งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สถานการณ์และการดำเนินการ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สถานการณ์และการดำเนินการ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ประเทศไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สถานการณ์และการดำเนินการ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ประเทศไทย 2555-2559
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 1

2 หัวข้อบรรยาย ความรู้เกี่ยวกับโรคซิกา ความสำคัญของโรค และสถานการณ์โรค
แนวทางเฝ้าระวังโรคซิกา แนวทางสอบสวนโรคซิกา

3 Zika virus ค้นพบครั้งแรกในลิง Rhesus ในป่า Zika ประเทศยูกันดา ในปี พ.ศ จากการทดลองของหน่วยวิจัยการแพทย์ทหารสหรัฐ เป็น Flavivirus ในกลุ่ม Spondweni virus group มียุงลายเป็นแมลงนำโรค เช่น  Aedes - Aedes aegypti, Aedes africanus, Aedes apicoargenteus, Aedes furcifer,Aedes luteocephalus และ Aedes vitattus. possible Mansonia and culex spp. ระยะฟักตัวเฉลี่ย วัน (น้อยที่สุด 3 วัน นานที่สุด 12 วัน) ในคน และ 10 วัน ในยุง (ในกรณีที่กินเลือดยังไม่อิ่ม ยุงลายสามารถกัดคนต่อไปและแพร่เชื้อได้เลยโดยไม่ต้องรอให้เข้าไปฟักตัวก่อน) ปัจจุบันพบการระบาดในสามทวีป ได้แก่ทวีปแอฟริกา เอเชีย และปัจจุบันลาตินอเมริกา

4 Zika virus spreading in Southern Pacific Islands and Asia
2012 Philippines 2010 Cambodia 2013 Thailand 2013 Indonesia Source:

5 Global Zika Virus in the past 1947 - 2007
Asian lineage African lineage Source : Hayes EB. Zika virus outside Africa. Emerg Infect Dis Sep

6 Countries and territories with Zika virus transmission
Source : ECDC, February 2016

7

8 สถานการณ์ Microcephaly ในประเทศบราซิล
พ.ศ จำนวนทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดอยู่ระหว่าง รายต่อทารกแรกเกิดมีชีพจำนวน 100,000 ราย พ.ศ จำนวนทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด ประมาณ 92 รายต่อทารกแรกเกิดมีชีพจำนวน 100,000 ราย US CDC สรุปและคาดประมาณการเกิด microcephaly 1-13% ของหญิงท้องที่ติดเชื้อซิกา

9 Molecular Seq of Zika virus in South East Asia and Latin America
Brazil Thailand Asian lineage R. Buathong,Thailand MOPH & S. Wacharapluesadee, Chulalongkorn University

10

11

12 Zika fever in Yap Islands, 2007
Source : Mark R. Duffy et al. Zika Virus Outbreak on Yap Island, Federated States of Micronesia. N Engl J Med 2009;360:

13 ตัวอย่างผื่นที่พบในผู้ป่วยโรคซิกาที่ติดเชื้อในประเทศไทย

14 ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยซิกา (ข้อมูลจากการวิจัยในหญิงตั้งครรภ์ที่ประเทศบราซิล 58-59)

15 ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยซิกา (ข้อมูลจากการวิจัยในหญิงตั้งครรภ์ที่ประเทศบราซิล 58-59)

16 อาการของผู้ป่วยที่ตรวจพบซิกาเทียบกับกลุ่มที่ตรวจไม่พบ (ข้อมูลจากการวิจัยในหญิงตั้งครรภ์ที่ประเทศบราซิล 58-59)

17 อาการของผู้ป่วยที่ตรวจพบซิกาเทียบกับกลุ่มที่ตรวจไม่พบ (ข้อมูลจากการวิจัยในหญิงตั้งครรภ์ที่ประเทศบราซิล 58-59)

18 Zika virus detected Blood : 5 – 7 days Saliva : 5 – 7 days
Urine : up to 14 days Semen : up to 2 months CSF : acute phase of meningoencephalitis Amniotic fluid : until delivery Death fetus in utero : autopsy Breast milk : infected during perinatal period

