กำมะถัน (Sulfur)
กำมะถัน ( Sulfur) มีอยู่ในร่างกายประมาณร้อยละ 0.25 ของน้ำหนักร่างกาย จัดอยู่ในแร่ธาตุประเภท Macrominerals คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากกว่าวันละ 100 มิลลิกรัม มีฉายานาม ว่า Beauty Mineral เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญในการ รักษาเล็บ ผม และผิวหนังให้มีสุขภาพดี ผิวเนียนเรียบดูเปล่งปลั่ง เป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโนในบางตัว เช่น เมไทโอนีน ซีสทีน และซีสเทอีน
กำมะถัน ( Sulfur) หน้าที่ของกำมะถัน 1. เป็นส่วนประกอบของเคราติน (Keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งและเป็นส่วนประกอบสำคัญของผิวหนัง ขน เล็บ เส้นผม 2. เป็นส่วนประกอบในอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเป็นปกติ 3. เป็นส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตบางชนิด เช่น เฮพาริน (Heparin) มีคุณสมบัติป้องกันโลหิตแข็งตัว 4. เป็นส่วนประกอบของวิตามิน เช่น วิตามินบีหนึ่ง ไบโอติน
กำมะถัน ( Sulfur) หน้าที่ของกำมะถัน (ต่อ) 5. ทำงานร่วมกับไธอะมีน กรดเพนโทเธนิค ไบโอตินและกรดลิโพอิคในการเมแทบอริซึม 6. ขบวนการหายใจของกล้ามเนื้อ (Tissue respiration) 7. ทำงานร่วมกับตับเพื่อขับน้ำดี 8. ช่วยรักษาความสมดุลในร่างกาย และระบบประสาท 9. มีส่วนในปฏิกิริยา Detoxification โดยรวมตัวกับสารพิษ
กำมะถัน ( Sulfur) หน้าที่ของกำมะถัน (ต่อ) 10. ใช้เป็นขี้ผึ้งสำหรับทารักษาโรคเรื้อนกวาง โรคผิวหนังอักเสบ และผื่นคัน 11. ช่วยในการสังเคราะห์สร้างเนื้อเยื่อข้อต่อต่างๆ ของร่างกายที่เรียกว่า คอลลาเจน (Collagen)
กำมะถัน ( Sulfur) แหล่งของกำมะถัน 1. ผักต่างๆ เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม รำข้าว สาหร่ายทะเล กะหล่ำปลี กระจับ หัวไชเท้า เป็นต้น
กำมะถัน ( Sulfur) แหล่งของกำมะถัน (ต่อ) 2. แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของกำมะถันคือ ไข่
กำมะถัน ( Sulfur) แหล่งของกำมะถัน (ต่อ) 3. ผลไม้ต่างๆ เช่น อะโวคาโด สับปะรด เป็นต้น
กำมะถัน ( Sulfur) แหล่งของกำมะถัน (ต่อ) 4. อื่นๆ เช่น น้ำผึ้ง นม เนื้อ ปลา ปู กุ้ง หอย สัตว์ปีก ตับ ไต น้ำมันปลา เนยแข็ง เป็นต้น
กำมะถัน ( Sulfur) ความต้องการกำมะถัน ประมาณ 1 กรัม ต่ออาหารโปรตีนที่รับประทาน 100 กรัม ผลของการขาดกำมะถัน ไม่พบการขาดในคนทั่วไป การเป็นพิษ ถ้าหากได้รับในรูปอนินทรีย์ของกำมะถัน (Inorganic sulfur) จะเป็นอันตรายได้
กำมะถัน ( Sulfur) เมตาโบลิซึมของกำมะถัน กำมะถันที่ถูกดูดซึม ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของกรดอะมิโนทั้ง 3 ชนิด คือ เมไทโอนีน ซีสทีน และซีสเทอีน นอกจากนี้ซัลไฟล์ที่เกิดขึ้นในลำไส้เล็กโดยแบคทีเรียก็อาจจะถูกดูดซึมได้บ้าง แต่ก็จะถูก ออกซิไดส์ในตับให้เป็นซัลเฟต กำมะถันจะถูกเก็บไว้ในเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย แต่ส่วนที่มี มากที่สุดจะพบในผิวหนัง ผม และเล็บ กำมะถันที่มากเกินไปจะถูกขับออกทางปัสสาวะในรูปของเกลืออนินทรีย์ คือ เกลือซัลเฟตของ โปรแตสเซียมและโซเดียม หรือทางอุจจาระ