ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรคจากการประกอบอาชีพและการป้องกัน
22/5/2016 วิชาอาชีวอนามัย อ.ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน
2
เนื้อหา ความหมายของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพ สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
3
แหล่งค้นคว้าข้อมูล สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม เอกสารประมวลสาระวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยพื้นฐาน (Basic Occupational Health and Safety)เกียรติศักดิ์ บัตรสูงเนินมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เอกสารการสอนชุดวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หน่วยที่ 8-15มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมโดย วิทยา อยู่สุขมหาวิทยาลัยมหิดล วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
4
1. ความหมายของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
1.1 โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (Occupational diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากการทำงานที่สัมผัสกับสิ่งคุกคามหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยอาการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน หลังเลิกงาน หรือภายหลังที่ออกจากงานไปแล้ว การเกิดทันที เช่น ได้รับสัมผัสไอกรดในโรงงาน แบตเตอรี่ มีอาการแสบตา แน่นหน้าอก เกิดภายหลังจากการทำงาน เช่น คนงานชายราย หนึ่ง อายุ 20 ปี ทำงานในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ รถยนต์ ซึ่งมีตะกั่ว % ทำงานมา 8 เดือน ซึ่งต่อมาได้ป่วยเป็นโรคพิษตะกั่ว หรือโรคซิลิโคสิส อาการและอาการแสดง ใช้เวลานานอย่างน้อย 5 ปี เป็นต้น วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2557มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
5
1. ความหมายของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
1.1 โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (Occupational diseases) โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ มีกลไกการเกิด เนื่องจากมีสิ่งคุกคาม (hazard) ในงานที่ทำมา สัมผัส (exposure) กับร่างกายคนทำงาน จึง ทำให้เกิดเป็นโรค (disease) วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2555 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
6
1. ความหมายของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (ต่อ)
1.2 โรคเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน (Work-related diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลโดยอ้อมจากการทำงาน สาเหตุปัจจัยประกอบหลายอย่างประกอบ (Multi-factorial disease) ไม่เกิดจากสารเคมีหรืออันตรายจากการทำงานโดยตรง แต่สารเคมีหรือวิธีการทำงานนั้นๆ ทำให้โรคที่เป็นอยู่เดิมนั้นเป็นมากขึ้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2557 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
7
1. ความหมายของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (ต่อ)
1.2 โรคเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน (Work-related diseases) หมายถึง การประกอบอาชีพไปกระตุ้นให้โรค เดิมของผู้ป่วยคนนั้นให้แสดงอาการออกมา หรือทำให้อาการแย่ลงกว่าเก่า เช่น ในคนที่มีโครงสร้างผิดปกติอยู่แล้ว หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ ง่าย ดังนั้นการทำงานที่มีการออกแรงซ้ำๆ หรือมี ท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2557 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
8
1. ความหมายของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (ต่อ)
1.3 โรคเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน (Environmental diseases) หมายถึง ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อนใน ดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรม ของมนุษย์ ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบ เฉียบพลันและเรื้อรัง มีหลักการเกิดโรคเช่นเดียวกับโรคจากการทำงาน คือ มีสิ่งคุกคามมาสัมผัสกับร่างกายคน ทำให้เกิด โรคขึ้น เพียงแต่เปลี่ยนจากสิ่งคุกคามที่อยู่ในงาน มาเป็นสิ่งคุกคามที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปแทน วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2555 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2557 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
9
2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพ
1. คนทำงาน 2. สภาพการทำงาน 3. สิ่งแวดล้อมในการทำงาน 4. สิ่งแวดล้อมทั่วไป คุณสมบัติพื้นฐาน เช่น เพศ อายุ ความสูง ภาวะโภชนาการ พันธุกรรม โรคประจำตัว ประสบการณ์ เป็นต้น พฤติกรรมสุขภาพ เช่น คนเมาขับรถเกิดอุบัติเหตุง่าย คนไม่สวมอุปกรณ์ PPE ระบบงาน กระบวนการทำงาน ระยะเวลาการทำงาน ลักษณะการทำงาน ท่าทางการทำงาน ปริมาณงาน การควบคุมกำกับงาน สวัสดิการพื้นฐานต่างๆ สิ่งแวดล้อมนอกสถานประกอบการ เช่น บ้านเรือน ชุมชน รวมถึงปัญหาครอบครัว ด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี และจิตวิทยาสังคม วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
