งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จัดทำโดย นายณัฐศุภญกร ตานาคา ปวส.2/5 การตลาด นางสาวสุพัตรา แจ่มมั่งคั่ง ปวส.2/5 การตลาด 0025553 นางสาวสุวนันท์ ธรรมจิตร ปวส.2/5 การตลาด นายอาทิตย์ ก้อนเงิน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จัดทำโดย นายณัฐศุภญกร ตานาคา ปวส.2/5 การตลาด นางสาวสุพัตรา แจ่มมั่งคั่ง ปวส.2/5 การตลาด 0025553 นางสาวสุวนันท์ ธรรมจิตร ปวส.2/5 การตลาด นายอาทิตย์ ก้อนเงิน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จัดทำโดย นายณัฐศุภญกร ตานาคา ปวส.2/5 การตลาด นางสาวสุพัตรา แจ่มมั่งคั่ง ปวส.2/5 การตลาด นางสาวสุวนันท์ ธรรมจิตร ปวส.2/5 การตลาด นายอาทิตย์ ก้อนเงิน ปวส.พ.2/5 การตลาด นางสาวศิวิมล พระสุพรรณ ปวส.พ.2/5 การตลาด นางสาวเปมิกา นันทะพันธ์ ปวส.พ.2/5 การตลาด นางสาวฉันท์สินี เตชะคำ ปวส.พ.2/5 การตลาด

2 การสร้างร้านค้าบนเว็บไซต์

3 keyword Content Brand Equity Consistency Approach Brief

4 เปิดประเด็น ร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบันนิยมใช้ช่องใดมากที่สุด ตามที่เราเจอ การที่มีเว็บไซด์ อำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคอย่างไร การเลือกซื้อสินค้าออนไลน์มีความเสี่ยงอย่างไร ก่อนที่จะเปิดร้านค้าออนไลน์เราต้องเตรียมตัวอย่างไร ร้านค้าออนไลน์มีข้อดีข้อเสียอย่างไรเมื่อเทียบกับร้านค้าที่ไม่ออนไลน์

5 การสร้างร้านค้าบนเว็บไซต์
ปั้นแบรนด์ฮิตให้ติดตลาด ในการดำเนินงานในองค์กรใดๆก้ตามไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน จะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ ย่อมต้องอาศัยความศรัทธาจากมหาชน เพราะต่างต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากที่จะต้องให้การบริการและคำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกทุกคนในสังคม การสร้างแบรนด์หรือภาพลักษณ์ของสินค้า จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่องค์กรได้นำมาใช้ในการสร้างความสนใจ ความเชื่อถือ ความเชื่อมั่น รวมถึงความพึ่งพอใจของลูกค้า ตลอดจนรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ส่งผ่านสื่อต่างๆทั้งที่เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สื่อสารมวลชน รวมไปถึงการสื่อสารเฉพาะทางไปยังกลุ่มเป้าหมาย การสร้างคุณค่าในตราสินค้า ( Brand Equity ) มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค สำหรับการตัดสินใจนั้นต้องมีการมองเห็นว่า มีคุณค่า มีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าหรือบริการ มีความศรัทธาชื่นชอบในตราสินค้า

6 จุดประสงค์ของการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ
1. สร้างความชัดเจนในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นการสื่อให้ถึงลูกค้า รวมถึงกลุ่มเปาหมายให้ใช้ตราสินค้าและเป็นแนวทางในการเลือกซื้อหรือใช้บริการได้อย่างถูกต้อง 2. มีเอกลักษณ์ของตนเอง ความต้องการที่จะให้ตราสินค้ามีลิขสิทธิ์ปกป้อง สร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่าง สามารถแยกออกได้จากสิ่งอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงเพื่อความสะดวกในการตลาด และเพื่อการแข่งขัน 3. ช่วยในการสสร้างมูลค่าและส่วนแบ่งทางการตลาด การเข้าสู่การครองใจ การสนองตอบต่อความต้องการสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มแสดงความเชี่ยวชาญ กำหนดคุณภาพของสินค้าหรือบริกาสรโดยการจำนกประเภทของสินค้า บริการของแต่ละกลุ่ม

