ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDamian van Beek ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ไฟฟ้าคืออะไร หนังสือวิทยาศาสตร์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ ให้ความหมายที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น - ไฟฟ้า คือ พลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน - ไฟฟ้า คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประจุเคลื่อนที่ผ่านตัวนำไฟฟ้า ในหนึ่งหน่วยพื้นที่หน้าตัด ในหนึ่งหน่วยเวลา
2
ไฟฟ้าคืออะไร ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน ไฟฟ้า (คำนาม) คือ พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการ เคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือโปรตอน หรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่
3
ไฟฟ้าคืออะไร วัตถุ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก
อะตอมเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆ อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส ทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอนเป็นอนุภาคที่มีไฟฟ้า อิเล็กตรอนหมุนรอบนิวเคลียสเพราะมีแรงดึงดูดระหว่างไฟฟ้าบวกของโปรตอนและไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอนตัวที่อยู่วงโคจรนอกสุดซึ่งห่างจากนิวเคลียสมากมีแรงดึงดูดน้อย เมื่อมีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามารบกวน อิเล็กตรอนจึงหลุดพ้นจากวงโคจรนั้นได้ และสามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระระหว่างอะตอมได้ ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ทางไฟฟ้า วัตถุใดที่มีอิเล็กตรอนอิสระจำนวนมาก จะมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ถ้ามีจำนวนน้อยจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า
4
ประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าในสสารมี 2 ชนิด คือ ประจุบวก และประจุลบ โดยประจุชนิดเดียวกันจะผลักกัน และประจุต่างชนิดกันจะดึงดูดกัน ซึ่งผู้ที่แยกชนิดของประจุไฟฟ้าได้เป็นคนแรกคือ เบนจามิน แฟรงคลิน
5
วัตถุทุกชนิดประกอบด้วยอะตอมที่มีไฟฟ้า ดังนั้น วัตถุทุกชนิดควรมีไฟฟ้าด้วย ภายในอะตอมของวัตถุนั้น
มีปริมาณไฟฟ้าบวกและลบเท่ากัน แรงกระทำจากไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบจึงหักล้างกันพอดี สภาพเช่นนี้เรียกว่า สภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า (ทั้งไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบยังคงมีอยู่ในจำนวนที่เท่ากัน) การเกิดไฟฟ้าสถิตย์ เมื่อเรานำวัตถุสองชนิดมาถูกัน จะเกิดไฟฟ้าสถิตย์ขึ้น อธิบายได้ว่า อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในวัตถุ ชนิดหนึ่งเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้นจนสามารถหลุดพ้นจากแรงยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสของอะตอมและกระโดด ไปอยู่ในวัตถุอีกชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนในวัตถุชนิดแรกมีจำนวนลดลง จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าบวกออกมา ในขณะเดียวกันวัตถุที่ได้รับอิเล็กตรอนอิสระจะทำให้มีไฟฟ้าลบมากกว่า จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าลบออกมา โดยทั่วไป การที่วัตถุเกิดไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้ามีทั้งประจุบวกและ ประจุลบ ประจุไฟฟ้าแสดงถึงปริมาณไฟฟ้า มีหน่วยเป็น คูลอมบ์ (Coulomb)
6
ตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าคืออะไร?
