งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก คาบที่ 24

2 ตัวชี้วัดชั้นปี อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ ภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป (ส 4.2 ม. 3/1)

3 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก พัฒนาการของทวีปแอฟริกา
พัฒนาการของทวีปยุโรป พัฒนาการของทวีปอเมริกาเหนือ พัฒนาการของทวีปอเมริกาใต้ พัฒนาการของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ โอเชียเนีย อิทธิพลของอารย-ธรรมตะวันตก

4 4. พัฒนาการของทวีปอเมริกาเหนือ
4. พัฒนาการของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกา ภูมิภาคของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งตามสภาพสังคมวัฒนธรรมเป็น 2 ส่วน ได้แก่ แองโกลอเมริกาและลาตินอเมริกา โดยถือแม่น้ำริโอแกรนด์ (Rio Grande) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศเม็กซิโกกับสหรัฐอเมริกาเป็นแนวแบ่ง ที่ตั้ง ประชากรในกลุ่มประเทศแองโกลอเมริกานี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ ประชากรในกลุ่มลาตินอเมริกาอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ลงมา ประชากรในกลุ่มลาตินอเมริกาส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมาจากสเปนและโปรตุเกส ประชากร กลุ่มประเทศแองโกลอเมริกาประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ประกอบด้วยประเทศเม็กซิโกและประเทศหมู่เกาะต่าง ๆรอบ ๆ ประเทศ

5 4.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาการของทวีป
4.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาการของทวีป ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ ทิศเหนือติดต่อกับ มหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ มีคลองปานามาเป็นแนว แบ่งเขตทวีป ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนเหนือของทวีปมีช่องแคบเบริงคั่น ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ต่าง ๆ เช่น พื้นที่ชายฝั่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิกมีความราบเรียบ แต่ชายฝั่ง ด้านมหาสมุทรอาร์กติกและมหาสมุทรแอตแลนติกมีความเว้าแหว่ง เกิดเป็น อ่าวและมีเกาะใหญ่น้อยจำนวนมาก พื้นที่ภายในทวีปมีทั้งแนวเทือกเขาสูง ที่ ราบอันกว้างใหญ่ และที่ราบลุ่มแม่น้ำ

6 4.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาการของทวีป (ต่อ)
4.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาการของทวีป (ต่อ) การที่ทวีปอเมริกาเหนือมีดินแดนติดต่อกับมหาสมุทรทั้งด้านตะวันออกและ ตะวันตก ทำให้สะดวกต่อการติดต่อค้าขายทางทะเลกับประเทศต่าง ๆ และ มหาสมุทรทั้งสองก็เป็นพรมแดนธรรมชาติที่ป้องกันการบุกรุกจากประเทศอื่นได้เป็น อย่างดี นอกจากนี้การที่ทวีปอเมริกาเหนือมีแม่น้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ แม่น้ำแมกเคนซี แม่น้ำมิสซิสซิปปี ทำให้มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างหนาแน่นใน บริเวณลุ่มน้ำดังกล่าว และมีการส่งเสริมการเพาะปลูกและการเดินเรือขนส่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือมีพื้นที่ตั้งแต่เขตทรอปิกขึ้นไปจนถึงเขต ขั้วโลกเหนือ จึงมีเขตภูมิอากาศที่หลากหลาย ส่งผลให้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลิตผล ทางการเกษตรและมีแร่ธาตุนานาชนิด รวมทั้งป่าไม้ซึ่งมีทั้งป่าไม้ผลัดใบ ป่าสน เป็นแหล่งที่มาของวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ การทำกระดาษ เส้นใยสังเคราะห์อื่น ๆ

7 4.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ชาวอินเดียนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกา มีอารยธรรมหลายอารยธรรมในบริเวณอเมริกากลาง ก่อนคศว. 15 โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาเหนือ คศว.15 มีชาวยุโรปจากหลายประเทศเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนนี้ และอพยพประชากรของตนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย คศว. 16–17 ค.ศ สหรัฐอเมริกาได้รับเอกราช คศว. 18 สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบัน

8 4.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ทวีปอเมริกาเหนือแต่เดิมเป็นดินแดนที่ไม่มีใครรู้จัก จนกระทั่ง นักเดินเรือชาวอิตาลีชื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ได้ เดินทางมาพบเกาะบริเวณที่เป็นหมู่เกาะเวสต์อินดีส (West Indies) ใน ค.ศ และเข้าใจว่าดินแดนใหม่ที่เขาพบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย ต่อมาใน ค.ศ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ชาว อิตาลีได้เดินทางสำรวจดินแดนที่โคลัมบัสเคยสำรวจมาแล้วจึงทราบว่า ดินแดนที่พบนั้นเป็นทวีปใหม่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชียตามที่โคลัมบัส เข้าใจและเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ อเมริโก เวสปุชชี ชาวยุโรปจึงตั้งชื่อทวีป ใหม่นี้ว่า อเมริกา (America)

9 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

10 4.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ก่อนการอพยพเข้ามาของชาวยุโรปได้มีมนุษย์เข้าไปตั้ง ถิ่นฐานอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือก่อนแล้ว โดยอพยพมาจาก ไซบีเรียผ่านช่องแคบเบริงเข้าสู่อะแลสกา ต่อมาจึงได้แพร่ขยาย เผ่าพันธุ์ออกไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มนุษย์ กลุ่มนี้คือบรรพบุรุษของอินเดียนและเอสกิโมปัจจุบัน ชาวเอสกิโม

11 4.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
มนุษย์ยุคโบราณในดินแดนนี้ได้สร้างความเจริญขึ้น ซึ่ง ปรากฏร่องรอยแห่งอารยธรรมไว้หลายแห่ง ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ เช่น อารยธรรมของพวกแอซเต็ก (Aztec) ใน ประเทศเม็กซิโก อารยธรรมของพวกมายา (Maya) ในประเทศ เม็กซิโกและกัวเตมาลา และอารยธรรมของพวกอินคา (Inca) ใน ประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้

12 4.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
หลังคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้ค้นพบทวีปอเมริกาเหนือ แล้วประมาณ 200 ปี จึงมีชาวยุโรปจากหลายประเทศเข้ามามี อิทธิพลเหนือดินแดนนี้ และอพยพประชากรของตนเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอยู่อาศัย เช่น ประชากรจากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสเข้า มาอยู่อาศัยทางตอนเหนือของทวีป ชาวสเปนเข้ามาอยู่อาศัยใน หมู่เกาะดินแดนเม็กซิโก และอเมริกากลาง การที่ประชากรชาวยุโรปอพยพเข้ามาครอบครองและ อพยพประชากรเข้ามาอยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนือ ย่อมทำให้ สภาพสังคมวัฒนธรรมของชาวยุโรปเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตและ ความเป็นอยู่ของประชากรในทวีปอเมริกาเหนือด้วย

13 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ก่อนที่จะมีการสำรวจพบทวีปอเมริกา ได้มีชนพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ ก่อน ซึ่งมีหลายเผ่าและมักต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงที่ดินทำกิน แต่ละกลุ่มจะมี หัวหน้าเผ่าดูแลปกครอง จนกระทั่งสามารถสร้างอาณาจักรขึ้น ได้แก่ อาณาจักรแอซเต็ก (Aztec) บริเวณที่ราบสูงเม็กซิโก และอาณาจักรมายา (Maya) ในตอนใต้ของเม็กซิโก ครั้นถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 อังกฤษได้ เข้ามาสำรวจทวีปอเมริกาเหนือ และยึดครองดินแดนชายฝั่งตะวันออกเป็น อาณานิคม ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจและยึด ครองดินแดนทางเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์เป็นอาณานิคม

14 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ส่วนสเปนได้เข้ามาสำรวจดินแดนทางตอนใต้ โดยส่งกองทหารสเปน เดินทางเข้ายึดดินแดนจากพวกแอซเต็กใน ค.ศ แล้วนำทองคำและแร่ เงินกลับสเปน และเปิดเหมืองทองคำโดยใช้แรงงานของพวกแอซเต็ก ตั้งแต่ ค.ศ. 1521–1550 สเปนได้เข้าครอบครองดินแดนตั้งแต่แถบเม็กซิโกลงไปทาง ใต้จนถึงทวีปอเมริกาใต้ทั้งหมด นอกจากอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปนจะเข้าไป ยึดครองดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือเป็นอาณานิคมแล้ว เนเธอร์แลนด์และ เยอรมนีก็เข้าไปยึดครองดินแดนบางส่วนเป็นอาณานิคมของตนด้วย

