ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Office of Industrial Economics
Ministry of Industry การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และการเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบประมาณ พ.ศ ของ สอจ. บรรยายโดย นางธนพรรณ ไวทยะเสวี รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา น. ณ โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สวัสดีค่ะ ท่านผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน วันนี้ดิฉัน ธนพรรณ ไวทยะเสวี รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการ เพิ่มขีดความอุตสาหกรรม จะมาบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และอุตสาหกรรม 4.0” ซึ่งเป็นประเด็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญและอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง ทิศทางการดำเนินนโยบายและการขับเคลื่อนมาตรการการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญของรัฐบาลในปัจจุบัน ภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นและก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ในอนาคตอันใกล้ กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
2
1 2 3 4 หัวข้อการบรรยาย (Presentation Outline)
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 2 การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) 3 พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 หัวข้อการบรรยาย ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ สถานภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย แนวคิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Industry 4.0) ทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน และ ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรม 4.0 4 ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
3
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
ประเด็นท้าทายสำคัญของประเทศไทยในระยะ 20 ปีข้างหน้า : ภายในและภายนอกประเทศ ประเด็นท้าทายสำคัญของประเทศไทยในระยะ 20 ปีข้างหน้า : ภายในและภายนอกประเทศ ในการวางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความ สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จำเป็นต้องพิจารณาถึงประเด็นท้าทาย ต่อการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ ในระยะ 20 ปีข้างหน้า ปัจจัยที่จะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทย มีดังนี้ ปัจจัยภายในประเทศ (Internal Factors) : โครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ วัยเด็ก และวัยทำงานลดลง ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ส่งผลต่อการสร้างความสามัคคีในสังคม และเป็นข้อจำกัดต่อการยกระดับศักยภาพทุนมนุษย์ ความอ่อนแอของการบริหารราชการแผ่นดิน จำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการและการเมือง เพื่อให้เกิดการบริหารราชการที่ดี ปัจจัยภายนอกประเทศ (External Factors) : กระแสโลกาภิวัตน์ และการเคลื่อนย้ายเสรีของคน เงินทุน ข่าวสาร เทคโนโลยี สินค้าและบริการ ศูนย์รวมอำนาจทางเศรษฐกิจย้ายมาเอเชีย และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การแย่งชิงแรงงานและเงินทุน จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลก การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส่งผลต่อภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตของประชาชน ภาวะโลกร้อนและสภาวะภูมิอากาศที่ผันผวน ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นแรงกดดันให้มีการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม น้ำมันมีปริมาณลดลง ราคาแพงขึ้น และการผลิตพืชพลังงานทดแทนส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารโลก ความเป็นเมือง ที่เติบโตต่อเนื่องภายใต้ข้อจำกัด/กฎเกณฑ์การใช้พื้นที่และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลักการบริหารจัดการที่ดี ระบบประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนมีความเข้มข้นมากขึ้น ที่มา : สศช., ตุลาคม 2559. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
4
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) : ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน หากย้อนไปในอดีต ประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่ยากจน และ พัฒนาสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี แต่ประเทศก็ยังไม่สามารถที่จะก้าวขึ้นไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง เพราะติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แม้ว่าประเทศไทย จะมีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจากประเทศไทย 1.0 เน้นการเกษตรเป็นหลัก หรือเป็นสังคมเกษตรกรรม ประเทศ ไทย 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา แรงงาน ราคาถูก โดยใช้ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีประชากรเริ่มมีการศึกษามากขึ้น ประเทศ ไทย 3.0 เน้นอุตสาหกรรม หนักและการส่งออก เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้ต้นทุนและ เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องก้าวไปอีกขั้น คือ ไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้สูง สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และยกระดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว นโยบายประเทศไทยในยุค 4.0 คือ การนำเทคโนโลยีและ นวัตกรรมมาพัฒนาให้ตรงจุด เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่ เป้าหมาย โดยการเชื่อมโยงเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่อยู่ใกล้ ตัวซึ่งถูกเก็บไว้ในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ นำออกมา พัฒนาร่วมกับภาคเอกชน ภาคการเงินและธนาคาร ใช้พลังของ ประชารัฐ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน ประเทศไทย 4.0 ถือเป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อน การเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่ (New Engines of Growth)” ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)” ของประเทศที่มี 2 ด้าน คือ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ให้เป็น “ความ ได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage)” ที่มา : Digital Park for SMEs, สวทช., พฤษภาคม 2559. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
5
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) มุ่งสู่การพัฒนาตามแนวทาง THAILAND 4.0 นโยบาย รัฐบาล 6.16 ด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตฯ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ ... ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาหารไทยบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา ส่งเสริมการวิจัยเกษตรแปรรูป ... ส่งเสริมอุตฯ ที่ใช้เทคโนโลยีสูง ส่งเสริมอุตฯ ที่ใช้การออกแบบและสร้างสรรค์ และส่งเสริมอุตฯ เครื่องจักรกลเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อปรับกระบวนการผลิตสู่ระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ 6.18 ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล... รวมถึงการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัล... ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ ) นโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ ) หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับวางนโยบายที่มีความสอดคล้องและ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งสู่การพัฒนาตามแนวทางประเทศ ไทย 4.0 อย่างบูรณาการ ตั้งแต่นโยบายระดับมหภาคจนถึงระดับ รายประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ นโยบายรัฐบาล : ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม อยู่ในข้อที่ “6.16 ด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ ... ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาหารไทยบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา ส่งเสริมการวิจัยเกษตรแปรรูป ... ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้การออกแบบและสร้างสรรค์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อปรับกระบวนการผลิตสู่ระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ” ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัล อยู่ในข้อที่ “6.18 ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล... รวมถึงการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัล... ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ ) : ระบุการพัฒนา อุตสาหกรรมไว้ในข้อ 2. ด้านการสร้างความสามารถในการ แข่งขัน ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ได้แก่ การพัฒนา สมรรถนะทางเศรษฐกิจ การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ การ พัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษและเมือง การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก ที่มา : (1) คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี, 12 กันยายน 2557 และ (2) สศช., สิงหาคม 2559. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
6