ปรากฏการณ์ หากเราถือแท่งแก้วไว้ในมือแลัวถูไปมา จะเกิดประจุบนแท่งแก้วนั้น แต่ถ้าทำแบบเดียวกันกับโลหะทองแดงจะไม่เกิดอะไรขึ้นเลย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
7
คำอธิบาย คำอธิบาย เนื่องจากประจุเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในทองแดง
ประจุที่เกิดจากการขัดสีจึงเดินทางผ่านทองแดงมาสู่ตัวเราและลงพื้นไปจนหมด (เหตุการณ์นี้เกิดเร็วมากจนเราไม่รู้ตัว) ดังนั้นหากเราถือแท่งทองแดงที่มีด้ามเป็นแก้วล่ะ จะเกิดประจุบนทองแดงหรือไม่ (คำตอบทางทฤษฎี คือ เกิดได้แน่นอน อย่างนี้ต้องลองปฎิบัติกันนะครับ)
8
ข้อสรุป - ตัวนำ คือ สสารที่ยอมให้ประจุเคลื่อนผ่านได้อย่างอิสระ เช่น ทองแดง เงิน ทอง ตัวเรา - ฉนวน คือ สสารที่ไม่ยอมให้ประจุเคลื่อนผ่านได้อย่างอิสระ เช่น แก้ว พลาสติก
9
กระแสไฟฟ้าคืออะไร ไฟฟ้าที่เคลื่อนไหวในสายไฟทั่วไป หรือในลวดตัวนำ เช่น โลหะทองแดง อะลูมิเนียม อะตอมของโลหะ มีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัวจะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าบวก แล้วรวมตัวกับประจุไฟฟ้าบวกเพื่อเป็นกลาง ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ เมื่อเกิดสภาพขาดอิเล็กตรอนจึงจ่ายประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการ ไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุไฟฟ้าบวกจะถูกทำให้เป็นกลางหมด การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Electric Current) ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้านั้น กำหนดได้จากปริมาณของประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดใดๆ ในเส้นลวดใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere ซึ่งแทนด้วย A) กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า 2 ตัวที่วางขนานกันโดยมีระยะห่าง 1 เมตร แล้วทำให้เกิดแรงใน แต่ละตัวนำเท่ากับ 2 x 10-7 นิวตันต่อเมตร หรือเท่ากับประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ ซึ่งเทียบได้กับอิเล็กตรอน 6.24 x 1018 ตัววิ่งผ่านใน 1 วินาที
10
สำหรับในตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอน
จะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ กระแสไฟฟ้าเกิดจาก การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้าม กับการไหลของอิเล็กตรอน
11
ชนิดไฟฟ้ากระแส 1. ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลหรือมีขั้วของแหล่งจ่ายแน่นอน เช่น ถ่านไฟฉาย หรือ แบตเตอรี่
12
2. ไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลอยู่ตลอดเวลา
โดยขั้วหรือประจุไฟฟ้าจะสลับไปมาระหว่างบวก-ลบ ตลอดเวลา เช่น ไฟฟ้าจากระบบสาย ส่งการไฟฟ้า
13
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า 1.จากพลังงานน้ำ 2. จากพลังงานลม 3. จากพลังงานแสงอาทิตย์ 4. จากปฏิกิริยาเคมี 5.จาก
14
1. พลังงานน้ำ
16
จากพลังงานคลื่น
17
2. พลังงานลม
18
3. พลังงานแสงอาทิตย์
21
แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหลหรือ
เคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage) ศักย์ไฟฟ้า เป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึง ระดับไฟฟ้า เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า
22
แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า (electromotive force) หรือเขียนย่อเป็น emf เขียนแทนด้วย
ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิด จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ หน่วยของแรงดันไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า มีหน่วยเดียวกัน คือ โวลต์ (Voltage ซึ่งแทนด้วย V )
23
ความต้านทานไฟฟ้าคืออะไร
