งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบบัญชาการเหตุการณ์และ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบบัญชาการเหตุการณ์และ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบบัญชาการเหตุการณ์และ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

2 สาธารณภัย หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อ สาธารณชน อาจเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ของประชาชนหรือของรัฐ หมายความรวมถึงภัยทางอากาศและการก่อวินาศกรรมด้วย ที่มา : ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ สาธารณภัยหมายถึงอัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศและการก่อวินาศกรรมด้วย

3 ขอบเขตสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
ด้านสาธารณภัย ประกอบด้วย 14 ประเภทภัย คือ 1) อุทกภัยและดินโคลนถล่ม 2) ภัยจากพายุหมุนเขตร้อน 3) ภัยจากอัคคีภัย 4) ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย 5) ภัยจากการคมนาคมและขนส่ง 6) ภัยแล้ง 7) ภัยจากอากาศหนาว 8) ภัยจากไฟป่าและหมอกควัน 9) ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม 10) ภัยจากคลื่นสึนามิ 11) ภัยจากโรคระบาดในมนุษย์ 12) ภัยจากโรค แมลง สัตว์ ศัตรูพืชระบาด 13) ภัยจากโรคระบาดสัตว์และสัตว์น้ำ 14) ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความมั่นคง ประกอบด้วย 4 ประเภทภัย คือ 1) ภัยจากการก่อวินาศกรรม 2) ภัยจากทุ่นระเบิดกับระเบิด 3) ภัยทางอากาศ 4) ภัยจากการชุมนุมประท้วงและก่อการจลาจล

4 “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข” คืออะไร ?
“ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข” (Public Health Emergency) ถือเป็น “สาธารณภัย” ที่ ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน และเกิดผลกระทบกับ สิ่งแวดล้อม “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข” จึงหมายถึง เหตุการณ์การเกิดโรคและภัยคุกคาม สุขภาพ ซึ่งมีลักษณะเข้าได้กับเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพอย่างรุนแรง เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่เคยพบมาก่อน มีโอกาสที่จะแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนหรือสินค้า “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข” (Public Health Emergency) ถือเป็น “สาธารณภัย” ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน และเกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข” จึงหมายถึง เหตุการณ์การเกิดโรคและภัยคุกคามสุขภาพ ซึ่งมีลักษณะเข้าได้กับเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ ดังนี้ 1. ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพอย่างรุนแรง 2. เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่เคยพบมาก่อน 3. มีโอกาสที่จะแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น 4. ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนหรือสินค้า ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ได้แก่ การระบาดของโรคซาร์สที่เริ่มเกิดขึ้นที่ฮ่องกง การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดทั่วโลก โรคไข้หวัดนก H5N1 ที่ระบาดในหลายประเทศ การระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลชนิดรุนแรง (EHEC) สายพันธุ์ O104:H4 ที่เริ่มเกิดขึ้นที่เยอรมัน กรณีนมผงปนเปื้อนเมลามีนที่จีนส่งออกไปขายประเทศอื่น กรณีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ญี่ปุ่น เกิดการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี การระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางที่เริ่มเกิดขึ้นที่ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น

5 เหตุการณ์ภัยพิบัติ สาธารณภัย และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีระดับความรุนแรงที่ส่งผลกระทบกับชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อมต่างกัน แต่ละเหตุการณ์อาจส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ การวางขอบเขตและความรับผิดชอบที่ชัดเจนจะช่วยให้แต่ละหน่วยงานสามารถเตรียมความพร้อมและจัดการสถานการณ์ต่างๆ ได้ครอบคลุมทุกผลกระทบที่ตามมา “ขอบเขตของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จึงครอบคลุมเหตุการณ์การเกิดโรคและภัยสุขภาพ” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่เคยพบมาก่อน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง โรคหรือภัยสุขภาพที่เกิดขึ้นสามารถแพร่ระบาดขยายวงกว้างสู่พื้นที่อื่น จึงต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนและสินค้า ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ นอกจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยแล้ว ยังมีอันตรายจากโรคติดเชื้อ โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน อาหารที่ไม่ปลอดภัย อันตรายจากสารเคมี และอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสีและนิวเคลียร์ แบ่งขอบเขตของโรคและภัยสุขภาพได้ 5 ประเภท ดังนี้ 1. โรคติดต่อ เป็นเหตุการณ์การแพร่ระบาดอย่างผิดปกติของโรคติดต่อเฉียบพลัน เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคชิคุกุนยา โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา หรือแม้แต่โรค ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลและโรคประจำถิ่นที่มีการแพร่ระบาดอย่างผิดปกติ เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ทั้งนี้รวมถึงโรคที่ประกาศไว้ในกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ เป็นต้น 2. เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและอุบัติภัย เป็นเหตุการณ์ภัยสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ เช่น ตึกถล่ม อุบัติเหตุจากการขนส่งและโดยสาร การจลาจล สงคราม และอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น 3. โรคและภัยสุขภาพที่มากับภัยธรรมชาติ เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ (เช่น น้ำท่วม ลมพายุ ดินโคลนถล่ม หรือสึนามิ) ผู้ประสบภัยจะเผชิญกับโรคระบาดและภัยสุขภาพ เช่น โรคฉี่หนู อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ไฟฟ้าช็อต/ไฟ้ฟ้าดูด การเสียชีวิตจากการจมน้ำ การขาดยาหรือการรักษาที่จำเป็นเนื่องจากไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ เป็นต้น 4. ภัยสุขภาพที่เกิดจากสารเคมี เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลถึงการบาดเจ็บและการเสียชีวิตของบุคคลที่เกิดจากการมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพปนเปื้อนออกมาในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์ด้วยกัน เช่น การรั่วไหลออกจากโรงงานอุตสาหกรรม การก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพ/อาวุธเคมี การเกิดสงคราม เป็นต้น หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น การปนเปื้อนของสารหนูในธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น 5. ภัยสุขภาพที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสีและนิวเคลียร์ เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลถึงการบาดเจ็บและการเสียชีวิตของบุคคลจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากรั่วไหลของกัมมันตรังสี และนิวเคลียร์ ซึ่งอาจเกิดได้จากการกระทำของมนุษย์หรือเกิดขึ้นภายหลังภัยพิบัติทางธรรมชาติ