7 การสร้าง Brand Image ที่ชัดเจนและสื่อที่โดนใจ
จาการเปลี่ยนแปลงต่างๆในโลกปัจจุบัน ทำให้นักการสื่อสารและนักการตลาดต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกให้กับลูกค้า และยังช่วยสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าให้กับสินค้าและบริการได้ด้วย ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน ตราสินค้าจะช่วยสร้างให้สินค้ามีความแตกต่างภายในจิตใจของลูกค้า โดยการหาจุดที่ โดนใจ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุดสำหรับลูกค้านั้น ตราสินค้าจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสัญญาขององค์กรที่จะมอบสินค้าหรือบริการในเชิงคุณภาพ ผลประโยชน์และประสบการณ์ของลูกค้าที่เหมือนเดิมทุกครั้งในการซื้อหรือใช้บริการนั้นๆ ตราสินค้าที่แข็งแกร่งจะมีมูลค่าคิดเป็นทรัพย์สิขององค์กร ซึ่งมูลค่าดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจัดการตราสินค้า

8 สิ่งสำคัญของการสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้า
1. การให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้องตามทิศทางที่ต้องการ ( Brief ) 2. การนำเสนอที่เหมาะสม ( Approach ) 3. การเลือกใช้สื่อทุกชนิดทีสะท้อนถึงภาพลักษณ์ ( Media ) 4. ความสม่ำเสมอของการสื่อสาร ( Consistency )

9 1.การให้ข้อมูลที่ชัดเจน
การสม่ำเสมอของการติดต่อสื่อสาร การเลือกใช้สื่อทุกชนิดเพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ 1.การให้ข้อมูลที่ชัดเจน 2.การนำเสนอที่เหมาะสม

10 กลยุทธ์การสื่อสารในสื่อยุคใหม่
  กลยุทธ์การสื่อสารในสื่อยุคใหม่ ในปัจจุบันนี้ การจัดการองค์กรและการตลาดของแต่ละแบรนด์ได้ปรับโฉมหน้าไปจากเดิมมาก หารเติบโตของสื่อดิจิตอลขณะนี้สูงเพิ่มขึ้นในแต่ละปีและมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าเดิมช่องทางสื่อออนไลน์ การใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน มีมากแบบก้าวกระโดด ทำให้การบริโภคเนื้อหา หรือ Content ที่เข้าถึงและรวดเร็วทฤษฎีควรรู้ก่อนบุกดิจิตอลการที่เราทำตลาดแบบดิจิตอลไม่ได้หมายความว่าเราจะทิ้งการตลาดแบบที่ทำอยู่ แต่สิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิมมารวมกับสิ่งใหม่ๆซึ่งปกติแล้วการตลาดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ Online Marketing หรือการทำการตลาดแบบออนไลน์ คือ การทำการตลาดบนโลกอินเตอร์เน็ตเพื่อขาย สร้างการรับรู้ สร้างกาเรียนรู้ โฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ รับทราบ เข้าใจ และสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ผ่านเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทต่างๆ Offline Marketing หรือการทำการตลาดทั่วไปที่เราเห็นกัน ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาผ่านใบปลิว แผ่นพับ การจัดอิเว้น ป้ายโฆษณา สื่อโทรทัศน์ จดหมาย ข่าว เป็นต้น

11 Online PR + Offline PR เชื่อมใจลูกค้าได้อยู่หมัด
1. เพิ่ม Traffic หรือจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 2. เพิ่มอันดับเว็บไซต์ใน search Engine ให้อยู่ในลำดับต้นๆ 3. สร้างการรับรู้ตราสินค้า 4. ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร 5. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าที่มีความสนใจในตราสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการ 6. เพิ่มพื้นที่มนการสื่อสารความรู้ และข้อมุลเชิงลึกขององค์กรแก่กลุ่มเป้าหมาย