15 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
เมื่อ ค.ศ อังกฤษตั้งอาณานิคมที่เจมส์ทาวน์ รัฐเวอร์จิเนีย เป็นแห่งแรก และได้ขยายอาณานิคมออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ค.ศ อังกฤษสามารถยึดครองดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือเป็นอาณานิคมของตน ถึง 13 แห่ง ส่วนอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทร แอตแลนติกตอนเหนือ คือ แคนาดาในปัจจุบัน ชาวอาณานิคมในยุคบุกเบิกต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เช่น การ ขาดแคลนเสบียงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม โรคภัยไข้เจ็บ การโจมตีจากชนพื้นเมือง คือ พวกอินเดียน ต่อมาชาวอาณานิคมได้บุกเบิกที่ดินทำการเกษตรและทำ อุตสาหกรรมในครอบครัว สร้างเมือง ถนน และโรงเรียน ที่สำคัญคือ ได้ผูก มิตรกับพวกอินเดียนทำให้ปัญหาต่าง ๆ บรรเทาเบาบางลง

16 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ใน ค.ศ. 1754–1763 อังกฤษและฝรั่งเศสได้ทำสงครามแย่งชิงดินแดนกัน ต่อมาสเปนเข้ามาสมทบกับฝรั่งเศสทำสงครามกับอังกฤษ ในที่สุดฝรั่งเศสแพ้สงครามต้องยก แคนาดาให้แก่อังกฤษ หลังจากนั้น ใน ค.ศ อังกฤษได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากอาณานิคม สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวอาณานิคมเป็นอย่างมาก ใน ค.ศ อังกฤษออกกฎหมายใบชา เพื่อเรียกเก็บภาษีใบชา ชาวอาณานิคมจึงหันไปลักลอบซื้อใบชาจากชาวดัตช์แทน ใน ค.ศ ได้เกิดเหตุการณ์ “งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน” (The Boston Tea Party) ขึ้น โดยชาวอาณานิคมในเมืองบอสตันได้ลอบขึ้นบนเรือสินค้าของอังกฤษแล้ว โยนหีบใบชาลงน้ำ หลังจากนั้นจึงเกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับชาวอาณานิคม เรียกว่า “สงครามปฏิวัติอเมริกา” ใน ค.ศ ฝรั่งเศสเข้าช่วยฝ่ายอาณานิคม ในที่สุดฝ่ายอาณานิคมชนะสงคราม สหรัฐอเมริกาจึงได้รับเอกราชใน ค.ศ ต่อมาใน ค.ศ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ทำให้รัฐบาลกลางมีอำนาจเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ

17 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
อาณานิคมในดินแดนแคนาดาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แคนาดาตอนบน และแคนาดาตอนล่าง ในระหว่างที่ชาวอาณานิคมและอังกฤษได้ทำสงครามกัน มี ชาวอาณานิคมในสหรัฐอเมริกาอพยพมาอยู่ในแคนาดาตอนบนจำนวนมาก จึงมี ความผูกพันกับอังกฤษมาก ส่วนแคนาดาตอนล่างเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ต่อมา ค.ศ ได้รวมแคนาดาทั้ง 2 ส่วนเป็นมณฑลแคนาดา ครั้นถึง ค.ศ อังกฤษประกาศรวมดินแดนอาณานิคมในแคนาดาเป็นสหพันธรัฐ- แคนาดา (The Dominion of Canada) เนื่องจากมีการขุดค้นพบทองคำ ตั้งแต่ ค.ศ เป็นต้นมาจึงมีผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดาจำนวน มาก ระหว่าง ค.ศ. 1914–1918 แคนาดาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 สนับสนุน อังกฤษในฐานะที่เป็นในจักรวรรดิอังกฤษ สหพันธรัฐแคนาดาได้รับเอกราชจาก อังกฤษ และร่วมอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษใน ค.ศ. 1931