19

20 ผู้ป่วยสองรายแรกที่ได้รับรายงาน
รายที่หนึ่ง (รับแจ้งจาก Canada IHR) รายที่สอง (ตีพิมพ์ใน Eurosurveillance ฉบับเดือนมกราคม 2557*) หญิงชาวแคนาดา 45 ปี มาประเทศไทยพร้อม ครอบครัวเพื่อมางานแต่งงานของน้องชายซึ่งทำงานอยู่ในเมืองไทย ประวัติเดินทางขณะอยู่ประเทศไทย มค กทม. 28 มค. - 2 กพ ภูเก็ต 2 - 4 กพ กทม. 4 กพ. 56 เดินทางกลับแคนาดา และเริ่มมีอาการขณะนั่งเครื่องบินกลับแคนาดา (ปวดหลังมาก ปวดหัว กระสับกระส่าย หนาวสั่น) เริ่มมีผื่นที่มือและแขน ตาแดง 11 กพ. สงสัยหัด ปวดข้อมาก ตรวจพบเกล็ดเลือดต่ำ กพ. สงสัยไข้เด็งกี่ เริ่มดีขึ้น 21 กพ. ชายชาวเยอรมัน >50 ปี มาเที่ยวประเทศไทย ช่วงต้นพฤศจิกายน 56 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ (ภูเก็ต กระบี่ – เกาะจำ เกาะลันตา) เริ่มมีอาการปวด บวม ข้อและเท้าซ้าย 12 วันหลังเข้ามาประเทศไทย หลังจากนั้นเริ่มมีผื่นที่หลัง หน้าอก และกระจายไปหน้า แขน ขา ก่อนลดลงในเวลา 4 วัน ช่วงเดียวกันเริ่มปวดเมื่อย ไข้ หนาวสั่น ขณะกลับเยอรมัน ไม่มีอาการใดๆแล้ว ยกเว้นอ่อนเพลียมาก * First case of laboratory confirmed zika virus infection imported into Europe, November 2013

21 ผู้ป่วยรายอื่นๆที่ไปตรวจพบในต่างประเทศ
กรกฎา 57 พักที่เกาะสมุย ญี่ปุ่น 2557 คนไทยจากอุดรธานี ตรวจพบไข้ที่สนามบินไต้หวัน ไต้หวันรายที่ 1 พ.ศ (ม.ค.)* ไต้หวันรายที่ 2 พ.ศ (พ.ค.) * เป็นรายแรกที่ไต้หวันตรวจพบ นับตั้งแต่เริ่มเฝ้าระวังโรคซิกาเมื่อปี ค.ศ. 2003

22

23 การตรวจพบโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2555-2558

24 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ตั้งแต่ต้นปี 2559
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ตั้งแต่ต้นปี 2559 พบผู้ป่วยสะสม 97 ราย ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ เป็นหญิงตั้งครรภ์ 10 ราย คลอดแล้ว 5 ราย ทุกรายไม่พบภาวะศีรษะเล็กในทารก พบใน 11 จังหวัด พิษณุโลก อุดรธานี เชียงใหม่ บึงกาฬ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา สุโขทัย นนทบุรี อุตรดิตถ์ กรุงเทพ กาญจนบุรี จังหวัดที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการควบคุมโรค เพชรบูรณ์และเชียงใหม่ ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย จะทำการตรวจหาเชื้อจากหญิงตั้งครรภ์ทั้งอำเภอแม้ว่าไม่มีอาการ

25 สถานการณ์ Microcephaly ในประเทศไทย
ข้อมูลย้อนหลัง พ.ศ ในผู้ป่วยที่ถูกรายงาน ICD-10-CM รหัส Q02 (microcephaly) จากมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ 43 แฟ้มของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นทารกที่มีภาวะศีรษะเล็กทันทีเมื่อแรกเกิดจำนวน 31 ราย คิดเป็น 4.36 รายต่อจำนวนเด็กเกิดมีชีพ 100,000 ราย* * ข้อมูลน่าจะต่ำกว่าความเป็นจริง

26 ความชุกของ Microcephaly ในประเทศไทย พ.ศ.2557
จังหวัดที่มีความชุกสูงสุด 10 อันดับแรกของประเทศ ได้แก่ มหาสารคาม พบความชุกจำเพาะอายุ รายต่อประชากรแสนราย รองลงมา คือ ตาก (112.36) ตราด (90.09) อุดรธานี (90.03) หนองบัวลำภู (84.69) กระบี่ (72.81) อุทัยธานี (71.53) กำแพงเพชร (68.95) แม่ฮ่องสอน (67.25) และชัยภูมิ (64.32) ตามลำดับ

