ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
03760491 ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
Research Methods in Managerial Accounting สมบูรณ์ สาระพัด เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ 6 : 15 ก.ย. 60
2
หัวข้อบรรยาย ความหมายการวิจัยทั่วไป ความหมายการวิจัยทางธุรกิจ
ประเภทของการวิจัย มิติต่างๆ ของการวิจัย จรรยาบรรณการวิจัย คุณค่าการวิจัยต่อธุรกิจ บทบาทการวิจัยกับการจัดการทางธุรกิจ
3
ความหมายการวิจัยทั่วไป
“Research” การค้นคว้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายๆ ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งมั่นใจว่า ค้นพบข้อเท็จจริงที่สามารถจะคาดการณ์ ทำนายและอธิบายในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างถ้วนถี่และเชื่อถือได้ การวิจัยรากศัพท์ละติน Re + Search Research Again + Cercier อีกครั้งช้าๆ การค้นคว้า/แสวงหา
4
“การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา”
ความหมายการวิจัยทั่วไป OXFORD Advanced Learner’s Dictionary (1994 :1073) ที่เสนอว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research ที่ระบุความหมายว่า “Careful Study and Investigate” ที่หมายถึง การวิจัยเป็นการศึกษาและการสืบค้นความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความระมัดระวังอย่างละเอียดถี่ถ้วน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2546) กำหนดให้ความหมายการวิจัย 2 ประเด็นคือ “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา” “การวิจัยเป็นการสะสมและรวบรวม” การวิจัย หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยใช้อุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง หรือค้นหาหลักการสำหรับนำไปใช้ตั้งกฎ ทฤษฏีหรือแนวทางปฏิบัติ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ,2547 :45)
5
ความหมายการวิจัยทั่วไป
พจนานุกรม Webster’s New Twentieth Century Dictionary (1966) ให้คำจำกัดความ “Research” - การสอบสวน/ตรวจสอบในความรู้สายใดสายหนึ่งอย่างระมัดระวัง อดทน อย่างเป็นระบบ ระเบียบและขันแข็งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และกฎเกณฑ์ต่างๆ - การแสวงหาความจริงอย่างคร่ำเคร่งและต่อเนื่อง Williams and Stevenson (1963) ให้ความหมาย Research ว่า “การค้นหาโดยวิธีครุ่นคิด/การแสวงหาอย่างคร่ำเคร่ง เพื่อให้เกิดความแน่นอน” Plutchick (1968) ให้ความหมายในทำนองว่า การวิจัยเป็นการ สำรวจเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบ 2 อย่าง : - การพยายามอย่างเข้มแข็งที่จะค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ - การพยายามจัดระเบียบข้อเท็จจริงที่ค้นพบให้เป็นแบบแผนที่มีความหมาย
6
ความหมายการวิจัยทั่วไป
Best and Khan (1998 : 18) คือ การวิเคราะห์และบันทึกการสังเกตภายใต้การควบคุมอย่างเป็นระบบระเบียบและเป็นปรนัยที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎี หลักการหรือการวางนัยทั่วไปโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง การใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่สำหรับการศึกษา ค้นคว้าความรู้ใหม่ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ มีการทดสอบสมมติฐานที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (Burns and Grove, 1997 : 3) Kerlinger (1986) ให้ความหมายของ “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นการไต่สวนสืบค้นปรากฏการณ์ตามต่างๆ ธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกตการณ์จริงและการวิพากษ์วิจารณ์ โดยใช้ทฤษฎีและสมมติฐานเป็นแนวทางค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์นั้น Schumacher และ Mcmillan (1993) อธิบายถึง “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงระบบในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
7
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2540) ให้ความหมาย “การวิจัย” ว่า
