งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์
บทนำ รอบเวลาการสั่งซื้อ ระบบประมวลผลคำสั่งซื้อ การขายภายใน/การตลาดทางโทรศัพท์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การผสมผสานการประมวลคำสั่งซื้อเข้ากับระบบ it for logistics การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการแข่งขันที่อาศัยเวลา ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ/ระบบปัญญาประดิษฐ์ การจัดการฐานข้อมูล

2 วัตถุประสงค์ เพื่อแสดงภาพรวมของแนวทางในการใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินงาน โลจิสติกส์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบประมวลผลคำสั่งซื้อมีผลกระทบต่อการดำเนิน งานโลจิสติกส์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบประมวลผลคำสั่งซื้อสามารถเป็นแกนกลางของ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์ทั้งระดับยุทธศาสตร์และกลยุทธ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการบริการลูกค้า เพื่ออธิบายบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการแข่งขันที่ ใช้เวลาเป็นเครื่องตัดสิน เพื่อแสดงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง เช่น ระบบการตัดสินใจ ระบบปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ ในธุรกิจโลจิสติกส์

3 รอบเวลาการสั่งซื้อ

4 นำส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด
1. ลูกค้าสั่งซื้อสินค้า นำส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด 2. รับและลงบันทึก คำสั่งซื้อ 3. ประมวลผลคำสั่งซื้อ 4. คัดเลือกและจัดสินค้าเป็นหีบห่อ เวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม การเตรียมและสั่งต่อคำสั่งซื้อ 2 วัน การรับและลงบันทึกคำสั่งซื้อ 1 วัน การประมวลผลคำสั่งซื้อ 1 วัน การคัดเลือกและจัดสินค้าเป็นหีบห่อ 5 วัน การนำส่งสินค้า 3 วัน ลูกค้ารับสินค้าและนำเข้าสถานที่เก็บ 1 วัน รวมรอบเวลาการสั่งซื้อ วัน รูปที่ 3-1 รอบเวลาการสั่งซื้อจากมุมมองของลูกค้า

5 รูปที่ 3-2 ความแปรปรวนของรอบเวลาการสั่งซื้อ
ระยะเวลาตั้งแต่ วัน 2. การบันทึกคำสั่งซื้อ 1. การเตรียมและส่งต่อคำสั่งซื้อ ความถี่ : ระยะเวลาตั้งแต่ 1-3 วัน ระยะเวลาตั้งแต่ วัน 3. การประมวลผลคำสั่งซื้อ

6 รูปที่ 3-2 ความแปรปรวนของรอบเวลาการสั่งซื้อ(ต่อ)
5. การนำส่ง ความถี่ : ระยะเวลาตั้งแต่ 1-5 วัน 4. การคัดเลือกและจัดสินค้าเป็นหีบห่อ ความถี่ : ระยะเวลาตั้งแต่ 1-9 วัน ระยะเวลาตั้งแต่ วัน 6. ลูกค้ารับมอบสินค้า ความถี่ : รวม ความถี่ : 13 21.5 วัน 4.5 วัน

7 คำนวณรอบการสั่งซื้อ

8 ตารางที่ 3-1 ตัวอย่างแสดงผลกระทบของการลดรอบเวลาการสั่งซื้อ
และความแปรปรวนของคำสั่งซื้อต่อปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย A. สถานการณ์ที่ 1 : กรณีฐาน ยอดขายต่อวัน = 20 หน่วย สั่งซื้อสินค้าทุก 13 วัน (20 หน่วย x 13 วัน) เป็นจำนวน 260 หน่วย สินค้าคงคลังหมุนเวียนเฉลี่ย (Cycle Stock) = ปริมาณสินค้า 260 หน่วย = 130 หน่วย 2 สินค้าคงคลังเพื่อป้องกันสินค้าขาดมือ (Safety Stock) 8 วัน = 20 หน่วย x 8 วัน = 160 หน่วย ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย = สินค้า Cycle Stock + สินค้า Safety Stock = = 290 หน่วย

