งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา การบริหารระบบข้อมูลสำหรับโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา การบริหารระบบข้อมูลสำหรับโลจิสติกส์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา การบริหารระบบข้อมูลสำหรับโลจิสติกส์
เรื่อง ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร

2 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์
จัดทำโดย 1 .นางสาวกัลยรัตน์ วงษ์มาน ชื่อเล่น ยา หัส 2. นางสาวนิภาพร วิเศษศรี ชื่อเล่น ออย รหัส 3. นายอัจฉริยะ หยกพวง ชื่อเล่น เบริ์ด รหัส สาขา โลจิสติกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์

3 ประเด็น 1. ERP คืออะไร 2. โครงสร้างซอฟแวร์ ERP มีอะไรบ้าง
5. ERP Package คืออะไร

4 คำศัพท์ คำศัพท์ คำแปล Enterprise Resource Planning การวางแผนทรัพยากรณ์องค์กร Purchasing การจัดซื้อ Sales Processing การขาย Manufacturing การผลิต Payroll บุคคล Human Resources ทรัพยากรมนุษย์ Business Scenario รูปแบบทางธุรกิจ Business Process กระบวนการทางธุรกิจ Business Application Software Module ซอฟแวร์โมดูล Integrated Database ฐานข้อมูลรวม System Administration Utility ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ Development and Customization Utility ระบบสนับสนุนการพัฒนาและการ ปรับเปลี่ยน

5 เนื้อหา ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร โครงสร้างซอฟแวร์ ERP
ERP Package

6 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร หรือที่เรียกว่า ERP ซึ่งย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบสารสนเทศ ที่บูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์กร เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้า ด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการ ข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและ ทันท่วงที

7 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
แนวคิดในการนำระบบสารสนเทศ ERP มาใช้และเป็นแรงผลักดันให้เกิด การปฏิรูปองค์กร ช่วยให้ผู้บริหาร สามารถรับรู้สถานภาพการทำงานของ ฝ่ายหรือแผนกต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

8 โครงสร้างของซอฟต์แวร์ ERP
1. ซอฟต์แวร์โมดูล (Business Application Software Module) ได้แก่ โมดูลที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์กร นอกจากจะทำงานเฉพาะแล้วยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้ 2. ฐานข้อมูลรวม (Integrated Database) ซอฟต์แวร์โมดูลทุกโมดูลสามารถเข้าถึง (Access) ฐานข้อมูลรวมได้โดยตรงและสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลรวมนี้ร่วมกันได้ ข้อมูลในเรื่องเดียวกันที่ได้จากการประมวลผลของซอฟต์แวร์โมดูลต่าง ๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานและนำมาเก็บไว้ที่เดียวกันทำให้ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล โดยการบริหารจัดการข้อมูลนั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่เรียกว่าระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ซอฟต์แวร์โมดูลในการใช้งานข้อมูล

9 3. ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ (System Administration Utility) เป็น ส่วนที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบ เช่น การคัดลอกสำเนา การลงทะเบียน และกำหนดสิทธิผู้ใช้งาน การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การบริหารเครือข่าย รวมถึงการสำรอง (Backup) ฐานข้อมูล เป็นต้น 4. ระบบสนับสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ยน (Development and Customization Utility) เป็นส่วนที่สนับสนุนการพัฒนาหรือการปรับเปลี่ยนบาง งานให้เข้ากับการทำงานขององค์กร ทั้งนี้ความยาก/ง่ายในการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่ กับแต่ละซอฟต์แวร์ ERP (ERP Package)

10 ประโยชน์ของระบบ ERP 1. กระบวนการบริหาร ระบบยังสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรงและเป็นปัจจุบัน ช่วยให้ผู้บริหารรับทราบข้อมูลทางการเงินซึ่งอาจอยู่ในหลายรูปแบบให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยการใช้ระบบเดียวกัน และสามารถตัดสินใจด้านการบริหารได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบ ERP ช่วยให้กระบวนการทำงานขององค์กรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2. เทคโนโลยีพื้นฐาน ระบบ ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นระบบเดียวกันทั้งองค์กร ข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ที่เก็บข้อมูลส่วนกลางรวมกันและมีมาตรฐานเดียวกัน จะช่วยลดเวลาและจำนวนคนในการทำงาน ลดขั้นตอน และค่าใช้จ่าย