10
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายงานเฝ้าระวังโรค ที่มีการดำเนินงานได้ทั้งสิ้น 31 เครือข่าย (31 จังหวัด) มีรายงานผู้ป่วย ทั้งสิ้น จำนวน 29,492 ราย ร้อยละของผู้ป่วยบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จำแนกกลุ่มอายุ พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
11
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
เครือข่ายงานเฝ้าระวังโรค ที่มีการดำเนินงานได้ทั้งสิ้น 31 เครือข่าย (31 จังหวัด) มีรายงานผู้ป่วย ทั้งสิ้น จำนวน 29,492 ราย ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จำแนกตามอาชีพ พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
12
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ จำนวนผู้ป่วย ด้วยโรค จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จำแนก ตามกลุ่มโรคพ.ศ – 2552 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
13
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
1. กลุ่มโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ ( Lung and Respiratory diseases) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยโรคปอดและระบบทางเดินหายใจจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
14
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
2. โรคเหตุสภาวะทางกายภาพ (Physical Hazard ) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วย2 โรคเหตุสภาวะทางกายภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
15
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
3. กลุ่มโรคผิวหนัง (Skin diseases) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยกลุ่มโรคผิวหนัง (Skin diseases)จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
16
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
4. โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal diseases) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
17
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
5. พิษจากสัตว์ ( Toxic effect of contact with venomous animals) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยบาดเจ็บจากการได้รับพิษจากสัตว์จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
18
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
6. พิษโลหะหนัก ( Heavy metal poisoning ) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับพิษโลหะหนัก จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
19
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
7. พิษจากก๊าซ (Toxic effect of gas and vapor poisoning) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากก๊าซ จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
20
3. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
7. พิษจากสารเคมีการเกษตรและสารเคมีอื่นๆ (Toxic effect of pesticides and other chemical) ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดลอม พ.ศ ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีการเกษตรและสารเคมีอื่นๆ จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
21
4. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พรบ.แรงงาน พ.ศ. 2499
พรบ.แรงงาน พ.ศ. 2499 ประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2515 การคุ้มครองแรงงาน ความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
22
4. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
หลักเกณฑ์การวินิจฉัย และการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพ ของผู้ป่วยหรือบาดเจ็บด้วยโรคจากการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจร่างกายลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีที่ กำหนดในกฎกระทรวง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ให้มีการเก็บรักษาผลการตรวจไว้อย่างน้อย 2 ปี งานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ** ต้องรายงานผลการตรวจภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผล** วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
23
4. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การวินิจฉัยและการประเมิน การสูญเสียสมรรถภาพของผู้ป่วยหรือบาดเจ็บ ด้วยโรคจากการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
24
4. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
1. การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไป 1.1 มีหลักฐานทางการแพทย์แสดงการเจ็บป่วย เวชระเบียน ผลและรายงานการชันสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรค ใบรับรองแพทย์ ความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 1.2 มีการวินิจฉัยแยกสาเหตุอื่นๆ ของการเจ็บป่วย ซึ่งอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยแบบเดียวกัน (differential diagnosis) 1.3 มีประวัติหรือหลักฐานทางประวัติหรือหลักฐานอันแสดงถึงการ ได้รับสิ่งคุกคามทั้งในงานและนอกงาน 1.4 มีอาการหรืออาการแสดงครั้งแรก (onset) เกิดหลังจากสัมผัส (exposure) และมีระยะเวลาก่อโรครายบุคคล (induction time) วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
25
4. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
2. นอกจากหลักฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 1 อาจใช้หลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งประกอบการวินิจฉัยโรคได้ ดังนี้ การวินิจฉัยด้วยการรักษาทางการแพทย์พิสูจน์สาเหตุของโรค อาการป่วยบางระยะสัมพันธ์กับการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีปัจจัยคุกคามในพื้นที่สงสัย อาการป่วยบางระยะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อเว้นจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยคุกคาม มีผู้ป่วยในกลุ่มผู้สัมผัสลักษณะเดียวกันมากกว่า 1 ราย หรือ มีรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาสนับสนุน สอดคล้องกับการศึกษา / รายงานในคนและสัตว์ ก่อนหน้านี้ 3. ให้อ้างอิงเอกสารทางการของ WHO, องค์การแรงงานโลก (ILO) และ เกณฑ์สากลขององค์กรต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับ ตามลำดับ และเอกสารต้องเป็นฉบับปัจจุบัน หรือเล่มจะออกใหม่ วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
26
นำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์ผล
คนงานเป็นโรคที่สงสัยจริง โรคที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยเสี่ยงในโรงงาน คนงานได้รับปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน ปริมาณของปัจจัยเสี่ยงและระยะเวลาที่คนงานเกี่ยวข้อง สามารถให้คนงานเป็นโรคได้ วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
27
นำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์ผล
ปัจจัยนอกงาน ไม่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคของคนงาน มีสถานการณ์อื่น ๆ ที่ควรนำมาร่วมพิจารณาหรือไม่ เช่น คนงานใช้เครื่องป้องกันไม่มีคุณภาพ วิธีการทำงานไม่ถูกต้อง มีการทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เป็นต้น หากข้อมูลดังกล่าว ส่งเสริมกันโดยตลอด แสดงว่าคนงานเป็นโรคจากการทำงานจริง วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
28
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน พ.ศ โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี 5.2 โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ 5.3 โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ 5.4 โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน 5.5 โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน 5.6 โรคระบบกลามเนื้อและโครงสร้างกระดูก ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการ ทำงานหรือสาเหตุจากลักษณะงานที่จําเพาะหรือมีปัจจัยเสี่ยงสูงใน สิ่งแวดล้อมการทำงาน 5.7 โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน 5.8 โรคอื่นๆ ซึ่งพิสูจน์ไดวาเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
29
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.1 โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี เบริลเลียมหรือสารประกอบของเบรลิเลียม แคดเมียม หรือสารประกอบของแคดเมียม ฟอสฟอรัส หรือสารประกอบของฟอสฟอรัส โครเมียม หรือสารประกอบของโครเมียม แมงกานีส หรือสารประกอบของแมงกานีส สารหนู หรือสารประกอบของสารหนู ปรอท หรือสารประกอบของปรอท วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
30
โรคพิษสารหนู (arsenic poisoning)
ในปี พ.ศ มีการปนเปื้อนสารหนูที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเกิดจากการทำเหมืองแร่ดีบุกซึ่งมีสารหนูปนเปื้อนมากับสายแร่ ในกระบวนการแยกแร่ธาตุ สารหนูจะถูกแยกไปกับหางแร่และถูกทิ้งไว้โดยไม่มีการจัดการที่เหมาะสม จึงทำให้สารหนูปนเปื้อนไปยังแหล่งน้ำของชุมชนใกล้เคียง และเมื่อปี พ.ศ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี พบการปนเปื้อนสารหนูในน้ำผิวดินสูงเกินมาตรฐานมาก โดยได้มีการตรวจสอบกลุ่มบุคคลที่อยู่ในพื้นที่พบว่า มีบางรายพบการปนเปื้อนสารหนูในปัสสาวะ สาเหตุอาจเกิดจากการปนเปื้อนโดยธรรมชาติและการจัดการเหมืองแร่เก่าที่ไม่เหมาะสมก็เป็นได้ เมื่อมนุษย์ได้รับสารหนูปริมาณมากจะก่อให้เกิดอาการเฉียบพลัน เช่น ท้องเสีย อาเจียน มึนเมา ตาพร่ามัว เป็นต้น แต่หากได้รับปริมาณน้อยและมีระยะเวลานานจะก่อให้เกิดอาการพิษเรื้อรัง เช่นเกิดอาการที่ผิวหนัง เกิดโรคมะเร็ง และเสียชีวิต 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
31