9 ตารางที่ 3-1 ตัวอย่างแสดงผลกระทบของการลดรอบเวลาการสั่งซื้อ
และความแปรปรวนของคำสั่งซื้อต่อปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย(ต่อ) B. สถานการณ์ที่ 2 : ลดรอบเวลาการสั่งซื้อลง 5 วัน จาก 13 วัน เหลือ 8 วัน สั่งซื้อสินค้าทุกๆ ด้าน 8 วัน เป็นจำนวนยอดขายต่อวัน = 160 หน่วย (20 x 8) สินค้าคงคลังหมุนเวียนเฉลี่ย (Cycle Stock) = ปริมาณสินค้า 160 หน่วย = 80 หน่วย 2 สินค้าคงคลังเพื่อป้องกันสินค้าขาดมือ (Safety Stock) 8 วัน = 20 หน่วย x 8 วัน = 160 หน่วย ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย = สินค้า Cycle Stock + สินค้า Safety Stock = = 240 หน่วย

10 ตารางที่ 3-1 ตัวอย่างแสดงผลกระทบของการลดรอบเวลาการสั่งซื้อ
และความแปรปรวนของคำสั่งซื้อต่อปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย(ต่อ) C. สถานการณ์ที่ 3 : ลดสินค้าคงคลังที่เก็บเพื่อป้องกันสินค้าขาดมือลงเป็นจำนวน 3 วัน สินค้าคงคลังหมุนเวียนเฉลี่ย (Cycle Stock) = ปริมาณสินค้า 160 หน่วย = 80 หน่วย 2 สินค้าคงคลังเพื่อป้องกันสินค้าขาดมือ (Safety Stock) = 20 หน่วย x 3 วัน = 60 หน่วย ปริมาณสินค้าคงคลังเฉลี่ย = สินค้า Cycle Stock + สินค้า Safety Stock = = 190 หน่วย

11 รูปที่ 3-3 เส้นทางเดินคำสั่งซื้อของลูกค้า
จัดส่งสินค้า ไปให้ลูกค้า ปล่อยสินค้า บันทึกข้อมูล คำสั่งซื้อ ความพอเพียงของสินค้าคงคลัง เช็คเครดิต ตารางการผลิต ปฏิเสธ ใบกำกับ สินค้า แฟ้มข้อมูล สินค้าคงคลัง ฝ่ายผลิต เอกสาร การขนส่ง ประมวลผลคำสั่งซื้อ นำของออกจากคลังสินค้า ตารางเวลา การขนส่ง ส่งต่อคำสั่งซื้อ สารสนเทศทางตรง สารสนเทศทางอ้อม รูปที่ 3-3 เส้นทางเดินคำสั่งซื้อของลูกค้า

12 ตารางที่ 3-2 ลักษณะของระบบประมวลผลค่าสั่งซื้อประเภทต่าง ๆ
ระดับ ประเภทของระบบ ความเร็ว ต้นทุน การใช้งาน ความสม่ำเสมอ ความถูกต้อง 1. การประมวลผลด้วยมือ ต่ำ ไม่ดี 2. การใช้โทรศัพท์ต่อเข้ากับพนักงานบริการลูกค้า ปานกลาง ดี 3. การเชื่อมโยงด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยตรง เร็ว ลงทุนสูงและต้นทุนการดำเนินงานต่ำ ดีมาก สูง

13 ระบบ EDI Electronic Data Interchange
คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าใน รูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง มีสององค์ประกอบที่สำคัญ ในระบบ EDI คือ การใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาแทนเอกสาร ที่เป็นกระดาษเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบ มาตรฐานสากลด้วยสองปัจจัยนี้ ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยน เอกสารกันได้ทั่วโลก

14 ประโยชน์หลัก ๆ ของ EDI ต่อธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด  ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น  เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

15 เอกสารทางธุรกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถทดแทนด้วยเอกสาร EDI ได้ทั้งหมด
เอกสารทางด้านการจัดซื้อ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation) ใบแจ้งราคาสินค้า (Price/Sales Catalogue) เป็นต้น เอกสารทางด้านการเงิน ได้แก่ ใบสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน (Payment Order) ใบแจ้งการสั่งจ่าย (Remittance Advice) เป็นต้น เอกสารทางด้านการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่ง (Bill of Lading) ใบจองตู้สินค้า (Booking) แผนผังการบรรทุกสินค้าภายในเรือ (Bayplan) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) เป็นต้น เอกสารทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ใบขนสินค้า (Customs Declaration) บัญชีตู้สินค้า (Manifest) เป็นต้น

