ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ
(Introduction to Operating System)
2
ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน ระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์ของระบบปฏิบัติการ คือการจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการประมวลผลแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ ความสะดวกสบาย แก่ผู้ใช้และมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่าง มีประสิทธิภาพ
3
อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง
ระบบปฏิบัติการหรือ OS เป็นได้ทั้ง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์(Firmware) หรือผสมผสานกันก็ได้ เป้าหมายการทำงานของ OS คือสามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานของฮาร์ดแวร์
4
อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง
ซอฟแวร์ OS คือ OS ที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
5
อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง
ฮาร์ดแวร์ OS คือ OS ที่ถูกสร้างขึ้นจากอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์ของเครื่องด้วย มีหน้าที่เช่นเดียวกัน ข้อดี ในการสร้างฮาร์ดแวร์ OS ก็เพราะมันสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าซอฟต์แวร์ OS ข้อเสีย การปรับปรุงแก้ไข OS นั้นยุ่งยากอาจจะทำไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีราคาแพงอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงครั้งหนึ่ง นั่นหมายถึง การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ก็ว่าได้
6
อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง
เฟิร์มแวร์ OS คือ OS ที่เขียนขึ้นโดยใช้คำสั่งไมโคร ทำให้มีความเร็วสูงกว่าซอฟต์แวร์ OS แต่ยังช้ากว่า ฮาร์ดแวร์ OS การแก้ไขเฟิร์มแวร์ OS ค่อนข้างยากและค่าใช้จ่ายมาก แต่ยังถูกว่าการ เปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์ OS เฟิร์มแวร์ หมายถึง ส่วนโปรแกรมที่เก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเหล่านี้ เรียกว่า ไมโครโปรแกรม(Microprogram) แต่ละโปรแกรมประกอบขึ้นจากคำสั่งหลายๆ คำสั่ง คำสั่งเหล่านี้เรียกว่า คำสั่ง ไมโคร(Microinstruction) คำสั่งไมโครเป็นชุดคำสั่งในระดับที่ต่ำที่สุด ของระบบของคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของซีพียูในทุกๆขั้นตอน
7
อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง
ดังนั้น OS ทั่วไปจะถูกสร้างขึ้นเป็นซอฟต์แวร์ เนื่องจาก ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่มีได้ง่าย แต่ในบางส่วนของ OS ที่ถูกใช้งานบ่อยมากๆ ก็จะถูก สร้างโปรแกรมไว้ด้วยไมโครโปรแกรมเพื่อทำงานได้เร็วขึ้น ตัวอย่างของ Firmware เช่น BIOS
8
นิยามของระบบปฏิบัติการ
1.1 Resource allocator บริหารการจัดสรรทรัพยากร เช่น การ จัดการฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) หน่วยความจำ (Memory) เครื่องพิมพ์ (printer) ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ 1.2 Control program ควบคุมการเอ็กซีคิวส์ (Execute) โปรแกรม ของผู้ใช้ และการทำงานของอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล 1.3 Kernel (แก่นแท้) โปรแกรมที่ทำงานอยู่ตลอดเวลาบน คอมพิวเตอร์(ในระดับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง)
9
นิยามของระบบปฏิบัติการ
จากคำนิยามดังกล่าว พอสรุปได้ว่า ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เป็น ตัวเชื่อมหรือประสานงาน ระหว่างผู้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ ของเครื่อง ให้สามารถทำงานโดยสะดวก โดยที่ผู้ใช้ไม่ จำเป็นต้องรู้กลไกการทำงานของเครื่องก็สามารถที่จะใช้ งานคอมพิวเตอร์ได้
10
ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการคือส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าเราแบ่งส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนของเครื่อง ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้
11
ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
12
ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ส่วนของเครื่อง ประกอบด้วย CPU, หน่วยความจำ และ อุปกรณ์รับและแสดงผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ (ตัวแปลภาษา ระบบฐานข้อมูล,โปรแกรมทางธุรกิจ เป็นต้น) เป็นตัวกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาของผู้ใช้ ซึ่งอาจจะมีผู้ใช้ หลายคนใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ระบบปฏิบัติการจะต้องควบคุม และประสานงานระหว่างโปรแกรมประยุกต์ ของผู้ใช้เหล่านี้รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรให้อย่างเหมาะสม ดังนั้นเราจะกล่าวได้ว่า ระบบปฏิบัติการคือโปรแกรมโปรแกรมหนึ่งซึ่งทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้และจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ใช้ได้เหมาะสม
13
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User interface) ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องผ่านทางระบบปฏิบัติการได้ ซึ่งผู้ใช้จะพิมพ์คำสั่งหรือ เลือกสัญลักษณ์ตามที่ต้องการ เพื่อให้ระบบปฏิบัติการจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามต้องการเช่น การสั่ง copy แฟ้มข้อมูล นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถติดต่อกับ ระบบปฏิบัติการได้โดยผ่านทาง system call ซึ่งเป็นการเรียกใช้โปรแกรมย่อยต่าง ๆของระบบปฏิบัติการ
14
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์ เนื่องจากโปรแกรมของผู้ใช้จะต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายส่วน ซึ่งผู้ใช้อาจไม่จำเป็นต้อง มีความเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่อง ดังนี้ระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกัน
15
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ ทรัพยากร คือสิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมสามารถดำเนินไปได้ เช่น CPU หน่วยความจำ ดิสก์ เป็นต้น สาเหตุที่ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรคือ - ทรัพยากรของระบบมีจำกัด เราต้องจัดสรรให้โปรแกรมของผู้ใช้ทุกคนได้ใช้ทรัพยากร อย่างเหมาะสม - มีทรัพยากรอยู่หลายประเภท บางโปรแกรมอาจต้องการใช้ ทรัพยากรหลายอย่างพร้อมกัน ระบบปฏิบัติการจึงต้องมีการเตรียม ทรัพยากรต่าง ๆ ตามความต้องการของแต่ละโปรแกรม - ทรัพยากรหลักที่ระบบปฏิบัติการจัดสรรได้แก่ โปรเซสเซอร์ หน่วยความจำ อุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุต ข้อมูล
16
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
รุ่นที่ 0 (The Zeroth genaration) ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ (ค.ศ. 1940) ระบบคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ เช่น ENIAC นั้นยังไม่มีระบบปฏิบัติการ การสั่งงานจะ ทำด้วยมือทุก ขั้นตอน เริ่มแรกโปรแกรมเมอร์จะโหลดโปรแกรมจาก tape กระดาษ หรือบัตรเจาะรูเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง โดยการกดปุ่มจาก console จากนั้นก็ สั่งให้เริ่มทำงานโดยกดปุ่มเช่นกัน ในขณะที่โปรแกรมกำลังทำงานโปรแกรมเมอร์หรือ โอเปอร์เรเตอร์จะต้องคอยดูอยู่ตลอดเวลา หากเกิด error ขึ้น จะต้องหยุดการทำงาน และจำค่าของรีจิสเตอร์ และแก้ไขโปรแกรมโดยตรงจาก console output จะถูกบันทึก ลงใน tape กระดาษหรือบัตรเจาะรู
17
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
รุ่นที่ 1 (the first generation) ระบบประมวลผลแบบกลุ่ม (ค.ศ ) ก่อนที่จะเริ่มมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการขึ้นมา การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ต้องสูญเสียเวลามากในช่วงที่งาน (Job)หนึ่งเสร็จสิ้นลงและเริ่มต้นรันงานต่อไป ถ้าเรามีงานหลายๆ งานรอที่จะให้คอมพิวเตอร์รัน เราก็จะต้องเสียเวลาเป็นอันมาก และนอกจากนี้เราต้องทำงานเช่นนี้ซ้ำอยู่หลายครั้ง
18
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
รุ่นที่ 1 (the first generation) ระบบประมวลผลแบบกลุ่ม (ค.ศ ) ด้วยเหตุนี้ระบบปฏิบัติการจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานชิ้นนี้แทนมนุษย์ซึ่ง เรียกว่าเป็น ระบบประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing systems) นั่นคือ มีการรวบรวมงานของผู้ใช้เข้าเป็นกลุ่ม หรือเรียกว่า แบตซ์ (batch) แล้ว ส่งไปประมวลผลพร้อมกัน เมื่อโปรแกรมหนึ่ง ทำงานเสร็จ ระบบปฏิบัติการก็จะ ทำงานต่อไปเข้ามาประมวลผลต่อ แต่ก็จะมีปัญหางานที่ประมวลผล ในลำดับต้น ๆ เป็นงานที่ใช้เวลานาน งานที่อยู่ท้าย ๆ ต้องรอเป็นเวลานาน
19
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
รุ่นที่ 2 (the second generaiton) ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (ค.ศ. 1960) ในยุคนี้ OS สามารถที่จะทำงานในลักษณะมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming) และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบมัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง มีการเก็บโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมเข้าไว้ใน หน่วยความจำพร้อมกัน มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่นให้โปรแกรมผลัดเปลี่ยนกัน เข้าใช้ CPU ทีละโปรแกรมในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงทำให้หลาย ๆ โปรแกรมได้ ประมวลผลในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ยังมีปัญหาผู้ใช้ไม่สามารถนำโปรแกรมประยุกต์จากเครื่องที่ต่างกันมา ใช้ร่วมกันได้ เนื่องจากระบบปฏิบัติการของแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ผู้ใช้ จะต้องเสียเวลาในการเขียนโปรแกรมใหม่เมื่อเปลี่ยนเครื่อง
20
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
ระบบ real-time ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน ระบบ real-time คือระบบที่สามารถให้การตอบสนองจากระบบอย่างทันทีทันใดเมื่อรับอินพุตเข้าไปแล้ว ในทางอุดมคติ real-time คือระบบที่ไม่เสียเวลาในการประมวลผลหรือเวลาในการประมวลผลเป็นศูนย์ แต่ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้ได้ ทำได้แค่ลดเวลาการประมวลผลของเครื่องให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนมากจะนำไปใช้ในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม
21
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
รุ่นที่ 3 (the third generation) ระบบปฏิบัติการ เอนกประสงค์ (กลาง ค.ศ ถึงกลาง ค.ศ. 1970) OS ในยุคนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบในรุ่นเดียวกัน และใช้ได้กับงาน หลาย ๆ ประเภท ไม่ได้เจาะจง ลงไปที่ลักษณะงานใดงานหนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุผลทางการค้า ผู้เขียนโปรแกรม OS ต้องการยอดขายให้ได้มาก จึงเขียน OS ให้ใคร ก็ได้สามารถใช้ OS ของเขาได้ และใช้กับงานหลายประเภทได้ ส่งผล ให้ OS มีขนาดใหญ่ ทำงานช้าลงและแพงขึ้น
22
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
รุ่นที่ 4 (the forth generation) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (กลาง ค.ศ ถึงปัจจุบัน) เทคนิคการเขียนโปรกรม OS ในรุ่นที่ 3 เริ่มถึงจุดอิ่มตัว ในยุคนี้ OS จึงถูกพัฒนาให้มีความสามารถในงานพิเศษอื่นๆ เพิ่มขึ้น ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) ระบบนี้ผู้ใช้สามารถใช้ งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยผ่านทาง เทอร์มินอลชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายและกระจาย ไปตามจุดต่าง ๆ เช่นภายในอาคารสำนักงานภายในจังหวัด และทั่ว โลก ซึ่งทำให้สามารถใช้สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องคำนึงถึง ระยะทาง และชนิดของคอมพิวเตอร์