6 การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
2P2R (Prevention and Mitigation, Preparedness, Response, Recovery ) 1. การดำเนินการป้องกันและลดผลกระทบ (Prevention and Mitigation) เป็นระยะที่ต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์ และลดผลกระทบของโรคและภัยสุขภาพที่เป็นภาวะฉุกเฉิน หรือทำให้เหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบน้อยลง ซึ่งรวมถึงการจัดวางระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขให้มีสมรรถนะและมีขีดความสามารถ เพื่อเตรียมการเผชิญสาธารณภัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดความรุนแรงและลดความสูญเสียจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข 2. การเตรียมความพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน (Preparedness) เป็นระยะที่ต้องเตรียมความพร้อมและแนวทางปฏิบัติในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในทุกด้านก่อนเกิดเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ได้แก่ การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง การเตรียมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และระบบบัญชาการเหตุการณ์ (EOC & ICS) - การจัดทำแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และการซ้อมแผนดังกล่าว (PHE Planning & Exercise) - การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHER Training) - การจัดการและเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Information Management) - การจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ยา วัคซีน และเวชภัณฑ์ และระบบการขนส่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHE Logistic) - การเตรียมระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHE Surveillance) - การเตรียมระบบประสานการทำงานร่วมกับเครือข่าย (PHE Networking) 3. การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Response) เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามแผนจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเพื่อบัญชาการเหตุการณ์ ดำเนินการติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ส่งทีมเข้าพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความสูญเสียต่อสุขภาพของผู้ประสบเหตุ และดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคระบาด หรือผลแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังการเกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และสื่อสารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ซึ่งในการดำเนินการจะระดมทรัพยากรที่เตรียมพร้อมไว้เพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. การฟื้นฟูหลังเกิดภาวะฉุกเฉิน (Recovery) เป็นระยะที่ความเสียหาย และความสูญเสียจากเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ได้รับการแก้ไขและบรรเทาแล้ว มีการฟื้นฟูให้พื้นที่กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งหลังจากดำเนินการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแล้ว ผู้รับผิดชอบเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินต้องเตรียมการหลังฟื้นฟู ได้แก่ - เตรียมปิดตัวสถานที่พักพิงชั่วคราวในพื้นที่ - เตรียมเปิดระบบให้บริการสุขภาพของพื้นที่ในภาวะปกติ - ประชาชนในพื้นที่เริ่มใช้ชีวิตในภาวะปกติ - ทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเตรียมถ่ายโอนภารกิจให้หน่วยงานที่ปกติ และเตรียมถอนตัวออกจากพื้นที่

7 ความเชื่อมโยงการจัดระดับความรุนแรง
การจัดระดับความรุนแรงของสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แบ่งความรุนแรงของสาธารณภัยเป็น 4 ระดับ ความรุนแรงระดับ 1 หมายถึง สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก ท้องถิ่นสามารถจัดการได้โดยตนเอง ในกรณีนี้ ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการอำเภอ สามารถควบคุมสถานการณ์และจัดการระงับภัยได้ ความรุนแรงระดับ 2 หมายถึง สาธารณภัยขนาดกลางซึ่งเกิดขีดความสามารถของท้องถิ่น ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากท้องถิ่นข้างเคียงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ในกรณีนี้ผู้อำนวยการในระดับ 1 ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ผู้อำนวยการจังหวัด และ/หรือผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครเข้าควบคุมสถานการณ์ ความรุนแรงระดับ 3 หมายถึง สาธารณภัยขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือสาธารณภัยที่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่เสียหายเป็นบริเวณกว้างขวางหรือสถานการณ์ของสาธารณภัยที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษต้องระดมความช่วยเหลือจากทุกส่วนราชการ ภาคเอกชนและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้อำนวยการจังหวัดไม่สามารถควบคุมและระงับสาธารณภัยได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ จากหน่วยงานภายนอกพื้นที่ ในกรณีนี้ให้ผู้อำนวยการกลาง และ/หรือผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์เข้าควบคุมสถานการณ์ ความรุนแรงระดับ 4 หมายถึง สาธารณภัยขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบร้ายแรงอย่างยิ่ง เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษ ที่มีผลกระทบร้ายแรงอย่างยิ่งต่อชีวิตทรัพย์สินและ ขวัญกำลังใจของประชาชนทั้งประเทศ หรือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ได้รับมอบหมาย) ไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์และระงับภัยได้ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย จะเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์เข้าควบคุมสถานการณ์ สาธารณสุขฉุกเฉิน ได้แบ่งความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพเป็น 3 ระดับ ความรุนแรงระดับ 1 เกิดโรคและภัยสุขภาพที่เป็นสาธารณภัยขนาดเล็ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกับสถานพยาบาลในจังหวัดนั้น สามารถควบคุมภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้เอง โดยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัด ความรุนแรงระดับ 2 เกิดโรคและภัยสุขภาพที่เป็นสาธารณภัยขนาดกลาง ต้องอาศัยการสนับสนุนความช่วยเหลือจากหน่วยงานหลายส่วนราชการภายจังหวัดตนเอง หรือจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ ในระดับเขต ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้เอง ต้องให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขระดับเขตเข้าควบคุมสถานการณ์ และระดมทรัพยากรจากจังหวัดใกล้เคียงภายในเขตเข้าร่วมจัดการระงับภัยสุขภาพนั้น ซึ่งใช้แผนปฏิบัติการฯ ระดับกระทรวงเพื่อดำเนินการในพื้นที่ระดับเขต ความรุนแรงระดับ 3 เกิดโรคและภัยสุขภาพที่เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่ มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษต้องระดมความช่วยเหลือ จากทุกส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับประเทศ ร่วมกันควบคุมสถานการณ์และจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โดยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ระดับกระทรวง

8 ระบบบัญชาการเหตุการณ์
ระบบการบริหารจัดการที่ใช้เพื่อการบังคับบัญชา สั่งการ ควบคุม และประสาน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในสถานการณ์เฉพาะ ระบบดังกล่าวเป็น ระบบปฏิบัติการเพื่อการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการเหตุ ฉุกเฉินให้สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างบรรลุเป้าหมายและ มีประสิทธิภาพ ช่วยในการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบบัญชาการเหตุการณ์ หมายถึง ระบบการบริหารจัดการที่ใช้เพื่อการบังคับบัญชา สั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในสถานการณ์เฉพาะ ระบบดังกล่าวเป็นระบบปฏิบัติการเพื่อการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินให้สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ ระบบบัญชาการเหตุการณ์เป็นกรอบแนวคิดมาตรฐานในการปฏิบัติเพื่อจัดการเหตุการณ์ทุกประเภท ทั้งที่เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์ในภาวะปกติ - เป็นระบบที่สนับสนุนการให้มีการนำข้อมูลที่แม่นยำมาใช้ในการดำเนินงาน มีการวางแผนและคำนวณค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ - เป็นระบบที่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานได้อย่างสอดคล้องกับความซับซ้อนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น - เป็นโครงสร้างที่ผสมผสานทรัพยากรทุกชนิดเข้าด้วยกันทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งกำลังคนจากหน่วยต่างๆ ทั้งตำรวจ ทหาร หน่วยการแพทย์ NGO เป็นต้น อนึ่ง ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เจ้าหน้าที่จะปรับบทบาทหน้าที่ จากทำงาน “ที่ปฏิบัติประจำ” และไปปฏิบัติหน้าที่ภายใต้โครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ตามที่ได้รับมอบหมาย

9 วัตถุประสงค์ของระบบบัญชาการเหตุการณ์
เพื่อหยุดยั้งและ/หรือลดผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์ รุนแรงจากโรคและภัยสุขภาพ และเพื่อให้เหตุการณ์กลับสู่สภาวะ ปกติในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ให้มีความปลอดภัยทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้เสี่ยงต่อภัยสุขภาพ เพื่อระดมทรัพยากร และบริหารจัดการอย่างคุ้มค่าและมี ประสิทธิภาพ การนำระบบเหตุการณ์มาใช้ในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. เพื่อหยุดยั้งและ/หรือลดผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์รุนแรงจากโรคและภัยสุขภาพ และเพื่อให้เหตุการณ์กลับสู่สภาวะปกติในระยะเวลาที่สั้นที่สุด 2. ให้มีความปลอดภัยทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้เสี่ยงต่อภัยสุขภาพ 3. เพื่อระดมทรัพยากร และบริหารจัดการอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

