ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Country Economics Highlight
Highlights of The Week Country Economics Highlight สหรัฐอเมริกา Economics Highlight: (+) ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ขยายตัวตามคาดที่ 2% (YoY) ในเดือน ต.ค. ลดลงจากเดือนก่อนที่ 2.2% (YoY) ขณะที่ดัชนีฯ ไม่นับรวมราคาอาหารสดและพลังงาน (Core CPI) ขยายตัว 1.8% (YoY) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและมากกว่าคาดที่ 1.7% (YoY) (+) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 2.9% (YoY) และ 0.9% (MoM) ในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 2.1% (YoY) และ 0.4% (MoM) ตามลำดับ (+) ยอดสร้างบ้านใหม่ขยายตัว 13.7% (MoM) สูงสุดในรอบปีอยู่ที่ 1.29 ล้านหลังในเดือน ต.ค. โดยยอดขออนุมัติก่อสร้างบ้านขยายตัวที่ 5.9% (MoM) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน (NAHB) เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 70 จุด ใกล้เคียงระดับสูงสุดของปีนี้ (0) ยอดค้าปลีกขยายตัว 4.6% (YoY) ในเดือน ต.ค. ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 4.8% (YoY) และขยายตัว 0.2% (MoM) ลดลงจากเดือนก่อนที่ 1.9% (MoM) โดยยอดค้าปลีกไม่นับรวมสินค้าที่มีความผันผวนสูง (Retail sales control group) ขยายตัวตามคาดที่ 0.3% (MoM) ลดลงจากเดือนก่อนที่ 0.5% (MoM) (-) ดัชนีภาคการผลิตของ Fed สาขานิวยอร์ก (Empire manufacturing) ลดลงสู่ระดับ 19.4 จุดในเดือน พ.ย. จากเดือนก่อนที่ 30.2 จุด และต่ำกว่าคาดที่ 26 จุด ONE’S view: อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ของสหรัฐฯ มีการเร่งตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาที่อยู่อาศัยและค่ารักษาพยาบาลที่เริ่มกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค. โดยเป็นการสะท้อนถึงแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ปรับดีขึ้นตามเศรษฐกิจ และสอดคล้องกับยอดค้าปลีกที่ขยายตัว ขณะที่ตลาดบ้านยังคงเติบโตต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ บลจ.วรรณ มองว่าทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงมีความไม่แน่นอน โดยขึ้นอยู่กับการผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีเป็นหลัก โดยล่าสุดร่างภาษีฉบับ ส.ส. ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ ด้วยคะแนน เสียง ทั้งนี้การพิจารณาร่างฉบับ ส.ว. โดยวุฒิสมาชิกจะลงคะแนนเสียงภายในวันศุกร์นี้ (24 พ.ย.) ซึ่งร่างดังกล่าวมีความแตกต่างจากร่างฉบับ ส.ส. และมีความเสี่ยงที่จะไม่ผ่านค่อนข้างมาก เนื่องจาก 1) สมาชิกพรรครีพับลิกันมีโอกาสรวบรวมคะแนนเสียงไม่ถึง 50 เสียง 2) ข้อเสนอการยกเลิกการลดหย่อนภาษีท้องถิ่น และ 3) การยกเลิกภาษีและเงินอุดหนุนประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโอบามาแคร์ และประเด็นการเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งได้ลดภาษีมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก โดยถ้าหากร่างดังกล่าวไม่ผ่านอาจจะส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงถัดไป ยุโรป Economics highlight (+) ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซน (ZEW economic sentiment) เพิ่มขึ้น 4.2 จุดอยู่ที่ 30.9 จุดในเดือน พ.ย. และมากกว่าคาดที่ 29.3 จุด
2
Country Economics Highlight
Highlights of The Week Country Economics Highlight ยุโรป (0) ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคของยูโรโซน (CPI) ขยายตัวตามคาดที่ 1.4% (YoY) และ 0.1% (MoM) ในเดือน ต.ค. ลดลงจากเดือนก่อนที่ 1.5% (YoY) และ 0.4% (MoM) ตามลำดับ สอดคล้องกับดัชนีฯ ไม่นับรวมราคาอาหารสดและพลังงาน (Core CPI) ที่ชะลอลงจาก 1.1% (YoY) เป็น 0.9% (YoY) (+) ดัชนีผลผลิตมวลรวมในประเทศของเยอรมนีเบื้องต้นประจำไตรมาส 3/2560 ขยายตัว 0.8% (QoQ) และ 2.8% (YoY) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 0.6% (QoQ) และ 2.3% (YoY) ตามลำดับ ONE’s view เศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและกระจายตัวทั่วถึงในหลายประเทศ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ของเยอรมนีซึ่งขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทั้งทางเศรษฐกิจ นักลงทุน และผู้บริโภค ยังคงปรับตัวสูงขึ้นในเดือน พ.