โรคพิษสารหนู (arsenic poisoning) (ต่อ)
งาน/อาชีพที่เสี่ยง โรงงานผลิตสารกำจัดศัตรูพืช โรงงานหลอมโลหะ โรงงานถลุงแร่ โรงงานผลิตโลหะผสม (อัลลอยด์) โรงงานผลิตสีย้อม โรงงานผลิตน้ำยาถนอมเนื้อไม้ โรงพิมพ์ลายผ้า โรงงานผลิตสารกึ่งตัวนำ โรงงานผลิตสี โรงงานผลิตเม็ดสี โรงงานชุบโลหะ โรงงานเครื่องปั้นดินเผา 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
32
โรคพิษสารหนู (arsenic poisoning) (ต่อ)
อาการและอาการแสดง อาการเฉียบพลัน โดยทั่วไปเกิดจากได้รับสารหนูทางปาก แต่ในการประกอบอาชีพจะได้รับทางการหายใจ และถ้าได้รับในปริมาณมาก ทำให้มีการสำแดงโรคได้หลายระบบ ระบบการหายใจ ได้แก่ คอหอยอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาจรุนแรงถึงขั้นปอดบวม ระบบประสาท มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เพ้อคลั่ง ชัก หมดสติ อาจมีอาการของโรคสมองส่วนกลางและส่วนปลายทั้งด้านความรู้สึกและกา เคลื่อนไหว ระบบปัสสาวะ มีปัสสาวะออกน้อย มีภาวะหลอดไตตาย (tubular necrosis) และเนื้อไตส่วนนอกตายเฉียบพลัน (acute cortical necrosis) ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนและท้องเดิน ซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะช๊อคพร่องน้ำเลือด (hypovolemic shock) ระบบโลหิต อาจพบภาวะเลือดจาง อาจรุนแรงถึงเกิดภาวะเลือดจับลิ่มในหลอดเลือดทั่วไป (disseminated intravascular coagulation; DIC) 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย>
33
โรคพิษสารหนู (arsenic poisoning) (ต่อ)
อาการเรื้อรัง เกิดจากได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยเป็นระยะเวลานาน โดยปรากฏอาการและอาการแสดงดังนี้ระบบการหายใจ ได้แก่ คอหอยอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาจรุนแรงถึงขั้นปอดบวม สีผิวหนังเข้มขึ้น (Hyper pigmentation) เป็นหย่อม ๆ สลับกับสีจาง มองคล้ายหยาดฝนบนถนนฝุ่น (raindrop on the dusty road) ฝ่ามือฝ่าเท้ามีตุ่มแข็ง (keratotic papule) หรือตุ่มคล้ายตาปลา (corn-like papule) หรือมี punctate keratosis ตุ่มเหล่านี้อาจรวมเป็นปื้น (verrucous plaque) ชาปลายมือปลายเท้า และอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย ซึ่งมักเป็นเท่ากันทั้งสองข้าง อาการปวด บวม ที่เท้าทั้งสองข้าง ภาวะเลือดจาง อาจพบเยื่อบุจมูกอักเสบ และผนังกั้นโพรงจมูกทะลุ บางรายมีภาวะความดันเลือดพอร์ทัลสูง โดยไม่มีตับแข็ง อาจพบเส้นขวางสีขาว บนเล็บ (Mees’ line) แต่พบในโรคอื่นได้ด้วย อาจทำให้เกิดมะเร็งของผิวหนัง (Bowen’s Disease, squamous cell carcinoma, Basal cell carcinoma) มะเร็งปอด (bronchogenic carcinoma) 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย>
34
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.1 โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี ตะกั่ว หรือสารประกอบของตะกั่ว ฟลูออรีน หรือสารประกอบของฟลูออรีน คลอรีน หรือสารประกอบคลอรีน แอมโมเนีย คาร์บอนไดซัลไฟด์ สารอนุพันธ์ฮาโลเจนของสารไฮโดรคาร์บอน เบนซีน หรือสารอนุพันธ์ของเบนซีน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
35
โรคพิษตะกั่ว (lead poisoning)
ตัวอย่างอาการพิษตะกั่ว เส้นตะกั่วที่เหงือก (lead line) ชาจากเส้นประสาทเสื่อม ข้อมือตก โลหิตจาง พบ Basophilic stripping ปวดท้องบิดๆ (colicky pain) ไตเสื่อม ไตวาย เป็นหมัน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559 ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
36
โรคพิษตะกั่ว (lead poisoning) (ต่อ)
งาน/อาชีพที่เสี่ยง การทำเหมืองแร่ตะกั่ว การทำแบตเตอรี่ งานเชื่อมโลหะ ตัดโลหะ งานขัดผิวโลหะ งานทาสี หรือพ่นสี งานทำเหล็กกล้า โรงงานผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ อิเลคโทรนิค และคอมพิวเตอร์ โรงงานพิมพ์ Silk Screen อุตสาหกรรมผลิตและบรรจุยากำจัดศัตรูพืช โรงงานทำเซรามิก โรงงานเครื่องประดับโลหะ อู่ซ่อมรถยนต์ อู่ซ่อมเรือ โรงงานอุตสาหกรรมสี โรงงานอุตสาหกรรมผลิตท่อ แผ่นโลหะ ชุบโลหะ โรงพิมพ์ โรงหล่อตัวพิมพ์ โรงงานผลิตกระสุนปืน อาชีพอื่น ๆ ที่ต้องสัมผัสกับตะกั่วอนินทรีย์ในการทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559 ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
37
โรคพิษตะกั่ว (lead poisoning) (ต่อ)
อาการและอาการแสดง โรคพิษตะกั่วชนิดปัจจุบัน เกิดขึ้นเมื่อได้รับสารตะกั่วปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ มีอาการ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรงเป็นพักๆ (colicky pain) ความคิดสับสน กระวนกระวาย นอนไม่หลับ อาการของโรคสมองอักเสบเฉียบพลัน (acute encephalopathy) เช่น ชัก หมดสติซึ่งอาการนี้เกือบทั้งหมดพบในเด็ก วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559 ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
38
โรคพิษตะกั่ว (lead poisoning) (ต่อ)
