ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ศึกษานิเทศน์และเจ้าหน้าที่จากองค์การแพธ
ยินดีต้อนรับ ศึกษานิเทศน์และเจ้าหน้าที่จากองค์การแพธ สู่ โรงเรียนน้ำผุด จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1
2
โครงการ.. ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
โรงเรียนน้ำผุด จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1
3
นำเสนอ
4
รู้จัก..โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน "เพศศึกษา"
5
ความเป็นมาของโครงการ
โครงการ ก้าวย่างอย่างเข้าใจ (Teenpath) เป็นโครงการเพื่อผลักดันกระบวนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา (Sexuality Education) โดยมุ่งหวังให้เยาวชนมีสุขภาวะทางเพศ และคุณภาพชีวิตที่ดี กล่าวคือรู้จักและเห็นคุณค่าของตนเอง เรียนรู้ที่จะสร้าง และรักษาสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง เท่าทันตัวเอง และเท่าทันโลกรอบตัว สามารถคิดและตัดสินใจดำเนินชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบ และเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของครอบครัวและสังคม
6
ความสำคัญของโครงการ โครงการ ก้าวย่างอย่างเข้าใจ ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการสื่อสารเรื่องเพศกับเยาวชน นอกจากนั้น โครงการฯ ยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมบรรยากาศทางสังคม และการรณรงค์สาธารณะเรื่องเพศ และเอดส์ผ่านทางการสื่อสารต่างๆ
7
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
โครงการ ก้าวย่างอย่างเข้าใจ ดำเนินการโดย องค์การแพธ (PATH) ร่วมกับองค์กรพันธมิตร ได้แก่ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (แอคเซส) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพฯ เขต 1, 2 และ 3 กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
8
เป้าหมายของโครงการ โครงการ ก้าวย่างอย่างเข้าใจ เป็นโครงการที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในระบบโรงเรียน และจะต้องได้รับการพัฒนาต่อไปให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกาศใช้เมื่อปลายปี พ.ศ โดยยังคงเป้าหมายสำคัญของเพศศึกษา นั่นคือ การส่งเสริมให้วัยรุ่นได้รู้จักตนเอง สามารถคิดและตัดสินใจดำเนินชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น เรียนรู้ที่จะสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ และเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพาของสังคม โดยมีสุขภาพทางเพศและคุณภาพชีวิตที่ดี
9
ผลที่คาดว่าจะได้รับ เกิดความเข้าใจและมั่นใจที่จะแสวงหาข้อมูลเรื่องเพศอย่างเพศอย่างเหมาะสม รู้จักตัวเองทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก ความพึงพอใจและตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง มีวิธีคิด วิเคราะห์ในการตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตวัยรุ่นของตนเองได้ มีทัศนะที่ไม่ตัดสิน ตีค่าพฤติกรมทางเพศของผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีทักษะในการสื่อสารหรือจัดการความขัดแย้งเมื่อต้องการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น รู้จักการดูแลสุขภาพทางเพศและแสวงหาความช่วยเหลือ เมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือเมื่อเกิดปัญหา หากตัดสินใจจะมีเพศสัมพันธ์ สามารถคิดวิเคราะห์ถึงผลที่จะตามมาได้ รู้วิธีการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและคู่
10
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
"เพศศึกษา"
11
การจัดกิจกรรม “เพศศึกษา” ในโรงเรียน
ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม วิเคราะห์หลักสูตรเพศศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนการสอน บูรณาการตามแผนที่กำหนด ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
