งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(Imitation and Assembled Stones)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(Imitation and Assembled Stones)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (Imitation and Assembled Stones)
อัญมณีเลียนแบบ และอัญมณีประกบ (Imitation and Assembled Stones)

2 อัญมณีเลียนแบบ (Imitation stones หรือ Simulants) หมายถึง วัสดุตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น เพื่อให้ดูเหมือนกับอัญมณีธรรมชาติเฉพาะลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่ส่วนประกอบทางเคมี โครงสร้าง คุณสมบัติทางกายภาพ และทางแสงแตกต่างกัน ทำให้ตรวจแยกจากอัญมณีธรรมชาติได้ง่าย การทำอัญมณีเลียนแบบเกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่สมัยอียิปต์ ประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีการนำเซรามิกที่มีการเคลือบ มาใช้แทนอัญมณีทึบแสงพวกลาพิสลาซูลี เทอร์คอยส์ และโอนิกซ์ สำหรับอัญมณีโปร่งแสงมีการใช้แก้วใสมาทำเลียนแบบเมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งแก้วในสมัยนั้นถือเป็นของมีค่าและมีราคามากกว่าอัญมณีธรรมชาติ อัญมณีเลียนแบบแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เป็นอัญมณีธรรมชาติ และกลุ่มที่มนุษย์ทำขึ้น

3 1 อัญมณีเลียนแบบที่เป็นอัญมณีธรรมชาติ
1 อัญมณีเลียนแบบที่เป็นอัญมณีธรรมชาติ เป็นอัญมณีราคาถูก ที่มีสีและความใสคล้ายกับอัญมณีราคาแพง จึงมีการนำไปหลอกขายว่าเป็นอัญมณีชนิดราคาแพง โดยที่นิยมเลียนแบบมีดังนี้ -อัญมณีเลียนแบบเพชร ได้แก่ เพทายและแซปไฟร์สีขาวใส -อัญมณีเลียนแบบทับทิม ได้แก่ สปิเนลและการ์เนตสีแดง -อัญมณีเลียนแบบไพลิน ได้แก่ สปิเนลสีน้ำเงิน แทนซาไนต์ ทัวร์มาลีนสีน้ำเงิน ไคยาไนต์ -อัญมณีเลียนแบบบุษราคัม ได้แก่ ซิทริน โทแพซเหลือง ทัวร์มาลีนเหลือง เบริลเหลือง -อัญมณีเลียนแบบมรกต ได้แก่ การ์เนตเขียว ทัวร์มาลีนเขียว ฟลูออไรต์เขียว -อัญมณีเลียนแบบหยก ได้แก่ หินควอตไซต์ย้อมสี การ์เนตชนิดไฮโดรกรอสซูลาไรต์ คริโซเพรส เซอร์เพนทีน มอว์ซิทซิท

4 อัญมณีเลียนแบบเพชร เพชรแท้ แซปไฟร์

5 อัญมณีเลียนแบบไพลิน อัญมณีเลียนแบบมรกต ไพลินธรรมชาติ ไคยาไนต์
แทนซาไนต์ อัญมณีเลียนแบบมรกต มรกตธรรมชาติ ซาโวไรต์ ทัวร์มาลีนสีเขียว

6 2 อัญมณีเลียนแบบที่มนุษย์ทำขึ้น
2 อัญมณีเลียนแบบที่มนุษย์ทำขึ้น 2.1 แก้ว (Glass) แก้ว หมายถึง สารอนินทรีย์ที่เกิดจากการหลอมเหลวและเย็นตัวเป็นของแข็งอย่างรวดเร็ว โดยไม่เกิดการตกผลึก ในวงการอัญมณีเรียกแก้วเลียนแบบอัญมณีว่า เพสต์ (paste) มาจากภาษาอิตาลี หมายถึง แป้งผสมน้ำนมที่ใช้สำหรับทำขนม เนื่องจากการทำแก้วต้องผสมสารตั้งต้นในสถานะของเหลวเพื่อให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกันก่อนการแข็งตัว แก้วเป็นสารอสัณฐาน (amorphous) ซึ่งมีส่วนประกอบทางเคมีไม่แน่นอน โดยมีธาตุซิลิคอน (Si) เป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีหลากหลาย สำหรับแก้วที่นำมาใช้เป็นอัญมณีเลียนแบบมี 2 ประเภท คือ

7 แก้วคราวน์ (Crown Glass) มีส่วนประกอบหลักเป็นธาตุที่ใช้ในการผลิตแก้วโดยทั่วไป ได้แก่ ซิลิกา (Si) และออกไซด์ของโซเดียม (Na) และแคลเซียม (Ca) โดยโซเดียมช่วยลดจุดหลอมเหลวและแคลเซียมเป็นสารทำให้คงรูป แก้วชนิดนี้มักนำไปทำขวดแก้ว กระจก และเลนส์แว่นตา ในด้านอัญมณีนำมาหล่อเป็นเม็ดอัญมณีเจียระไนเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับแฟชั่น (Costume Jewelry) มีความแข็งต่ำกว่า 6 ค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่าง ส่วนค่าดัชนีหักเหมีค่าต่ำประมาณ 1.44 ถึง 1.53