18 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
หลังจากสหรัฐอเมริกาได้รับเอกราชใน ค.ศ ได้สร้างชาติ และวางรากฐานความเจริญในด้านต่าง ๆ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของรัฐทางเหนือและรัฐทางใต้ เกี่ยวกับทาสจนเกิดสงครามกลางเมือ (ค.ศ. 1857–1865) หลังสงคราม กลางเมือง สหรัฐอเมริกาพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว ซื้อดินแดน อะแลสกาจากรัสเซียใน ค.ศ ต่อมาใน ค.ศ สหรัฐอเมริกา ได้ผนวกหมู่เกาะฮาวายเป็นมลรัฐหนึ่งของประเทศ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกามีอิทธิพลถึงอเมริกา กลาง จากทะเลแคริบเบียนสู่มหาสมุทรแปซิฟิกจนเกือบจดเอเชีย ตะวันออก สหรัฐอเมริกากลายเป็นชาติจักรวรรดินิยมที่มีความมั่นคง ทางการเมือง ความมั่งคั่งของเศรษฐกิจ และแสนยานุภาพของกองทัพ

19 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
บทบาทของสหรัฐอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914–1918) ในช่วงครึ่งแรกของสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกาประกาศตัวเป็นกลางตาม หลักการมอนโร แต่เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มเสียเปรียบในการรบและเยอรมนีส่ง เรือดำน้ำโจมตีเรือโดยสารลูซิตาเนียของอังกฤษ เป็นผลให้ชาวอเมริกันเสียชีวิต 124 คน สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือน เมษายน ค.ศ ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยในสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกามีบทบาทหลักในประเทศผู้ชนะสงคราม และสามารถผลักดันให้ เกิดองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกของโลก คือ องค์การสันนิบาตชาติ

20 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ ) หลังจากญี่ปุ่นยึด ดินแดนในเอเชียได้แล้ว ได้ส่งกองกำลังโจมตีฐานทัพสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล (Pearl Harbour) ในหมู่เกาะฮาวายเมื่อ ค.ศ สหรัฐอเมริกาจึงประกาศ สงครามกับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อฝ่าย สัมพันธมิตรได้ชัยชนะในภาคพื้นยุโรป สหรัฐอเมริกาจึงนำระเบิดปรมาณูไป ทิ้งที่เมืองฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาก็พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น ประเทศอภิมหาอำนาจในปัจจุบัน

21 4.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ประเทศต่าง ๆ ในอเมริกากลางและหมู่เกาะแคริบเบียน เป็นอาณานิคมสเปน หลังจากได้รับเอกราชในช่วง ค.ศ. 1819– ก็เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ

22 4.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่กว้างใหญ่ มีคนหลายเชื้อชาติอพยพมา อยู่รวมกัน ทั้งชนพื้นเมืองดั้งเดิม และชนจากต่างทวีปที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน หลังจากมีการค้นพบทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ ค.ศ ชนพื้นเมืองของ ทวีปอเมริกาเหนือมีอยู่หลายเผ่าพันธุ์ด้วยกัน ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมในการ ปรับตัวเข้ากับสภาพธรรมชาติ ครั้งเมื่อชาติตะวันตกเดินทางสำรวจทะเลและค้นพบทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นคนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรมอพยพมาอยู่รวมกัน ย่อมนำอารยธรรม ตะวันตกรวมถึงคริสต์ศาสนามาเผยแผ่ เกิดการผสมผสานของเชื้อชาติและ วัฒนธรรม ทำให้ทวีปอเมริกาเหนือเป็นสังคมที่ประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ ที่มีส่วนร่วมกันพัฒนาและสร้างสรรค์ประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทวีปอเมริกา เหนือประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา ดังนี้

