งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้นิสิตได้ทราบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต 2. เพื่อให้เห็นถึงการความเกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือการพัฒนาชนบทของไทยอย่างไรบ้าง 3. เพื่อให้เข้าใจถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
เนื้อหาของบทเรียน - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต - ความเกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือการพัฒนาชนบทของไทยอย่างไรบ้าง - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พิพัฒน์ มัลลิกะมาลย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

5 ในส่วนของวิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในประเทศไทยของบทที่ 3 นี้ จะอธิบายถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีตที่ผ่านมาโดยสรุปว่ามีความเกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือการพัฒนาชนบทของไทยอย่างไรบ้าง ซึ่งแผนการพัฒนาประเทศไทยในระยะเริ่มต้นตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-3 เป็นช่วงของการวางแผนพัฒนาในภาพรวมของทั้งประเทศ ซึ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น การสร้างถนนเชื่อมระหว่างหัวเมืองต่างๆกับกรุงเทพฯ การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานและผลิตไฟฟ้า

6 การสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัด และการสร้างสิ่งสาธารณูปการต่างๆ เพื่อรองรับการขยายการพัฒนาประเทศ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในช่วงนี้การพัฒนาประเทศจึงไม่มีการลงรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนหรือการพัฒนาชนบท มากนัก ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เป็นต้นมาจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 การวางแผนการพัฒนาของประเทศไทยได้เริ่มมีการวางแผนการพัฒนาชนบท หรือพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ จากโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาหมู่บ้าน

7 โครงการเงินผัน โครงการสร้างงานในชนบท โครงการพัฒนาตำบล โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม โครงการต่างๆ เหล่านี้เป็นโครงการที่เข้าไปช่วยเหลือและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในระดับฐานราก เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

8 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เป็นแผนการพัฒนาที่มีระยะเวลา 6 ปี ซึ่ง แบ่งเป็ น 2 ระยะ คือ ระหว่าง พ.ศ และ พ.ศ ในระยะแรกของแผนดังกล่าวได้มีการกําหนดแนวทาง การพัฒนาเศรษฐกิจใน 8 แนวทาง คือ 1) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านเกษตรกรรม 2) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสหกรณ์

9 3) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านอุตสาหกรรม 4) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านพลังงาน 5) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านคมนาคม 6) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านมหาดไทย 7) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านพาณิชย์ 8) แนวทางดำเนินงานเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสาธารณสุข

10 ต่อมาในระยะที่ 2 ได้มีการปรับปรุงแผนฯ โดยได้มีการกําหนดวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ เพิ่มเติม ดังนี้ 1) ยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิมด้วยการระดม และใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประโยชน์มากที่สุด 2) เพื่อดำเนินงานพัฒนาการเศรษฐกิจให้เจริญรุดหน้า อันจะนำความสุขมาสู่ประชาชนนั้น รัฐบาลย่อมมีภาระอันหนักในด้านรายจ่าย ทั้งจะต้องระมัดระวังมิให้รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา

11 3) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ได้ผลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้นจำเป็นต้องปรับปรุงการบริหารงานทุกด้านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและให้ทันกับเวลา 4) เพื่อพัฒนารายจ่ายที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากรายจ่ายสำหรับกิจการที่เป็นพื้นฐานในอันที่จะให้กิจกรรมของเอกชนเกิดขึ้นหรือขยายตัวออกไป

12 นอกจากนี้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ระยะที่ 2 ยังได้กําหนดแนวทางการพัฒนาด้านต่างๆ ได้แก่ (1) ด้านการเกษตรและสหกรณ์ (2) ด้านอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ (3) ด้านพลังงาน (4) ด้านการคมนาคมขนส่ง (5) ด้านการพัฒนาชุมชนและสาธารณูปการ (6) ด้านสาธารณสุข (7) ด้านการศึกษา และ (8) ด้านรัฐวิสาหกิจและพัฒนาการเศรษฐกิจ

13 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นแผนพัฒนาฉบับแรก การวางแผนการพัฒนายังไม่ มีความพร้อมมากนัก จึงมีการปรับปรุงแผนในระยะที่สอง แนวทางการพัฒนาของแผนฯ ฉบับที่ 1ได้เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ (Infrastructure) ได้แก่ การก่อสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่ง หรือทางหลวงออกสู่ ภูมิภาคต่างๆ การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า และก่อสร้างสิ่งสาธารณูปการต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการที่เน้นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โครงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเกษตร

14 โครงการส่งเสริมสหกรณ์ โครงการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง โครงการปรับปรุงโรงพยาบาลประจำจังหวัด โครงการขจัดไข้มาเลเรียในชนบท และโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่ นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจาก ความเจริญได้มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองขึ้น ซึ่งในขณะนั้นยังมีท้องที่อีกเป็นจำนวนมากที่จะสามารถพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นมาได้ ถ้ามีผู้นำที่ดีและมีความริเริ่มในการงานต่างๆ

15 โดยที่ทางภาครัฐได้ส่งพัฒนากรเข้าไปประจำตามหมู่บ้านต่างๆ และพยายามทุกวิถีทางที่จะทำการพัฒนาความเจริญให้แก่หมู่บ้านเหล่านั้น โดยที่การพัฒนาดังกล่าวมิได้มุ่งแต่เฉพาะเรื่องการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้เท่านั้น การพัฒนาชุมชนจะต้องเข้าไปส่งเสริมความกินดีอยู่ดี ตลอดจนสุขภาพอนามัยให้ดีขึ้นด้วย งานพัฒนาชุมชนส่วนใหญ่ในช่วงนี้ได้ให้ความสำคัญกับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตามการที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศประมาณร้อยละ 75

16 ของประชากรทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในชนบท และทำมาหาเลี้ยงชีพโดยอาศัยการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก การพัฒนาประเทศจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบทเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการพัฒนาดังกล่าวจะมีผลต่อสวัสดิภาพของประชาชนและความมั่นคงของชาติในที่สุด ในเชิงนโยบายถึงแม้ภาครัฐจะพยายามส่งพัฒนากรเข้าไปส่งเสริมการพัฒนาชุมชนในชนบท แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว สภาพความเป็นอยู่ และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทส่วนใหญ่ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ยังตํ่ากว่ามาตรฐานการครองชีพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการระดมและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศ

17 ซึ่งส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในเขตตัวเมืองมากกว่าที่จะกระจายความเจริญก้าวหน้าไปยังท้องถิ่นชนบทที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นจึงก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทเพิ่มมากขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 นอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการกระจายรายได้ของภาคการเกษตรในชนบท ซึ่งภาคการเกษตรดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อหนุนช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวไม่ได้มีแนวคิดที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือเศรษฐกิจชนบทอย่างแท้จริงแต่อย่างใด

18 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 (พ.ศ ) ได้กําหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหลักของชาติไว้ 4 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อระดมทรัพยากรกําลังคน ทรัพยากรธรรมชาติ และเงินทุน มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ได้ผลถึงมือประชาชนโดยทั่วกัน

19 2) เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความเป็นธรรมของสังคม เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสังคมอันเสรี 3) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินการคลัง 4) เพื่อสนับสนุนการรักษาความมั่นคงของชาติ นอกจากรัฐจะดำเนินตามนโยบายหลักต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับแรกแล้ว

20 นอกจากนี้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ยังได้มีการกําหนดนโยบายที่สำคัญๆ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายประการ เช่น นโยบายพัฒนาชนบทเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศและเพื่อกระจายผลการพัฒนาออกไปให้ถึงประชาชนในส่วนภูมิภาคต่างๆ นโยบายการพัฒนากำลังคนอันเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนกำลังคนที่มีฝีมือระดับต่างๆ อันเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาประเทศ และนโยบายที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้เอกชนมีบทบาทเข้ามาร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น

21 มาตรการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ได้ขยายความจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมีการพิจารณาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐในสาขาต่างๆ ตลอดจนวิธีการที่ภาครัฐจะจัดหาเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายตามโครงการ นอกจากนี้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ยังได้มีการเพิ่มเติมสาระสำคัญดังต่อไปนี้

22 1) เน้นความสำคัญของการพัฒนาสังคม เพื่อให้ระบบสังคมได้เจริญก้าวหน้าควบคู่กันไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ 2) ให้ความสำคัญในด้านพัฒนากําลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการด้านกำลังคน 3) เน้นความสำคัญของส่วนเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการด้านต่างๆ และสนับสนุนให้มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและเอกชนให้มากยิ่งขึ้น

23 4) ส่งเสริมการพัฒนาส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาชนบทในท้องที่ทุรกันดารและห่างไกล เมื่อพิจารณาถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 จะเห็นได้ว่าแผนดังกล่าวได้เริ่มเน้นการพัฒนาสังคมมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากการระบุคำว่า “และสังคม” ไว้ ในแผนอย่างชัดเจน ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนก็จะเห็นได้ว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ได้เน้นการพัฒนาภูมิภาคมากขึ้น โดยเน้นการพัฒนาตามสาขากิจกรรม

24 เช่น การเกษตรกรรม การพัฒนาชุมชน การสาธารณสุข และการศึกษา นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำแผนพัฒนาภาคต่างๆ เช่ น แผนพัฒนาภาคเหนือ และแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอีกทั้งยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) เพื่อป้องกันการแทรกซึมและการก่อการร้ายของผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดน ในช่วงของแผนนี้ได้มีโครงการต่างๆเกิดขึ้นหลายโครงการ

25 เช่น โครงการสร้างถนนไปสู่ ถิ่นทุรกันดารมากขึ้น โครงการพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดเล็กเพื่อการบริโภคและการเกษตร และโครงการจัดหน่วยเคลื่อนที่รักษาพยาบาลและอนามัย เป็นต้ น ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเร่งรัดพัฒนาชนบท จึงได้เร่งดำเนินการพัฒนาชนบททุกด้านพร้อมกัน โดยการผนึกกำลังเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาชนบท ให้มีการวางแผนและดำเนินงานประสานกันทุกระดับ

26 เพื่อให้ผลของ การดำเนินงานนั้นได้ถึงมือประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังได้มีการเสริมงานพัฒนาชนบทในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านที่ยังขาดการพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาชนบทมีความสมบูรณ์มากขึ้น จึงได้มีการส่งเสริมโครงการต่างๆมากขึ้น เช่น โครงการสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งเข้าสู่พื้นที่ชนบท โครงการจัดหาแหล่งนํ้ากินนํ้าใช้ และโครงการเสริมสร้างระบบธุรกิจในพื้นที่ชนบท

27 ตลอดจนการพัฒนาสังคมเพื่อเป็นพื้นฐานแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทให้สามารถพัฒนาอาชีพตนเองได้อย่างเต็มที่ ผลการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือเศรษฐกิจชนบทในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ถึงแม้ในแผนดังกล่าวจะมีการกําหนดนโยบายเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขึ้นมามากมายก็ตามแต่ในทางปฏิบัติการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนดังกล่าวยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ และถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ และยังห่างไกลจากเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้เนื่องมาจากภาครัฐขาดแคลนกำลังคน และขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน

28 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ จากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ทั้งสี่ประการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ที่มีวัตถุประสงค์บางประการ เช่น การรักษาเสถียรภาพของระดับราคา และการสนับสนุนความมั่นคงของชาติซึ่งได้ดำเนินการไปด้วยดีในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2

29 แต่ยังมีวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สมควรจะเร่งรัดให้เกิดผลดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์บางประการที่ควรจะกำหนดให้ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ ) จึงได้กําหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มเติมอีก 8 ประการด้วยกัน ซึ่งได้แก่

30 1) เพื่อสนับสนุนการรักษาความมั่นคง 2) เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจรัดตัวและเพิ่มรายได้ประชาชาติให้สอดคล้องกับทรัพยากรทางเศรษฐกิจ 3) เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน 4) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 5) เพื่อยกระดับรายได้และระดับการครองชีพของประชาชาชนในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น