8 แก้วฟลินต์ (Flint Glass) มีส่วนประกอบเป็นซิลิกา และ ออกไซด์ของโพแทซเซียม (K) และตะกั่ว (Pb) หรือแทลเลียม (Tl) บางครั้งจึงเรียกแก้วชนิดนี้ว่า แก้วตะกั่ว (Lead Glass) เป็นแก้วที่นิยมนำมาใช้เป็นอัญมณีเลียนแบบมากกว่าแก้วคราวน์ เนื่องจากตะกั่วทำให้มีความแวววาวดี ช่วยเพิ่มค่าดัชนีหักเห และการกระจายแสงให้สูงขึ้น นอกจากนั้น ยังมีค่าความถ่วงจำเพาะสูง จึงรู้สึกว่าหนักกว่าแก้วปกติด้วย โดยมีค่าสูงถึง 3.15 ถึง ส่วนค่าดัชนีหักเหมีค่าอยู่ระหว่าง 1.58 ถึง แม้ว่าตะกั่วจะทำให้แก้วมีความใสและมีค่าการกระจายแสงสูงขึ้น แต่ทำให้ความแข็งของแก้วลดลง และหมองได้ง่ายขึ้น

9 คุณสมบัติทางอัญมณีของ Crown glass และ Flint glass
ความแข็ง ต่ำากว่า 6 5-5.5 ค่าดัชนีหักเห ความถ่วงจำเพาะ การยอมให้แสงผ่าน โปร่งใส ส่วนประกอบหลัก ซิลิกา(Si), โซเดียม(Na) และแคลเซียม(Ca) (ปริมาณขึ้นอยู่กับการนำไปผลิต) ซิลิกา(Si), โพแทสเซียม(K) และตะกั่ว(Pb) หรือแทลเลียม(Tl) (ปริมาณขึ้นอยู่กับการนำไปผลิต)

10 การทำให้แก้วมีหลากหลายสี เพื่อใช้เลียนแบบอัญมณีสีต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากชนิดของโลหะออกไซด์ในสารให้สีที่ใส่ลงไปในส่วนผสมของแก้ว เช่น สีแดงเกิดจากเซเลเนียมออกไซด์ (Selenium oxide) หรือโกลด์ออกไซด์ (Gold oxide) สีม่วงเกิดจากแมงกานีสออกไซด์ (Manganese oxide) หรือสีน้ำเงินเกิดจากโคบอลต์ออกไซด์ (Cobalt oxide) เป็นต้น นอกจากชนิดของธาตุแล้ว สีของแก้วยังขึ้นกับชนิดของแก้ว สภาวะออกซิไดซิ่งหรือรีดิวซิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการผลิต และจากการให้ความร้อนหลังการผลิตด้วย

11 ส่วนแก้วที่ไม่มีสีเกิดจากการเติมตัวลดสี ที่เรียกว่า สบู่สำหรับการทำแก้ว (Glassmaker’s soaps) เพื่อลดสีเขียวที่เกิดจากเหล็กซึ่งเจือปนมาในสารตั้งต้น อาจมีการนำแก้วใสไร้สีมาทำให้เกิดสีโดยการเคลือบสารให้สีบริเวณหน้าพาวิลเลียน หรือการพ่นเคลือบในสุญญากาศด้วยแผ่นฟิล์มบางๆ ทำให้เกิดการเหลือบสีในแก้วที่ใช้เลียนแบบโอปอ แก้วเลียนแบบราคาถูกมักนำมาปิดด้วยแผ่นฟิล์มบางๆ บริเวณหน้าเจียระไนด้านพาวิลเลียน ทำให้เหมือนกระจกเพิ่มความแวววาวมากขึ้น ความใสของแก้วสามารถควบคุมได้โดยการใช้สารตั้งต้นที่บริสุทธิ์ ยิ่งบริสุทธิ์มาก แก้วยิ่งใสมาก ถ้าต้องการให้แก้วมีความโปร่งแสงถึงทึบแสง เพื่อใช้เลียนแบบพลอยที่ไม่โปร่งใส ต้องเติมสารที่ทำให้เกิดความขุ่นมัว เช่น ดีบุกออกไซด์ (Tin oxide) ลงไปในการผลิตด้วย

12

13 การตรวจแยกแก้วเลียนแบบจากอัญมณีธรรมชาติ
1. ลักษณะที่มองเห็น (Visual Characteristics) ถ้าเป็นแก้วที่หล่อเป็นรูปอัญมณีเจียระไน จะเห็นรอยต่อระหว่างหน้าเจียระไนเป็นขอบมนไม่เป็นสันคม และหน้าเจียระไนที่เว้าเข้าไป เนื่องจากการหดตัวขณะการเย็นตัว นอกจากนั้นยังพบหลุมและผิวที่ขรุขระคล้ายผิวส้ม แต่ถ้าเป็นแก้วเลียนแบบที่เจียระไนอย่างดี อาจตรวจสอบได้ยาก

14 2. ประกายและรอยแตก (Luster and Fracture) ในแก้วเลียนแบบอัญมณีโปร่งแสงถึงทึบแสง แสดงผิวแตกแบบก้นหอย และมีประกายคล้ายแก้ว หรือคล้ายเพชร ซึ่งต่างจากอัญมณีธรรมชาติพวกคาลซิโดนี หยก หรือเทอร์คอยส์ ที่เป็นอัญมณีเม็ดเล็กๆ รวมกลุ่มกัน จึงไม่แสดงการแตกแบบก้นหอย และมีประกายแบบไขหรือด้าน