16 รูปที่ 3-4 องค์ประกอบของ EDI
ระบบเจ้าของคนเดียว (ONE-TO-MANY) ผู้จัดจำหน่าย ระบบโครงข่ายมูลค่าเพิ่ม (MANY-TO-MANY) ผู้ผลิต บุคคลที่ 3 VAN รูปที่ 3-4 องค์ประกอบของ EDI

17 ตารางที่ 3-3 ประโยชน์ของ EDI
ลดภาระงานด้านการสร้างและเก็บแฟ้มเอกสาร เพิ่มความถูกต้องแม่นยำเนื่องจากลดการประมวลผลด้วยมือ เพิ่มความรวดเร็วในการส่งคำสั่งซื้อและข้อมูลอื่น ลดภาระงานด้านเสมียนและงานด้านการลงบันทึกคำสั่งซื้อ การส่งจดหมาย และงานอื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง เพิ่มโอกาสในการพัฒนางานด้านการจัดซื้อเนื่องจากใช้เวลาในวงจรคำสั่งซื้อน้อยลง ลดต้นทุนการวางคำสั่งซื้อและต้นทุนการบริหารและประมวลผล ปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเนื่องจากความรวดเร็วในการรับรู้และการให้คำแนะนำในการส่งสินค้า ลดภาระงานและเพิ่มความถูกต้องแม่นยำของฝ่ายอื่น ๆ ด้วยการเชื่อมโยง EDI เข้าด้วยกัน เช่น การตรวจสอบสินค้าด้วยบาร์โค้ด และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer -EFT) ลดปริมาณสินค้าคงคลังเนื่องจากระยะเวลาวงจรการสั่งซื้อที่ลดลง

18 ตารางที่ 3-4 ระดับการตัดสินใจทางโลจิสติกส์ การประมวลผลคำสั่งซื้อ
ประเภทการตัดสินใจ การให้บริการลูกค้า การขนส่ง การคลัง สินค้า การประมวลผลคำสั่งซื้อ สินค้าคงคลัง กลยุทธ์ กำหนดระดับการให้บริการ เลือกรูปแบบการขนส่ง กำหนดจำนวนคลังสินค้าและทำเลที่ตั้ง - การขยายขอบเขตของการใช้เครื่องจักร - ระบบการผลิตทดแทนสินค้าที่ขาดไป แผนการรวบรวมสินค้า - การเลือกใช้คลังสินค้าส่วนบุคคลหรือคลังสินค้าสาธารณะ - การใช้ผู้ขนส่งสาธารณะ/ผู้ขนส่งส่วนบุคคล

19 ตารางที่ 3-4 ระดับการตัดสินใจทางโลจิสติกส์ (ต่อ) การประมวลผลคำสั่งซื้อ
ประเภทการตัดสินใจ การให้บริการลูกค้า การขนส่ง การคลัง สินค้า การประมวลผลคำสั่งซื้อ สินค้าคงคลัง ปฏิบัติการ การจัดระดับการให้บริการลูกค้า การคัดแยกใบตราส่ง การคัดแยกสินค้า การติดตามคำสั่งซื้อ การพยากรณ์ การตรวจสอบใบตราส่ง การบรรจุภัณฑ์ การตรวจสอบหลักฐานคำสั่งซื้อ การติดตามสินค้าคงคลัง การอ้างสิทธิเรียกร้อย การจัดพัสดุ การตรวจสอบเครดิตลูกค้า การวัดต้นทุนการถือสินค้าคงคลัง การจัดตารางเดินทาง การเคลื่อน ย้ายวัสดุ การปรับรายการในใบกำกับสินค้า - กำหนดปริมาณการถือสินค้าคงคลัง การเจรจาต่อรองอัตราค่าระวาง - การจัดสายงาน - การวัดผลการดำเนินงาน

20 ตารางที่ 3-4 ระดับการตัดสินใจทางโลจิสติกส์ (ต่อ) การประมวลผลคำสั่งซื้อ
ประเภทการตัดสินใจ การให้บริการลูกค้า การขนส่ง การคลัง สินค้า การประมวลผลคำสั่งซื้อ สินค้าคงคลัง การวางแผนการขนส่ง การวางผังและออกแบบคลัง สินค้า การจัดเส้นทางการขนส่ง การคัดเลือกอุปกรณ์ยกขนสินค้า การเลือกผู้ขนส่ง - การวัดผลการดำเนินงาน

21 ตารางที่ 3-5 แหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับฐานข้อมูลโลจิสติกส์
ระบบประมวลผลคำสั่งซื้อ ที่ตั้งของลูกค้า ประวัติการสั่งซื้อ พนักงานขาย รายรับ สถานะคำสั่งซื้อ ข้อมูลอุตสาหกรรม/ภายนอก - ส่วนแบ่งตลาด สินค้าที่เสนอขายในปัจจุบัน - แนวโน้มประชากร แนวโน้มเศรษฐกิจ การจัดการ การตอบสนองต่อการแข่งขัน - การพยากรณ์ยอดขาย แนวโน้มของสินค้าในอนาคต - ตลาดใหม่ ข้อมูลกิจการ ต้นทุนเงินทุน ต้นุทนกิจกรรมโลจิสติกส์ ต้นทุนมาตรฐาน ข้อมูลการปฏิบัติการ การชำระค่าระวาง ประวัติการขนส่ง สินค้าคงคลัง แฟ้มข้อมูลเครดิต การเคลื่อนไหวของสินค้า ฐานข้อมูลโลจิสติกส์ การรายงานผล ผลการดำเนินงานด้านคำสั่งซื้อ ผลการดำเนินงานด้านการส่งสินค้า สินค้าเสียหายและส่งกลับคืน การพยากรณ์สินค้า ผลการดำเนินงานและต้นทุนโลจิสติกส์ ตารางที่ 3-5 แหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับฐานข้อมูลโลจิสติกส์

22 รูปที่ 3-6 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ฐานข้อมูลผู้ใช้บริการ ข้อมูลผู้ใช้บริการนำเข้า ข้อมูลก่อนการประมวลผล แบบจำลองการดำเนินงาน แบบจำลองด้านการวางแผน/วิเคราะห์ ผลของสารสนเทศ การหาและเก็บข้อมูล การประมวลผลคำสั่งซื้อ การแสดงข้อมูล รูปที่ 3-6 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

23 วัตถุประสงค์หลักของ DSSs
ช่วยผู้บริหารโลจิสติกส์ในการตัดสินใจ สนับสนุนการตัดสินใจทางการจัดการ เพื่อพัฒนาประสิทธิผลของการตัดสินใจด้านโลจิสติกส์ การเพิ่ม/ลดสินค้าคงคลัง การกำหนดความสามารถในการทำกำไรของลูกค้า การกำหนดจำนวนคลังสินค้าและระบบประมวลผลคำสั่งซื้ออัตโนมัติ

24 ความเหมาะสมของระบบเชี่ยวชาญพิจารณาจาก :-
งานหรือคำตอบของปัญหาจำเป็นต้องใช้ความรู้ การตัดสินใจ และประสบการณ์ของมนุษย์ งานจำเป็นต้องใช้หลักการทั่วไปหรือการตัดสินใจที่มีข้อมูลไม่สมบูรณ์/ไม่แน่นอน งานจำเป็นต้องอาศัยการใช้เหตุผลมากกว่าการคำนวณทางคณิตศาสตร์ งานต้องไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไป ความสามารถของคนในทำงานดังกล่าวมีความแตกต่างเห็นได้ชัดเจน ตั้งแต่ผู้ริเริ่มก็สามารถฝึกฝนจนชำนาญได้ และการแก้ไขปัญหาได้ ค่อยๆ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆเป็นประสบการณ์จนชำนาญ

