ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดการนวัตกรรม (Innovation Management)
2
นวัตกรรม (Innovation)?
“นวัตกรรม” หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ การสร้างสรรค์ การพัฒนาต่อยอด การเปลี่ยนแปลงทางความคิด การจัดการการผลิต กระบวนการ ระบบ โครงสร้างองค์กร รูปแบบธุรกิจ เพื่อที่จะสร้างมูลค่าใหม่ๆ สำหรับลูกค้า และผลตอบแทนทางการเงินให้กับธุรกิจ โดยเป็นที่ยอมรับต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ขัดต่อหลักศีลธรรม จรรยาบรรณ ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ ศิลป์ (Artistic) ธุรกิจ (Business) สังคม (Social)
3
รูปแบบการพัฒนานวัตกรรม
ความคิดริเริ่ม กระบวนการ สิ่งสร้างสรร ความใหม่ ใหม่สำหรับบางคน ใหม่สำหรับทุกคน สิ่งที่มีอยู่ เกิดสิ่งใหม่ การสำรวจ
4
นี่เป็นนวัตกรรมหรือไม่?
แบบเดิม แบบใหม่
5
จากการวิจัยและพัฒนาสู่นวัตกรรมทางธุรกิจ
เงินทุน การวิจัยและพัฒนา หรือการสร้างสรรค์ การพัฒนานวัตกรรม สร้างคุณค่า สร้างสิ่งใหม่ นวัตกรรมทางธุรกิจ สร้างความยั้งยืน สร้างมูลค่าเพิ่ม
6
นวัตกรรมทางธุรกิจ นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จและ ยั่งยืนได้ ธุรกิจต้องค้นหา "นวัตกรรมธุรกิจ" ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมมิใช่เพียงแค่ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ แต่ต้องเป็น ความคิดใหม่ๆที่สามารถขายได้ หรือ การทำให้ความคิดใหม่ๆ มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ แหล่งที่สำคัญที่สุดของการเกิดนวัตกรรม อยู่ที่ "ลูกค้าหรือตลาดการแข่งขัน" เพราะจะแสดงถึงความต้องการของผู้บริโภค ความมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คู่แข่งนำหน้าเข้ามาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เราจะสร้างอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทย
7
แรงกดดันในธุรกิจต่อการพัฒนานวัตกรรม
แรงกดดันจากการจัดการคุณภาพ แรงกดดันจากการจัดการต้นทุน แรงกดดันจากการจัดการเวลา แรงกดดันจากลูกค้า
8
3 สูตรสำเร็จการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
เพิ่มองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากที่สุด ลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สั้นที่สุด ควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ให้บานปลายหรือสูงจนเกินไป
9
การออกแบบผลิตภัณฑ์+การปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ =นวัตกรรมทางธุรกิจ
การออกแบบผลิตภัณฑ์+การปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ =นวัตกรรมทางธุรกิจ
10
แนวคิดสร้างสรรค์+การปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ =นวัตกรรมทางธุรกิจ
11
แนวคิดสร้างสรรค์+การปรับเปลี่ยนกระบวนการบริการ =นวัตกรรมทางธุรกิจ
ห้ามออก
12
แนวคิดสร้างสรรค์+การปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ =นวัตกรรมทางธุรกิจ
13
ปัจจัยการวิจัยและพัฒนา
ค่าใช้จ่ายที่ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
14
ปัจจัยการวิจัยและพัฒนา
ผลิตผลที่ได้จากการวิจัยและพัฒนา ประเทศ นักวิจัยอาชีพ (คน/10,000 คน) นักวิจัยในภาคเอกชน สิงคโปร์ 32 21 เกาหลี 30 20 ไทย 2-3 0.1 ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