15 3. ลักษณะมลทินภายใน (Inclusions) ในเนื้อแก้วมักพบฟองอากาศรูปทรงกลม รูปไข่ หรือเป็นท่อยาว บางครั้งพบแนวเส้นที่แสดงการไหล (flow lines) หรือหย่อมสีไม่สม่ำเสมอกัน (swirl marks) เป็นลักษณะที่พบในของเหลวหนืดที่เย็นตัวเป็นแก้วอย่างรวดเร็ว แสดงฟองอากาศรูปร่างต่างๆ ในแก้ว

16 แสดงเส้นการไหลและฟองอากาศในแก้ว

17 คุณสมบัติทางอัญมณี (Gemmological properties)
แก้วมีคุณสมบัติทางอัญมณีแตกต่างจากอัญมณีธรรมชาติอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าความถ่วงจำเพาะ แก้วมีค่าความถ่วงจำเพาะแปรผันอยู่เป็นช่วงกว้าง ขึ้นกับชนิดและส่วนประกอบทางเคมี โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 2.30 ถึง 4.50 ค่าดัชนีหักเห ขึ้นอยู่กับชนิดและส่วนประกอบทางเคมีเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปมีค่าอยู่ระหว่าง 1.47 ถึง 1.70 แถบการดูดกลืนแสง การใช้สารให้สีต่างๆ ทำให้แก้วที่มีสีแสดงลักษณะของการดูดกลืนแสงตามชนิดธาตุซึ่งแตกต่างจากชนิดของธาตุให้สีในอัญมณีธรรมชาติที่ต้องการเลียนแบบ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่ายด้วยสเปกโตรสโคป

18 5. การนำความร้อน (Heat Conductivity) ความสามารถในการนำความร้อนของแก้ว มีน้อยกว่าอัญมณีธรรมชาติ เมื่อสัมผัสแก้ว จึงรู้สึกอุ่นกว่าการสัมผัสอัญมณีธรรมชาติ

19 แก้วที่มีลักษณะพิเศษ
1. แก้วอะเวนจูรีน (Aventurine Glass) เป็นแก้วไร้สีที่มีแผ่นทองแดงรูปสามเหลี่ยมหรือหกเหลี่ยมขนาดเล็กจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ทั่วไป ทำให้เกิดประกายระยิบระยับเหมือนอัญมณีชนิด อะเวนจูรีนเฟลด์สปาร์ (aventurine feldspar) ถ้าแผ่นทองแดงมีสีน้ำตาลอมแดง จะได้แก้วที่เรียกว่า หินทรายทอง (goldstone) แต่อาจมีสีเทาหรือน้ำเงินได้ หินทรายทองมีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ และค่าดัชนีหักเห ซึ่งต่ำกว่าอะเวนจูรีนเฟลด์สปาร์

20 2. แก้วเล่นสี (Play of Colour Glass) ทำขึ้นเพื่อเลียนแบบโอปอ มีหลายแบบ โดยแบบที่ง่ายที่สุดใช้แผ่นโลหะฟอยด์เล็กๆ หรืออาจใช้ชิ้นส่วนของเปลือกหอยใส่ลงไปในแก้วขณะเป็นของเหลวอยู่ แต่ชนิดที่พบได้บ่อยเรียกว่า หินสโลคัม (slocum stones) เป็นโอปอเลียนแบบที่ผลิตโดยชาวแคนาดา ชื่อ John Slocum โดยการใช้แก้วชนิดคราวน์ประกบกับแก้วที่ถูกกดทับให้เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ คล้ายโลหะเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ ห่างกันประมาณ 0.3 ไมครอน ทำให้เกิดการสอดแทรกของแสงเมื่อเดินทางผ่านชั้นต่างๆ เกิดการเล่นสีเหมือนโอปอ การตรวจแยกจากโอปอธรรมชาตินอกจากสังเกตลักษณะการเล่นสีที่ต่างกันอย่างชัดเจนแล้ว ยังตรวจแยกโดยการหาค่าความถ่วงจำเพาะ และค่าดัชนีหักเหที่ต่างกันด้วย โดยหินสโลคัมมีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่าง และค่าดัชนีหักเหอยู่ระหว่าง อาจพบฟองอากาศและร่องรอยการไหล

21 แสดงหินสโลคัมซึ่งเป็นแก้วเลียนแบบโอปอ
แสดงลักษณะของหินทรายทอง

22 3. แก้วแสดงปรากฏการณ์ตาแมว (Chatoyant Glass)
มีวิธีการทำหลายวิธี ดังนี้ การทำให้เกิดฟองอากาศเป็นแนวยาวเรียงตัวขนานกันจำนวนมาก คล้ายการทำฟองอากาศในการผลิตน้ำอัดลม การนำเส้นใยแก้วรูปหกเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมอัดหลอมรวมกัน เป็นแก้วที่แสดงลักษณะตาแมวคมชัด มีสีหลากหลาย เมื่อมองภาคตัดขวางจะเห็นเป็นโครงสร้างคล้ายรังผึ้ง มีค่าความถ่วงจำเพาะ 4.58 และค่าดัชนีหักเหสูงถึง 1.80 ซึ่งทั้ง 2 ค่าสูงกว่าตาแมวธรรมชาติ

23 4. แก้วเลียนแบบมุก (Glass Imitation Pearl) เป็นแก้วสีขาวขุ่นที่มีการเติมฟลูออไรด์หรือฟอสเฟต แล้วทำให้เป็นเม็ดกลม เคลือบด้วยสารที่ทำจากเกล็ดปลา เรียกว่า essence d’ orient โดยเคลือบหลายชั้นจนแสดงการเหลือบสีเหมือนผิวมุก มีค่าความถ่วงจำเพาะ 2.20 และค่าดัชนีหักเห 1.50 และแข็งกว่ามุกแท้ แสดงมุกเลียนแบบที่ทำจากแก้วสีต่างๆ