ย. เป็นเครื่องบ่งชี้แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เศรษฐกิจยูโรโซนยังได้ปัจจัยสนับสนุนจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ยังดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย อย่างไรก็ดี การจัดตั้งรัฐบาลผสมของเยอรมนีเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ภายหลังพรรค CDU/CSU ของนางอังเกลา แมร์เคิล ไม่สามารถเจรจาได้ทันกำหนดในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ บลจ.วรรณ มองว่าความเสี่ยงทางการเมืองดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกดดันให้สกุลเงินยูโรอ่อนค่าในระยะนี้หากผลการจัดตั้งรัฐบาลมีความยืดเยื้อ โดยพรรค CDU/CSU อาจต้องกลับไปเจรจากับพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเดิม หรือ จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยกับพรรค Green รวมถึงอาจจะมีการจัดเลือกตั้งใหม่ ญี่ปุ่น Economics Highlight: (+) ดัชนีผลผลิตมวลรวมในประเทศเบื้องต้นประจำไตรมาส 3/2560 ขยายตัว 1.4% (QoQ, SAAR) ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 2.6% (QoQ, SAAR) แต่มากกว่าคาดที่ 1.3% (QoQ, SAAR) (+) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 2.6% (YoY) ในเดือน ก.ย. มากกว่าคาดเล็กน้อย แต่ลดลดจากเดือนก่อนที่ 5.3% (YoY) และหดตัว 1.1% (MoM) จากเดือนก่อนที่ขยายตัว 2% (MoM) (+) มูลค่าส่งออกสินค้าขยายตัว 14% (YoY) เดือน ต.ค. ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 14.1% (YoY) ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าขยายตัว 18.9% (YoY) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 12% (YoY) ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 2.85 แสนล้านเยน ลดลงจากเดือนก่อนและน้อยกว่าคาดที่ 6.70 และ 3.30 แสนล้านเยน ตามลำดับ ONE’S view: ภาคส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นกลับมาเติบโตดีที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกในปี โดยมูลค่าการส่งออกเดือน ต.ค.ขยายตัวมากกว่า 10% เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ บลจ.วรรณ โดยประเมินว่าการส่งออกของญี่ปุ่นจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกและแนวโน้มเงินเยนที่จะอ่อนค่าลงจากนโยบายการเงินของประเทศคู่ค้าที่จะเริ่มเข้มงวดขึ้นสวนทางกับของญี่ปุ่น (Policy divergence)
3
Country Economics Highlight
Highlights of The Week Country Economics Highlight จีน Economics Highlight: (-) ยอดค้าปลีกขยายตัว 10% (YoY) ในเดือน ต.ค. ลดลงจากเดือนก่อนที่ 10.3% (YoY) และน้อยกว่าคาดที่ 10.4% (YoY) (-) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 6.2% (YoY) ในเดือน ต.ค. ลดลงจากเดือนก่อนที่ 6.6% (YoY) และน้อยกว่าคาดที่ 6.3% (YoY) (-) การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (FAI) ขยายตัว 7.3% (YoY, YTD) ในเดือน ต.ค. ลดลงจากเดือนก่อนที่ 7.5% (YoY, YTD) และน้อยกว่าคาดที่ 7.4% (YoY, YTD) (-) ยอดระดมทุนรวมสุทธิ (TSF) อยู่ที่ 1.04 ล้านล้านหยวน ในเดือน ต.ค. ลดลงจากเดือนก่อนและน้อยกว่าคาดที่ 1.82 และ 1.1 ล้านล้านหยวน สอดคล้องกับยอดปล่อยสินเชื่อสกุลเงินหยวนและยอดระดมทุนผ่านช่องทางธนาคารเงาที่ชะลอตัวลง ONE’S view: ตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนเดือน ต.ค. ชะลอตัวลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการควบคุมมลภาวะในอากาศ โดยเฉพาะช่วงก่อนหน้าการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปี (18-25 ต.ค.) ที่ส่งผลให้โรงงานหลายแห่งต้องลดกำลังการผลิตลง รวมถึงการใช้มาตรการคุมเข้มในตลาดเงินและตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องกดดันยอดระดมทุนรวมสุทธิให้ชะลอตัวลง โดยเฉพาะผ่านช่องทางธนาคารเงา ซึ่งได้แก่ Trust loan, Entrusted loan และ Discounted bank bills ขณะที่ปริมาณเงินในระบบ (M2 money supply) ขยายตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน ต.ค. ที่ 8.8% (YoY) ทั้งนี้ บลจ.วรรณ คาดว่าทางการจีนจะยังคงใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไปเพื่อแก้ปัญหาหนี้ในระบบที่สูง ซึ่งประเมินว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ชะลอตัวลงเป็น 6.6% (YoY) จาก 6.8% (YoY) ในไตรมาส 3 ไทย (+) ดัชนีผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2560 ขยายตัว 4.3% (YoY) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 3.7% (YoY) และมากกว่าคาดที่ 3.9% (YoY) เศรษฐกิจไทยเติบโตดีกว่าคาดในไตรมาส 3 จากอุปสงค์ต่างประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว 8.1% (YoY) จากไตรมาสก่อนที่ 5.2% (YoY) ขณะที่การส่งออกบริการยังคงขยายตัวดีที่ 4.9% (YoY) ส่วนอุปสงค์ภายในประเทศได้แรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของภาคเอกชนเป็นหลัก โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 3 ขยายตัว 3.1% (YoY) และ 2.9% (YoY) จากไตรมาสก่อนที่ 3.0% (YoY) และ 3.2% (YoY) ตามลำดับ สำหรับอุปสงค์ภาครัฐมีการปรับตัวดีขึ้น โดยการบริโภคและการลงทุนภาครัฐขยายตัวที่ 2.8% (YoY) และ -2.6% (YoY) จากไตรมาสก่อนที่ 2.6% (YoY) และ -7.0% (YoY) ตามลำดับ ส่งผลให้สภาพัฒน์ฯ ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2560 จาก % เป็น 3.9% พร้อมมองเศรษฐกิจปี 61 ขยายตัวที่ % ทั้งนี้ บลจ.วรรณ ยังคงประเมินเศรษฐกิจปี 60 เติบโตที่ 3.8%
4
ภาวะตลาดประจำสัปดาห์
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกปิดปรับตัวลดลงโดยได้รับแรงกดดันจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจจีนเช่น ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรมและ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ชะลอตัวลง และ ความกังวลต่อความไม่แน่นอนในการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯ รวมถึงการประกาศผลประกอบการผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 3/60 ของแต่ละประเทศ ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนยังคงต้องติดตาม 1) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขั้นสุดท้ายเดือน พ.ย ของสหรัฐฯ (22 พ.ย.) 2) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. (22 พ.ย.) 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย. ของยุโรป (22 พ.ย.) 4) ประมาณการ GDP ไตรมาส 3/60 ครั้งที่ 2 ของอังกฤษ (23 พ.ย.) ) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือน ต.ค. ของยุโรปและสหรัฐฯ (23 พ.ย. , 24 พ.ย.) มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ ตลาดหุ้นไทย บลจ.วรรณ คาดว่าตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้จะแกว่งตัวลักษณะ sideway up ในกรอบ 1,690-1,730 จุด โดยตลาดไทยคาดว่าจะยังได้แรงหนุนจาก 1) ราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงจากความคาดหวังต่อการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก ซึ่งจะส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังาน 2) การประกาศ GDP ไตรมาส 3 ออกมาดีกว่าคาดและมีการขยายตัว 4.3% โดยมีการเติบโตมาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยว และส่งออก 3)มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่คาดว่า กระทรวงการคลัง จะนำเสนอเข้า ครม พิจารณา ในสัปดาห์นี้ ในส่วนของข่าวมาตรการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯคาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันในตลาดหุ้นไทยเพียงระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากทาง บลจ.วรรณ คาดว่าแรงขายของนักลงทุนต่างชาติจะเริ่มมีการชะลอตัวลงในช่วงถัดไป ตลาดตราสารหนี้ ในสัปดาห์นี้ บลจ.วรรณ คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดพันธบัตรของสหรัฐฯ โดยยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการผ่านร่างกฎหมายการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯที่จะผ่านวุฒิสภาเป็นแรงหนุนให้นักลงทุนยังคงเข้าซื้อพันธบัตร อย่างไรก็ตามในช่วงต่อไปหากกฎหมายการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯมีแนวโน้มผ่านมากขึ้นอาจจะส่งผลให้ดอลลาร์ฯแข็งค่าและกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติอาจมีการขายทำกำไรในพันธบัตรไทยได้ ในส่วนของปัจจัยภายในประเทศในสัปดาห์นี้จะมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB366A และ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย BOT209A ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ไทยมากนักเนื่องจากสภาพคล่องในประเทศยังอยู่ในระดับสูงมาก ตลาดหุ้นต่างประเทศ บลจ.