23
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
แนวคิดเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (virtual machine) เริ่มนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน หมายถึง การแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามีอยู่ให้กลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากเกี่ยวกับรายละเอียดทางด้านฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกต่อไป ผู้ใช้สามารถสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนได้โดยการใช้ OS ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนจะมี OS อีกตัวหนึ่งติดต่อกับผู้ใช้ และทำงานอยู่บน OS ของเครื่อง ซึ่ง OS ตัวที่ 2 นี้จะเป็น OS ที่ถูกสร้างขึ้นให้เหมือนกับ OS ของเครื่องอื่นที่เราต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของเราเป็น ดังนั้นคอมพิวเตอร์และ OS ตัวแรกจะเปรียบเสมือนเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ในสายตาของผู้ใช้
24
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
การทำงานระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน(virtual machine)
25
สรุประบบต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
26
ระบบที่ไม่มีระบบปฏิบัติการ (Non operating system)
ยุคแรก ๆ คอมพิวเตอร์มีแต่เครื่องเปล่า ๆ ผู้ใช้ต้องเขียน โปรแกรมสั่งงาน ตรวจสอบการทำงาน ป้อนข้อมูล และ ควบคุมเอง ทำให้ระยะแรกใช้กันอยู่ในวงจำกัด
27
2. ระบบงานแบ็ตซ์ (Batch system)
ในอดีต คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ครั้งละ 1 งาน การสั่งงาน คอมพิวเตอร์ให้มีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำได้โดยการรวมงาน ที่คล้ายกัน เป็นกลุ่ม แล้วส่งให้เครื่อง ประมวลผล โดยผู้ทำ หน้าที่รวมงาน จะรับงานจากนักพัฒนาโปรแกรม มาจัดเรียง ตามความสำคัญ และตามลักษณะของโปรแกรม จัดเป็นกลุ่ม งาน แล้วส่งให้ คอมพิวเตอร์ประมวลผล
28
3. ระบบบัฟเฟอร์ (Buffering system)
29
4. ระบบสพูลลิ่ง (Spooling)
Simultaneous Peripheral Operating On-Line เป็น multiprogramming พื้นฐาน ทำให้ซีพียูทำงานเต็มประสิทธิภาพ เพราะทำให้สามารถทำงานได้ 2 งานพร้อมกัน งานแรกคือประมวลผลในส่วนของซีพียู งานที่สองคือการรับ-แสดงผลข้อมูล ซึ่งต่าง กับ buffer ที่ซีพียู และหน่วยรับ-แสดงผลทำงานร่วมกัน และ spooling มี job pool ทำให้สามารถเลือกการประมวลผลตามลำดับก่อนหลังได้ โดยคำนึงถึง priority เป็น สำคัญ
30
5. ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)
การทำงานที่โหลดโปรแกรมไปไว้ในหน่วยความจำหลัก และ พร้อมที่จะประมวลผลได้ทันที ระบบปฏิบัติการจะเลือกงานเข้า ไปประมวลผลจนกว่าจะหยุดคอยงานบางอย่าง ในช่วงที่หยุด รอจะดึงงานเข้าไปประมวลผลต่อทันที ทำให้มีการใช้ซีพียูได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติการ งานที่ 1 งานที่ 2 งานที่ 3 ...
31
6. ระบบแบ่งเวลา (Time-sharing หรือ Multitasking)
เป็นการขยายระบบ multiprogramming ทำให้สามารถ สับเปลี่ยนงานของคนหลาย ๆ คนเข้าสู่ซีพียู ซึ่งการสับเปลี่ยนที่ ทำด้วยความเร็วสูงจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือน ครอบครองซีพียูอยู่ เพียงผู้เดียว
32
7. ระบบเรียลไทม์ (Real-time system)
จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของ ระบบปฏิบัติการ คือ ระบบเวลาจริง(Real-time system) หมายถึงการตอบสนองทันที เช่นระบบ Sensor ที่ส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ระบบภาพทางการแพทย์ ระบบควบคุมในโรงงาน อุตสาหกรรม ระบบหัวฉีดในรถยนต์ ระบบควบคุมการยิง ระบบแขนกล และ เครื่องใช้ในครัวเรือนทั้งหมด Real-time แบ่งได้ 2 ระบบ 1. Hard real-time system เป็นระบบที่ถูกรับรองว่าจะได้รับการตอบสนองตรงเวลา และหยุดรอ ไม่ได้ 2. Soft real-time system เป็นระบบ less restrictive type ที่สามารถรอให้งานอื่นทำให้เสร็จ ก่อนได้
33
8. ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer System)
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ราคาถูกลง มีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้ง แป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เป็นต้น และการใช้ คอมพิวเตอร์ ไม่ได้มุ่งเน้นด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่นำไปใช้เพื่อความบันเทิงใน บ้านมากขึ้น และกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กร นอกจากคอมพิวเตอร์แบบตั้ง โต๊ะ(Desktop) ยังมีคอมพิวเตอร์แบบสมุดโน๊ต(Notebook) และคอมพิวเตอร์มือถือ (PDA) ปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือที่ทำงานแบบคอมพิวเตอร์ และใช้ดูหนังฟังเพลง หรือ ประมวลผล ต่าง ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้น ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะยิ่งขึ้น
34
9. ระบบเวอร์ชวลแมชีน (Virtual machine)
35
10. ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multiprocessor system)
Symmetric-multiprocessing การประมวลผลแบบสมมาตร หมายถึงการประมวลผลหลายโปรเซสเซอร์ที่ไม่มีโปรเซสเซอร์ ตัวใดรับโหลดมากกว่าตัวอื่น Asymmetric-multiprocessing การประมวลผลแบบไม่ สมมาตร หมายถึงการมีโปรเซสเซอร์ตัวหนึ่งเป็นตัวควบคุม และ แบ่งงานแต่ละแบบให้โปรเซสเซอร์แต่ละตัวตามความเหมาะสม
36
11. ระบบแบบกระจาย (Distributed system)
