่งการตัดสินใจเหล่านี้จะอิสระ ต่อกันแต่ก็สมควรจะพิจารณาในเวลาเดียวกัน
8
การทดสอบระบบ (Testing the System)
เมื่อระบบถูกสร้างขึ้นเสร็จสมบูรณ์ จึงต้องมีกระบวนการการทดสอบขึ้นด้วย ซึ่งความยุ่งยากและ การใช้เวลาในการทดสอบนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของระบบ การทดสอบจะต้องถูกจัดทำขึ้นทุกครั้ง แม้ว่าจะเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเองหรือจะเป็นระบบที่มาจากเอาต์ซอร์สก็ตาม โดยเฉพาะเว็บไซด์ อีคอมเมิร์ซที่ซับซ้อน สามารถมีเส้นทางเดินผ่านจำนวนมากเพื่อนนำไปสู่หน้าเว็บต่างๆ ซึ่งแต่ละ คนที่เข้ามาทดสอบจะต้องบันทึกผลการทดสอบลงในเอกสาร ว่าผ่านการทดสอบหรือไม่ โดย การทดสอบประกอบด้วย 1. การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Testing) เกี่ยวกับการทดสอบของเว็บไซด์ในแต่ละโมดูล 2. การทดสอบทั้งระบบ (System Testing) เกี่ยวกับการทดสอบฟังก์ชั่นการทำงาน ต่างๆของเว็บไซด์ทั้งระบบ 3. การทดสอบการยอมรับในระบบ (Acceptance Testing) เป็นการให้บุคคลสำคัญ หรือผู้จัดการเข้าร่วมทดสอบ ได้ทดลองใช้ระบบจริงที่ถูกติดตั้ง ทั้งนี้ในการทดสอบยอมรับ ระบบจะต้องตรวจสอบการทำงานของระบบโดยรวมว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของ บริษัทหรือไม่
9
การนำระบบไปใช้และการบำรุงรักษา (Implementation and Maintenance)
เมื่อระบบถูกนำไปใช้งานจริง สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ทำให้ระบบสามารถล้มเหลวได้จากหลายเหตุผลด้วยกัน ซึงส่วนใหญ่มักจะ คาดการณ์ไม่ได้ ดังนั้นทางป้องกันก็คือต้องมีการดูแลตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง มีการ ทดสอบและซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ดั้งนั้นการบำรุงรักษาระบบจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ บางครั้งหลายบริษัทไม่มีการตั้งงบประมาณจัดการกับสิ่งเหล่านี้ ทำให้เมื่อระบบมีปัญหา ทำให้เกิดการเสียหายของข้อมูลและสูญเสียเงินจำนวนมาก การบำรุงรักษาระบบเป็นสิ่งสำคัญเพราะว่าเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ จะมีกระบวนการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ต้องปรับปรุงและแก้ไขอย่างไม่มีสิ้นสุด ตามปัจจัย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. การยากระดับความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ เช่น การอัปเกรดซีพียู การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ เพิ่มเติม เช่น ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ เมลเซิร์ฟเวอร์ และแอดเซิร์ฟเวอร์เป็นต้น
10
2. การปรับปรุงระบบสื่อสารให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การติดต่อกับผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต 3. การปรับปรุงลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บต่างๆ (เว็บภายนอก) ในกรณีที่ลิงก์เดิมได้ตาย ไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากเว็บไซด์นั้นได้เปลี่ยนแปลงลิงก์ใหม่หรือปิดให้บริการไปแล้ว 4. การปรับปรุงสคริปต์ ป้ายโฆษณา รายงาน และไฟล์ข้อมูล 5. การปรับปรุงแบบการนำเสนอเว็บ เพื่อให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ 6. การอัปเกรดเว็บ เพื่อรองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน 7. การปรับปรุงฐานข้อมูลลุกค้าหรือสมาชิก 8. การปรับปรุงข้อมูลในแคตาล็อกสินค้าบนเว็บไซด์ เช่น การเพิ่มผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ การ เปลี่ยนแปลงราคา การส่งเสริมการขาย และการเพิ่มช่องทางการชำระเงิน เป็นต้น 9. การปรับปรุงลิงก์เชื่อมโยงที่ส่งไปยังฐานข้อมูล เพื่อให้ส่วน Back end นำไป ประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
11
ความสำเร็จในระยะยาวของอีคอมเมิร์ซนั้น ขึ้นอยู่กับทีมงาน (Web Team) เป็นสำคัญ ที่ต้องคอยทำหน้าที่ตรวจสอบการเฝ้ามองเทคโนโลยีเว็บของคู่แข่งขัน การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมนำมาปรับใช้กับเว็บไซด์ของตนตามสภาวะของ ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