วรรณ มองว่า สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ (sideway) โดยคาดว่าตลาดยังคงจับตามองการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งวุฒิสมาชิกจะมีการโหวตภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะเป็นเพียงปัจจัยเข้ามากระทบในระยะสั้น ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆที่ยังดีขึ้นต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงไม่มากและมีโอกาสปรับตัวขึ้นในช่วงต่อไป ทั้งนี้ให้ติดตามรายละเอียดมาตรการปฎิรูปภาษีของสหรัฐฯ และ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญต่างๆในสัปดาห์นี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม 20 พ.ย. 60 US - ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจเดือน ต.ค. JP - ตัวเลขนำเข้าและส่งออกเดือน ต.ค. TH - GDP ไตรมาส 3 21 พ.ย. 60 ยอดขายบ้านเดือน ต.ค. 22 พ.ย. 60 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขั้นสุดท้ายเดือน พ.ย. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ต.ค. รายงานการประชุม FOMC (31 ต.ค. -1 พ.ย.) EU ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 23 พ.ย. 60 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต พ.ย UK แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางอังกฤษ ประมาณการ GDP ไตรมาส 3/60 ครั้งที่ 2 24 พ.ย. 60 ประมาณการดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต และบริการเดือน พ.ย.
5
- + มุมมองการลงทุนรายสัปดาห์ มุมมอง การลงทุน ปัจจัยต่างๆ
ตลาดตราสารหนี้ ไทย - อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน ไปตามปัจจัยต่างประเทศ ตราสารทุน สหรัฐอเมริกา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกัน อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งให้กับวุฒิสภาสหรัฐฯ เพื่อทำการพิจารณาเป็นลำดับต่อไป ประธานาธิบดี ทรัมป์ แต่งตั้งให้นาย เจอโรม พาวเวล ซึ่งมีมุมมองต่อนโยบายการเงินที่ค่อนข้าง Dovish ให้ดำรงตำแหน่งประธาน Fed คนใหม่แทนนาง Janet Yellen ที่จะหมดวาระลงในเดือน ก.พ. 61 ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มเติบโตขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ Valuation เริ่มตึงตัว ยุโรป + ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ECB มีการคงอัตราดอกเบี้ยฯ และยังคงมาตรการ QE ไปจนถึง ก.ย.61 แต่ปรับลดวงเงินสู่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน จาก 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน โดยจะเริ่มตั้งแต่ ม.ค. 61 ญี่ปุ่น ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินสวนทางกับนโยบายการเงินของ Fed, ECB และ BOE ซึ่งจะสนับสนุนให้ค่าเงินเยนในระยะถัดไปมีแนวโน้มอ่อนค่าลง นายชินโซ อาเบะ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยได้รับที่นั่งในสภามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้แนวทางการดำเนินนโยบายต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีความชัดเจนเพิ่มขึ้น จีน GDP ไตรมาส 3 ชะลอตัวลงเล็กน้อย ผลการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19 ยังคงเน้นการปฏิรูปทางเศรษฐกิจต่อ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจของจีนชะลอตัวอย่างมีเสถียรภาพ กำไรของบริษัทเอกชนมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นยังคงได้รับอานิสงส์จากการเชื่อมต่อตลาดหุ้นเซินเจิ้นกับตลาดหุ้นฮ่องกง เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนเริ่มส่งสัญญาณบวก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของภาครัฐ เช่น ช้อปช่วยชาติ และ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีในช่วงต้นปีหน้า การประกาศตัวเลขผลประกอบการไตรมาส 3/60 ที่ออกมาดีกว่าคาด การลงทุนทางเลือก ทองคำ แต่ในระยะยาวราคาทองคำได้รับแรงกดดันค่าเงินดอลลาร์ฯ ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ของ Fed น้ำมัน ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในจีน และขานรับการที่ประเทศซาอุดิอาระเบียและรัสเซียประกาศให้การสนับสนุนระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตไปจนถึงสิ้นปี 61 จับตาผลการประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน ทั้งในกลุ่ม OPEC และนอกกลุ่ม OPEC กองทุน อสังหาริมทรัพย์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ยังมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ อาจได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ของธนาคารกลางสหรัฐ
