งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สสารและสมบัติของสาร Witchuda Pasom.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สสารและสมบัติของสาร Witchuda Pasom."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สสารและสมบัติของสาร Witchuda Pasom

2 สสาร คือสิ่งต่างๆที่ต้องการที่อยู่และมีน้ำหนัก และสัมผัสได้ หน่วยที่เล็กที่สุดของสสารคือ อะตอม และอะตอมเป็นตัวแสดงสมบัติของสสารนั้น สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสารแต่ละชนิดซึ่งแตกต่างจากสารอื่น เช่น กระดาษติดไฟได้ แต่แม่เหล็กไม่ติดไฟ ออกซิเจนอยู่ใสสถานะก๊าซที่อุณหภูมิและความดันปกติ แต่น้ำเป็นของเหลว น้ำส้มสายชูมีรสเปรี้ยวแต่น้ำมีรสจืด น้ำมีจุดเดือด 100 เซลเซียส แต่เอธานอลมีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส

3 สมบัติของสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
          1. สมบัติทางกายภาพ  หมายถึง  ลักษณะภายนอกของสารที่ได้จากการสังเกตหรือทราบได้จากการทดลองง่าย  ๆ เช่น สี  กลิ่น  รส  จุดเดือด  จุดหลอมเหลว  ความแข็ง  การนำไฟฟ้า  การนำความร้อน  ความหนาแน่น  ความถ่วงจำเพาะ  ลักษณะผลึก  เป็นต้น           2.  สมบัติทางเคมี  เป็นสมบัติที่ทราบได้โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี  หรือเป็นสมบัติที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากสารหนึ่งไปเป็นสารอื่น ๆ เช่น  เหล็กเป็นสนิม  ถ่านเมื่อเผาไหม้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้ก๊าซไฮโดรเจน  เป็นต้น

4 อะตอมเป็นตัวแสดงสมบัติของสสาร
อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน 3 อนุภาคคือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยที่โปรตอนและนิวตรอนจะรวมกันอยู่ใน นิวเคลียส ดังนั้นในนิวเคลียสจะเป็นที่รวมส่วน ใหญ่ของอะตอม

5 โปรตอน มีมวล 1.673x10-24 g มีประจุไฟฟ้า x10-19 C นิวตรอน มีมวล x10-24 g ไม่มีประจุไฟฟ้า อิเล็กตรอน มีมวล x10-28 g มีประจุไฟฟ้า x C

6 สสารแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
ของแข็ง อะตอมภายในของแข็งถูกยึดแน่นอยู่กับที่ แต่สามารถสั่นไปมารอบๆตำแหน่งของอะตอมนั้นๆ ของเหลว แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมน้อยลง มีอิสระในการเคลื่อนที่มากขึ้น สามารถไหลได้ ก๊าซ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมมีน้อยมาก จนแทบไม่มี ทำให้แต่ละอะตอมเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระอย่าง สมบูรณ์

7 การเปลี่ยนสถานะของสสาร

8 นอกเหนือจาก 3 สถานะนี้แล้ว ยังมีสสารอีก 1 ชนิดคือพลาสมา ประกอบด้วย อนุภาคหรืออะตอมที่มีประจุไฟฟ้ารวมกันอยู่ในลักษณะก๊าซ เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะแตกตัวเป็นไอออนและเปลี่ยนสถานะเป็นพลาสมา ได้แก่สสารในอวกาศ

9

10 เราจึงอาจแบ่งสสารออกเป็น 2 สถานะ คือ ของแข็ง และ ของไหล โดยที่สถานะของของไหลแบ่งออกเป็น ของเหลวและก๊าซ โดยแบ่งจากความแตกต่างของช่องว่าง และอัตราการเคลื่อนไหวของโมเลกุล

11 คุณสมบัติของสาร ความหนาแน่น ความยืดหยุ่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า

12 ความหนาแน่น Density ความหนาแน่น ของสสารคือ อัตราส่วน
ความหนาแน่น ของสสารคือ อัตราส่วน ของมวลหรือน้ำหนักของสสารนั้น (m) ต่อหน่วย ปริมาตร

13 ถ้าพิจารณามวลในรูปน้ำหนักแล้วจะได้
หน่วยของความหนาแน่นคือ kg/m3 , g/cm3 และใน 1 m3 = 1 gallons 1 g/cm3 = 1 g/mL และ น้ำมีความหนาแน่นเป็น 1000 kg/m3 = 1 g/cm3