31 6) เพื่อขยายบริการสาธารณะให้ทั่วถึงประชาชนส่วนรวม 7) เพื่อลดอัตราการเพิ่มของประชากร 8) เพื่อยกระดับการมีงานทำของประชาชน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นอกจากจะปรับปรุงวิธีการวางแผนให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังได้ขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุมไปถึงหัวข้อต่างๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้

32 1) กําหนดแนวทางการพัฒนาส่วนรวมขึ้นก่อนแล้วจึงวางแนวทางพัฒนาโครงการและมาตรการแต่ละสาขาให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาส่วนรวม 2) ประสานโครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและโครงการพัฒนาด้านสังคมเข้าด้วยกันให้มีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น โดยให้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น โครงการเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรก็ให้สัมพันธ์กับโครงการพัฒนาระบบสังคมชนบท และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ประสานสัมพันธ์กับโครงการขยายตัวของชุมชน เป็นต้น

33 3) เพิ่มความสำคัญในการพัฒนาส่วนภูมิภาค และได้จัดทำแผนพัฒนาระดับภาคและระดับจังหวัดขึ้น โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ส่วนรวม 4) ผนวกโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมแห่งชาติเข้าไว้กับแผนพัฒนาฯ ส่วนรวมด้วย เพื่อสนับสนุนการรักษาความมั่นคงของประเทศ 5) วางนโยบายในด้านการวางแผนครอบครัวและการมีงานทำขึ้นเป็นครั้งแรก 6) ขยายการวางแผนในส่วนของภาคเอกชนมากขึ้น โดยสนับสนุนหลักการให้รัฐบาลและภาคเอกชนได้มีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการพัฒนาประเทศอย่างใกล้ชิด

34 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ได้ให้ ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพัฒนาในภูมิภาคและท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการจัดทำแผนพัฒนาระดับภาค และยังคงเน้นการเร่งรัดพัฒนาชนบทอยู่ โดยที่กรมการพัฒนาชุมชน (ตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2505) สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้ พยายามเปิดเขตพื้นที่การพัฒนาชุมชนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แผนพัฒนาฯ ดังกล่าวยังได้มีการริเริ่มโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ได้มีการวางแผนครอบครัวเป็นครั้งแรก และเริ่มโครงการผันเงินสู่ชนบท (ยุคของรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช)

35 จุดประสงค์หลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ก็เพื่อลดความแตกต่างของรายได้ ระหว่างเมืองกับชนบทลง และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานจากชนบทเข้าสู่ ตัวเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอพยพเข้าไปหางานทำในเขตพื้นที่กรุงเทพฯของชาวชนบทในช่วงว่างจากฤดูการทำนา ถึงแม้ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ภาครัฐจะให้ความสนใจในการเร่งรัดพัฒนาชนบท

36 และมีโครงการสนับสนุนจำนวนหลายโครงการเพื่อจะช่วยให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทให้ดีขึ้น แต่จากการดำเนินงานในช่วงเวลาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นกับเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชนบท ปัญหาดังกล่าว เช่น ปัญหาหนี้สินค้างชำระของชาวชนบทที่มีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากตัวเลขหนี้ค้างชำระของเกษตรกรได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 1,400 ล้านบาท ในปี พ.ศ เป็นประมาณ 4,500 ล้านบาท ในปี พ.ศ นั่นแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นลักษณะของการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุล

37 ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมลํ้าในฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นและระหว่างภาคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ การกระจายการผลิต และการเพิ่มผลผลิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคกลางเท่านั้น ส่วนภาคอื่นๆ ยังมีสภาพโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ล้าหลังและมีการกระจายการผลิตจากสาขาเกษตรกรรมไปสู่สาขาการผลิตอื่นๆ น้อยมาก ดังนั้นความเป็นอยู่และรายได้ ตลอดทั้งโอกาสการมีงานทำของคนชนบทส่วนใหญ่ในภาคต่างๆ ยกเว้นภาคกลางยังขาดความมั่นคงและขึ้นอยู่กับสภาพความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจการเกษตรแบบชนบท

38 ซึ่งสภาพโดยทั่วไปในขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ชะงักงันเพราะเป็นโครงสร้างการเกษตรที่ “ผลิตเฉพาะตามฤดูกาล” และการเพิ่มผลผลิตส่วนใหญ่มาจาก “การขยายพื้นที่เพาะปลูก” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น มิใช่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต นอกจากนี้เกษตรกรในชนบทยังต้องประสบปัญหาผลตอบแทนตํ่า ราคาสินค้าเกษตรที่ไม่เป็นธรรม และต้องเผชิญปัญหาทางด้านปัจจัยการผลิตหลายประการ ทั้งในแง่ที่ดินทำกิน แหล่งนํ้า และปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในชนบทได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

39 จึงเป็นปัญหาที่สำคัญในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 อย่างไรก็ตามการพัฒนาในช่วงเวลาดังกล่าวได้ยึดถือทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยตัวเลขของผลิตภัณฑ์ มวลรวมของชาติว่าเพิ่มขึ้นเท่าใด การพัฒนาส่ วนใหญ่ จึงได้เน้นหนักในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก ถึงแม้จะมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสาธารณูปการไว้ในแผนก็ตาม

40 แต่เนื่องจากมีการเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของรัฐในช่วงนั้นได้เน้นทุ่มการลงทุนลงไปในเขตพื้นที่ชนบทเฉพาะส่วนที่ได้รับการพัฒนาอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชลประทานหรือในเขตที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่สูงอยู่แล้ว จึงเป็นเหตุให้เขตพื้นที่ชนบทยากจนที่อยู่รอบนอกของพื้นที่ชลประทานไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มิหนำซํ้ายังขาดการเอาใจใส่ และขาดความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างจริงจัง

41 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ ) ได้กําหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหลักของชาติไว้ 5 ประการ ดังสาระสำคัญต่อไปนี้ 1) เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 2) เพื่อลดช่องว่างในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง 3) เพื่อลดอัตราการเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของประชากร ตลอดทั้งการเพิ่มการจ้างงานในประเทศ

42 4) เพื่อเร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมของชาติ 5) เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและแก้ปัญหาในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคง เพื่อให้การพัฒนาได้ดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์หลักที่ต้องการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และแก้ปัญหาขั้นรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมภายใต้พื้นฐานของความมั่นคงปลอดภัยของชาติตามเป้าหมายที่กำหนดนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาด้านต่างๆ 10 ประการ เพิ่มเติมขึ้นมาอีกซึ่งแนวทางการพัฒนาดังกล่าวได้แก่

43 1) เร่งขยายการผลิตสาขาเกษตรให้ได้โดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 5
1) เร่งขยายการผลิตสาขาเกษตรให้ได้โดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นอย่างตํ่า 2) ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมให้สามารถขยายการผลิตเพื่อการส่งออก และเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สามารถสนับสนุนการกระจายรายได้และเพิ่มการมีงานทำในส่วนภูมิภาค 3) วางแผนเร่งรัดการส่งออกและแผนการผลิตทดแทนการนำเข้าเพื่อปรับปรุงการค้ากับต่างประเทศให้เชื่อมโยงกับแนวทางการผลิตภายในประเทศ 4) กําหนดแนวทางการพัฒนาภาคและการกระจายการพัฒนาเมืองหลักขึ้นในส่วนภูมิภาคให้มีแผนอย่างชัดเจน

44 5) เร่งขยายและกระจายบริการเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน 6) สนับสนุนและเร่งรัดแผนงานในการลดอัตราการเพิ่มของประชากรจากร้อยละ 2.5 ในสิ้นปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (2519) ให้เหลือร้อยละ 2.1 ในปลายปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (2524) 7) วางแนวการขยายและการกระจายบริการสังคมให้ไปถึงมือประชาชนในชนบทอย่างกว้างขวาง 8) วางแนวทางการพัฒนาเสถียรภาพทางสังคมของชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้น 9) กําหนดแนวทางการบูรณะและบริการจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจหลักและแนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของประเทศ 10) วางแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

45 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ได้เริ่มมีการพัฒนาชนบทโดยยึดความต้องการของประชาชนในระดับพื้นที่เป็นหลัก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็คือประชาชนในพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริงที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นความต้องการที่ประชาชนในชนบทเรียกร้องจึงเป็นเพียงความต้องการที่มุ่งจะเดินรอยตามแบบพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว เช่น ต้องการถนน ไฟฟ้า และชลประทาน เท่านั้น

46 ผลของการพัฒนาที่ดำเนินรอยตามแบบอย่างของพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาแล้วได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาหลายประการ เช่น ปัญหาเกษตรกรในพื้นที่ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตของตนเองให้สูงขึ้นได้ ปัญหาความขาดแคลน และปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ก็คือความไม่รู้ปัญหาพื้นฐานที่แท้จริงของตนเอง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ชนบทไม่สามารถปรับปรุงความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้นมาได้ มิหนำซํ้ายังตกเป็นฝ่ายคอยรับความช่วยเหลือจากโครงการพัฒนาที่ภาครัฐเป็นผู้หยิบยื่นให้อีกด้วย

47 แม้รูปแบบของการพัฒนาชนบทจะได้เปลี่ยนไปบ้างในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 แต่หลักของแนวความคิดในการพัฒนาชนบทมิได้เปลี่ยนแต่อย่างใด การพัฒนาชนบทหรือการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของประเทศก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากไปกว่าในอดีต และปัญหาความยากจนในชนบทก็ยังคงเป็นปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเหมือนเดิม

48 ผลการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือเศรษฐกิจชนบทตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 พบว่าการขยายตัวของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นช้ากว่าภาคอุตสาหกรรม การขยายตัวของผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่มาจากการขยายพื้นที่มากกว่าการขยายตัวทางด้านประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าเกษตรกรในพื้นที่เกษตรก้าวหน้าจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงขึ้นก็ตาม ทั้งนี้เพราะการลงทุนด้านชลประทานของภาครัฐ แต่ก็คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20

49 ของพื้นที่การเกษตรทั้งประเทศเท่านั้น เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ขาดแคลนที่ดินทำกิน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง การผลิตและการค้า กล่าวคือ ผลผลิตทางการเกษตรคิดเป็นสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลงเมื่อเทียบกับการผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรม การตลาดสินค้าเกษตรต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศมากขึ้น

50 การผลิตภาคการเกษตรมีการปลูกพืชหลายชนิดมากขึ้น มีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะเดียวกันความปลอดภัยของสุขภาพคนในชนบทลดลง คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชนบทส่วนใหญ่แย่ลง โครงสร้างการกระจายทรัพย์สินและรายได้เป็นไปในทางรวมศูนย์ ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของนายทุนที่เป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศ ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทเพิ่มมากขึ้น

51 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ ) ได้กําหนดจุดประสงค์ในการพัฒนาประเทศ “แนวใหม่” โดยการปรับระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถรองรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ในขณะเดียวกันก็ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้มี การกระจายผลการพัฒนาให้ถึงมือชาวชนบทที่ยากจนให้ทั่วถึง

52 และทำการประสานงานพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับการบริหารความมั่นคงของประเทศ กล่าวคือ การพัฒนาประเทศตามแนวทางใหม่นี้จะมุ่ง “ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่จะก่อให้เกิดความปรองดองในชาติ” เป็นหลัก ดังนั้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 จึงได้กําหนดจุดประสงค์การพัฒนาประเทศไว้ 6 ประการ ดังนี้คือ

53 1) ฟื้นฟูฐานะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ โดยมีจุดประสงค์ ที่จะฟื้นฟูฐานะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศให้มีการขาดดุลการค้าต่างประเทศเฉลี่ยไม่เกิน 78,400 ล้านบาทต่อปี และการขาดดุลงบประมาณไม่ให้เกินกว่า 22,000 ล้านบาท และได้มีการกําหนดแนวนโยบายการเงิน การคลังที่มุ่งหนักในด้านต่างๆ ที่สำคัญ คือ (1) เร่งระดมเงินออม ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนให้สูงขึ้น (2) สร้างวินัยทางเศรษฐกิจและการเงิน (3) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศ

54 2) ปรับโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกตามแนวทางการพึ่งตนเองให้ได้มากขึ้นพร้อมๆ ไปกับการเพิ่มรายได้และมีงานทำแก่ประชากรส่วนใหญ่ในชนบท และกระจายความเจริญออกไปสู่ส่วนภูมิภาค ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ได้กําหนดจุดประสงค์ให้มีการปรับโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในหลายด้าน

55 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการเกษตรและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายที่จะให้ผลผลิต ภาคเกษตรโดยส่วนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจสำคัญๆ ให้ได้ในอัตราประมาณร้อยละ 4.0 ต่อปี ดำเนินการปลูกป่าปีละ 300,000 ไร่ ตลอดจนปรับปรุงดินเปรี้ยวและดินเค็ม 2.3 ล้านไร่ และ 4.5 ล้านไร่ ตามลำดับ

56 ในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมได้มีการปรับโครงสร้าง อุตสาหกรรม ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไทยมีประสิทธิภาพดีขึ้น และให้อุตสาหกรรมมีการกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค อย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายให้ผลผลิตอุตสาหกรรมส่วนรวมขยายตัวได้ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 7.6 ต่อปี การผลิตเพื่อส่งออกให้ขยายตัวไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 15 ต่อปี

57 3) การพัฒนาโครงสร้างและกระจายบริการทางสังคม โดยได้กําหนดเป้าหมายและแนวทาง การพัฒนาสังคมโดยสรุปไว้ดังนี้ คือ (1) ลดอัตราการเพิ่มประชากรให้เหลือร้อยละ 1.5 ต่อปี เมื่อสิ้นปี พ.ศ และสนับสนุนงานของสถาบันและองค์กรเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในงานวางแผนครอบครัวอย่างเต็มที่ (2) ขยายและพัฒนาการศึกษาภาคบังคับทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ (3) ทางด้านสาธารณสุขจะส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักแก้ปัญหาสาธารณสุขขั้นมูลฐานโดยการให้ความรู้และฝึกอบรมให้สามารถดำเนินการช่วยตนเองได้

58 (4) ให้ความรู้และฝึกอบรมประชาชนทั้งในเมืองและชนบทให้รู้ถึงวิธีการป้องกันและการร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาอาชญากรรมร่วมกัน (5) ปรับปรุงระบบงานศาลยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพสูง สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่สังคมได้อย่างทั่วถึง (6) ปรับปรุงลักษณะรูปแบบการให้บริการด้านสวัสดิการ และสวัสดิการสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น (7) เร่งรัดและฟื้นฟูสถาบันในระดับบ้าน โรงเรียน ให้มีบทบาทในการสร้างค่านิยมจริยธรรม ความมีระเบียบและการรักษาหน้าที่ของเด็กและเยาวชนของชาติ

59 4) แก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง โดยได้กําหนดจุดประสงค์การพัฒนาชนบทเป็นเป้าหมายหลักสำคัญประการหนึ่ง เพื่อมุ่งพัฒนาชนบทในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่แล้วมาให้สามารถช่วยตัวเองได้ในอนาคต โดยจะมุ่งพัฒนาชาวชนบทที่ยากจนให้ขึ้นสู่ระดับพอมีพอ กินและสามารถก้าวไปสู่ขั้นการอยู่ดีกินดีขึ้นในระยะยาวต่อไปดังนั้นแผนงานและโครงการพัฒนาชนบทยากจน จึงได้มุ่งหลักประกันที่จะนำไปสู่เป้าหมาย “ความพออยู่พอกิน”

60 คือ ให้หลักประกันที่จะให้ชาวชนบทล้าหลังมีระบบการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการทำมาหากิน และหลักประกันที่จะทำให้ ชาวชนบทมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ และได้รับสิ่งจำเป็นใน การดำรงชีวิตตามสมควรอย่างเหมาะสมในแต่ละท้องที่ โดยประกอบด้วยโครงการสำคัญๆ หลายประการ เช่น โครงการประมงหมู่บ้าน โครงการก่อสร้างแหล่งนํ้าประจำหมู่บ้าน โครงการธนาคารโค - กระบือ โครงการจัดสร้างโรงพยาบาลอำเภอ โครงการสาธารณสุขมูลฐาน โครงการเร่งรัดการปรับปรุงดิน และโครงการพัฒนาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

61 5) ประสานการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ ให้สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันให้มากที่สุด โดยเน้น (1) การประสานการพัฒนาเศรษฐกิจและการป้องกันประเทศ (2) การพึ่งตนเองในยุทธปัจจัยหลัก (3) การประสานโครงการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (4) การสร้างเส้นทางเพื่อความมั่นคง

62 6) ปฏิรูประบบบริหารงานพัฒนาของรัฐและกระจายสินทรัพย์ เพื่อให้มีการแปลงแผนงานด้านต่างๆ ไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างแท้จริง จำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูประบบบริหารงานพัฒนาของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิรูประบบบริหารงานพัฒนาของรัฐในระดับชาติ (2) ปฏิรูประบบบริหารงานพัฒนาในระดับท้องถิ่น (3) การระดมทรัพยากรจากต่างประเทศ (4) การระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน (5) กระจายการถือครองสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ

63 การพัฒนาในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ผู้ นำรัฐบาล กลุ่มข้าราชการ และนักวิชาการมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาการพัฒนาชนบทของไทยที่เรื้อรังมานาน จึงได้มีการเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทมาเป็นการพัฒนาแนวใหม่ แต่ก็ยังคงเน้ นการกระจายรายได้ เพื่อลดความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทเหมือนเดิม ดังนั้นนโยบายที่เริ่มในช่ วงแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ ได้ แก่ โครงการพัฒนาระดับหมู่ บ้าน และโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.)

64 ภายใต้คณะกรรมการสร้างงานชนบท ซึ่งโครงการนี้ได้พัฒนามาจากโครงการผันเงินสู่ ชนบท (ของรัฐบาลคึกฤทธิ์) มีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดโดยให้แต่ละจังหวัดเป็นผู้ จัดทำโครงการ และส่งต่อโครงการดังกล่าวไปให้ส่ วนกลางเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการวางแผนการพัฒนาจากล่างขึ้นบน (Bottom - up)

65 นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ได้เน้นแนวคิดการพัฒนาชนบทแนวใหม่ โดยเน้นการจัดทำแผนการพัฒนาชนบทในพื้นที่ยากจน (Poverty Stricken Area) ซึ่งได้กําหนดพื้นที่เป้าหมายเฉพาะพื้นที่ยากจนหนาแน่น 3 ภาค ได้ แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด 172 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 7,857 หมู่บ้าน ประชากร 4,476,635 คน ภาคเหนือ 16 จังหวัด 82 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 3,369 หมู่บ้าน

66 ประชากร 2,296,976 คน ภาคใต้ 5 จังหวัด 32 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 1,329 หมู่บ้าน ประชากร 1,025,351 คน รวม 38 จังหวัด 286 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 1,329 หมู่บ้าน ประชากรรวมทั้งสิ้น 7,798,962 คน แผนงานหลักในการแก้ไขปั ญหาความยากจน ได้แก่ (1) แผนงานสร้างงานในชนบท (2) แผนงานกิจกรรมระดับหมู่บ้าน เช่น โครงการประมงหมู่บ้านในความรับผิดชอบของกรมประมง โครงการพัฒนาชนบทยากจนระดับหมู่บ้านในความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชน โครงการธนาคารโค-กระบือ ในความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ ฯลฯ

67 (3) แผนงานบริการขั้นพื้นฐานของกระทรวงสาธารณสุข เช่น โครงการโภชนาการ โครงการสาธารณสุขมูลฐาน โครงการวางแผนครอบครัว ฯลฯ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบโครงการผลิตหนังสือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และกระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบโครงการหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ของกรมการปกครอง และ (4) แผนการผลิตด้านการเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาดินเค็ม และโครงการส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้น

68 จุดสำคัญที่เน้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ คือ การมีระบบการบริหารงานพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) เป็นครั้งแรก ซึ่งเน้ นการทำงานร่ วมกันของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทโดยเฉพาะ 4 กระทรวงหลัก หรือที่รู้จักกันในนามสี่ทหารเสือ ได้ แก่ กระทรวงมหาดไทย (พัฒนากร) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เกษตรตำบล)

69 กระทรวงศึกษาธิการ (ครูตัวแทนในพื้นที่) และกระทรวงสาธารณสุข (เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล) ให้ประสานร่วมมือกันพัฒนาชนบทอย่างเต็มที่ แต่ในทางปฏิบัติสี่ทหารเสือก็ไม่สามารถทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากแต่ละกระทรวงก็มีทิศทาง การทำงานของตนเอง ลักษณะการดำเนินงานในพื้นที่ก็ต่างคนต่างทำ บางครั้งการทำงานก็เกิดความซํ้าซ้อนกันทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น ผลการพัฒนาเศรษฐกิจชนบทยากจน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 นั้น

70 ปรากฎว่า รัฐได้ทุ่มงบประมาณไปจำนวน 4,458 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาชนบทยากจนจำนวน 32 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 12,562 หมู่บ้าน โดยภาครัฐสามารถจัดโครงการต่างๆ ลงในพื้นที่ได้รวมทั้งสิ้น 102,584 จุดดำเนินการ หรือคิดโดยเฉลี่ยแล้วในหนึ่งหมู่บ้านยากจน จะได้รับโครงการจำนวน 8 โครงการ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 45 ของจุดดำเนินงานโครงการทั้งหมดเป็นโครงการที่เน้นการแก้ปัญหาทางด้านการผลิตและด้านความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ รองลงมาประมาณร้อยละ 40 เป็นโครงการที่มุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยโดยตรง และอีกร้อยละ 10

71 เป็นโครงการช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบริการขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาอาชีพ ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 5 ช่วยส่งเสริมด้านการศึกษาและเพิ่มพูนความรู้ของประชาชนในชนบทยากจนเป็นสำคัญ นอกจากนี้แล้วยังส่งผลให้เกิดการมีงานทำในฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2527 มีจำนวนประมาณ 4.7 แสนคน ในปี 2528 เพิ่มขึ้นเป็น 6.0 แสนคน และในปี 2529 ประมาณ 8.6 แสนคน ในขณะเดียวกันสภาพหมู่บ้านยากจนโดยส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนในทุกๆ ด้าน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค.) ในปี 2526 เปรียบเทียบกับปี 2524 พบว่า

72 ถ้าพิจารณาจากด้านโครงสร้างพื้นฐานจะมีหมู่บ้านที่มีสภาพดีขึ้นประมาณร้อยละ 32.2 ของหมู่บ้านตัวอย่างที่วิเคราะห์ ส่วนด้านการประกอบอาชีพและการผลิตพบว่ามีสภาพดีขึ้นในอัตราร้อยละ 31.6 ด้านการศึกษาและความรู้มีสภาพดีขึ้นในอัตราสูงสุด คือ ร้อยละ 45.6 อัตราดังกล่าวสูงกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของหมู่บ้านนอกเขตพื้นที่ยากจน ซึ่งมีอัตราดีขึ้นเพียงร้อยละ 15.4, 28.6 และ 27.5 ตามลำดับ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556)

73 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ ) มีจุดมุ่งหมายหลักที่จะยกระดับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีต ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีรายได้ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น ดังนั้นประเด็นหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 คือ

74 ทำอย่างไรจึงจะสามารถยกระดับการพัฒนาประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงกว่าในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงทั้งอัตราและลักษณะการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะไม่ก่อให้เกิดการบั่นทอนความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินการคลัง ตลอดทั้งให้มีการเพิ่มการจ้างงาน และการกระจายรายได้ที่เหมาะสม นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเสริมสร้างความเป็นธรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยให้ทั่วถึงอีกด้วยดังนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จึงได้กําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สำคัญไว้ 2 ประการ คือ

75 1) ทางด้านเศรษฐกิจ ต้องการรักษาระดับการขยายตัวให้ได้ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 5 เพื่อรองรับกำลังแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่น้อยกว่า 3.9 ล้านคน ทั้งนี้โดยเน้นลักษณะการขยายตัวที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจหลายด้านที่เกิดขึ้นในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5

