ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และ กระบวนการ Universal Periodic Review โดย นายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
2
กลไกด้านสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการจัดตั้งสหประชาชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1945 สิทธิมนุษยชนเปนหนึ่งในสามเสาหลักของสหประชาชาติ ได้แก่ สันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และ สิทธิมนุษยชน สหประชาชาติมีบทบาทในการสนับสนุนประเทศตาง ๆ ใหมีขีดความสามารถในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น รวมทั้งเป็นเวทีในการเจรจาจัดตั้งกลไก และจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศที่สำคัญ
3
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights-UDHR) ซึ่งได้รับการรับรองในที่ประชุม UNGA ในปี ค.ศ ถือเป็นเอกสารด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก
4
กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ - CERD 2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง - ICCPR และพิธีสารเลือกรับสองฉบับ 3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม - ICESCR 4. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ - CEDAW และพิธีสารเลือกรับ 5. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก-CRC และพิธีสารเลือกรับสองฉบับ
5
6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษ
อื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี-CAT และ พิธีสารเลือกรับ 7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ -CRPD 8. อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ –CED 9. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน และสมาชิกในครอบครัว-MWC
6
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council – กลไกหลักด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ)
7
Universal Periodic Review (UPR) Social Forum Forum on Minority Issues
กลไกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ Advisory Committee Universal Periodic Review (UPR) Social Forum Forum on Minority Issues Expert Mechanism on the Rights of Indigenous People Special Procedures Complaint Procedure
8
ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) ปี 2010 – 2013 และจะสมัครเป็นสมาชิกต่อระหว่างต้นปี ปลายปี 2560 ไทยเป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระเดือนมิถุนายน 2553 – มิถุนายน 2554
9
ไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ
ผลดีในระดับประเทศ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในภาคส่วนต่างๆ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ผลดีในระดับระหว่างประเทศ บทบาทของไทยที่สำคัญเพิ่มขึ้นในเวทีสิทธิมนุษยชน เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อหา จุดร่วมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
10
2. กระบวนการ Universal Periodic Review
UPR เป็นกลไกภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ (Human Rights Council – HRC) กำหนดให้ทุกประเทศต้องจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศเพื่อเสนอต่อ HRC UPR เป็นกระบวนการของรัฐที่จะทบทวนโดยรัฐกันเอง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มสุดท้ายที่ถูกทบทวนภายใต้กระบวนการ UPR ในรอบแรก ( ) ประเทศไทยได้นำเสนอรายงานด้วยวาจาต่อที่ประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่ 12 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ที่นครเจนีวา
11
การนำเสนอรายงานประเทศภายใต้กระบวนการ UPR
ผลการนำเสนอรายงานของไทยได้รับการรับรองจากที่ประชุม HRC สมัยที่ 19 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555 ที่นครเจนีวา UPR รอบแรกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ เสร็จสิ้นลงเมื่อเดือนมีนาคม 2555 จะเข้าสู่การทบทวนในรอบที่สองในปี พ.ศ. 2559
12
ลักษณะเฉพาะของรายงาน UPR ของไทย - เป็นรายงานฉบับแรกของประเทศที่ครอบคลุมสิทธิมนุษยชนทุกประเภท รวมทั้งสิทธิของกลุ่มต่าง ๆ อาทิ สตรี เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ
13
ความสำคัญของกระบวนการ UPR และผลดีต่อประเทศไทย
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในกระบวนการจัดทำรายงาน กระตุ้นให้เกิดพัฒนาการเชิงบวกต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในการแสดงบทบาทอย่างแข็งขันด้านสิทธิมนุษยชน เป็นโอกาสในการชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของไทยแก่ประชาคมระหว่างประเทศ
14
3. ข้อเสนอแนะและคำมั่นของไทย