10 ประโยชน์ของระบบบัญชาการเหตุการณ์
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ สามารถจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทุกโรคและ ภัยสุขภาพดีกว่าการใช้ระบบการทำงานแบบปกติตอบโต้เหตุการณ์ในภาวะ ฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติงานจากหลายหน่วยงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ และรวดเร็ว ภายใต้การบัญชาการเหตุการณ์อย่างเป็นเอกภาพ (Unity of Command) โดยหลักว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะรับคำสั่งจากหัวหน้า โดยตรงเพียงคนเดียว ประโยชน์ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ สามารถจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทุกโรคและภัยสุขภาพดีกว่าการใช้ระบบการทำงานแบบปกติตอบโต้เหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน - เจ้าหน้าที่จากหลากหลายองค์กร/หน่วยงานสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นระบบอย่างรวดเร็ว เนื่องจากระบบบัญชาการเหตุการณ์มีโครงสร้างที่ชัดเจนและมีลักษณะแบบเดียวกัน (Common Management Structure) - เป็นระบบซึ่งสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสายงานหลักในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข - ผู้ปฏิบัติงานจากหลายหน่วยงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว ภายใต้การบัญชาการเหตุการณ์อย่างเป็นเอกภาพ (Unity of Command) โดยหลักว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะรับคำสั่งจากหัวหน้าโดยตรงเพียงคนเดียว - ก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสทิธภิาพ (Cost Effective) และประหยัด อันเนื่องเป็นระบบที่ช่วยการลดการทำงานซ้ำซ้อน

11 ระบบบัญชาการเหตุการณ์
ผู้บัญชาการเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ประสานงาน กลุ่มปฏิบัติการ กลุ่มแผนงาน กลุ่มสนับสนุน กลุ่มบริหาร โครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ทั่วๆ ไปจะประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงาน 2 กลุ่ม 1) กลุ่มเจ้าหน้าที่บัญชาการ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ประสานงาน 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานใน 4 ลักษณะงานได้แก่ • กลุ่มปฏิบัติการ • กลุ่มแผนงาน • กลุ่มสนับสนุน และ • กลุ่มบริหาร

12 ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กรมควบคุมโรค
ผู้บัญชาการ situation ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ SA & ยุทธศาสตร์ ภารกิจ แนวทางการปฏิบัติ การสั่งการ ข้อมูล ผู้ปฏิบัติ ในการพิจารณาจัดโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ของกรมควบคุมโรค ได้คำนึงถึงลักษณะของระบบราชการในกรมควบคุมโรคและของกระทรวงสาธารณสุข และได้พิจารณาให้หน้าที่งานต่างๆ ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ยังอยู่อย่างครบถ้วน ระบบบัญชาการเหตุการณ์แบ่งได้เป็น 1. ผู้บัญชาการเหตุการณ์ 2. ฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ มีกลุ่มภารกิจ 2 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ กลุ่มตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุข และกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์ 3. ผู้ปฏิบัติ มี 9 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ 1) กลุ่มภารกิจปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค – Operations 2) กลุ่มภารกิจการสื่อสารความเสี่ยง 3) กลุ่มภารกิจการดูแลรักษาผู้ป่วย – Case management 4) กลุ่มภารกิจด่านระหว่างประเทศ – Point of Entry 5) กลุ่มภารกิจการสำรองวัสดุ เวชภัณฑ์ และส่งกำลังบำรุง – Stockpiling and Logistics 6) กลุ่มภารกิจกฎหมาย 7) กลุ่มภารกิจการเงินและงบประมาณ 8) กลุ่มภารกิจกำลังคน 9) กลุ่มภารกิจประสานงานและเลขานุการ – Liaison Operation สื่อสารความเสี่ยง Case Management PoE หน่วยสนับสนุน Stockpiling | กฎหมาย | การเงินและงบประมาณ | กำลังคน Liaison

13 สถานการณ์ที่สามารถนำระบบบัญชาการเหตุการณ์มาใช้ได้
สถานการณ์ที่ต้องใช้ระบบบัญชาการ ระบบบัญชาการในสถานการณ์เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกชนิด เช่น - สถานการณ์ที่มีการปนเปื้อนสารเคมีและวัตถุอันตราย - สถานการณ์ที่มีประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากเช่น การแข่งขันกีฬา, งานเทศกาลประจำปี, การชุมนุมประท้วง ฯลฯ - ภัยธรรมชาติ เช่น นํ้าท่วม, พายุ, ดินถล่ม, ไฟป่า - อุบัติภัยต่างๆที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เช่น อุบัติเหตุจราจร, ไฟไหม้ สถานการณ์เฉพาะที่ต้องใช้หน่วยงานหลายๆหน่วยทำงานร่วมกันเช่น การจี้จับตัวประกัน, การวางระเบิดและการก่อการร้าย, การค้นหาและกู้ภัย ระบบบัญชาการในสถานการณ์ควรเป็นระบบที่อยู่ในแผนปฏิบัติการฉุกเฉินของชุมชนหรือหน่วยงานทุกแห่ง เพื่อให้การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินกระทำได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

14 ระดับภาวะฉุกเฉิน Awareness/Response ภาวะปกติ ภาวะฉุกเฉินระดับ 1
ภาวะฉุกเฉินระดับ 2 ภาวะฉุกเฉินระดับ 3 ภาวะฉุกเฉินระดับ 4 Awareness/Response การติดตามและประเมินสถานการณ์ การจัดทำแผน การสำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์และเครื่องมือ การซ้อมแผน เฝ้าระวังใกล้ชิดขึ้น ทำการวิเคราะห์ Mission ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ พัฒนาแผนเผชิญเหตุ เตรียมพร้อมกำลังคน มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ และปฏิบัติงานตามโครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ปฏิบัติการฉุกเฉินตามแผนเผชิญเหตุ มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ และปฏิบัติงานตามโครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ปฏิบัติการฉุกเฉินตามแผนเผชิญเหตุ มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ และปฏิบัติงานตามโครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ปฏิบัติการฉุกเฉินตามแผนเผชิญเหตุ กลุ่มตระหนักรู้สถานการณ์ ผู้จัดการงานตระหนักรู้สถานการณ์ ผู้จัดการศูนย์ปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงานหลักในศูนย์ปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กำกลังคนเหมือนกับภาวะปกติ แต่เพิ่ม มีการแจ้งและเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาร่วมติดตามและประเมินสถานการณ์ กำลังคนเหมือนระดับที่ 1 บวก มีการเพิ่มกำลังคนเข้ามาในระบบบัญชาการเหตุการณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ10 ของกำลังคนของแต่ละหน่วยงาน กำลังคนเหมือนระดับที่ 1/บวก มีการเพิ่มลังคนเข้ามาในระบบบัญชาการเหตุการณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของกำลังคนของแต่ละหน่วยงาน ให้ทุกหน่วยงานหยุดการปฏิบัติงานที่ไม่ใช่งานที่สำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อให้บุคลากรทั้งหมดเข้าร่วมปฏิบัติการฉุกเฉิน

15 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน คืออะไร
ห้องบัญชาการเหตุการณ์ ห้องทำงานของผู้บัญชาการเหตุการณ์ (ปฏิบัติงานเต็มเวลา) จนกว่าเหตุการณ์จะ คลี่คลาย ห้อง EOC มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ กำลังคนที่มีสมรรถนะ ห้องและอุปกรณ์: คอมพิวเตอร์ เครื่องมือระบบสื่อสาร ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ระบบงาน: แผน มาตรฐานการปฏิบัติการ (SOP) งบประมาณ

16 คุณลักษณะของ ICS ประกอบด้วย?