24 2.2 พลาสติก (plastic) พลาสติกเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดโดยกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชั่น (polymerization) สร้างเป็นโมเลกุลที่มีสายยาวซึ่งเพิ่มความเหนียวให้เรซินมาก กว่าการตกผลึกแบบปกติ สามารถทำให้เป็นรูปร่างตามต้องการโดยการหลอมแล้วหล่อให้แข็งตัวในแบบพิมพ์ มีการนำพลาสติกมาใช้เป็นอัญมณีเลียนแบบมานานแล้ว โดยมักใช้เลียนแบบอัญมณีอินทรีย์ พวกอำพัน ปะการัง มุก งา กระ โดยเฉพาะอำพัน มีการเลียนแบบมากสุด แต่อาจใช้เลียนแบบอัญมณีที่เป็นแร่หรือหินได้เช่นกัน ส่วนมากเป็นอัญมณีโปร่งแสงหรือทึบแสง พวกหยก เทอร์คอยส์ ลาพิสลาซูลี และคาลซิโดนี เป็นต้น การนำพลาสติกไปเลียนแบบอัญมณีที่แสดงปรากฏการณ์ทางแสงได้ดีที่สุด คือ โอปอ และมูนสโตน ซึ่งแสดงการเล่นสีได้เหมือนโอปอธรรมชาติมาก

25 สามารถแบ่งตามวิธีการนำไปเลียนแบบเป็นอัญมณีได้ 2 กรณี
ชนิดของพลาสติก สามารถแบ่งตามวิธีการนำไปเลียนแบบเป็นอัญมณีได้ 2 กรณี พลาสติกที่นำมาผสมกับสารอื่นที่เป็นผงเคมี หรือสารที่เป็นส่วนประกอบของแร่ ก่อนนำมาอัดลงบนแม่พิมพ์ ได้แก่ Polystyrene 2. พลาสติกที่นำมาหลอม แล้วอัดตามรูปร่างตามแบบแม่พิมพ์ ได้แก่ Casein, Cellulose acetate(Celluloid), Phenol formaldehyde(Bakelite), Polymethyl mathacrylate

26 1. พลาสติกที่นำมาผสมกับสารอื่นที่เป็นส่วนประกอบของแร่ ก่อนนำมาอัดลงบนแม่พิมพ์ ได้แก่
1.1 Polystyrene : เป็นพลาสติกที่สามารถทำให้มีรูปร่างเหมือนพลอยที่เจียระไนได้ มีค่าความถ่วงจำเพาะ ค่าดัชนีหักเห 1.59 – ความแข็งเท่ากับ 2 มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง นิยมเลียนแบบ Amber, Opal อีกทั้งสามารถเลียนแบบ Turquoise และ Lapis lazuli โดยการนำ Polystyreneบดผสมกับผงเทอร์คอยส์ หรือ ลาพิสลาซูรี อาจมีการเติมไพไรท์ลงไป นำมาหลอมแล้วอัดลงบนแม่พิมพ์เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ก่อนจะนำมาตัดเป็นรูปหลังเบี้ย หรือเม็ดยา นิยมกันมาก เนื่องจากใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ และ ผลิตได้ในปริมาณมาก จากการทดสอบโดยเข็มร้อนจะให้กลิ่นฉุนของพลาสติก ภาพแสดงอัญมณีที่ทำจาก Polystyrene ซึ่งมีแบบพิมพ์เหมือนกับอัญมณีเจียระไน

27 ภาพแสดงพลาสติก Polystyreneที่มีหลากหลายสี
ภาพแสดง Plastic opal imitation ที่ทำมาจาก Polystyrene (

28 ภาพแสดงพลาสติก Polystyrene ที่นำมาเลียนแบบ ลาพิสลาซูรี และ เทอร์ทอยส์

29 2. พลาสติกที่นำมาหลอม แล้วอัดเป็นรูปร่างตามแบบแม่พิมพ์ ได้แก่
2.1 Casein : เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในน้ำนม มีค่าความถ่วงจำเพาะ1.32 – 1.39 ค่าดัชนีหักเห 1.55 ความแข็งเท่ากับ 2 นิยมนำมาเลียนแบบ Amber, Ivory, Coral โดยการเติม formaldehyde ลงไปเพื่อเพิ่มความแข็งก่อนที่จะนำมาอัดลงบนแม่พิมพ์ จากตรวจสอบโดยการหยดกรดไนตริกเข้มข้นลงไปบนผิว จะปรากฎจุดสีเหลืองขึ้น และจากการทดสอบโดยเข็มร้อนจะได้กลิ่นคล้ายนมไหม้

30 ภาพแสดงเครื่องประดับที่ทำจาก Casein ผลิตเลียนแบบ Ivory และภาพกระดุมที่ทำจาก Casein

