งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารจัดการข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ตามรอยครู :

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารจัดการข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ตามรอยครู :"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารจัดการข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ตามรอยครู :
ดร. นพ.อมร นนทสุต อ. มัลลิกา ตะติยาพรพันธ์

2 วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์
จำแนกและจัดลำดับความสำคัญตาม ลักษณะกลุ่มเป้าหมายด้านสุขภาพ 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ชุมชน ลักษณะพื้นที่เสี่ยง 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างความเสี่ยงระดับบุคคลและสิ่งแวดล้อม 4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิรูปโครงการโดยใช้ “ค่ากลาง”

3 ข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ  ข้อมูลทุติยภูมิ 

4 ประเภทข้อมูล 1. ข้อมูลด้านสถานะสุขภาพ (Health Status)
2. ข้อมูลกิจกรรมบริการสาธารณสุข (Health Activities) 3. ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข (Health Resources) 4. ข้อมูลพฤติกรรมอนามัย (Health Behavior) 5. ข้อมูลประชากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ ประชากรตาม อายุ เพศ สถานที่ต่างๆ อัตราการเพิ่มประชาการ เป็นต้น

5 การจัดการเพื่อดูแลสุขภาพ ด้วยหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา
KPI องค์กร

6 กลุ่มเป้าหมาย สิ่งแวดล้อม
การจำแนกและจัดลำดับความสำคัญตามลักษณะกลุ่มเป้าหมายย่อยและพื้นที่เสี่ยง ใช้หลักจัดการความเสี่ยง โดยค้นหากลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ๆมีความเสี่ยงต่างๆกัน เพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ทีมหมอครอบครัว : กำหนดเกณฑ์และให้คะแนนสภาวะทางสุขภาพ (ความเสี่ยง) เป็นรายบุคคลเป้าหมาย ทีมท้องถิ่นและภาคประชาชน :กำหนดเกณฑ์และให้คะแนนสภาวะแวดล้อมเป็นรายหมู่บ้าน บันทึกรายละเอียดเหตุผลในการให้คะแนนในช่องหมายเหตุด้วย กลุ่มเป้าหมาย สิ่งแวดล้อม

7 ส่วนที่ 1 : วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
เป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เป็นผู้เลือกเองว่า อยากทำในกลุ่มใด ด้วยเหตุผลใด ประชุมกลุ่มย่อยในผู้ที่เกี่ยวข้องว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ มีอะไรบ้าง เช่น โรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อน ความพิการ พฤติกรรมสุขภาพ (3 อ ส., กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ, การรัดเข็มขัดนิรภัย,การสวมหมวกกันน็อค, การใช้ถุงยางอนามัย ฯลฯ ) ภาวะโภชนาการ การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน (ADL) กำหนดปัจจัย อย่างน้อย 4 ด้าน แต่ละด้านเลือกเกณฑ์การให้คะแนน โดยระบุ ความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ เสี่ยงน้อย : 1 คะแนน เสี่ยงปานกลาง : 2 คะแนน เสี่ยงสูง : 3 คะแนน รวม 4 ด้าน 3 ระดับ คะแนนเต็ม 12 คะแนน

8 ชื่อบุคคล/ที่อยู่ _คะแนนความเสี่ยงรวม =(ระหว่าง 4 ถึง 12)
การจำแนกและจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ต.ท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อบุคคล/ที่อยู่ _คะแนนความเสี่ยงรวม =(ระหว่าง 4 ถึง 12) สภาวะทางสุขภาพ (ตามเกณฑ์ที่กำหนด) คะแนน ความเสี่ยง หมายเหตุ (รายละเอียด) การประเมิน สมรรถภาพในการช่วยเหลือตนเอง Activity Daily Living 1 น้อย 2 ปานกลาง 3 มาก ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง ด้านโรคไม่ติดต่อ มีความเสี่ยง โรคเบาหวานหรือความดัน ไม่มีโรคแทรก โรคเบาหวานและความดัน มีโรคแทรกซ้อน ด้านโภชนาการ ค่าดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 25 น้อยกว่า18.5 ด้านพฤติกรรม 3 มาก ไม่ล้างมือ ไม่ใช้ช้อนกลาง ดื่มน้ำอัดลม ชอบหวาน มัน เค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่