14 ตัวอย่าง ความยาวด้านของลูกบาศก์อลูมิเนียม
มีค่าเท่าใด เมื่อน้ำหนักอลูมิเนียมมีค่าเท่ากับ น้ำหนักของทอง กำหนดความหนาแน่น อลูมิเนียม = 2.7x103 , ความหนาแน่นทอง = 19.3x103 kg/m3

15 ความถ่วงจำเพาะ คืออัตราส่วนความหนาแน่นของสสารนั้นเทียบ กับสารมาตรฐาน ถ้าสสารเป็นของเหลวหรือ ของแข็ง สสารมาตรฐานมักจะเป็นน้ำ (ที่อุณหภูมิ 40 C) หากเป็นก๊าซมักจะใช้อากาศ เป็นสารมาตรฐาน ความหนาแน่นของของเหลว และของแข็งมีค่าโดยประมาณเท่ากับความถ่วง

16 จำเพาะเนื่องจาก ความหนาแน่นน้ำ = 1 g/mL
ตัวอย่าง จงหาความหนาแน่นและความถ่วง จำเพาะของเอทิลแอลกอฮอล์ ถ้าเอทิลแอลกอ ฮอล์ 63.3 กรัม มีปริมาตร 80.0 มิลลิลิตร ความถ่วงจำเพาะ

17 1.มีสภาพยืดหยุ่นเมื่อแรงกระทำมีค่าน้อย
สภาพยืดหยุ่นของของแข็ง สภาพยืดหยุ่น (Elasticity) คือ สมบัติของวัตถุที่มีการเปลี่ยนรูปร่าง เมื่อมีแรงมากระทำ และสามารถคืนตัวกลับสู่รูปร่างเดิมได้เมื่อหยุดออกแรงกระทำ สภาพพลาสติก (Plasticity) คือ คุณสมบัติของวัสดุที่มีการเปลี่ยนรูปร่างไปอย่างถาวร โดยผิววัสดุไม่มีการฉีกขาดหรือแตกหักเมื่อมีแรงมากระทำ สิ่งที่ควรทราบ คือ วัสดุหลายชนิดมีทั้งสภาพยืดหยุ่นและสภาพพลาสติกในตัวเองโดยที่ 1.มีสภาพยืดหยุ่นเมื่อแรงกระทำมีค่าน้อย 2. มีสภาพพลาสติกเมื่อแรงกระทำมีค่ามาก

18 สมบัติของสาร ขีดจำกัดการแปรผันตรง (Proportional limit) คือ ตำแหน่งสุดท้ายที่ระยะยืดออกของวัตถุแปรผันตรงกับขนาดของแรงดึง ขีดจำกัดสภาพยืดหยุ่น (Elastic limit) คือ ตำแหน่งสุดท้ายที่วัตถุยืดออกแล้วยังสามารถคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อหยุดออกแรงกระทำ

19 สมบัติของสาร จากรูป ช่วง OA ความยาวที่สปริงยืดออกแปรผันตรงกับขนาดของแรงดึง เป็นไปตามกฎของฮุก (Hooke’sLaw) F=kx F แทนแรงที่กระทำกับสปริง k แทนค่าคงตัวของสปริง x แทนความยาวที่เปลี่ยนไปของสปริง

20 สมบัติของสาร ช่วง OB เป็นช่วงที่สปริงสามารถคืนตัวสู่รูปร่างเดิมได้เมื่อยกเลิกแรงกระทำกับสปริง OB สภาพสปริงในช่วง คือ “สภาพยืดหยุ่น” ช่วงกราฟจากจุด B เป็นต้นไปสปริงเปลี่ยนรูปไปอย่างถาวร แต่ถ้าออกแรงดึงสปริงต่อไปถึงจุด Cซึ่งเป็นจุดที่เส้นสปริงขาดพอดี เรียกจุด C นี้ว่า “จุดแตกหัก”(Breaking Point) สภาพของสปริงช่วง BC ก็คือ “สภาพพลาสติก”

21 สมบัติยืดหยุ่นของของแข็ง
สมบัติของสาร สมบัติยืดหยุ่นของของแข็ง แบบจำลองของแรงยึดเหนี่ยวภายในของแข็งมีลักษณะเหมือนกับมีสปริงยึดแต่ละอะตอมเข้าด้วยกัน เมื่อใดมีแรงมากระทำกับของแข็งที่มีขนาด ของแข็งจะเป็นรูปทรง เช่น ยืดออก หดเข้า หรือบิดเบี้ยว ขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงที่มากระทำปริมาณหลักทางฟิสิกส์ที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนรูปทรงของวัตถุเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำคือ ความเค้น(Stress) และความเครียด (Strain)

22 สมบัติของสาร ความเค้น (Stress) คือ อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำต่อพื้นที่ ชนิดของความเค้นขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงที่มากระทำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. ความเค้นดึงและความเค้นกด (Tensile and Compress stresses) 2. ความเค้นเฉือน (Shear stress) 3. ความเค้นเชิงปริมาตร (Bulk stress)

23 สมบัติของสาร ความเค้นตามยาว (Longitudinal Stress; σ)
ความเค้นตามยาว คือ อัตราส่วนระหว่างแรงกระทำในแนวตั้งฉาก กับพื้นที่ภาคตัดขวาง A ของวัตถุ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “σ” อ่านว่า ซิกมา (Sigma) มีหน่วยในระบบ SI เป็นนิวตันต่อตารางเมตร (N/m2)หรือ พาสคัล (Pa)

24 สมบัติของสาร

25 สมบัติของสาร ความเครียด (e) เป็นปริมาณวัดการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงที่เกิดจากความเค้น โดยเปรียบเทียบกับรูปทรงเดิมของวัตถุ ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนรูปทรงจะขึ้นอยู่กับลักษณะของความเค้น ความเครียดตามยาว (Longitudinal Strain) คือ อัตราส่วนระหว่างความยาวที่เปลี่ยนไปกับความยาวเดิมของวัตถุ แทนด้วยสัญลักษณ์ “ε” อ่านว่า แอพซิลอน (Epsilon)

26 สมบัติของสาร เมื่อออกแรงดึงหรือกดของแข็งที่มีพื้นที่หน้าตัด A แล้วทำให้ความยาวเปลี่ยนไปจากเดิม L ดังนั้น ความเครียดดึง

27 สมบัติของสาร แขวนมวล 400 กิโลกรัม กับเส้นลวดโลหะชนิดหนึ่งมีพื้นที่หน้าตัด 2 x 10-4 เมตร2 ยาว 10 เมตร ก.ความเค้นที่เกิดขึ้นมีค่าเท่าใด ข. ถ้าลวดยาวขึ้น 2มิลลิเมตร จงหาความเครียดที่เกิดขึ้น ค. จงหาค่ามอดูลัสของลวดเส้นนี้

28 สมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นกับความเครียด (Stress-Strain Relationship) ในที่นี้เราจะใช้เส้นโค้งความเค้น-ความเครียด (Stress-Strain Curve) ซึ่งได้จากการทดสอบแรงดึง (Tensile Test) เป็นหลัก โดยจะพลอตค่าของความเค้นในแกนตั้งและความเครียดในแกนนอน ดังรูป

29 สมบัติของสาร รูป เส้นโค้งความเค้น-ความเครียด (Stress-Strain Curve) แบบมีจุดคราก (Yield Point)

30 สมบัติของสาร การทดสอบแรงดึง นอกจากจะให้ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียดแล้ว ยังจะแสดงความสามารถในการรับแรงดึงของวัสดุ ความเปราะ เหนียวของวัสดุ (Brittleness and Ductility) และบางครั้งอาจใช้บอกความสามารถในการขึ้นรูปของวัสดุ (Formability) ได้อีกด้วย

31 สมบัติของสาร มอดูลัสของยัง (Young’s Modulus ; Y) คือ อัตราส่วนระหว่างความเค้นตามยาวและความเครียดตามยาวของวัตถุชนิดหนึ่งๆ เมื่อออกแรงดึงเส้นวัตถุ โดยไม่ให้ขนาดของแรงดึงเกินขีดจำกัดของการแปรผันตรงของวัตถุ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “Y” สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

32 ความเค้นและความเครียดเฉือน (Shear stress and shear strain)
สมบัติของสาร ความเค้นและความเครียดเฉือน (Shear stress and shear strain) เมื่อมีแรงเฉือน F กระทำบนพื้นที่ A แล้วทำให้ของแข็งเปลี่ยนรูปไป แสดงแรงเฉือน F กระทำบนพื้นที่หน้าตัด A ของ ของแข็ง แสดงการเปลี่ยนรูปของของแข็งไปเป็นมุม q โดยที่