31 2.2 Cellulose acetate( Celluloid) : เป็นเส้นใยเซลลูโลสขนาดเล็กที่ได้จากฝ้าย หรือ ต้นไม้ ที่ถูกน้ำหรือสารคล้ายผงวุ้น กระจายตัวเข้าไปตามรอยระหว่างเส้นใย ทำให้ได้เซลลูโลสที่มีเนื้อแน่น และ ทำให้เกิดจุดด่างดำ หรือรูปแบบสีต่างๆได้ มีค่าความถ่วงจำเพาะ1.29 – 1.35 ค่าดัชนีหักเห 1.49 – ความแข็งเท่ากับ 2 สามารถเลียนแบบ Amber, Ivory และ Tortoise shellโดยมีการเติม อะซีเทต, การบูร และ แอลกแฮอล์ ลงไปภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่ 110 ˚C แล้วอัดลงบนแม่พิมพ์ จากตรวจสอบโดยเข็มร้อนโดยจะให้กลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู ภาพแสดงกำไลที่ทำจาก Celluloid (

32 2.3 Phenol formaldehyde(Bakelite) : เป็นพลาสติกที่มี Phenol ซึ่งเป็นสารประกอบคาร์บอนชนิดหนึ่ง มีผลึกสีขาวใส และเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน จะมีสีเหลือง มีค่าความถ่วงจำเพาะ1.26 – 1.28 ค่าดัชนีหักเห 1.61 – ความแข็งต่ำกว่า 2 มักนำมาทำเลียนแบบ Amber โดยนำพลาสติกมาหลอม แล้วอัดลงบนแม่พิมพ์ สามารถตรวจสอบโดย การนำชิ้นส่วนของ Bakelite ใส่ลงในหลอดทดลองที่มีน้ำกลั่น จากนั้นนำไปต้มจนเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น หยดสารละลาย Alkalineเจือจางลงไป ชิ้นส่วนนั้นจะกลายเป็นสีน้ำเงิน เนื่องจากประกอบด้วย Phenol หรือจากการทดสอบโดยเข็มร้อนจะมีกลิ่นฉุนรุนแรง ภาพแสดงเครื่องประดับที่ทำจาก Bakelite (

33 2.4 Polymethyl mathacrylate : เป็นพลาสติกที่เกิดจากการรวมตัวของ Acetone , Hydrogen cyanide และ Methanol รู้จักกันในชื่อ อะคริลิก (Acrylic) มีค่าความถ่วงจำเพาะ ค่าดัชนีหักเห ความแข็งเท่ากับ 2 มีลักษณะโปร่งใส และมีประกายแวววาวคล้ายแก้ว ส่วนมากจึงนิยมทำมาเป็นลูกปัดราคาถูก นำมาเลียนแบบอัญมณีเช่น Pearl, Amber โดยการหลอม แล้วหล่อตามแบบแม่พิมพ์ (

34 Polymethyl methacrylate
ตารางแสดงคุณสมบัติต่างๆของพลาสติกที่นำมาเลียนแบบอัญมณี Type Typical name H S.G. R.I. Gems Simulant Casein Ameriod, Erinoid, Galalith 2 1.32 – 1.43 1.49 – 1.51 Amber, Coral, Ivory Cellulose acetate Celluloid, Pyralin, Nitron 1.29 – 1.35 1.49 – 1.52 Amber, Ivory, Tortoiseshell Phenol formaldehyde Bakelite, Catalin <2 1.26 – 1.28 1.64 – 1.66 Amber, Ivory Polymethyl methacrylate Acrylic, Perspex or Diakon , Plexiglas, Lucite 1.18 1.50 – 1.55 Amber, Pearl Polystyrene Distrene 1.05 1.59 – 1.62 Amber, Opal

35 การตรวจแยกพลาสติกเลียนแบบจากอัญมณีธรรมชาติ
พลาสติกเป็นวัสดุที่แยกจากอัญมณีธรรมชาติได้ง่ายมาก เนื่องจากมีความแข็งต่ำเพียง 1.5 ถึง 3 สามารถตัดด้วยมีด จากการตรวจสอบค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในช่วง 1.05 ถึง ค่าดัชนีหักเหอยู่ระหว่าง มีประกายด้านหรือเหมือนไข ต่างจากอัญมณีส่วนใหญ่ที่มีประกายเหมือนแก้ว เมื่อสัมผัสจะรู้สึกอุ่นเช่นเดียวกับแก้ว ละลายได้เมื่อจี้ด้วยเข็มร้อน และมีกลิ่นฉุนแตกต่างกันตามชนิดพลาสติก

36 ถ้าหล่อขึ้นด้วยแม่พิมพ์จะมีรูปร่างเหมือนกันทุกเม็ด และมักพบร่องรอยระหว่างเหลี่ยมมีความโค้งมน ฟองอากาศหลากหลายรูปแบบ จากการหล่อ เช่น รอยต่อ แนวเส้นไหลเหมือนที่พบในแก้ว บางครั้งผู้ผลิตจงใจให้เกิดลวดลายคล้ายรอยพิมพ์ลายนิ้วมือเหมือนอัญมณีธรรมชาติ ซึ่งความจริงแล้วเป็นอนุภาคสีขาวที่มีขนาดเล็กมากๆ อยู่รวมกันมีลักษณะพลิ้วไหวเหมือนควัน Acrylic Rhinestones