23 ทวีปอเมริกา เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา
ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่กว้างใหญ่ มีคนหลายเชื้อชาติอพยพมาอยู่รวมกัน ทั้งชนพื้นเมืองดั้งเดิม และชนจากต่างทวีปที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน หลายเชื้อชาติ เช่น ชนผิวเหลือง เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อพยพมาจากทวีปเอเชีย ได้แก่ ชาวเอสกิโม (Eskimo) หรือ อเมรินเดียน (Amerindian) และชาวอินเดีย ชนผิวขาวจากยุโรป ชนผิวดำจากแอฟริกา และกลุ่มชนเลือดผสมในปัจจุบัน เชื้อชาติ ก่อนที่จะมีการอพยพเข้ามาของชาวยุโรปเป็นภาษาของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ก่อน เช่น ภาษาของพวกอินเดียนและภาษาพวกเอสกิโม ครั้นเมื่อชาวยุโรปอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตั้งเป็นอาณานิคมของตนก็จะใช้ภาษาเมืองแม่ของตน เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และภาษาสเปน ภาษา ศาสนาของประชากรในทวีปอเมริกาเหนือ ก่อนที่จะมีการนำคริสต์ศาสนาเข้าไปเผยแผ่หลังการเข้าไปก่อตั้งอาณานิคมนั้น ชนพื้นเมืองของทวีปนี้ซึ่งมีหลายชนเผ่าต่างก็จะมีความเชื่อแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณและอิทธิพลของธรรมชาติ เมื่อชาวยุโรปอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานได้นำคริสต์ศาสนาไปเผยแผ่ด้วย มีนิกายที่สำคัญ 2 นิกาย คือ นิกายโปรเตสแตนต์และนิกายโรมันคาทอลิก ศาสนา

24 พวกมูแลตโตเป็นเผ่าพันธุ์เลือดผสม ระหว่างพวกผิวดำกับผิวขาว

25 4.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
ในสมัยก่อนที่ทวีปอเมริกาจะเป็นอาณานิคม ชนพื้นเมืองซึ่งมีอยู่ หลายเผ่าพันธุ์ต่างประกอบอาชีพการเกษตร เลี้ยงสัตว์ หาของป่า และ หัตถกรรมเป็นสำคัญ ครั้นเมื่อชาวยุโรปทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน อพยพ เข้ามาตั้งถิ่นฐานยึดครองดินแดนในทวีปเป็นอาณานิคมของตน ชาวอาณา นิคมต่างบุกเบิกที่ดินอันกว้างใหญ่ไพศาลเพื่อทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ โดยบริเวณที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษซึ่งเป็นเขตที่ราบมีเนื้อที่เกือบครึ่ง ทวีปเป็นพื้นที่เพาะปลูกและทำปศุสัตว์ ต่อมาได้มีการขุดพบทองคำในหลาย พื้นที่ทำให้มีการทำเหมืองทองคำ ส่วนภาคใต้ของทวีปจะทำไร่ ปลูกฝ้าย ยาสูบ ข้าว ถั่วเหลือง และอ้อย

26 4.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด ทั้งใน ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง และหมู่เกาะในทะเล แคริบเบียน ประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาดของประเทศที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติ หลากหลายชนิด เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ แร่หลายชนิด ป่าไม้ และแหล่ง น้ำจืด และมีพื้นที่ป่าไม้อันกว้างใหญ่จึงเป็นแหล่งผลิตไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ เช่น กระดาษ สหรัฐอเมริกามีการสร้างเขื่อนจำนวนมากเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำและ การเกษตร ในด้านอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกามีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี ชั้นสูงในการผลิต จึงเป็นประเทศผู้นำในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องบิน และเคมีภัณฑ์

27 4.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าด้านสินค้าภาคบริการ เช่น ธุรกิจ การเงิน ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจด้านสุขภาพอนามัย และธุรกิจประกัน ประเทศ สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจแบบการค้าเสรีทำให้มีการแข่งขันและพัฒนา กิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าอย่างมาก มีทั้งการส่งเสริมการลงทุนใน ประเทศและการลงทุนในต่างประเทศ

28 4.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และแร่ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ทองคำ ประเทศแคนาดามีพื้นที่อันกว้างใหญ่ และแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำ ให้สามารถเพาะปลูกได้ดี เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ผลิตเป็นสินค้าส่งออก ได้มาก นอกจากนี้ยังมีการทำป่าไม้ กระดาษ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสัตว์น้ำ ประเทศแคนาดามีทะเลสาบและแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย จึง สร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการเกษตร อุตสาหกรรมสำคัญของ แคนาดา ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม

29 4.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง และหมู่เกาะในทะเล แคริบเบียน มีทั้งการเกษตร และอุตสาหกรรม ด้านการเกษตรมีการปลูกอ้อย ฝ้าย ยาสูบ กาแฟ โกโก้ กล้วย มะพร้าว ประมง อุตสาหกรรมเหมืองแร่หลาย ชนิด ต่อมามีการค้นพบแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมในอ่าวเม็กซิโก ประเทศ เม็กซิโก ประเทศตรินิแดดและโตเบโก จึงมีอุตสาหกรรมขุดเจาะและกลั่น น้ำมันปิโตรเลียม ในทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดามีความ เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการ บริการ ส่วนประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางยังมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพา การเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

30 5. พัฒนาการของทวีปอเมริกาใต้
ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รอง จากทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางซีกโลก ใต้ โดยมีเส้นศูนย์สูตรและเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นลากผ่าน จึงเป็น ดินแดนที่มีภูมิอากาศแบบเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทวีปอเมริกาใต้มีที่ราบลุ่ม แม่น้ำแอมะซอนซึ่งเป็นเขตป่าฝนที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังเป็น ดินแดนอารยธรรมเก่าแก่ของโลก ได้แก่ อารยธรรมอินคา (Incas) ก่อนที่จะ ถูกชาวยุโรปซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวสเปนยึดครองในคริสต์ศตวรรษที่ 15

31 5.1 ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป
ทวีปอเมริกาใต้ทิศเหนือติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ ทิศใต้ติดต่อ กับช่องแคบเดรก (Drake Passage) ซึ่งเป็นน่านน้ำที่คั่นทวีปอเมริกาใต้ กับทวีปแอนตาร์กติกา ทิศตะวันออกจดมหาสมุทรแอตแลนติก และทิศ ตะวันตกจดคลองปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยเหตุที่ทวีปอเมริกาใต้มีดินแดนติดต่อกับทวีปและประเทศอื่น มีเส้นทางคมนาคมสะดวก ทำให้มีชาวเอเชียอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานเป็นชาวพื้นเมืองคือพวกอินเดียนเผ่าต่าง ๆ นอกจากนี้สภาพทาง ภูมิศาสตร์ดังกล่าวยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการสั่งสมอารยธรรมของ พื้นเมือง ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวมีความหลากหลายทางธรรมชาติ โดยเฉพาะทองคำทำให้ชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน

32 5.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ก่อนคศว. 16 เป็นแหล่งอารยธรรมอินคา ปลายคศว.ที่ 16 อาณาจักรอินคาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน คศว.ที่ 17–18 ตกเป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ปลายคศว.ที่ 18 ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้รวมตัวกันเรียกร้องเอกราชจากสเปนและโปรตุเกส ในคศว.ที่ 19 ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ต่างได้รับเอกราชปกครองตนเอง

33 5.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 16 ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของพวกอินคา ซึ่งเป็นชาว อินเดียนเผ่าหนึ่ง อาณาจักรอินคาตั้งขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีอาณาเขต ครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย และทางตอนเหนือของ ประเทศชิลีในปัจจุบัน และมีความเจริญสูงสุดประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของพวกอินคา ได้แก่ การนำหินมาปูถนน การ ทำสะพานแขวนด้วยเชือกเพื่อทอดข้ามลำธาร แม่น้ำ และหุบเขาแคบ ๆ การ สกัดหินภูเขาออกมาเป็นแท่ง ๆ เพื่อนำไปก่อสร้างที่อยู่อาศัย การปรับพื้นที่ เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อใช้เพาะปลูก การขุดคลองส่งน้ำเพื่อการเกษตร การ เพาะปลูกข้าวโพดและมันฝรั่งไว้เป็นอาหาร การเลี้ยงสัตว์เพื่อนำขนมาทำเป็น เครื่องนุ่งห่ม และการรู้จักทำเครื่องประดับด้วยทองคำและเงิน