อาการและอาการแสดง โรคพิษตะกั่วชนิดเรื้อรังเกิดจากได้รับสารตะกั่วปริมาณน้อยเป็นระยะเวลานาน ๆ ปวดท้องรุนแรงเป็นพัก ๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ชาปลายมือปลายเท้า ข้อมือตก เท้าตก เป็นลักษณะของประสาทส่วนรอบผิดปกติ (peripheral neuropathy) มักพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากกว่าอาการชา ซึม ชักและหมดสติ ภาวะเลือดจาง อาการของไตอักเสบ และอาจมีอาการโรคเก๊าต์ อาจพบเส้นตะกั่ว (lead line) ลักษณะเป็นแถบหรือเส้นน้ำเงินม่วงเข้มที่ขอบเหงือก หมายถึง เคยได้รับสารตะกั่ว ไม่ได้แสดงจำเพาะว่าเป็นโรคพิษตะกั่ว นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคพิษตะกั่วซึ่งเป็นแบบไม่จำเพาะอีกหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง ปวดท้อง ปวดตามข้อ ปวดเมื่อยท้องผูก ซีด ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะไม่มีสมาธิ วิตกกังวล กระวนกระวาย ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ความจำเสื่อม ชาตามมือเท้า สั่น น้ำหนักลด อ่อนเพลียหรือเป็นหมัน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
39
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.1 โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี อนุพันธ์ไนโตรและอะมิโนของเบนซีน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือกรดซัลฟูริค ไนโตรกลีเซอรีน หรือกรดไนตริคอื่นๆ แอลกอฮอล์ กลัยคอล หรือคีโตน คาร์บอนมอนนอกไซด์ไฮโดรเจนไซยาไนด์ หรือสารประกอบของไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ อะครัยโลไนไตรล์ ออกไซด์ของไนโตรเจน วาเนเดียม หรือสารประกอบของวาเนเดียม พลวง หรือสารประกอบของพลวง เฮกเซน กรดแร่ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคฟัน เภสัชภัณฑ์ ทัลเลียม หรือสารประกอบของทัลเลียม ออสเมียม หรือสารประกอบของออสเมียม เซลีเนียม หรือสารประกอบของเซลีเนียม วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
40
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.1 โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี ทองแดง หรือสารประกอบของทองแดง ดีบุก หรือสารประกอบของดีบุก สังกะสี หรือสารประกอบของสังกะสี โอโซน ฟอสยีน สารทําให้ระคายเคือง เช่น เบนโซควินโนน หรือสารระคายเคืองต่อกระจกตา สารกําจัดศัตรูพืช อัลดีไฮด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ และกลูตารัลดีไฮด์ สารกลุ่มไดอ็อกซิน สารเคมี หรือสารประกอบของสารเคมีอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
41
พิษจากตัวทำละลาย (solvent)
ดมทินเนอร์จนตายในส่วนผสมของทินเนอร์หลายสูตรมักจะมีตัวทำละลายชื่อโทลูอีน (toluene) เป็นส่วนผสมหลัก ผู้ป่วยถูกสารฟีนอล (phenol) หกราดใส่ขา เป็นรอยไหม้ ผื่นแพ้สารตัวทาละลายชนิดหนึ่งชื่อ ไตรคลอโรเอทิลีน (trichloroethylene) 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
42
ฟอสฟีน (phosphine) เรือสินค้าขนข้าวสาร ผู้ป่วย รพ.สมิติเวช ศรีราชา
พิษจากแก๊ส (gas) ฟอสฟีน (phosphine) เรือสินค้าขนข้าวสาร ผู้ป่วย รพ.สมิติเวช ศรีราชา โซเดียมเปอร์ซัลเฟต (sodium persulfate) ท่าเรือแหลมฉบัง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(sulfur dioxide) กรณีโรงงานเรยอน จ.อ่างทอง 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
43
โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช(Diseases caused by pesticide
งาน/อาชีพที่เสี่ยง 1. เกษตรกร ทำไร่ ปลูกข้าว ทำไม้ 2. ทำสวน 3. สนามกอล์ฟ 4. พ่นสารกำจัดศัตรูพืช 5. ผสมสารกำจัดศัตรูพืช 6. ผลิตสารกำจัดศัตรูพืช 7. เจ้าหน้าที่ในห้องฉุกเฉิน 8. อุบัติเหตุจากการกินโดยรู้ไม่รู้เท่าทัน 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย>
44
โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช(Diseases caused by pesticides)
อาการและอาการแสดง สารกำจัดศัตรูพืชชนิด organochlorine อาการเฉียบพลัน ทางระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง อาการทางระบบประสาท: ปวดศีรษะ มึนงง เดินเซ และ การรับความรู้สึกผิดปกติ (paraesthesia) มีอาการสั่นเริ่มจากหนังตา กล้ามเนื้อใบหน้าสั่น และต่อมาจะเป็นทั้งร่างกาย ในรายที่เป็นมาก จะมีชักแบบเกร็งกระตุก การชักจะทำให้มีอุณหภูมิกายสูงขึ้น หมดสติ และอาจทำให้ถึงแก่กรรมได้ ระบบหายใจ: มีอัมพาตของประสาทควบคุมการหายใจ และ vasomotor centers ทำให้การหายใจไม่เพียงพอ และ หยุดหายใจ หรือ มีหัวใจวาย อาการอื่นๆ: หลายรายมีอาการตับอักเสบ และไตวายจากสารพิษ หลังจากอาการเหล่านี้ดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปลายประสาทอักเสบ ซีด และ มีเลือดออกง่าย ซึ่งเกิดจากการสร้างเกร็ดเลือดผิดปกติ การเป็นพิษที่พบบ่อยของ toxaphene คือ ปอดอักเสบแบบภูมิแพ้ พิษเฉียบพลันของ OCPs กินระยะเวลาประมาณ 72 ชั่วโมง แต่ถ้าอวัยวะเสียหายมากอาจกินเวลาเป็นสัปดาห์ ในกรณีที่มีตับและไตถูกทำลายอาจเป็นไปตลอดชีวิต 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย>
45
โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช(Diseases caused by pesticides) (ต่อ)