76 2) ทางด้านสังคม โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพคนเพื่อให้สามารถพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า มีความสงบสุข เกิดความเป็นธรรม สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาประเทศส่วนรวม พร้อมๆ กับการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรมและค่านิยมอันดี และยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนในชนบทและในเมืองให้ได้ตามเกณฑ์ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน

77 แนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์หลักและเป้าหมายทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่สำคัญๆ ดังนี้ คือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการ 2) ปรับปรุงระบบการผลิต การตลาด และยกระดับคุณภาพปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ต้นทุนสินค้าลดลง

78 3) มุ่งกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น นอกจากนี้ เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ได้กําหนดแผนงานหลัก รวมทั้งสิ้น 10 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม 2) แผนพัฒนาคน สังคม และวัฒนธรรม 3) แผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) แผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5) แผนปรับปรุงการบริหารและทบทวนบทบาทของรัฐในการพัฒนาประเทศ

79 6) แผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ 7) แผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาด และการสร้างงาน 8) แผนพัฒนาระบบบริการพื้นฐาน 9) แผนพัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ 10) แผนพัฒนาพัฒนาชนบทแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ยังมุ่งเน้นการพัฒนาสังคมและองค์กรประชาชน ตลอดจนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนมากขึ้น เพิ่มการกระจายรายได้ และการกระจายอำนาจสู่ ท้องถิ่นมากขึ้น ควบคู่ ไปกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาที่ถูกต้อง

80 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ได้ให้ ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม กระจายความเจริญให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ประชาชนจะได้ รับการพัฒนาโดยเท่าเทียมกัน และเริ่มให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ โดยได้มีการเพิ่มจำนวนกระทรวงหลัก (โดยเพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์) เพื่อให้ การพัฒนาชนบทครบวงจรทั้งด้านการผลิตและการตลาด โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปองค์ กรประชาชน

81 และภาคเอกชนในการพัฒนาชนบทเพิ่มมากขึ้น แผนงานที่ดำเนินงานโดยเอกชนซึ่งรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน ได้ แก่ โครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โครงการกองทุนพัฒนาชนบท ได้แก่ กองทุนดำเนินงานโดยหน่วยงานราชการ เช่น เงินทุนหมุนเวียนพัฒนาชุมชน เงินทุนสนับสนุนกลุ่มอาชีพ เงินทุนโครงการธนาคารข้าว (โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย) กองทุนยุวเกษตรกร (โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร)

82 กองทุนยาและเวชภัณฑ ประจำหมู่บ้าน (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) โครงการระดมทุนจากสมาชิกกลุ่ม เช่น เงินทุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (โดยกรมการพัฒนาชุมชน) การจัดตั้งองค์กรโดยได้รับเงินช วยเหลือจากต่างประเทศ เช่น กองทุนเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ. (Christian Children Fund: CCF) โดยผ่านกรมการพัฒนาชุมชน เงินทุนหมุนเวียนสำหรับสตรีและเยาวชนในโครงการพัฒนาสตรีและเด็ก โดย UNICEF ผ่าน กรมการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาจังหวัดประเภทอื่นๆ

83 เช่น โครงการศูนย์สาธิตการตลาด กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน (เป็นการร่วมทุน : กายใจ ความคิด เวลา และทุนทรัพย์เพื่อจัดตั้ง ร้านค้าของหมู่ บ้านการจัดทำบ่อเลี้ยงปลาเพื่อขาย โดยแบ่งกำไรจากการขายปลาออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ สาธารณประโยชน์ ศูนย์ สาธิตการตลาด ทุนสำรอง และเงินปันผลแก่สมาชิก) แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ยังได้กําหนดแนวทางให้ประชาชน องค์กรประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development)

84 ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กับการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมผลของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 รัฐบาลได้ใช้นโยบายรายจ่ายเป็นหลักในการสนับสนุนการกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณตลอดช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เพื่อการพัฒนาชนบทโดยตรง และการสร้างงานในชนบท เป็นจำนวนเงินสูงถึง 112,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ถึง 6.6 เท่าถึงแม้จะมีการจัดทำโครงการพัฒนาชนบทในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

85 แต่การดำเนินงานดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในชนบทได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากอำนาจการตัดสินใจในการใช้จ่ายและพัฒนาโครงการส่วนใหญ่ถูกกำหนดจากส่วนกลาง ในขณะที่ชุมชนในชนบทเข้าไปมีบทบาทในการดำเนินโครงการโดยตรงน้อยมาก นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้นโยบายการเงินเพื่อสร้างเสริมการกระจายรายได้ในชนบทโดยสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อสู่ชนบทเพื่อใช้ในการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในชนบท

86 จำนวนเงินที่ปล่อยสินเชื่อตลอดระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 โดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรประมาณ 1 แสนล้านบาทเศษ และผ่านธนาคารพาณิชย์ประมาณเกือบ 9 แสนล้านบาท (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556) จากเงินสินเชื่อจำนวนมหาศาล ประกอบกับเป็นนโยบายส่งเสริมจากรัฐบาลทำให้เกษตรกรกู้สินเชื่อได้ง่าย และบางส่วนกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าคุ้มทุนมากนัก จึงก่อให้เกิดปัญหาหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนมาก

87 และเป็นภาระอันหนักอึ้งแก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในเวลาต่อมา จากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของรัฐบาลในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ที่ผ่านมาไม่ได้เสริมสร้าง ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนในชนบทแต่อย่างใด ซํ้าร้ายกลับสร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจชุมชนอ่อนแอลง สร้างนิสัยการบริโภคนิยมจึงเป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืน

88 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ ) ต้องการให้มีความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคมควบคู่กันไปเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ได้กําหนดวัตถุประสงค์หลักไว้ 3 ประการดังนี้

89 1) เพื่อรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ) 2) เพื่อการกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 3) เพื่อเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ ในการดำเนินการพัฒนาเพื่อให้เกิดการพัฒนาในลักษณะที่มีคุณภาพและยั่งยืน

90 และเพื่อให้การดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาประเทศทั้ง 3 ด้าน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ได้คำนึงถึงโอกาสและข้อจำกัดต่างๆที่เป็นสิ่งสนับสนุนและอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ โดยที่โอกาสประกอบไปด้วย (1) โอกาสขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทย (2) โอกาสการขยายฐานผลิตสาขาอุตสาหกรรม (3) โอกาสการเปิดตลาดการค้าและการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน (4) โอกาสการพัฒนาให้ประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค (5) โอกาสการขยายกำลังซื้อและความต้องการสินค้าและบริการของตลาดในประเทศ

91 6) โอกาสการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (7) โอกาสแรงงานไทยมีคุณภาพขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น และ (8) โอกาสแรงงานไทยมีคุณภาพขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อจำกัดของการพัฒนาประเทศ ซึ่งได้แก่ (1) ความได้เปรียบด้านทรัพยากรมนุษย์กำลังลดน้อยลงไปทั้งแง่ปริมาณ คุณภาพ และค่าจ้าง (2) ที่ดินเพื่อการผลิตลดลงและมีราคาสูงขึ้น การบุกรุกทำลายป่ามากขึ้น (3) การออมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ตํ่า (4) บริการพื้นฐานยังขาดแคลน (5) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

92 (6) ระบบบริหารงานราชการ กฎหมาย ระเบียบ ตลอดจนข้อบังคับต่างๆ ของทางราชการยังล้าสมัย (7) ลักษณะการเจ็บป่วย และการตายจากโรคภัยชนิดต่างๆมีมากขึ้น (8) ภาระที่รัฐจะต้องจัดสวัสดิการให้แก่ผู้ด้อยโอกาสมีมากขึ้น และ (9) ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น

93 แนวทางการพัฒนาหลักของประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ไว้ดังนี้ 1) แนวทางการรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ประกอบด้วย

94 (1) นโยบายการเงินการคลัง และการพัฒนาตลาดทุน ในลักษณะผ่อนคลายข้อจำกัด และจัดให้มีการปรับโครงสร้างของระบบภาษี การเงินและตลาดทุน (2) พัฒนาการเกษตร โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตร และส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (3) พัฒนาอุตสาหกรรมการค้าและการลงทุน โดยเน้นการสร้างโอกาสในการแข่งขันประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุนของไทยในตลาดต่างประเทศ และทำการผ่อนคลายกฎระเบียบทางภาครัฐให้เอื้อต่อการดำเนินงานของภาคเอกชน

95 (4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาและนำเอาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับระดับคุณภาพสินค้าส่งออกของประเทศให้สามารถแข่งขันกับตลาด โลกได้ (5) จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของสาขาเศรษฐกิจต่างๆ (6) เร่งรัดขยายการลงทุนด้านบริการพื้นฐานให้มีปริมาณเพียงพอ (7) พัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เชื่อมโยงเข้ากับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก

96 2) แนวทางการกระจายรายได้ และการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท ประกอบด้วย (1) ดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังและการพัฒนาตลาดทุน (2) กระจายการถือครองทรัพย์สิน เพื่อให้เกษตรกรได้เป็นเจ้าของที่ดินหรือมีหลัก ประกันในที่ดินทำกิน (3) ปรับโครงสร้างการผลิตด้านเกษตรกรรม และกระจายอุตสาหกรรมและบริการไปสู่ภูมิภาค (4) พัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคให้เป็นฐานเศรษฐกิจและฐานการจ้างงานหลักของแต่ละภาค

97 (5) พัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท มุ่งกระจายอำนาจการบริหารงานพัฒนาไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (6) พัฒนาอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตคนยากจนในเมือง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ที่ช่วยตนเองไม่ได้ 3) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และสาธารณสุข ให้สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (2) พัฒนาจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม เพื่อให้คนปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและเป็นกำลังใจในการพัฒนาประเทศ

98 (3) พัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (4) ปรับปรุงระบบบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นปัจจัย พื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบท 4) แนวทางการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ ประกอบด้วย (1) ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับทิศทางและกระบวนการพัฒนา (2) พัฒนาประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ โดยลดบทบาทการกํากับดูแลของรัฐและปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ให้รัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น

99 (3) พัฒนาระบบราชการ โดยปรับโครงสร้างและระบบบริหารราชการ ตลอดจน กำลังคนภาครัฐให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดและมีประสิทธิภาพ เมื่อพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 จะเห็นได้ว่าแผนดังกล่าวเป็นแผนที่ให้ความสมดุลกับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน กล่าวคือ พยายามรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ในอัตราที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ควบคู่ไปกับการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมสู่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะเดียวกัน

100 ก็จะมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถที่จะช่วยตัวเองได้มากยิ่งขึ้น และพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้มิให้เสื่อมโทรมลงไป ผลการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 พบว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และคนไทยส่วนใหญ่มีความสุขกับผลของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งคนไทยหวังว่าประเทศไทยจะเป็นเสือทางเศรษฐกิจตัวที่ 5 ของเอเชีย ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไป

101 กลายเป็นสังคมที่เน้นวัตถุนิยมมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลของการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจดังกล่าวไม่ได้มาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศจึงเป็นที่มาของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในเวลาต่อมา (พ.ศ. 2540) ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจและความรู้สึกของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศยังเน้นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก

102 ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ได้พยายามมุ่งกระจายอำนาจบริหารงานพัฒนาจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยจัดให้มีงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาจังหวัด เพื่อยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของคนยากจนในชนบท ขณะเดียวกันวางมาตรการเพื่อสนับสนุนบทบาทขององค์กรประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคธุรกิจเอกชนเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาชนบทอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน

103 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ. ศ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2536) โดยมอบให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีหมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 11,608 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 ตามข้อมูลพื้นฐาน กชช. 2ค. ปี 2533 (หรือหมู่บ้านที่ครัวเรือนมีรายได้ตํ่ากว่า 15,000 บาทต่อคนต่อปี) งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 3,471 ล้านบาท แยกเป็นเงินทุนสำหรับหมู่บ้าน 3,250 ล้านบาท งบบริหารโครงการ 221 ล้านบาท รัฐบาลได้จัดสรรเงินกองทุนให้หมู่บ้านละ 280,000 บาท ให้ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมายสามารถยืมเงินทุนจากกองทุนหมู่บ้านได้โดยไม่มีดอกเบี้ย