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลย่อมหมายถึงมีการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนในสายไฟ และอิเล็กตรอนจะวิ่งชนกับ อะตอมของเส้นลวด เกิดการต้านทานการไหลของอิเล็กตรอนขึ้น กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟมีคุณสมบัติการ ไหลต่างกันเพราะมี ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance) ความต้านทานไฟฟ้าเป็นสมบัติเฉพาะของวัตถุในการที่จะขวางหรือต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะ ไหลผ่านวัตถุนั้นๆ ไป หน่วยของความต้านทานไฟฟ้าเป็น โอห์ม ( Ohm แทนด้วยสัญลักษณ์ Ω ) ความต้านทาน 1 โอห์ม คือ ความต้านทานของเส้นลวดที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ 1 แอมแปร์ เมื่อใช้แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ วัตถุแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้แตกต่างกัน วัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า (Conductor) เช่น ทองแดง, เงิน, อะลูมิเนียม ฯลฯ สำหรับวัตถุที่ไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านได้หรือไหลผ่านได้ยาก เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า (Insulator) เช่น พลาสติก, ยาง, แก้ว และกระดาษแห้ง ฯลฯ
24
นอกจากนี้ยังมีวัตถุอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ
(Semiconductor) เป็นวัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้และสามารถควบคุมการไหลผ่านได้ เช่น คาร์บอน, ซิลิคอน และเจอมาเนียม ฯลฯ
25
สรุปความหมายทางไฟฟ้า
1. แรงดันไฟฟ้า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า หมายถึงแรงที่ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานของวงจร ไปได้ ใช้แทนด้วยตัว E มีหน่วยวัดเป็นโวลท์ (V) 2. กระแสไฟฟ้า หมายถึงการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนอิสระจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง จะไหลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานของวงจร ใช้แทนด้วยตัว I มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A) 3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงตัวที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ใช้แทนด้วยตัว R มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม ( ) 4. กำลังงานไฟฟ้า หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัตราการทำงาน ได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัว P มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W) 5. พลังงานไฟฟ้า หมายถึงกำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต ใช้แทนด้วยตัว W
26
ของเซลล์ไฟฟ้าครบเป็นวงจร
วงจรไฟฟ้า การต่อสายฟ้าจากขั้วหนึ่งของเซลล์ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้ามาเชื่อมต่อกับอีกขั้วหนึ่ง ของเซลล์ไฟฟ้าครบเป็นวงจร เซลล์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ หลอดไฟ สัญลักษณ์
27
ความแตกต่างของวงจรเปิด-วงจรปิด
1. วงจรเปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ซึ่งเป็นผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่สามารถจ่ายพลังงานออกมาได้ สาเหตุของวงจรเปิดอาจเกิดจาก สายหลุด สายขาด สายหลวม สวิตซ์ไม่ต่อวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น 2. วงจรปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร ทำให้โหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรนั้นๆ ทำงาน
29
การลัดวงจร(Short Circuit)
ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าช็อต หมายถึงการที่ไฟฟ้าไหลผ่านจากสาย ไฟฟ้าเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่งโดย ไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดใดๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฉนวนของสาย ไฟฟ้าชำรุด และมาสัมผัสกันจึงมีความ ร้อนสูง มีประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิง ไหม้ได้ถ้าบริเวณนั้นมีวัสดุไวไฟ
30
วงจรขาด(Open Circuit)
31
ไฟฟ้าดูด หมายถึงการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด ความรุนแรงของอันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณ ของกระแส เวลาและเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ไฟฟ้ารั่ว หมายถึงสายไฟฟ้าเส้นที่มีไฟจะไหลไปสู่ส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้าไม่มีสายดินก็จะทำให้ได้รับ อันตราย แต่ถ้ามีสายดินก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่นั้นไหลลงดินแทน ไฟฟ้าเกิน หมายถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกต ได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ
32