12 Online PR + Offline PR เชื่อมใจลูกค้าได้อยู่หมัด
1. รู้จักกลุ่มเป้าหมาย จะต้องรู้จักถิ่นที่อยู่อาศัย การใช้อินเทอร์เน็ต ไลฟ์สไตล์ 2. ใช้เว็บไซต์โซเชียลมีเดียเป็นอาวุธ เน้นการประชาสัมพันธ์บนโลกมีเดียออนไลน์ เช่น Facebook Twitter 3. บล็อกตัวช่วยในการกระจายข่าวสารที่ดี นอกจากการทำ Online PR ผ่านโซเชียลมีเดียแล้ว การสร้างบล็อกที่มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ เป็นสิ่งที่ดีเพราะนอกจากจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้เยี่ยมชมแล้ว ยังมีประสิทธิภาพในการทำลิงค์เว็บไซต์กระโดดขึ้นมาอยู่ลำดับต้นๆได้อีกด้วย 4. E- Mail Marketing ดึงดุดลูกค้าขาประจำ การส่งอีเมล์กิจกรรมต่างๆ เพื่อแจ้งข่าวสารโปรโมชั่นในแต่ละสัปดาห์ ช่วยให้มีกลุ่มลูกค้าขาประจำมากขึ้น 5. สร้าง Online Community การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนๆกัน หรือมีบอร์ดสำหรับสอบถามผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้มาเป็นลูกค้าประจำนั่นเอง

13 เว็บไซด์ หัวใจสำคัญของธุรกิจ
เว็บไซด์ หัวใจสำคัญของธุรกิจ ยุคอินเทอร์เน็ตมีส่วนผูกพันกับชีวิตเราแทบทุกวัน ทำให้นักการตลาดหันมาสนใจทำการตลาดผ่านเว็บไซด์กันมากขึ้น เพราะการมีเว็บไซต์หลักเป็นขององค์กร ส่งผลดีต่อธุรกิจในหลายๆด้าน การออกแบบเว็บไซต์ให้น่าชม นอกจากจะส่งผลดีแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือช่วยเพิ่มยอด SEO ให้อยู่ในลำดับต้นๆได้อีกด้วย ดังนั้นการออกแบบเว็บไซต์จึงเปรียบเสมือนเป็นหน้าเป็นตา และเพิ่มระดับให้กับธุรกิจได้ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ 1. กำหนดกลยุทธ์เว็บไซต์ให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ 2. ออกแบบหน้าเว็บไซต์ด้วยสีสันและตัวอักษรที่เหมาะสมสวยงาม 3. มีรูปแบบที่หลากหลายน่าสนใจ ซึ่งอาจจะเติมภาพ วิดีโอ หรืออินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่ายเข้าไปด้วยก็ได้

14 เว็บไซด์ หัวใจสำคัญของธุรกิจ
เว็บไซด์ หัวใจสำคัญของธุรกิจ 4. เน้นสั้นๆได้ใจความ รูปแบบการนำเสนอควรย่อเนื้อหาให้สั้น เข้าใจง่าย 5. เข้าถึงข้อมูลรวดเร็ว ควรออกแบบเครื่องมือช่วยเหลือผู้เข้าชมให้พบกับสิ่งที่ต้องการหาได้รวดเร็ว 6. จ้างเว็บมาสเตอร์มืออาชีพ ถ้าหากเปรียบโลกดิจิตอลเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่แห่งหนึ่ง เว็บไซด์ก็เป็นเหมือนหน้าร้านห้างสรรพสินค้านั่นเอง หากคุณมัวแต่นำสินค้าไปฝากขายร้านอื่น คุณคิดว่าลูกค้าจะเชื่อมั่นในแบรนด์ของคุณแค่ไหน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณเปิดร้านของตัวเองขึ้นมา ก็จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้ว่าแบรนด์ของคุณมีชื่อเสียง สินค้ามีคุณภาพไว้ใจได้ ที่สำคัญ คือ มั่นใจว่าไม่หนีไปไหน นอกจากนี้เว็บไซต์ทำหน้าที่เป็นเหมือนเว็บหลักที่คุณสามารถนำเครื่องมือทางการตลาดดิจิตอลมาควบรวมเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารด้วย เพียงแปะลิงค์เว็บไซด์ลงบนเครื่องมือต่างๆ อาทิ บนหน้าแฟนเพจหรือ Twitter เพียงเท่านี้เว็บหลักของคุณก็จะมี Traffic เพิ่มมากขึ้น และเช่นกันคุณยังสามารถใช้เว็บไซต์หลักเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสร้างเครือข่ายของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มากขึ้นได้ด้วย

