งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อมูลและสารสนเทศ Data & Information.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อมูลและสารสนเทศ Data & Information."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อมูลและสารสนเทศ Data & Information

2 ข้อมูล (DAtA) ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ตัวอย่างข้อมูล เช่น เลข 1.0 อาจจะถูกกำหนดให้เป็นจำนวนหน่วยการเรียน ของวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 8.30 แทนเวลาเข้าเรียน สัญลักษณ์ แทนการเลี้ยวขวา

3 ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ความสมบูรณ์ ความกระชับและชัดเจน
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ความถูกต้อง ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ความสมบูรณ์ ความกระชับและชัดเจน ความสอดคล้อง

4 ชนิดและลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลสำหรับการประมวลผลแบ่งเป็น 2 ชนิด ข้อมูลชนิดจำนวน (Numeric data) ก) จำนวนเต็ม ข) จำนวนทศนิยม เช่น 25.78, *104 ฯลฯ ข้อมูลชนิดอักขระ (Character data) เช่น Computer, 17, &76 ฯลฯ

5  ประเภทของข้อมูล ถ้าจำแนกข้อมูลตามแหล่งที่มา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่นเครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก                          2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวม ไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เช่น สถิติ จำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น   

6 สารสนเทศ สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ ข้อมูล
สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ ข้อมูล การประมวลผล สารสนเทศ รูปแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ

7 กระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การสรุปผล การคำนวณ การดูแลรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล การทำสำเนาข้อมูล การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล

8 วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ                   (1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)                    หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูล ของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง                    (2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)                     หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชน ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้อง

9 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ระบบเลขฐานสอง
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจึงมีการแทนที่สภาวะของกระแสไฟฟ้าได้ 2 ภาวะ คือ - สภาวะที่มีกระแสไฟฟ้า - สภาวะที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า เพื่อให้โปรแกรมเมอร์สามารถสั่งการคอมพิวเตอร์ได้ จึงได้มีการสร้างระบบ ตัวเลขที่นำมาแทนสภาวะของกระแสไฟฟ้า โดยตัวเลข 0 จะแทนสภาวะไม่มีกระแสไฟฟ้า 1 แทนสภาวะมีกระแสไฟฟ้า

10 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ
ตัวอย่าง จงแปลง ( ) เป็นเลขฐานสิบ ค่า weight = เลขฐานสอง = คำนวณค่า = (1x 26)+ (0x 25) + (1x 24) + (1x 23) + (1x 22) +(0x 21) + (1x 20) = = 9310

11 การแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ การแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง ตัวอย่าง จงเปลี่ยน (22110) เป็นเลขฐานสอง (LSB) 221 2 เศษ 1 110 เศษ 0 55 27 13 6 3 1 (22110) = ( ) (MSB)

12 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : รหัสแทนข้อมูล
รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) รหัส Unicode

13 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : รหัสแทนข้อมูล
รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) นิยมใช้กับระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและ IBM สามารถแทนข้อมูลได้ สัญลักษณ์ รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) นิยมใช้ในกลุ่มคอมพิวเตอร์ประเภท PCs และที่ใหญ่กว่าบางชนิด โดยได้กำหนดให้กลุ่มของบิตในการแทนสัญลักษณ์ข้อมูลต่าง ๆ โค้ดนี้สามารถแทนสัญลักษณ์ได้ 256 สัญลักษณ์ บิตที่ใช้ จำนวน 8 บิต

14 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : รหัสแทนข้อมูล
รหัส Unicode (Unicode Worldwide Character Standard) ใช้ 16 บิต ในการแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยการใช้เนื้อที่ขนาด 16 บิต ทำให้สามารถแทนสัญลักษณ์ได้ สัญลักษณ์ ซึ่งมากพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์ทุกตัวในทุกภาษาในโลกนี้ ปัจจุบันระบบ Unicode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น

15 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ
B A N G K O รูปแสดงตัวอย่างการแทนข้อมูลด้วยรหัสเลขฐานสองในหน่วยความจำ

16 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บคำสั่งในหน่วยความจำ
ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเครื่อง ภาษาเครื่อง LD      A,(8000) , , LD      B,A LD      A,(8001) , , ADD   A,B LD      (8002),A , , รูปแสดงตัวอย่างการแทนคำสั่งภาษาเครื่อง

17 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
การจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ โดยเรียงจากหน่วยเล็กที่สุดไปหาใหญ่ที่สุดดังภาพ Bit byte field record file

18 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ รูปแสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้างข้อมูลภายในแฟ้มข้อมูล

19 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ พิจารณาการเก็บประวัติของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประวัติของนักเรียนคนหนึ่ง ๆ จะบันทึกลงในระเบียนประวัติหนึ่งใบ โดยประกอบด้วยเขตข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ฯลฯ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ และใบระเบียนประวัติของนักเรียนในโรงเรียนจะได้รับการจัดเก็บไว้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียน

20 แฟ้มข้อมูล - ลักษณะของแฟ้มข้อมูล
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เก็บค่าข้อมูลที่ต้องการ ระเบียน (Record) หมายถึง กลุ่มของเขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน record จึงประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่หนึ่งเขตข้อมูลขึ้นไป แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึง กลุ่มของระเบียน (record) ข้อมูลที่มีเขตข้อมูล (field) เหมือนๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยระเบียนข้อมูลตั้งแต่ระเบียนขึ้นไป เช่น แฟ้มประวัตินักเรียนในชั้นเรียนประกอบด้วย ระเบียนข้อมูลประวัติของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งประวัติเหล่านี้มีเขตข้อมูลที่เหมือนกัน โดยเขตข้อมูลที่เหมือนกันในระเบียนอาจมีค่าที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

21 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียน filed Record รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียนในคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนเก็บใน 1 ระเบียนและแต่ละระเบียนประกอบด้วย 7 เขตข้อมูล

22 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ :
แฟ้มข้อมูล – ข้อดีและข้อเสียของแฟ้มข้อมูล ข้อดี - การประมวลผลข้อมูลทำได้รวดเร็ว - ค่าลงทุนในเบื้องต้นต่ำ ไม่จำเป็นต้องใช้ที่มีประสิทธิภาพสูงก็สามารถประมวลผลได้ - โปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมสามารถควบคุมการใช้งานในแฟ้มข้อมูลของตนเองได้ ข้อเสีย - มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล - ความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้ม - ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด - ความขึ้นต่อกัน (Dependency) ระหว่างโปรแกรมประยุกต์และโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

23 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ :
ฐานข้อมูล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล หมายถึง การรวบรวมรายละเอียดของข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กัน จากแหล่งต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพทั้งในแง่ของการจัดการ และความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล

24 ขอขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt ข้อมูลและสารสนเทศ Data & Information.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google