27 ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกเด็กอายุ < 1 ปีที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดและอัตราป่วยโรคติดเชื้อไวรัสเด็งกี โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โรคหัด และโรคหัดเยอรมันในหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มอายุ ปี โดยใช้ one-year lag Microcephaly Dengue พบความสัมพันธ์ระหว่างความชุกจำเพาะอายุของเด็กอายุ <1 ปีที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดกับอัตราป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสเด็งกีในหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มอายุ ปี (r = 0.32, p= 0.004) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ใดๆ กับอัตราป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน

28 แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังและสอบสวน Microcephaly ในประเทศไทย
รพ.ในกทม./ รพ.นอกสังกัด กท.สธ. /รพ. เอกชนไม่ได้รายงานเข้าฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ความไม่ครบถ้วนของข้อมูล แพทย์ไม่ตระหนักถึงการติดเชื้อไวรัส Zika ในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ามารับการรักษาด้วยอาการไข้หรือไข้ออกผื่น อาจให้การวินิจฉัยป่วยเป็นโรคอื่นๆ ความไม่ตระหนักถึงไวรัส Zika การสอบสวนการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของโรคติดเชื้อไวรัสเด็งกีเพื่อหาสาเหตุของเชื้อก่อโรคเป็นเรื่องสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างเข้มข้น การไม่หาสาเหตุของการระบาด วางแผนศึกษาแบบ prospective study ในกลุ่มประชากรทารกแรกเกิดเพื่อศึกษาความชุกของทารกที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดที่แท้จริงของประเทศไทย พัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งความครบถ้วน ครอบคลุมหน่วยบริการสาธารณสุขเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะทำให้ทราบสถานการณ์ของการเกิดโรคอย่างแท้จริง การดำเนินงานสอบสวนการระบาดในกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์เพื่อหาสาเหตุของเชื้อก่อโรค และตรวจหาเชื้อไวรัส Zika จะเป็นมาตรการสำคัญในการเฝ้าระวังทารกมีภาวะ Microcephaly ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส Zika ในประเทศไทย

29 แนวทางการเฝ้าระวังโรคซิกา (สิงหาคม 2559)

30 นิยามผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under investigation: PUI)
ผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่เข้านิยาม ผู้ป่วยทั่วไปที่เข้านิยาม ทารกที่มีศีรษะเล็ก ผู้ป่วยกลุ่มอาการ กิลแลง-บาร์เร มีผื่น และมี ไข้ ปวดข้อ ตาแดง (อย่างน้อย 1 ใน 3 อาการ) ไข้ และมี ปวดศีรษะ ปวดข้อ ตาแดง (อย่างน้อย 2 ใน 3 อาการ) หรือ มีผื่นและอาศัยอยู่หรือมีประวัติเดินทางไปในตำบลที่พบผู้ป่วยยืนยันและยังอยู่ในระยะควบคุมโรค อายุ 15 ปีขึ้นไป มีไข้ และมี น้อยกว่า 15 ปี มีไข้ ผื่น และตาแดง กลุ่มก้อน 1. มีผื่น และมี ไข้ ปวดข้อ ตาแดง (1 ใน 3 อาการ) 2. มีไข้ และมี ปวดศีรษะ ปวดข้อ ตาแดง (2 ใน 3 อาการ) กุมารแพทย์วินิจฉัย ทารกไม่เกิน 1 เดือน และค่าความยาวเส้นรอบวงรอบศีรษะ < 3 Percentile ของค่าปกติในเพศและกลุ่มอายุครรภ์ของทารกนั้น แพทย์วินิจฉัย กลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสาทหลาย ๆ เส้นพร้อมกัน ผู้ที่มาด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง 2 ข้างอาจจะมีชาหรือไม่ก็ตาม