15 ร้านค้าบนเว็บไซด์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ใน ปัจจุบันมีร้านค้าหลายร้านที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดร้านค้าออ นไลน์ ในขณะที่บางร้านกลับไม่ประสบความสำเร็จทางด้านนี้เลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้นมีทั้งข้อดีที่เป็นข้อได้ เปรียบในเชิงธุรกิจและข้อเสียที่เป็นข้อควรระวัง ดังจะกล่าวถึงเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ ข้อดีของร้านค้าออนไลน์ 1. ต้นทุนต่ำ 1.1. ค่าเช่าพื้นที่จากเว็บโฮสติ้งบนอินเตอร์เน็ท ถูกกว่าการเช่าพื้นที่เพื่อเปิดเป็นร้านค้า 1.2. ร้านค้าออนไลน์ไม่ต้องมีคนเฝ้าหน้าร้าน สามารถนำเวลาไปทำอย่างอื่น และไม่ต้องเสียเงินจ้างคนเฝ้าร้าน 2. เพิ่มประสิทธิภาพ 2.1. ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ ไม่จำเป็นต้องสต๊อกสินค้าไว้เพื่อที่จะขาย ทำให้เงินลุงทุนไม่มาจมอยู่กับสินค้า 2.2. สามารถทำงาน ดูแลร้านได้จากทุกที่ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทได้ 2.3. ข้อมูลทางสถิติการเข้าเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ เช่นจำนวนคน หน้าที่เข้าชมบ่อย สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนการตลาดในอนาคตได้

16 ร้านค้าบนเว็บไซด์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
3. สร้างภาพลักษณ์ให้แบรนและองค์กร 3.1. การเปิดร้านค้าออนไลน์ช่วยสร้างภาพลักษณ์ในเชิงธุรกิจ ว่าเป็นองค์กรที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีสารเทศ 3.2. การตั้งชื่อโดเมน (ชื่อเว็บไซต์) ที่ดีจะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายกว่าเบอร์โทรศัพท์ 4. มีโอกาสได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น และสามารถให้บริการลูกค้าได้ในปริมาณมากขึ้น 4.1. ร้านค้าออนไลน์สามารถเปิดให้บริการได้ทุกเวลา ตลอดทั้ง 7 วัน 24 ชั่วโมง 4.2. สามารถรองรับลูกค้าได้จากทั่วโลก หากร้านค้ามีความพร้อมเพียงพอ 4.3. เปิดประตูธุรกิจสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ เช่นคนชรา คนพิการ ที่ไม่สะดวกเดินทางไปร้านค้า

17 ร้านค้าบนเว็บไซด์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
5. อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า 5.1. เพิ่มช่องทางในการสั่งซื้อสินค้า และการชำระเงิน 5.2. ส่งสินค้าถึงหน้าบ้าน ลูกค้าไม่ต้องเดินทางมารับสินค้าด้วยเอง 6. เพิ่มช่องทางการทำการตลาด 6.1. ทำการตลาดได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่นการฝากแบนเนอร์โฆษณาโทรศัพท์มือถือไว้บนเว็บพันทิปห้องมาบุญครอง ซึ่งคนที่เข้ามา ส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่มีความสนใจโทรศัพท์มือถือ หรือกำลังหาซื้อเครื่องใหม่อยู่ 6.2. สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายผู้บริโภค เช่นการตลาดใช้ Affiliate Marketing 7. ลดความเสี่ยง 7.1. ลดความเสี่ยงจากการถูกปล้น ถูกโจรกรรม 7.2. ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และอุบัติเหตุ กรณีที่เกิดความเสียหายกับเครื่องแม่ข่าย เรายังก็ยังมีโอกาสกู้ข้อมูลกลับมาได้ หากสำรองข้อมูลที่ดี

18 ร้านค้าบนเว็บไซด์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อเสียของร้านค้าออนไลน์ 1. มีการแข่นขันสูง 1.1. ต้นทุนต่ำ ทำให้ใครๆ ก็สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ ธุรกิจนี้จึงมี Barriers to Entry ต่ำ 1.2. ในอินเตอร์เน็ทมีร้านค้าออนไลน์หลายร้าน ยากที่ลูกค้าจะเลือกเข้าเว็บไซต์ร้านของเราเจอ 1.3. หากต้องการให้ร้านเป็นที่รู้จัก อาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์มาก 2. การเปิดร้านค้าออนไลน์นั้นง่าย แต่ทำให้ออกมาดีนั้นยาก 2.1. การออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ตกแต่ง ทำให้เว็บไซต์น่าสนใจต้องใช้ ทักษะ ความรู้ ความสามารถมาก 2.2. อาจมีค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชียวชาญพัฒนา และออกแบบระบบ 3. ลูกค้าบางคนไม่ซื้อ/ไม่กล้าซื้อ สินค้าบางอย่างจากร้านค้าออนไลน์ 3.1. สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงในระดับหนึ่ง ลูกค้าบางคนอาจจะต้องเห็น สัมผัสสินค้าจริง และทดลองใช้งาน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ แต่หากซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์ลูกค้าจะได้เห็นแค่รูปภาพของสินค้าเท่านั้น 3.2. ลูกค้าบางคนไม่เชื่อใจร้านค้าออนไลน์ กลัวว่าจะถูกโกง จ่ายเงินซื้อสินค้าแล้วไม่ได้ของที่ตัวเองซื้อ หรือได้สินค้าที่มีคุณภาพไม่ดี