ความหมายการวิจัยทั่วไป บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2540) ให้ความหมาย “การวิจัย” ว่า กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ - การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง = ผู้วิจัยต้องค้นคว้าให้ได้มาทั้งข้อเท็จและ ข้อจริง ศึกษาค้นคว้าครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมทั้งข้อสนับสนุนและข้อคัดค้าน - การศึกษาค้นคว้าต้องทำเป็นระบบระเบียบเป็นขั้นตอนมีเหตุมีผล = วิธีทางวิทยาศาสตร์ - การศึกษาค้นคว้าต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง/หลายอย่างผสมกัน สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2540) ให้ความหมาย การวิจัย ว่า กระบวนการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษาโดยที่มี…- การเก็บรวบรวมข้อมูล - การจัดระเบียบข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การตีความหมายผลการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง กระบวนการ = กิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำขึ้นโดยมีความเกี่ยวโยงต่อเนื่องกันอย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย
8
ความหมายการวิจัยทั่วไป
ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ปี1961 ประเทศสหรัฐ ได้มีการอธิบายถึงความหมายคำว่า “ R E S E A R C H ” R = Recruitment and Relationship E = Education and Efficiency S = Science and Stimulation E = Evaluation and Environment A = Aim and Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizon
9
ความหมายการวิจัยทั่วไป
R = Recruitment and Relationship การฝึกฝนให้คนมีความรู้ การรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน E = Education and Efficiency ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และมีสมรรถภาพสูงในการวิจัย S = Science and Stimulation การวิจัยเป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริงโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่ม การกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิจัย E = Evaluation and Environment ผู้วิจัยต้องรู้จักการประเมินคุณค่าของผลงานวิจัยประโยชน์มาก/น้อย และต้องรู้จักใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และอาจรวมถึงกำลังคนในการวิจัยอย่างเหมาะสม
10
ความหมายการวิจัยทั่วไป
A = Aim and Attitude การวิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมาย/เป้าหมายที่แน่นอนและผู้วิจัยต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัยตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ และติดตามผลการวิจัย R = Result ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจะต้องยอมรับกันอย่างดุษฎี เพราะเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้า ศึกษาอย่างมีระบบระเบียบที่ดีและถูกต้อง C = Curiosity ผู้วิจัยต้องมีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ ความสงสัยและขวนขวายในการศึกษาวิจัยตลอดเวลา H = Horizon ผลงานการวิจัยย่อมทำให้ทราบและเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งเสมือนกับเกิดแสงสว่าง หากการวิจัยยังไม่บรรลุผลจะต้องหาทางศึกษาค้นคว้าต่อไปจนสำเร็จ
11
การวิจัยทางธุรกิจ ---> Business Research
ความหมายการวิจัยธุรกิจ การวิจัยทางธุรกิจ ---> Business Research เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่มีระบบ ระเบียบอย่างถูกต้องตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยปราศจากการอคติ และมีประสิทธิภาพ ผลวิจัยสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในกระบวนการตัดสินใจ/การแก้ไขปัญหาการบริหารทุกลักษณะของธุรกิจ Zikmund (2000) ให้ความหมาย “การวิจัยทางธุรกิจ” ว่า การรวบรวมข้อมูล / สารสนเทศที่มีกระบวนการอย่างเป็นระบบระเบียบและมีวัตถุประสงค์ : - การรวบรวม (Gathering) - การบันทึก (Recording) - การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) ทั้งนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
12
ความหมายการวิจัยธุรกิจ
Cooper และ Schindler (2003) อธิบายความหมายว่า เป็นระบบที่มีจุดประสงค์เกี่ยวกับการจัดเตรียมหาข้อมูล คำแนะนำเพื่อที่จะใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี (2542) ได้ให้ความหมาย “การวิจัยธุรกิจ” หมายถึง การศึกษาค้นคว้าถึงความจริงเกี่ยวกับธุรกิจด้วยวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Method) ถูกต้องตามระบบที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่ใช้วิจัยทางธุรกิจ ตั้งแต่… การวิจัยทางการจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี การผลิต ตลอดจนเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
13