31 การเก็บตัวอย่าง ทารกที่มีศีรษะเล็ก
ผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่เข้านิยาม ผู้ป่วยทั่วไปที่เข้านิยาม ทารกที่มีศีรษะเล็ก ผู้ป่วยกลุ่มอาการ กิลแลง-บาร์เร มีอาการป่วยไม่ว่าป่วยมาแล้วนานเท่าไหร่ก็ตาม ป่วยในระยะ 5 วันแรกนับจากวันเริ่มป่วย ป่วยมากกว่า 5 วัน – 1 เดือนนับจากวันเริ่มป่วย ไม่ทราบวันเริ่มป่วย เก็บเลือด เก็บเลือดและปัสสาวะ เก็บปัสสาวะ เก็บตัวอย่าง plasma ครั้งที่หนึ่งทั้งของมารดาและทารกเพื่อส่งตรวจภูมิคุ้มกันชนิด IgM หาก IgM ให้ผลลบ ให้เก็บ plasma ครั้งที่สองของทารกอีกครั้งในอีก 3-4 สัปดาห์ เพื่อตรวจภูมิคุ้มกันชนิด IgG เก็บตัวอย่างปัสสาวะ ของทั้งมารดาและทารก เพื่อส่งตรวจวิธี RT-PCR เก็บตัวอย่าง plasma ครั้งที่หนึ่งของผู้ป่วยเพื่อส่งตรวจภูมิคุ้มกันชนิด IgM หาก IgM ให้ผลลบ ให้เก็บ plasma ครั้งที่สองอีก 3-4 สัปดาห์ เพื่อตรวจภูมิคุ้มกันชนิด IgG เก็บตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อส่งตรวจวิธี RT-PCR มีอาการป่วยมาไม่เกิน 1 เดือนนับจากวันเริ่มป่วย เก็บปัสสาวะ ก่อนเก็บตย.ส่งตรวจฯ ให้โทรแจ้งสำนักระบาดฯ ก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะกรณีของ microcephaly & GBS ให้โทรแจ้งทุกครั้งที่จะเก็บเลือดในแต่ละครั้ง

32

33 การนำส่งตัวอย่าง เมื่อเก็บ Plasma, Urine หรือ Saliva ส่งตรวจ ให้นำหลอดบรรจุตัวอย่างใส่ถุงพลาสติก แช่ในกระติกที่มี ice pack หรือน้ำแข็ง กรณีที่มีตัวอย่างจากผู้ป่วยหลายราย ให้แยกถุงพลาสติก 1 ถุง ต่อ 1 ราย ส่งพร้อมใบนำส่งที่กรอกข้อความอย่างชัดเจน ภายใน 24 ชั่วโมง

34 ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ PUI ในระยะแรกของอำเภอขณะที่ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยัน
เก็บตัวอย่าง แยกตัวอย่างเป็น 2 ชุด ส่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้ง 2 ชุด สำนักระบาดวิทยาจะเป็นผู้แบ่งตัวอย่างมา 1 ชุดเพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการอื่นๆที่เป็นเครือข่ายตามความเหมาะสม

35 เมื่อพบผู้ป่วยยืนยันแล้วในอำเภอ
ไม่ต้องแยกตัวอย่างเป็น 2 ชุด เนื่องจากจะส่งตรวจเพียง 1 แห่ง ส่งที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหลัก สำนักระบาดวิทยาจะพิจารณาส่งห้องปฏิบัติการอื่นๆ เมื่อเห็นว่าปริมาณตัวอย่างส่งตรวจต่อวันมากเกินศักยภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จะสามารถตรวจให้เสร็จในเวลาที่กำหนด

36 ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อ Zika virus จากผู้ที่เข้าได้กับนิยามผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ให้แจ้งไปยังสำนักระบาดวิทยา โทร หรือ (ในเวลาราชการ) และ (นอกเวลาราชการ) หรือ โทรสาร หรือส่งทางอีเมล์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อ Zika virus ในกรณีของผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) มีรายชื่อในทะเบียนรับแจ้งของสำนักระบาดวิทยา

37 นิยามผู้ป่วยโรคซิกา*
ผู้ป่วยสงสัย (Suspected case) หมายถึง ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ที่ไม่ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจหรือเก็บในเวลาที่ไม่เหมาะสม ร่วมกับมีวันเริ่มป่วย ภายใน 2 สัปดาห์ ก่อนหรือหลัง วันเริ่มป่วยของผู้ป่วยยืนยัน และอยู่ในหมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียน หรือที่ทำงานเดียวกัน หรือทำกิจกรรมในสถานที่เดียวกัน ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) หมายถึง ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) หรือผู้ที่มีอาการไข้ หรือ ผื่น ที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซิกาในเลือด หรือในปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งในร่างกาย โดยวิธี PCR สำหรับกรณีทารกที่มีศีรษะเล็กผิดปกติ ต้องตรวจพบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสซิกา (ZIKV IgM) หรือมี seroconversion ของ Zika virus IgG ผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection) หมายถึง ผู้สัมผัสหรือหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่แสดงอาการป่วย และมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซิกา ในเลือด หรือ ในปัสสาวะ หรือ สารคัดหลั่งในร่างกาย โดยวิธี PCR * กรณี PUI ยังไม่นับว่าเป็นผู้ป่วยซิกา