6
Asset allocation Strategic Asset Allocation Tactical Asset Allocation
บลจ.วรรณ คงน้ำหนักการลงทุนในระดับ Growth โดยประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกยังเป็นปัจจัยสนับสนุนเชิงพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แต่มองว่าในระยะสั้น ตราสารทุนทั่วโลกมีโอกาสปรับฐานด้วยความเสี่ยงด้านบวกและลบที่ค่อนข้างสมดุลกัน อาทิ การผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีฉบับวุฒิสภาของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาภายหลังวันขอบคุณพระเจ้า (23 พ.ย.) การจัดตั้งรัฐบาลผสมของเยอรมนี รวมถึงการพิจารณาข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปกและประเทศนอกกลุ่มโอเปก ซึ่งอาจเป็นบวกต่อราคาน้ำมันดิบในระยะข้างหน้าหากมีการประกาศต่ออายุมาตรการปรับลดการผลิตออกไปจากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 61 (ประชุม 30 พ.ย.) ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางเงินเฟ้อโลกซึ่งยังไม่ส่งสัญญาณการเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงสูงขึ้นได้ แนะนำกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังตราสารหนี้ระยะสั้นในต่างประเทศเพื่อ รับผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ในประเทศ Strategic Asset Allocation Tactical Asset Allocation Class Representative Product Strategic Tactical Global Market US Equity 1US-OPP 5% 10% Europe Equity MSCI Europe THB ASEAN Equity ONE-STOXXASEAN Japan Equity ONE-NIPPON Fixed Income ONE-GLOBHY Thai Market Thai Equity 1AMSET50 20% 25% Property Fund / REITs ONEPROP-D / ONE-APACPROP ONE-FAR / ONE-FIXED 30% Commodity Market Gold GOLD-RMF
7
Asset allocation SAA คือ พอร์ตการลงทุนแบบ Strategic Asset Allocation
TAA คือ พอร์ตการลงทุนแบบ Tactical Asset Allocation กราฟทางขวามือและตารางด้านล่าง แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) โดยแบ่งเป็น SAA และ TAA โดยเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของ SET Index, Government Bond Index และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อายุ 1 ปี
8
News of The Week นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 61 จะเติบโตได้ 4%-5% ซึ่งจะเป็นระดับเหมาะสมที่สุดต่อประเทศไทย โดยรัฐบาลต้องเร่งให้เกิดการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ขณะที่ ในช่วงปลายเดือน ต.ค. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ปรับเพิ่มคาดการณ์ จีดีพีของไทยปี 60 เติบโต 3.8% จากเดิมคาดขยายตัว 3.6% โดยมีปัจจัยหนุนจากการส่งออก การท่องเที่ยวและการลงทุนภาคเอกชน และในช่วงเดือน ก.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีในปี 60 เป็นเติบโต 3.8% จากเดิมคาดขยายตัว 3.5% และคาดว่าปี 61 เศรษฐกิจจะเติบโต 3.8% สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 227 ต่อ 205 ให้ผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกัน ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลสสู่ระดับ 20% จากปัจจุบันที่ระดับ 35% และการลดจำนวนขั้นบันไดของการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 7 ขั้น เหลือเพียง 4 ขั้น คือ 12%, 25%, 35% และ 39.6% โดย ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งให้กับวุฒิสภาสหรัฐฯ เพื่อทำการพิจารณาเป็นลำดับต่อไป ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นเกินคาด 0.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ก.