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ ) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ ) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้ อย่างยั่งยืน ภายใต้แผนฯ 12 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่มี ความสำคัญสูง ซึ่งครอบคลุมประเด็น “การต่อยอดความเข้มแข็ง ของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในปัจจุบันเพื่อยกระดับไปสู่ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง” และ “การวางอนาคตรากฐานการ พัฒนาอุตสาหกรรม” โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในการ เพิ่มผลิตภาพการผลิตของปัจจัยการผลิตโดยรวมร้อยละ 2.5 ต่อปี และภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของ ประเทศในภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง ที่มา : สศช., สิงหาคม 2559. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
7
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ ) (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ ) กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมความพร้อมและกำหนดทิศทางให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก เพื่อนำพาประเทศให้ก้าวข้ามกับดักและยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศสู่การเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทำให้จำเป็นต้องปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงจัดทำ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ )” เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในระยะ 20 ปีข้างหน้า ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก” คือ การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากและปฏิรูปอุตสาหกรรมให้สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก และเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ (Smart Growth) และยั่งยืน ทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยตามแนวทางประเทศไทย 4.0 มีดังนี้ การปฏิรูปอุตสาหกรรม ประกอบด้วย (1) การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอนาคต ด้วยการเพิ่มศักยภาพด้าน R&D นำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมอนาคต (2) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถสู่ SMEs 4.0 เชื่อมโยง SMEs กับวิสาหกิจขนาดใหญ่ การสร้าง Smart Enterprises และยกระดับ OTOP สู่ Smart Micro-Enterprises และ (3) การยกระดับผลิตภาพ มาตรฐาน และนวัตกรรม ด้วยการเพิ่มผลิตภาพสถานประกอบการ การพัฒนานวัตกรรมในกระบวนการผลิต ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการผลิตสีเขียว และส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมเพื่อต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรม เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน/เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ/นิคมอุตสาหกรรม พัฒนาทุนมนุษย์ ระบบความร่วมมือแบบประชารัฐ (บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน ภาคการเงิน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย) และปรับกลไกภาครัฐ กฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการค้าและการลงทุน การสร้างความเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยกับเศรษฐกิจโลก ด้วยการเชื่อมโยงการผลิต/การตลาดโดยใช้ดิจิทัล การส่งเสริมและพัฒนาคลัสเตอร์ใหม่ที่เชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต การค้าและการลงทุนในภูมิภาค ที่มา : สศอ.อก., ตุลาคม 2559. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
8
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่ 1. การยกระดับผลิตภาพ มาตรฐานและนวัตกรรม โดยใช้กลไกสำคัญ ประกอบด้วยการยกระดับมาตรฐาน (Standard) การเพิ่มผลิตภาพในการผลิต (Productivity) และการขับเคลื่อนนวัตกรรม (Innovation) นอกจากนี้ ยังต้องเพิ่มการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Growth Enterprise) และการสร้างการเติบโตของวิสาหกิจด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านวัฒนธรรม (Cultural & Creative Enterprise) เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน 2. การเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากและสังคมผู้ประกอบการ โดยส่งเสริมผู้ประกอบการทุกระดับในการใช้นวัตกรรมในการประกอบธุรกิจ และพัฒนาไปสู่วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) ครอบคลุมผู้ประกอบการทั้งในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือ OTOP กลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ (Startup) กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises: SEs) และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ (Medium Enterprises and Large Enterprise: MEs & LEs) เพื่อเป็นนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ (New Warrior) ที่สามารถพัฒนา เติบโต และพร้อมเข้าสู่ระดับสากล 3. การส่งเสริมการรวมกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรม เพื่อรองรับและสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่ายใน 3 ด้าน คือ (1) การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงอุตสาหกรรมในแนวดิ่ง (Vertical Integration Collaboration) เป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม (2) การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงอุตสาหกรรมในแนวราบ (Horizontal Integration Collaboration) เป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ประกอบการของแต่ละคลัสเตอร์อุตสาหกรรม และ (3) การสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Helix Collaboration) ซึ่งเครือข่ายคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องประกอบด้วยตัวแทนของทุกภาคส่วน ทั้งตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ที่มา : อก., ตุลาคม 2559. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
9
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ ) ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่ 1. การปฏิรูปองค์กรภาครัฐให้ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการ เช่น การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอนการดำเนินงาน การกำหนดมาตรการต่างๆ ของภาครัฐให้เอื้ออำนวยต่อการประกอบการ การปรับบทบาทองค์กรภาครัฐจากหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) เป็นหน่วยงานอำนวยความสะดวก (Facilitator) การส่งเสริมให้เกิดประชาคมอุตสาหกรรมโดยบูรณาการทำงานร่วมกับภาคเอกชน/นักลงทุนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐจากหน่วยงานตามบทบาทหน้าที่ (Functional Based) เป็นหน่วยงานเพื่อดำเนินภารกิจตามนโยบาย (Agenda Based) ซึ่งจะสามารถให้ความสำคัญ (Focus) กับภารกิจเร่งด่วนที่ได้รับมอบหมาย โดยบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้บรรลุภารกิจและสามารถยุบหรือย้ายหน่วยงานได้เมื่อภารกิจเสร็จสิ้น 2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม ทั้งโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (Physical Infrastructure) เช่น เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ศูนย์ทดสอบ ศูนย์วิจัยพัฒนา ศูนย์ออกแบบอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคเพื่อการอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานเชิงระบบ เช่น ระบบบริหารจัดการขยะ/กากอุตสาหกรรม ระบบการมาตรฐาน ระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม ระบบบริหารจัดการงานวิจัยสู่ภาคการผลิต และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) เช่น อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ศูนย์ข้อมูล ระบบ e-Government 3. การพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ของบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยการยกระดับทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี รวมทั้งเพิ่มจำนวนแรงงานฝีมือที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีร่วมกับสถานศึกษา และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาฝีมือแรงงาน การสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกร การพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลให้แก่บุคลากรในองค์กร รวมทั้งการเชื่อมโยงนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มา : อก., ตุลาคม 2559. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
10
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ ) ยุทธศาสตร์ที่ 3 เชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยกับเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่ 1. การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตของโลก โดยการเชื่อมโยงผู้ผลิตของไทยกับผู้ผลิตชั้นนำของโลก และสร้างบทบาทในการเป็นผู้บริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตระดับโลกในสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญและไทยมีศักยภาพ รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาอุตสาหกรรม/ธุรกิจในประเทศเป้าหมาย การสร้างภาพลักษณ์อุตสาหกรรมไทยให้เป็นที่รู้จัก และเชื่อมโยงระบบการมาตรฐานไทยเข้าสู่ระบบการมาตรฐานโลก เพื่อให้ภาคการผลิตของไทยสามารถชี้นำหรือตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตของตลาดโลกและสามารถเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตโลก 2. การเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดสู่สากลด้วยดิจิทัล โดยเพิ่มการติดต่อสื่อสารด้วยระบบออนไลน์และเพิ่มการทำการตลาดดิจิทัลสู่สากล การจัดการระบบโลจิสติกส์ด้วยดิจิทัล การพัฒนาระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3. การส่งเสริมการลงทุนขยายฐานการผลิตในและนอกประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของโลก โดยการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค มีมาตรการจูงใจและสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนหรือตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้นักลงทุนและผู้ประกอบการของไทยขยายการลงทุนหรือขยายฐานการผลิตไปยังตลาดต่างประเทศ ที่มา : อก., ตุลาคม 2559. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