38 แนวทางการสอบสวน และควบคุมโรคซิกา (สิงหาคม 2559)

39 วัตถุประสงค์การสอบสวนโรค
เพื่อสอบสวนหาสาเหตุ และวิธีแพร่โรคของกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคซิกา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ของเชื้อ Zika virus ที่ได้จากการสอบสวนโรค เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการควบคุม และป้องกันโรค

40 เงื่อนไขการออกสอบสวนโรคและควบคุมโรค
1. ระดับตำบลและอำเภอ ในกรณีพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) จนถึง ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) 2. ระดับจังหวัด ในกรณีพบผู้ป่วยสงสัย (Suspected case) ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection) ในจังหวัด โดยร่วมลงสอบสวนและควบคุมโรค จนกว่าจะสิ้นสุดการระบาด 3. สำนักงานป้องกันควบคุมโรค และ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ในกรณีพบผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection) ในจังหวัดที่ไม่เคยพบผู้ป่วย และในอำเภอใหม่ของจังหวัดเดิม 4. สำนักระบาดวิทยา และ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ในกรณีพบผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case) หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection) ในจังหวัดที่ไม่เคยพบผู้ป่วย ส่วนกรณีที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา ในอำเภอใหม่ของจังหวัดเดิม ให้พิจารณาเป็นรายกรณี

41 การสิ้นสุดการระบาด ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่นับจากวันพบผู้ป่วยรายสุดท้ายของอำเภอ ครบ 28 วัน โดยแยกเป็น กรณีที่ผู้ป่วยรายสุดท้ายเป็นผู้ที่มีผลตรวจพบเชื้อ (คือ ผู้ป่วยยืนยัน และผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ) ให้นับจากวันที่ได้รับผลตรวจในครั้งแรกแทนวันพบผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยรายสุดท้ายเป็นผู้ป่วยสงสัย (ซึ่งเป็นผู้ที่มีอาการเข้าได้กับ PUI และอยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยัน แต่ไม่ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ) ให้นับจากวันแรกที่พบผู้ป่วย

42 สิ่งที่ต้องดำเนินการทันทีเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ จากเชื้อไวรัสซิกา (1) สัมภาษณ์ผู้ป่วยตามแบบสอบสวนโรคซิกา โดยเน้นประวัติเดินทางของผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังป่วย โดยรวมถึงการเดินทางในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องออกนอกพื้นที่ เก็บตัวอย่างผู้สัมผัสในครอบครัว หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีอาการเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคที่อาศัยในหมู่บ้านหรือชุมชนเดียวกับผู้ป่วย ติดตามเฝ้าระวังอาการของผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเดียวกัน และรอบๆ บ้านผู้ป่วย

43 สิ่งที่ต้องดำเนินการทันทีเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ จากเชื้อไวรัสซิกา (2) ประสานทีมควบคุมโรคในการสำรวจและกำจัดลูกน้ำ รวมทั้งยุงตัวแก่ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ รวมถึงพื้นที่อื่นๆที่ผู้ป่วยเดินทางไปเป็นประจำภายหลังจากเริ่มมีอาการป่วย โดยเฉพาะในระยะ 5 วันแรกหลังเริ่มป่วย ในการสำรวจและกำจัดลูกน้ำในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ รวมทั้งที่ทำงานหรือโรงเรียน ควรใช้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นหลักในการดำเนินการ โดยระดมเจ้าหน้าที่(อาจร่วมกับอสม.)จากพื้นที่อื่นๆ มาร่วมดำเนินการ การพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดยุงตัวแก่ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ ในระยะแรกของแต่ละอำเภอ ควรขอให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์ควบคุมป้องกันโรคนำโดยแมลงที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับทีมพ่นสารเคมีฯของพื้นที่