ย. และอัตราการใช้กำลังผลิตอยู่ที่ระดับ 77.0% ในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นจาก 76.4% ในเดือน ก.ย. นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สาขาซานฟรานซิสโก เผยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 2 ปีข้างหน้า สู่ระดับ 2.5% พร้อมระบุการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ และอีก 3 ครั้งในปีหน้านั้นถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือน ต.ค. เทียบรายเดือนสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือน ก.ย. นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงในงาน Frankfurt Banking Congress ที่เมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนีว่า ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนจะอยู่ในสภาพที่สดใส แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ยังคงขึ้นอยู่กับมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ด้านเงินเฟ้อยังคงซบเซา ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือน ต.ค. (PPI) ของญี่ปุ่นขยายตัว 3.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี มากกว่าที่คาดการณ์ที่ 3.1% ขณะที่ขยายตัว 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และมากกว่าที่คาดการณ์ที่ 0.1% เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 3/60 ขยายตัว 1.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 1.3% และเทียบกับอัตราการเติบโตที่ 2.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีโดยได้รับแรงหนุนจากยอดส่งออกที่แข็งแกร่ง โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ทำการเพิ่มปริมาณเงิน 3.30 แสนล้านหยวน (5.0 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ) ผ่านทางข้อตกลงซื้อคืนธนบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) เพื่อผ่อนคลายภาวะสภาพคล่องที่ตึงตัว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนเดือน ต.ค. ยังคงทรงตัว โดยราคาบ้านใหม่ในเมืองเทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และเฉิงตู ปรับตัวตัวขึ้น 0.1%, 0.3% และ 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนตามลำดับ บ่งชี้ว่าราคาบ้านในเมืองขนาดใหญ่ปรับตัวลดลงหรือปรับตัวขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่จีนยังคงนโยบายเข้มงวดเพื่อควบคุมตลาดอสังหาฯที่ขยายตัวร้อนแรงในช่วงก่อนหน้า
9
Market Snapshot รายงานภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา ( พ.ย. 60) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในช่วงสัปดาห์นี้ เฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 1,255, ล้านบาท ปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.21% ปริมาณการซื้อขายในสัปดาห์นี้แบ่งเป็นสัดส่วนการทำธุรกรรม Outright 7.77% ส่วนธุรกรรม Financing และธุรกรรมอื่นๆคิดเป็นสัดส่วน 92.23% ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด แยกตามประเภทของตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ รุ่น LB22DA, LB196A และ LB226A โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 42, ล้านบาท 13, ล้านบาท และ 13, ล้านบาท ตามลำดับ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจและพันธบัตรองค์กรภาครัฐ ได้แก่ รุ่น CB18517A, CB18215B และ CB17D07B โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 24, ล้านบาท 23, ล้านบาท และ 21, ล้านบาท ตามลำดับ หุ้นกู้ภาคเอกชน ได้แก่ TOLC184A, TLT198B และ KSL203A โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ ล้านบาท ล้านบาท และ ล้านบาท ตามลำดับ ปริมาณการซื้อขายพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างประเทศสัปดาห์ที่ผ่านมา ( พ.ย. 60) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
10
การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
การประมูลตราสารหนี้ในสัปดาห์นี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนออกใหม่
11
Market Snapshot ผลตอบแทนตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา ( พ.ย. 60)
12
Key upcoming events
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.