34 5.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
คริสต์ศตวรรษ 16 ใน ค.ศ อาณาจักรอินคาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน สเปน จึงมีอำนาจปกครองดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง การเข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ของชาวสเปน ทำให้มีคำ เล่าลือว่าทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งที่มีทองคำ เงิน และโลหะอื่น ๆ อยู่อย่าง อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแรงจูงใจให้ชาวสเปนและโปรตุเกสพากันเดินทางเข้ามา แสวงหาโชคในทวีปนี้มากขึ้น ในที่สุดก็ตกเป็นอาณานิคมของสเปนและ โปรตุเกส

35 5.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ชาวอาณานิคมในทวีป อเมริกาใต้พยายามเรียกร้องอิสรภาพจากเมืองแม่เพื่อปกครองตนเอง ประกอบ กับผลจากเหตุการณ์การปฏิวัติในอเมริกาใน ค.ศ การปฏิวัติในฝรั่งเศสใน ค.ศ และการที่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น ระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะผู้ที่ ได้รับการศึกษาตามแบบยุโรปได้รวมตัวกันเรียกร้องเอกราชจากสเปนและ โปรตุเกสขึ้น ผู้นำคนสำคัญในการเรียกร้องเอกราชของอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกัน ทั่วโลก คือ ซีมอน โบลิวาร์ (Simon Bolivar) ชาวเวเนซุเอลา เป็นผู้เรียกร้อง อิสรภาพให้กับเวเนซุเอลาจากสเปน เขาจึงได้ฉายาว่า “ผู้ปลดปล่อยให้เป็น อิสระ” และ เช กูวารา (Che Guevara) ผู้เป็นนักศึกษาแพทย์ เป็นผู้นำทาง การเมืองและนักปฏิวัติของอาร์เจนตินา

36 5.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ต่างได้รับ เอกราชปกครองตนเอง เช่น บราซิลได้รับเอกราชจากโปรตุเกสใน ค.ศ โดยไม่มีการต่อสู้ ส่วนเวเนซุเอลา โคลัมเบีย และเปรู ได้ต่อสู้กับสเปนเป็น เวลานานจึงได้รับเอกราช หลังการได้รับเอกราชระหว่าง ค.ศ. 1825–1880 ทุกประเทศมีการ ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ แต่ก็ประสบปัญหาในการบริหารประเทศ เนื่องจากปัญหาการแย่งอำนาจระหว่างผู้นำที่ต้องการผูกขาดอำนาจปกครอง รวมทั้งปัญหาความแตกแยกของประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งได้แก่ คนผิวขาวที่ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคอาณานิคม คนผิวขาวที่อพยพมาใหม่ ชาว อินเดียนซึ่งเป็นชนพื้นเมือง และทาสจากแอฟริกา ทำให้เกิดความไม่มั่นคง ทางการเมือง และส่งผลให้เกิดปัญหาผู้ก่อการร้ายและปัญหาเศรษฐกิจที่ สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

37 5.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาใต้เกิด ชาตินิยมทางการเมืองและเศรษฐกิจ ได้ต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา เพราะเกรงว่าจะขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศของตน แต่ลัทธิ ชาตินิยมของกลุ่มทวีปอเมริกาใต้ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศ บ่อยครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ หลายประเทศปกครองแบบประชาธิปไตย แต่มีอีกหลายประเทศยังปกครอง ด้วยรัฐบาลทหาร

38 5.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
ทวีปอเมริกาใต้มีประชากรประมาณร้อยละ 6 ของโลก หรือมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ประชากรของทวีปอเมริกาใต้จะมีหลายเชื้อชาติปะปนกัน แต่ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มอินเดียน กลุ่มผิวขาว กลุ่มผิวดำ ประ- ชากร ประเทศในทวีปอเมริกาใต้เกือบทุกประเทศใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ ประเทศที่ใช้ภาษาอื่นเป็นภาษาราชการ ได้แก่ ประเทศบราซิลซึ่งมีจำนวนประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ใช้ภาษาโปรตุเกส ประเทศกายอานาใช้ภาษาอังกฤษ ดินแดนเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศสใช้ภาษาฝรั่งเศส และประเทศซูรินาเมใช้ภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการ ภาษา ชาวอินเดียนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้เป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อแบบดั้งเดิมตามอย่างบรรพบุรุษ ต่อมาเมื่อประชากรจากทวีปอื่นอพยพเข้าสู่ทวีปนี้ได้นำศาสนาเข้ามาเผยแพร่ไปสู่คนพื้นเมืองกระทั่งถึงปัจจุบันปรากฏว่าประชากรมากกว่าร้อยละ 90 ของทวีปอเมริกาใต้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกที่ชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ ศาสนา