15
ความแตกต่างด้านตลาดและปัจจัยผู้บริโภค ASEAN
ข้อมูลที่น่าสนใจคือค่าใช้จ่ายจ้างแรงงานไทย 1 คน สามารถจ้างชาวจีนได้ 3 คน อินโนิเซียได้ 4 คน เวียตนามและกัมพูชาได้ 5 คน พม่าได้ 9 คน ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานไทยมีความใกล้เคียงกับมาเลเซีย แต่ผลิตภาพในการทำงานของแรงงานมาเลเซียมากกว่าไทยกว่า 2เท่าตัว แม้ว่าค่าจ้างแรงงานสิงคโปร์แพงกว่าแรงงานไทยกว่า 2 เท่าตัวแต่ผลิตภาพมากกว่าเราถึง 5 เท่าตัว และเมื่อเทียบกับแรงงานเวียตนาม แม้ว่าเราจะแพงกว่าเขาถึง 5 เท่า แต่ผลิตภาพของไทยนั้นดีกว่าเพียง 2 เท่าเท่านั้นเอง ถ้าพูดถึงความคุ้มค่าทางการลงทุนธุรกิจ
16
ประเภทนวัตกรรมทางธุรกิจ
ประเภทของนวัตกรรม ธุรกิจ รายละเอียด ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ สินค้าต่างๆ ที่สัมผัสได้ “ไทเกอร์” มุ้งกันยุงนาโน, “โอไรเซ่” แป้งพัฟฟ์จากแป้งข้าวเจ้า 2. บริการ คุณค่าที่ไม่สามารถสัมผัส ได้ e-certificate กรมพัฒนาธุรกิจ, ATM, SMS, MMS, EMS 3. กระบวนการ ขั้นตอนที่ทำให้งานสำเร็จได้ Internet registration, CAD/CAM, Business Plus 4. รูปแบบธุรกิจ รายได้ และค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้น 7-Eleven, e-bay, Amazon, Travelocity, Direct Sale
17
กล่องไร้กาว นักออกแบบอิสระชูผลงานบรรจุภัณฑ์ "ไม่ใช้กาว" คว้ารางวัลชนะเลิศจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ขนมไทย ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ด้านเอสแอนด์พี เตรียมต่อยอดผลงาน นำไปพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์พร้อมใช้งานจริง ที่มา:กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18
ข้าวกล้องหอมมะลิเสริมสุขภาพ
นวัตกรรมด้านกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยไม่มีการปลอมปนจากข้าวพันธุ์อื่นๆ และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล โดยใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสง เพื่อเพิ่มผลผลิตในการปลูกข้าว นอกจากนั้นโรงสีข้าวจะใช้ระบบการขัดขาวที่ลดการหักของเมล็ดข้าว ที่มา:กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
19
มอเตอร์ไซค์ พลังไฮโดรเจนคันแรกของโลก
แหล่งพลังงานของมอเตอร์ไซค์คันนี้มากจาก การทำปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน หลังจากได้พลังงาน แทนที่จะปล่อยควันคาร์บอนไดออกไซด์ รถคันนี้ปล่อยน้ำเปล่ามาแทน ถ้าขับเร็ว 80กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะวิ่งได้นานถึง 4 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเติมไฮโดรเจน ที่มา:กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
20
ตู้เย็นต้านแบคทีเรีย
ตู้เย็นธรรมดาราคาประมาณ 16,500 บาท VS ตู้เย็นนาโนราคาประมาณ 23,000 บาท เมื่อมีการเพิ่มอนุภาคนาโนเช่น อนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ หรืออนุภาคซิลเวอร์นาโนเข้าไปในระหว่างขั้นตอนการเตรียมเส้นใยหรือเคลือบบน พื้นผิวของวัตถุ ก็จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและกำจัดกลิ่นได้ แต่จำเป็นต้องมีแสงเข้ามาร่วมทำปฏิกิริยาด้วย ดังนั้นในกรณีของเสื้อผ้า หลังการสวมใส่จึงจำเป็นจะต้องนำมาตากแดด อย่างไรก็ดีเรายังต้องซักทำความสะอาดเสื้อผ้าตามปกติ เพราะสารดังกล่าวไม่สามารถกำจัดคราบสกปรกให้หมดไปได้ ที่มา:กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
