งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภูเขาไฟ (Volcano).

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภูเขาไฟ (Volcano)."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภูเขาไฟ (Volcano)

2

3 ภูเขาไฟ (Volcano)  Volcano มาจากคำว่า Valcan เป็นชื่อเทพแห่งไฟ
 เป็นช่องทางเปิดบนพื้นผิวโลก ที่ให้หินหลอมเหลวเคลื่อนตัวขึ้นสู่ผิวโลกผ่านช่องทางที่เรียกว่า “ปล่อง” (Vent หรือ Pipe) ก่อให้เกิดเป็นเนินเตี้ยๆ เมื่อมีการปะทุเกิดขึ้นหลายครั้ง เนินเหล่านี้จะมีความสูงเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นภูเขาไฟ  เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลก ถูกแรงดันให้เคลื่อนที่แทรกตามรอยแตกขึ้นมาสู่ผิวของเปลือกโลก  ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางภายภาพ และทางเคมีภายในเปลือกโลกขึ้น  เมื่อหินหนืดขึ้นมาสู่ชั้นเปลือกโลก อุณหภูมิและความดันของหินหนืดจะลดลง และแข็งตัวอย่างทันทีทันใดกลายเป็นหินเกิดขึ้น

4

5 การระเบิดของภูเขาไฟ  เกิดจากการปะทุของแมกมา (magma) แก๊ส และเถ้าจากใต้เปลือกโลก  ก่อนการระเบิดมักมีสัญญาณบอกเหตุให้รู้ล่วงหน้า เช่น แผ่นดินในบริเวณรอบๆ ภูเขาไฟเกิดการสั่นสะเทือน มีเสียงคล้ายฟ้าร้องติดต่อกันเป็นเวลานาน  เมื่อเกิดการระเบิด ลาวา เศษหิน ฝุ่นละออง เถ้าถ่านภูเขาไฟจะถูกพ่นออกมาทางปล่องภูเขาไฟ และออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ และจากแนวรอยแยกของภูเขาไฟ ภูเขาไฟระเบิดเกิดจากการปะทุของแมกมา (magma) แก๊สและเถ้าจากใต้เปลือกโลก ก่อนการระเบิดมักมีสัญญาณบอกเหตุให้รู้ล่วงหน้า เช่น แผ่นดินในบริเวณรอบๆ ภูเขาไฟเกิดการสั่นสะเทือน มีเสียงคล้ายฟ้าร้องติดต่อกันเป็นเวลานาน ****เสียงที่ดังออกมานั้นเกิดจากการเคลื่อนไหวของแมกมา แก๊สต่างๆ และไอน้าที่ถูกอัดไว้*** เมื่อเกิดการระเบิด ลาวา เศษหิน ฝุ่นละออง เถ้าถ่านภูเขาไฟจะถูกพ่นออกมาทางปล่องภูเขาไฟ และออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ และจากแนวรอยแยกของภูเขาไฟ เมื่อแมกมาขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก เรียกว่า ลาวา (lava) สิ่งที่แตกต่างระหว่างลาวาและแมกมาอีกอย่าง คือ แมกมาที่อยู่ใต้เปลือกโลกจะมีความดันสูงมากเมื่อเทียบกับลาวา  เมื่อแมกมาขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก เรียกว่า ลาวา (lava)

6 การระเบิดของภูเขาไฟ  สิ่งที่แตกต่างระหว่างลาวาและแมกมาอีกอย่าง คือ แมกมาที่อยู่ใต้เปลือกโลกจะมีความดันสูงมากเมื่อเทียบกับลาวา  ส่วนประกอบที่สำคัญที่มีผลต่อความหนืดของแมกมา คือ ซิลิกา (SiO2) ****ลาวาที่ออกมาสู่พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิสูงในช่วง 700 – 1,250 องศาเซลเซียส ไหลตามความลาดเอียงของพื้นที่ ส่วนแก๊สที่ออกมาด้วยจะลอยออกไปในอากาศ ความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟส่วนมากเป็นผลมาจากความหนืดของแมกมา แมกมาที่เคลื่อนที่สู่ผิวโลก จะมีส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน**** ส่วนประกอบที่สาคัญที่มีผลต่อความหนืดของแมกมา คือ ซิลิกา (SiO2)