อาการและอาการแสดง สารกำจัดศัตรูพืชชนิด organochlorine อาการเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีพิษต่อระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด และการสร้างเม็ดเลือด เกิดอาการชัก ปลายประสาทอักเสบ สมองอักเสบ การสั่น (tremor) อาการแสดงที่พบบ่อยคือ การปวดศีรษะ มึนงง ชา หรือมีอาการเจ็บแปลบๆที่แขนขา มีความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรืออาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ ส่วนน้อยจะพบ คือ การปวดแบบรุนแรง (colic) ใต้ชายโครงขวาและในบริเวณสะดือ อาการเหล่านี้จะดีขึ้นถ้าหยุดการสัมผัส ทำลายตับและไต มีอาการทางหัวใจและหลอดเลือดจะเป็นการหอบ หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจหย่อน มีความผิดปกติของหลอดเลือดฝอย การระคายเคืองผิวหนัง 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย>
46
โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช(Diseases caused by pesticides)
อาการและอาการแสดง สารกำจัดศัตรูพืชชนิด orgnophosphorus อาการส่วนใหญ่จะมีระยะล่าตั้งแต่สองสามชั่วโมง แต่จะไม่เกินสิบสองชั่วโมง อาการจะเกิดเรียงลำดับไป ได้แก่ ปวดศีรษะ อ่อนแรง มึนงง คลื่นไส้ เหงื่อออก ตาพร่า แน่นหน้าอก เป็นตะคริวกล้ามเนื้อหน้าท้อง อาเจียนและท้องเสีย ในรายที่เป็นพิษมากจะมีอาการหายใจลำบาก สั่น ชัก มีหัวใจวาย หมดสติ ปอดบวมน้ำ และการหายใจล้มเหลว ยิ่งเป็นพิษมากก็จะเห็นอาการของการยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase มากขึ้นคือ มีรูม่านตาหดเล็กเท่ารูเข็ม มีการหายใจเร็ว หอบ มีอาการอ่อนแรงมาก เหงื่อออกมาก น้ำลายไหลมาก และปอดบวมน้ำ 22/5/2559 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย>
47
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.2 โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ โรคหูตึงจากเสียง โรคจากความสั่นสะเทือน โรคจากความกดดันอากาศ โรคจากรังสีแตกตัว โรคจากรังสีความร้อน โรคจากแสงอัลตราไวโอเลต โรคจากรังสีไม่แตกตัวอื่นๆ โรคจากแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โรคจากอุณหภูมิต่ำ หรือสูงผิดปกติมาก โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
48
โรคจากรังสีก่อไอออน (ionizing radiation)
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2543 ครอบครัวซาเล้งขายของเก่าได้รับซื้อเศษเหล็กและแท่งเหล็กรูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. ในราคา 8,000 บาท แล้วนำไปเก็บไว้บริเวณสนามหญ้าซึ่งอยู่ห่างจากบ้านพักประมาณ 100 เมตร หลังจากสัมผัสแท่งเหล็กนั้นเกิดอาการอาเจียนและอ่อนเพลีย และมีอาการคันยุบยิบที่มือทั้ง 2 ข้าง ไม่ได้ทำการรักษาที่ไหน จนกระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ครอบครัว ซาเล้งขายของเก่าได้นำชิ้นส่วนไปขายที่ร้านค้าของเก่า และที่ร้านได้ให้คนงานผ่าแท่งเหล็ก ขณะผ่าได้มีตะกั่วไหลออกมาจากแท่งเหล็กมีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก และพบแท่งโลหะเหล็กขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว สูง 1 นิ้ว จำนวน 2 ชิ้น และแท่งโลหะทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว จำนวน 1 ชิ้น หลังจากนั้นได้ใช้คีมคีบเหล็กทั้ง 3 ชิ้นทิ้งในกองเหล็ก ส่วนแท่งเหล็กรูปทรงกระบอกผ่าซีกไม่สำเร็จ ทางร้านมอบให้ครอบครัวซาเล้งขายของเก่านำไปแยกชิ้นส่วนต่อที่บ้าน (หลังจากคนงานร้านค้าของเก่าผ่าแท่งเหล็ก มีอาการอาเจียน ท้องเสีย กินอาหารไม่ได้ มือบวมทั้ง 2 ข้าง) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 ครอบครัวซาเล้งขายของเก่าได้นำแท่งเหล็กมาแยกชิ้นส่วนต่อที่บ้าน ได้แสตนเลส หนัก 30 กิโลกรัมและตะกั่วหนัก 97 กิโลกรัม แล้วนำไปขายที่ร้านอีกครั้ง หลังจากนั้นมีอาการนิ้วบวม คัน ไปรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 57 โดยแจ้งว่าได้จับต้องสารตะกั่ว และทางศูนย์ได้ส่งไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาลสมุทรปราการ แพทย์ตรวจอาการและซักประวัติแล้วสงสัยว่าจะได้รับสารกัมมันตรังสี ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเครื่องตรวจวัดรังสีไปตรวจที่ร้านค้าของเก่า เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 43 พบว่ามีรังสีอยู่ในบริเวณรอบร้านค้าของเก่า และได้ดำเนินการกู้สารกัมมันตรังสีสำเร็จ เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 43 เวลาประมาณ น. วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
49
โรคจากรังสีก่อไอออน (ionizing radiation)
ภาพเหตุการณ์สารกัมมันตรังสี Cobalt-60 ที่ร้านรับซื้อของเก่า จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 24 มกราคม 2543 วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559 ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
50
โรคน้ำหนีบ (decompression sickness)
เกิดจากดำน้ำลึกไปเก็บปลิง แล้วโผล่ขึ้นมาจากน้ำอย่างรวดเร็ว ร่างกายปรับตัวไม่ทัน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559 ที่มา : วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
