งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจารย์สมเกียรติ ช่อเหมือน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจารย์สมเกียรติ ช่อเหมือน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจารย์สมเกียรติ ช่อเหมือน
สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 เนื้อหาที่สนใจ ภาษาคอมพิวเตอร์ ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์
ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์ กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม การเขียนโค้ดโปรแกรมด้วยภาษา C การแปลภาษา C ด้วย Compiler การนำโปรแกรม Executable Files ไปใช้งาน การจัดเก็บรวบรวมโค้ดไฟล์ไลบรารี (Libraries)

3 ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ภาษาเครื่อง ( Machine Language) ถือเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านการแปลภาษา ภาษาเครื่องเป็นเลขฐานสอง (Binary Code) ซึ่งคำสั่งประกอบด้วยเลข 0 หรือ 1 ต่อกัน คำสั่งในภาษาเครื่องจะประกอบด้วย โอเปอเรชันโค้ด (Operation Code) โอเปอแรนด์ (Operands)

4 ภาษาคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งที่เขียนจากภาษาคอมพิวเตอร์ได้ แต่ระดับความเข้าใจภาษาเครื่องของมนุษย์ต่ำ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์เข้าใจง่าย เรียกว่า “ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง” ใช้การแปลภาษาเพื่อแปลงเป็นภาษาเครื่อง การวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ -> ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์ กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม (Programming paradigm) เป็นวิธีการพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

5 ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์

6 ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ โดยจะสามารถแบ่งออกเป็นยุค หรือเป็นรุ่น (Generation)  1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) 2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) 3. ภาษาชั้นสูง (High-level Language) 4. ภาษาขั้นสูงมาก (Very high-level Language) 5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) /การโปรแกรมเบื้องต้น/ภาษาคอมพิวเตอร์/ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์/

7 ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์

8 กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม (Programming paradigm)

9 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)

10 ภาษาชั้นสูง (High-level Language)
โปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์(Interpreter) ภาษาที่มีแบบแผน (Procedural Language) ยกตัวอย่างภาษาโปรแกรมระดับสูงเช่น Fortran , Basic, pascal, C

11 ภาษาขั้นสูงมาก (Very high-level Language)
เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย อยู่ควบคู่กับระบบฐานข้อมูล สามารถจัดการฐานข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language: SQL)

12 ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
ภาษาธรรมชาติ สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษามนุษย์โดยตรงได้ ถูกสร้างขึ้นมาจากระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เปรียบเสมือนผู้เชี่ยวชาญที่สามารถคิดและตัดสินใจได้  ใช้ข้อมูลความจริงต่าง ๆ เป็นจำนวนมหาศาล จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ เรียกว่า ฐานความรู้ (Knowledge Base)

13 กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม
กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม (Programming paradigm) เป็นวิธีการพื้นฐานของการเขียนโปรแกรม ซึ่งแต่ละภาษาสามารถใช้ได้ เช่น ภาษา C เน้นการทำงานเป็นลำดับตามโครงสร้างพื้นฐาน ภาษา Java เน้นการสร้างคลาสตามหลักการ OOP

14 กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง (imperative programming)  การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming)  การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (logic programming)

15 Imperative Programming
การเขียนโปรแกรมโดยการเขียน “คำสั่ง หรือ Statement” ตามลำดับ โปรแกรมจะทำงานตามลำดับคำสั่ง imperative อาจเรียกว่า Procedural หรือ Structure ได้ โครงสร้างการทำงานของคำสั่ง ได้แก่ การควบคุมทิศทาง การกระโดดข้าม การไหลหรือ Flow แบบต่างๆ

16 Object-Oriented Programming
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ โดยพิจารณาวัตถุที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คลาส (Class) เป็นการรวมข้อมูล(data) และ พฤติกรรม(behavior) ของวัตถุ และความสัมพันธ์กันระหว่างวัตถุ ซึ่งนำมาประกอบเป็นโปรแกรม

17 Functional Programming
การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน functional programming มีพื้นฐานมาจาก Lambda calculus ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งคิดค้นโดย Alonzo Church  เช่น ภาษา LISP (List Processing) และ ML (Meta Language)  ภาษา OCaml

18 Declarative programming
การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ เป็นการประกาศว่าต้องการอะไร

19 การทำงานจากเหตุการณ์ (Event-Driven)
การเขียนโปรแกรมตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น final Button button = (Button) ...;          button.setOnClickListener(new View.OnClickListener() {              public void onClick(View v) {                  alert("กดปุ่มแล้วล่ะนะ");              }          });

20 การกำหนดสัญลักษณ์และตัวเลข (Symbolic vs Numeric)
การเขียนโปรแกรมด้วยสัญลักษณ์และตัวเลข double x = 0.1 * 0.1; print(x);

21 ขั้นตอนการเขียนโค้ด (Coding)
การเขียนโค้ดตามอัลกอริทึมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ดำเนินการตามคำสั่งที่กำหนดไว้ได้

22 การแปลภาษา C ด้วย Compiler

23 Object Code Files Source code คือ คำสั่งหรือโค๊ดในโปรแกรม ซึ่งเขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ การแปลงต้นฉบับจาก Source code ให้เป็น Object Code

24 Executable Files เช่น Microsoft Excel ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวกระทำการคือแฟ้ม Excel.exe การสั่งให้โปรแกรมเริ่มทำงาน แฟ้มประเภทนี้ใช้นามสกุล .exe มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM

25 Libraries แฟ้มข้อมูลที่เก็บ object files ต่างๆ ซึ่งสามารถใช้เชื่อมโยงโปรแกรม library ถูกใช้เป็นตัวชี้ ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น ฟังก์ชัน ตัวแปร และค่าอื่นๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย library พื้นฐานและสร้างเอง  framework เป็นกลุ่มของ library ในการเขียนโปรแกรมแต่ละแบบ

26 ขณะที่โปรแกรมทำงาน (Run-time)
การเขียนโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

27 สรุป ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์
สามารถแบ่งได้ตาม ระดับความเข้าใจของมนุษย์ ยุคของการเปลี่ยนแปลงและกระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ทำให้ภาษาคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลง ความแตกต่างจากแนวคิดของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร จำเป็นต้องศึกษารูปแบบการทำงานของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถพัฒนาโปรแกรมให้ได้ตามความต้องการ  ภาษาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นการแก้ปัญหาของมนุษย์


ดาวน์โหลด ppt ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจารย์สมเกียรติ ช่อเหมือน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google