44 Activate EOC: จัดการเรื่องกำลังคนให้เพียงพอ + จัดระบบงาน
สิ่งที่ต้องดำเนินการทันทีเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ จากเชื้อไวรัสซิกา (3) Activate EOC: จัดการเรื่องกำลังคนให้เพียงพอ + จัดระบบงาน จัดให้มีการทบทวนความรู้ ทบทวนทักษะการสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลายของเจ้าหน้าที่และอสม.ในพื้นที่ โดยทีมจากเขตหรือส่วนกลาง ซึ่งสามารถทำได้ขณะที่ทำงานร่วมกัน อบรมทีมพ่นสารเคมีกำจัดยุงในพื้นที่ซึ่งมักจะได้ทำหลังจากสัปดาห์แรก เนื่องจากช่วงแรกเน้นการควบคุมโรคในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ร่วมกับการจัดระบบต่างๆ

45 ผู้ป่วย PUI ทั้งหมู่บ้าน/ ที่ทำงาน/ โรงเรียน หญิงตั้งครรภ์
การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ กรณีพบผู้ป่วยยืนยันหรือผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ทุกราย ผู้ป่วย PUI ทั้งหมู่บ้าน/ ที่ทำงาน/ โรงเรียน หญิงตั้งครรภ์ ป่วยเข้าได้กับ PUI ไม่ป่วย มีอาการ < 5 วัน จากวันเริ่มป่วย มีอาการ > 5 วัน - 1 เดือน จากวันเริ่มป่วย ป่วยเข้าได้กับ PUI ไม่ป่วย มีอาการ < 5 วัน จากวันเริ่มป่วย มีอาการ > 5 วัน - 1 เดือน จากวันเริ่มป่วย เก็บปัสสาวะ เก็บเลือดและปัสสาวะ (เก็บเลือดได้ตลอดระยะการตั้งครรภ์) เก็บเลือดและปัสสาวะ * หญิงท้องในหมู่บ้าน เก็บปัสสาวะ วันแรกที่พบ และวันที่ 14 (+/- เลือด) ** เก็บปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีผื่นและไข้ที่มาร.พ. และ รพ.สต. ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยในช่วง 1 เดือนย้อนหลัง หญิงท้องในตำบล เก็บปัสสาวะ ในวันแรกที่พบ (+/- เลือด) ** เก็บเลือดและปัสสาวะ * เก็บปัสสาวะ มีอาการ < 5 วัน จากวันเริ่มป่วย มีอาการ > 5 วัน - 1 เดือน จากวันเริ่มป่วย หญิงท้องในอำเภอ เฉพาะรายที่มาตามกำหนดฝากครรภ์ เก็บปัสสาวะ ในวันแรกที่พบ เก็บเลือดและปัสสาวะ * เก็บปัสสาวะ * กรณีเก็บเลือดไม่ได้ให้พิจารณาเก็บน้ำลายส่งตรวจ ** ในกรณีที่ประเมินว่าน่าจะมีการระบาดเป็นวงกว้างในพื้นที่มาแล้วระยะหนึ่งก่อนพบผู้ป่วยรายแรก พิจารณาเก็บเลือดหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านหรือตำบลเดียวกับผู้ป่วยยืนยันส่งตรวจทุกราย เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจพบเชื้อในเลือด แต่ไม่พบในปัสสาวะ โดยที่สามารถพบเชื้อในเลือดได้เป็นเวลานาน และยังสามารถแพร่เชื้อได้ตลอด

46 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีพบผู้ป่วย Zika

47 เป้าหมายการควบคุมโรค (1)
ดำเนินการควบคุมโรคให้ได้ใน 14 วัน นั่นคือ เมื่อนับไป 14 วันหลังพบผู้ป่วยที่ได้รับรายงานรายแรก (นับจากวันที่ได้รับผลตรวจยืนยัน) จะต้องไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มเติม

48 เป้าหมายการควบคุมโรค (2)
ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในรัศมี 100 เมตรของบ้านผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย ให้มีค่า HI, CI = 0% ทั้งหมู่บ้าน และรัศมี 100 เมตรของบริเวณที่ผู้ป่วยเดินทางไปเป็นประจำ เช่น ที่ทำงาน โรงเรียน บ้านเพื่อนสนิท ภายในเวลา 5 วัน ในตำบลที่พบผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย ให้มีค่า HI, CI < 5% ภายในเวลา 14 วัน ในอำเภอที่พบผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย ให้มีค่า HI, CI < 5% ภายในเวลา 28 วัน สำหรับพื้นที่ที่พบผู้ป่วยยืนยัน แต่มีหลักฐานชัดเจนว่ารับเชื้อมาจากพื้นที่อื่น (imported case) โดยไม่พบผู้ป่วยรายอื่นเพิ่มเติม (no local transmission) หรือกรณีที่พบผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ ให้เน้นการควบคุมโรคในข้อ 1