17 คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์
1. การกำหนดมาตรฐาน การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. การบัญชาการ การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ สายการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ การบัญชาการร่วม 3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม 4. พื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรครบวงจร 5. การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง 6. ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบ การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่ คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.การวางมาตรฐาน 2.การบัญชาการ 3.การวางแผนและโครงสร้างการจัดองค์กร 4.การจัดพื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร 5.การสื่อสารและการจัดการข้อมูล 6.ความเป็นมืออาชีพ และอีก 14 คุณลักษณะ ซึ่งคุณลักษณะแต่ละประการได้มาจากการสรุปบทเรียนจากการทำงานในระบบบัญชาการเหตุการณ์มายาวนาน (best practice) ดังนั้น การเข้าใจคุณลักษณะของระบบบัญชาการเหตุการณ์จะทำให้เราสามารถทำงานตามระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

18 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command)
สายการบังคับบัญชา หมายถึง เส้นทางการส่งต่อข้อสั่งการหรือการบัญชาการ ไปตามลำดับชั้น ที่ลดหลั่นกันลงไป จากผู้ บัญชาการเหตุการณ์จนถึงตัวผู้ปฏิบัติงาน อำนาจสั่งการ สายการบังคับบัญชา หมายถึง เส้นทางการส่งต่อข้อสั่งการหรือการบัญชาการไปตามลำดับชั้น ที่ลดหลั่นกันลงไป จากผู้บัญชาการเหตุการณ์จนถึงตัวผู้ปฏิบัติงาน

19 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
เพื่อความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้อง: ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะมีหัวหน้าเพียงคนเดียว ปฏิบัติตามข้อสั่งการจากหัวหน้าเพียงคนเดียวเท่านั้น หลักการเอกภาพในการบัญชาการเหตุการณ์คือหลักการที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะมีหัวหน้าเพียงคนเดียวและจะฟังข้อสั่งการจากหัวหน้าคนนี้เพียงคนเดียวเท่านั้น ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ การยึดหลักสายการบัญชาเหตุการณ์ และเอกภาพในการบัญชาการเหตุการณ์จะช่วยสร้างความชัดเจน ลดความสับสน ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งกันในการสั่งการ เนื่องจากผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าในแต่ละระดับจะต้องสามารถควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยของตนเอง

20 คุณจะมีวิธีจัดการอย่างไรกับเหตุการณ์ที่ไม่สามารถจัดการได้ด้วยหน่วยงานเดียว หรือเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน?

21 วิธีแก้ปัญหา ทางเลือกที่ 1
แบ่งการจัดการเหตุการณ์ตามพื้นที่ หน้าที่ของหน่วยงาน โดยที่แต่ละหน่วยงานมีการตั้งระบบบัญชาการเหตุการเป็นของตนเอง และดำเนินการตามแผนของแต่ละหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทางเลือกที่ 2 ตั้งระบบบัญชาการเหตุการณ์เพียงระบบเดียว และทำงานภายใต้กระบวนการที่มี ประสิทธิภาพ ภายใต้แผนเดียวกัน โดยความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลักการเอกภาพในการบัญชาการเหตุการณ์คือหลักการที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะมีหัวหน้าเพียงคนเดียวและจะฟังข้อสั่งการจากหัวหน้าคนนี้เพียงคนเดียวเท่านั้น ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ การยึดหลักสายการบัญชาเหตุการณ์ และเอกภาพในการบัญชาการเหตุการณ์จะช่วยสร้างความชัดเจน ลดความสับสน ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งกันในการสั่งการ เนื่องจากผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าในแต่ละระดับจะต้องสามารถควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยของตนเอง

22 การบัญชาการร่วม (Unified Command)
การบัญชาการร่วม: การทำงานร่วมกันเป็นทีมของหลายหน่วยงาน หลายภาคส่วนที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานใน ที่เกิดเหตุร่วมกันได้ ภายใต้วัตถุประสงค์และ ยุทธวิธีการทำงานเดียวกัน เพื่อให้สามารถตัดสินใจร่วมกันภายใต้โครงสร้างการสั่งการร่วมกัน รักษาเอกภาพการบังคับบัญชาโดยมีหัวหน้า “กลุ่มเดียว” ในกรณีที่มีผู้บัญชาการเหตุการณ์จากหลายหน่วยงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเหตุการณ์ หากไม่มีการจัดการที่ดีจะก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการภาวะฉุกเฉินได้ ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาทางหนึ่งก็คือการจัดให้มีการนำผู้บัญชาการเหตุการณ์จากหลายหน่วยงานเข้ามาทำงานร่วมกันภายใต้ระบบบัญชาการเดี่ยวหรือระบบบัญชาการเหตุการณ์ร่วม (Unified Command) สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีการจัดระบบการบัญชาการเหตุการณ์ไว้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว มีการจัดระบบการบัญชาการเหตุการณ์ตามระดับของภาวะฉุกเฉิน อย่างไรก็ดี ยังอาจมีสถานการณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ร่วมอยู่บ้างเช่นกัน

23 คุณลักษณะของการบัญชาการร่วม
มีการผสมผสานการจัดการเหตุการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว มีการแบ่งปันทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวกได้โดยง่าย มีวัตถุประสงค์ กระบวนการวางแผน และแผนเผชิญเหตุที่เป็นหนึ่งเดียว มีการผสานของเจ้าหน้าที่ในแต่ละกลุ่มภารกิจ มีกระบวนการจัดการทรัพยากรที่มีการประสานความร่วมมือ ในกรณีที่มีผู้บัญชาการเหตุการณ์จากหลายหน่วยงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเหตุการณ์ หากไม่มีการจัดการที่ดีจะก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการภาวะฉุกเฉินได้ ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาทางหนึ่งก็คือการจัดให้มีการนำผู้บัญชาการเหตุการณ์จากหลายหน่วยงานเข้ามาทำงานร่วมกันภายใต้ระบบบัญชาการเดี่ยวหรือระบบบัญชาการเหตุการณ์ร่วม (Unified Command) สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีการจัดระบบการบัญชาการเหตุการณ์ไว้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว มีการจัดระบบการบัญชาการเหตุการณ์ตามระดับของภาวะฉุกเฉิน อย่างไรก็ดี ยังอาจมีสถานการณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ร่วมอยู่บ้างเช่นกัน

24 ผสมผสานการจัดการเหตุการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว (Single Integrated Incident Organization)
ในการบัญชาการร่วม: หน่วยงานต่างๆ จะถูกผสมรวมกันทำงานเป็นทีมร่วม การรวมกันของสมาชิกผู้ปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับสถานที่ และชนิดของ เหตุการณ์ สมาชิกต้องทำงานกันเป็นทีม