19 ร้านค้าบนเว็บไซด์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
4. มีข้อจำกัด 4.1. สำหรับสินค้าที่จับต้องได้จริง จะต้องใช้ระยะเวลาในการส่ง ลูกค้าจำเป็นต้องรอ และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดส่ง ไม่ผู้ซื้อก็ผู้ขายที่ต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ 4.2. สินค้าบางอย่างขายบนร้านค้าออนไลน์ไม่ได้ เช่นอาหาร ของกิน ผักผลไม้ เพราะกว่าจะส่งถึงมือลูกค้า ก็อาจจะเน่าเสียแล้ว ลูกค้าเลือกที่จะซื้อตามร้านสะดวกซื้อมากกว่า 5. มีความเสียงทางด้านเทคโนโลยี 5.1. มีความเสี่ยงเกี่ยวกับความเสถียรของเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย ส่งผลกระทบต่อการใช้งานร้านค้าออนไลน์ เช่นเว็บไซต์ล่ม หรือโหลดข้อมูลช้า ถ้าหากเช่าโฮสติ้งที่มีราคาถูก หรือให้บริการฟรี อาจไม่ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 5.2. มีความเสี่ยงจากภัยคุกคามในรูปแบบอื่นๆ เช่นการติดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือการแฮกเกอร์เจาะระบบ นอกจากเครื่องแม่ข่ายจะได้รับความเสียหายแล้ว ยังอาจจะส่งผลกระทบกับเครื่องของลูกค้าด้วย

20 ร้านค้าบนเว็บไซด์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
6. มีความไม่ชัดเจนของมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6.1. ในประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานในการทำธุรกรรมที่ดี และยังขาดระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพ 6.2. ยังไม่มีมาตรฐานการาทำบัญชีที่ชัดเจน สำหรับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนที่ได้จากธุรกิจออนไลน์ 6.3. มีข้อกฎหมายบางอย่างที่ถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิด เช่นการเก็บบันทึกประวัติการเข้าใช้งาน (Log) ที่กล่าวใน พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 6.4. กฎหมายการค้าออนไลน์ยังไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ และยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐฯ อย่างแท้จริง

21 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์
มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.เลือกวิธีการสร้าง Website หลายต่อหลายคน คิดว่าการสร้าง Website ด้วยตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ยาก และเกินความสามารถของตน เพราะไม่มีความรู้ทางด้านนี้ ไม่เคยมีประสบการณ์การทำ Website มาก่อน หรือไม่มีคนรู้จักที่มีความรู้ความเข้าใจในการเขียน Websiteในปัจจุบัน โปรแกรมสำหรับเขียน Website แบบ Dreamweaver ทำให้คุณสร้าง Website ได้ด้วยการลากวางได้ง่าย ไม่ต่างจากการทำ PowerPoint เลยทีเดียว ทำให้การสร้าง Website เป็นอะไรที่ใครๆก็สามารถทำได้สวยงามอย่างมืออาชีพ

22 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์
2. คิดชื่อ Website การตั้งชื่อ Website ของคุณ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยในระยะสั้นนั้น หากชื่อ Website ของคุณง่ายต่อการจดจำของลูกค้า Website ของคุณก็ดูจะไปได้สวย และถูกบอกต่อปากต่อปากได้อย่างง่ายดายส่วนในระยะยาวนั้น ชื่อ จะบ่งบอกถึงความบุคลิก และตัวตนของ Website คุณ สิ่งที่คุณขายอาจจะโดนคนอื่นลอกเลียนแบบได้ คู่แข่งของคุณสามารถหาสินค้าที่คล้ายคลึงกับคุณมาขาย เพื่อแย่งลูกค้าของคุณได้