9 ผลประเมินการช่วยเหลือ ตนเองในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่าง ตารางที่ 2 แบบสำรวจข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ ตำบล อำเภอ จังหวัด ที่ ที่อยู่ ชื่อ AGE ผลประเมินการช่วยเหลือ รวม พฤติกรรม โภชนาการ BMI โรค รวมทั้งหมด ตนเองในชีวิตประจำวัน 1 2 3 มีความเสี่ยง มี1โรค(2) มี2 โรค(3) ติดสังคม 1 ติดบ้าน2 ติดเตียง3 ไม่กินร้อน หวานมันเค็ม สูบ/ ดื่ม อ้วน ผอม -1 DM/ HT โรคแทรก 39/1 นาค 89 6 ไพฑูรย์ 88 32/1 อิ่น 87 5 4 11/1 คำอ้าย 86 7 ดี 85 ติดบ้าน 8 บัวไหล 9 67/1 จันทร์ดี 84 81 ปั๋นแก้ว 10 17 อุ่น 83 11 9/2 รัตน์ 12 38/1 จันทร์ 80 13 19/1 วิชัย 78 14 36 เจริญ 15 ทองใบ ติดเตียง

10 สรุปคะแนนความเสี่ยงของกลุ่มผู้สูงอายุแยกรายหมู่บ้าน.................
คะแนนรวม หมู่ที่ รวม 1 2 3 4 5 6 7 54 45 33 31 46 37 291 18 10 22 11 17 19 134 21 13 107 20 16 9 86 8 12 50 112 97 137 100 77 87 707

11 ระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้สูงอายุ .....................
คะแนน จำนวน(คน) หมายเหตุ 4 291 คะแนน 4-6 5 134 เสี่ยงน้อย 6 107 (532 คน ) 7 86 คะแนน 7-9 8 50 เสี่ยงปานกลาง 9 18 (94 คน ) 10 20 คะแนน 10-12 11 1 เสี่ยงมาก 12 (21 คน ) รวม 707

12 ส่วนที่ 2 : สภาวะแวดล้อมของหมู่บ้าน ชุมชน ที่มีผลต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ของกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ

13 สิ่งแวดล้อม ด้านกายภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ
ข้อมูลทั้ง 3 ด้านนี้ : ผู้ที่วิเคราะห์และให้ข้อมูล อาจให้ ข้อมูลซึ่งเป็นภาพรวม *จากการสังเกต ความจริงที่เป็นอยู่ สภาพที่มองเห็น *ใช้ข้อมูลจากครัวเรือน สรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน * แล้วแต่ผู้วิเคราะห์(ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มองค์กร เทศบาล หรือตัวแทนประชาชน)

14 การใช้พื้นที่ร่วมกัน 1 น้อย 2 ปานกลาง 3 มาก
ระดับความเสี่ยงของสภาวะแวดล้อมของกลุ่มเป้าหมาย ต.ท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สภาวะแวดล้อมของหมู่บ้าน (ตามเกณฑ์ที่กำหนด) คะแนน ความเสี่ยง รายชื่อหมู่บ้าน หมายเหตุ ด้านกายภาพ การจัดการขยะ การใช้ส้วมนั่งยอง การใช้พื้นที่ร่วมกัน 1 น้อย 2 ปานกลาง 3 มาก หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 2 , หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 , หมู่ที่ 6 ร้อยละของผู้สูงอายุในหมู่บ้านมีความเสี่ยงจากน้อยไปหามาก ด้านสังคม การร่วมกิจกรรมในชุมชน การถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 , หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 6 , หมู่ที่ 2 จำนวนครั้งและปริมาณของคนเข้าร่วมกิจกรรมตามลำดับ ด้านเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ หนี้สิน หมู่ที่ 2 , หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 6 , หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 , หมู่ที่ 3 รายได้ หนี้สิน ของประชากรในหมู่บ้านมีความเสี่ยงจากน้อยไปหามาก

15 กายภาพ+สังคม+เศรษฐกิจ กำหนดระดับความเสี่ยง
สรุปคะแนนความเสี่ยง หมู่ที่ คะแนน กายภาพ+สังคม+เศรษฐกิจ รวม หมายเหตุ 1 5 กำหนดระดับความเสี่ยง 3 – 5 คะแนน=เสี่ยงน้อย 6 – 7 คะแนน=เสี่ยงปานกลาง 8 – 9 คะแนน=เสี่ยงสูง 2 6 3 4 8 7 รวม 3 ด้าน 3 ระดับ คะแนนเต็ม 9 คะแนน

16 การจำแนกและจัดลำดับความสำคัญตามลักษณะกลุ่มเป้าหมายย่อยและพื้นที่เสี่ยง
จัดลำดับความสำคัญของหมู่บ้านตามระดับความเสี่ยงของสภาวะสุขภาพและสภาพแวดล้อม เป็นหมู่บ้านประเภท * 1 (เสี่ยงมาก) * 2 (เสี่ยงปานกลาง) * 3 (เสี่ยงน้อย) ประเภทความเสี่ยงของหมู่บ้านเป็นตัวกำหนด งานสำหรับกลุ่มเป้าหมายและสภาวะแวดล้อม

17 สภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยงมาก(จำนวน) กลุ่มเสี่ยงน้อย(จำนวน)
การกำหนดลำดับความสำคัญในภาพรวมของตำบล สภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยงมาก(จำนวน) กลุ่มเสี่ยงปานกลาง (จำนวน) กลุ่มเสี่ยงน้อย(จำนวน) หมายเหตุ ความเสี่ยงสูง หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 ไม่มี 2 คน รวม 2 คน 27 คน 9 คน รวม 36 คน 73 คน 76 คน รวม 149 คน ความเสี่ยงปานกลาง หมู่ที่ 2 3 คน 33 คน 61 คน ความเสี่ยงน้อย หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 1 คน 8 คน 4 คน 3 คน รวม 16 คน 29 คน 26 คน 13 คน 17 คน รวม 85 คน 82 คน 103 คน 60 คน 77 คน รวม คน 1 1 2 1 2 3 2 3 3