104 เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพใน 5 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม ช่าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน ค้าขาย และอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครัวเรือนในชนบทมีรายได้ให้มากกว่า 15,000 บาทต่อคนต่อปี และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ผลการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ระยะที่ 1 (พ.ศ ) มีครัวเรือนยากจนที่ยืมเงินทั้งสิ้น 501,331 ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือนยากจนเป้าหมาย 731,633 ครัวเรือน (ร้อยละ 68.52) เป็นจำนวนเงิน ทั้งหมด 3, ล้านบาท

105 จากผลการพัฒนาตามโครงการดังกล่าวสามารถทำให้ครัวเรือนยากจน ร้อยละ 58
จากผลการพัฒนาตามโครงการดังกล่าวสามารถทำให้ครัวเรือนยากจน ร้อยละ มีรายได้ผ่านเกณฑ์ 15,000 บาทต่อคนต่อปี ( htm)

106 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ ) ได้กําหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่สำคัญดังนี้ 1) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทุกคนทั้งในด้านร่างกายจิตใจและสติปัญญา ให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง

107 2) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น 3) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพมั่นคงและสมดุลเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการ พัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็นธรรม

108 4) เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน 5) เพื่อปรับระบบการบริหารจัดการ โดยเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น

109 ในส่วนของเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาที่วางไว้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้กําหนดเป้าหมายที่จะเป็นเครื่องชี้วัดผลการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์หลักไว้ ดังนี้ 1) เพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพ 2) เพิ่มคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปีแก่เด็กในวัยเรียนทุกคน และการเตรียมการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 12 ปี รวมทั้งให้มีการฝึกอบรมครูอาจารย์ทุกคนอย่างต่อเนื่อง

110 3) ยกระดับทักษะฝีมือและความรู้พื้นฐานให้แก่แรงงานในสถานประกอบการ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกต่อกลุ่มแรงงานอายุ ปี 4) ให้ผู้ด้อยโอกาสทุกประเภทได้รับโอกาสการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และได้รับบริการพื้นฐานทางสังคมอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง 5) ลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน และลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะการจราจร การขนส่งวัตถุเคมีอันตราย และอัคคีภัยในอาคารสูง

111 6) รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย โดยการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับร้อยละ 3.4 ของผลผลิตรวมในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี 7) ระดมการออมของภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อยร้อยละ10 ของผลผลิตรวมในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 8) ขยายปริมาณและเพิ่มคุณภาพของบริการโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาคและชนบท

112 9) ลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 10) อนุรักษ์และฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ไว้ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ไม่ตํ่ากว่า 1 ล้านไร่ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

113 11) สร้างโอกาส และเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในรูปแบบของเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และวนเกษตร 12) เพิ่มการลงทุนในการควบคุมและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ภูมิภาค และชนบท

114 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพของคน 2) การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน 3) การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง

115 4) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต 5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6) การพัฒนาประชารัฐ 7) การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯ ไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

116 แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในส่วนภูมิภาคและชนบทในกระบวนการพัฒนา เปิดโอกาสให้ประชาชนได้พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนสามารถสนองตอบต่อการกระจายการพัฒนาได้อย่างเต็มที่และทั่วถึง ดังนั้นการพัฒนาที่จะสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนในภูมิภาคและชนบทให้สามารถพึ่ง ตนเองได้

117 โดยมีเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคงเป็นตัวนำ และเป็นฐานในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในอนาคต ทั้งนี้ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนจำเป็นจะต้องเข้ามาเสริมบทบาทของภาครัฐซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการพัฒนาเดิม ซึ่งเป็นการผนึกกำลังในการพัฒนาและนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีแนวทางหลักดังนี้

118 1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชนบทเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในเบื้องต้นในการตอบรับต่อการเข้ามาร่วมสนับสนุนการพัฒนาของทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยยกระดับความรู้ความสามารถในการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาของชุมชนและมีแนวทางดังนี้ (1) การเตรียมความพร้อมของชุมชน (2) การเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชน (3) การสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาชุมชน

119 (4) การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของประชาชน และชุมชนในชนบท (5) การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6) การส่งเสริมบทบาทของครอบครัวและชุมชนในการจัดบริการสังคม

120 2) การเพิ่มบทบาทของภาครัฐเพื่อสนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมและโอกาสในการพัฒนามากขึ้น (1) การส่งเสริมความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจขององค์กรชุมชน (2) การส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 3) การส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และมีทางเลือกในการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนและภาคธุรกิจเอกชนให้เกื้อกูลกิจกรรมของชุมชน

121 (1) การสนับสนุนธุรกิจเอกชนให้เข้าร่วมในการพัฒนาธุรกิจชุมชนตามความพร้อมความถนัดและความสมัครใจของแต่ละองค์กรธุรกิจ (2) การสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ถึงแม้ว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะได้กําหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไว้ชัดเจน แต่แผนดังกล่าวได้เขียนไว้ก่อนที่จะมีการนำแผนมาใช้ในปี พ.ศ. 2540

122 พอเริ่มนำแผนมาบังคับใช้ปรากฏว่าประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆของระบบเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หลายแห่งต้องปิดกิจการ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดทุน ภาคเอกชนส่วนใหญ่ได้รับกระทบจากภาวะวิกฤติดังกล่าว จากเหตุการณ์ดังกล่าวปรากฏว่าระบบเศรษฐกิจในระดับชุมชน หรือระบบเศรษฐกิจฐานรากได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ จึงส่งผลให้ภาครัฐได้หันกลับมาตระหนักถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม

123 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่เกิดขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่หันไปเน้น การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นหลัก เพื่อที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเร็วโครงการของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือการพัฒนาชนบท ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่สำคัญ ได้แก่

124 1) โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ ให้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.) ระยะที่ 2 (พ.ศ ) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา 28,038 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 70 จังหวัด โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ระยะที่ 2 มีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการคือ ฝึกอบรมชุมชน และสนับสนุนเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ กรมพัฒนาชุมชนได้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการทั้งสิ้น 8,367 ล้านบาท

125 (งบประมาณรวม 4 ปี) แบ่งเป็นเงินงบประมาณ 1,787 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 580 ล้านบาท ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นองค์กรรับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้านและติดตามการสนับสนุนการประกอบอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายโดยมีคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) เป็นผู้ให้คำแนะนำในเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการ ผลการดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2 ปี พ.ศ สามารถสนับสนุนได้ จำนวน 17,626 หมู่บ้าน เป้าหมาย 970,397 ครัวเรือน

126 แต่ในทางปฏิบัติมีครัวเรือนที่สามารถกู้ยืมเงินทุนไปได้เพียง 363,886 ครัวเรือน (ร้อยละ 37.50) ประเภทอาชีพที่ยืมไปลงทุน ได้แก่ ด้านการเกษตร ค้าขาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน ด้านช่างและอาชีพอื่น ๆ ครัวเรือนยากจนได้ยืมเงินกองทุน กข.คจ. ในขณะเดียวกันก็มีครัวเรือนที่สามารถใช้หนี้คืนครบถ้วนแล้ว เพียงจำนวน 60,387 ครัวเรือน (ร้อยละ ของครัวเรือนที่กู้ยืมทั้งหมด) หากมองถึงประสิทธิภาพของโครงการนี้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในการพัฒนารายได้ให้แก่ครัวเรือนอย่างแท้จริง ประชาชนมีความสามารถ และมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้ในชุมชน

127 ท่ามกลางวิกฤตด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งในระดับครัวเรือนที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในภาพรวมของโครงการ กข.คจ. ถือว่าโครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะมีครัวเรือนยากจนที่เข้าถึงโครงการนี้ไม่ถึงครึ่งของครัวเรือนเป้าหมาย และหลังจากนำเงินที่กู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพแล้วสามารถใช้คืนโครงการได้ไม่ถึงร้อยละ 20 ของครัวเรือนที่กู้ยืมทั้งหมด

128 2) โครงการเสริมสร้างการแก้ไขปัญหาคนจนในเมือง ในภาวะวิกฤติเป็นโครงการภายใต้มาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐ (เงินกู้ MIYAZAWA) มีงบประมาณ 1,000 ล้านบาท บริหารงานโดยการเคหะแห่งชาติ (เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2542) วัตถุประสงค์ของโครงการคือ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมของคนจนเมือง โดยการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและธุรกิจในชุมชนปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน บริการพื้นฐานและบริการสังคมในชุมชน พื้นที่เป้าหมายของโครงการ ได้แก่ ชุมชนแออัดหรือชุมชน ผู้มีรายได้น้อยในเมืองที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภูมิภาค งบประมาณของโครงการถูกแบ่งออกเป็นงบบริหารจัดการ

129 ประสานงาน สนับสนุน เตรียมความพร้อมและติดตามประเมินผล 50 ล้านบาทบาท เป็นเงิน 50 ล้านบาท ให้กับจังหวัดต่างๆ จำนวน 75 จังหวัด จังหวัดละ 2 ล้านบาท เป็นเงิน 150 ล้านบาท ให้กับชุมชนแออัดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคเป็นจำนวนเงิน 350 ล้านบาท เป็นงบสำรองให้แก่ชุมชนแออัดที่ไม่ปรากฏตามฐานข้อมูล (ฐานข้อมูลของการเคหะแห่งชาติ ณ มี.ค. พ.ศ มีชุมชนแออัดทั้งประเทศประมาณ 384,953 ครัวเรือน) มีจำนวนประมาณ 115,000 ครัวเรือน ภายในวงเงิน 100 ล้านบาท

130 ส่วนที่เหลือจัดสรรให้สำนักงานพัฒนาชุมชนเมืองเพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาด้านการเงินและสินเชื่อสำหรับคนจนในเมืองจำนวน 250 ล้านบาท และโครงการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 80 ล้านบาท องค์กรชุมชนสามารถของบจากโครงการเสริมสร้างการแก้ปัญหาคนจนในเมืองในภาวะวิกฤติได้ โดยการเสนอโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ สร้างงาน การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การสร้างโครงสร้าง พื้นฐานชุมชน การปรับปรุงสวัสดิการสังคมและความปลอดภัยในทรัพย์สิน

131 การส่งเสริมพัฒนากลุ่มเยาวชน และการแก้ไขปัญหาด้านการเงินและสินเชื่อสำหรับคนจนในเมือง การของบสนับสนุนนั้นองค์กรชุมชนหรือเครือข่ายจะต้องร่วมสมทบงบประมาณอย่างน้อยร้อยละ 10 ในรูปตัวเงินหรืออื่นๆ ของงบสนับสนุนทั้งหมด ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ พบว่า มีโครงการจำนวน 3,858 โครงการผ่านการอนุมัติจากสำนักงบประมาณในวงเงิน ล้านบาท มีโครงการจำนวน 879 โครงการที่แล้วเสร็จตามเวลา โดยมีการเบิกจ่ายในวงเงิน 423 ล้านบาท หากพิจารณาการดำเนินโครงการดังกล่าวถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีโครงการที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จเพียงร้อยละ 22 ของโครงการที่สนับสนุนทั้งหมด

132 3) โครงการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Project)โครงการลงทุนเพื่อสังคม (SIP) เป็นโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกและรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ เศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้ว่างงาน กลุ่มคนยากจนและกลุ่มคนด้อยโอกาส โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์เป็นระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้นเน้นการแก้ไขและบรรเทาผลกระทบในกลุ่มคนทั้ง 3 ประเภท โดยทำให้เกิดการจ้างงาน

133 รายได้และการได้รับบริการ และสวัสดิการสังคม ส่วนในระยะยาว เป็นการมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ โครงการแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 มอบให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการจำนวน 79 โครงการ วงเงิน 13,284 ล้านบาท เพื่อการจ้างงาน สร้างรายได้ และบริการทางสวัสดิการแก่ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส และผู้ว่างงาน โดยเน้นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น