11
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ ) ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี ตั้งเป้าหมายในระยะ 20 ปีข้างหน้า ให้ภาคอุตสาหกรรมไทยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.5 ต่อปี การลงทุนเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี มูลค่าการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ผลิตภาพรวม (Total Factor Productivity: TFP) ภาคอุตสาหกรรมเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ต่อปี และมีนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ (New Warrior 4.0) จำนวน 150,000 ราย โดยมุ่งเน้นการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ จำแนกเป็น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเกษตรแปรรูป อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมชีวภาพ กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น อุตสาหกรรมยาและสมุนไพร อุปกรณ์การแพทย์ และบริการทางการแพทย์ กลุ่มเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม อุปกรณ์อัจฉริยะ และหุ่นยนต์ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม หุ่นยนต์ อากาศยานและชิ้นส่วน กลุ่มดิจิทัล เช่น เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ ปัญญาประดิษฐ์ ธุรกิจพัฒนาและให้บริการซอฟแวร์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Data Center Cloud Computing กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง เช่น ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ อุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์และแอนิเมชั่น นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน เพื่อรองรับการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ปิโตรเคมีและพลาสติก เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลังงาน เหล็กและโลหการ บรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรกล แม่พิมพ์ เหมืองแร่ ที่มา : สศอ.อก., ตุลาคม 2559. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
12
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (East Economic Corridor : EEC) สร้างพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมโดยใช้เขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่มีศักยภาพ และควรกำหนดเป็นพื้นที่หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2559 Onward เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของ AEC วิสัยทัศน์ เป้าหมายรายจังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา-แหลมฉบัง พัทยา-สัตหีบ-อู่ตะเภา มาบตาพุด-ระยอง เมืองน่าอยู่ รองรับการขยายของกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก ศูนย์กลางการศึกษาและพัฒนาทักษะนานาชาติ เมืองอุตสาหกรรมผลิตสมัยใหม่ เพื่อเชื่อมสู่การผลิตภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) เมืองการ ท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ครอบครัว สุขภาพ และสันทนาการ ระดับโลก ศูนย์ธุรกิจ การบินและ โลจิสติกส์แห่งอาเซียน เมืองน่าอยู่ที่สุดในอาเซียน อุตสาหกรรมพลังงาน เคมี ชีวภาพ วิจัยอาหารและ Bioeconomy 10 อุตสาหกรรมNew Engines of Growth 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและเชิงสุขภาพ การเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิตอล การแพทย์ครบวงจร โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) สำหรับในมิติของการพัฒนาเชิงพื้นที่ รัฐบาลได้เล็งเห็น ความสำคัญในการผลักดันแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ เกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่ โดยได้ริเริ่มให้มีโครงการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา เป็นพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ (Strategic Location) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมให้เป็นฐานการ ผลิต 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จากการเป็นฐานการผลิตเดิม ของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ มีโครงสร้างพื้นฐานอยู่ใน ระดับดีทั้งทางถนน รถไฟ ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือของอาเซียน ทั้งนี้ หากเป็นไปตามแผนการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่วางไว้จะสร้าง การพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ในพื้นที่ระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยผลักดันให้ เศรษฐกิจโตร้อยละ 5 ต่อปี เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 100,000 อัตรา/ปี ลดต้นทุนด้าน โลจิสติกส์ 4 แสนล้านบาท/ปี มี นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 ล้านคน/ปี และได้ฐานภาษีใหม่ 1 แสน ล้านบาท/ปี ส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว/บูรณาการโครงสร้างพื้นฐาน/ระบบคมนาคมขนส่ง/ ให้สิทธิประโยชน์/อำนวยความสะดวกนักลงทุน/พัฒนาเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชน/ ผังเมือง/สิ่งแวดล้อม/การใช้ประโยชน์ที่ดิน/พัฒนาแหล่งน้ำ/ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปัจจัยขับเคลื่อน ความสำเร็จ : KSF เพิ่มพื้นที่รองรับอุตสาหกรรม กฎหมาย กฎระเบียบ Incentive packages สาธารณูปโภค บุคลากร เทคโนโลยี Logistics ที่มา : กนอ., เมษายน 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
13
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
(ต่อ) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (East Economic Corridor : EEC) เป้าหมาย (Target) การลงทุนของภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ($43 Billion USD) ภายในระยะเวลา 5 ปีแรก EEC ท่าอากาศยานอู่ตะเภา 200,000 ล้านบาท (5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 10,150 ล้านบาท (0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 88,000 ล้านบาท (2.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 158,000 ล้านบาท (4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 64,300 ล้านบาท (1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 35,300 ล้านบาท (1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 500,000 ล้านบาท (14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 400,000 ล้านบาท (11.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก รัฐบาลได้กำหนดให้ เป้าหมายการลงทุนของภาครัฐและเอกชนในภาพรวม ในวงเงินไม่น้อย กว่า 1.5 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะ 5 ปีแรก ทั้งนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรม ได้ตั้งเป้าหมาย การลงทุนไว้ในวงเงินไม่น้อยกว่า 500,000 ล้านบาท หรือ 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคิดเป็นการลงทุนส่วนใหญ่ของการลงทุน ทั้งหมด เป้าหมายการลงทุนดังกล่าว แบ่งออกเป็น 9 ประเด็นหลัก ดังนี้ การพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา มีมูลค่าการลงทุน 200,000 ล้านบาท (5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีมูลค่าการลงทุน 10,150 ล้านบาท (0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีมูลค่าการลงทุน 88,000 ล้านบาท (2.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โครงการรถไฟความเร็วสูง มีมูลค่าการก่อสร้าง 158,000 ล้านบาท (4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โครงการรถไฟทางคู่ มีมูลค่าการก่อสร้าง 64,300 ล้านบาท (1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) มีมูลค่าการก่อสร้าง 35,300 ล้านบาท (1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย มูลค่าการลงทุน 500,000 ล้านบาท (14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การพัฒนาการท่องเที่ยว มูลค่าการลงทุน 200,000 ล้านบาท (5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การพัฒนาเมืองใหม่ มูลค่าการลงทุน 400,000 ล้านบาท (11.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อนึ่ง การลงทุนในโครงการฯ รัฐบาลจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการ สนับสนุนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยจะมี มาตรการที่โปร่งใส อำนวยความสะดวก ดำเนินการได้จริงในทุก ขั้นตอน และจะจัดให้มีสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจนักลงทุนที่ไม่เป็นรอง ใคร ที่มา : กนอ., เมษายน 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
14
โครงการพัฒนาพื้นที่ EEC 4 กลุ่ม 15 โครงการ และ 5 โครงการหลัก
การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (East Economic Corridor : EEC) โครงการพัฒนาพื้นที่ EEC 4 กลุ่ม 15 โครงการ และ 5 โครงการหลัก โครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 4 กลุ่ม 15 โครงการ (5 โครงการหลัก) ในการพัฒนา EEC รัฐบาลจะผลักดันโครงการเป้าหมายตาม แผนการลงทุนในระยะ 5 ปี (พ.ศ ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่ง ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด รถไฟความเร็วสูง และมอเตอร์เวย์สายใหม่ และทำให้เกิด Digital Infrastructure การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ ยานยนต์อัจฉริยะ การบิน หุ่นยนต์ Smart และ Electronics ปิโตรเคมีขั้นสูงและ Bio-economy อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร รวมถึงการเป็น Innovation Hub การพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ใช้จุดเด่นของพื้นที่ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมที่จะเกิดขึ้น การพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจระดับโลก (Global Business Hub) จะมีเขตเศรษฐกิจการค้าเสรีและการพัฒนาเมือง สาธารณูปโภคพื้นฐานในทุกมิติ ทั้งระบบไฟฟ้า ประปา และระบบโครงข่าย Internet ความเร็วสูง ทั้งนี้ แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พ.ศ มีโครงการสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการในปี จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวมประมาณ 6, ล้านบาท ที่มา : ความก้าวหน้า EEC เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2560, 29 พฤษภาคม 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
15
5 โครงการหลักในการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่จะเริ่มดำเนินการปี 2560
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย (ต่อ) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (East Economic Corridor : EEC) 5 โครงการหลักในการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่จะเริ่มดำเนินการปี 2560 ความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการสำคัญตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) โครงการเมืองการบินภาคตะวันออก (สนามบินนานาชาติอู่ ตะเภา-ระยอง-ชลบุรี) ได้เริ่มดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของ โครงการเมืองการบินภาคตะวันออกแล้ว และจะเร่งรัดการ ดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป (2) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเพื่อเชื่อมโยง 3 สนามบิน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยเตรียมจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อเชื่อมโยง 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) (3) การเร่งรัดการอนุมัติโครงการระเบียบร่วมทุนเอกชน (PPP) คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการหารือเพื่อจัดทำระเบียบการอนุมัติโครงการ PPP ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ทั้งนี้ ขณะนี้มีนักลงทุนที่สนใจลงทุนใน EEC หลายรายที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท SAAB กับการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงและผลิตอะไหล่เครื่องบิน นอกเหนือจากบริษัทแอร์บัสที่อยู่ระหว่างการทำข้อตกลงร่วมทุนกับการบินไทย ทั้งด้านอู่ซ่อมและการส่งสินค้า บริษัท LAZADA กับการลงทุนจัดตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้าไปสู่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนและประเทศอื่นๆ บริษัทฟูจิฟิล์มที่สนใจในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Medical Hub บริษัทที่สนใจลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ทั้ง Toyota, Honda Shanghai Motor, BMW, Suzuki, Mercedes Benz ที่มา : ความก้าวหน้า EEC เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2560, 29 พฤษภาคม 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
16
1 2 3 4 หัวข้อการบรรยาย (Presentation Outline)
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 2 การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) 3 พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 หัวข้อการบรรยาย ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ สถานภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย แนวคิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Industry 4.0) ทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน และ ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรม 4.0 4 ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
17
การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)
(ต่อ) 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engines of Growth) การเกษตรและเทคโนโลยี ชีวภาพ ดิจิตอล อุตสาหกรรม การแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หุ่นยนต์เพื่อ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจร การขนส่งและการบิน เติม 5 อุตสาหกรรมใหม่ พัฒนาจาก ต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม NEW S-curve : develop future industries to achieve the leap growth of Thai economy. FIRST S-curve : enhance potential industries to increase efficiency and to continue the growth. 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engines of Growth) คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เห็นชอบข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engines of Growth) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดและก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางโดยเร็ว โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) เป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิต ที่จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะกลาง ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) และ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) เป็นรูปแบบของการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี โดยอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมอนาคตเหล่านี้จะเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) และ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ที่มา : อก., 16 พฤศจิกายน 2558. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
18
การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)
(ต่อ) เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับจากการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับจากการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve จะส่งเสริมให้เกิด การพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถการผลิตและการแข่งขันของ ภาคอุตสาหกรรม โดยการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วใน ประเทศและสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ผ่านมาตรการสนับสนุน เพื่อชักจูงการลงทุนบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกให้มาลงทุนในประเทศ ไทยเพื่อช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิต (Manufacturing and Asset-based Industry) ไปสู่โครงสร้าง เศรษฐกิจการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้ความรู้การผลิตขั้นสูงเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ (Knowledge- based Industry) เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงงาน เข้มข้น รับจ้างผลิต เป็นการผลิตบนพื้นฐานการวิจัยและพัฒนา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงการผลิตไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับ โลก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ การกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ จะเป็นแนวทางหนึ่งในการปรับเปลี่ยน โครงสร้างการผลิตและระบบเศรษฐกิจไทย ไปสู่การผลิตด้วยภูมิ ปัญญา เทคโนโลยีขั้นสูง และนวัตกรรม รวมถึงยังมุ่งหวังเพื่อ สร้างผลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างก้าว กระโดด มีการลงทุนร้อยละ 10 ต่อปี และมี GDP ขยายตัว ร้อยละ 6 ต่อปี และทำให้ประเทศไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดัก ประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ไปสู่ประเทศที่ พัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ. 2575 ที่มา : อก., 16 พฤศจิกายน 2558. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
19
แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่อง
(ต่อ) 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve Industries) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) ยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) การแปรรูปอาหาร (Food for the Future) แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่อง ในเบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย นำร่อง ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ การแปรรูปอาหาร หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม* *อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่ม (S-Curve) แต่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นอุตสาหกรรมสำคัญและ มัศักยภาพที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศ (Potential Industry) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Textile and Garment) กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
20
5 แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่องในระยะ 1 ปี New