21
การปรับปรุงคุณภาพทางจุลินทรีย์ของแหนม ด้วยรังสีแกมมา
การฉายรังสีแกมมา เป็นวิธีการหนึ่งที่มีการศึกษาแล้วว่า สามารถใช้ทำลายพยาธิและเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในอาหารได้ เช่น รังสีปริมาณ 2 กิโลเกรย์ พบว่าเพียงพอที่จะทำลายเชื้อโรคท้องร่วงซัลโมเนลลาที่อาจติดมากับเนื้อหมูในแหนมได้ สำหรับพยาธิงานวิจัยพบว่า รังสีปริมาณ 0.6 กิโลเกรย์ สามารถใช้ทำลายพยาธิที่พบในเนื้อหมูได้ การทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ตรวจไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเรื่อง สี กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัส ระหว่างแหนมไม่ฉายรังสีกับแหนมฉายรังสี การนำแหนมไปฉายรังสี ควรให้แหนมหมักตัวเป็นระยะเวลา 1-3 วันก่อนจึงนำไปฉายรังสีที่ปริมาณ 2 กิโลเกรย์ แหนมฉายรังสีสามารถเก็บได้นาน 10 วันที่อุณหภูมิห้อง หรือ 2 เดือน ที่อุณหภูมิตู้เย็น (5-20ซ) ที่มา:กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22
ระดับของความแปลกใหม่ ความเคลื่อนไหวการแข่งขัน ความซับซ้อน (ความเสี่ยง)
ระดับของนวัตกรรม ประเภทของนวัตกรรม ส่วนแบ่งของตลาด ระดับของความแปลกใหม่ ความเคลื่อนไหวการแข่งขัน ขอบเขตของนวัตกรรม ความซับซ้อน (ความเสี่ยง) กรอบเวลา จำนวนของโครงการ สิ้นเชิง หรือเฉียบพลัน 10% สูง ช้า สะดุด ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดที่ใหม่ และรูปแบบธุรกิจ ระยะยาว (เดือน- ปี) เล็กน้ย ความแตกต่าง 20% กลาง ปานกลาง ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดที่ใหม่ ระยะกลาง (สัปดาห์-เดือน) เพิ่มเติมหรือค่อยเป็นค่อยไป 70% ต่ำ ยั่งยืน ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่,กระบวนการหลัก ระยะสั้น (วัน-สัปดาห์) มากมาย
23
ขอบเขตตลาดของนวัตกรรม
เทคโนโลยี เดิม ใหม่ ใหม่สำหรับบริษัท (ภายในเป็นผู้ใช้) 1 2 ใหม่สำหรับผู้ซื้อ/ผู้ใช้ 3 4 ใหม่สำหรับตลาดท้องถิ่น จังหวัด หรือระดับชาติ 5 6 ใหม่สำหรับตลาดระดับนานาชาติ 7 8
24
ตัวอย่างด้านผลิตภัณฑ์
คุณค่าของนวัตกรรม นวัตกรรม ผลกระทบเชิงบวกถึงลบ ตัวอย่างด้านผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างด้านบริการ การพัฒนาทางการแพทย์ สุขภาพการดำรงค์ชีวิตที่ดี และยาวนานขึ้น เครื่องกระตุ้นหัวใจ การภาพบำบัด การศึกษา และการอบรม รับความรู้ และทักษะใหม่ๆ ทีวี ดีวีดี การสอน การกระจายเสียว ผลประโยชน์ และความพึงพอใจ ของลูกค้า สะดวก สะบาย สนุกสนาน รู้สึกดี โทรศัทพ์. เรือเหาะ บาร์บีคิว การวางแผนการลงทุน ประกันชีวิต ความบันเทิง สนุกสนาน ไม่เครียด วีดีโอเกมส์ ครูฝึกสอนด้านกีฬา การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม ผลผลิตสูงขึ้น หรือใช้วัตถุดิบน้อยลง การปรับปรุงอุตสาหกรรมหล่อลื่น ยานยนต์ การรับทราบถึงข้อมูลที่แท้จริงอยู่อย่างต่อเนื่อง การเพิ่มผลผลิตด้านบุคลากร บุคคลากรด้านคอมพิวเตอร์ การค้นหาทางอินทราเน็ต การสร้างนวัตกรรมตามกระแสนิยม และคุณค่า การนำเข้าสำหรับกิจกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง โทรศัพท์ เครื่องมือนำทาง วิทยุ คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ การค้นหาทาง Google อันตรายหรือการทำลายทรัพย์สิน การสูญเสียทางการเงิน การออกแบบจุดบกพร่อง หรือ ซอฟแวร์ไวรัส วัสดุในการสร้างยาพิษ บาดเจ็บหรือตายของสัตว์และปศุสัตว์ กาการเจ็บปวดและทรมาน ยาฆ่าแมลง การทำลายสิ่งแวดล้อม บาดเจ็บหรือตายของมนุษย์ ปืน ยาพิษ การละเว้นกฏหมายความปลอดภัยทางรถยนต์