ลักษณะจุดมุ่งหมายการวิจัย
1. การวิจัยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งหาคำตอบ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน 2. การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร 3. การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดยปัญหาบางปัญหาไม่สามารถทำการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้
14
แนวคิดพื้นฐานการวิจัย
1. กฎเหตุและผลของธรรมชาติ (Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ หรือ เมื่อกำหนดสถานการณ์ใดที่เป็นสาเหตุย่อมจะหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน 2. กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ (Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน เช่น y = f (x) หรือ y = ax+b เป็นต้น ผู้วิจัยจะนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่ว ๆ ไปได้ 3. กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ (Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า การเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน 4. กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ (Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่น ๆ (ตัวแปรแทรกซ้อน/สอดแทรก) ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ 5. กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ (Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ความรู้/ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ที่มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง
15
การวิจัยทางการบัญชี
16
ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร
การตัดสินที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (ข้อมูล) สภาพแวดล้อม PEST รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Scenario) แนวทางหรือ ทางเลือก ที่ดีที่สุด ปัญหา/โอกาส ทางการเงิน/บัญชี สภาพแวดล้อม ภายในองค์การ การเงิน การบัญชี การบริหาร แผนการทาง การเงิน-บัญชี ข้อมูลย้อนกลับ นำแผนสู่ภาคปฏิบัติ ประเมินผล
17
คุณค่าของการมีทักษะการวิจัย
เพื่อเป็นการรวบรวมสารสนเทศ/ข้อมูลต่างๆ ก่อนลงมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อสามารถใช้ในการศึกษาวิจัยและแสวงหาความรู้ระดับสูงที่มีความลึกซึ้ง ต่อไป เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในการออกแบบวิจัย ขั้นตอนและกระบวน การวิจัย เพื่อสามารถประเมินและแก้ปัญหาทางการบริหารในองค์กรอย่างถูกต้องและ รวดเร็ว เพื่อสร้างอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการวิเคราะห์ วิจัยและการตรวจสอบทางการบัญชี หรือการวิจัยด้านต่างๆ เพื่อเป็นคนช่างสังเกตและละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของนักบัญชีและการเงิน
18
ความสำคัญของการวิจัยกับการบัญชี
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (6 กลุ่มตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี พ.ศ. 2547) มีภาระหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ในทุกหน่วยงานจะต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยหนึ่งด้านเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้านการจัดทำงบการเงินเพื่อใช้ในการบริหารงานรวมทั้งนำเสนองบการเงินต่อบุคคลภายนอก งานบัญชีจึงเป็นเสมือนจุดศูนย์กลางของทุกหน้าที่งานเพราะจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากทุกหน่วยงานในองค์การ สารสนเทศที่ได้จากระบบงานด้านบัญชีใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ผลลัพธ์ของการตัดสินใจที่ดีส่วนหนึ่งจึงเป็นผลมาจากการมีสารสนเทศทางการบัญชีที่รวดเร็ว ถูกต้อง น่าเชื่อถือ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
19
ความสำคัญของการวิจัยกับการบัญชี
คุณภาพของสารสนเทศด้านบัญชีการเงินและบัญชีบริหารเป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายในเช่น ความสามารถของกิจการในการบริหารจัดการ ทั้งทางด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร วัฒนธรรมองค์การ ตลอดจนปัจจัยภายนอกเช่น ความซับซ้อนของธุรกรรมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น ในทางปฏิบัติ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกลุ่มต่างๆ ย่อมเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทำให้จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า อย่างเป็นระบบ หรือที่เรียกว่าการวิจัย เพื่อเป็นข้อสนเทศที่สำคัญในการพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า เป็นผลดีต่อตนเอง องค์การ และสังคมโดยรวม
