ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAustin Gibson ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2
Pre-test ผู้บริโภค คือ ใคร ???
หากไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจาก การใช้สินค้าและบริการสามารถดำเนินการตามกฎหมายแพ่ง/ อาญาได้ หรือไม่ อย่างไร ในกรณีใด ??? หลักความรับผิดเด็ดขาด (Strict Liability) ในกฎหมายละเมิด คืออะไร ???
4
เค้าโครง - แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- ทฤษฎีกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภค - พัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ - พัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
5
แนวคิด (Basic concept)
สมัยก่อน การค้าขายสินค้าและบริการยังมีลักษณะง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ยึดหลักความมีอิสระและเสรีภาพของบุคคล ยึดหลักความเท่าเทียมและความเสมอภาคตามหลักประชาธิปไตย ในการซื้อขายสินค้าและบริการในสมัยก่อนมีลักษณะดังนี้ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี หรือ Laissez-Faire ยึดหลักผู้ซื้อต้องระวัง หรือ Caveat Emptor
6
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (Capitalism)
หรือ Laissez-Faire เป็นภาษาฝรั่งเศส = let (them) do, let it be เริ่มต้นราวศตวรรษที่ 17 ในประเทศฝรั่งเศส รัฐไม่เข้ามาแทรกแซงเสรีภาพในการค้าขายของเอกชน เป็นระบบเศรษฐกิจที่ความสัมพันธ์ของเอกชนเป็นไปโดยปราศจากการจำกัน ของรัฐในด้านต่าง ๆ ทั้งจากการจำกัดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร (tariffs) หรือ มาตรการสนับสนุนต่าง ๆ (subsidies)
7
หลักผู้ซื้อต้องระวัง หรือ Caveat Emptor
เป็นภาษาโรมัน = Let the buyer beware หากผู้ซื้อไม่ตรวจสอบสินค้าที่จะซื้อขายให้ดี หรือเห็นได้ชัดเจนว่าสินค้ามี ความชำรุดบกพร่องแต่ก็ยังซื้อสินค้านั้นไป ถือว่าผู้ซื้อนั้นขาดความ ระมัดระวังเอง ผู้ขายไม่ต้องรับผิด ปรากฏอยู่ในมาตรา 473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย
8
มาตรา 473 ป.พ.พ. “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิด ในกรณี ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (1) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้ว แต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือ ควรจะได้รู้เช่นนั้น หากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่ วิญญูชน (2) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้น เป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่ง มอบและผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นโดยมิได้อิดเอื้อน (3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”
9
ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial revolution) กระบวนการผลิต สินค้าต่าง ๆ เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ใน กระบวนการผลิต ซึ่งทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้เลยว่าสินค้านั้นมีความชำรุดบกพร่องหรือ อาจไม่ปลอดภัยในขณะที่ซื้อมาหรือไม่ โดยความชำรุดบกพร่องหรือความไม่ปลอดภัยของสินค้าเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจาก วัตถุดิบที่ใช้ไม่ได้คุณภาพ หรือความบกพร่องในกระบวนการผลิต เช่น การที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ IPhone 7 แล้วเกิดการระเบิดขึ้น ผู้ใช้ย่อมไม่ สามารถนำสืบได้ว่าสินค้านี้มีความบกพร่องในส่วนใด
10
นอกจากนี้ การเพิ่มจำนวนการผลิตเพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต และการ ขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดแบบไร้พรมแดน ทำให้สินค้าหลากหลายชนิดกระจายไปยังผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ซึ่งในจำนวน นี้มีสินค้าที่ชำรุดบกพร่องและไม่ปลอดภัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ ความไม่เสมอภาคระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนี้เอง ที่ทำให้รัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้บริโภค
11
คำถามเรื่องความเหมาะสมของหลักผู้ซื้อต้องระวัง และการยึดถือหลักไม่ แทรกแซงกิจการของเอกชนอย่างเคร่งครัดจึงเกิดขึ้น เพราะผู้บริโภคมักอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ ไม่มีอำนาจต่อรอง นอกจากนี้ หากเกิดปัญหาขึ้นจากการใช้สินค้าและบริการ ก็ต้องใช้หลักเรื่อง สัญญา กับ ละเมิด เป็นหลักในการฟ้องร้องดำเนินคดี ความต้องการในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้แนวคิดเรื่องกฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภคจึงเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ
12
ก่อนมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้เสียหายสามารถ...