37 2.3 เซรามิก (Ceramic) เซรามิก จัดว่าเป็นผงสารอนินทรีย์ที่บดละเอียด ที่นำมาให้ความร้อนหรือเผาแล้วอัดเข้าด้วยกัน กลายเป็นของแข็งที่ประกอบด้วยผลึกเล็กๆ จำนวนมาก (polycrystalline solid) แต่ละอนุภาคเชื่อมติดกันด้วยตัวเชื่อมประสานที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ มักนำไปเคลือบผิว ส่วนประกอบของผงสารเริ่มต้นเป็นชนิดเดียวกับอัญมณีที่ต้องการเลียนแบบ ซึ่งได้แก่ เทอร์คอยส์ ลาพิสลาซูลี ปะการัง และหยก ตรวจแยกจากอัญมณีธรรมชาติได้ง่าย โดยทั่วไปจะมีค่าความถ่วงจำเพาะ ค่าดัชนีหักเห และความแข็งที่ต่ำกว่า

38 2.4 คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic Zirconia)
คิวบิกเซอร์โคเนียหรือที่คนไทยเรียกว่า เพชรรัสเซีย อาจเนื่องจากผลิตสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศรัสเซีย จัดได้ว่าเป็นเพชรเลียนแบบที่ดีที่สุด นอกจากราคาที่ถูกมากแล้ว ยังมีประกายแวววาวสวยงามใกล้เคียงกับเพชรด้วย มีความแข็งถึง มีค่าดัชนีหักเหเท่ากับ 2.16 ต่ำกว่าเพชรเล็กน้อย แต่มีค่าความถ่วงจำเพาะถึง 5.80 ± และค่าการกระจายแสงเท่ากับ ส่วนประกอบทางเคมีคือ เซอร์โคเนียมออกไซด์ (ZrO2) มีอิทเทรียมและแคลเซียมออกไซด์ผสมอยู่เล็กน้อยเพื่อให้มีเสถียรภาพอยู่ได้ในรูปผลึกระบบคิวบิก

39 นอกจากสีขาวใสที่นิยมกันมากแล้ว ยังมีการผลิตสีต่างๆ มากมายโดยการเติมสารชนิดต่างๆ ลงไป เช่น
ซีเ รียม (cerium) ออกไซด์ ให้สีแดง ส้ม และเหลือง ยูโรเพียม (europium) และโฮลเมียม (holmium) ออกไซด์ ให้เฉดสีชมพู โครเมียม (chromium) เทอร์เบียม (terbium) และวาเนเดียม (vanadium) ออกไซด์ ให้เฉดสีเขียว แมงกานีส (manganese) และนีโอดิเมียม (neodymium) ออกไซด์ ให้สีม่วง นีโอดิเมียมออกไซด์ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นชมพู

40 การตรวจแยกคิวบิกเซอร์โคเนียสีขาวใสจากเพชร และชนิดสีต่างๆ จากอัญมณีธรรมชาติที่นำไปเลียนแบบ ทำได้ง่ายมากโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ โดยคิวบิกเซอร์โคเนียมีค่าความถ่วงจำเพาะสูงกว่าอัญมณีทุกชนิด จึงรู้สึกถึงความหนักได้จากการใส่ไว้ในมือ นอกจากนั้นยังมีสีเจิดจ้า เนื้อใสสะอาด และมีประกายแวววาวดีมากด้วย

41 3 อัญมณีประกบ (Assembled หรือ Composite Stone)
อัญมณีประกบทำขึ้นเพื่อใช้เลียนแบบอัญมณีราคาแพงมานานตั้งแต่สมัยโรมัน และนิยมทำกันมากในอดีต แต่หลังจากมนุษย์รู้จักการสังเคราะห์อัญมณีและการทำอัญมณีเลียนแบบมากขึ้น การทำอัญมณีประกบจึงน้อยลงมาก ยกเว้นโอปอประกบที่ยังทำกันมาก และไม่ถือว่าเป็นการหลอกลวง อัญมณีประกบ หมายถึง อัญมณีที่เกิดจากการนำชิ้นส่วนของอัญมณีแท้ และ/หรือ อัญมณีปลอมมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไปมาประกบติดเป็นชิ้นเดียวกันด้วยกาวหรือหลอมเข้าด้วยกันในบริเวณgirdle เพื่อหลอกว่าเป็นอัญมณีแท้ทั้งเม็ด ตามปกติเป็นอัญมณีเจียระไนแล้ว แต่อาจพบการประกบในพลอยก้อนได้บ้าง วัตถุประสงค์ในการทำอัญมณีประกบเพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ตัวอัญมณีมีสีและคุณภาพที่ดูดีกว่าเดิม หรือเพื่อเพิ่มความคงทนต่อการสึกกร่อนแตกหัก ตลอดจนเพิ่มประกายบริเวณผิวให้สวยงามมากขึ้น การประกบทำได้หลายวิธี ได้แก่

42 สามารถทำได้ 3 วิธีได้แก่ 1. Doublets(การประกบ 2ชั้น) 2
สามารถทำได้ 3 วิธีได้แก่ Doublets(การประกบ 2ชั้น) Triplets(การประกบ 3ชั้น) Foilbacks(การติดวัตถุคล้ายโลหะไว้ด้านหลัง)

43 3.1 การประกบ 2 ชั้น (Doublet)
ใช้ชิ้นส่วน 2 ชิ้นมาประกบกันด้วยกาวไร้สี หรือหลอมให้ติดกัน ที่ตรวจพบมีหลายแบบ เช่น - การ์เนตประกบแก้ว จัดเป็นอัญมณีประกบที่สำคัญ ทำได้ง่ายเนื่องจากการ์เนตสามารถหลอมเข้ากับแก้วได้ง่าย โดยด้านบนหรือคราวน์เป็นแผ่นการ์เนตชนิดแอลมันดีน หลอมติดกับแก้วด้านล่าง เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับแก้ว สีที่เห็นเป็นสีของแก้ว ในอดีตนิยมทำกันมาก อาจพบได้ในเครื่องประดับสมัยโบราณ