25
นวัตกรรมทางธุรกิจ กลยุทธ์โลกอนาคต
ยุคที่ 1 ยุคของการทำงานหนักกว่าคนอื่น ยุคที่ 2 การใช้ความได้เปรียบด้วยทุนที่มากกว่า ยุคที่ 3 การได้มาซึ่งสัมปทานทำให้ได้เปรียบกว่าคนอื่น ยุคที่ 4 การใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหนือกว่า ยุคที่ 5 ยุคปัจจุบันที่เป็นการรวมมิตรทั้งหมด
27
รูปแบบการจัดการที่นำสู่นวัตกรรมทางธุรกิจ
การตลาด โครงสร้างองค์กร กระบวนการ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ เชิงกลยุทธ์
28
รูปแบบความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ
29
ตัวอย่างและแม่บทแห่งความสำเร็จ
Wall Mart นวัตกรรมค้าปลีก : การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างไม่หยุดยั้ง อันนำไปสู่ราคาที่ต่ำกว่า Walt Disney นวัตกรรมบันเทิง : การทำให้ของเล่นและความบันเทิงกลายเป็นการให้รางวัลกับชีวิตไม่จำกัดเฉพาะกับเด็กๆ Dell นวัตกรรมแห่งช่องทางจำหน่ายสินค้า ที่ทำให้คนเริ่มเชื่อว่าไม่มีสินค้าอะไรที่จะซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตไม่ได้ และเป็นต้นแบบของการทำธุรกิจที่ไม่ต้องมีสินค้าหมุนเวียน Microsoft นวัตกรรมแห่งการเพิ่มประสิทธิภาพให้ลูกค้าและการตลาดระดับโลก Starbucks นวัตกรรมแห่งช่องทางนัดพบของคนเดินถนน-ร้านกาแฟ Facebook, Line, WhatsApp นวัตกรรมการสื่อสารเสรี McDonald นวัตกรรมเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า
30
นวัตกรรมทางธุรกิจของประเทศไทย
ข้อจำกัดด้านทักษะ แรงงาน เงินลงทุน การวิจัยและพัฒนา เน้นการสร้างนวัตกรรมด้านการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการสร้างตราสินค้า การวิจัยและพัฒนา คือ การใช้เงินในการสร้างความรู้ นวัตกรรมทางธุรกิจ คือ การใช้ความรู้และ การเปลี่ยนแปลงสร้างเป็นมูลค่าเพิ่ม
31
ความเชี่ยวชาญจะต้องถูกต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์
ออกมาเป็นสินค้ารูปแบบใหม่และมีมูลค่าใหม่ที่สูงขึ้นโดยมีสมการแนวคิดใหม่ นั่นคือ วัตถุดิบ+ความเชี่ยวชาญ+ความคิดสร้างสรรค์ = สินค้าและบริการสร้างสรรค์
32
มิติแนวคิดการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ จากคน 4 แบบ
มิติแนวคิดการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ จากคน 4 แบบ แบบที่ 1 เด็กหญิงถอนหายใจ แบบที่ 2 เด็กชายวิจารณ์ แบบที่ 3 น้องช่างฝัน แบบที่ 4 นายพุ่งชน ใช้คนทั้ง 4 แบบ สร้างเป็นแบบที่ 5 คือ นักแก้ปัญหาหรือผู้สร้างนวัตกรรม
33
เมื่อความเชี่ยวชาญถูกต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและผู้ผลิตสินค้าโอทอป ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นปรากฏการณ์ที่ว่า “ทุนมักจะถูกต่อยอดด้วยทุน” นั่นก็หมายถึงวิถีการสร้างความมั่งคั่งที่เราคุ้นเคยกันดี ที่เมื่อมีการลงทุน มีผลกำไร ก็นำผลกำไรนี้ไปลงทุนต่อยอดธุรกิจในด้านอื่นๆต่อไป แต่ในยุคนี้เมื่อแนวคิด ลักษณะการบริโภคของผู้บริโภคเปลี่ยนไป มาสู่ความต้องการที่เจาะจงเป็นส่วนตัว ทำให้ความต้องการของสินค้าและบริการจำเป็นต้องมีความหลากหลายแปลกใหม่มากขึ้น กลายมาเป็นแนวโน้มของผู้ผลิตที่ “ความเชี่ยวชาญจะต้องถูกต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์”