การต่อวงจรไฟฟ้า สามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ
1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไป เหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิด เครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน
33
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม
1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร 2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้า ที่แหล่งกำเนิด 3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจร รวมกัน
34
2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน
และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไป ต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทาง ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยัง สามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
35
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน
กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน 2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด 3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่ น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
36
3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อ
แบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนาน มารวมกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใด ที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนาน มาพิจารณาไปทีละขั้นตอน
37
เครื่องมือวัดปริมาณไฟฟ้า (Instruments)
แบ่งตามลักษณะของชนิดไฟฟ้าที่ใช้วัด ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ใช้วัดสัญญาณไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และชนิดที่ใช้วัด สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)แบ่งตามลักษณะหน้าที่ที่ใช้วัด เช่น 1.แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ผ่านจุด หรือ ตำแหน่ง ที่ต้องการวัด มีหลัก การใช้คือใช้ต่อแบบอนุกรม กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้านั้น 2.โวลท์มิเตอร์ (Voltmeter) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างตำแหน่ง หรือจุดที่ต้องการ มีหลักการใช้คือ ใช้ต่อแบบขนาน กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้านั้น 3.โอห์มมิเตอร์ (Ohm meter) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต้านทานของอุปกรณ์ ไฟฟ้า 4.วัตต์มิเตอร์ (Watt meter) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณกำลังไฟฟ้า 5.มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณไฟฟ้าได้หลายชนิด เช่นวัด กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความ ต้านทานไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า
38
หน่วยมาตรฐาน SI
39
กฎของโอห์ม กฎของโอห์ม “กระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้านั้น จะแปรผันตรงกับแรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้า แต่จะแปรผกผันกับค่าความต้านทานในวงจรไฟฟ้า”
40
1. เมื่อนำเส้นลวดโลหะเส้นหนึ่งต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ 12 โวลต์ แล้วใช้แอมมิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านลวดโลหะนี้ พบว่า อ่านค่ากระแสไฟฟ้าได้ 2 แอมแปร์ แสดงว่า เส้นลวดนี้มีความต้านทานเท่าไร
41
2. ถ้าต่อตัวต้านทาน 2200 โอห์ม เข้ากับความต่างศักย์ ดังนี้ 2
2. ถ้าต่อตัวต้านทาน 2200 โอห์ม เข้ากับความต่างศักย์ ดังนี้ โวลต์ โวลต์ ตัวต้านทานดังกล่าวจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกี่แอมแปร์
42
แบบฝึกหัดเรื่อง กฎของโอห์ม
3. จากวงจรไฟฟ้าในรูป จงคำนวณหากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร
43
4. หลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งมีความต้านทาน 96 Ω ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า V จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดไฟฟ้านี้เท่าไร
44
กฎของโอห์ม 5.จากวงจรไฟฟ้าในรูป ถ้ามีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรเท่ากับ 2 A และตัวต้านทานนี้มีค่า 3 Ω อยากทราบว่าค่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่มีค่าเท่าไร (6 V)