25 Barcode System เป็นระบบ Auto-ID ที่ใช้มากที่สุด ลักษณะเป็นแถบรหัสที่ประกอบด้วย แท่งทึบสีดำ (bar)และช่องห่างระหว่างแท่ง (gap)หลักการอ่านจะใช้เลเซอร์สแกนลงบนบาร์โค้ดแล้วตรวจจับการสะท้อนแสงกลับ ซึ่งการสะท้อนจะขึ้นอยู่กับการเรียงของแท่งสีดำ แล้วนำไปถอดรหัสอีกที Barcode ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีประมาณ 10 ชนิด แต่ชนิดที่นิยมใช้มากที่สุดคือมาตรฐาน European Article Number : EAN)

26 BAR Code Symbologies

27 Coding Throughout the Supply Chain
EAN/UCC-13 EAN/UCC-13 EAN/UCC-14 H SSCC-18 (00)

28 SSCC and EDI Despatch Advice
ORDER INFORMATION FLOW SSCC 1 = A, B, C, D SSCC 2 = E, F, G, H SSCC 3 = A, G, A, D SSCC 1 = A, B, C, D SSCC 2 = E, F, G, H SSCC 3 = A, G, A, D A, B, C, D E, F, G, H A, G, A, D A, B, C, D E, F, G, H A, G, A,D EDI PURCHASE ORDER EDI DESPATCH ADVICE SSCC 1 SSCC 2 SSCC 3 SUPPLIER CUSTOMER A B C D SSCC 1 E F G H SSCC 2 A G D SSCC 3 PHYSICAL GOODS FLOW

29

30

31

32

33

34

35

36 RSS : Reduced Space Symbology
เป็นระบบสัญลักษณ์ มาตรฐานที่เหมาะสม สำหรับใช้ติดผลิตภัณฑ์ ที่มีขนาดเล็กหรือพื้นที่ จำกัด เช่นผลิตภัณฑ์ยา หรือเวชภัณฑ์ต่างๆ

37 พัฒนาการทางด้านสัญลักษณ์บาร์โค้ด Barcode
Two-Dimensional Code เป็นระบบสัญลักษณ์ สำหรับใช้ติดผลิตภัณฑ์สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า สัญลักษณ์ อื่นๆ มีความละเอียดมาก ยากต่อการปลอมแปลง มีใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือพลาสติก เป็นต้น

38 อาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification) RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณแต่ในปัจจุบันทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์

39 ลักษณะการทำงานของระบบ RFID
หัวใจของเทคโนโลยี RFID ได้แก่ "Inlay" ที่บรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะที่ยืดหยุ่นได้สำหรับการติดตามหรือทำหน้าที่เป็นเสาอากาศนั่นเอง องค์ประกอบในระบบ RFID จะมีหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนแรก คือ ฉลากหรือป้ายขนาดเล็กที่จะถูกผนึกอยู่กับวัตถุที่เราสนใจ โดยฉลากนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นๆ เอาไว้ เรียกว่า  ทรานสพอนเดอร์  หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "แท็กส์“ (Tag) ส่วนที่สอง คือ อุปกรณ์สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลภายในแท็กส์ เรียกว่า ทรานสซิฟเวอร์ หรือที่เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า "เครื่องอ่าน" (Reder)               

40 RFID ขดลวด,สายอากาศ ตัวเคลือบ/แผ่นพลาสติก ชิป RFID

41 TAG เป็นวงจรทำจากโลหะเบา( COIL) ที่เป็นตัวให้เกิดพลังงานในการ
คลื่น RF ส่งสัญญาณจากระบบติดตั้ง TAG เป็นวงจรทำจากโลหะเบา( COIL) ที่เป็นตัวให้เกิดพลังงานในการ ส่งสัญญาณกลับ (power supply) TAG สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ( REWRITE ) โดยกำหนด ID ใหม่ มีคุณสมบัติคล้ายกับบาร์โค้ด แตกต่างกันที่ TAG เป็นระบบไร้สายและ มีความเร็วในการอ่านกว่าหลายเท่าตัว

42 RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ด ดังนี้
1. มีความละเอียด สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นแม้จะเป็นชนิดสินค้าเดียวกันก็ตาม 2. ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า 3. สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID 4. สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสม 5. ค่าเฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี  RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์ การอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์  6. สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า 7. สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด 8. ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์ 9. ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ 10. ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google