20
ความสำคัญของการวิจัยกับการบัญชี
การวิจัยเป็นกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามโจทย์การวิจัยและวัตถุประสงค์รวมถึงสมมติฐานการวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ โดยใช้กระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ รวมทั้งกระบวนการที่เรียกว่าศิลป์เพื่อค้นหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ น้ำหนักการให้ความสำคัญของกระบวนการทั้งสองขึ้นอยู่กับการออกแบบงานวิจัย การวิจัยทางการบัญชีทำให้ได้ข้อสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ อาทิ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงใช้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผู้กำหนดนโยบายเพื่อกำกับดูแลงานของผู้ประกอบวิชาชีพ ใช้ในการพัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงิน หน่วยงานหรือบุคคลที่ใช้ข้อมูลใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ สถาบันการศึกษาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรเก่าหรือพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้ทันกระแสของสังคมโลกที่พลวัตร
21
การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
ผลการวิจัยทางด้านการบัญชีบริหารทำให้เกิดประโยชน์ความก้าวหน้าต่อวงวิชาการและเป็นข้อสนเทศแก่หน่วยงานและผู้ประกอบวิชาชีพด้านการบัญชีบริหารโดยตรง เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับการลดต้นทุน ทำให้เราทราบว่าเทคนิคการลดต้นทุนใดมีความสำคัญที่สุด เทคนิคการลดต้นทุนที่ดีที่สุดนอกจากทำให้ต้นทุนลดลงแล้ว ต้องไม่มีผลเสียหายต่อคุณภาพของสินค้าหรือบริการและทำให้กำไรเพิ่มขึ้น งานวิจัยเกี่ยวกับตัวผลักดันต้นทุนในระบบต้นทุนกิจกรรมทำให้กิจการทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดต้นทุน เช่น จำนวนครั้งในการเคลื่อนย้ายสินค้าทำให้ต้นทุนแรงงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกิจการอาจลดการเคลื่อนย้ายโดยใช้สายพานแทนการใช้คน เป็นต้น
22
การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
3. งานวิจัยเกี่ยวกับการวัดผลการปฏิบัติงานเช่น Balanced Scorecard ทำให้เราทราบว่าตัวชี้วัดผลการดำเนินงานใดเป็นสาเหตุ ตัวชี้วัดผล การดำเนินงานใดเป็นผลลัพธ์ ส่งผลให้กิจการนำข้อมูลไปออกแบบ ระบบวัดผลการปฏิบัติงานเพื่อทำให้ผลงานแต่ละด้านสอดคล้องกัน 4. งานวิจัยเกี่ยวกับงบประมาณทำให้ทราบว่าคุณลักษณะงบประมาณที่ดี มีอะไรบ้าง เช่น ระบบงบประมาณที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรมี ส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดเป้าหมายร่วมกัน จะต้องกำหนด เป้าหมายให้ชัดเจน ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ต้องนำเป้าหมายมาวัดผล การปฏิบัติงานในรูปของการวิเคราะห์ผลต่าง มีระบบการให้ข้อมูลป้อน กับแก่ผู้ปฏิบัติงานที่รวดเร็ว เป็นต้น
23
การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
5. งานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกเทคนิคทางการบัญชีบริหารทำให้ทราบว่า เทคนิคใดทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นบ้าง ดังนั้นธุรกิจจะใช้ข้อมูล ดังกล่าวเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบัญชีบริหารเพื่อให้ผลการ ดำเนินงานในแต่ละด้านดีขึ้น 6. งานวิจัยด้านบัญชีบริหารที่นำมิติด้านวัฒนธรรมมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ทำให้กิจการออกแบบเครื่องมือทางการบัญชีบริหารให้สอดคล้องกับ วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น กิจการชาวญี่ปุ่นเป็น สังคมที่เคารพผู้อาวุโส ไม่นิยมการเผชิญหน้า ไม่นิยมการแสดง ความเห็นต่อหน้าผู้บังคับบัญชา การกำหนดเป้าหมายในงบประมาณ จึงเป็นแบบ Top-down มากกว่า ในทางตรงข้ามระบบของอเมริกันจะ นิยมแสดงความเห็น ต้องการการมีส่วนร่วมมากเนื่องจากวัฒนธรรม ของคนกลุ่มนี้เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
24
การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