25 การแบ่งปันทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก (Collocated (Shared) Facilities)
มีการใช้ศูนย์บัญชาการเดียวกัน ในการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต่างๆเพื่อให้เกิดการประสานการ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

26 กระบวนการวางแผน และแผนเผชิญเหตุที่เป็นหนึ่งเดียว (Single Planning Process and IAP)
การวางแผนร่วมกันต้องเริ่มโดยเร็วที่สุดเมื่อมี การตั้งการบัญชาการร่วม ในกระบวนการวางแผนจะทำให้ได้แผนเผชิญ เหตุ เพื่อระบุการมอบหมายทรัพยากรให้ ปฏิบัติงานที่จำเพาะของหน่วยงานต่างๆ

27 การวางแผน และการบัญชาการร่วม (Planning “P” and Unified Command)
การประชุมวางแผนการ บัญชาการร่วม เพื่อประเมินสถานการณ์ กำหนด วัตถุประสงค์ กำหนดยุทธวิธีเพื่อ จัดการเหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นเมื่อเริ่มต้นของห้วง ระยะเวลาปฏิบัติการ (operational period)

28 การผสาน และรวมของเจ้าหน้าที่ในแต่ละกลุ่มภารกิจ (Shared and Integrated General staff)
หัวหน้ากลุ่มภารกิจต่างๆอาจมาได้จาก หลายหน่วยงานขึ้นอยู่กับความสามารถ ที่หน่วยงานนั้นๆมีความถนัด ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องยอมรับในการ ปฏิบัติทางยุทธวิธีของหัวหน้ากลุ่ม ภารกิจที่อาจมาจากหน่วยงานอื่นภายใต้ ระบบการบัญชาการร่วม

29 การจัดการทรัพยากรที่มีการประสานความร่วมมือกัน (Coordinated Resource Ordering)
ผู้บัญชาการเหตุการณ์ภายใต้การ บัญชาการร่วมทำงานร่วมกันเพื่อ การส่งทรัพยากรไปยังจุดที่ขาดแคลน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการ จัดการเหตุการณ์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหาร จัดการทรัพยากรผ่านข้อตกลงร่วมกัน ระหว่าง ผู้บัญชาการเหตุการณ์

30 การแต่งตั้งโฆษก (Spokesperson Designation)
หนึ่งในผู้บัญชาการเหตุการณ์ ภายใต้ การบัญชาการร่วม อาจถูกแต่งตั้งให้ เป็นโฆษกเพื่อเป็นตัวแทนของผู้ บัญชาการเหตุการณ์ทั้งหมด เพื่อสื่อสารต่อกลุ่มภารกิจต่างๆใน การมอบหมายวัตถุประสงค์ และงาน ต่างๆ โฆษก ต้องไม่ ตัดสินใจสั่งการโดยลำพัง

31 การสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication)
SAT Operation IC

32 การสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication)
ใช้การสื่อสารอย่างเป็นทางการเมื่อ: สำหรับการรับหรือมอบหมายงาน สำหรับร้องขอการสนับสนุนหรือทรัพยากรเพิ่มเติม รายงานความก้าวหน้าของงานที่ได้รับมอบหมาย

33 การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication)
ใช้การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการในภาวะฉุกเฉิน หรือในเหตุการณ์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเท่านั้น จะไม่ใช้การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการสำหรับ การมอบหมายงาน การร้องขอการสนับสนุนหรือทรัพยากรเพิ่มเติม

34 การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication)
เช่น กลุ่มภารกิจสำรองวัสดุ เวชภัณฑ์ และส่งกำลังบำรุงอาจสอบถามข้อมูลจากด่านดอนเมืองโดยตรงถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้ เช่น mask, alcohol gel Logistics POE IC

35 โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular)
ขยายตัวแบบบนลงล่าง (Top-down) ปรับเปลี่ยนขยายหรือลดขนาดตามความเหมาะสมและความซับซ้อนของสถานการณ์ มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา Modular เป็นโครงสร้างขององค์กรที่ขยายตัวจากบนลงล่าง (Top-down) และสามารถปรับเปลี่ยนขยายหรือลดขนาดตามความเหมาะสมของประเภทและความซับซ้อนของภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น โครงสร้างองค์กรแบบนี้จึงมีจุดเด่นที่ความยืดหยุ่น และความคล่องตัว ยกตัวอย่างเช่น กรณีเกิดอหิวาตกโรคระบาดในพื้นที่ก็สามารถเพิ่มจำนวนทีมสอบสวนโรค (operation) ให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งการจัดโครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา เป็นการจัดองค์กรโดยยึดหลักการ “ปรับโครงสร้างตามภารกิจ” ทำให้โครงสร้างมีความยืดหยุ่น สามารถเพิ่มหรือลดขนาดให้เหมาะสมสอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ได้

36 ช่วงการควบคุม ช่วงการควบคุมที่เหมาะสมของหัวหน้า 1 คน คือการมีผู้ใต้บังคับบัญชาเพียง 3-7 คน เพื่อให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วงการควบคุม หมายถึง มีขอบเขตความรับผิดชอบผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งว่ามีเพียงใด มีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน มีหน่วยงานอยู่ในความควบคุมรับผิดชอบกี่หน่วยงาน มีทรัพยากรที่ต้องบริหารจัดการกี่หน่วย ทั้งนี้เนื่องจากหัวหน้าจะต้องสามารถที่จะกำกับดูแล ควบคุมการปฏิบัติงาน บริหารจัดการทรัพยากร ตลอดจนสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาได้อย่างครอบคลุม ช่วงการควบคุมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 ประการ • ประเภทและชนิดของเหตุการณ์ • ธรรมชาติของงาน/ภารกิจ • ปัจจัยความเส่ียงอนั ตราย และความปลอดภัย • ระยะในการบริหารจัดการทรัพยากรและผู้ปฏิบัติงาน โดยทั่วไป ช่วงการควบคุมที่เหมาะสมอของผู้บังคับบัญชาคือมีผู้ใต้บังคับบัญชาระหว่าง คน

37 Incident Commander ฉันคือใคร?
ฉันกำหนดวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของการบัญชาการ เหตุการณ์ ฉันคือใคร? Incident Commander

38 สิ่งที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องคำนึงถึงในการจัดการสาธารณภัย
การสื่อสาร (Communication) การควบคุมสถานการณ์ (Control) การบัญชาการ (Command) การประสานงาน (Coordination) (4C) ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องคำนึงถึงในการจัดการสาธารณภัย (4C) 1. การสื่อสาร(Communication) ควรใช้ภาษาทั่วไปเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ ที่เข้าใจง่าย เป็นที่เข้าใจร่วมกัน และใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสื่อสารและเข้าใจตรงกัน ลดความผิดพลาด ตลอดจนประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานอีกด้วย 2. การควบคุมสถานการณ์ (Control) ต้องสามารถควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนสื่อสาร และบริหารจัดการทรัพยากรที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง (Span of Control) มีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใด มีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน มีหน่วยงานอยู่ในความควบคุมรับผิดชอบกี่หน่วยงาน มีทรัพยากรที่ต้องบริหารจัดการกี่หน่วย ทั้งนี้เนื่องจากหัวหน้าจะต้องสามารถที่จะกำกับดูแล ควบคุมการปฏิบัติงาน บริหารจัดการทรัพยากร ตลอดจนสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาได้อย่างครอบคลุม การบริหารสั่งการในการทำงานจึงจะมีประสิทธิภาพ 3. การบัญชาการ(Command) ระบุขอบเขตอำนาจหน้าที่ และการสั่งการที่ชัดเจน โดยผู้บัญชาการเหตุการณ์นั้นควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในการบัญชาการเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีความเป็นไปได้ว่าผู้บัญชาการเหตุการณ์จึงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงสุด 4. การประสานงาน (Coordination) กำหนดผู้รับผิดชอบประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมด

39 ฉันจัดทำสรุปสถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพ พร้อมทั้ง เสนอข้อพิจารณา ยกระดับ-ลดระดับ EOC
ฉันคือใคร? SAT

40 ฉันเสนอกลยุทธ์ มาตรการ เป้าหมายใน การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแก่ผู้บัญชาการ เหตุการณ์พร้อมจัดทำแผนเผชิญเหตุ (Incident Action Plan, IAP) ฉันคือใคร? ยุทธศาสตร์

41 Safety officer ในกลุ่ม Operation
ฉันกำหนดมาตรการความปลอดภัยของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ฉันคือใคร? Safety officer ในกลุ่ม Operation

42 Risk Communication ฉันคือใคร?
ฉันเฝ้าระวังข่าวลือ จากช่องทางต่างๆ และตอบโต้อย่างเหมาะสม และรวดเร็ว ฉันคือใคร? Risk Communication

43 Case Management ฉันคือใคร?
ฉันจัดทำมาตรฐานแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยตลอดจนแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อ ฉันคือใคร? Case Management

44 Point of Entry ฉันคือใคร?
ฉันตรวจคัดกรองผู้เดินทางที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ฉันคือใคร? Point of Entry

45 Stockpiling and Logistics
ฉันจัดทำแผน กระจาย ดูแลกำกับ และจัดส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์เทคโนโลยีและสารสนเทศ (IT) อุปกรณ์และระบบสื่อสาร เสบียงและอุปกรณ์ ยังชีพ ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ฉันคือใคร? Stockpiling and Logistics

46 ฉันสื่อสารและถ่ายทอดกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้อง
ฉันคือใคร? กฎหมาย

47 การเงินและงบประมาณ ฉันคือใคร?
ฉันสนับสนุนงบประมาณให้ทีม ปฏิบัติงานได้ทันเวลา ฉันคือใคร? การเงินและงบประมาณ

48 ฉันจัดทำฐานข้อมูลกำลังคน พร้อมระบุสมรรถนะให้เป็น ปัจจุบัน และจัดทำแผนพัฒนา กำลังคน
ฉันคือใคร? กำลังคน

49 ประสานงานและเลขานุการ
ฉันประสานจัดการประชุม จัดทำ ปฏิทินการปฏิบัติงานของระบบ บัญชาการเหตุการณ์ และทีม ย่อยของระบบบัญชาการ เหตุการณ์ ฉันคือใคร? ประสานงานและเลขานุการ

50 องค์ประกอบและโครงสร้างของแผนปฏิบัติการสาหรับ ทุกภัยอันตราย (All-Hazards Plan)
ประโยชน์ของแผน การวางแผนช่วยลดความคลุมเคลือที่ต้องเผชิญ ช่วยลดไม่ให้เกิดความซับซ้อน หรืองานที่ไม่มีใครทา ภายใต้การทางาน ร่วมกัน การวางแผนช่วยควบคุมและติดตามการทางาน

51 ระดับของแผน: แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินมี 3 ระดับ
ระดับยุทธศาสตร์ (Strategic) เน้นที่เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของนโยบายและแนวทางโดยรวมขององค์กร เป้าหมาย/จุดสิ้นสุด ระดับปฏิบัติการ (Operational) บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ภารกิจ การบูรณาการ และการดำเนินการ วัตถุประสงค์ ระดับยุทธวิธี (Tactical) บุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ การบริหารจัดการทรัพยากร และพันธกิจ กิจกรรม

52 อะไรคือห้วงระยะเวลาปฏิบัติการ (operational period)?
ช่วงเวลาที่ถูกกำหนดเพื่อที่จะปฏิบัติตามยุทธวิธี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ช่วงระยะเวลาขึ้นอยู่กับ ธรรมชาติของเหตุการณ์ ความซับซ้อนของเหตุการณ์

53 กระบวนการวางแผน โดยใช้ Planning “P”
เกิดเหตุ หรือเหตุการณ์ที่จัดแตรียมไว้ แจ้งยังเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการ (ในกรณีที่มีการ เปลี่ยนผู้บัญชาการเหตุการณ์) สรุปสถานการณ์โดยย่อ ใช้แบบฟอร์ม ICS 201 IC ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ (ใน กรณีทีมีการใช้การบัญชาการร่วม)

54 กระบวนการวางแผน โดยใช้ Planning “P”
จุดเริ่มต้นของวงล้อการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ และ ยุทธวิธีเบื้องต้น SMART objectives วัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับการประเมิน สถานการณ์ของเหตุการณ์

55 การเขียน SMART Objective
S-Specific มีความจำเพาะ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ M-Measurable สามารถวัดได้ A-Achievable สามารถทำให้สำเร็จได้ R-Relevant มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย หรือภารกิจขององค์กร T-Time-bound เสร็จได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand

56 กระบวนการวางแผน โดยใช้ Planning “P”
ประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มภารกิจต่างๆในการจัดทำแผน เตรียมความพร้อมในการประชุมยุทธวิธี หารือ และจัดทำยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ร่าง ICS 215 จัดทำ ICS 215A ให้สมบูรณ์ รวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการจัดการกับเหตุการณ์

57 องค์ประกอบของแผน AHP ความเป็นมาและความสาคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขต
ความรับผิดชอบ กรอบการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสาร เอกสารอ้างอิง เอกสารแนบ ภาคผนวก

58 ความเป็นมาและความสาคัญ
กล่าวถึงที่มา ปัญหา สาเหตุความจาเป็นที่จาเป็นต้องมีแผน โดยระบุถึงสถานการณ์ ภัยพิบัติหรือเหตุภาวะฉุกเฉินนั้นๆ ปัญหา ผลกระทบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เชื่อมกับ เหตุผล หลักการ แนวทาง นโยบายขององค์กร วัตถุประสงค์ (SMART Objective) S-Specific มีความจาเพาะ ใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ M-Measurable สามารถวัดได้ A-Achievable สามารถทาให้สาเร็จได้ R-Relevant มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย หรือภารกิจขององค์กร T-Time-bound เสร็จได้ภายในกรอบเวลาที่กาหนด

59 ขอบเขต ระบุขอบเขต ให้ชัดว่าแผนนี้ใช้กับหน่วยงานใด พื้นที่ใด กาหนดว่าจะเกี่ยวโยงถึงบุคคลใดให้ชัดเจน หรือ แผนนี้จะไม่ระบุถึงอะไร เช่น ขอบเขตของแผน....อธิบายถึงการจัดการภาวะฉุกเฉินของโรค...เพื่อใช้สา หรับหน่วยงานในกรมควบคุมโรค ความรับผิดชอบ หน่วยงานที่จะเป็นผู้รับผิดชอบ จัดทา และทบทวนแผน ข้อสันนิษฐาน การคาดหมายว่าอาจจะเกิดสิ่งใดในการตอบโต้ต่อภาวะฉุกเฉิน ทั้งที่อาจจะเป็นอุปสรรค หรือเป็นโอกาส เช่น ในสถานการณ์น้าท่วมอาจมีการกีดขวางการเดินทางอาจทาให้การเข้าถึงผู้ประสบภัยล่าช้ากว่าที่คาด จะได้รับการสนับสนุนเครื่องพ่นยุงจากหน่วยงานอื่นๆ