45
กฎของโอห์ม 6.หลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งเมื่อใช้กับแรงดันไฟฟ้า 120 V จะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดเท่ากับ 0.8 A ความต้านทานของหลอดไฟฟ้าหลอดนี้มีค่าเท่าไร (150 Ω) 7.ในวงจรไฟฟ้าวงจรหนึ่งมีกระแสไฟฟ้าขนาด 35 mA ไหลผ่านตัวต้านทานค่า 10 kΩ จะเกิดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมตัวต้านทานนี้เท่าไร (350 V)
46
กำลังไฟฟ้า หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองไปใน 1 วินาที
หน่วยของกำลังไฟฟ้า เป็น จูลต่อวินาที (J/s) หรือ วัตต์(w) ความหมายของสัญลักษณ์บนเครื่องใช้ไฟฟ้า - หลอดไฟขนาด 60 w 220 v หมายถึง หลอดไฟนี้ใช้กับไฟที่มี ความต่างศักย์ 220 v และให้กำลังไฟสูงสุด 60 w - เตารีด 5 A 220 v หมายถึง เตารีดนี้ใช้กับไฟที่มีความต่างศักย์ 220 v และจะได้กระแสไฟฟ้าสูงสุด 5 แอมแปร์ (เตารีดร้อนเต็มที่) ถ้านำเตารีดไปใช้กับ ความต่างศักย์ ต่ำกว่า 220 v เตารีดจะร้อนไม่เต็มที่ ถ้านำเตารีดไปใช้กับ ความต่างศักย์ สูงกว่า 220 v เตารีดจะไหม้
47
กำลังไฟฟ้า แทนค่า จะได้ ถ้าแทนค่า จะได้
กำลังไฟฟ้า หมายถึง อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อเวลาที่ใช้ แทนค่า จะได้ ถ้าแทนค่า จะได้
48
การคำนวณค่าใช้พลังงานไฟฟ้า
ค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อไฟฟ้าต้องชำระให้กับผู้ขายไฟฟ้าในการใช้พลังงานไฟฟ้านั้น คิดจากปริมาณของกำลังไฟฟ้าที่ใช้คูณกับระยะเวลา พลังงานไฟฟ้าที่ใช้งาน = กำลังไฟฟ้า x เวลาที่ใช้ไฟฟ้า W = Pt W มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ - ชั่วโมง (kWh) หรือ ยูนิต unit P มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ (kW) t มีหน่วยเป็นชั่วโมง (h) ค่าใช้ไฟฟ้า = อัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วย x พลังงานไฟฟ้า Cost = Rate x W
49
1.บ้านหลังหนึ่งใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิด แต่ละชนิดใช้เวลานานดังนี้ - เตารีดไฟฟ้าขนาด 1000 วัตต์ ใช้รีดผ้าสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง - หลอดไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ 4 หลอด แต่ละหลอด ใช้วันละ 5 ชั่วโมง ผู้อาศัยบ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้าเดือนละกี่หน่วย
50
2 เครื่องทำความร้อนขนาด 120 V กินกระแสไฟฟ้า 3 A เครื่องทำน้ำร้อนนี้มีขนาดกำลังไฟฟ้าเท่าไร (360 W)
3 หลอดฮาโลเจนขนาด 500 W ใช้กับไฟฟ้าขนาด 120 V กิน กระแสไฟฟ้าเท่าไร (4.17 A) 4 เตาอบไฟฟ้าใช้ขดลวดความร้อนขนาด 4 kW ใช้กับระบบไฟฟ้า 240 V จะกินกระแสไฟฟ้าเท่าไร (16.7 A)
51
5. จากวงจรไฟฟ้าในรูป จงคำนวณหากำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับตัวต้านทาน R (0
5.จากวงจรไฟฟ้าในรูป จงคำนวณหากำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับตัวต้านทาน R (0.225 W) 6. จงคำนวณหาค่ากำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับหลอดไฟฟ้าที่มีค่าความต้านทานของไส้หลอด 100 Ω และมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 0.2 A (4 W)
52
กำลังไฟฟ้า 7.จงคำนวณหาค่าใช้ไฟฟ้าจำนวน 120 kWh เมื่อกำหนดให้อัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยเท่ากับ 2.20 บาท (264 บาท) 8.จงคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าของหลอดไฟฟ้าขนาด 200 วัตต์ 2 หลอด ใช้งานเป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง อัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วย คือ 0.80 บาท (0.96 บาท) 9.เตารีดเครื่องหนึ่งใช้กับไฟฟ้า 120 V กินกระแสไฟฟ้า 8 A ถ้าอัตราค่าไฟฟ้าเท่ากับ 1.85 บาทต่อหน่วย จงหาค่าใช้ไฟฟ้าของเตารีดนี้ ถ้าใช้งานนานเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ค่าไฟฟ้าคิดเฉพาะ เตารีดในเดือนเมษายนเป็นเท่าใด (3.552 บาท)
53
10. บ้านหลังหนึ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไปนี้ทุกวัน คือ หลอดไฟ วัตต์ 3 หลอด เปิดวันละ 5 ชั่วโมงทุกหลอด เตารีด วัตต์ ใช้วันละ 1 ชั่วโมง เครื่องรับโทรทัศน์ 180 วัตต์ เปิดวันละ 4 ชั่วโมง ในเดือนพฤษภาคมจะเสียเงินค่าไฟฟ้าเท่าไร ถ้าค่าไฟหน่วยละ 1.50 บาท
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.