34
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า สร้างแรงบันดาลใจด้วย 5 วิธีคิดมุมใหม่อย่างง่ายๆ 1. มอง 360 องศา หาโอกาสและแรงบันดาลใจจากธุรกิจอื่นๆ คิดแบบเดิมๆ: มองหาไอเดียใหม่ๆจากคู่แข่ง หรือไม่ก็จากธุรกิจอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน คิดมุมใหม่: มองหาไอเดียใหม่ๆ แรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อออกแบบบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่จากธุรกิจอื่น CNN เปิดตัวสถานีที่นำเสนอข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
35
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า 2. หาจุดเด่น หาตลาดใหม่ คิดแบบเดิมๆ: ออกแบบบริการเพื่อให้ครอบคลุม ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่หลากหลายเพื่อให้มีจำนวนลูกค้าที่มากที่สุด ไม่ถูกเกินไป ไม่แพงเกินไป สุดท้ายไม่มีอะไรชัดเจนสักอย่าง คิดมุมใหม่: หาจุดเด่นของสินค้าและบริการที่ชัดเจน จับกลุ่มคนที่ใช่ ของเด็กรุ่นแรกๆที่เราคุ้นเคยของหนีไม่พัน LEGO
36
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า 3.ผสมผสาน สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ คิดแบบเดิมๆ: ขยายรูปแบบบริการจากฐานการให้บริการเดิมที่ลูกค้าคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว คิดมุมใหม่: ผสมผสานการบริการจากธุรกิจอื่นๆ PTT Life Station
37
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า 4.เปลี่ยน…ถ้าของเดิมไม่เวิร์ค คิดแบบเดิมๆ: ปรับปรุงการบริการจากขอบเขตการบริการที่มีอยู่เดิม คิดมุมใหม่: แหวกกฎธุรกิจ! ถ้าลูกค้าว่าใช่ นั่นก็คือสิ่งที่ใช่ ตัวอย่างการคิดมุมใหม่ของโรงแรมaloft ในเครือเลอเมอริเดียน
38
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
เปลี่ยนวิธีคิด ออกแบบธุรกิจให้โดนใจลูกค้า 5. สร้างความตื่นตา หาความต้องการใหม่ๆ คิดแบบเดิมๆ: การออกแบบบริการใหม่ การตัดสินใจเรื่องต่างๆมาจากผลของการสำรวจตลาด คิดมุมใหม่: สร้างความตื่นตา หาความต้องการใหม่ๆ ผลของการสำรวจตลาดบอกได้เพียงประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ธุรกิจสร้างสรรค์คือการสร้างประสบการณ์ใหม่อย่างที่ตลาดไม่เคยรู้มาก่อน ตัวอย่างแนวคิดคอมมิวนิตีมอลล์แบบมีพื้นที่เปิดโล่งหรือ Open Air
39
“สร้างสรรค์” ไม่ใช่แค่สมองซีกขวา...
เปิดใจโลกสู่โลกกว้าง เริ่มคบค้าสมาคมกับคนอื่น สังเกตุ ทดลอง ลองผิด ลองถูก
40
จะสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้องมีห่วงโซ่สร้างสรรค์ที่เข้มแข็ง
(1) การสรรสร้างต้นแบบ (Creation) องค์ประกอบสำคัญคือ การทำความเข้าใจตลาด (Market Assessment) และการออกแบบ (Design) (2) การผลิตและแปรรูปจากแนวคิดเป็นสินค้าและบริการให้เป็นรูปธรรม (Production) การใช้ทรัพยากร ทักษะแรงงาน การผลิตในพื้นที่เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ (3) การตลาด (Commercialization) “นักออกแบบมักไม่มีหัวคิดทางด้านการตลาด!”