เรียกค่าเสียหายให้รับผิดตามสัญญา หากผู้เสียหายเป็นคู่สัญญา และ/หรือ ฟ้องละเมิด หากผู้เสียหายไม่ใช่คู่สัญญา จะฟ้องละเมิดได้อย่างเดียว
13
สรุป สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
การผูกขาดในตลาด โดยผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งที่มีอำนาจในทาง การตลาดเหนือคู่แข่ง ทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม ผู้บริโภคจึงถูกเอา รัดเอาเปรียบ ความเหลื่อมล้ำทางด้านข้อมูล ผู้บริโภคไม่มีความรู้ความเข้าใจใน กระบวนการผลิตที่ซับซ้อน และอาจส่งผลถึงการไม่ทราบถึงคุณภาพและ ปริมาณของสินค้า และตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในที่สุด ความปลอดภัยและสุขภาพของผู้บริโภคสินค้า โดยเฉพาะด้านอาหารและ ยา หากว่าไม่มีมาตรการควบคุมหรือคุ้มครอง อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับ อันตรายจากการบริโภคอาหารและยาที่ไม่ได้มาตรฐาน
14
ทฤษฎี (Theories) ทฤษฎีกฎหมายที่นำมาใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่
การไม่ให้ความสำคัญกับหลักความศักดิ์สิทธิของเจตนา (Autonomy of will) ทฤษฎีความรับผิดในทางละเมิดซึ่งใช้บทสันนิษฐานความรับผิด (Presumption of fault)
15
การไม่ให้ความสำคัญกับหลักความศักดิ์สิทธิของเจตนา
โดยหลัก การทำสัญญาระหว่างเอกชนด้วยกันจะยึดหลักศักดิ์สิทธิของ เจตนา (Autonomy of Will) หรือหลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of contract) หลักเสรีภาพในการทำสัญญา หมายถึง บุคคลต้องมีเสรีภาพในการกระทำการ ใด ๆ ตามความต้องการ โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ หลักศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา หมายถึง เจตนาที่บุคคลแสดงออกไปต้องมีความ ศักดิ์สิทธิ์ รัฐต้องรับรองและคุ้มครองให้ (ตกลงกันอย่างไร ก็บังคับกันตามที่ ตกลงกัน)
16
และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะนำทฤษฎีความรับผิดเฉพาะคู่กรณีในสัญญา มาใช้
ซึ่งหลักนี้เองที่เป็นอุปสรรคที่สำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากใน ความเป็นจริงนั้น ผู้บริโภคอาจไม่ใช่คู่สัญญาก็ได้ (คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ ไม่ได้ซื้อ) ดังนั้น หากยังยึดหลักความรับผิดเฉพาะคู่สัญญา ผู้บริโภคที่ได้รับความ เดือดร้อนเสียหายจากการใช้สินค้าก็ไม่อาจฟ้องร้องผู้ขายได้ เพราะไม่ได้ เป็นคู่สัญญา
17
ดังนั้น ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค การกำหนดนิยามของ “ผู้บริโภค” นั้น จึงไม่ อาจกำหนดได้โดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ทางสัญญา และไม่อาจจำกัดความรับผิด อยู่เฉพาะคู่สัญญา ตามหลักความรับผิดเฉพาะคู่กรณีได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขยายความรับผิดของผู้ขายไปยังบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ซื้อด้วย คือ แม้บุคคลนั้นไม่ใช่คู่สัญญา แต่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้า ก็ถือว่า เป็น “ผู้บริโภค” ด้วย เช่น การที่พ่อบ้านซื้อสินค้าไปให้คนในบ้านใช้ หากเกิดความเสียหายแม้ไม่ใช่แก่ ตัวพ่อบ้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ ผู้ขายก็ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้นกับ คนในครอบครัวของพ่อบ้านด้วย
18
นอกจากนี้ ยังมีข้อโต้แย้งต่อหลักศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนาว่า เหมาะสม กับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่บุคคลมีความทัดเทียมกันในอำนาจการต่อรอง (Equality of Bargaining power) เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบัน ผู้บริโภคมักอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่า ไม่มีอำนาจ ต่อรองในทางเศรษฐกิจ จนทำให้ถูกผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการจำกัดเสรีภาพในการแสดง เจตนามากยิ่งขึ้น
19
ทฤษฎีความรับผิดในทางละเมิดซึ่งใช้บทสันนิษฐานความรับผิด (Presumption of fault)
เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น นอกเหนือจากที่คู่สัญญาจะเรียกให้ผู้ขายรับผิดใน ความชำรุดบกพร่อง (โดยอาศัยหลักตามสัญญา ม.472) นั้น ผู้เสียหายสามารถ ฟ้องร้องให้ผู้ขายรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักละเมิดได้ มาตรา 420 ป.พ.พ. “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุ ให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือ สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อการนั้น”
20
ความรับผิดฐานชำรุดบกพร่อง
ม.472 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “กรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความ ชำรุดบกพร่องมีอยู่”
21
โดยทฤษฎีความรับผิดในทางละเมิดนั้น มีหลักอยู่ 2 หลักใหญ่ ๆ ได้แก่
หลัก “ความรับผิดเมื่อมีความผิด” อันเป็นหลักการทั่วไปในเรื่องละเมิด คือ เมื่อผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อม ต้องรับผิด หลัก “ความรับผิดเด็ดขาด” หรือ Strict Liability เป็นความรับผิดโดย กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีความผิด (แม้มิได้จงใจ หรือประมาท เลินเล่อ) โดยอาจเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด หรืออาจมีข้อยกเว้นให้นำสืบ หักล้างได้ (เช่น ผู้ผลิตพิสูจน์หักล้างว่าผู้บริโภคใช้สินค้าไม่ถูกวิธี ประมาท เลินเล่อเอง หรือความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นเพราะบุคคลอื่น) (ดู ม.434 ม. 436 ม.437)