7 การระเบิดของภูเขาไฟ  ลาวาที่มีความหนืดน้อย แก๊สจะเคลื่อนที่ได้ง่าย และเมื่อลาวาเคลื่อนที่สู่ผิวโลกจะเกิดการประทุหรือระเบิดไม่รุนแรง (ลาวาเบส)  ลาวาที่มีความหนืดมาก แก๊สจะเคลื่อนที่ออกมาได้ยาก ทำให้ความดันของลาวาสะสมเพิ่มขึ้น เมื่อเคลื่อนที่สู่ผิวโลกจะทาให้เกิด การระเบิดอย่างรุนแรง (ลาวากรด)  เมื่อมีภูเขาไฟระเบิดขึ้นสิ่งที่ถูกดันผ่านชั้นเปลือกโลกออกมาก็จะมีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ

8 การระเบิดของภูเขาไฟ  ของแข็ง จะพบในลักษณะของลาวาหลาก (lava flow) ที่จะไหลแผ่ไปเป็นรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร มีขนาดตั้งแต่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็กหรือมีขนาดใหญ่หนักหลายตันเมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะกลายเป็นหินที่เรียกว่า ตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic) ส่วนที่ปลิวว่อนไปในอากาศเมื่อเย็นตัวลงจะเรียก เถ้าธุลีภูเขาไฟ (volcanic ash)

9 การระเบิดของภูเขาไฟ  ของเหลว ลาวาเป็นของเหลวที่พุ่งผ่านปล่องภูเขาไฟขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศลาวาจะมีลักษณะที่แตกต่างกันในการระเบิดแต่ละครั้ง  ก๊าซ ที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะประกอบด้วยไอน้าร้อยละ โดยปริมาตรนอกจากนั้นประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน แก๊สในกลุ่มกำมะถัน

10 ประเภทของภูเขาไฟ ภูเขาไฟสามารถแบ่งได้ได้หลายประเภท เช่น แบ่งตามรูปร่าง ลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่ประทุออกมา การปะทุ วัตถุที่มาสะสมกันรอบๆปล่องภูเขาไฟ โอกาสที่จะระเบิด แบ่งตามรูปร่าง ได้แก่ ที่ราบสูงลาวา ภูเขาไฟแบบรูปโล่ กรวยกรวดภูเขาไฟ และภูเขาไฟสลับชั้น แบ่งตามโอกาสการระเบิด ได้แก่ ภูเขาไฟมีพลัง ภูเขาไฟสงบและภูเขาไฟที่ดับสนิท

11 ประเภทของภูเขาไฟ แบ่งตามรูปร่าง
 ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ เกิดจากลาวาที่เป็นเบส คือมีแร่เหล็กและแมกนีเซียมสูงโดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบะซอลท์ ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาไหลเร็ว แข็งตัวช้า ระเบิดไม่รุนแรง ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟมอนาคี (ฮาวาย) ภูเขาไฟรูปโล่ ภูเขาไฟ มัวนาลัวในหมู่เกาะฮาวาย

12 ประเภทของภูเขาไฟ  กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมากมีลักษณะเป็นกรวยสูงขึ้น ฐานแคบ เกิดจากลาวาที่เป็นกรด คือ มีธาตุซิลิคอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวาข้นเหนียว และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูงแต่จะแข็งตัวได้เร็ว การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบมีการระเบิดอย่างรุนแรงมากที่สุด ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด ประเทศชิลี

13 ประเภทของภูเขาไฟ  ภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟรูปร่างสมมาตร รูปทรงสวยงามเป็นรูปกรวยคว่ำ เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกะทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐอเมริกา) ภูเขาไฟฟูจิยามาในประเทศญี่ปุ่น