12
การเปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmarking) โดยจะให้ความสำคัญ เกี่ยวกับการวัดเปรียบเทียบ ด้วยการเปรียบเทียบความสามารถของตนกับคู่แข่ง เพื่อให้รู้ถึงขีดความสามารถของตน โดยทีมงานจะเปรียบเทียบเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ กับคู่แข่งในเรื่องของการตอบสนองทีมีความเร็ว คุณภาพของรูปแบบและการ ออกแบบเว็บ รวมถึงการทำเว็บไซด์ให้เป็นปัจจุบันในเรื่องข้อมูลราคาสินค้าและ โปรแกรมส่งเสริมการขาย ทั้งนี้ภายใต้สภาพแวดล้อมของเว็บอีคอมเมิร์ซที่มีการ แข่งขันสูง โอกาสในการสูญเสียลูกค้าย่อมเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดั้งนั้นการที่มีทีมงาน ไว้คอยดูแลตรวจสอบ พร้อมกับปรับปรุงเว็บให้ทันสมัยและคอยพัฒนาขีด ความสามารถของตนอยู่เสมอ เพื่อตอบสนองลูกค้าได้เป็นอย่างดีภายใต้ปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที
13
ปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซด์
จุดประสงค์ของเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซคือ การจัดส่งเนื้อหาข่าวสารไปยังลูกค้า และ ทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ สำหรับความรวดเร็วและความน่าเชื่อถือ จัดเป็น วัตถุประสงค์สำคัญในมุมมองเชิงการค้าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยตรง ดังนั้น หากต้องการให้เว็บไซด์สามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ได้ จะต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซด์ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือไม่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพทำงานให้กับเว็บไซด์ มี ปัจจัย 3 ประการ 1. เนื้อหาของหน้าเว็บ 2. การก่อกำเนิดหน้าเว็บ 3. การส่งมอบหน้าเว็บ
14
ฟังก์ชั่นการทำงานของซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซ
แคตาล็อกออนไลน์ (Online Catalog) บริษัทใดๆก็ตามที่ต้องการขายสินค้าบนเว็บ จะต้องมีรายการสินค้าหรือแคตาล็อกแบบออนไลน์ ที่พร้อมให้ลูกค้าเลือกชมสินค้าของตน พร้อมกับรายละเอียดสินค้าเหล่านั้น สำหรับซอฟต์แวร์ merchant sever จะมี ความสามารถในเรื่องการจัดการฐานข้อมูลสินค้า โดยจะช่วยสร้างแคตาล็อกออนไลน์ที่ผู้ใช้ สามารถกำหนดรูปแบบหรือปรับแต่งได้ตามที่ตนต้องการ ความซับซ้อนของแคตาล็อกจะขึ้นอยู่ กับขนาดของบริษัทและสายผลิตภัณฑ์ เป็นหลัก รถเข็นอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shopping Carts) การเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านระบบรถเข็นอิเล็กทรอนิกส์ เปรียบเสมือนการเลือกซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้าที่ทางห้าง ได้เตรียมตะกร้าหรือรถเข็นสินค้าไว้คอยบริการ เพื่อให้ลูกค้าสามารถหยิบสินค้าที่เลือกซื้อใส่ลง ไป รถเข็นอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโมดูลซอฟต์แวร์ Merchant server นั้นจะ อยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่อนุญาตให้ลูกค้าหยิบสินค้าลงในรถเข็นจากการคลิกเทานั้น จากนั้น ซอฟต์แวร์ Merchant server จะบรรจุรายการสินค้าดังกล่าวไว้ในรถเข็นทันที นอกจากนี้ลุกค้ายังสามารถทบทวนรายการสินค้าที่บรรจุในตะกร้า หรือแก้ไขได้ เช่น เพิ่ม ลด ยกเลิก จำนวนสินค้า
15
การประมวลผลบัตรเครดิต (Credit Card Processing) ระบบรถเข็น อิเล็กทรอนิกส์ปกติจะทำงานร่วมกันกับซอฟต์แวร์ประมวลผลบัตรเครดิต ซึ่งจะทำ การตรวจสอบบัตรเครดิตของลูกค้า แล้วดำเนินการตัดบัญชีบัตรเครดิตโดย อัตโนมัติ ทั้งนี้ลูกค้าสามารถไว้ใจระบบได้ เนื่องจากตัวระบบจะมีระบบความ ปลอดภัยที่น่าเชื่อถือได้ ทั้งนี้ระบบจะมีรหัสผ่านเพื่อยืนยันการตัดเงินในบัญชีก่อน โดยรหัสจะส่งไปยังอีเมลของลูกค้า และแจ้งรายละเอียดการสั่งซื้อพร้อม รายละเอียดการชำระเงิน ซึ่งถือเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งซื้อ ลูกค้าเพียงรอ รับสินค้าที่บ้าน ตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าที่ได้ตกลงไว้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.