ระบบเครือข่าย ที่กระจายหน้าที่ กระจายการเป็นศูนย์บริการ และเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กัน ใน มาตรฐาน TCP/IP ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้ง Windows, Linux, Unix และ Mac ทำให้ทั้งหมดสามารถสื่อสารกันรู้เรื่องเข้าใจ และ ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
37
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
1. Single-Tasking เป็นระบบปฏิบัติการที่ยอมให้มีผู้ใช้เพียงคนเดียว และทำงานได้เพียงอย่าง เดียวในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง เช่นในขณะที่ทำการแปลโปรแกรม ก็ไม่สามารถ เรียกใช้ Editor ได้ การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการจะไม่ซับซ้อน นัก ไม่ว่าจะเป็นการจัดการอุปกรณ์รับ และแสดงผล การจัดการหน่วยความจำ การ จัดการดิสก์ ตัวอย่างเช่น - อ่านและแปลค่าจากการกดแป้นพิมพ์ - ส่งข้อมูลไปบันทึกในดิสก์ หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ - จัดการที่ว่างบนดิสก์ - แยกเก็บโปรแกรม คอมพิวเตอร์ editor และโปรแกรมระบบปฏิบัติการใน หน่วยความจำ ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการแบบนี้ได้แก่ MS DOS
38
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
Single-Tasking
39
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
2. Multitasking (Single-User) เป็นระบบปฏิบัติการที่ยอมให้มีผู้ใช้เพียงคนเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ สามารถทำงานได้หลายอย่าง ในเวลาเดียวกัน เช่นสามารถที่จะใช้ editor ไป พร้อม ๆ กับพิมพ์งานอื่นทางเครื่องพิมพ์ได้ระบบปฏิบัติการจะสลับการใช้งาน ระหว่าง CPU และทรัพยากรอื่น ๆ อย่างรวดเร็วจนผู้ใช้ไม่รู้สึกว่าถูกขัดจังหวะการ ทำงาน เนื่องจากมีการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน การทำงานของ ระบบปฏิบัติการจะซับซ้อนขึ้น เช่นการจัดการหน่วยความจำ จะต้องมีโปรแกรม หลายโปรแกรมเก็บอยู่ในหน่วยความจำในเวลาเดียวกัน ระบบปฏิบัติการจะต้อง ไม่ให้โปรแกรมเหล่านั้นก้าวก่ายกัน ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดลำดับ หรือเลือกงาน เพื่อเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ และใช้เป็นเวลานานเท่าใด ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ แบบนี้ได้แก่ Windows 95, UNIX, OS/2, VMS
40
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
ระบบ multitasking
41
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
3. Multi-user systems บางครั้งเรียกระบบ multiprogramming เป็นระบบที่มีความซับซ้อนกว่าระบบ Single user หลักการของระบบนี้ก็คือ - การให้มีโปรแกรมอยู่ในหน่วยความจำพร้อมที่จะถูกประมวลผลได้หลาย ๆ โปรแกรม ระบบปฏิบัติการจะเลือกโปรแกรมมา 1 โปรแกรมให้ CPU ทำการ ประมวลผล ไปเรื่อย ๆ เมื่อโปรแกรมนั้นต้องติดต่อกับอุปกรณ์รับและแสดงผล ระบบปฏิบัติการก็จะเลือกโปรแกรมอื่นเข้ามาใช้ CPU แทน ระบบปฏิบัติการเลือก โปรแกรมให้แก่ CPU เรื่อย ๆ จนกว่าแต่ละโปรแกรมจะเสร็จสิ้นไปการที่จะทำงาน หลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กัน ระบบปฏิบัติการต้องคอยควบคุม และจัดสรร ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้แต่โปรแกรม เช่นจัดสรรเนื้อที่ใน หน่วยความจำหลัก สับหลีกโปรแกรมที่จะเข้าใช้ CPU รวมถึงการจัดอุปกรณ์รับ และแสดงผล ไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน
42
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
ระบบ Multiuser
43
ชนิดของระบบปฏิบัติการ
การทำงานในลักษณะ multiuser ยังแบ่งเป็นการทำงานแบบ Time sharing คือการ แบ่งช่วงเวลา การเข้าใช้ CPU ให้แต่ละโปรแกรมเป็นช่วงสั้น ๆ ผลัดเปลี่ยนเวียนให้หลายงานได้มี โอกาสเข้า CPU ผู้ใช้แต่ละคนจะมีความรู้สึกว่าตนได้เป็นผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์แต่เพียงผู้เดียว ตัวอย่าง ระบบปฏิบัติการแบบนี้ได้แก่ UNIX, VMS
44
โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ (Operating system structure)
1 ส่วนประกอบของระบบ (System Component) การจัดการโปรเซส (Process Management) การจัดการหน่วยความจำ (Memory Management) การจัดการไฟล์ (File Management) การจัดการอินพุต / เอาต์พุต (I/O System Management) การจัดการสื่อจัดเก็บ (Storage Management) เครือข่าย (Network) ระบบป้องกัน (Protection System) ระบบตัวแปลคำสั่ง (Command-Interpreter System)
45
2 บริการของระบบปฏิบัติการ (Operating System Services)
โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ (Operating system structure) 2 บริการของระบบปฏิบัติการ (Operating System Services) การเอ็กซีคิวต์โปรแกรม การปฏิบัติกับอินพุต/เอาต์พุต การจัดการระบบไฟล์ การติดต่อสื่อสาร การตรวจจับข้อผิดพลาด การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
46
โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ (Operating system structure)
3 System Call เป็นส่วนที่จัดไว้ให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้อย่างสะดวกโดยไม่จำเป็นต้องรู้กลไกมากมาย การควบคุมโปรเซส (Process Management) การจัดการกับไฟล์ (File Management) การจัดการอุปกรณ์ (Device Management) การบำรุงรักษาข้อมูล (Data Maintainant) การติดต่อสื่อสาร (Communication)
47
รายชื่อของระบบปฏิบัติการ
Operating System รายชื่อของระบบปฏิบัติการ Solaris IRIX Darwin HPUX UNICOS MINIX AIX Chrome OS IOS ThaiOS Suriyan OS/2 RISC OS BeOS Amiga Plan9 NetWare MorphOS Zaurus VMS EPOC CP/M MP/M TRS-DOS ProDOS DOS Microsoft Windows Linux Unix Mac OS FreeBSD
48
DOS (Disk Operating System)
49
DOS (Disk Operating System)
- ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็น ระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องPC - ตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจาก แผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา ก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็นผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นําไปปฏิบัติ - การทํางานเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:>) เป็น ระบบเก่าแก่ และปัจจุบันก็ใช้กันน้อยมาก
50
Operating System Windows 1.0 Windows 1.0 เป็น OS แบบ 16 bit ที่มี GUI ตัวแรกของ Microsoft โดยออกวางขายใน วันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 วางขายในรูปแบบของ Floppy Disk โดยผู้ใช้ต้องลง DOS ก่อน แล้วถึงลง Windows 1.0 ตามอีกที สามารถรันโปรแกรมของ DOS แบบ Multitasking ได้โดยมีข้อจำกัดบางอย่าง ต้องการ Ram ขั้นต่ำ 384 KB (แนะนำ 512 KB) Windows 1.0 มี Shell ชื่อ MS-DOS Executive โปรแกรมที่มาพร้อมกับ OS ก็มี พวก Calculator, Calendar, Cardfile, Clipboard viewer, Clock, Control Panel, Notepad, Paint,Reversi, Terminal, และ Write
51
Operating System Windows 1.0
52
Operating System Windows 2.0 Windows 2.0 ก็ยังเป็น 16 bit อยู่ ออกมาในปี 1988 แถมมากับคอมพิวเตอร์ของ AT&T ในฐานะของโปรแกรมทดสอบสำหรับสถานศึกษา Windows 2.0 เริ่มมีระบบ Plug&Play แล้ว สิ่งที่พัฒนาจาก Windows 1.0 คือสามารถลาก Application ที่รันอยู่ ไปวางซ้อนกันได้ มี Keyboard Shortcut และมีปุ่ม Minimize/Maximize หน้าต่าง
53
Operating System Windows 2.0
54
Operating System Windows 3.0 Windows 3.0 ออกมาในวันที่ 22 พฤษภาคม 1990 เป็น Windows รุ่นแรกที่ประสบ ความสำเร็จอย่างกว้างขวาง และสามารถฟาดฟันกับ OS เจ้าถิ่นในสมัยนั้นอย่าง Apple Macintosh ได้ Windows 3.0 มี Protected/Enhanced mode เพื่อให้ Applicaton ของ Windows สามารถใช้ Memory เยอะได้ได้มากกว่าที่ DOS จัดมาให้ (ยังรันบน DOS อยู่)
55
Operating System Windows 3.0
56
Operating System Windows 3.1X เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้ กัน (ผมก็เคยใช้นะตัวนี้) Windows 3.1X ออกมาสานต่อ ความสำเร็จของ Windows 3.0 โดยออกมาในเดือนมีนาคม 1992 Windows 3.1X ออกแบบมาโดยใช้โทนสีชื่อ Hotdog Sand ซึ่งประกอบด้วยสีหลักๆ คือ แดง เหลือง ดำ เพื่อช่วยให้คนที่ตาบอดสีในระดับหนึ่งสามารถมองตัวอักษร,ภาพ ได้สะดวกขึ้น Windows for Workgroups 3.1 ออกมาในเดือนตุลาคม 1992 โดยเพิ่มเติมในส่วนของ การสนับสนุนระบบเครือข่าย
57
Operating System Windows 3.1X
58
Operating System Windows 3.11 NT Windows 3.11 NT เป็น Windows ตัวแรกของสาย NT โดยเน้นในทาง Server กับทาง ธุรกิจ ออกมาในวันที่ 27 กรกฎาคม 1993 โดยมีออกมาด้วยกัน 2 รุ่นคือ Windows NT 3.1 กับ Windows NT Advanced Server ซึ่ง Windows 3.11 NT นี้มีระบบความ ปลอดภัยในการรัน Application ที่เข้มงวดขึ้น โปรแกรมไหนที่ติดต่อกับ Hardware โดยตรง หรือยังใช้ Driver ของระดับ DOS อยู่ จะไม่อนุญาตให้รัน ทำให้ระบบมีความ เสถียรขึ้นกว่าเดิมมาก นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม Win32 ซึ่งเป็น API แบบ 32 bit
59
Operating System Windows 3.11 NT
60
Operating System Windows 95 เป็น OS ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของ Microsoft ออกมาในวันที่ 24 สิงหาคม เริ่มแยกตัวออกจาก DOS แล้ว (ยังมีหลงเหลือการใช้งาน Code บางส่วนจาก DOS อยู่) โดย Microsoft ได้ออก MS-DOS 7.0 ซึ่งเป็น DOS รุ่นปรับปรุงความสามารถ เพื่อให้รองรับ Windows ใน Windows 95 นี้มีการปรับปรุง User Interface เป็นแบบ ใหม่ โดยแทบจะไม่เหลือสิ่งเดิมๆ ที่เคยมาจาก Windows รุ่นก่อนๆ ซึ่งสิ่งใหม่ๆ ที่เพิ่ม เข้ามาก็ได้แก่ Taskbar, Start button ,Start menu, และมี Windows Explorer เอาไว้ จัดการไฟล์ Windows 95 รองรับการตั้งชื่อไฟล์ได้สูงสุด 255 ตัวอักษร รวมนามสกุล (ใน Windows รุ่นก่อนๆ ตั้งชื่อไฟล์ในระบบ 8.3 คือชื่อไฟล์ 8 ตัว นามสกุลอีก 3 ตัว ซึ่งเป็นข้อจำกัดมาจาก DOS) มีการทำงานแบบ 32 bit Multitasking
61
Operating System Windows 95
62
Operating System Windows 98 ออกมาในวันที่ 24 มิถุนายน 1998 เอา Interface แบบ Web มายัดใส่ใน Windows และ ยัดเยียด Internet Explorer 4 มาให้พร้อม โดยตอนแรกกะจะให้มาแทน Windows 95 แต่ไปๆ มาๆ Windows 98 รุ่นแรกกลับมีปัญหามาก การใช้งานก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ แถมตอนงานเปิดตัวก็ดันไปขึ้นจอฟ้าโชว์สาธาณชนอีกต่างหาก งานนี้เลยต้องออก Windows 98 SE (Second Edition) ออกมาแก้ตัวในวันที่ 5 พฤษภาคม 1999 โดยแก้ บั๊ก และปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มเติมการรองรับ USB และอัพเกรด IE เป็นรุ่น 5.0
63
Operating System Windows 98
64
Operating System Windows 2000 Windows 2000 พัฒนาจาก Windows NT 4 ตอนแรกใช้ชื่อ Windows NT 5 แต่ด้วย กระแสปี 2000 ก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 2000 โดยวางเป้าหมายไว้ที่กลุ่มผู้ใช้ ด้วนธุรกิจ,Notebook,และ Server โดยออกวางขายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2000 มี ออกมาทั้งหมด 4 รุ่น คือ Professional, Server, Advanced Server, และ Datacenter Server และในปี 2001 ก็ออก Windows 2000 Advanced Server Limited Edition และ Windows 2000 Datacenter Server Limited Edition เพื่อมารันบน CPU Intel Itanium ซึ่งเป็น CPU 64-bit โดย Microsoft ตั้งความหวังให้ Windows 2000 เป็น Windows ที่ มีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพมากที่สุด แต่มันกลับตกเป็นเป้าหมายของไวรัสตัว แรงๆ โดยเฉพาะ Nimda กับ Code Red
65
Operating System Windows 2000
66
Windows Millennium Edition (ME)