(ต่อ) New S-Curve Center of Excellence (CoE) (Industrial Prototype/ Technology Transfer/ Certified Technology/ HRD) (เครือข่าย 6 หน่วยงาน : TGI, EEI, FIBO, จุฬา, มหิดล, มจพ.) ผลักดัน System Integrators (SI) (อก.) มาตรการหักค่าใช้จ่ายเพิ่ม 3 เท่า (5 ปี) (กค.) กระตุ้น ผปก.ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไม่น้อยกว่า 12,000 ลบ. (อก.) เชื่อมโยง/จัดสรรวัตถุดิบที่ใช้ในอุตฯ เคมีชีวภาพ (กษ./อก./พณ./พน.) ส่งเสริมการลงทุนในอุตฯ เคมีชีวภาพ (Bio Refinery) (BOI) ศึกษาความเป็นไปได้ Bio Complex SEZ ใน พท.อีสานตอนกลาง Polymers & Plastics Development Center (PPDC) ส่งเสริมพลาสติกชีวภาพ Green Tax Expense (กค.) ฐานข้อมูล ผปก. เชื่อมโยงตลอด Supply Chain (อก.) Robotics Biofuels & Biochemicals 5 อุตสาหกรรม เป้าหมายนำร่อง ในระยะ 1 ปี First S-Curve ส่งเสริมการลงุทนผลิต xEv ในประเทศ (BOI) Charging Station 100 สถานี (พน.) ศูนย์ทดสอบยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์ (R117) ณ สนามชัยเขต (สมอ.เร่งรัดก่อสร้าง) พัฒนาบุคลากรอุตฯ ยานยนต์ 140 คน (สยย.) รัฐมีสัดส่วนใช้ xEV เพิ่มขึ้น 20% สร้าง World Food Valley (WFV) ทุกภูมิภาค (อก./วท.) (Co-creation Center เชื่อมโยง Food Innopolis/ Food Academy Pilot Plant/ One Stop Services Testing Labs) พัฒนา New Warriors 4.0 อุตฯ อาหาร 2,000 ราย (สอห.) มาตรฐานการผลิต (อก.)/เชื่อมโยงการค้า SMEs (ดส.) เพิ่มลงทุนในอาหารสุขภาพ+อาหารอนาคต (BOI) Next-Generation Automotive Food for the Future ย่านการค้าไทย เป็นศูนย์กลางในอาเซียนและ งานแสดงสินค้าแฟชั่นระดับนานาชาติ ในไทย (Fashion Trade City) (สสท.อก.) SMEs+Start-up เข้าถึงช่องทางจำหน่าย ในห้างสรรพสินค้า (กค./สรรพากร) SMEs มีช่องทางการค้า E-commerce เพิ่มขึ้น (สสท.อก./พณ.) ความต้องการใช้สิ่งทอเทคนิคในประเทศเพิ่มขึ้น (สมอ.อก.) สร้างนักออกแบบมืออาชีพ 30 คน Innoneering Designers 35 คน และ นศ.ด้านออกแบบ 1,000 คน (กสอ.)/ Pilot Plant ต้นน้ำ 120 ลบ. (กสอ./สสท.) แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่องในระยะ 1 ปี ในระยะแรก กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่องทั้ง 5 กลุ่ม ดังนี้ (1) ยานยนต์สมัยใหม่ : ส่งเสริมการลงุทนผลิต xEv ในประเทศ (BOI), Charging Station 100 สถานี (พน.), ศูนย์ทดสอบยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์ (R117) ณ สนามชัยเขต (สมอ.เร่งรัดก่อสร้าง), พัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรม ยานยนต์ 140 คน (สยย.), รัฐมีสัดส่วนใช้ xEV เพิ่มขึ้น 20% (2) การแปรรูปอาหาร : สร้าง World Food Valley (WFV) ทุกภูมิภาค (อก./วท.) (Co-creation Center เชื่อมโยง Food Innopolis/ Food Academy Pilot Plant/ One Stop Services Testing Labs), พัฒนา New Warriors 4.0 อุตฯ อาหาร 2,000 ราย (สอห.), มาตรฐานการผลิต (อก.)/ เชื่อมโยงการค้า SMEs (ดส.), เพิ่มลงทุนในอาหารสุขภาพ+อาหารอนาคต (BOI) (3) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม : Center of Excellence (CoE) (Industrial Prototype/ Technology Transfer/ Certified Technology/ HRD) (เครือข่าย 6 หน่วยงาน : TGI, EEI, FIBO, จุฬา, มหิดล, มจพ.), ผลักดัน System Integrators (SI) (อก.), มาตรการหักค่าใช้จ่ายเพิ่ม 3 เท่า (5 ปี) (กค.), กระตุ้น ผปก.ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไม่น้อยกว่า 12,000 ลบ. (อก.) (4) เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ : เชื่อมโยง/จัดสรรวัตถุดิบที่ใช้ในอุตฯ เคมีชีวภาพ (กษ./อก./พณ./พน.), ส่งเสริมการลงทุนในอุตฯ เคมีชีวภาพ (Bio Refinery) (BOI), ศึกษาความเป็นไปได้ Bio Complex SEZ ในพื้นที่ อีสานตอนกลาง, Polymers & Plastics Development Center (PPDC), ส่งเสริมพลาสติกชีวภาพ Green Tax Expense (กค.), ฐานข้อมูล ผปก. เชื่อมโยงตลอด Supply Chain (อก.) (5) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม : ย่านการค้าไทยเป็นศูนย์กลางในอาเซียนและงาน แสดงสินค้าแฟชั่นระดับนานาชาติในไทย (Fashion Trade City) (สสท.อก.), SMEs+Start-up เข้าถึงช่องทางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า (กค./ สรรพากร), SMEs มีช่องทางการค้า E-commerce เพิ่มขึ้น (สสท.อก./ พณ.), ความต้องการใช้สิ่งทอเทคนิคในประเทศเพิ่มขึ้น (สมอ.อก.), สร้างนัก ออกแบบมืออาชีพ 30 คน Innoneering Designers 35 คน และ นศ.ด้าน ออกแบบ 1,000 คน (กสอ.)/ Pilot Plant ต้นน้ำ 120 ลบ. (กสอ./สสท.) Potential Industry Textiles & Garments กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
21
2569 2564 2560 แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่อง
ยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) - ฐานการผลิต รถยนต์ที่ “สะอาด ประหยัด ปลอดภัย” และ xEV” - มีศูนย์ทดสอบที่มี ประสิทธิภาพเพื่อ ยกระดับมาตรฐานไทย สู่มาตรฐานสากล จะเห็น อะไร จะทำอะไร ใคร ทำ ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ กำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนผลิต xEV ในประเทศในลักษณะบูรณาการ สกท./ อก./ กค. กำหนดมาตรการทางภาษีที่สอดรับกับมาตรการส่งเสริมการลงทุน กค./ อก. ผลักดันให้นักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนผลิต xEV และชิ้นส่วนสำคัญ สกท. แก้ไขอากรนำเข้ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (BEV) ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน พณ. / กค./กต./ อก. กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ xEV ที่สอดคล้องกับทิศทางอุตฯ ยานยนต์โลก พน./อก. Charging Station ในประเทศไทย ติดตั้ง Charging Station ภายใต้โครงการสนับสนุนการลงทุนสถานี Charging Station 100 สถานี พน. จัดทำแผนการติดตั้ง Charging Station โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่เป้าหมาย ศูนย์ทดสอบ ยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์ เริ่มก่อสร้างสนามเพื่อทำการทดสอบมาตรฐานยางล้อ (R117) อก. บุคลากร/ แรงงานในอุตฯ ยานยนต์ที่มีผลิตภาพและศักยภาพ โครงการเพิ่ม Productivity ด้วยระบบรับรองความสามารถบุคลากร สยย. ให้หน่วยงานราชการมีสัดส่วนการใช้ xEV เพิ่ม ขึ้น 20% ของรถใหม่ที่ซื้อทดแทน ปรับปรุงบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ ให้สามารถจัดซื้อ xEV สำนัก งบ ประมาณ การยกเว้นภาษีประจำปีรถยนต์เป็นการชั่วคราว ออกกฎระเบียบเพื่อให้การยกเว้นภาษีประจำปีรถยนต์ BEV) เป็นการชั่วคราว คค. 2569 (2026) จะเห็นอะไร จะทำอะไร ใครทำ โครงสร้างภาษีสรรพสามิตของรถยนต์รอบถัดไป เสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตของรถยนต์รอบถัดไป กค./ อก. ให้ Taxi มีสัดส่วนการใช้ xEV เพิ่มขึ้น 50% ของ Taxi ทั้งหมด จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการใช้ xEV กำหนดหลักเกณฑ์ให้Taxi ใช้ xEV คค. ให้รถลีมูซีน สนามบิน มีสัดส่วนการใช้ xEV เพิ่มขึ้น 100% ของรถลีมูซีนฯ ทั้งหมด กำหนดหลักเกณฑ์ให้รถลีมูซีน สนามบิน ใช้ xEV 2564 (2021) จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใครทำ มีศูนย์ทดสอบ xEV ที่เป็นมาตรฐาน สากล เตรียมความพร้อมรองรับการทดสอบตามมาตรฐาน xEV และสร้างบุคลากร อก. (สยย./ ส.ไฟฟ้าฯ) บุคลากร/แรงงานในอุตฯ ยานยนต์ที่มีผลิตภาพและศักยภาพ โครงการเพิ่ม Productivity ด้วยระบบรับรองความสามารถบุคลากร อก . (สยย.) หมายเหตุ : xEV ประกอบด้วย Hybrid Electric Vehicle : HEV Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV Battery Electric Vehicle: BEV Fuel cell Electric Vehicle : FCEV 2560 (2017) กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
22
การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)
(ต่อ) มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย กรณีมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ในส่วนของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีนวัตกรรมในระดับสูง (High- tech Industries) เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งเป็น อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของไทย ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตและ ส่งออกสำคัญของโลก เป็นที่ตั้งของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำ ของโลก รวมทั้งมีโครงสร้างภาษีสรรพสามิตที่เก็บตามค่า CO2 ที่มุ่งสู่ Sustainable Mobility (สะอาด ประหยัด ปลอดภัย) กอปรกับแนวโน้มการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของโลกที่สูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และ ชิ้นส่วนไทย จะมุ่งยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ไปสู่ยาน ยนต์ไฟฟ้า (EV) ส่งเสริมและพัฒนาการออกแบบยานยนต์ ภายในประเทศ และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้วยการจัดตั้ง ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ที่มา : ข้อมูลประกอบการบรรยายเรื่อง ประชารัฐกับการขับเคลื่อนประเทศเป็น Thailand 4.0, 29 มีนาคม 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
23
การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)
(ต่อ) มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย มาตรการสนับสนุนการพัฒนายานยนต์แห่งอนาคต (รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV) เพื่อสร้างฐานการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้ เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดโลก หน่วยงาน ภาครัฐจะต้องมีการดำเนินงานอย่างบูรณาการและครอบคลุม 6 มาตรการสำคัญ ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) มาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (Demand) การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน การจัดทำมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า การบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว มาตรการสนับสนุนอื่นๆ ที่มา : ข้อมูลประกอบการบรรยายเรื่อง ประชารัฐกับการขับเคลื่อนประเทศเป็น Thailand 4.0, 29 มีนาคม 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