22
สรุป... จากปัญหาดังกล่าว หลาย ๆ ประเทศจึงได้พัฒนาหลักกฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภคขึ้น โดยมีหลักการที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การไม่คำนึงถึงหลักความสัมพันธ์ในทางสัญญาระหว่างคู่กรณี – อันจะ ทำให้ผู้บริโภคที่แท้จริง (แม้มิได้เป็นคู่สัญญา) ได้รับความคุ้มครอง นำหลักความรับผิดโดยเด็ดขาด (ที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ผลิตเป็นฝ่ายผิด) มาใช้ เป็นการผลักภาระการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อในทางละเมิดไป ยังผู้ผลิต เกิดหลักผู้ขายต้องระวัง (Caveat Venditor) มิใช่ผู้ซื้อต้องระวัง
23
พัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ
ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณี (Common law) มีวิวัฒนาการมาจากการเรียกร้องในทางละเมิดให้ผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการใช้สินค้าที่มีความชำรุด บกพร่อง เนื่องจากผู้ผลิตอยู่ในสถานะที่สามารถควบคุมตรวจสอบสินค้าได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สินค้านั้นไปก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้/ผู้บริโภค
24
เช่น ในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1916 คดี MacPherson v. Buick Motor Co.,
ศาลตัดสินให้พ่อค้าปลีกที่ขายรถยนต์ที่มีล้อที่ชำรุด จนเป็นเหตุให้รถพลิก คว่ำและโจทก์ได้รับบาดเจ็บ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากความชำรุด บกพร่องนั้น เนื่องจากมีหน้าที่ต้องดูแลให้สินค้า (รถยนต์) มีความปลอดภัย แม้จำเลยจะต่อสู้ว่าล้อรถนี้จำเลยซื้อมาจากผู้ผลิตรายอื่น และโจทก์กับจำเลย ไม่มีข้อผูกพันให้ต้องรับผิดต่อกันตามสัญญาก็ตาม “If he is negligent, where danger is to be foreseen, a liability will follow.”
25
กระแสเรียกร้องในสหรัฐอเมริกา ให้รัฐเข้ามาให้การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค มี ความชัดเจนมากราวปี ค.ศ โดยประธานาธิบดี John F. Kennedy โดยมีการประกาศให้การรับรองสิทธิของผู้บริโภค (Consumer Bills of Rights) ที่สำคัญ 4 ประการ คือ Right to safety - สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากสินค้า Right to be informed - สิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่าง เพียงพอก่อนที่จะซื้อ Right to choose - สิทธิที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการโดยอิสระ Right to be heard – สิทธิที่จะร้องเรียน รวมถึงสิทธิที่จะเรียกร้องค่าทดแทน จากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสินค้าที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่มีความปลอดภัย
26
ส่วนในประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ.1932 มีคดีที่เป็นจุดเริ่มต้น คือ
คดี Donoghue v Stevenson ที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท ผลิตน้ำขิง (ginger-beer) ให้รับผิด กรณีมีซากหอยทางอยู่ในขวดน้ำขิงที่เพื่อนของเธอซื้อมาจากร้านค้าใน ประเทศสก็อตแลนด์ เพื่อบริโภค เป็นเหตุให้เธอคลื่นเหียนอาเจียน และ เจ็บป่วย
27
ศาลอ้าง Bible ที่ว่า “love thy neighbour”
ศาลสูงของอังกฤษตัดสินว่า จำเลยต้องรับผิดแม้ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดกับโจทก์ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ศาลอ้าง Bible ที่ว่า “love thy neighbour” หรือ จำเลยมีหน้าที่ต้องดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค หรือหลัก duty of care (เป็นองค์ประกอบที่ 1 ของกฎหมายละเมิดของอังกฤษ) ** ในกรณีนี้ โจทก์ไม่สามารถฟ้องให้ร้านค้ารับผิดตามสัญญาได้เพราะไม่ใช่ คู่สัญญา **
28
ปัจจุบัน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอังกฤษครอบคลุม 4 ประเด็น ต่อไปนี้
กฎหมายเกี่ยวกับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม fairer terms in contracts for goods and services, by declaring surprising and onerous terms as unfair กฎหมายเกี่ยวกับสินค้าไม่ปลอดภัย product safety regulation, to ensure people cannot purchase goods that are potentially harmful
29
กฎหมายเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อ Financial regulation, to ensure access to credit is cheaper and people fully understand the obligations they have when taking loans กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันที่เป็นธรรม stronger competition in the private sector, through breaking up cartels, dismantling monopolies and unwinding some mergers
30
ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร (Civil Law)
ในประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสมีกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Liability) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดหากเกิดความเสียหายจากการใช้ สินค้า ที่เกิดจากความบกพร่องในการผลิต ความบกพร่องในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ และความบกพร่องในทางการตลาด (ไม่ได้มีคำเตือนให้ ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้สินค้า) โดยที่สภายุโรป (European Council)ได้ออกสนธิสัญญาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อ ค.ศ.1977