134 แนวทางที่ 2 จำนวนเงิน 6,000 ล้านบาท รัฐบาลมอบให้ธนาคารออมสินเป็นหน่วยงานรับผิดชอบบริหารจัดการซึ่งแยกการจัดการเป็น 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค และกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIP) กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมหรือ "กองทุนชุมชน" นั้น ธนาคารออมสินแต่งตั้งให้มีคณะกรรมการ 1 ชุด ดำเนินงานกํากับดูแลการใช้จ่ายเงินสนับสนุนคนในชุมชน ทั้งด้านการเลี้ยงชีพ สิ่งแวดล้อม ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ เปิดรับไปแล้ว 324 โครงการ เป็นจำนวนเงิน ล้านบาท

135 โดยส่วนใหญ่มักเป็นโครงการเพื่อสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และเงินทุนหมุนเวียน ในรูปแบบต่างๆ ให้กับสมาชิกของกลุ่มเมืองในภูมิภาคหรือเรียกสั้นๆ ว่ากองทุนเมือง (Regional Urban Development Fund: RUDF) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การบริหารจัดการของธนาคารออมสิน มีเงินทุนหมุนเวียนจากการจัดสรรเงินของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเงินกู้ของธนาคารโลกจำนวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวไม่เกิน ปี

136 สำหรับให้เทศบาลได้กู้ยืมในวงเงินโครงการละไม่เกิน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อนำไปพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้กว้างขวางรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐบาลหรือรอให้เก็บภาษีได้มากพอจึงจะลงทุนได้ถึงแม้จะมีโครงการต่างๆมากมายที่เข้าไปส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และดูเหมือนว่าเศรษฐกิจชุมชนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการเร่งด่วนเพื่อที่จะเร่งใช้จ่ายเงินงบประมาณให้หมดไป

137 โดยเร็วเท่านั้น ชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีความพร้อมที่จะรองรับกับการเร่งใช้จ่ายงบประมาณ จึงทำให้โครงการส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในแง่จำนวนโครงการ แต่ในแง่ความต่อเนื่อง หรือความยั่งยืนของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนนั้นไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด

138 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 9 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ ) มีลักษณะที่สำคัญของแผน ดังนี้ 1) เป็นแผนที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะยาว20-30 ปี มีการจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ มีดัชนีชี้วัดที่สามารถติดตามประเมินผลได้ อย่างต่อเนื่อง 2) เป็นแผนที่มีความต่อเนื่องมาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ

139 3) เป็นแผนที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงกับการจัดทำแผนระดับสาขาและแผนระดับพื้นที่ให้ มีความสอดคล้องกัน สนับสนุนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งมีการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของหน่วยงานปฏิบัติ (สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2545) ปรัชญาและแนวคิดหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดังนี้ 1) เน้นคนเป็นจุดศูนย์ กลางการพัฒนา โดยยึดหลักให้ คนได้ รับประโยชน์จากการพัฒนา อย่างแท้ จริง

140 2) ยึดหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนไทย และเป็นพื้นฐานการพัฒนาประเทศ 3) มุ่งหมายให้ สังคมไทยพัฒนาไปสู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพในอนาคต กล่าวคือ (1) สังคมมีคุณภาพ (2) สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (3) สังคมที่เอื้ออาทรต่อกันและอยู่ดีมีสุข

141 ทิศทางการพัฒนาที่สำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคุณภาพคน คุณภาพชีวิต และคุณค่าวัฒนธรรมไทย 2) การเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง 3) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขัน 5) การปรับระบบการบริหารจัดการประเทศ

142 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประเทศ ไว้ดังนี้ 1) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน ความมั่นคงและเสถียรภาพของฐานะการคลัง 2) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน 3) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ 4) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเองแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนดเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไว้ ดังต่อไปนี้

143 1) เป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาคให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพ โดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ ต่อปี สามารถเพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศได้ไม่ตํ่ากว่า 230,000 คนต่อปี มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี รักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดให้คงอยู่เฉลี่ยประมาณร้อยละ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และรักษาทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสมรรถนะภาคการผลิตให้แข่งขันได้ โดยให้การส่งออกขยายตัวไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 6 ต่อปี

144 ให้ผลิตภาพการผลิตรวมในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0
ให้ผลิตภาพการผลิตรวมในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ต่อปี ผลิตภาพการผลิตรวมในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ต่อปี และผลิตภาพของแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 3 ต่อปี

145 2) เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรที่สมดุล และขนาดครอบครัวที่เหมาะสม โดยรักษาแนวโน้มภาวะเจริญพันธุ์ของประชากรให้อยู่ในระดับทดแทนอย่างต่อเนื่อง คนไทยมีสุขภาพดี มีคุณภาพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า 9 ปี ในปี พ.ศ ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 50

146 ในปี พ.ศ ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ตลอดจนเพิ่มความเข้มแข็งให้ชุมชนและประชาสังคมและใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งขับเคลื่อนให้เกิดการมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ รวมทั้งปรับระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและประชาชนมีส่วนร่วม

147 3) เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี สร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ มีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม ท้องถิ่นมีขีดความสามารถจัดเก็บรายได้สูงขึ้นและมีระบบสนับสนุนการกระจายอำนาจให้โปร่งใส มีระบบการตรวจสอบโดยการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง 4) เป้าหมายการลดความยากจน ให้มีการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่เอื้ออาทรต่อคนจน พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างศักยภาพให้คนจนเข้มแข็งมีภูมิคุ้มกันสามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 12 ของประชากรในปี พ.ศ. 2549

148 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักและให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลักดันให้ทุกยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไปได้ โดยให้ความสำคัญกับ (1) การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส (2) การกระจายภารกิจและความรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างโปร่งใส

149 (3) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (4) การพัฒนาและเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลทุกภาคส่วนในสังคม (5) การเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีของภาคเอกชน (6) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน

150 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม ให้ความสำคัญกับ (1) การพัฒนาคนให้มีคุณภาพและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง (2) การส่งเสริมให้คนมีงานทำ (3) การปรับปรุงระบบการคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ (4) การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (5) การส่งเสริมบทบาทครอบครัว องค์กรทางศาสนา โรงเรียน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน อาสาสมัคร และสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา

151 3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ (1) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ (2) การแก้ปัญหาความยากจนในชนบทและเมืองภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม

152 (3) การสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล (4) การจัดการพื้นที่เชิงบูรณาการที่ยึดพื้นที่ภารกิจและการมีส่วนร่วม 4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับ (1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์

153 (3) การอนุรักษ์ฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว (4) การบริหารจัดการปัญหามลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ 5) ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม ให้ความสำคัญกับ (1) การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยกระจายความเจริญและสร้างความเป็นธรรม (2) การดำเนินนโยบายการคลังและสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง (3) การเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค

154 6) ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ความสำคัญกับ (1) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและการค้า (2) เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน (3) การผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ

155 (4) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และระบบสหกรณ์ (5) ปรับปรุงระบบเจรจาและความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ (6) ส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงานและกระจายรายได้

156 7) ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับ (1) การประยุกต์ใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี (2) การพัฒนากําลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (3) การยกระดับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (4) การบริหารการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิผล

157 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็ นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศให้ เป็นไปในทางสายกลาง อันจะทำให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤติต่างๆ สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล การพัฒนาที่มีคุณภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ กระแสโลกาภิวัฒน์ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงต่างๆ

158 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนดให้มียุทธศาสตร์การจัดการเชิงพื้นที่ในมิติใหม่ที่มุ่งปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่ประสานเชื่อมโยงชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูลกันและกัน นำไปสู่เป้าหมายระยะยาวในการกระจายโอกาสการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เท่าเทียมกันตามศักยภาพในทุกพื้นที่ โดยจะดำเนินการตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ยึดคนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม

159 อาศัยความเข้มแข็งของชุมชนทั้งในชนบทและเมืองเป็นพื้นฐาน ให้คนส่วนใหญ่ของประเทศมีพลังเพิ่มขีดความสามารถด้วยตนเอง และพึ่งตนเองได้ รวมทั้งใช้ทุนทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจพออยู่พอกินเป็นภูมิคุ้มกันเบื้องต้น ขณะเดียวกันต้องมีการเชื่อมโยงเศรษฐกิจชนบทและเมืองที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยลำดับ ภายใต้ความมีเหตุผลและเกื้อกูลกัน

160 ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง สามารถรองรับการกระจายภารกิจด้านการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนกระบวนการชุมชนและประชาสังคมในการร่วมสร้างความเป็นธรรมแก่คนทุกระดับในสังคม โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว นอกจากนี้ยังมียุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบท และเมืองอย่างยั่งยืน ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้มียุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบท และเมืองอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

161 (1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ (2) การแก้ปัญหาความยากจนในชนบทและเมืองภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม (3) การสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล (4) การจัดการพื้นที่เชิงบูรณาการที่ยึดพื้นที่ภารกิจและการมีส่วนร่วม

162 ถึงแม้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ. ศ
ถึงแม้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ ) จะมีการกําหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และเป็นแผนพัฒนาฯ ที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทางสายกลาง เพื่อจะทำให้ ประเทศรอดพ้นจากวิกฤติ สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล การพัฒนาที่มีคุณภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ กระแสโลกาภิวัฒน์ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น แต่การดำเนินงานของรัฐบาลในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

163 ที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสนใจในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้เท่าที่ควร แต่กลับมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของไทยในภาพรวม ในขณะเดียวกันก็ได้พยายามเสริมศักยภาพเศรษฐกิจฐานราก หรือเศรษฐกิจชุมชน โดยการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากด้วยโครงการประชานิยมต่างๆ เช่น โครงการหมู่บ้านละล้าน โครงการ OTOP โครงการบ้านเอื้ออาธร และโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้นโยบายประชานิยมเพื่อรักษาฐานเสียงทางการเมืองเท่านั้น แทนที่จะส่งเสริมและช่วยให้ประชาชนในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

164 แต่กลับเป็นการทำให้เศรษฐกิจชุมชนอ่อนแอลง เพราะประชาชนส่วนใหญ่รอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือทางการเงินแบบให้เปล่า และสินเชื่อที่ไม่มีดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตํ่า ซึ่งส่งผลทำให้ประชาชนฐานรากคิดว่าเงินกู้ยืมดังกล่าวรัฐบาลจะให้ประชาชนฟรีๆจึงมีการกู้ยืมกันอย่างถ้วนหน้า โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นว่าจะกู้ยืมไปเพื่อลงทุนทำอะไร และการลงทุนนั้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่ โดยข้อเท็จจริงแล้วการกู้ยืมเงินจากโครงการของรัฐบาลดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่กู้ไปใช้จ่ายในครัวเรือน

165 และใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเป็นหลัก จึงส่งผลให้ประชาชนฐานรากมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น และต้องยึดรัฐบาลเป็นที่พึ่งเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันเงินงบประมาณและทรัพยากรที่รัฐบาลได้ทุ่มเทลงไปที่เศรษฐกิจชุมชนก็ได้ไหลย้อนกลับไปเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจต่างๆซึ่งเป็นผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มเท่านั้น เศรษฐกิจชุมชนในภาพรวมจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของวรวิทย์และธีระพงษ์ (2550) ที่พบว่าความสามารถในการพึ่งตนเองของเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในระดับตํ่า ในช่วงปี ทั้งๆที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณอย่างเต็มที่

166 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 10 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ ) ยังคงให้ความสำคัญกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องมาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็ นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้ มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

167 มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์ รวมที่มี “คนเป็นศูนย์ กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วน ร่วมในการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

168 การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยจะต้องปรับตัวในอนาคต และเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศที่พึงปรารถนาในระยะยาว การพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาไว้ ดังนี้

169 1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา เสริมสร้างบริการสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นำไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ

170 3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิตเพื่อทำให้มูลค่า การผลิตสูงขึ้น 4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน (Safety Net) และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดแรงงาน และการลงทุน 5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม

171 6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ และการดำรงชีวิตของคนไทยทั้งในรุ่นปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสร้างกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและอย่างยั่งยืน

172 7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน และขยายบทบาท ขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเสริมสร้างกลไก และกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดเป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน

173 ส่งเสริมให้ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณ และได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับ 1) การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการส่งเสริมการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในรูปแบบที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน

174 2) การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการบูรณาการกระบวนการผลิตบนฐานศักยภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนอย่างสมดุล 3) การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูล

175 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังคงให้ความสำคัญกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องมาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนๆ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ ) ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ ในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์ รวมที่มี “คนเป็นศูนย์ กลางการพัฒนา”

176 ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ในขณะเดียวกันก็ให้ ความสำคัญต่ อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่ วนให้ มีส่วนร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่ การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง

177 การดำเนินงานของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 รัฐบาลจึงได้มีโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่

178 1) โครงการสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ รัฐบาลจึงได้มีการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีจำนวนถึง 1,132 ศูนย์ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 800 ศูนย์

179 และศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 187 ศูนย์ ให้กับเกษตรกรไปแล้ว ประมาณ 130,000 ราย รวมทั้งยังเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีเพื่อน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยกลไกทางบัญชีในการสอนจัดทำบัญชีครัวเรือนให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปประมาณ 600,000 ราย

180 2) โครงการประกันรายได้เกษตรกร เป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบตลาดสินค้าเกษตรทำงานได้อย่างเสรี ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าเกษตรที่ซื้อขายในระบบตลาดสะท้อนความต้องการสินค้าเกษตรที่แท้จริงตามกลไกตลาดเกิดความเป็นธรรมในการซื้อขายและระบบตลาดมีความยั่งยืน ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวมีหลักการในการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีผลตอบแทนที่พึงได้จากการทำการเกษตรที่เป็นธรรมแก่เกษตรกร ซึ่งผลดีของการใช้นโยบายการประกันรายได้เกษตรกร ได้แก่

181 (1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับส่วนต่างระหว่างเกณฑ์กลางอ้างอิงกับราคาประกันเป็นเงินโดยตรงจากรัฐ กรณีราคาตลาดตํ่ากว่าราคาประกัน ช่วยให้เกษตรกรไม่ขาดทุนจากการขายผลผลิต (2) การจดทะเบียนเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูกเพื่อทำประกันราคาจะช่วยลดปัญหาการสวมสิทธิ์จากการนำผลผลิตของประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ว่าเป็นของเกษตรกรไทย (3) ไม่เป็นภาระกับการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลจะจ่ายส่วนต่างระหว่าง ราคาตลาดอ้างอิงกับราคาประกันให้กับเกษตรกรเท่านั้น รัฐบาลไม่ต้องแบกรับภาระเกี่ยวกับการแปรสภาพและการจัดเก็บผลผลิตในสต็อกของรัฐบาล

182 (4) ลดปัญหาการทุจริต และการแสวงหาประโยชน์จากการรับจำนำของผู้ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆ คงเหลือเพียงระดับเกษตรกร และเจ้าหน้าที่จดทะเบียนเท่านั้น (5) กลไกการค้า ผลผลิตสินค้าเกษตรเข้าสู่ภาวะปกติ กลับมามีการแข่งขัน รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการค้า

183 3) โครงการการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปี พ. ศ
3) โครงการการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปี พ.ศ มีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนประมาณ 2.8 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99 ของวิสาหกิจทั้งประเทศ มีการจ้างงานประมาณ 8.9 ล้านคน หรือร้อยละ 76 ของการจ้างงานทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของ SMEs มีมูลค่า 3.44 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.9 ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศ

184 จากภาวการณ์ถดถอยของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อ การดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งภาคการผลิต ภาคบริการ และการท่องเที่ยว จนทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนไม่น้อยต้องปิดกิจการลง

185 ผลการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ถึงแม้จะมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นจำนวนมาก ซึ่งดูเหมือนว่าโครงการต่างๆเหล่านั้นน่าจะส่งเสริมให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสามารถพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ และสามารถต่อเนื่องมาจนถึงช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 แต่เนื่องจากโครงการต่างๆดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะของโครงการประชานิยม ไม่ได้เป็นโครงการที่มาจากพื้นฐานที่แท้จริงของชุมชน

186 พอรัฐบาลประกาศนโยบายเหล่านี้ออกมา หน่วยงานต่างๆของภาครัฐก็รีบดำเนินการให้ได้มาซึ่งจำนวนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม OTOP ทั้งๆที่กลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อม ไม่มีประสบการณ์ในการผลิตสินค้า ดังนั้นจึงมีการลอกเลียนแบบกันเป็นจำนวนมาก สินค้าที่ผลิตออกมาเหมือนๆกันทำให้ต้องแข่งขัน แย่งตลาดกันเอง ในช่วงแรกๆรัฐบาลได้ทำทุกวิถีทางเพื่อจะช่วยให้กลุ่ม OTOP สามารถดำรงอยู่ได้ แต่การกระทำดังกล่าวไม่ได้

187 สะท้อนภาพที่แท้จริงของกลุ่ม OTOP และกลุ่ม OTOP ส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาตามศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง ในท้ายที่สุดในช่วงปลายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ประกอบกับการเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของโลกจึงส่งผลให้กลุ่ม OTOP ต่างๆส่วนใหญ่ต้องล้มเลิกกิจการไป และในขณะเดียวกันกลุ่ม SMEs จำนวนไม่น้อยก็ต้องล้มเลิกกิจการเช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ก็มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง สังคมเกิดปัญหาความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เนื่องมาจากความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน

188 และรัฐบาลเองไม่มีเวลาที่จะมาเอาใจใส่ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพราะมัวแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆหนึ่งเท่านั้น ข้าราชการที่ทำงานในพื้นที่ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้เต็มกำลังความสามารถ มีการวิ่งเต้นกับนักการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งสูงขึ้น จึงทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐเท่าที่ควร

189 ประกอบกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ผ่านมาไม่ได้มีกระบวนการที่จะสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ชนบทมีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นผลของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังเกิดปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจเหมือนเดิม ปัญหาหนี้สินของประชาชนในพื้นที่ชนบทยังทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเศรษฐกิจชุมชนยังจำเป็นต้องเร่งพัฒนากันต่อไป

190 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ ) ได้จัดทาขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าช่วงที่ผ่านมา ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 สังคมไทยได้อัญเชิญหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม จนถึงระดับประเทศ

191 ซึ่งได้มีส่วนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ทุกภาคส่วนในสังคมไทยเห็นพ้องร่วมกันน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ครั้งนี้

192 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

193 จึงเป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสาคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

194 ขณะเดียวกันยังเป็นต้องบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้หลักการพัฒนาพื้นที่ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ซึ่งจะนาไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

195 ปัจจัยเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ จากการพิจารณาจุดแข็ง/โอกาสด้านการบริหารจัดการประเทศภายใต้บทบาทของภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วย 1) ภาคราชการมีเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ ด้านการกระจาย อำนาจที่เสริมให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสนับสนุนการพัฒนาในระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10

196 มีการปรับโครงสร้าง กลไก และหลักเกณฑ์การจัดสรรทรัพยากรภาครัฐให้กระจายอานาจการตัดสินใจสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชนเพิ่มขึ้น อาทิ ปรับปรุง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559) ผลต่อการแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนงาน-คน-เงินให้ท้องถิ่น และ สร้างความชัดเจนในบทบาทของกระทรวง กรม จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลให้ท้องถิ่นมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการภารกิจของท้องถิ่น สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาและสนับสนุนการปฏิบัติงานในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดมากขึ้น

197 นอกจากนี้ การมี พ. ร. บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ. ศ
นอกจากนี้ การมี พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ และ พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ ที่กำหนดให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ และให้ถือว่าจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทำให้จังหวัดสามารถของบประมาณพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ได้โดยตรง

198 2) ภาคชุมชนและภาคประชาชนมีความเข้มแข็งและมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการประเทศ ประชาชนในวงกว้างตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเองและชุมชนมากขึ้น และมีช่องทางในการมีส่วนร่วมกับภาครัฐและภาคีพัฒนาอื่นๆ อาทิ การมีส่วนร่วมในสภาองค์กรชุมชนที่ให้สิทธิผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น การเข้าร่วมเป็นผู้แทนในคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.)

199 ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัด ตลอดจนร่วมเป็นผู้แทนในเครือข่ายที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนในการตรวจราชการระดับพื้นที่ร่วมกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง โดยเฉพาะการตรวจติดตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นช่องทางให้ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาและตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐได้กว้างขวาง

200 3) ภาคธุรกิจเอกชนตระหนักถึงความสาคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมีแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมและทาธุรกิจเพื่อสังคมมากขึ้น ภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรับผิดชอบสังคมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาภาคการผลิต การท่องเที่ยว การส่งเสริมธุรกิจชุมชน และการต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์และมีกลไกขับเคลื่อนที่สาคัญทั้งในระดับชาติและจังหวัด อาทิ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

201 4) ภาควิชาการตื่นตัวและได้รับการยอมรับมากขึ้นในฐานะแกนหลักของการพัฒนา ในช่วงต่อไป หน่วยงานการวิจัยและพัฒนามีบทบาทมากขึ้นในการเชื่อมโยงงานวิจัยลงสู่พื้นที่ โดยนำหลักการทางวิชาการมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการในชุมชน ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือภายในชุมชนตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การร่วมกันคิดวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ ไปจนถึงกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาของตนเองเกิดเป็นเครือข่ายภาคีในการพัฒนาที่ทำงานประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ อาทิ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และปัญหาสังคมอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

202 ผลการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา จากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-3 โครงการลงทุนส่วนใหญ่ของรัฐมักจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินงบประมาณลงทุนสูง และเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวจากการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ส่วนโครงการพัฒนาชนบทหรือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงดังกล่าวรัฐไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก ดังนั้นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนส่วนใหญ่

203 ยังมีลักษณะเป็นการสงเคราะห์หยิบยื่นให้แก่ประชาชนในชนบท หรือเป็นโครงการที่โอบอุ้มชาวชนบทโดยภาครัฐ จากการกระทำดังกล่าวของภาครัฐเป็นการสร้างพฤติกรรมให้ประชาชนในชนบทเป็นคนที่รอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อภาครัฐถอนความช่วยเหลือออกจากพื้นที่ก็ส่งผลทำให้ชาวชนบทกลับไปสู่สภาพความยากจนเช่นเดิม นอกจากนี้โครงการพัฒนาชนบทของรัฐจำนวนหลายโครงการในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-3

204 มักจะอยู่ในรูปของโครงการทดลองเพียงบางท้องที่เท่านั้น และอาศัยรูปแบบซึ่งกำหนดจากส่วนกลางเพียงฝ่ายเดียว ขาดการศึกษาถึงสภาพปัญหาที่แท้จริงของชนบทซึ่งมีความแตกต่างกันมากในแต่ละภาคจึงทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาพรวมของทั้งประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร จึงเป็นที่มาของปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางรายได้และความไม่ เป็นธรรมในสังคมขึ้นเมื่อสิ้นสุดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3

205 ผลการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หรือเศรษฐกิจชนบทตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เนื่องจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมามุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยไม่ให้ความสนใจกับการพัฒนาภาคเกษตร หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเท่าที่ควร ดังนั้นจึงส่งผลให้การขยายตัวของภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นช้ากว่าภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ผลการพัฒนายังพบว่า เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ขาดแคลนที่ดินทำกิน

206 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างการผลิตและการค้า การตลาดสินค้าเกษตรต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศมากขึ้น ในภาพรวมมีการปลูกพืชหลายชนิดมากขึ้นแต่เป็นการผลิตพืชเชิงเดี่ยวเสียเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้สารเคมี สารกำจัดแมลงและศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และยังส่งผลถึงความปลอดภัยของสุขภาพเกษตรกรในชนบทลดลง ในขณะเดียวกันที่ดินเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของนายทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทเพิ่มมากขึ้น

207 การพัฒนาในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทมาเป็นการพัฒนาแนวใหม่ โดยใช้แนวคิดการวางแผนการพัฒนาจากล่างขึ้นบน (Bottom - up) และให้ข้าราชการที่เป็นตัวแทนจาก 4 กระทรวงหลักทำงานประสานกันในพื้นที่ แต่ในทางปฏิบัติข้าราชการในพื้นที่ก็ไม่ได้มีการประสานงานกันเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาในช่วงดังกล่าวยังคงเน้น การกระจายรายได้ เพื่อลดความช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท โดยมีโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้าน และโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.)