Operating System Windows Millennium Edition (ME) พัฒนามาจากสาย Windows 9x โดยตั้งชื่อเกาะกระแสปี 2000 อีกตามเคย เป็น OS ลูกผสม 16-bit/32-bit ออกวางขาย 14 กันยายน 2000 โดยมาพร้อมกับ Internet Explorer 5.5, Windows Media Player 7, และ Windows Movie Maker (มี System Restore ด้วย) โดยปรับปรุง User Interface ให้ดูคล้ายๆ Windows 2000 ซึ่งผลตอบรับ ของ Windows ME คือถูกด่าแหลกราญ ทั้งเรื่องบั๊กมากมายมหาศาล และการที่มัน แทบจะไม่มีอะไรเพิ่มเติมจาก Windows 98 SE เลย นอกจาก Interface กับโปรแกรม ใหม่ๆ (ซึ่งตอนนั้น IE 5.5 กับ WMP7 ก็ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ จากเว็บ Microsoft) แถม กระแส Millenium ก็ใกล้จะหายแล้ว (มันออกมาขายช่วงท้ายปี) คนก็เลยไม่รู้ว่ามัน จะออกมาทำเพื่ออะไร
67
Windows Millennium Edition (ME)
Operating System Windows Millennium Edition (ME)
68
Operating System Windows XP เป็นการรวมสายการพัฒนาของ Windows 9x กับ NT เข้าด้วยกัน ออกวางขาย วันที่ 25 ตุลาคม 2001 ถ้านับตั้งแต่วันที่วางขายถึงตอนเดือนมกราคมปี 2006 ก็ ขายได้มากกว่า 400 ล้านชุดแล้ว (ไม่รวมของเถื่อนอีก) ได้รับความนิยมสูงมาก และครองตลาดอยู่นานมากๆ จนเรียกได้ว่า OS ของคอมส่วนใหญ่ในโลกนี้เป็น Windows XP โดย Windows XP นั้นเน้นการใช้งานส่วนบุคคล ชื่อ XP มาจากคำ ว่า Experience ซึ่งหมายถึง ประสปการณ์ โดย Microsoft บอกว่า ผู้ใช้จะได้รับ ประสบการณ์ใหม่ๆ จากการใช้ Windows XP ซึ่งคำพูดนี้เป็นจริงแค่ไหน เราทุกคน คงรู้กันดี Windows XP ออกมาแทนที่ Windows 2000 กับ Windows ME ได้ สมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งตอนแรกๆ ก็มีคำตำหนิเรื่องการทำงานอยู่บ้าง แต่ หลังจากออก Service Pack 2 ในปี 2004 ที่เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย เข้ามา มันก็กลายเป็น OS ที่ครองตลาด PC ไปเลย
69
Operating System Windows XP Windows XP มีออกมา 2 รุ่น คือ Windows XP Home กับ Windows XP Professional และมี Windows XP Media Center ตามออกมาทีหลังโดยเน้นความ บันเทิงเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงของ Windows XP ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็เป็นเรื่องของ User Interface โดยเปลี่ยนจากแบบเหลี่ยมๆ เทาๆ มันเป็นแบบหน้ามน มีสีสันสดใส รวมทั้ง Icon ต่างๆ ก็ถูกเปลี่ยนใหม่ แสดงสีสันได้มากขึ้น มาพร้อมกับ Internet Explorer 6 ที่ไม่ มีวันตาย Windows Media Player 8 (อัพเป็น 9 ใน SP2)
70
Operating System Windows XP
71
Operating System Windows Vista แต่เดิมใช้ชื่อว่า Longhorn มีการพัฒนาอย่างยาวนาน จนใน ที่สุดก็ออกมาวางขายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2006 พร้อมกับ เสียงก่นด่านับไม่ถ้วน ตั้งแต่เรื่องกินสเปค ทำงานช้า Error บ่อย ไม่ Support โปรแกรมเก่าๆ ฯลฯ ถึงแม้จะมีการออก Service Pack มาแก้ปัญหาถึง 2 ตัว จนมันทำงานได้ดีแล้ว แต่ชื่อ Windows Vista ก็จะถูกจดจำไปอีกนานในฐานะ Windows ที่ ล้มเหลวที่สุดของ Microsoft
72
Operating System Windows Vista Windows Vista พัฒนาจาก XP ไปเยอะมาก ทั้งเรื่องระบบ ความปลอดภัย มีการใส่ User Account Control เข้ามา เพื่อ สร้างความปลอดภัย+รำคาญให้กับผู้ใช้ Windows Aero ขอบ หน้าต่างใสๆ ปรับปรุง+เพิ่มโปรแกรมด้าน Multimedia เช่น Windows Media Player 10,Windows DVD Maker ปรับปรุง ระบบ API ใส่ .NET 3.0 มาให้ด้วยเลย และด้าน Network ก็มา พร้อมกับ Internet Explorer 7 ที่ไม่มีใครอยากใช้
73
Operating System Windows Vista
74
Operating System Windows 7 จากความล้มเหลวใน Vista ทำให้ Microsoft แก้ตัวใหม่ โดยรื้อระบบใหม่เยอะมากๆ ปรับปรุงด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้ดีขึ้นไปอีก กินแรมน้อยลงกว่า Vista มาก สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของ Windows 7 คือ Taskbar แบบใหม่ ที่ เรียกว่า Superbar นอกนั้นก็เป็นการเพิ่มความสามารถใหม่เข้ามา รวมถึงปรับปรุง โปรแกรมเก่าๆ ที่อยู่คู่กับ Windows มาช้านาน เช่น Paint,Wordpad,Calculator โดย Windows 7 ได้รับคำชมจากผู้ใช้มา ตั้งแต่ออกตัว Beta มาแล้ว และหลังจากออกตัว RC 1 มาให้ใช้กันฟรี ๆ ถึง 1 ปี Windows 7 ก็ประสบความสำเร็จตั้งแต่วันแรกที่ ออกวางจำหน่ายในวันที่ 29 ตุลาคม 2009 โดยคาดว่าในอีกไม่นาน Windows 7 จะ มาเป็น OS หลักสำหรับ PC แทนที่ Windows XP ที่จะมีอายุครบ 10 ปี ในปีหน้า
75
Operating System Windows 7
76
Operating System Windows NT Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Microsoft Windows บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล ที่ได้รับการออกแบบสำหรับผู้ใช้และธุรกิจของระบบ ที่มีความสามารถ ระดับสูง Windows NT แบ่งได้ 2 ระดับ คือ Windows NT Workstation และ Windows NT Server Workstation ได้รับการออกแบบให้ใช้กับผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในหน่วยธุรกิจ ซึ่งต้องการมีความเร็วและระบบที่เสียหายน้อย และ Windows 98 Server มีความสามารถในการประยุกต์กับ Internet Server เช่น Microsoft Internet information Server (IIS) สำหรับระบบ Windows ที่วางแผนที่จะใช้ เว็บเพจ
77
Operating System Windows NT - Windows NT Workstation เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิต ที่มีความเร็วมากกว่า Windows95 20% ตั้งแต่ระบบ 16 บิต การจัดพื้นที่การทำงานจะให้โปรแกรมใช้ พื้นที่ที่แยกจากกัน เมื่อมีโปรแกรมหนึ่งเสียหาย จะไม่มีผลต่อโปรแกรมอื่นหรือ ระบบปฏิบัติการ ในส่วนระบบความปลอดภัยและการบริหารการอินเตอร์เฟซ ของ Work Station เหมือนกับ Windows 95 - Windows NT Server เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากในระบบเครือข่าย Microsoft กล่าวว่า NT Server เริ่มที่จะเข้าไปแทนที่ Netware และระบบ Unix ต่าง ๆ เช่น Sun Microsystems และ Hewlet-Packard สำหรับ NT server 5.0 จะใช้ชื่อใหม่ว่า Windows2000