18 ใบงานที่ 1 :การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
1. นางดอกรัก : อายุ 86 ปี หมู่ที่ 1 ตำบลแสนสุข ป่วยเป็น หัวใจ เบาหวาน ความดัน ไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกเลือด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง นอนติดเตียง ค่อนข้างผอม ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ต้องมีญาติดูแล 2. นายหอมหวน : อายุ 90 ปี หมู่ที่ 1 ตำบลแสนสุข พิการทางการเคลื่อนไหว นั่งรถเข็น หลง ลืม เป็นบางครั้ง ตักข้าวกินเอง ใส่เสื้อผ้าได้ อาบน้ำต้องมีคนเช็ดตัว มีประวัติดื่มสุราสูบบุหรี่ ทุกครั้งที่ญาติเผลอจะแอบสูบบุหรี่ใบตองมวนเองเสมอ 3. นางมะลิ : อายุ 72 ปี หมู่ที่ 1 ตำบลแสนสุข ค่อนข้างท้วม เป็น อสม. ไม่มีโรคประจำตัว มีประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่ ปัจจุบันยังสูบบุหรี่ใบตองวันละ 2 มวน 4. นายดวงดี : อายุ 62 ปี หมู่ที่ 1 ตำบลแสนสุข รูปร่างสูงใหญ่ อ้วน มีประวัติดื่มสุราสูบบุหรี่ ได้รับอุบัติเหตุต้องตัดขา ข้าง ขี้โมโห หงุดหงิด ขว้างปาข้าวของ แยกทางกับภรรยาหลังจากอุบัติเหตุ อยู่บ้านกับลูกชายอายุ 30 ปี ซึ่งต้องไปทำงานทุกวัน มักจะดื่มสุราก่อนกลับมาบ้าน ทะเลาะกับพ่อบ่อยครั้ง 5. นางยินดี : อายุ 65 ปี หมู่ที่ 2 ตำบลแสนสุข สามีเพิ่งเสียชีวิต มีลูก 1 คนทำงานต่างจังหวัดนานๆจะกลับบ้าน มีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน ความดัน หลังจากสามีเสียชีวิต นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ไม่ค่อยพูดจากับใคร เก็บตัวอยู่ในบ้าน หมอนัดไปรพ. ขาดนัดติดต่อกัน 2 ครั้ง 6. นางสาวพอใจ : อายุ 68 ปี หมู่ที่ 2 ตำบลแสนสุข รูปร่างอ้วน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เป็นสมาชิกสภาเทศบาล(สท.) มีโรคประจำตัว นอนไม่หลับ ไปหาหมอ หมอบอกว่าเกิดจากความเครียด ชอบช่วยเหลืองานสังคม ชอบดื่มเบียร์ 7. นายบุญมาก : อายุ 70 ปี หมู่ที่ 2 ตำบลแสนสุข เป็นใบ้แต่กำเนิด อาชีพเก็บขยะขาย มีประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่ ผอมมาก มักมีอาการหายใจหอบเวลาฝนตกหรืออากาศเย็น ไม่ชอบไปรพ. อยู่กับลูกชายอายุ 30 ปี ซึ่งพิการ นอนติดเตียง 8. นายโชคช่วย : อายุ 70 ปี หมู่ที่ 2 ตำบลแสนสุข ป่วยเป็น หัวใจ เบาหวาน ความดัน ไตวายเรื้อรัง ชอบอาหารหวาน เค็ม รูปร่างสมส่วน ต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วยเหลือตัวเองได้ อยู่คนเดียว ไปรพ.มีรถเทศบาลนำส่ง 9. นางพอเพียง : อายุ 85 ปี หมู่ที่ 3 ตำบลแสนสุข ป่วยเป็น หัวใจ เบาหวาน ความดัน รูปร่างสมส่วน อยู่กับลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลาน ติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ขี้โมโห ชอบด่าลูกหลาน ลูกชายจึงสร้างห้องนอนแยกจากตัวบ้าน ให้อยู่ต่างหาก 10. นายบุญเสริม: อายุ 69 ปี หมู่ที่ 3 ตำบลแสนสุข รูปร่างสมส่วน ทำสวนลำไย พ่นยาเอง เวลาพ่นยาลำไยจะใส่หมวกเสมอ ป่วยเป็นโรคความดัน มีประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่ ไอเรื้อรัง ไปตรวจล่าสุดหมอบอกว่า เป็นมะเร็งปอดระยะที่ 2 11. นางสุดสวย : อายุ 72 ปี หมู่ที่ 3 ตำบลแสนสุข อยู่กับสามี 2 คน ป่วยเป็น เบาหวาน ความดัน เป็นประธานแม่บ้าน รูปร่างสมส่วน นำออกกำลังกายด้วยรำวงย้อนยุค เมื่อ 6 เดือนก่อนหกล้มกระดูกสะโพกแตกต้องใช้ไม้ค้ำเดิน 12. นายสุดหล่อ : อายุ 69 ปี หมู่ที่ 3 ตำบลแสนสุข รูปร่างสมส่วน เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน ชอบสังคม มีประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่ สุขภาพแข็งแรงมาตลอด เมื่อ 3 เดือนก่อน ไปรพ. หมอบอกว่า เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ระยะที่ 2 ********************************************************************

19 ตัวอย่าง : แบบสำรวจข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ ตำบล. อำเภอ
ตัวอย่าง : แบบสำรวจข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ ตำบล อำเภอ จังหวัด ลำดับ ที่อยู่ ชื่อ-สกุล อายุ ผลประเมินการช่วยเหลือ พฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโภชนาการ โรคไม่ติดต่อ รวม ทั้งหมด ตนเองในชีวิตประจำวัน ไม่กินร้อน หวาน/มัน/เค็ม สูบ/ดื่ม ปกติ ท้วม อ้วน/ผอม มีความเสี่ยง เบาหวาน/ความดัน ติดสังคม (1) ติดบ้าน (2) ติดเตียง (3) (1) (2) (3) ไม่มีโรคแทรก(2) มีโรคแทรก(3) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