23 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์
3. จด Domain การจด Domain คือการจดชื่อ Website ของคุณอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะต้องเป็นชื่อที่ไม่ซ้ำกับคนอื่น คุณคงจะไม่สามารถใช้ชื่อ hotmail.com หรือ msn.com ที่ซ้ำกับที่มีอยู่แล้วไม่ได้ หรือถ้าตั้งแต่ hotmailja.com ก็อาจจะดูประหลาดและยากที่จะจดจำก็เป็นได้ หากคุณต้องการ Check ดูว่า ชื่อ Website ที่คุณต้องการจะตั้งนั้นมีคนใช้อยู่แล้วหรือไม่ รวมถึงการจด Domain สามารถใช้บริการได้ที่ godaddy.com, enom.com และ tucows.com หรือจะใช้บริการจาก Website ของไทยก็ได้ ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ หากชื่อ Website ที่คุณตั้งขึ้นมีคนใช้อยู่แล้ว แต่คุณต้องการใช้ชื่อนี้เป็นอย่างมาก ก็สามารถซื้อต่อนั้นๆ ต่อจากเจ้าของคนเก่าได้ในราคาตามที่กำหนดใน Website เช่นเดียวกัน

24 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์
4. เช่า Host การเช่า Host เปรียบได้เหมือนกับ การซื้อ Hard Disk Drive (HD) ซักลูกหนึ่ง ซึ่งคุณก็ต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่ HD จะเก็บได้ ถ้าคุณใช้งานน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ HD ที่มีความจุมาก แต่ถ้าใช้งานเยอะ เล่นเกม เก็บหนัง ตัดต่อรูป และใช้โปรแกรมที่เกี่ยวกับ Graphic เยอะๆ การซื้อ HD ที่มีความจุมากๆ ก็ดูจะเหมาะสม การเช่า Host ก็เช่นเดียวกัน ในระยะแรกของการสร้าง ร้านค้าออนไลน์ คุณก็อาจจะเช่า Host ที่มีราคาถูก พื้นที่น้อย แต่ความปลอดภัยอาจจะไม่สูงนัก เพราะมันคุ้มค่าสำหรับคุณ จะเป็น Web Hosting สัญชาติไทย หรือจะเป็นของต่างชาติก็ได้ เช่น Bluehost.com หรือ Hostgator.com เป็นต้น

25 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์
5. เขียน Content ลงใน Website ของคุณ คุณอาจจะคิดว่า Website ของคุณเป็น ร้านค้าออนไลน์ ที่ใช้ขายสินค้า ทำไมจะต้องมาเขียนเนื้อหาเหมือนกับการเขียน Blog ด้วย มันทั้งเสียเวลาและดูเหมือนไม่ได้ช่วยให้คุณสร้างรายได้ขึ้นมาอีกต่างหาก แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรความเป็นจริงนั้นอาจจะ ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณคิดเลยก็ได้ เนื้อหา หรือ Content ที่อยู่ใน Website ของคุณเป็นอีกหนึ่งใน จุดขายที่จะสร้างความแตกต่างให้กับ Website ของคุณ เช่น ถ้าคุณขายกระเป๋าหนัง มันคงจะดีถ้าคุณ แชร์ไอเดีย เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษา หรือทำความสะอาดกระเป๋าหนัง

26 แบบฝึกหัด จงยกตัวอย่างเว็บไซด์หรือร้านค้าออนไลน์ที่คุณประทับใจ มา 1 ร้าน จงบอกข้อดีของการเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์ จงบอกข้อเสียของการเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์ หัวใจสำคัญของการเปิดร้านค้าบนเว็บไซด์ คืออะไร ? Online PR มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับร้านค้าบนเว็บไซด์


ดาวน์โหลด ppt จัดทำโดย นายณัฐศุภญกร ตานาคา ปวส.2/5 การตลาด นางสาวสุพัตรา แจ่มมั่งคั่ง ปวส.2/5 การตลาด 0025553 นางสาวสุวนันท์ ธรรมจิตร ปวส.2/5 การตลาด นายอาทิตย์ ก้อนเงิน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google