78
Operating System Windows NT ส่วนสำคัญของ Windows 2000 คือ การเจาะจงการบริหารอย่างเดิม ตามประเภทงาน นอกเหนือจากไฟล์ โปรแกรม และ Users - วิธีการใหม่ของ file directory เรียกว่า Active Directory ที่ให้ผู้บริหารระบบและผู้ใช้งาน สามารถดูไฟล์และโปรแกรมในระบบเครือข่าย ผ่านการดูที่จุดเดียว - Dynamic Domain Name Server (DNS) จะทำการ replicate การเปลี่ยนแปลงในระบบ เครือข่าย โดยใช้ Active Directory Service, Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) และ Windows Internet Naming Service (DVINS) ถ้าลูกข่ายต้องการการคอนฟิกใหม่ - สามารถสร้าง ขยาย และ Mirror ขนาดของดิสก์ โดยไม่ต้องปิดระบบและทำการสำรองข้อมูล ด้วยอุปกรณ์การเก็บได้หลายประเภท เช่น Magnetic หรือ Optical Storage media - Distributed File System (DFS) ให้ผู้ใช้มองเห็นกลุ่มการกระจายของไฟล์ในโครงสร้างไฟล์เดียว ข้ามแผนก ฝ่าย และหน่วยธุรกิจ - สนับสนุนและร่วมกับ Microsoft's Message Queue Server, Transaction Server, และ Internet information Server (IIS)
79
Operating System ระบบปฏิบัติการ UNIX เป็นระบบปฏิบัติการเก่าแก่ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยบริษัทเอทีแอนด์ที (AT&T หรือ American Telephone & Telegraph) เพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยแรกเริ่มจะถูก ใช้เพื่องานวิจัยหรือเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในทาง ธุรกิจและเป็นที่นิยมแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้ใช้หลายคน(Multi-User) และสนับสนุนการทำงานแบบหลายงาน (Multi-task) ที่เปิดโอกาสผู้ใช้สามารถรันงานได้มากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน และเนื่องจากเป็น ระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาซี ไม่ใช่แอสเซมบลี ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติที่เด่น กว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ คือ การไม่ยึดติดอยู่กับฮาร์ดแวร์ (Hardware independent) ดังนั้นจึงสามารถใช้งานยูนิกซ์ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทุกแบบทุก ประเภทตั้งแต่ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ไปจนถึงเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และนอกจากนี้ยังมี การเพิ่มเติมความสามารถทางด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ เครือข่ายอีกด้วย
80
Operating System ระบบปฏิบัติการ UNIX หลายบริษัทได้หันมาสนใจยูนิกซ์ AT&T จึงได้ออกใบอนุญาตให้กับบริษัทผู้ผลิต มินิคอมพิวเตอร์และเครื่องเวอร์กสเต ชันทั้งหลาย เป็นผลให้ยูนิกซ์ได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขและถูกขายให้กับบริษัทอื่น ๆ อีกหลายบริษัท ซึ่งก็ได้มีการพัฒนา ยูนิกซ์เวอร์ชันใหม่ ๆ ออกมามากมาย ตัวอย่างเช่น ยูนิกซ์เวอร์ชัน AIX จากบริษัท ไอบีเอ็ม Solaris จากบริษัทซันไมโครซิสเต็ม NextStep จากบริษัท Next หรือ Motif จากบริษัทไอบีเอ็ม ดิจิตัลอีควิบเมนท์ และฮิวเลทท์แพ็คการ์ด (Hewlett-Packard) ที่ร่วมกันพัฒนา Motif ขึ้นมา หรือแม้แต่ในปัจจุบันที่มีกลุ่มผู้คนจากทั่วโลกได้ ร่วมกันพัฒนายูนิกซ์ เวอร์ชันสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ไลนักซ์หรือลี นุกซ์ (Linux) ออกมา ซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนความเห็นกันบนอินเตอร์เน็ตที่ ต้องการจะพัฒนา ยูนิกซ์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ เครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายกว่าการใช้ยูนิกซ์สำหรับ เครื่องขนาดใหญ่
81
Operating System Linux ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ใน ความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็น ศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะ ซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคน สามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์ นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์ สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน
82
Operating System Linux การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง เซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลิ นุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภท ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยม ใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่ง พัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย
83
Operating System MAX OS แมคโอเอส (Mac OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยทั้งคู่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์. แมคโอเอสเป็น ระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) รายแรกที่ประสบ ความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ รุ่นแรกๆ ของระบบปฏิบัติการนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อแมคโอเอส, อันที่จริงระบบปฏิบัติการนี้ใน รุ่นแรกๆ ยังไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำ ทีมพัฒนาแมคโอเอสประกอบด้วย บิลล์ แอตคินสัน, เจฟ รัสกิน, แอนดี เฮิตซ์เฟลด์ และคนอื่นๆ แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับสองรองจาก วินโดวส์
84
Operating System Solaris โซลาริส (อังกฤษ: Solaris) หรือในชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment เป็น ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ระบบปฏิบัติการโซลาริส ใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สองแบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริสนั้น ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ ตระกูลบีเอสดี. แต่ต่อมาในรุ่นที่ 5 ได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาริส ดังเช่นในปัจจุบัน, โดยเรียกโซลาริสรุ่นแรกว่า โซลา ริส 2 และเปลี่ยนชื่อเรียกของซันโอเอสรุ่นก่อน ๆ เป็น โซลาริส 1.x, และหลังจากโซลาริส รุ่น 2.6 ก็ได้ตัด "2." ข้างหน้าออกไป และเรียกเป็น โซลาริส 7 แทน รุ่นปัจจุบัน (ก.ค. 2548) ของโซลาริสคือ โซลาริส 10
85
ไบออส (BIOS - Basic Input Output System)
Operating System ไบออส (BIOS - Basic Input Output System) กลุ่มคำสั่งที่บรรจุอยู่ในส่วนของหน่วยความจำ ROM ตัวโปรแกรมคำสั่งที่เก็บไว้จะอยู่ได้อย่างถาวร ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้เก็บโปรแกรมไบออสจะเป็นวงจร หน่วยความจำแบบ Flash ROM ที่สามารถแก้ไข โปรแกรมได้ (แต่ไม่บ่อยนัก)
86
เริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot Up)
Operating System เริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot Up)
87
Operating System การบู๊ตเครื่อง 1. เมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานโดยใช้โปรแกรมใน หน่วยความจำรอมคือโปรแกรมควบคุมการทำงานเบื้องต้นทำการตั้งค่าสำหรับการ ควบคุมอุปกรณ์วงจรรวมและอุปกรณ์ประกอบหลักใน 2. ตรวจสอบความเรียบร้อยทดสอบการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ในระบบว่า สามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ หน่วยความจำแรม หรือรอม หากอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติก็จะแสดงข้อความให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หรือผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์สำหรับระบบขนาดใหญ่ได้ทราบ หากเหตุผิดปกตินั้น เป็นเหตุสำคัญจะไม่ยอมให้ทำงานอื่นๆ ต่อ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นต้องการ การซ่อมแซม ส่วนของโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์หลักนี้เรียกว่า โปรแกรมทดสอบตัวเอง (Self diagnostic program)
88
Operating System การบู๊ตเครื่อง 3. เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกตรวจสอบทำงานได้อย่างปกติ หลังจากนั้นจะตรวจสอบ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลหลักเช่นดิสก์เพื่ออ่านข้อมูลและโปรแกรมในส่วนที่สองเข้ามา โปรแกรมในส่วนที่สองที่ถูกดึงเข้ามาจากอุปกรณ์บันทึกข้อมูลหลักนี้เรียกว่า บูทส แตรปโหลดเดอร์ (Bootstrap loader program) 4. โปรแกรมควบคุมการทำงานเบื้องต้นจะส่งหน้าที่ให้ซีพียูทำงานต่อไปยังโปรแกรม บูทสแตรปโหลดเดอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมส่วนแรกสุดของระบบปฏิบัติการที่ถูกสร้างขึ้น ในระหว่างการติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมนี้จะมีขนาดเล็กและมีหน้าที่ เพียงระบุว่าจะอ่านโปรแกรมระบบปฏิบัติการขึ้นมาจากอุปกรณ์บันทึกข้อมูลได้
89
Operating System การบู๊ตเครื่อง 5. โปรแกรมบูทสแตรปโหลดเดอร์จะทำการบูท (boot) คือการอ่านระบบปฏิบัติการ เข้าสู่หน่วยความจำแล้วส่งการทำงานให้ซีพียูไปทำงานตามคำสั่งของโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ ซึ่งก็จะสิ้นสุดขั้นตอนของโปรแกรมควบคุมการทำงานเบื้องต้น ต่อไปจะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
90
ประเภทของการบู๊ตเครื่อง
Operating System ประเภทของการบู๊ตเครื่อง ระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ - โคลบู๊ต (Cold boot) - วอร์มบู๊ต (Warm boot)
91
การบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์
Operating System โคลบู๊ต (Cold boot) การบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ กดปุ่มเปิดเครื่อง (Power On) เพื่อเข้าสู่ กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องเป็นเหมือนสวิตช์ปิดเปิดการทำงาน โดยรวมของคอมพิวเตอร์เหมือนกับสวิตช์ของ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
92
Operating System วอร์มบู๊ต (Warm boot) การบู๊ตเครื่องเพื่อให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่ หรือที่เรียกว่าการรีสตาร์ทเครื่อง (restart) สามารถทำได้สามวิธีคือ กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง กดปุ่ม Ctrl+alt+delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart สั่งรีสตารท์เครื่องได้จากเมนูบนระบบปฏิบัติการ
93
ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ (User Interface)
Operating System ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ (User Interface) คือ ส่วนการทำงานของโปรแกรมที่ติดต่อหรือเป็น ตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์ให้ทำงาน ได้ตามที่ต้องการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ ประเภทคอมมานด์ไลน์ (Command Line) ประเภทกราฟิก (GUI - Graphical User Interface)
94
ประเภทคอมมานด์ไลน์ (Command Line)
Operating System ประเภทคอมมานด์ไลน์ (Command Line) อนุญาติให้ป้อนรูปแบบคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือ (text) สั่งการลงไปทีละบรรทัดคำสั่ง เรียกว่า คอมมานไลด์ (command line)
95
ประเภทกราฟิก (GUI - Graphical User Interface)
Operating System ประเภทกราฟิก (GUI - Graphical User Interface) นำเอารูปภาพมาปรับใช้สั่งงานแทนตัวอักษร เช่น ใน ระบบปฏิบัติการ Windows ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบคำสั่งเพื่อใช้งานให้ยุ่งยาก เหมือนกับแบบคอมมานด์ไลน์ เพียงแค่เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฏบนจอนั้นผ่าน อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เมาส์หรือคีย์บอร์ด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.