20 ใบงานที่ 2 : การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
หมู่ที่ 1 บ้านน้ำล้อม ตำบลแสนสุข : มีลักษณะกึ่งเมือง กึ่งชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ยังดำรงชีวิตแบบวิถีดั้งเดิม บ้านไม้ใต้ถุนสูงเป็นส่วนใหญ่ มีห้องน้ำนั่งยองแยกจากตัวบ้าน มีสวนสาธารณะสำหรับเดินเล่นและออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีกองทุนสัจจะวันละ 1 บาท ประชาชนจะไปวัดทุกวันพระ ตั้งแต่มีโรงงานรับซื้อของเก่าขนาดใหญ่ในหมู่บ้าน เกิดไข้เลือดออกทุกปี หมู่ที่ 2 บ้านสวนไผ่ ตำบลแสนสุข : มีลักษณะกึ่งเมือง กึ่งชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ยังดำรงชีวิตแบบวิถีดั้งเดิม ตั้งแต่ลูกผู้ใหญ่บ้านกลับมาจากกรุงเทพฯ มาสร้างบ้านเป็นตึกทรงสมัยใหม่ มีห้องน้ำชักโครกไว้ในห้องนอน ทำให้บ้านที่เริ่มมี ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ต่อเติมชั้นล่างและสร้างห้องน้ำไว้ในห้องเพื่อความสะดวกด้วย หลังจากเปลี่ยนผู้นำคนใหม่ ซึ่งเป็นคนชอบชนไก่ ทุกวันอาทิตย์จะเปิดให้มีการชนไก่ ได้-เสียเป็นหลักหมื่น มีการกู้เงินนอกระบบ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ประชาชนจะไปวัดทุกวันพระ ถ้าวันพระตรงกับวันอาทิตย์จะมีคนไปวัดน้อยลง 3 เดือนที่ผ่านมา เกิดซุ้มเหล้าดองเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง หมู่ที่ 3 บ้านสวนสวย ตำบลแสนสุข : มีลักษณะกึ่งเมือง กึ่งชนบท เป็นที่ตั้งของ รพ.สต. ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงดำรงชีวิตแบบวิถีดั้งเดิม บ้านไม้ใต้ถุนสูงเป็นส่วนใหญ่ มีห้องน้ำนั่งยองแยกจากตัวบ้าน มีสวนสาธารณะสำหรับเดินเล่นและออกกำลังกาย ประธานแม่บ้าน เป็นผู้นำการออกกำลังกาย หลังจากผู้นำออกกำลังกายป่วยต้องหยดไป เกิดผู้นำ รุ่นจิ๋วมานำแทน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนลำไย ใช้สารเคมีในการเกษตรตามที่ได้ยินโฆษณาทางทีวี ประชาชนไปวัด ทุกวันพระ และมีเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. มาให้สุขศึกษาทุกวันพระ ************************************

21 สรุปคะแนนความเสี่ยง หมู่ที่ คะแนนความเสี่ยง รวม ระดับ ความเสี่ยง
กายภาพ สังคม เศรษฐกิจ 1 2 3 ---

22 ใบงานที่ 3ให้ลงตารางภาพรวมการวิเคราะห์ความเสี่ยง
การกำหนดลำดับความสำคัญในภาพรวมของตำบล..สมุทรสาคร สภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยงมาก(จำนวน) กลุ่มเสี่ยงปานกลาง (จำนวน) กลุ่มเสี่ยงน้อย(จำนวน) หมายเหตุ ความเสี่ยงสูง หมู่ที่ ……0….. คน ……4….. คน ความเสี่ยงปานกลาง หมู่ที่ ……1….. คน ……3….. คน ความเสี่ยงน้อย หมู่ที่ ……2….. คน 1 1 2 1 2 3 2 3 3

23 เชื่อมั่นและทำให้เป็นจริง

24 แนวคิดสำหรับกำหนดกิจกรรมสำคัญและงาน
เน้นลดระดับความเสี่ยงในหมู่บ้านประเภท 1 ลงด้วยมาตรการทางวิชาการสำหรับกลุ่มเป้าหมายในสัดส่วนที่สูงกว่ามาตรการทางสังคม สัดส่วนจะกลับทางกันสำหรับหมู่บ้านประเภท 3 และใกล้เคียงกันสำหรับประเภท 2 ความเข้มของมาตรการทั้งเทคนิค สังคม และนวัตกรรม (สะท้อนด้วยลักษณะงาน) สูงสุดในประเภท 1 ต่ำสุดในประเภท 3 ทีมหมอประจำครอบครัวจัดการงานภาครัฐ ท้องถิ่น/ชุมชน/อสม.จัดการงานภาคประชาชน