11 3. กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว
การบูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันให้ประสานการทำงานได้ทั่วทั้งองค์กร ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานสามารถติดตามความก้าวหน้าของงานได้ผ่านระบบเดียวกันทำให้การตัดสินใจในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

12 ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาและวางแนวคิด การวางแผนนำระบบมาใช้ การพัฒนาระบบ การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ 1. การศึกษาและวางแนวคิด ต้องทำการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันขององค์กรว่ามีความจำเป็นต้องนำ ERP มาใช้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งในที่นี้ต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจถึงรูปแบบทางธุรกิจ (Business Scenario), กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ปัญหาขององค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจากสภาพปัจจุบันนี้ต้องพิจารณาถึงในอนาคตว่าต้องการให้องค์กรมีสภาพเป็นอย่างไร

13 2. การวางแผนนำระบบมาใช้
ผู้บริหารอนุมัติให้มีการนำเอาระบบ ERP มาใช้ในองค์กร ซึ่งจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการในการกำกับดูแลให้การคัดเลือกระบบ ERP เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร 3. การพัฒนาระบบ เป็นขั้นตอนที่ลงในรายละเอียดของการพัฒนาระบบที่เหมาะสมกับองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดทำแผนโครงการพัฒนาโดยละเอียด กำหนดงานที่จะต้องทำพร้อมทั้งระบุเวลาและเป้าหมายที่จะได้รับ ทำการสำรวจระบบงานปัจจุบันว่าจะต้องปรับปรุง ลดขั้นตอน หรือเปลี่ยนแปลงงานอย่างไร สรุปความต้องการจากส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรว่ามีความต้องการซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถอะไรบ้าง แล้วกำหนดรูปแบบทางธุรกิจและกระบวนการทางธุรกิจที่น่าจะเป็นและนำกระบวนการนี้มาเปรียบเทียบกับกระบวนการทางธุรกิจที่มีให้เลือกจากซอฟต์แวร์ ERP

14 4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ ERP ซึ่งจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการทำงานและช่วยให้สามารถใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากมีการติดตั้งและใช้ระบบแล้ว จะต้องมีการประเมินผลจากการนำระบบ ERP มาใช้เป็นระยะ และนำผลการประเมิน นั้นมาปรับปรุงระบบต่อไป

15 ERP Package จุดเด่นของ ERP Package
เป็น Application Software Package ซึ่งผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทผู้จำหน่าย โดยรวมระบบงานทุกอย่างไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จุดเด่นของ ERP Package เป็น Application Software ที่รวบรวมงานหลักอันเป็นพื้นฐานของการสร้างระบบ ERP ขององค์กร สามารถเสนอ Business scenario และ Business Process ซึ่งถูกสร้างเป็น Pattern ไว้ได้ สามารถจัดทำและเสนอรูปแบบ Business Process ที่เป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรได้

16 ชนิดของ ERP Package ERP ที่ใช้กับธุรกิจหรือเฉพาะทางธุรกิจ
แต่งานหลักของธุรกิจซึ่งได้แก่ การผลิต การขาย Logistics ฯลฯ มักจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ดังนั้นจึงมี ERP package ประเภทที่เจาะจงเฉพาะบางธุรกิจอยู่ในตลาดด้วย เช่น ERP package สำหรับอุตสาหกรรมเคมี   อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมยา เป็นต้น

17 ชนิดของ ERP Package 2. ERP สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่หรือสำหรับ SMEs
ต่อมาตลาดเริ่มอิ่มตัว ผู้ผลิตจึงได้เริ่มหันเป้ามาสู่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม มากขึ้นเรื่อยๆ ระบบและเนื้อหาของระบบงานหลักต่างๆจะไม่แตกต่างกันมาก เพียงแต่ในธุรกิจขนาดใหญ่จะมีปริมาณของเนื้องานมากขึ้น  

18 ตัวอย่าง ERP Package SAP ตัวอย่างหน้าจอ SAP Material Management

19 ตัวอย่าง ERP Package PeopleSoft

20 ตัวอย่าง ERP Package J.D. Edwards ตัวอย่างหน้าจอ JD Edwards EnterpriseOne Version 9.0.

21 แบบฝึกหัด ERP คืออะไร พร้อมอธิบาย ? ประโยชน์ของระบบ ERP มีอะไรบ้าง
ซอฟต์แวร์โมดูล คืออะไร? รู้หมือไร่

22 The End


ดาวน์โหลด ppt วิชา การบริหารระบบข้อมูลสำหรับโลจิสติกส์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google