12
กรอบการเรียนรู้เรื่องเพศ
การพัฒนากิจกรรมและเนื้อหาชุดกิจกรรม “ก้าวย่างอย่างเข้าใจ” วางอยู่บนแนวคิดหลัก 6 ด้าน ได้แก่ พัฒนาทางเพศของมนุษย์ (Human Development) สัมพันธภาพ (Relatiomships) ทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills) พฤติกรรมทางเพศ (Sexual Behavior) สุขภาพทางเพศ (Sexual Health) สังคมและวัฒนธรรม (Social and Culture)
13
เพศศึกษาไม่ใช่เรื่องน่าอาย
สังคมไทยถกเถียงกันมากถึงความจำเป็นในการสอน"เพศศึกษา" บางคนก็ว่า เป็นดาบสองคม ที่จะให้ความรู้เรื่องเพศแก่เด็ก เพราะอาจจะเป็น การ สอนที่กระตุ้นให้เกิดความ อยากรู้ อยากเห็น "เพศศึกษา"ในความหมาย ของงาน "อนามัยการเจริญพันธ์ มิได้หมายความเพียงเฉพาะการสอนเรื่องของความแตกต่างทางสรีระและ เพศ สัมพันธ์เท่านั้น หากแต่เป็นสอนเรื่องของชีวิตอันเป็นพื้นฐานของ ความรักความเข้าใจในครอบครัว การมองเรื่องเพศในทรรศนะใหม่ เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุม ที่มีอิทธิพลต่อการ เจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาและการปรับตัวทางสังคม เพศศึกษา หมายถึง การศึกษาเพื่ออบรมนิสัย และความประพฤติให้เป็นชายจริงหญิงแท้ ครอบคลุมถึง ขนบธรรมเนียม ศีลธรรม สรีรวิทยา เศรษฐศาสตร์และสาขาวิชาอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศอย่างแท้จริง
14
รู้จักตัวเรา ร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายตอนเด็กๆ จะยังไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก ยกเว้นความแตกต่างที่อวัยวะเพศ จนกระทั่งเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาวนั่นแหละ ร่างกายของเราจึงจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างขนานใหญ่อันเป็นผลมาจากการทำงานของ "ฮอร์โมน" ในร่างกาย ซึ่งพบว่าเด็กผู้หญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นและมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ของร่างกายเร็วกว่าเด็กผู้ชาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นตามวัยและเป็นไปตามธรรมชาติ
15
ก้าวแรก (First Step) ร่างกายเราเป็นของเรา จึงเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องเรียนรู้ ดูแล และรักร่างกายของตนเอง การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของ ร่างกายและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเราเมื่อก้าวเข้า สู่วัยรุ่น อีกทั้งทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราด้วยความมั่นใจ ไร้กังวล และไม่เกิดความสับสนจนกลายเป็นความทุกข์ หรือวิตกกังวลมากเกินไปจนเกิดผลเสียต่อตัวเองตามมา
16
มีอะไรเปลี่ยนไปเมื่อวัยแตกสาว
เมื่อร่างกายเจริญเติบโตขึ้นจนอายุราว ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กหญิงกำลังเข้าสู่วัยสาว ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น หน้าอกขยาย สะโพกผายขึ้น เสียงเปลี่ยน (บางคน)เป็นสิว มีขนขึ้นที่รักแร้และอวัยวะเพศ เป็นต้น
17
หนุ่มน้อย..กับร่างกายของผม
เด็กผู้ชายจะเข้าสู่วัยรุ่นช้ากว่าเด็กผู้หญิง 2-3 ปี คืออายุประมาณ ปี เมื่อก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศชายขึ้น นำไปสู่การปรับเปลี่ยนของรูปร่างภายนอกอย่างขนานใหญ่ไม่แพ้ผู้หญิงเหมือนกัน นั่นคือ เด็กผู้ชายจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริเวณไหล่และหน้าอกจะขยายออกอย่างที่เขาเรียกกันว่า "อกสามศอก" นอกจากนี้เสียงจะแตกพร่า มีขนขึ้นตามที่ต่างๆ เช่น อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าอก และบริเวณขา เป็นต้น
18
ประจำเดือน : สัญญาณความสาว