24
2569 2564 2560 แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่อง
การแปรรูปอาหาร (Food for the Future) ติด TOP 10 ในการส่งออกตลาดโลก ด้วยมูลค่า 3 ล้านล้านบาท และเป็นศูนย์กลางการผลิต อาหารสุขภาพ/ อาหารอนาคต ของอาเซียน จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใคร ทำ สร้าง World Food Valley : WFV ให้เกิดขึ้นทุกภูมิภาค พัฒนานักรบอุตฯ อาหาร 4.0 (New Food Warrior 4.0) 2,000 ราย ยกระดับมาตรฐานการผลิต SMEs เชื่อมโยงการค้าให้ SMEs สร้างปัจจัยเอื้อที่ครบวงจรเพื่อให้เกิด WFV เช่น Co-creation Center (เชื่อมโยง Food Innopolis) Food Academy Pilot Plant (ITC) และ One Stop Services Testing Labs ภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการให้บริการคำปรึกษา เพื่อต่อยอดนวัตกรรม เช่น มาตรฐาน ดิจิตอล Automation (ลักษณะ Matching Fund สัดส่วน G:ผปก. 40:60) ให้บริการคำปรึกษา/องค์ความรู้ SMEs เรื่อง - เพิ่มผลิตภาพ และการสร้างความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐานสากล 100 โรงงาน/ปี - นำระบบดิจิทัลมาใช้ดำเนินธุรกิจ พัฒนาระบบตลาดดิจิทัล โดยร่วมมือกับ บ.ไปรษณีย์ไทย เพื่อส่งสินค้า - ให้ความรู้/คำปรึกษาด้านการค้าออนไลน์ให้ SMEs - พัฒนาเวปไซต์เพื่อบริการการค้าออนไลน์ให้ SMEs อก./วท./ผปก. อก. (กสอ./สอห.) ดส./อก.(กสอ.)/ส.การศึกษา - ดส. /อก. (สอห.)/พณ. - ดส. /อก. (สอห.) /พณ. - สอห./พณ. 2569 (2026) จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใคร ทำ ติด Top 10 ในการส่งออกอาหารไทยสู่ตลาด โลก ที่มีมูลค่าการส่งออก 3 ล้านล้านบาท ยกระดับอุตฯ เป็น Industry 4.0 ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยอุตฯ อาหารไทยให้ได้ระดับสากล ยกระดับขีดความสามารถของ Warrior ทั้ง ผปก.เดิม Start up และ SMEs พัฒนาระบบการผลิตและการค้าแบบดิจิทัล พัฒนา World Food Valley ภาคประชารัฐ อก./ดท. อย./วท./ อก. อก./ผปก./ส.การเงิน ดท./พณ/อก. อก./ผปก. จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใคร ทำ สร้าง World Food Valley : WFV ให้เกิดขึ้นทุกภูมิภาค พัฒนานักรบอุตฯ อาหาร 4.0 (New Food Warrior 4.0) 1,750 ราย/ปี เพิ่มการลงทุนในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ/อาหารอนาคต สร้างปัจจัยเอื้อที่ครบวงจรเพื่อให้เกิด WFV เช่น Co-creation Center (เชื่อมโยง Food Innopolis) Food Academy Pilot Plant (ITC) และ One Stop Services Testing Labs ภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการให้บริการคำปรึกษา เพื่อต่อยอดนวัตกรรม เช่น มาตรฐาน ดิจิตอล automation (ลักษณะ Matching fund สัดส่วน G:ผปก. 40:60) วิจัยด้าน Clinical Research ของอาหารเพื่อสุขภาพ/อาหารอนาคต พัฒนาห้องปฏิบัติการ/ระบบการตรวจสอบมาตรฐาน MSTQ ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยอุตฯ อาหารไทยให้ได้ระดับสากล วิจัยข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดและความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาระบบการผลิตและการค้าแบบดิจิตอล ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมมากขึ้น (เช่น ระดับสิทธิประโยชน์พื้นที่) และอำนวยความสะดวกให้ ผปก. ในยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน อก./วท./ผปก. อย./วท. วท./อก./สธ. อก.(กสอ./สอห.) อก.(สอห.) ดส./อก.(กสอ.)/ ส.การศึกษา สกท. 2564 (2021) 2560 (2017) กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
25
2569 2564 2560 แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่อง
หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) ไทยเป็นผู้นำ ในการผลิตและใช้ หุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติใน อาเซียน โดยไทยเป็นเจ้าของ เทคโนโลยี/แบรนด์เป็น ของตนเอง (Industrial Robot& Automation/ Service Robot) จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใคร ทำ เกิดการผลิตและประกอบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย จัดตั้ง Center of Excellence (CoE) มีหน้าที่ 4 ด้านหลัก ได้แก่ Industrial Prototype, Technology Transfer, Certified Technology, HRD ผลักดันให้มี System Integrators (SI) ให้เพียงพอต่อการขยายตัวของอุตฯ โดยการปรับโครงสร้างอากรขาเข้าชิ้นส่วน/อุปกรณ์ กระตุ้นให้ ผปก. ปรับเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในการผลิต โดยหักค่าใช้จ่ายอีก 3 เท่า อก.(TGI) , EEI, FIBO, จุฬาฯ, มหิดล, มจพ. อก. (TGI/EEI) อก./กค. 2569 (2026) จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใครทำ ไทยเป็นผู้นำในการผลิต/ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียนและมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ส่งเสริมให้มีการผลิตชิ้นส่วน/อุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น Sensor, Controller, Network, Application Software เป็นต้น ส่งเสริมให้มีการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อก. (กสอ.)/วท. 2564 (2021) จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใคร ทำ 1. การลงทุนหุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติ > 100,000 ลบ. 2. อุตฯ ไทยใช้หุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติ > ร้อยละ 50 ของโรงงานทั้งหมด 3. การผลิตหุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติในไทย > ร้อยละ 30 ของมูลค่าการนำเข้า ยกระดับศูนย์ Industry Transformation Center (ITC) เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ยกระดับ CoE ให้มีศักยภาพในการดำเนินงานด้าน - พัฒนาต้นแบบเชิงพาณิชย์ ร่วมกับ ผปก. 25 ต้นแบบ/ปี - พัฒนาห้องวิจัยและห้องปฏิบัติการด้าน R&A ปรับหลักเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้างให้กำหนดสัดส่วนการซื้อหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตในประเทศ ยกระดับกระบวนการผลิตมาตรฐาน/ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์ฯ อก. (กสอ./ส.พลาสติก), สวทช. FIBO, จุฬา, มจพ., มหิดล, TGI สำนักนายกฯ อก. (TGI/EEI) 2560 (2017) กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
26
แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่อง
เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) วิสัยทัศน์ : ศูนย์กลางการ เกษตร-อุตสาหกรรม (Bioeconomy Hub) แห่งหนึ่งของโลก ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย : Specialty Polymers/Products Bio-Plastics High Valued Products จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใครทำ แนวทาง/แผนบริหารจัดการวัตถุดิบสำหรับอุตฯ เคมีชีวภาพ ผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตฯ การจัดตั้งศูนย์กลางการพัฒนาอุตฯ พลาสติก (Polymers and Plastics Development Center : PPDC) แนวทางในการสร้างตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ จัดทำแผนเชื่อมโยงการผลิต ที่รองรับการจัดสรรวัตถุดิบและการผลิตวัตถุดิบเพื่อใช้เป็นอาหาร เชื้อเพลิง และเคมีชีวภาพ แก้ไขกฎระเบียบการนำผลิตภัณฑ์การเกษตรมาใช้ในอุตฯ ส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Bio Refinery) จาก A3 เป็น A1 โดยให้การส่งเสริมเป็นระยะเวลา 5 ปี ( ) ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ Bio Complex ในพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง ขยายภารกิจของ ส.พลาสติกให้ครอบคลุมการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตฯ พลาสติก เพื่อรองรับการพัฒนาอุตฯ เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพของนิติบุคคล (Green Tax Expense) ที่สามารถหักลดค่าใช้จ่ายได้ % ในการคำนวณภาษีนิติบุคคล ระยะเวลา 5 ปี ทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการเพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รณรงค์ให้ความรู้และสร้างกระแสให้ผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ กษ./อก./พณ./พน. อก./พน. สกท. กนอ./อก. สพต. กค./อก. อก. อก./อย./สคบ. 2569 (2026) 2564 (2021) จะเห็นอะไร จะทำ อะไร ใครทำ การผลิตผลิตภัณฑ์ High Valued Products ดึงดูดการลงทุน และการผลิตที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศ ส่งเสริมตลาดผลิตภัณฑ์ High Valued Products ในประเทศและตลาดอาเซียน สกท. อก./พณ. จะเห็นอะไร จะทำอะไร ใครทำ การผลิตผลิตภัณฑ์ Specialty Polymers/ Products Bio-Products Bio-Plastics พัฒนา ผปก./สปก./บุคลากร/เทคโนโลยี ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาหน่วยทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ผ่านศูนย์ PPDC ส่งเสริมและพัฒนา Matching Center เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ร่วมสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ กสอ./สพต. อก./วท. กสอ. 2560 (2017) กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
27
2569 2564 2560 แนวทางการขับเคลื่อน 5 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายนำร่อง