60 กรอบการปฏิบัติงาน โครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน ภารกิจที่สาคัญสาหรับการจัดการภาวะฉุกเฉิน ระยะก่อนเกิดเหตุ เช่น ระยะเกิดเหตุ เช่น ระยะหลังเกิดเหตุ เช่น การติดต่อสื่อสาร ระบุถึงรายละเอียดของหน่วยงานต่างที่เกี่ยวข้องรวมถึงช่องทางการติดต่อสื่อสารทั้งทางหลัก และช่องทางการติดต่อสื่อสารสารองอื่นๆ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก

61 กระบวนการวางแผน และแผนเผชิญเหตุ (Planning Process and IAP)

62 วัตถุประสงค์ เพื่อระบุความสำคัญของการวางแผนในเหตุการณ์ต่างๆ
เพื่ออธิบายถึงขั้นตอนหลักในการวางแผน และเกณฑ์สำหรับการจัดทำ แผนเผชิญเหตุ เพื่ออธิบายถึงลักษณะ ของแบบฟอร์มต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแผนเผชิญเหตุ พร้อมทั้งอธิบายผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนเผชิญเหตุ เพื่อสามารถจัดทำแผนเผชิญเหตุได้ เข้า

63 ประโยชน์ของแผน การวางแผนช่วยลดความคลุมเครือที่ต้องเผชิญ
ปัจจุบัน อนาคต ภัยคุกคามด้าน สาธารณสุข การก่อการร้าย ภาวะวิกฤติ ของโลก อุบัติเหตุ งบประมาณจาก รัฐบาล ความไม่แน่นอน/ความคลุมเคลือ เทคโนโลยี นโยบาล ความเป็นไปได้ ทางกฎหมาย ทุกหน่วยงานต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน/ความคลุมเคลือ! ภัยอื่นๆ ภัยพิบัติ ธรรมชาติ การวางแผนช่วยลดความคลุมเครือที่ต้องเผชิญ ช่วยลดไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน หรืองานที่ไม่มีใครทำ ภายใต้การทำงานร่วมกัน การวางแผนช่วยควบคุมและติดตามการทำงาน Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand

64 ความล้มเหลวที่จะเตรียมพร้อม.... คุณกำลังเตรียมความพร้อมที่จะล้มเหลว

65 Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand
“ถ้าให้เวลา 6 ชั่วโมงกับฉันในการ ตัดต้นไม้ ฉันจะใช้เวลา 4 ชั่วโมง แรกในการลับขวานให้คม” อับราฮัม ลินคอล์น Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand

66 การจัดทำแผนเผชิญเหตุ
ทุกเหตุการณ์ต้องมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ ระบุวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่ชัดเจน ระบุกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติ มีห้วงระยะเวลาปฏิบัติงาน (operational period) ควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร

67 เมื่อไหร่ต้องจัดทำแผนเผชิญเหตุ?
เหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่ 2 หน่วยงานขึ้นไป เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องไปยังห้วงระยะเวลาปฏิบัติการรอบใหม่ เมื่อมีการยกระดับโครงสร้างต่างๆเพิ่มมากขึ้นตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ เป็นนโยบายของหน่วยงาน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากสารพิษ สารอันตราย (HAZMAT)

68 อะไรคือห้วงระยะเวลาปฏิบัติการ (operational period)?
ช่วงเวลาที่ถูกกำหนดเพื่อที่จะปฏิบัติตามยุทธวิธี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ช่วงระยะเวลาขึ้นอยู่กับ ธรรมชาติของเหตุการณ์ ความซับซ้อนของเหตุการณ์

69 กระบวนการวางแผน โดยใช้ Planning “P”
เกิดเหตุ หรือเหตุการณ์ที่จัดแตรียมไว้ แจ้งยังเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการ (ในกรณีที่มีการ เปลี่ยนผู้บัญชาการเหตุการณ์) สรุปสถานการณ์โดยย่อ ใช้แบบฟอร์ม ICS 201 IC ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ (ใน กรณีทีมีการใช้การบัญชาการร่วม)

70 กระบวนการวางแผน โดยใช้ Planning “P”
จุดเริ่มต้นของวงล้อการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ และ ยุทธวิธีเบื้องต้น SMART objectives วัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับการประเมิน สถานการณ์ของเหตุการณ์

71 การเขียน SMART Objective
S-Specific มีความจำเพาะ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ M-Measurable สามารถวัดได้ A-Achievable สามารถทำให้สำเร็จได้ R-Relevant มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย หรือภารกิจขององค์กร T-Time-bound เสร็จได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand

72 กระบวนการวางแผน โดยใช้ Planning “P”
ประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มภารกิจต่างๆในการจัดทำแผน เตรียมความพร้อมในการประชุมยุทธวิธี หารือ และจัดทำยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ร่าง ICS 215 จัดทำ ICS 215A ให้สมบูรณ์ รวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการจัดการกับเหตุการณ์

73 วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี
บอกถึงอะไรที่จะทำให้สำเร็จได้ สร้างแผนเพื่อที่จะกำหนดทิศทางให้ลุล่วง ตามวัตถุประสงค์ ระบุยุทธวิธีว่าทำอย่างไรให้แผนนั้นสำเร็จ Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand

74 การจัดทำยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม
สร้างทางเลือกยุทธศาสตร์ ในการจัดการเหตุการณ์ เลือกยุทธศาสตร์ซึ่ง: อยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยที่รับได้ มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้สำเร็จ มีความคุ้มค่า สอดคล้องกับการปฏิบัติกับสิ่งแวดล้อม เข้าได้กับข้อพิจารณาทางด้านการเมือง

75 เอกสารสำหรับใช้ในการประชุมยุทธวิธี (Tactical Meeting)

76 ความปลอดภัยของเหตุการณ์ (Incident Safety)
ในการจัดการเหตุการณ์ต่างๆต้องแน่ใจถึงความปลอดภัยของ: ผู้ปฏิบัติงานในเหตุการณ์ ผู้ได้รับผลกระทบ ผู้บาดเจ็บ หรือผู้ป่วยในเหตุการณ์ อาสาสมัครที่เข้าไปช่วยในเหตุการณ์ นักข่าว และสื่อมวลชน ณ จุดเกิดเหตุ

77 การวิเคราะห์ความปลอดภัยของเหตุการณ์
การวิเคราะห์ความปลอดภัยของเหตุการณ์ เพื่อ: ระบุ จัดลำดับ และลดผลกระทบ ของภัยอันตราย หรือความเสี่ยงต่างๆ ระบุยุทธวิธี ที่อาจมีอันตรายในระหว่างปฏิบัติงาน กำหนดมาตรฐานความปลอดภัย และทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการ ดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัย

78

79 กระบวนการวางแผน โดยใช้ Planning “P”
ทบทวน ปรับปรุงแผนที่จัดทำตามทรัพยากรที่ต้องการ เตรียมแผน IAP ในส่วนอื่นๆตามองค์ประกอบของ IAP รวบรวมแผนเพื่อขออนุมัติจากผู้บัญชาการเหตุการณ์