51
โรคจากความสั่นสะเทือน (Diseases caused byvibration)
โรค Carpal Tunnel Syndrome เกิดจากการกดเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ ทำให้มีอาการปวดชาที่ปลายมือ โรคนิ้วซีดจากความสั่นสะเทือน (Vibration White Finger หรือ Dead’s Finger หรือ Raynaud's Phenomenon) วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
52
โรคจากรังสีความร้อน (Diseases caused by heat radiation)
Miliaria crystallina พบเมื่อมีการหลั่งเหงื่อในผิวหนังที่มีความผิดปกติ เช่น ในบริเวณที่ถูกแดดเผาไหม้ อันตรายที่ผิวหนังนี้จะอุดกั้น ต่อมเหงื่อทำให้เกิด vesicles ขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งจะหายไปเมื่อหยุดการหลั่งเหงื่อ ความผิดปกติเหล่านี้จะหายไปเมื่อผิวหนังที่ถูกทำลายนี้ลอกออกไป 1. อาการแสดงทางผิวหนัง Miliaria (heat rash) คือผื่นที่เกิดจากความร้อนเกิดจากการคั่งของเหงื่อจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ อาการมักเกิดบริเวณลำตัวเช่น หน้าอก หลัง ราวนม รักแร้ และขาหนีบ อาการมีสามรูปแบบเรียงตามลำดับความรุนแรงจากน้อยไปหามากได้แก่ Miliaria rubra พบมากที่สุด มีลักษณะเป็น macules หรือ papules สีแดงในบริเวณร่มผ้าให้เกิดรู้สึกคัน โดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออก พบในผิวหนังที่มีเหงื่อชื้นและไม่มีการระเหย เกิดจากผิวหนังชั้น keratin ดูดซึมน้ำ บวมทำให้ต่อมเหงื่อถูกอุดกั้น macules หรือ papules เหล่านี้จะติดเชื้อได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา 2. Heat Syncope 3. Heat Cramps Miliaria profunda พบเมื่อมีการอุดกั้นของต่อมเหงื่อใต้ผิวหนัง ผื่นนี้ยังพบได้ในกรณีที่ถูกแดดเผา ลักษณะผิวหนังจะเป็นสีซีดและยกขึ้นเป็นหย่อมคล้ายหนังห่าน 4. Heat Exhaustion 5. Heat Stroke วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
53
โรคจากความเย็น (Diseases caused by cold)
โรค ฟรอสไบท์ (Frostbite) มีการแข็งตัวของของเหลวรอบเซลล์/เนื้อเยื่ออาจทำให้เนื้อเยื่อตาย โรค Raynaud’s Phenomenon สภาวะหมดความรู้สึกเฉพาะแห่ง โรค Chilblains หรือ Pernio ผิวหนังแดง คัน จากการอักเสบจากความเย็น วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
54
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.3 โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ (49) ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือโรคปรสิตเนื่องจากการทำงาน 5.4 โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน โรคกลุ่มนิวโมโคนิโอสสิ เช่น ซิลิโคสิส แอสเบสโทสิส ฯลฯ โรคปอดจากโลหะหนัก โรคบิสสิโนสิส โรคหืดจากการทํางาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
55
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง (Cutaneous anthrax) แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal anthrax) แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ (Inhalation anthrax หรือ Woolsorter’s disease) เกิดจากเชื้อ Bacillus anthracis เป็นแบคทีเรียกรัมบวก ทรงแท่ง มีขนาดใหญ่ วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
56
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.4 โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน โรคปอดอักเสบภูมิไวเกิน โรคซิเดโรสิส โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดจากอะลูมิเนียม หรือสารประกอบของอะลูมิเนียม โรคทางเดินหายใจส่วนบนเกิดจากสารภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองในที่ทำงาน โรคระบบหายใจอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
57
โรคปอดฝุ่นหิน/ทราย (silicosis)
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยเวลาออกแรงเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ส่วนใหญ่จะมีอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะมากร่วมด้วยเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจากการสูบบุหรี่ การตรวจร่างกายไม่มีลักษณะที่จำเพาะของโรค พบ finger clubbing ได้น้อย เมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของโรคจะพบอาการและอาการแสดงของ cor pulmonale วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
58
โรคแอสเบสโทสิส (Asbestosis)
อาชีพเสี่ยง ได้แก่ คนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ 1. กระเบื้องมุงหลังคา ท่อซีเมนต์ และวัสดุที่ผสมฉนวนกันความร้อน 2. ผ้าเบรค และผ้าคลัช 3. การรื้อถอนอาคาร สิ่งก่อสร้าง หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีฉนวนกันความร้อน อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยมักจะมีประวัติ สัมผัสแอสเบสตอสเป็นเวลานาน ไม่ต่ำกว่า 15 ปี อาการนำส่วนใหญ่ คือ หอบเหนื่อยเวลาออกแรงที่เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในบางราย อาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย ในรายที่โรครุนแรงอาจจะมีอาการไอแห้ง ๆ ส่วนอาการไอเป็นเลือดพบได้น้อย วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