7. ผลงานวิจัยด้านบัญชีสามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการ เรียนการสอนให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักบัญชีบริหารที่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า ผล การวิจัยอาจพบว่า ผู้ประกอบการต้องการให้บัณฑิตบัญชีมีความ สามารถด้านไอทีและด้านภาษามากขึ้น มหาวิทยาลัยอาจเพิ่มการ เรียนการสอนด้านดังกล่าวมากขึ้น เป็นต้น 8. ผลการวิจัยด้านระบบบัญชีทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ ทำงานของระบบในแง่มุมต่างๆ เช่น ผลการวิจัยเกี่ยวกับระบบบัญชีใน หน่วยงานหนึ่งอาจทำให้ทราบว่าผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจในการ ทำงานน้อยเนื่องจากระบบใช้งานค่อนข้างยาก ดังนั้นผู้ออกแบบระบบ ต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาทบทวน ปรับปรุง แก้ไขระบบบัญชีให้ดีขึ้น
25
การใช้ประโยชน์งานวิจัยในการดำเนินงาน ทางธุรกิจและการบัญชีบริหาร
9. ผลการวิจัยด้านการสอบบัญชีทำให้เราสามารถค้นหาปัจจัยที่ทำให้ การทำงานของผู้สอบบัญชีมีคุณภาพ เช่น ผลการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า เพื่อไม่ให้ผู้สอบบัญชีสนิทสนมกับลูกค้ามากเกินไป ควรเปลี่ยนผู้สอบ บัญชีทุกห้าปี ข้อเสนอนี้ทำให้ ก.ล.ต. เมืองไทยต้องแก้ไขกฎหมายให้ เป็นไปตามนี้ 10. งานวิจัยด้านการสอบบัญชีเกี่ยวกับหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี ทำให้พยากรณ์แนวโน้มของการอออกรายงานของผู้สอบแต่ละ ประเภทว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูล 11. ผลการวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีทำให้ทราบว่ามาตรฐานต่างๆ ที่กำหนดมานั้นมีประโยชน์หรือไม่ เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกำไรตามส่วนงานมีผลกระทบทางบวกต่อ ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ดังนั้นแสดงว่าการเปิดเผยข้อมูลนี้มี ประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลในงบการเงิน เป็นต้น
26
คุณค่างานวิจัยต่อธุรกิจ
1 2 3 4 เกิดความรู้ใหม่ทางธุรกิจ แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กำหนดนโยบายและแผน
27
ข้อพึงระวังเกี่ยวกับการวิจัย
- เมื่อคำแนะนำไม่สามารถประยุกต์ให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ ขั้นวิกฤตได้ - เมื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการที่มีการเสี่ยงเล็กน้อย - เมื่อการจัดการมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการศึกษาวิจัย - เมื่อราคาของการศึกษาวิจัยมีค่าเกินระดับของการเสี่ยงในการ ตัดสินใจ
28
ประเภทการวิจัย หลักการจำแนกประเภท มิติการจำแนกการวิจัย
1. ต้องมีกลุ่มให้ครบถ้วน (mutually exhaustive) 2. แต่ละกลุ่มที่กำหนดเมื่อกำหนดประเภทจะต้องแยกออกจากกันและ กันโดยเด็ดขาด (mutually exclusive) 3. กลุ่มแต่ละกลุ่มควรจะมีความหมายที่ชัดเจนและมีจำนวนมากเพียงพอ มิติการจำแนกการวิจัย - เหตุผลของการทำวิจัย - วัตถุประสงค์ของการวิจัย - วิธีการวิจัย - สถานที่หรือทำเลของการวิจัย - วัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวิจัย - ผู้กระทำการวิจัย
29
การจำแนกตามเหตุผลการวิจัย
ประเภทการวิจัย การจำแนกตามเหตุผลการวิจัย การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) : การวิจัยแสวงหาความรู้และความเข้าใจประเด็นเรื่องต่างๆ ให้มากขึ้น มุ่งแสวงหาความจริงใช้ทดสอบ/สร้างทฤษฎี ไม่มีวัตถุประสงค์ใช้ประโยชน์ทันที แต่เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและวิจัยต่อไป การวิจัยประยุกต์ (Applied research) : การวิจัยที่นำผลการวิจัย/ข้อค้นพบไปใช้ในทางปฏิบัติจริง โดยมุ่งหาข้อเท็จจริง/ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล/ตัวแปรในการแก้ไขปัญหาจริง
30
การจำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ประเภทการวิจัย การจำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) : การวิจัยมุ่งพรรณนาสภาพที่เป็นอยู่และลักษณะสำคัญของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมเกิดขึ้น การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research) : การวิจัยมุ่งอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นสภาพที่เป็นอยู่ ปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น โดยมุ่งหาเหตุผล
31
การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย
ประเภทการวิจัย การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย การวิจัยแบบอาศัยการทดลอง (Experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการวางแผน โดยที่มีการกระตุ้นเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้การควบคุม ควบคุมดูแลและเฝ้าสังเกตอย่างเป็นระบบ การวิจัยแบบไม่อาศัยการทดลอง (Non-experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ตามสภาพเป็นจริงโดยไม่มีการจัดกิจกรรม/ การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
32
การจำแนกตามสภาวะการวิจัย
ประเภทการวิจัย การจำแนกตามสภาวะการวิจัย การวิจัยสภาวะที่ควบคุมเต็มที่ (Highly controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างครบถ้วนเต็มที่ การวิจัยสภาวะที่ควบคุมได้บ้าง (Partially controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บางประการเท่านั้น เพื่อสังเกตการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงโดยวิธีการหนึ่งวิธีการใด การวิจัยสภาวะที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled settings) : การวิจัยที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยทำการศึกษาเก็บข้อมูลตามสภาพ ลักษณะหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น
33
การจำแนกตามสิ่งที่ทำการวิจัย
ประเภทการวิจัย การจำแนกตามสิ่งที่ทำการวิจัย มนุษย์ : บุคคล กลุ่มบุคคล สัตว์ พืช และอื่นๆ : สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ต้องการศึกษา สิ่งไม่มีชีวิต : สิ่งของ/วัตถุต่างๆ การจำแนกตามผู้กระทำการวิจัย การวิจัยโดยบุคคลเดียว : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เพียงคนเดียว การวิจัยคณะบุคคล : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความหลากหลายสาขา
34
การจำแนกระดับหน่วยการวิเคราะห์ในการวิจัย
ประเภทการวิจัย การจำแนกระดับหน่วยการวิเคราะห์ในการวิจัย การวิจัยระดับจุลภาค (Micro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะต่างๆ บุคคล หรืออาจจะเป็นพฤติกรรม ทัศนคติและความคิดเห็น การวิจัยระดับมหภาค (Macro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะรวมๆ ระดับชุมชน สังคมหรือ ประเทศในหลายจุดเวลา การจำแนกระดับความลึกของข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) : การวิจัยที่อาศัยข้อมูลตัวเลขเพื่อยืนยันพิสูจน์ความถูกต้องของ ข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) : การวิจัยที่ไม่เน้นข้อมูลตัวเลขยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบและ ข้อสรุปต่างๆ
35
: มาตรฐานที่ดี/ถูกต้องตามวิธีการ
มาตรฐานงานวิจัย : มาตรฐานที่ดี/ถูกต้องตามวิธีการ - มีจุดประสงค์จำกัดความอย่างชัดเจน - มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย - มีการออกแบบวางแผนการวิจัยอย่างถี่ถ้วน - ข้อจำกัดถูกแสดงอย่างเปิดเผย - มีมาตรฐานเกี่ยวกับหลักจริยธรรมสูง - การวิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับความต้องการของผู้ทำ - การค้นคว้าถูกแสดงอย่างไม่คลุมเครือ - บทสรุปที่พิสูจน์ว่าถูกต้อง - สะท้อนประสบการณ์ของการวิจัย
36
1 2 3 4 วัตถุประสงค์ชัดเจน มิติวิจัย เวลา สถานที่ ตัวแปร
ลักษณะงานวิจัยที่ดี 3 เครื่องมือมีความเชื่อมั่นสูง 4 มีความเที่ยงตรงทั้งภายใน/ภายนอก ภายใน - ผลการวิจัยที่ได้ มาจากการทดสอบ/วิเคราะห์ข้อมูลอย่างแท้จริง ภายนอก - นำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
37
5 6 7 8 กระบวนการ ขั้นตอนเป็นที่ยอมรับ ความรู้ ความซื่อสัตย์
ลักษณะงานวิจัยที่ดี 7 วางแผนอย่างรอบคอบ 8 มีประสิทธิภาพ ประหยัด
38
New Product Development Process
Idea Generation Concept Development and Testing Marketing Strategy Screening Business Analysis Product Market Testing Commercialization 38
39
Research Process 39
40
บทบาทการวิจัยกับการจัดการทางธุรกิจ
เหตุผลการทำวิจัยธุรกิจ : Research provides you with the knowledge and skills needed for the fast-paced decision-making environment ความต้องการสารสนเทศและข้อมูลการบริหาร : 1. Global and domestic competition is more vigorous 2. Organizations are increasingly practicing data mining and data warehousing Data Mining คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลจำนวนมาก (big data) เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซ่อนอยู่ โดยทำการจำแนกประเภท รูปแบบ เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และหาความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ Data Warehouse คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา Data warehouse ใช้เพื่อการวิเคราะห์ (ข้อมูลทั้งในอดีตและปัจจุบัน) Database ใช้เพื่อการประมวลผล (เฉพาะข้อมูลปัจจุบัน)