การมีประจำเดือนที่ผู้หญิงหลายคนมักจะเรียกหรือรู้จักกันว่า "เมนส์" หรือ "ระดู" มักเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่ทำให้ผู้หญิงมีรูปร่างและมีกลิ่นตัวเฉพาะที่แตกต่างไปจากผู้ชาย ทั้งนี้เนื่องมาจากสารที่ร่างกายสร้างขึ้นในผู้หญิงแตกต่างจากในผู้ชาย สารดังกล่าวนี้ยังส่งผลทำให้เกิดประจำเดือนในผู้หญิงด้วย ปกติเด็กผู้หญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ ปี ประจำเดือนก็คือสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้งานแล้ว และถูกขับออกมาในรูปของเลือด จึงเรียกว่า เลือดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละหนึ่งครั้งและไหลออกมาทางช่องคลอดซึ่งเป็นคนละช่องกันกับท่อปัสสาวะ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนทุก 28 วัน หรือคลาดเคลื่อนมากหรือน้อยกว่า 7 วัน และมักจะมีครั้งละ 3-7 วัน
19
ฝันเปียก : สัญญาณความหนุ่ม
นอกจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว สำหรับเด็กผู้ชายที่กำลังเข้าสู่วัยหนุ่ม สัญญาณที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า เขากำลังเริ่มแตกเนื้อหนุ่มแล้วก็คือ "การฝันเปียก" ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีการผลิตน้ำอสุจิเก็บสะสมเอาไว้ และเมื่อมีปริมาณมากเกินไปร่างกายจะขับออกมาตามกลไกธรรมชาตินั่นเอง การฝันเปียกเป็นลักษณะทางธรรมชาติของเด็กผู้ชายที่กำลังแตกเนื้อหนุ่ม ด้วยการที่ร่างกายขับเอาของเหลวออกมาระหว่างการนอนหลับในเวลากลางคืนโดยที่เขาไม่รู้ตัว แต่รู้ว่าตนเองฝันเห็นผู้หญิงที่ตนชอบ หรือผู้หญิงโป๊ หรือการร่วมเพศ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาพบว่ามีของเหลวเปียกชื้นติดที่เป้ากางเกงนอน หรืออาจเปื้อนเลอะเทอะที่นอน ของเหลวนั้นก็คือ "น้ำอสุจิ" นั่นเอง สัญญาณบอกเหตุนี้ นอกจากจะหมายถึงการเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว ยังบ่งบอกให้รู้ว่าชายหนุ่มผู้นั้นพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้แล้ว และสามารถทำให้ผู้หญิงตั้งท้องได้ด้วยหากมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ป้องกันหรือไม่ใช้ถุงยางอนามัย ดังนั้น เราน่าจะได้เรียนรู้และรู้จักระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายเหมือนกับของผู้หญิงด้วยเช่นกัน
20
สาระการเรียนรู้สำคัญ ๓ เรื่อง
สาระการเรียนรู้สำคัญ ๓ เรื่อง 1. เพศวิถี (Sexuality) 2. การเรียนรู้ (Learning) 3. การพัฒนาเยาวชน (Youth Development)
21
เพศวิถี เรื่องเพศเป็นธรรมชาติ และสามารถใช้ธรรมะในเรื่องเพศ โดยเข้าใจความเป็นไป รู้และเท่าทันอารมณ์ และสามารถใช้ปัญญาในการเลือก ควบคุม จัดการชีวิตทางเพศของเรา การเรียนรู้เรื่องเพศ คือการเปิดการรับรู้ ติดตาม และเท่าทัน ไม่ใช่การพยายามปิดกั้น หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการรับรู้ ตระหนักถึงอคติทางเพศ โดยเฉพาะผู้หญิงเป็นฝ่ายถูกกำหนดให้ควบคุมความต้องการทางเพศของตนเอง และ ยังต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อความรู้สึกและต้องการของฝ่ายชาย สังคมไทยยังขาดการยอมรับความหลากหลายของวิถีชีวิตทางเพศ และการมีพื้นที่ให้คนสามารถ “เลือก” ดำเนินชีวิตได้ เช่น ความเป็นหญิงเป็นชาย และ เพศที่สาม อคติทางสังคมก่อให้เกิดภาวะกดดันและผลกระทบต่อทั้งเยาวชน และผู้ใหญ่ เมื่อต้องพยายามอยู่ในกรอบของเพศสภาพที่สังคมกำหนด เพศศึกษา ไม่ควรเป็นการชี้ผิดชี้ถูก และต้องช่วยให้คนที่ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้ “ เพศวิถีกับศีลธรรม เป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจ ไม่ใช่กามารมณ์อย่างเดียว” (ฉลาดชาย รมิตารนนท์)
22