59
โรคปอดฝุ่นฝ้าย (Byssinosis)
อาชีพเสี่ยง การทำงานหรือสัมผัสฝุ่นใยฝ้าย ป่าน ปอ หรือลินิน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 2 ปีขึ้นไป จากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาการและอาการแสดง ส่วนใหญ่จะมีอาการแน่นหน้าอกและหายใจไม่สะดวก ส่วนน้อยจะมีอาการไอร่วมด้วยหรือมีอาการไออย่างเดียว อาการจะเกิดขึ้นหลังจากเริ่มทำงานโดยเฉพาะวันแรกของการทำงาน ภายหลังวันหยุด อาการจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลาการทำงานและทุเลาเมื่อหยุดทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
60
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.5 โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน โรคผิวหนังที่เกิดจากสาเหตุทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามี สาเหตุเนื่องจากการทำงาน โรคด่างขาวจากการทำงาน โรคผิวหนังอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน 5.6 โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรือสาเหตุจาก ลักษณะงานที่จําเพาะหรือมีปัจจัยเสี่ยงสูงในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (63) วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
61
โรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน
ทำงานขุดดินท่านี้สัก 1 ชั่วโมง อาจทำให้เป็นโรคปวดหลังจากการทำงานได้ ปลอกเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบบริเวณปลายยื่นกระดูกเรเดียส จากการทำงานในลักษณะที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ การใช้กำลังข้อมือมาก ๆ และข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
62
โรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน (ต่อ)
รอยนูนเหนือปุ่มกระดูกต้นแขนอักเสบจากการทำงานที่ใช้ แรงแขนและข้อศอกมาก ถุงลดเสียดสีที่ปุ่มปลายศอกอักเสบจากแรงกดบริเวณข้อศอกเป็นเวลานาน พบในอาชีพ ได้แก่ช่างเขียน ช่างประปา ช่างทาสี เป็นต้น วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
63
5. ประเภทและกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ (ต่อ)
5.7 โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน แอสเบสตอส (ใยหิน) เบนซิดีน และเกลือของสารเบนซิดีน บิสโครโรเมทธิลอีเทอร์ โครเมียมและสารประกอบของโครเมียม ถ่านหิน เบต้า - เนพธีลามีน ไวนิลคลอไรด์ เบนซีนหรืออนุพันธ์ของเบนซีน อนุพันธ์ของไนโตรและอะมิโนของเบนซีน รังสีแตกตัว น้ำมันดิน หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิน เช่น น้ำมันถ่านหิน น้ำมันเกลือแร่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมัน เช่น ยางมะตอย พาราฟินเหลว ไอควันจากถ่านหิน สารประกอบของนิกเกิล ฝุ่นไม้ ไอควันจากเผาไม้ โรคมะเร็งที่เกิดจากปัจจัยอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
64
โรคเหล่านี้ยังไม่มีกำหนดในบัญชีรายชื่อโรคจากการ ทำงานไทย
โรคจากการทำงานอื่นๆ กลุ่มอาการป่วยจากอาคาร (sick building syndrome; SBS) โรคภูมิแพ้สารเคมี (multiple chemical sensitivity; MCS) โรคจากการทำงานออฟฟิศ (office syndrome) โรคตาจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ (computer vision syndrome) โรคทำงานหนักจนตาย (Karoshidisease) การฆ่าตัวตายจากการทำงาน (suicide) ทำงานหนักจนเส้นเลือดหัวใจตีบ (myocardial infarction) โรคเหล่านี้ยังไม่มีกำหนดในบัญชีรายชื่อโรคจากการ ทำงานไทย วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
65
โรคทำงานหนักจนตาย (Karoshidisease)
เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 1970 เนื่องจากญี่ปุ่นได้รับความเสียหายใหญ่หลวงจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการศึกษาจึงเกิดคำว่า Karochi ซึ่งแปลว่า Death from overwork (เสียชีวิตจากการทำงานหนัก) สัญญาณของโรคคาโรชิ คล้ายคลึงกับออฟฟิศซินโดรม และ เช่นเดียวกัน คือ โรคคาโรชิอาจทำให้เกิดโรคร้ายหลายๆ โรค ตามมา สืบเนื่องจากความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ เมื่อยัง ไม่เลิกพฤติกรรมเดิมๆ ห่วงแต่งาน เครียดแต่งาน กังวลเรื่องงาน จนไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย ไม่มีเวลาผ่อนคลาย ทำให้เป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร โรคเกาต์ ไตวาย อัมพาต ถุงลม โป่งพอง มะเร็ง อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โรคประสาท ฯลฯ ทางเดียวที่ป้องกันโรคคาโรชิได้ คือ จัดสรรเวลาทำงานให้ถูกต้อง รู้ว่าเวลาไหนควรจะพักผ่อนได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องตรากตำทำงาน หนักเกินไป รู้จักผ่อนยาวผ่อนสั้น วิชาอาชีวอนามัย < อ. ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย> 22/5/2559
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.