25 การวิเคราะห์เพื่อกำหนดงานตามระดับความเสี่ยง ของตำบลท่ากว้าง อ
การวิเคราะห์เพื่อกำหนดงานตามระดับความเสี่ยง ของตำบลท่ากว้าง อ.สารภี เชียงใหม่ ตัวอย่าง จุดเน้นหนักอยู่ที่งานภาคประชาชนที่ควรครอบคลุมทั้งตำบลในความเข้มที่ต่างกันตามระดับความเสี่ยง สามารถใช้งานในค่ากลางของจังหวัด (ปรับปรุงให้เหมาะกับบริบท)เป็นกรอบในการกำหนดงานภาคประชาชน โอกาสมอบความรับผิดชอบให้ภาคประชาชนดำเนินการเองมีความเป็นไปได้สูง อยู่ที่การเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลซึ่งควรกำหนดงานเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในค่ากลางของจังหวัด ทีมหมอครอบครัวกำหนดรูปแบบการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสำหรับหมู่บ้านสีเหลืองเป็นหลัก โดยรวม 1 คนจากหมู่บ้านสีแดงเข้าไว้ในโครงการด้วย แบ่งงานระหว่างสมาชิกในทีมหมอครอบครัวภาครัฐ โดยใช้ระดับความเข้มปานกลางเป็นหลัก

26 การปฏิรูปโครงการของรัฐก่อนนำไปปฏิบัติ
ใช้แนวคิดการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนบทบาทของภาคประชาชน (หมายรวมทั้งท้องถิ่น/อสม.)ให้สามารถวางแผน จัดการโครงการสุขภาพได้ด้วยตนเอง อันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาบทบาทของประชาชนโดยภาครัฐ สร้างโครงการที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือใช้เทคนิคที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยภาคประชาชน ลดจำนวนโครงการให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อภาคประชาชนผู้ดำเนินโครงการ ควบคุมจำนวนโครงการที่มีจำนวนน้อยให้คงที่โดยเปลี่ยนรูปแบบการวางโครงการจากที่ใช้ประเด็นปัญหาเป็นตัวตั้ง (Issue-based Project Formulation) ซึ่งไม่สามารถควบคุมจำนวนโครงการที่เกิดขึ้นได้ (Open-end) เป็นการใช้กิจกรรมจากแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ที่สำคัญเป็นตัวตั้ง (SRM Activity-based Project Formulation) ซึ่งมีจำนวนจำกัด ทำให้สามารถควบคุมจำนวนโครงการได้ การปรับเปลี่ยนลักษณะโครงการดังกล่าว ถือเป็นนโยบายที่ต้องกำหนดในระดับกระทรวงฯ และมีการแจ้งให้ทราบและถือปฏิบัติเป็นทางการ ส่วนการดำเนินการปรับเปลี่ยน ให้เป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่ระดับที่ใกล้ชิดกับประชาชนที่สุด และต้องมีการประสานความร่วมมือและเพิ่มพูนสมรรถนะของภาคประชาชนเพื่อให้รับบทบาทดังกล่าวได้ต่อไปในอนาคต

27 การบูรณาการ นำชุดงานต่างๆที่กำหนดไว้ในตารางการจัดชุดงานและประเมินค่าใช้จ่ายมาให้รายละเอียดของงานที่สำคัญที่ประกอบกันเป็นชุดงานเหล่านั้น ขั้นตอนนี้จะทำให้โครงการต่างๆมีกิจกรรมสำคัญที่ระบุไว้ในค่ากลาง เสร็จแล้วจึงทำการบูรณาการงานที่อาจจะทำพร้อมกันได้โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน ขั้นตอนนี้จะสามารถทำให้ประหยัดทรัพยากร (คน เงิน เวลา วัสดุอุปกรณ์)ได้ การบูรณาการงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมสามารถใช้ร่วมกันระหว่างกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้ ถ้ากลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นอยู่ในพื้นที่เดียวกัน (ถ้าต้องการ อาจเพิ่มเติมงานที่มีลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มได้) งานใดที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่สามารถทำร่วมกับงานอื่นได้ สามารถแยกเป็นโครงการพิเศษ