การเรียนรู้ การเรียนรู้ต้อง “สร้าง” ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างรอบด้าน รู้ความต้องการของตัวเองและมีทักษะในการจัดการชีวิตตนเองให้มีความสุข ปลอดภัย และพร้อมที่จะรับผลที่ตามมา การบูรณาการเป็นเพียงวิธีการ ผู้จัดการเรียนรู้ต้องมีความเข้าใจต่อเป้าหมายที่แท้จริงของเพศศึกษาจึงจะสามารถบูรณาการได้ อุปสรรคสำคัญที่เพศศึกษายังไม่สามารถบูรณาการในสถานศึกษา คือ ครูต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อจะเข้าใจวิธีจัดการเรียนรู้ และเกิดทักษะในสร้างการเรียนรู้ ผู้ใหญ่ ผู้จัดการเรียนรู้ ต้องสามารถสร้างการรับรู้ พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ เพื่อให้เยาวชนสามารถเสพสื่ออย่างมีวิจารณญาณ แนวคิดนี้น่าจะสร้างหลักประกันที่มั่นคงต่อสังคมมากกว่าการหวังผลจากการควบคุมการสื่อสารสาธารณะ “ เอามติชนทั้งหมดมารวมกัน ยังไม่ดีเท่าครูที่ดี หนึ่งคน” (นิวัติ กองเพียร)
23
การเรียนรู้ โรงเรียนยังเป็นความหวังที่สำคัญของการสร้างการเรียนรู้ หากช่วยกันทำให้โรงเรียนสนุก และ “ทันสมัย” การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศ ต้องไม่พยายามจัดในโรงเรียนเท่านั้น แต่ต้องไปจัดในพื้นที่ที่เยาวชนแสวงหา หรือรับข้อมูลข่าวสาร ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต้องได้รับการเรียนรู้ให้เข้าใจเรื่อง “วิถีเพศ” เรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และมีทัศนะที่เคารพความเท่าเทียมในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้ว่าจะต่างวัยและวุฒิ “ เอามติชนทั้งหมดมารวมกัน ยังไม่ดีเท่าครูที่ดี หนึ่งคน” (นิวัติ กองเพียร)
24
การยอมรับให้เยาวชนเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียม
การพัฒนาเยาวชน การยอมรับให้เยาวชนเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียม ผู้ใหญ่จะสามารถเข้าใจความต้องการ และความเป็นไปของเยาวชนมากขึ้น หากเท่าทันและติดตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เยาวชนเห็นว่าการห้ามปราม สั่งสอนของผู้ใหญ่ สะท้อนความไม่รับรู้และไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ต่างจากยุคของผู้ใหญ่ จึงมักต่อต้าน สัมพันธภาพที่ดีของผู้ใหญ่ และเยาวชน ต้องมีพื้นฐานจากความไว้วางใจ การที่เยาวชนได้รับการ “รับฟัง” จะเกิดความวางใจ และกล้าปรึกษา พึ่งพิง ผู้ใหญ่ เยาวชนรู้ดีว่าผู้ใหญ่รักและหวังดี แต่ผู้ใหญ่ต้องเชื่อด้วยว่าเด็กคิดเองได้ การพัฒนาเยาวชนต้องคำนึงถึงความหลากหลายของเยาวชนและสนองตอบด้วยการจัดการที่สอดคล้องกัน “อยากให้ผู้ใหญ่รู้ว่า เด็กๆ ก็อยากให้ผู้ใหญ่มีความสุขเหมือนกัน” (เยาวชนคนหนึ่ง)
25
ภาพกิจกรรมดำเนินงาน
26
คณะกรรมการประชุมวางแผน
27
จัดกระบวนการเรียนการสอน
28
สื่อการเรียนการสอน
29
ประชุมปรึกษาหารือ
30
ประชุมปรึกษาหารือ
31
ตรวจความเข้มข้นของเลือด
32
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การคุมกำเนิด
33
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การคุมกำเนิด
34
บทสรุป การพัฒนา “สุขภาวะเรื่องเพศ” ให้สังคมไทย ผ่านการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา ต้องทำทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน ชุมชน และพื้นที่สาธารณะ ต้องอาศัยภาคีความร่วมมือ จากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น เยาวชน พ่อแม่ ครู ผู้บริหารการศึกษา สถาบันวิชาการที่วิจัย และ พัฒนาองค์ความรู้ และเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่อเพศวิถี ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ปฏิบัติที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเยาวชน และสื่อมวลชน
35
คนปลูกต้นไม้ มีหน้าที่รดน้ำ พรวนดิน ใส่ใจดูแล ส่วนการเติบโต
คนปลูกต้นไม้ มีหน้าที่รดน้ำ พรวนดิน ใส่ใจดูแล ส่วนการเติบโต... เป็นเรื่องของ “ต้นไม้”
36
กลับหน้าแรก ขอบคุณมาก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.