39 5.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพความเป็นอยู่ของประชากรในทวีปอเมริกาใต้โดยทั่วไปยังนับว่าไม่ ดี ประเทศส่วนใหญ่จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากเกือบทุกประเทศยังขาดความมั่นคงทางด้านการเมืองและ ด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการกระจายรายได้ของประชากรมักไม่ทั่วถึง ความ เป็นอยู่ของประชากรระหว่างคนรวยกับคนจนจึงแตกต่างกันมาก กล่าวคือ ผู้มีรายได้สูงเป็นผู้มีฐานะดีมีจำนวนน้อย แต่มีความเป็นอยู่ที่ดี เช่นเดียวกับประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประชากรที่ยากจน ซึ่งเป็น ประชากรส่วนใหญ่ของทวีปนี้ยังคงมีความเป็นอยู่ที่ล้าหลัง มีการศึกษาต่ำ เป็น ผู้ด้อยโอกาสในทุกด้าน แต่ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นผู้ยึดมั่นในศาสนาอย่างยิ่ง โดยสืบทอดมาจากประชากรที่อพยพมาจากทางภาคใต้ของทวีปยุโรป เช่น คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในประเทศบราซิล มีการจัดงานการ์นิวัลเป็น งานสำคัญ ๆ และยิ่งใหญ่ มีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน เช่นเดียวกับงานการ์นิวัลที่จัดขึ้นในประเทศโปรตุเกส ส่งผลให้ประเทศดังกล่าว เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนานาชาติ

40 ในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส
5.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ชาวยุโรปได้ยึดครองที่ดินทั้งหมดเพื่อทำไร่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ ปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล หรือทำเหมืองแร่ ทำให้ชนพื้นเมืองไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องรับจ้างเป็นคนทำงานในไร่และในเหมืองแร่ ผลผลิตทางเกษตรและอุตสาหกรรมส่งไปขายในตลาดยุโรปและทั่วโลก ในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส เมื่อได้รับเอกราช ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่ยังยากจนเพราะถูกประเทศแม่นำเอาทรัพยากรธรรมชาติไปสู่ยุโรป เช่น ทองคำ เงิน ดินแดน ป่าดิบชื้นถูกทำลายเพื่อทำเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและทำเหมืองแร่ หลังได้รับ เอกราช การค้ากับต่างประเทศของทวีปอเมริกาใต้ปรากฏว่าประเทศต่าง ๆ เสียดุล การค้าเสมอมา ยกเว้นประเทศบราซิลและเวเนซุเอลาเท่านั้นที่ได้เปรียบดุล การค้ามา ทั้งนี้เพราะบราซิลเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม จึงมีผลิตผลส่งเป็นสินค้าออกได้มาก ส่วนประเทศเวเนซุเอลาเป็นประเทศที่ส่งน้ำมันดิบเป็นสินค้าออกรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ปัจจุบัน

41 5.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
ปัจจุบันประเทศในทวีปอเมริกาใต้หลายประเทศกำลังพัฒนาทาง เศรษฐกิจ มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศภายในทวีป โดยรวมกันก่อตั้ง สหภาพอเมริกาใต้ (Union of South America USAN) ขึ้นเมื่อ ค.ศ เพื่อร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจและวางแผนจะมีการร่วมกันทางการเมืองใน ลักษณะเดียวกับสหภาพยุโรปในอนาคต บางประเทศ เช่น ชิลี เปรู ได้ร่วม เป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียและแปซิฟิก หรือเอเปก

42 อาคารสำนักงานใหญ่สหภาพยุโรป

43 6. อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
เศรษฐกิจแบบทุนนิยม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แนวคิดประชาธิป- ไตย วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่

44 เกม สามารถเลือกได้ใน Folder ที่ 8


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google