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Textile and Garment) กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 5 Fashion Capital of Asia (ปี 2579) จะเห็นอะไร จะทำอะไร ใคร ทำ ย่านการค้าไทยเป็นศูนย์กลางในอาเซียนและงานแสดงสินค้าแฟชั่นระดับนานาชาติในไทย (Fashion Trade City) SMEs+Startup เข้าถึงช่องทางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า SMEs มีช่องทาง การค้า e-Commerce เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้สิ่งทอเทคนิคภายในประเทศเพิ่มขึ้น จำนวนนักออกแบบ/พัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับมืออาชีพเข้าสู่ภาคอุตฯ เพิ่มขึ้น สร้าง Website รวมย่านการค้า พร้อมทำ Directory แต่ละย่านฯ เพื่อแสดงการเป็น Sourcing Hub ครบวงจร จัดงาน Expo แสดงความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสิ่งทอและแฟชั่น 2 ครั้ง/ปี จัดงานแสดงสินค้าแฟชั่นระดับนานาชาติในไทย ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/ปี เร่งออก กม.การฝากขาย (Consignment) สร้าง Digital Market Place เป็นศูนย์กลางการค้า Online ของ SMEs สมอ. เร่งจัดทำ มอก. สิ่งทอกันลามไฟใน พรม ผ้าม่าน ฟูก ที่นอน ผ้าห่ม ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เร่งปรับปรุง พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ออก มยผ. วัสดุที่ใช้ในอาคารสูง TIDC สร้างนักออกแบบมืออาชีพ 300 คน นัก Innoneering 35 คน และนักออกแบบเชิงสร้างสรรค์ จาก ส.การศึกษา 1,000 คน อก. (สสท.) พณ./กต. กค. / ก.สรรพากร อก. (สสท.)/ พณ. อก. (สมอ) /มท. อก. (กสอ.) 2569 (2026) 2564 (2021) จะเห็น อะไร จะทำอะไร ใครทำ กรุงเทพฯ เป็น Design City ของภูมิภาค เกิดแบรนด์ไทยในตลาดอาเซียนไม่น้อยกว่า แบรนด์ Hub of Fashion School ส่งเสริมกรุงเทพฯ เป็น Fashion Hub ในภูมิภาค โดยใช้งานแสดงสินค้าในประเทศ (BKK Fashion Week) + TIDC เป็นกลไกขับเคลื่อน ปชส.ย่านการค้าและ Digital Market Place อย่างต่อเนื่อง จัดงาน BKK Fashion Week ระดับภูมิภาค ส.การศึกษา (รัฐ) + เอกชน ร่วมทุนกับสถาบันแฟชั่น ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากแบรนด์แฟชั่นทั่วโลก จัดตั้งสถาบันแฟชั่นนานาชาติในไทยอย่างน้อย 3 แห่ง อก. (กสอ. สสท.) / พณ./กต./ วธ. อก. (กสอ. สสท.) /พณ./กต./วธ. ศธ./กต./BOI /สอท./อก. (สสท.) จะเห็นอะไร จะทำอะไร ใครทำ ผลิตภัณฑ์ Functional /Technical Textile & Fabric คุณสมบัติพิเศษ ศูนย์ทดสอบ/ห้อง Lab ครบวงจรตามมาตรฐาน สากล ผลิตภาพการผลิต (Productivity) โรงงาน สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มระดับ SMEs เพิ่มสูงขึ้น จำนวน Fashion Specialist และนักวิทยาศาสตร์ สิ่งทอเฉพาะด้าน* ที่เพียงพอ มีโรงงานผลิต Functional /Technical Textile & Fabric ในกลุ่ม Meditech, Mobiltech, Hometech, Protech จัดตั้ง Pilot Plant ฉีดเส้นใย และปั่นด้าย (งบฯ 120 ลบ.) จัดหาเครื่องมือทดสอบ เช่น สิ่งทอเทคนิคกันไฟ/ทางการแพทย์ อบรมบุคลากรห้อง Lab 15 คน/ปี ดำเนินโครงการเพิ่มผลิตภาพอุตฯ สิ่งทอ (ระยะที่ 2) ให้กับ 20 ผลิตภัณฑ์ ใน 10 โรงงาน และโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด (ระยะที่ 2) 60 โรงงาน (งบฯ 15 ลบ.) สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ปรับเปลี่ยน/ปรับปรุงเครื่องจักร หรือใช้ Automation จัดทำหลักสูตรระดับอุดมศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์เฉพาะด้าน/การออกแบบ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบุคลากรด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับเครือข่าย ส.การศึกษาทั่วโลก ปีละ 50 คน เพิ่มสิทธิประโยชน์การลงทุน ระดับ A1 จัด Business Matching ด้านวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิตกับ ผปก./สถาบันวิจัยในต่างประเทศ กสอ. (สสท.) อก. (สสท.) สศอ. (สสท.) กค. กสอ. / ศธ. (สกอ. สอศ.) BOI อก. / วท. 2560 (2017) * ด้าน Microfiber textile development (Synthetic), Manmade Polymer & Fiber, Dye Chemical และ Non-woven textile กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
28
1 2 3 4 หัวข้อการบรรยาย (Presentation Outline)
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 2 การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) 3 พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 หัวข้อการบรรยาย ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ สถานภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย แนวคิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Industry 4.0) ทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน และ ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรม 4.0 4 ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
29
พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ตามความในราชกิจจานุเบกษา หน้า 1 เล่ม 134 ตอนที่ 19 ก วันที่ 13 กุมภาพันธ์ อุตสาหกรรมเป้าหมาย “อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ สร้างประโยชน์อย่างสูงต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องเป็นอุตสาหกรรมประเภทใหม่ที่ไม่เคยมีการผลิตหรือการให้บริการในประเทศมาก่อน หรือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่หรือใช้ความรู้ในการผลิตขั้นสูง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรม ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด S-CURVE กลไก/ คณะกรรมการ คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (คณะกรรมการนโยบาย) นรม. ปธ. สกท. ลข. คณะอนุกรรมการสรรหาและเจรจา รนม. ปธ. เครื่องมือ กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย มาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (BOI) เพื่อดึงดูดให้การลงทุนที่มีประสิทธิภาพมาสู่ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้มีการ ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ และพระราชบัญญัติ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับ อุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ (รายละเอียดตามตาราง) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ให้ ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ สนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีหลักที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ซึ่งหากเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ประเทศสูง จะได้รับการส่งเสริมจากกองทุน 10,000 ล้านบาท ภายใต้ พรบ.เพิ่มขีดความสามารถฯ ที่สนับสนุนการลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนา การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนา บุคลากรเฉพาะทางที่มีทักษะสูง หมายเหตุ : CIT คือ Corporate Income Tax (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ITA คือ Investment Tax Allowance (การลดหย่อนภาษีลงทุน) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ วัตถุประสงค์ของกองทุน : เป็นเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน การวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมนวัตกรรม หรือการพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้านของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
30
พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560
(ต่อ) มาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (BOI) เพื่อดึงดูดให้การลงทุนที่มีประสิทธิภาพมาสู่ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้มีการ ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ และพระราชบัญญัติ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับ อุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ (รายละเอียดตามตาราง) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ให้ ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ สนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีหลักที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ซึ่งหากเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ประเทศสูง จะได้รับการส่งเสริมจากกองทุน 10,000 ล้านบาท ภายใต้ พรบ.เพิ่มขีดความสามารถฯ ที่สนับสนุนการลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนา การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนา บุคลากรเฉพาะทางที่มีทักษะสูง หมายเหตุ : CIT คือ Corporate Income Tax (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ITA คือ Investment Tax Allowance (การลดหย่อนภาษีลงทุน) ที่มา : สกท, 15 กุมภาพันธ์ 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
31
พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560
(ต่อ) มาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (BOI) เพื่อดึงดูดให้การลงทุนที่มีประสิทธิภาพมาสู่ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้มีการ ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ และพระราชบัญญัติ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับ อุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ (รายละเอียดตามตาราง) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ให้ ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ สนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีหลักที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ซึ่งหากเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ประเทศสูง จะได้รับการส่งเสริมจากกองทุน 10,000 ล้านบาท ภายใต้ พรบ.เพิ่มขีดความสามารถฯ ที่สนับสนุนการลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนา การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนา บุคลากรเฉพาะทางที่มีทักษะสูง หมายเหตุ : CIT คือ Corporate Income Tax (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ITA คือ Investment Tax Allowance (การลดหย่อนภาษีลงทุน) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