14 แบ่งตามโอกาสการระเบิด
ประเภทของภูเขาไฟ แบ่งตามโอกาสการระเบิด ภูเขาไฟในโลกเรามีทั้งแบบที่เป็นภูเขาไฟมีพลัง (active volcanoes) ภูเขาที่ยังคงมีการประทุอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันทั่วโลกมีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก และส่วนมากมีอยู่ในมลรัฐฮาวายประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ15 ของจำนวนภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟสงบ (dormant volcanoes) คือ ภูเขาที่เคยมีการประทุในอดีตส่วนปัจจุบันจะไม่มีการประทุอีก เช่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนในประเทศสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟฟูจิ ญี่ปุ่น ภูเขาไฟดับสนิท (extint volcanoes) คือ ภูเขาไฟที่ไม่มีการประทุมาตั้งแต่ในอดีตแต่มีการผุพังไป เช่น ภูเขาไฟในประเทศไทย

15 ภูเขาไฟวิสุเวียส ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับเพียงแห่งเดียวในทวีปยุโรป

16 แนวการเกิดภูเขาไฟ แนวการเกิดภูเขาไฟที่สำคัญมีอยู่ 4 แนว
1. แนวรอบมหาสมุทรแปซิฟิกหรือวงแหวนแห่งไฟ 2. แนวเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย 3. แนวเทือกเขาแอฟริกาตะวันออกหรือเทือกเขาคิลิมันจาโร 4. แนวมหาสมุทรแอตแลนติก

17 สิ่งเตือนภัยของการเกิดภูเขาไฟ
สัญญาณบอกเหตุการณ์เกิดภูเขาไฟระเบิดมีหลายอย่าง พอจะเป็นสิ่งเตือนให้ทราบถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น จะได้มีการเตรียมตัวหลบหลีกภัยธรรมชาติดังกล่าว 1) ภูเขาไฟพ่นควันมากขึ้น มีแก๊สมากขึ้น บางครั้งมีนกที่กำลังบินอยู่รับแก๊สพิษที่ลอยขึ้นบนอากาศ แล้วตกลงมาตาย 2) ภูเขามีอาการบวมหรือเอียง เพราะมีเนื้อลาวาพ่นออกมาเสริมเนื้อภูเขา ทำให้เกิดอาการบวม หรือเอียงขึ้น สามารถวัดได้จากกล้องสำรวจ 3) พื้นผิวมีการสั่นสะเทือนมากขึ้น มีการส่งพลังงานเสียงออกมามากขึ้นกว่าปกติ วัดได้จากเครื่องไซสโมกราฟ คอยรายงานข้อมูลอัตราการเพิ่มการสั่นไหว 4) สุนัข หรือสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดจะตื่นตกใจ เพราะสัตว์เหล่านี้สามารถรับรู้การสั่นสะเทือนของพื้นดินได้ดีกว่ามนุษย์

18 ภูเขาไฟในประเทศไทย ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง ภูเขาไฟภูพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ - ภูเขาไฟภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย ปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ที่เขากระโดงจังหวัดบุรีรัมย์ จากการสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าประเทศไทยเคยมีการระเบิดของภูเขาไฟ มาก่อน โดยมีหลักฐานจากหินภูเขาไฟหลากหลายชนิดที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ การระเบิดช่วงสุดท้ายของภูเขาไฟในประเทศไทย คาดว่าเป็นการระเบิดแล้วเย็นตัวให้หินบะซอลต์ที่มีอายุตั้งแต่ 1.8 ล้านปี ถึง 10,000 ปี ที่ผ่านมา ตัวอย่างบริเวณที่พบหินภูเขาไฟ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี ตราด สระบุรี ลำปาง สุรินทร์ และศรีสะเกษ แต่ปัจจุบันภูเขาไฟในประเทศไทยจะเป็นภูเขาไฟที่ไม่มีพลังและเมื่อพิจารณาที่ตั้งของประเทศไทยพบว่าอยู่นอกเขตการมุดตัวของแผ่นธรณี ดังนั้นเราจึงโชคดีที่ไม่ต้องประสบพิบัติภัยจากภูเขาไฟระเบิดอีก ภูเขาไฟที่สำรวจในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีรูปร่างไม่ชัดเจน ที่มีรูปร่างชัดเจนมากที่สุด(มองเห็นเพียงด้านเดียว) ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง ภูเขาไฟภูพระอังคาร และภูเขาไฟพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะมีปากปล่องเหลือให้เห็นเป็นร่องรอยและจัดเป็นกรวยกรวดภูเขาไฟ ทั้งนี้เพราะเป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ถูกกระบวนการกัดกร่อนผุพังทาลายจนไม่เห็นรูปร่างที่ชัดเจน ภูพระอังคาร จ.บุรีรัมย์ ที่มา ภูเขาไฟผาลาด จังหวัดลำปาง  ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด

19 โทษของภูเขาไฟระเบิด 1. แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน 2. ลาวา ที่ไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ มนุษย์และสัตว์ถ้าหนีไม่ทันก็จะเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง 3. เกิดฝุ่นภูเขาไฟ เถ้ามูล บอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟและลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร 4. เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ 5. หลังจากภูเขาไฟระเบิด มีฝุ่นเถ้าภูเขาไฟตกทับถมอยู่ใกล้ภูเขาไฟเมื่อฝนตกหนัก อาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น

20 ประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิด
1. ช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล 2. ทำให้หินอัคนีและหินชั้นใต้ที่ลาวาไหลผ่านเกิดการแปรสภาพ เช่น หินแปรที่แข็งแกร่งขึ้น 3. ทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญขึ้น เช่น เพชรเหล็ก และธาตุอื่น ๆ 4. แหล่งภูเขาไฟจะเป็นแหล่งดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก 5. แหล่งภูเขาไฟ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 6. ทำให้บรรยากาศโลกเย็นลง 7. เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล

21 หินภูเขาไฟ

22 หินภูเขาไฟ  เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะพ่นชิ้นส่วนภูเขาไฟ ขนาดต่างๆ ออกมา ส่วนมากเป็นเศษหิน ผลึกแร่ เถ้าภูเขาไฟ และฝุ่นภูเขาไฟ ตกลงมาสะสมตัวบนผิวโลก ชิ้นส่วนภูเขาไฟที่เกิดในลักษณะนี้เมื่อเย็นตัวและแข็งเป็นหินเรียกว่า หินชิ้นภูเขาไฟ  เมื่อแข็งตัวเป็นหินเรียกว่า หินทัฟฟ์ (tuff)  ถ้าเป็นเหลี่ยมเรียกว่า บล็อก (block) หินชิ้นภูเขาไฟ เรียกตามขนาดและลักษณะของชิ้นส่วนที่พ่นออกมา เช่น เถ้าภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.06 – 2 มิลลิเมตร หินทัฟฟ์ (tuff) ชิ้นส่วนภูเขาไฟที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 64 มิลลิเมตร  ถ้ามีรูปร่างคล้ายหยดน้าเรียกว่า บอมบ์ (bomb)  หินที่ประกอบด้วยวัสดุภูเขาไฟขนาดใหญ่ ทั้งบล็อกและบอมบ์ เรียกหินประเภทดังกล่าวว่า หินแอกโกลเมอเรต (agglomerate)

23

24

25

26

27 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
วีดีโอเพิ่มเติม ความรู้เพิ่มเติม สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูติ๊ก

28 แนวภูเขาไฟที่เกิดจากการมุดตัวของแผ่นธรณี
เมื่อแผ่นธรณีสองแผ่นเคลื่อนที่มาชนกัน จะทำให้แผ่นธรณีแผ่นหนึ่งมุดตัวลงไปใต้แผ่นธรณีอีกแผ่นหนึ่ง แผ่นธรณีที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะเคลื่อนตัวมุดลงไปใต้แผ่นธรณีอีกแผ่นหนึ่งที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า  แผ่นธรณีที่มุดอยู่ด้านล่างจะอยู่ในชั้นเนื้อโลกที่ร้อนจัด หลอมละลายกลายเป็นหินหนืด และจะถูกแรงดันจากหินที่อยู่รอบๆ ดันหินหนืดให้พุ่งขึ้นสู่ผิวโลกตรงบริเวณที่ชั้นผิวโลกอ่อนนุ่ม  ทำให้เกิดแนวภูเขาไฟที่เกิดจากการมุดตัวของเปลือกโลกขึ้น เช่น บริเวณรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรียกกันว่า “วงแหวนแห่งไฟ” และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน


ดาวน์โหลด ppt ภูเขาไฟ (Volcano).

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google