41
ภาระหน้าที่/บทบาทของผู้บริหาร
1. สร้างความต้องการให้กับลูกค้า/ผู้ใช้บริการแทนที่จะให้เรียกร้องก่อน ภายหลัง 2. แก้ไขปัญหาทางการบริหารและจัดการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งภายใน องค์การและภายนอกองค์การ 3. ประเมินสถานการณ์ทางการจัดการเพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจ 4. วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทหรือสถานการณ์ โดยอาศัย PEST 3C’s SWOT Five Competitive Forces Analysis Balanced Scorecard เป็นต้น แผนดำเนินการจะต้อง สอดคล้องกับแผนและนโยบายขององค์การในภาพรวม 5. การดำเนินงานขององค์การจะต้องคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด พร้อม ประเมินผลตามกรอบเวลา เช่น การประเมินทุก 1 เดือน 6. คาดการณ์ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตพร้อมจัดเตรียม แผนสำรองเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว
43
คุณค่างานวิจัยต่อธุรกิจ
เกิดความรู้ใหม่ทางธุรกิจ แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน 1 2 3 4 ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กำหนดนโยบายและแผน
44
New Product Development Process
Marketing Strategy Development Business Analysis Product Development Concept Development and Testing Market Testing Idea Screening Commercialization Idea Generation 44
45
จรรยาบรรณการวิจัย ความแตกต่างและเหมือนกัน
จริยธรรม จริยศาสตร์ และจรรยาบรรณ - จริยธรรม(morals) หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์แห่งตนและสังคม - จริยศาสตร์ (ethics) หมายถึง ความรู้ที่กล่าวถึงแนวทางการประพฤติ ที่ถูกต้อง - จรรยาบรรณ (code of conduct) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525)
46
จรรยาบรรณการวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2541 ให้มี "จรรยาบรรณนักวิจัย” อันเป็นหลักเกณฑ์ควรประพฤติของนักวิจัยทั่วไป ไม่ว่าสาขาวิชาการใด ๆ มีลักษณะเป็นแนวทางกว้างๆ เพื่อครอบคลุมทุกสาขาวิชาการ จำนวน 9 ประการ 1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น - นักวิจัยต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย - นักวิจัยต้องมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด - นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย - นักวิจัยต้องอุทิศเวลาทำงานวิจัย - นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการทำวิจัย
47
จรรยาบรรณการวิจัย 3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ความชำนาญ - นักวิจัยต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพของงานวิจัยในสาขาวิชาการนั้นๆ 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย - การใช้คนหรือสัตว์เป็นตัวอย่างทดลอง - นักวิจัยต้องดำเนินการวิจัยโดยมีจิตสำนึก - นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดแก่ตนเอง 5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย - เคารพในสิทธิของมนุษย์ที่ใช้ในการทดลอง - ไม่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางวิชาการจนเกิดความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง - นักวิจัยต้องดูแลปกป้องสิทธิประโยชน์และรักษาความลับของกลุ่ม ตัวอย่าง
48
จรรยาบรรณการวิจัย 6. นักวินักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด แนวทางปฏิบัติ
- นักวิจัยต้องเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัย 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ - นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยคำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการ และสังคม - นักวิจัยพึงเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น - นักวิจัยพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี - นักวิจัยพึงยอมรับฟัง แก้ไขการทำวิจัยและการเสนอผลงานวิจัยตามข้อแนะนำที่ดี 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ - นักวิจัยพึงรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการเพื่อความเจริญของสังคม - นักวิจัยพึงพัฒนาบทบาทของตนให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.