49 การจัดลำดับความสำคัญของการสอบสวนและควบคุมโรค (1)
มีผู้ป่วยยืนยัน ไม่ว่ามีหรือไม่มีการแพร่เชื้อต่อในพื้นที่ (Confirmed case with or without local transmission) ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และหญิงตั้งครรภ์ พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ 0, 3, 7, 14, 21, 28 และสำรวจและกำจัดลูกน้ำในวันที่ 0, 3, 5, 7, 14, 21, 28 ทั้งหมู่บ้านให้มีค่า HI และ CI เป็น 0 ตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไป จากวันที่เริ่มดำเนินการควบคุมโรค และควบคุมทั้งตำบลและอำเภอให้มีค่า HI และ CI น้อยกว่า 5 ตามเวลาที่กำหนด (ดูรายละเอียดในหัวข้อ “เป้าหมายการควบคุมโรคฯ”) ควบคุมพาหะเข้มข้นพื้นที่รอยต่อ/เดินทางไปมา ระดมทรัพยากรจากภายนอกมาช่วยสนับสนุน

50 การจัดลำดับความสำคัญของการสอบสวนและควบคุมโรค (2)
มีผู้ป่วย PUI ที่อยู่ระหว่างการรอผลตรวจยืนยัน (PUI lab-pending) ค้นหาผู้ป่วยและหญิงตั้งครรภ์ พ่นยา สำรวจและกำจัดลูกน้ำ ในรัศมี 100 เมตร ในรัศมี 100 เมตร ให้มีค่า HI และ CI เป็น 0 ตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไป จากวันที่เริ่มดำเนินการควบคุมโรค (กรณีผลแลปไม่ชัดเจน) ระดมทรัพยากรจากภายนอกมาช่วยสนับสนุน หรือ ใช้ทรัพยากรจากภายในพื้นที่

51 การจัดลำดับความสำคัญของการสอบสวนและควบคุมโรค (3)
มีผู้ป่วย PUI ที่ผลตรวจยืนยันเป็นลบ (PUI lab-excluded) ค้นหาผู้ป่วย พ่นยา สำรวจและกำจัดลูกน้ำ ในรัศมี 100 เมตร ในรัศมี 100 เมตร ให้มีค่า HI และ CI เป็น 0 ตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไป จากวันที่เริ่มดำเนินการควบคุมโรค (กรณีผลแลปไม่ชัดเจน) ใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่

52 การจัดลำดับความสำคัญของการสอบสวน และควบคุมโรค (4)
สีแดง คือ ตำบลที่พบผู้ป่วยยืนยัน สีเหลือง คือ ตำบลที่อยู่รอบๆตำบลที่พบผู้ป่วยยืนยัน สีเขียว คือ ตำบลอื่นๆ ที่เหลือ ในส่วนของการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ในการควบคุมโรค บางจังหวัดใช้วิธีแบ่งตำบลเป็นสีเขียว เหลือง แดง เพื่อใช้ในการกำหนดลำดับการดำเนินการควบคุมโรค ดังนี้

53 ปัญหาที่พบ ทั้งแพทย์และประชาชนไม่ค่อยรู้จัก และไม่สนใจโรคนี้
ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการน้อย บางรายมีแค่ผื่น โดยไม่มีอาการอย่างอื่น ทำให้เข้าใจว่าเป็นผื่นแพ้ รวมทั้งการตรวจเลือด(หาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ)อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่นๆ การควบคุมยุงลายและการกำจัดลูกน้ำแบบยั่งยืนมีความเป็นไปได้ยาก มักเกิดการระบาดไปแล้วระยะหนึ่ง กว่าจะรู้ว่ามีการป่วยเกิดขึ้นในพื้นที่ ปัญหาในการควบคุมโรค ทรัพยากรในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและซิกาถูกกระจายอำนาจไปให้อบต. บางครั้งตั้งงบประมาณไว้ไม่พอ คุณภาพของการพ่นสารเคมีและทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย การให้ประชาชนเป็นตัวหลักในการกำจัดลูกน้ำ โดยใช้กระบวนการเสริม เช่น ประกวดหมู่บ้าน มีปัญหาเรื่องการใช้งบประมาณ

54 ในทุกวิกฤติมีโอกาส


ดาวน์โหลด ppt สถานการณ์และการดำเนินการ สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google