44 การ์เนต เฉือนเป็นแผ่นบางๆ
แก้วที่มีสีต่าง ๆ

45 - โอปอประกบ 2 ชั้น (opal doublet) นิยมทำกันมาก และเป็นที่ยอมรับในวงการอัญมณี เนื่องจากโอปอมักเกิดเป็นสายบางๆ แทรกตัวอยู่ในหิน ประกอบกับธรรมชาติที่บอบบางของโอปอ เมื่อนำมาใช้เป็นอัญมณีจำเป็นต้องเพิ่มความคงทนต่อการแตกหัก โดยการประกบติดกับวัสดุที่มีความแข็งแรง และต้องมีสีดำหรือเข้ม เพื่อทำให้เห็นการเล่นสีได้เด่นชัด มักใช้แก้วสีดำ หรือคาลซิโดนีย้อมสีดำ บางครั้งอาจสับสนกับเมทริกซ์โอปอ (matrix opal) ซึ่งเป็นหินที่โอปอเกิดแทรกอยู่โดยมีโอปอแผ่นแบนๆ ติดอยู่ด้วยตามธรรมชาติ นำมาเจียรหลังเบี้ยแบนๆ ให้โอปออยู่ด้านบน โดยรอยต่อระหว่างโอปอกับหินจะไม่เรียบตรงเหมือนโอปอประกบ

46 . Opal Doublet ประกอบด้วยด้านบนเป็นแผ่นโอปอบาง ๆ ติดกับวัสดุทึบแสงสีดำ เช่น แคลซิโดนีย้อมสีดำหรือแก้วสีดำ เชื่อมติดกันโดยสารเชื่อมประสานสีดำ เพื่อเป็นการเพิ่ม ความแข็งแรง คงทน และ ช่วยในการเล่นสีของโอปอ

47 - อัญมณีประกบเลียนแบบเพชร อาจใช้แผ่นเพชรบางๆ เป็นคราวน์ประกบกับพาวิลเลียนซึ่งอาจใช้วัสดุเป็นควอตซ์ แซปไฟร์ขาวสังเคราะห์ หรือเพชรเลียนแบบชนิดแย็ก จีจีจี หรือคิวบิกเซอร์โคเนีย บางครั้งใช้แซปไฟร์สังเคราะห์สีขาวเป็นด้านคราวน์ประกบกับสตรอนเตียมไททาเนตทางด้านพาวิลเลียน ช่วยให้ลดการกระจายแสง และเพิ่มความแข็งทางด้านบน Colourless Synthetic Sapphire/Spinel

48 - คอรันดัมประกบ เนื่องจากคอรันดัมที่พบในธรรมชาติเกิดเป็นแผ่นบางๆ จึงต้องนำมาประกบเข้าด้วยกันเพื่อให้หนามากพอที่จะเจียระไนได้โดยไม่เสียน้ำหนักมาก โดยอาจใช้คอรันดัมแท้ทั้ง 2 ชิ้น หรือคอรันดัมแท้ประกบกับคอรันดัมสังเคราะห์ เชื่อมต่อกันด้วยกาวใสไร้สี นอกจากใช้สีเดียวกันทั้ง 2 ชิ้นแล้ว ยังพบว่า มีการใช้สีต่างกันด้วย การใช้อัญมณีแท้ทั้ง 2 ชิ้นทำให้ได้อัญมณีที่มีขนาดใหญ่ ขายได้ราคาดีกว่ามาก หรืออาจใช้ชิ้นที่มีคุณภาพดีไว้ด้านบน ส่วนชิ้นคุณภาพต่ำไว้ด้านล่าง ซึ่งไม่ว่าวิธีใดถือว่าเป็นการหลอกลวงทั้งสิ้น แสดงคอรันดัมประกบสีเดียวกันและสีต่างกัน

49 - คอรันดัมสตาร์ประกบ ใช้คอรันดัมสตาร์ที่เป็นแผ่นบางไว้ส่วนบนติดกับคอรันดัมธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ที่ไม่แสดงสตาร์ในส่วนล่าง หรืออาจใช้คอรันดัมสตาร์สังเคราะห์ในส่วนบนปิดทับคอรันดัมสตาร์ธรรมชาติส่วนล่างไว้ เพื่อให้สตาร์ชัดเจนขึ้น ทำให้ขายได้ราคาดี เป็นราคาคอรันดัมสตาร์ทั้งเม็ด - แซปไฟร์เปลี่ยนสีประกบ ประกอบด้วยแซปไฟร์สีเขียวแท้ติดไว้ทางด้านบน ส่วนด้านล่างเป็นแซปไฟร์เปลี่ยนสีสังเคราะห์ เมื่อดูภายใต้หลอดฟลูออเรสเซนส์จะเห็นเป็นสีน้ำเงินอมเขียว และภายใต้แสงไฟอินแคนเดสเซนส์เห็นเป็นสีม่วงอมชมพู

50 3.2 การประกบ 3 ชั้น (Triplets)
มีความหมาย 2 ประการ อาจหมายถึง การนำชิ้นส่วนของอัญมณีแท้ และ/หรือ อัญมณีเทียมจำนวน 3 ชิ้นมาติดเข้าด้วยกันให้เป็นชิ้นเดียวด้วยกาวไร้สี หรืออาจหมายถึง การใช้ชิ้นส่วนเพียง 2 ชิ้นมาต่อติดกันด้วยกาวที่มีสี พบได้หลายแบบ เช่น