32
พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560
(ต่อ) มาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (BOI) เพื่อดึงดูดให้การลงทุนที่มีประสิทธิภาพมาสู่ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้มีการ ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ และพระราชบัญญัติ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับ อุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ (รายละเอียดตามตาราง) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ให้ ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ สนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีหลักที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ซึ่งหากเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ประเทศสูง จะได้รับการส่งเสริมจากกองทุน 10,000 ล้านบาท ภายใต้ พรบ.เพิ่มขีดความสามารถฯ ที่สนับสนุนการลงทุนด้าน การวิจัยและพัฒนา การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนา บุคลากรเฉพาะทางที่มีทักษะสูง หมายเหตุ : CIT คือ Corporate Income Tax (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) ITA คือ Investment Tax Allowance (การลดหย่อนภาษีลงทุน) ที่มา : สกท, 15 กุมภาพันธ์ 2560. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
33
1 2 3 4 หัวข้อการบรรยาย (Presentation Outline)
สถานภาพและทิศทางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 2 การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) 3 พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 หัวข้อการบรรยาย ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ สถานภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย แนวคิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Industry 4.0) ทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน และ ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรม 4.0 4 ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
34
ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
(ต่อ) การขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐกับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ การขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมของประเทศ ในการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและยกระดับ อุตสาหกรรม 4.0 ไม่อาจประสบความสำเร็จได้ โดยมีการดำเนินงาน ของภาครัฐหรือกระทรวงอุตสาหกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว ปัจจัย ความสำเร็จที่สำคัญ คือ ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของทุกฝ่าย ในรูปแบบของประชารัฐ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาค การศึกษา ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาสังคม ที่จะร่วมกัน ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) โดยมี คณะกรรมการบริหารการกำหนดยุทธศาสตร์หลักเพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ และคณะทำงานร่วมรัฐ-เอกชน-ประชาชน จำนวน 12 คณะ โดยทำงานร่วมกันตามแนวทางประชารัฐใน การขับเคลื่อนประเด็นนโยบายที่สำคัญของประเทศต่างๆ ที่มา : ข้อมูลประกอบการบรรยายเรื่อง ประชารัฐกับการขับเคลื่อนประเทศเป็น Thailand 4.0, 29 มีนาคม 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
35
ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
(ต่อ) การขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐกับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ การขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมของประเทศ ในส่วนของคณะทำงานร่วมรัฐ-เอกชน-ประชาชน 12 คณะ ตาม แนวทางประชารัฐดังกล่าว ได้มีการกำหนดองค์ประกอบทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย และองค์กรในระดับพื้นที่ สำหรับคณะทำงานที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve ได้แก่ คณะที่ 8 คณะทำงานด้านพัฒนาคลัส เตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve) ซึ่งมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และมีหัวหน้า ทีมจากภาคเอกชน คือ คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ จาก บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล ทั้งนี้ เพื่อกำหนดทิศทางและผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม S-curve อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการขับเคลื่อนกองทุนเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย วงเงิน จำนวน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์จากบีโอไอที่ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้มีการหารือร่วมกับ ประธานสภาอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ เอกชน โดยกำหนดให้มีคณะทำงานที่ดูแลการพัฒนา อุตสาหกรรม S-curve ขึ้นมา โดยคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญใน การผลักดันนโยบายให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นโดยเร็วต่อไป ที่มา : ข้อมูลประกอบการบรรยายเรื่อง ประชารัฐกับการขับเคลื่อนประเทศเป็น Thailand 4.0, 29 มีนาคม 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
36
From Middle Income Trap to DEVELOPED COUNTRY
ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ต่อ) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (KSFs) สำหรับผู้ประกอบการไทยสู่ Thailand 4.0 : Key Players THAILAND 4.0 THAI SMART SMEs 4.0 Smart Factory/ Management Smart Data/ IT Smart Labour Smart STI Machinery Smart Commerce/ Marketing Smart Fund INDUSTRY 4.0 Creativity/ Intellect Productivity (IT/ Labour/ Machinery/ Logistics) SMART Factory Science Technology Innovation R&D Service- Based Industry Cluster /Network ทิศทางขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคต Distributed Manufacturing Rapidly Responsive Manufacturing Complex Manufacturing Customized Manufacturing Human-centered Manufacturing Sustainable Manufacturing Innovative-receptive manufacturing ที่มา : Emerging Trends in Global Manufacturing Industries, UNIDO, 2556. Competiveness Global Market Sustainability From Middle Income Trap to DEVELOPED COUNTRY ปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการไทยสู่ Thailand 4.0 เนื่องด้วยทิศทางขีดความสามารถของอุตสาหกรรมผลิตในอนาคต จะประกอบด้วยรูปแบบการผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการผลิตแบบเครือข่ายที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ (Distributed Manufacturing) การผลิตที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว (Rapid Responsive Manufacturing) การผลิตที่มีกระบวนการซับซ้อน (Complex Manufacturing) การผลิตอุตสาหกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต/ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายและรวดเร็วตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Customized Manufacturing) การผลิตที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-centered Manufacturing) การผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) และการผลิตแบบเปิดรับนวัตกรรม (Innovative-receptive Manufacturing) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs จะต้องคำนึงถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ (1) การพัฒนาไปสู่ SMART Factory (2) การเพิ่มผลิตภาพการผลิต (ทั้งในเรื่อง IT ทักษะแรงงาน เครื่องจักร/อุปกรณ์ และการบริหารจัดการโลจิสติกส์) (3) การรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ/คลัสเตอร์ (Cluster/ Network) (4) การพัฒนากระบวนการการผลิตและผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา (Creativity/ Intellect) (5) การผลิตอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับภาคบริการอย่างเป็นระบบ (Serviced-based Industry) (6) การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งมุ่งเน้นนวัตกรรมในการผลิต (Science, Technology and Innovation) และ (7) การวิจัยและพัฒนา (R&D) ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ในเวทีโลก อันจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีความแข่งแกร่งอย่างยั่งยืน และประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางได้ในอนาคต ที่มา : สศอ.อก., มกราคม 2560. กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry)
37
Office of Industrial Economics
Ministry of Industry สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม องค์กรชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ผมขอจบการบรรยายในวันนี้แต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. ๐ ๒๒๐๒ ๓๙๒๐ แฟกซ์ ๐ ๒๖๔๔ ๘๘๑๗ ๗๕/๖ ถนนพระราม ๖ ราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ Office of Industrial Economics Ministry of Industry Tel Fax 75/6 RamaVI Road, Ratchathewi, Bangkok 10400 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.