208 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในระยะนี้รัฐได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจชนบทยากจนเป็นหลัก รัฐได้ทุ่มงบประมาณไปจำนวนมาก เพื่อดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาชนบทยากจนโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เน้นการแก้ปัญหาทางด้านการผลิตทางการเกษตรและด้านความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ รองลงมาเป็นโครงการที่มุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยโดยตรง และโครงการช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบริการขั้นพื้นฐาน

209 ส่งเสริมการผลิตและ การพัฒนาอาชีพ และโครงการส่งเสริมด้านการศึกษาและเพิ่มพูนความรู้ของประชาชนในชนบทยากจนเป็นสำคัญ จากการพัฒนาดังกล่าวพบว่า สภาพหมู่บ้านยากจนโดยส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากโครงการพัฒนาชนบททั้งหลายได้ใช้งบประมาณเข้าไปกระตุ้นกิจกรรมการพัฒนาอย่างเต็มที่ แต่ปัญหาความเหลื่อมลํ้าระหว่างเมืองกับชนบทยังคงมีเช่นเดิม ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถช่วยเหลือ ตนเองได้

210 ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 รัฐบาลได้ใช้นโยบายรายจ่ายเป็นหลัก เพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณตลอดช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เพื่อการพัฒนาชนบทโดยตรง และการสร้างงานในชนบท เป็นจำนวนเงินสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ถึง 6.6 เท่า ถึงแม้จะมีการจัดทำโครงการพัฒนาชนบทในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

211 แต่การดำเนินงานดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในชนบทได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เนื่องมาจากอำนาจการตัดสินใจในการใช้จ่ายและพัฒนาโครงการส่วนใหญ่ถูกกำหนดจากส่วนกลาง ในขณะที่ชุมชนในชนบทเข้าไปมีบทบาทในการดำเนินโครงการโดยตรงน้อยมาก นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้นโยบายการเงินเพื่อสร้างเสริมการกระจายรายได้ในชนบทโดยสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อสู่ชนบทเพื่อใช้ในการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในชนบท จากเงินสินเชื่อจำนวนมหาศาล ประกอบกับเป็นนโยบายส่งเสริมจากรัฐบาลทำให้เกษตรกรกู้สินเชื่อได้ง่าย ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยส่วนกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าคุ้มทุน จึงก่อให้เกิดปัญหาหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนมาก

212 และเป็นภาระอันหนักอึ้งแก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในเวลาต่อมา จากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของรัฐบาลในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ที่ผ่านมาไม่ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนในชนบทแต่อย่างใด ซํ้าร้ายกลับสร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนในภาพรวมอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังสร้างนิสัยการบริโภคนิยมให้กับประชาชนในชนบทจนต้องมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืนในที่สุด

213 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศยังเน้นการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ได้พยายามมุ่งกระจายอำนาจบริหารงานพัฒนาจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยจัดให้มีงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาจังหวัด เพื่อยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของคนยากจนในชนบท ขณะเดียวกันวางมาตรการเพื่อสนับสนุนบทบาทขององค์กรประชาชน

214 องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคธุรกิจเอกชนเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาชนบทอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน ให้ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมายสามารถยืมเงินทุนจากกองทุนหมู่บ้านได้โดยไม่มีดอกเบี้ย เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพใน 5 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม ช่าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน ค้าขาย และอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครัวเรือนในชนบทมีรายได้ให้มากกว่า 15,000 บาทต่อคนต่อปี และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ผลการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ทำให้ครัวเรือนยากจน ร้อยละ มีรายได้ผ่านเกณฑ์ 15,000 บาทต่อคนต่อปี

215 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะได้กําหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไว้ชัดเจน แต่แผนดังกล่าวได้เขียนไว้ก่อนที่จะมีการนำแผนมาใช้ในปี พ.ศ ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆของระบบเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หลายแห่งต้องปิดกิจการ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดทุน ภาคเอกชนส่วนใหญ่ได้รับกระทบจากภาวะวิกฤติดังกล่าว

216 ระบบเศรษฐกิจชุมชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ จึงส่งผลให้ภาครัฐได้หันกลับมาตระหนักถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมากขึ้น แต่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงนี้ ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่หันไปเน้นการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นหลัก เพื่อที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเร็ว โครงการของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่สำคัญ ได้แก่ (1) โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (2) โครงการเสริมสร้างการแก้ไขปัญหาคนจนในเมือง

217 (3) โครงการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Project: SIP) ถึงแม้จะมีโครงการต่างๆมากมายที่เข้าไปส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และดูเหมือนว่าเศรษฐกิจชุมชนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการเร่งด่วนเพื่อที่เร่งการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้หมดไปโดยเร็วเท่านั้น ชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีความพร้อมที่จะรองรับกับการเร่งใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าว จึงทำให้โครงการส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในแง่จำนวนโครงการเท่านั้น แต่ในแง่ความต่อเนื่อง หรือความยั่งยืนของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนนั้นไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด

218 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็ นไปในทางสายกลาง แต่การดำเนินงานของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสนใจในการปฏิบัติตามแผนอย่างจริงจัง แต่การดำเนินงานกลับมอมเมาประชาชนด้วยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนด้วยโครงการประชานิยมต่างๆ

219 เช่น โครงการหมู่บ้านละล้าน โครงการ OTOP โครงการบ้านเอื้ออาธร และโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้นโยบายประชานิยมเพื่อรักษาฐานเสียงทางการเมืองเท่านั้น แทนที่จะช่วยให้ประชาชนในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินโครงการต่างๆ เหล่านี้ในระดับชุมชนมีความคักคักมากในระยะเริ่มต้นโครงการ ดูเหมือนว่าระบบเศรษฐกิจชุมชนจะมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น และสามารถพัฒนาต่อไปได้เป็นอย่างดี

220 แต่ตอนสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 กลับพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น และการพัฒนาโครงการใดๆในระดับชุมชนส่วนใหญ่เฝ้ารอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพราะความคุ้นเคยจากการหยิบยื่นให้จากภาครัฐ นั่นแสดงให้เห็นว่าผลของการมอมเมาประชาชนด้วยโครงการประชานิยมได้ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนอ่อนแอลง ชุมชนส่วนใหญ่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีหลายกลุ่มอาชีพต้องยุบเลิกและไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้

221 ผลการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ถึงแม้จะมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นจำนวนมาก ซึ่งดูเหมือนว่าโครงการต่างๆเหล่านั้นน่าจะส่งเสริมให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสามารถพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ และสามารถต่อเนื่องมาจนถึงช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 แต่เนื่องจากโครงการต่างๆดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะของโครงการประชานิยม ไม่ได้เป็นโครงการที่มาจากพื้นฐานที่แท้จริงของชุมชน พอรัฐบาลประกาศนโยบายเหล่านี้ออกมา

222 หน่วยงานต่างๆของภาครัฐก็รีบดำเนินการให้ได้มาซึ่งจำนวนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม OTOP ทั้งๆที่กลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อม ไม่มีประสบการณ์ในการผลิตสินค้า ดังนั้นจึงมีการลอกเลียนแบบกันเป็นจำนวนมาก สินค้าที่ผลิตออกมาเหมือนๆกันทำให้ต้องแข่งขัน แย่งตลาดกันเอง ในช่วงแรกๆรัฐบาลได้ทำทุกวิถีทางเพื่อจะช่วยให้กลุ่ม OTOP สามารถดำรงอยู่ได้ แต่การกระทำดังกล่าวไม่ได้สะท้อนภาพที่แท้จริงของกลุ่ม OTOP และกลุ่ม OTOP ส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาตามศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง

223 ในท้ายที่สุดในช่วงปลายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ประกอบกับการเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของโลกจึงส่งผลให้กลุ่ม OTOP ต่างๆส่วนใหญ่ต้องล้มเลิกกิจการไป และในขณะเดียวกันกลุ่ม SMEs จำนวนไม่น้อยก็ต้องล้มเลิกกิจการเช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง สังคมเกิดปัญหาความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เนื่องมาจากความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน และรัฐบาลเองไม่มีเวลาที่จะมาเอาใจใส่ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพราะมัวแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆหนึ่งเท่านั้น ข้าราชการที่ทำงานในพื้นที่ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้เต็มกำลังความสามารถ

224 มีการวิ่งเต้นกับนักการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งที่สูงขึ้น จึงทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐเท่าที่ควร ประกอบกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ผ่านมาไม่ได้มีกระบวนการที่จะสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ชนบทมีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นผลของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยังเกิดปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจเหมือนเดิม ปัญหาหนี้สินของประชาชนในพื้นที่ชนบทยังทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเศรษฐกิจชุมชนยังจำเป็นต้องเร่งพัฒนากันต่อไป

225 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ผ่านมาประมาณครึ่งศตวรรษพบว่า การพัฒนาในระยะแรกๆ เป็นลักษณะการเข้าไปช่วยเหลือและการหยิบยื่นให้จากภาครัฐทั้งโดยตรงและโดยอ้อม จากการกระทำดังกล่าวได้สร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีให้กับประชาชน ที่จะต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว จากการดำเนินนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ผ่านมาของภาครัฐที่ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรได้ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในอดีตที่ผ่านมาเป็นลักษณะล้มลุกคลุกคลาน บางช่วงดูเหมือนว่าจะไปได้ดี แต่บางช่วงดูเหมือนว่าจะไปไม่รอดจึงทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของไทยที่ผ่านมาไม่ยั่งยืน

226 จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ. ศ
จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ ได้พิสูจน์ชัดว่าภาคเศรษฐกิจชุมชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ดังนั้นการพัฒนาประเทศในระยะต่อมาจึงได้พยายามที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อที่จะให้ประเทศรอดพ้นจากภาวะวิกฤติ แต่กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในช่วงดังกล่าวกลับถูกแอบแฝงไปด้วยผลประโยชน์ทางการเมือง และธุรกิจการเมือง โดยใช้โครงการประชานิยมต่างๆเข้าไปส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและมอมเมาประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนให้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว ผลที่ตามมาก็คือแทนที่ผลประโยชน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจะตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงกลับหาเป็นเช่นนั้นไม่

227 ผลประโยชน์ดังกล่าวส่วนใหญ่ได้ตกไปยังกลุ่มธุรกิจการเมืองโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีความเข้าใจในประเด็นซ่อนเร้นดังกล่าวแต่อย่างใด จนถึงทุกวันนี้ผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลเริ่มปรากฏชัดว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น การดำเนินงานของกลุ่มต่างๆส่วนใหญ่ประสบล้มเหลว และส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของชุมชนอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด อาจจะมีคำถามตามมาว่า การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่?

228 คำตอบก็คือ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและถูกทาง ดังนั้นทางออกของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ถูกต้องก็คือ การมุ่งส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจชุมชนในทุกๆ ด้านด้วยนโยบายต่างๆ โดยไม่มีวาระแอบแฝงใดๆ ตามศักยภาพของชุมชนจนทำให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง

229 ส่วนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้จัดทาขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าช่วงที่ผ่านมา ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 สังคมไทยได้อัญเชิญหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม จนถึงระดับประเทศ ซึ่งได้มีส่วนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ทุกภาคส่วนในสังคมไทยเห็นพ้องร่วมกันน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง


ดาวน์โหลด ppt วิชาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google