51 ภาพแสดง Soudé Emerald

52 - โอปอประกบ 3 ชั้น (Opal Triplets) เป็นโอปอประกบ 2 ชิ้นที่นำมาปิดด้านบนด้วยแก้วใส ร็อคคริสตัล หรือคอรันดัมสังเคราะห์ โดยทำเป็นรูปโดมโค้งเหมือนรูปหลังเบี้ย เชื่อมติดด้วยกาวใสไร้สี ทำให้มีความคงทน และความแวววาวมากขึ้น เป็นที่ยอมรับในวงการอัญมณี แสดงข้อแตกต่างของโอปอทั้งเม็ด (บน) โอปอประกบ 2 ชั้น (กลาง และโอปอประกบ 3 ชั้น (ล่าง)

53 - คอรันดัมสตาร์ประกบ 3 ชั้น ใช้คอรันดัมสังเคราะห์แบบเวอร์นอยล์ที่โปร่งใสมาเจียระไนแบบหลังเบี้ย แล้วคว้านเป็นช่องกลวงบริเวณฐาน นำคอรันดัมสตาร์ธรรมชาติที่มีสีไม่สวยมาเจียระไนให้ได้ขนาดเท่ากับช่องกลวง ใส่เข้าไปในช่อง แล้วปิดทับด้านล่างด้วยแผ่นคอรันดัมธรรมชาติ ทำให้เห็นเป็นสตาร์คอรันดัมที่มีสีสวยงาม

54 3.3 การติดวัสดุคล้ายโลหะเงาไว้ด้านหลัง (Foilbacks) เป็นการนำอัญมณีที่เจียระไนเรียบร้อยแล้ว มาทำให้มีความแวววาวเล่นไฟดีขึ้น โดยการทาสีโลหะไว้ด้านหลัง หรือแปะด้วยกระจกเงาซึ่งอาจใช้กระจกที่มีสีได้ด้วย บางครั้งช่วยทำให้การแสดงปรากฏการณ์ทางแสงในอัญมณี เช่น การเล่นสีในโอปอ หรือคอรันดัมสตาร์ มีความชัดเจนมากขึ้น เป็นวิธีการที่นิยมทำกันมากในสมัยโบราณ ปัจจุบันพบได้น้อยมาก สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อเข้าตัวเรือนแล้วสังเกตได้ยาก

55 การตรวจแยกอัญมณีประกบ
การทำอัญมณีเลียนแบบด้วยการประกบ มีความหลากหลายมากจนไม่สามารถกล่าวได้หมด ซึ่งรวมถึงการประกบในก้อนพลอยดิบ ทั้งที่เป็นรูปผลึกและไม่เป็นรูปผลึกด้วย การตรวจสอบจึงต้องทำอย่างรอบคอบเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในอัญมณีที่เข้าตัวเรือนแล้วจะสังเกตเห็นรอยต่อได้ยาก ดังนั้นหัวใจสำคัญในการตรวจสอบอัญมณีทุกเม็ด คือ ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นอัญมณีประกบ และพยายามตรวจหารอยต่อให้พบ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณระนาบเกอร์เดิล แต่อาจอยู่ในบริเวณคราวน์หรือพาวิลเลียนได้เช่นกัน การตรวจสอบทำเป็นขั้นตอน ดังนี้

56 การสังเกตด้วยตาเปล่าหรือเลนส์ขยาย - พิจารณาความแตกต่างของสี ความโปร่งใส และความแวววาว ระหว่างคราวน์กับพาวิลเลียน - พิจารณามลทินภายใน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อนำอัญมณีแช่ในน้ำ หรือน้ำยาเมทาลีนไอโอไดด์ โดยจะเห็นความไม่ต่อเนื่องกัน หรือลักษณะที่แตกต่างกันของมลทินภายใน - ตรวจหาชั้นรอยต่อ ซึ่งมักพบฟองอากาศแบนๆ กรณีที่กาวที่ใช้เชื่อมติดแห้งนานๆ มักเกิดรอยแตกคล้ายต้นไม้ ถ้าเป็นกาวที่มีสีจะเห็นชั้นสีได้ชัดเจน - กรณีที่เป็นการ์เนตประกบแก้ว ตรวจสอบได้ง่ายโดยคว่ำหน้าเทเบิลลงกระดาษขาว ส่องดูด้วยไฟที่สว่างมาก จะเห็นขอบสีชมพูของการ์เนตด้านบนเป็นวงกลมรอบพลอย แต่ถ้าใช้แก้วสีแดงจะมองไม่เห็น

57 การตรวจสอบด้วยเครื่องมือ เช่น
การตรวจสอบด้วยเครื่องมือ เช่น - ตรวจสอบการเรืองแสง ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละชิ้นส่วนที่นำมาประกบกัน - ตรวจสอบค่าดัชนีหักเห และการดูดกลืนแสง โดยตรวจสอบทั้งบนหน้าคราวน์และบนหน้าพาวิลเลียน ถ้าเป็นวัสดุต่างชนิดกัน ค่าที่ได้จะแตกต่างกันด้วย และสามารถบอกชนิดของวัสดุที่ใช้ได้ด้วย


ดาวน์โหลด ppt (Imitation and Assembled Stones)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google