ไทยได้รับข้อเสนอแนะจากประเทศอื่น ๆ จำนวน 172 ข้อ ซึ่งไทยประกาศรับทั้งสิ้น 134 ข้อ การเข้าเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน การปรับปรุงกฎหมายสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและแผนสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึกอบรม การเชิญกลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ เยือนไทย การส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ การแสดงออก การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
15
ข้อเสนอแนะ UPR การส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม
การคุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้แสวงหาที่พักพิง ปัญหาการค้ามนุษย์ การแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การอำนวยความยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม กระบวนการปรองดอง การติดตามผลของกระบวนการ UPR
16
ข้อเสนอแนะ 38 ข้อที่ไทยไม่รับรอง
การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนบางฉบับ การทบทวนแก้ไขกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก โดยเฉพาะการทบทวนแก้ไขหรือยกเลิก กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การปรับเปลี่ยน ระงับ หรือยกเลิกโทษประหารชีวิต
17
คำมั่นของประเทศไทย 1. เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 2. ถอนข้อสงวนต่อข้อ 16 ของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW) และถอนถ้อยแถลงตีความต่อข้อ 6 และข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และข้อ 18 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) 3. ปรับกฎหมายให้สอดคล้องกับตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน 4. ประกาศเชื้อเชิญในหลักการ (standing invitation) ต่อกลไกพิเศษของ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ
18
คำมั่นของประเทศไทย 5. เร่งปรับปรุงระบบยุติธรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการบังคับใช้กฎหมาย 6. พัฒนาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน และเพิ่ม ความพยายามในการป้องกันการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่ม ประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบแรงงานทั้งระบบ 7. ส่งเสริมสิทธิด้านการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสและเด็กชายขอบ 8. เสริมสร้างความเข้มแข็งของการปฏิบัติตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
19
4. การดำเนินการหลังการเสนอรายงานในรอบแรก
สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ให้การรับรองจำนวน 134 ข้อ รวมทั้งคำมั่นที่ไทยให้ไว้จำนวน 8 ข้อ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศและติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR เพื่อเป็นกลไกติดตาม การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นระบบ มีปลัด กต. เป็นประธาน ประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานอิสระ ได้แก่ กสม. และผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้แทนภาคประชาสังคมเป็นกรรมการ
20
การดำเนินการหลังการเสนอรายงานในรอบแรก
กต. ได้รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดทำแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะและคำมั่น UPR การสร้างความตระหนักและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กระบวนการ UPR ให้กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน การจัดทำเอกสารความคืบหน้าสำคัญในการปฏิบัติตาม ข้อเสนอแนะที่ไทยรับรองและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้ กระบวนการ UPR ในช่วงกลางรอบ (UPR Mid-term Update)
21
ความคืบหน้าในการดำเนินการ อาทิ
การประกาศเชื้อเชิญในหลักการ (standing invitation) ให้กลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเยือนไทยเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของไทย กต. ได้เชิญผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิในการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและสุขอนามัยเยือนไทยระหว่างวันที่ 31 มกราคม- 8 กุมภาพันธ์ 2556
22
การลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
การถอนข้อสงวนต่อข้อ 16 ของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW) เรื่องสิทธิและความเสมอภาคในครอบครัวและการสมรส การถอนถ้อยแถลงตีความต่อข้อ 6 วรรค 5 (เรื่องโทษประหารชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่กระทำผิด) และข้อ 9 วรรค 3 (เรื่องการนำตัวผู้ต้องหาเข้าสู่การพิจารณาคดีโดยพลัน) ของกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
23
5. การจัดทำรายงานประเทศในรอบที่ 2
UPR รอบที่สอง เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ โดยไทยจะเข้าสู่ การทบทวนในรอบที่สองในปี พ.ศ ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ไทยจะต้องส่งรายงานประเทศภายในช่วงปลายเดือนมกราคม 2559 กระบวนการการจัดทำรายงานในรอบที่ 2 ในปี 2558
24
สถานการณ์การเมือง และการดำเนินการต่อไปของไทย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.