31
พัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยก่อนปี พ.ศ. 2522 พ.ศ ประเทศไทยตราพระราชบัญญัติหางน้ำนม พ.ศ ตรงกับ สมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีเหตุผลเพื่อความอยู่ดีกินดีของ ประชาชน การบริโภคหางน้ำนม (นมขาดมันเนย) ควรจำกัดยู่เฉพาะในผู้ใหญ่ หากมีการนำไปเลี้ยงทารกย่อมทำให้ทารกมีสุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ได้
32
หลังจากนั้น รัฐเริ่มเห็นความสำคัญของสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมาก ยิ่งขึ้น ประกอบกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐจึงได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและ ป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการบริโภคของประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่กฎหมายเหล่านี้มีลักษณะเป็นการป้องปรามเพื่อไม่ให้เกิดความ เสียหาย ไม่ได้มีลักษณะเยียวยา ชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้บริโภคแต่อย่างใด
33
ตัวอย่างกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ใช้บังคับอยู่ก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติหางน้ำนม พ.ศ. 2470 พระราชบัญญัติควบคุมการขายยา พ.ศ. 2479 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติควบคุมอาหารพ.ศ (พระราชบัญญัติหางน้ำนม เดิม) พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 โดยกฎหมายเหล่านี้ให้อำนาจรัฐในการควบคุมผู้ประกอบกิจการให้ต้องปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดและมีโทษทางอาญา แต่ก็ไม่ได้เยียวยาผู้เสียหาย
34
ตัวอย่างกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ใช้บังคับอยู่ก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 นอกจากมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ก่อนที่จะ มี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ ผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหายสามารถฟ้อง คดีโดยอาศัยกฎหมายเหล่านี้ได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ม ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ม ความผิดเกี่ยวกับการค้าที่เกี่ยวกับการชั่ง ตวง วัด
35
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างทำของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะซื้อขาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะเช่าทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะเช่าซื้อ
36
หลังจากนั้นจึงได้มีความพยายามให้เกิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค โดยสภา สตรีแห่งประเทศไทย
รัฐบาลในสมัยต่อมา (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช) ได้จัดตั้งคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร หลังจากเปลี่ยนรัฐบาลไปสองสมัย จนมาถึงสมัยของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้เร่งรัดเรื่องนี้ขึ้นอย่างจริงจัง ถึงขนาดให้มีการร่างกฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภคขึ้น
37
จนกระทั่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ และมีผลใช้บังคับในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 นับแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยก็มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคใช้ โดย กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับอยู่เป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งมีการแก้ไขเมื่อ พ.ศ.2541 และแก้ไขล่าสุด พ.ศ.2556 ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่สำคัญอีก 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
38
ตัวอย่างกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ใช้บังคับหลังจากมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 นอกจากนั้น ยังมีกฎหมายเฉพาะอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
39
สรุป กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค นอกเหนือจากพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มก.ม.ที่ลักษณะโดยตรง/ อ้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภค สินค้าและบริการ กลุ่มก.ม.ที่ลักษณะโดยตรง/ อ้อมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการบริโภค สินค้าและบริการ กลุ่มก.ม.ที่ควบคุมการเผยแพร่ข้อเท็จจริง หรือการโฆษณาสินค้าหรือ บริการ
40
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 61
สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับ ข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความ เสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการ พิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้ง ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครอง ผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การ อิสระดังกล่าวด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.