41
สรุปปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
ความสามัคคีคือพลัง การเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และลงมือทำ การไม่เอาเปรียบธุรกิจกลุ่มเดียวกัน และลูกค้า ความอดทนและต่อสู้กับอุปสรรค
42
นวัตกรรมกับช่วงเวลาของ Kodak
โกดัก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2423 ที่เมืองรอเชสเตอร์ มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดย จอร์จ อีสต์แมน ผู้ประดิษฐ์และจดสิทธิบัตรฟิล์มแบบม้วนที่ใช้งานได้จริง ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ที่ผลิตวัสดุการถ่ายภาพมาตรฐานเป็นจำนวนทีละมาก อีกทั้งยังได้ผลิตฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นและโปร่งแสงซึ่งออกแบบโดยอีสต์แมน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์จนกระทั่งปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลาประมาณ130 ปี
43
Kodak: ก้าวเข้าสู่นวัตกรรมทางธุรกิจ
ในปี 2547 โกดักเริ่มปรับตัวสู่แนวทางดิจิตอล (Digital) แต่เป็นการทยอยปรับตั้งแต่โครงสร้างการทำงานภายในองค์กร ในปี 2549 โกดักอาศัยองค์ความรู้ (Knowledge) ของตัวบริษัทเองที่ได้สั่งสมมานาน จากการที่โกดักมีการจัดตั้ง Kodak European Research (KER) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ กระทั่งในที่สุดโกดักได้ตัดสินใจพัฒนากล้องดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ OLED (Organic Light Emitting Devices) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจอภาพแห่งอนาคตของกล้องดิจิตอลและหวังพิชิตคู่แข่ง โดยให้ความสำคัญกับตัวผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นความล้ำสมัยของสินค้า โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของตลาด
44
OLED Technology
45
นวัตกรรมที่ล้มเหลวของ Kodak
จากที่โกดักได้ตัดสินใจพัฒนากล้องดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ OLED (Organic Light Emitting Devices) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจอภาพแห่งอนาคตและหวังพิชิตคู่แข่ง ซึ่งในขณะนั้นผู้บริโภคยังไม่พร้อมรับเทคโนโลยีนี้เท่าที่ควร ทำให้ผลิตภัณฑ์ของโกดักไม่ได้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ท้ายที่สุดนวัตกรรมที่ได้มาเหล่านั้นกลับไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นและล้มเหลวในการแข่งขันทางธุรกิจกับคู่แข่งรายอื่น ในปี 2552 โกดักจำต้องขายเทคโนโลยีนี้ทิ้งให้กับ LG เพื่อรักษาสถานะทางการเงินของบริษัทเอาไว้ ทั้งที่เทคโนโลยีดังกล่าวกำลังใกล้ที่จะเป็นเทคโนโลยีที่ตลาดต้องการในอนาคตอันใกล้
46
Kodak: นวัตกรรมสู่ทางตัน
โกดัก ประสบกับปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่องมานานถึง 7 ปี นำสิทธิบัตรด้าน ภาพถ่ายดิจิตอลกว่า 1,100 ใบ ออกมาจำหน่ายเพื่อระดมทุนเข้าบริษัทแต่ดูเหมือนว่าวิธีการดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เมื่อวันที่5 มกราคม 2555 บริษัท มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (Moody’s Investors Service) ก็ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของโกดักลง พร้อมกับ เตือนนักลงทุนว่า บริษัทโกดักมีแนวโน้มที่จะล้มละลายในอนาคตอันใกล้ ท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2555 โกดักและบริษัทในเครือในสหรัฐได้ยื่นเรื่องล้มละลายตามมาตรา 11 ต่อศาลล้มละลายสหรัฐสำหรับเขตนิวยอร์คใต้ ส่วนบริษัทในเครือที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐไม่ได้อยู่ภายใต้การยื่นล้มละลายครั้งนี้และบริษัทจะยังคงชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่บริษัทซัพพลายเออร์ต่อไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.