80 องค์ประกอบของแผนเผชิญเหตุ

81 จำเป็นต้องใช้ทุกแบบฟอร์มหรือไม่?
ผู้บัญชาการเหตุการณ์เป็นผู้กำหนดว่าจะต้องใช้แบบฟอร์มใดบ้างในแผนเผชิญเหตุ สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่ซับซ้อน หรือซับซ้อนน้อย ผู้บัญชาการเหตุการณ์อาจพิจารณาเลือกใช้เพียง วัตถุประสงค์เหตุการณ์(ICS202) รายชื่อตามโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS203) รายละเอียดมอบหมายงาน (ICS204) แผนความปลอดภัย (ICS 208) และแผนที่

82 ICS 202

83 ICS 203

84 ICS 204

85 ICS 205

86 ICS 205A

87 ICS 206

88 ICS 207

89 ICS 208

90 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับแผนเผชิญเหตุ
ชื่อ คำอธิบาย ICS 201 สรุปเหตุการณ์โดยย่อ ใช้เพื่อให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ และเจ้าหน้าที่เข้าใจสถานการณ์โดยรวม และใช้ในการถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการ ICS 202 วัตถุประสงค์เหตุการณ์ อธิบายวัตถุประสงค์ของแผนในห้วงระยะเวลาปฏิบัติการนั้นๆ ICS 203 รายชื่อตามโครงสร้าง ICS ข้อมูลรายชื่อในการตอบโต้สำหรับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ ICS 204 รายละเอียดมอบหมายงาน แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

91 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับแผนเผชิญเหตุ
ชื่อ คำอธิบาย ICS 205 แผนการสื่อสารวิทยุ ให้ข้อมูลการสื่อสารทางวิทยุในพื้นที่หนึ่งๆที่ทีมได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ICS 205A รายละเอียดการติดต่อสื่อสาร บันทึกวิธีการติดต่อสื่อสารถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ICS 206 แผนทางการแพทย์ ให้ข้อมูลทางการแพทย์สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ICS 207 ผังโครงสร้างตาม ICS ให้เห็นภาพโครงสร้างตามระบบบัญชาการเหตุการณ์

92 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับแผนเผชิญเหตุ
ชื่อ คำอธิบาย ICS 208 แผนความปลอดภัย ให้ข้อมูล หรือสารความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ICS 209 สรุปสถานะเหตุการณ์ ใช้สรุปสถานการณ์เพื่อการประเมินความเสียหาย และใช้เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะ ICS 210 การเปลี่ยนแปลงสถานะเหตุการณ์ ใช้สำหรับบันทึกสถานะข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงาน ICS 211 รายละเอียดการรายงานตัว ใช้สำหรับรายงานตัวบุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ

93 แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับแผนเผชิญเหตุ
ชื่อ คำอธิบาย ICS 213 ข้อความทั่วไป ใช้สำหรับส่ง-รับสารทั้งภายในและภายนอก ICS 214 บันทึกของหน่วย บันทึกกิจกรรมของแต่ละหน่วย ICS 215 แผ่นงานการวางแผนปฏิบัติงาน ใช้ในการตัดสินใจวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากร โดยยุทธศาสตร์ใช้เพื่อมอบหมายงาน ส่วน logistics ใช้เพื่อจัดหาทรัพยากรมาสนับสนุน ICS 215A การวิเคราะห์ความปลอดภัย สื่อสารถึงผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพในการปฏิบัติงาน

94 แบบฟอร์มเกี่ยวข้องกับแผนเผชิญเหตุ
ชื่อ คำอธิบาย ICS 218 รายการคงคลัง เครื่องมือและยานพาหนะที่สนับสนุน ให้ข้อมูลรายการคงคลังสำหรับเครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะที่ใช้สนับสนุนการปฏิบัติการ ICS 219 บัตรสถานะทรัพยากร ใช้บอกสถานะของทรัพยากรต่างๆ โดยแบ่งตามสีของแต่ละชนิดของทรัพยากร ICS 220 สรุปการปฏิบัติการทางอากาศ ให้ข้อมูลด้านการปฏิบัติการทางอากาศ ของอากาศยานที่ได้รับมอบหมายงาน ICS 221 การถอนกำลัง และรายงานตัวออก ใช้ตรวจสอบทรัพยากร เพื่อรายงานตัวออกเมื่อสิ้นสุดภารกิจ ICS 225 การให้คะแนนบุคคลากรในการปฏิบัติงาน ใช้สำหรับผู้บังคับบัญชาในการประเมิน ให้คะแนนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานว่าเหมาะสมหรือไม่

95 ผู้รับผิดชอบแบบฟอร์มในแผนเผชิญเหตุ
ผู้เตรียม ผู้อนุมัติ ICS 202 ยุทธศาสตร์ + SAT IC ICS 203 ยุทธศาสตร์ - ICS 204 ยุทธศาสตร์ + Others ICS 205 ยุทธศาสตร์ + Logistics ICS 205A หมายเหตุ ICS 201 ถูกเตรียมโดย STAG และ SAT แต่ไม่ได้ถูกจัดรวมอยู่ใน IAP

96 ผู้รับผิดชอบแบบฟอร์มในแผนเผชิญเหตุ
ผู้เตรียม ผู้อนุมัติ ICS 206 Logistics (Medical Unit) Operation (Safety) ICS 207 ยุทธศาสตร์ - ICS 208 ICS 215 ICS 215A แผนที่/พยากรณ์อากาศ หน้าปก

97 Planning “P” และผลลัพธ์
ICS 201 ICS 202 ICS 215 ICS 215A ICS 203 ICS 204 ICS 205 ICS 206 ICS 207 ICS 208 แผนที่/พยากรณ์อากาศ หน้าปก IAP

98 การประชุมสรุปการปฏิบัติการ (Operations Briefing)
ถูกจัดทำขึ้นทุกช่วงเริ่มต้นของห้วงระยะเวลาปฏิบัติการ นำเสนอ IAP ให้แก่ทางหัวหน้าทีมที่จะออกปฏิบัติการ ควรสั้น กระชับ เป็นการสื่อสารทางเดียว (one-way communication)

99 ตัวอย่าง วาระการประชุมสรุปการปฏิบัติการ
ใคร 1. กล่าวต้อนรับ สรุปสถานการณ์ ยุทธศาสตร์ + SAT 2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของเหตุการณ์ IC 3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ปัจจุบันของห้วงระยะเวลาปฏิบัติการ Operations/Case management/POE 4. มอบหมายการแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการ และรายละเอียดการปฏิบัติงานตาม ICS 204

100 ตัวอย่าง วาระการประชุมสรุปการปฏิบัติการ
ใคร 5. ชี้แจงประเด็นความปลอดภัย Safety officer 6. ชี้แจงแผนการสื่อสาร (ICS 205) และแผนทางการแพทย์ (ICS 208) Logistics 7. ชี้แจงประเด็นการสื่อสารความเสี่ยง Risk communication 8. กล่าวปิดการประชุม IC 9. กล่าวสรุปการประชุม ยุทธศาสตร์

101 คำถาม และข้อคิดเห็น


ดาวน์โหลด ppt ระบบบัญชาการเหตุการณ์และ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google