28 การเปลี่ยนผ่านระบบจัดการสุขภาพจากภาครัฐสู่ภาคประชาชน
การบูรณาการทำให้เหลือโครงการในระดับพื้นที่ เพียง 2 โครงการ คือ 1. โครงการจัดการ สุขภาพกลุ่มเป้าหมาย 2. โครงการจัดการ- สภาวะแวดล้อม พื้นที่ใช้เงินที่ประหยัดได้ เปิดโครงการที่ 3 คือ 3. โครงการส่งเสริม นวัตกรรมสังคม เพื่อพัฒนาสมรรถนะเชิง การบริหารจัดการตนเอง ของประชาชนและสร้าง ความเชื่อมโยงกับระบบการ พัฒนาสังคม/เศรษฐกิจของ ตำบล ค้นหาเพิ่มเติมใน

29 ตัวอย่าง การปฏิรูปโครงการและการบูรณาการโครงการ :
กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่าง กิจกรรมจาก SLM ADL โรคไม่ติดต่อ โภชนาการ พฤติกรรม ชุดงาน/ค่าใช้จ่าย 1. การเฝ้าระวัง/ คัดกรองโดยประชาชน -สำรวจ 2Q ADL วัดความดัน เจาะน้ำตาลในเลือด สารพิษในเลือด ชั่งนน. ส่วนสูง หาBMI รอบเอว -สำรวจพฤติกรรมสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพอสม. นักจัดการสุขภาพ (บาท) 2. การสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยน ประชุม/อบรม เยี่ยมบ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ /บุคคลต้นแบบ/ อผส./สื่อ ประชุม /อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชาคม/ อสม./สื่อ/ บุคคลต้นแบบ ประชุม/อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ ประชาคม/ อสม./สื่อ/ ประชาคม/ อสม./สื่อ/ การพัฒนาศักยภาพวิทยากรกระบวนการ (บาท) 3. การดำเนิน มาตรการทางสังคม ปฏิบัติการชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ สร้างบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. เกษตรอินทรีย์ ตลาดผักปลอดภัย ปั่นจักรยานทุกวันอาทิตย์/แอโรบิคทุกเย็น วันอังคารและวันศุกร์ ธรรมนูญสุขภาพตำบล (บาท) 4. การปรับ โครงการของ ท้องถิ่น/ตำบล โครงการสุขใจไม่คิดสั้น โครงการลดเค็มครึ่งหนึ่งคนท่ากว้างห่างไกลโรค โครงการลดละ เลิกบุหรี่ สุรา ยาเสพติด โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงเรียนผู้สูงอายุ โครงการรายประเด็น โครงการรายกิจกรรม

30 การเติมเต็มตาราง 7 ช่องและสร้างแผนปฏิบัติการ
โดยคัดเลือกและกำหนดงานสำคัญจากทุกชุดงานในตารางบูรณาการเพื่อให้รายละเอียด ตารางนี้จะใช้สำหรับชุดงานที่ฝ่ายท้องถิ่น/ชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบ

31 ตัวอย่าง : ตารางบูรณาการงานและตารางนิยามงาน (7 ช่อง)

32 สรุป : 1. ผู้เรียนเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์จำแนกและจัดลำดับความสำคัญตามลักษณะกลุ่มเป้าหมายด้านสุขภาพ 2. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ชุมชน จำแนกและจัดลำดับความสำคัญตามลักษณะ พื้นที่เสี่ยง 3. ผู้เรียนสามารถแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างความเสี่ยงระดับบุคคลและสิ่งแวดล้อม 4. ผู้เรียนสามารถปฎิรูปโครงการโดยใช้ ค่ากลาง

33 เชื่อมั่นและทำให้เป็นจริง


ดาวน์โหลด ppt การบริหารจัดการข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ตามรอยครู :

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google