33 ความเค้นและความเครียดเชิงปริมาตร (Bulk stress and bulk strain)
สมบัติของสาร ความเค้นและความเครียดเชิงปริมาตร (Bulk stress and bulk strain) เมื่อของแข็งปริมาตร V วางอยู่ในของไหลที่มีความดัน P โดยที่ P = F/A แล้วทำให้ปริมาตรเปลี่ยนไปจากเดิม DV ดังนั้น ความเค้นในรูปของความดันจากของไหลรอบด้านทำให้ปริมาตรของวัตถุลดลง ความเค้นเชิงปริมาตร หรือความดัน ความเครียดเชิงปริมาตร

34 สมบัติของสาร มอดูลัสความยืดหยุ่นแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
มอดูลัสของยัง (Y) เมื่อของแข็งถูกแรงดึงหรือแรงกดกระทำ โดยที่ 2. มอดูลัสเฉือน (S) เมื่อของแข็งถูกแรงเฉือนกระทำ โดยที่ 3. มอดูลัสเชิงปริมาตร หรือ Bulk molulus (B) เมื่อของแข็งถูกความดันของของเหลวกระทำ โดยที่

35 สมบัติของสาร ตัวอย่าง แขวนมวล 400 กิโลกรัม กับเส้นลวดโลหะชนิดหนึ่งมีพื้นที่หน้าตัด 2 x 10-4 เมตร2 ยาว 10 เมตร เส้นลวดเส้นนี้จะยืดออกเป็นระยะเท่าใด กำหนดให้ค่ายังมอดูลัสของเส้นลวดนี้เป็น 2x 1011 นิวตัน/เมตร2 วิธีทำ

36 สมบัติของสาร แบบฝึกหัด
ลวดเคเบิลที่ใช้ในการดึงลิฟต์ตัวหนึ่ง มีความยาว 25 เมตร ทำด้วยเหล็กกล้าที่มีค่ามอดูลัสดึง 201010 นิวตันต่อตารางเมตร ลิฟต์นี้ได้รับการออกแบบให้รับน้ำหนักได้ 1,600 นิวตัน และยอมให้ยืดได้มากที่สุด 5 มิลลิเมตร ลวดต้องมีพื้นที่หน้าตัดเท่าใด สายโทรศัพท์ยาว 125 เมตรและมีรัศมี 1 มิลลิเมตร ถูกขึงให้ตึงด้วยแรง 800 นิวตัน ปรากฏว่าความยาวของสายกลายเป็น เมตรให้หาค่ามอดูลัสดึงของสายโทรศัพท์นี้

37 สมบัติของสาร แบบฝึกหัด
3. ลวดยาว 1 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 เซนติเมตร สร้างจากโลหะที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ดังแสดงในกราฟ จงหาว่าลวดนี้จะยืดออกเท่าไร ถ้าใช้ในการยกวัตถุมวล 100 กิโลกรัม

38 การนำความร้อน การนำความร้อน (อังกฤษ: heat conduction) คือ ปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนถ่ายเทภายในวัตถุหนึ่ง ๆ หรือระหว่างวัตถุสองชิ้นที่สัมผัสกัน โดยมีทิศทางของการเคลื่อนที่ของพลังงานความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่ตัวกลางไม่มีการเคลื่อนที่ การนำความร้อนเป็นกระบวนการ ที่เกิดขึ้นบนชั้นอะตอมของอนุภาค เป็นหนึ่งในกระบวนการถ่ายเทความร้อน ในโลหะ การนำความร้อนเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนอิสระ(คล้ายการนำไฟฟ้า)ในของเหลวและของแข็งที่มีสภาพการนำความร้อนต่ำเป็นผลมาจากการสั่นของโมเลกุลข้างเคียง ในก๊าซ การนำความร้อนเกิดขึ้นผ่านการสั่นสะเทือนระหว่างโมเลกุลหรือกล่าวคือการนำความร้อนเป็นลักษณะการถ่ายเทความร้อนผ่าน โดยตรงจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งโดยการสัมผัสกัน เช่น การเอามือไปจับกาน้ำร้อน จะทำให้ความร้อนจากกาน้ำถ่ายเทไปยังมือ จึงทำให้รู้สึกร้อน เป็นต้น วัสดุใดจะนำความร้อนดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ์การนำความร้อน(k)

39 ตัวอย่างสัมประสิทธิ์การนำความร้อน
วัสดุ สัมประสิทธิ์การนำความร้อน(k)(W/mK) อากาศ(ที่ความดันบรรยากาศ) อะลูมิเนียม คอนกรีต ทองแดง เพชร น้ำแข็ง กระดาษ ไม้ เงิน

40 การนำไฟฟ้าของสาร ไฟฟ้าสถิต หมายถึง อำนาจไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเฉพาะแห่ง เนื่องจากประจุไฟฟ้าไม่เคลื่อนที่ในวัตถุชนิดนั้น ๆ เช่น เมื่อถูแท่งพลาสติกด้วยผ้าสักหลาด แท่งพลาสติกบริเวณที่มีการถูจะแสดงอำนาจไฟฟ้าได้ เนื่องจากขณะที่นำพลาสติกไปถูผ้าสักหลาด จะทำให้ประจุไฟฟ้าที่อยู่ในพลาสติกแยกออกจากกัน และแสดงอำนาจไฟฟ้าบวกหรือลบ แล้วแต่ว่าบริเวณนั้นจะมีประจุชนิดใดมากกว่ากัน อำนาจไฟฟ้าจึงเกิดขึ้นบริเวณที่ถูจากความรู้เรื่องไฟฟ้าสถิต ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารต่าง ๆ จะมีประจุไฟฟ้า 2 ชนิด คือประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบ การที่วัตถุไม่แสดงอำนาจไฟฟ้าหรือเป็นกลางทางไฟฟ้านั้นเป็นเพราะว่ามีปริมาณของประจุบวกและลบเท่ากัน เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับอะตอมทำให้เชื่อกันว่าอะตอมก็ควรจะมีประจุเช่นเดียวกัน อะตอมที่เป็นกลางจะมีประจุบวกและลบเท่ากัน ดังนั้นอะตอมจึงไม่ควรจะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด

41 ไฟฟ้ากระแส หมายถึง อำนาจไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าผ่านตัวกลาง ตัวกลางที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านเรียกว่า ตัวนำ เช่น โลหะต่าง ๆ ส่วนตัวกลางที่ไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าผ่านเรียกว่า ฉนวน

42 การนำไฟฟ้าของสารละลาย
สารละลายที่นำไฟฟ้าได้เรียกว่า “สารละลายอิเล็กโทรไลต์(Electrolytic solution)” เช่น สารละลายกรดเกลือ - ถ้านำไฟฟ้าได้มากเรียกว่า สารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่ (strong electrolyte) เช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์ - ถ้านำไฟฟ้าได้น้อยเรียกว่า สารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน(weak electrolyte) เช่น สารละลายกรดอะซิติก - ถ้าเป็นสารละลายที่ไม่นำไฟฟ้าเรียกว่า “สารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์ (Non-electrolytic solution)” เช่น สารละลายกลูโคส

43 การที่สารละลายอิเล็กโทรไลต์ นำไฟฟ้าได้ เพราะในสารละลายมีไอออนซึ่งมีประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออนบวก และไอออนลบ กล่าวคือ เมื่อสารละลายในน้ำจะมีการแตกตัวออกเป็นสองส่วน และมีประจุตรงกันข้ามกัน แต่ละส่วนเรียกว่า ไอออน - ไอออนส่วนหนึ่งจะมีประจุไฟฟ้าบวก เรียกว่า ไอออนบวก - ไอออนอีกส่วนหนึ่งจะมีประจุไฟฟ้าลบเรียกว่า ไอออนลบ (มีปริมาณเท่ากับไอออนบวก) เมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า ไอออนบวกจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าลบ และ ไอออนลบจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าบวก ไอออนบวกที่เคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าลบจะไปรับประจุลบหรืออิเล็กตรอน ส่วนไอออนลบที่เคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าบวกจะเป็นตัวพาประจุลบไปให้ขั้วไฟฟ้า ไหลวนเวียนกันอยู่ในสารละลาย จึงก่อให้เกิดการนำไฟฟ้าขึ้น

44 การนำไฟฟ้าของก๊าซ ที่ความดันปกติก๊าซจะไม่นำไฟฟ้า แม้ว่าจะเพิ่มความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้าให้มากขึ้น แสดงว่าก๊าซเป็นฉนวนไฟฟ้า ความต่างศักย์ที่ใช้ตามบ้านคือ 220 โวลต์ ก๊าซจะไม่นำไฟฟ้า แต่ในบางโอกาสจะพบว่าก๊าซสามารถนำไฟฟ้าได้ เช่น การเกิดฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่าในขณะที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง จากการศึกษาการนำไฟฟ้าของก๊าซพบว่า ก๊าซจะนำไฟฟ้าได้ดีขึ้นถ้าความดันของก๊าซต่ำลง และความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้ามากขึ้น


ดาวน์โหลด ppt สสารและสมบัติของสาร Witchuda Pasom.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google