เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และการแบ่งเขตเวลาของโลก หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และการแบ่งเขตเวลาของโลก
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และ การแบ่งเขตเวลาของโลก เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ การแบ่งเขตเวลาของโลก เทคโนโลยีและรูปแบบ ของข้อมูลภูมิศาสตร์
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์
ลูกโลก ลูกโลก เป็นหุ่นจำลองของโลก แสดงตำแหน่งและการกระจายตัวของพื้นที่ประเทศ ทวีป ทะเล และมหาสมุทรต่างๆ ได้ตรงตามที่ปรากฏที่ผิวโลก ใช้เพื่อศึกษา ทิศทางการหมุนและการโคจรของโลก ที่ตั้งของทวีปและประเทศต่างๆ ศึกษาเส้นเมริเดียน เส้นละติจูด เป็นต้น
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย แผนที่ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรูปลักษณะและที่ตั้งของ สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก ด้วยการเขียนย่อส่วนลงในวัสดุพื้นที่แบนราบหรือแผ่นกระดาษ และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ ซึ่งแผนที่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนที่แบบแบน แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่เฉพาะเรื่อง
เข็มทิศ เข็มทิศ เป็นเครื่องมือที่ให้ข้อมูลด้านทิศทาง มีหลักการทำงานโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างแม่เหล็กขั้วโลกกับเข็มแม่เหล็กของเข็มทิศ ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการเดินทางเพื่อไปยังสถานที่ต่างๆ
รูปถ่ายทางอากาศบริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ รูปถ่ายทางอากาศ เป็นรูปถ่ายที่ได้จากการนำกล้องไปติดตั้งกับอากาศยาน แล้วถ่ายรูปในแนวดิ่งหรือเฉียงกับผิวโลก ทำให้ได้รูปของพื้นผิวโลกตามจริงที่ปรากฏในเวลานั้น ซึ่งมักนำ รูปถ่ายทางอากาศมาใช้ทำแผนที่ โฉนดที่ดิน การก่อสร้างถนน การวางผังเมือง เป็นต้น รูปถ่ายทางอากาศบริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ภาพจากดาวเทียมแสดงภูมิลักษณ์ของประเทศไทย ภาพจากดาวเทียม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบกล้องหลายช่วงคลื่น โดยบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลขของค่าการสะท้อนช่วงคลื่นแสง โดยข้อมูลที่บันทึกสามารถส่งกลับมายังสถานีรับบนโลก ได้ทันที จึงทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งการใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมจำเป็นต้องมีการแปลความของสิ่งที่ปรากฏบนภาพก่อน ภาพจากดาวเทียมแสดงภูมิลักษณ์ของประเทศไทย
เครื่องมืออื่นๆ แผนภูมิ แผนภาพ เว็บไซต์
เทคโนโลยีและรูปแบบของข้อมูลภูมิศาสตร์
ปัจจุบันมีการใช้ GPS มากขึ้นในการหาเส้นทาง เพื่อเดินทางไปยังจุดหมาย
รูปแบบการนำเสนอข้อมูลภูมิศาสตร์ บรรยาย แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ
การแบ่งเขตเวลาของโลก
การเปรียบเทียบเวลาการรับประทานอาหารของคนแต่ละภูมิภาค ความสำคัญของการแบ่งเวลา เนื่องจากโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม ทำให้แต่ละพื้นที่เกิดกลางวัน-กลางคืนไม่ตรงกัน จึงจำเป็นต้อง มีการกำหนด “เวลาปานกลางกรีนิช” หรือ “เวลาสากล” เพื่อใช้กำหนดเวลามาตรฐานของแต่ละประเทศ ส่งผลให้สะดวกต่อการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างประเทศในทุกๆ ด้าน การเปรียบเทียบเวลาการรับประทานอาหารของคนแต่ละภูมิภาค
ภาพแสดงแนวความสว่างและความมืด เส้นเมริเดียนกับการกำหนดเขตเวลา เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปขั้วโลกใต้ ซึ่งมีทั้งหมด 360 เส้น ห่างกันเส้นละ 1 องศา ซึ่งขณะโลกหมุนไปทุกๆ 1 ชั่วโมง จะทำให้แนวความสว่างกับความมืดเคลื่อนผ่านไป 15 องศาเมริเดียน ทำให้เกิดเป็นความสว่างและความมืดบนโลก ภาพแสดงแนวความสว่างและความมืด
แผนที่แสดงเขตภาคเวลาของโลก การกำหนดเขตภาคเวลา การกำหนดเขตภาคเวลา จะกำหนดตามระยะห่างของเส้นช่วงละ 15 องศา โดยกำหนดตามเส้นเมริเดียน ทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก และกำหนด ให้เส้นเมริเดียนแรก (0 องศา) เป็นเวลาปานกลางกรีนิช ซึ่งทั่วโลกมีเขตภาคเวลา ทั้งหมด 24 เขต แผนที่แสดงเขตภาคเวลาของโลก
เวลามาตรฐาน เวลามาตรฐานสากล คือ เวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในเขตภาคเวลาต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งประเทศที่มีขนาดใหญ่จะครอบคลุมพื้นที่หลายเขตภาคเวลา เช่น รัสเซีย 11 เขต สหรัฐอเมริกา 5 เขต เป็นต้น เวลามาตรฐานท้องถิ่น คือ เวลาของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปตามเขต ภาคเวลาของแต่ละดินแดนหรือประเทศต่างๆ ซึ่งมีเวลามาตรฐานของแต่ละเขตหรือท้องถิ่นอยู่แล้ว ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ใช้เวลาที่เส้น เมริเดียน 105° ตะวันออกเป็นเส้นเมริเดียนกลางเขตภาคเวลา ทำให้ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน