การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment อาจารย์ รุจิพรรณ แฝงจันดา
จุดมุ่งหมายรายวิชา เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงผลกระทบและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงาน ทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ เคมี ฟิสิกส์ที่มีต่อมนุษย์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและทราบถึงระเบียบปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความ เสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการรายงานประเมินผล การนำผลการ ประเมินไปวางแผนในการดำเนินการเพื่อควบคุม และป้องกันความเสี่ยงจาก สิ่งแวดล้อมและสังคมในการทำงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจด้านการประเมิน และป้องกัน ความเสี่ยงในการทำงานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องได้
คำจำกัดความ ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ผลลัพธ์ของความน่าจะเกิด อันตราย และผลจากอันตรายนั้น (อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยหรือสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุ ทำ ให้อันตรายที่มีและที่แอบแฝงอยู่ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และอาจ ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การ ระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย เป็นต้น โดย พิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านั้นซึ่ง อาจส ส่งผลให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
คำจำกัดความ อันตราย (Hazard) การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) การแจกแจงอันตรายต่าง ๆ ที่มีและที่แอบแฝงอยู่ ซึ่งอาจ เกิดขึ้นจากการ ประกอบกิจการทุกขั้นตอนตั้งแต่การรับจ่าย การเก็บ การขนถ่ายหรือขนย้าย การใช้ การขนส่ง วัตถุดิบ เชื้อเพลิงสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ กระบวนการผลิต วิธีการปฏิบัติงาน เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และ กิจกรรมหรือสภาพการณ์ต่างๆ ภายในโรงงาน เป็นต้น อันตราย (Hazard) หมายถึง แหล่งหรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย ความเสียหายของทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้รวมกัน
คำจำกัดความ อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีผลให้เกิดการ เสียชีวิต ความเจ็บป่วย การบาดเจ็บ ความเสียหาย หรือความสูญเสียอื่น ๆ ความเจ็บป่วยจากการทำงาน หมายถึง ความเจ็บป่วยที่ได้พิจารณาว่า มีสาเหตุจากกิจกรรม การ ทำงาน หรือสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน
หลักการประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่ระบุลำดับความเสี่ยงของอันตราย ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงานที่ครอบคลุมสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากร และขั้นตอนการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยความ เสียหายต่อทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ รวมกัน ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงหลักการ และวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนา มัย และความปลอดภัย รวมทั้งอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องประเมินความเสี่ยงการ ประมาณระดับความเสี่ยงโดยคำนึงถึง ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดอันตราย เพื่อ นำมาพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ และการวางแผน ควบคุมความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้
วัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยง เพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการ ปฏิบัติงาน ที่มีอยู่ทั้งหมดในบริษัท และจะได้ร่วมกันหา มาตรการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุและ การสูญเสีย
การประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ การชี้บ่งอันตราย ประมาณค่าความเสี่ยงของอันตรายแต่ละ อย่าง ความเป็นไปได้ และความรุนแรง ของความเสียหาย ตัดสินว่าความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้
การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) หมายถึง กระบวนการ วิเคราะห์องค์ประกอบของเหตุการณ์หรือสภาวะการณ์ที่อาจจะ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย ทรัพย์สินเสียหาย มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อชุมชน โดยใช้วิธีทางเทคนิค ดังต่อไปนี้ เช่น Checklist, What-if Analysis, Hazard and Operability Studies (HAZOP), Fault Tree Analysis (FTA), Failure Mode and Effect Analysis (FMEA), Event Tree Analysis (ETA), JSA, Task Analysis เป็นต้น
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) วิธีการประเมินความเสี่ยงที่นิยมใช้ ในประเทศไทยได้แก่ 1. วิธีระเบียบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2. วิธี OHSAS/TIS.18001
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การจัดทำแผนงานจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment Plan) หมายถึง การจัดทำ แผนงานลดความเสี่ยง เพื่อจัดทำมาตรการควบคุมป้องกันอันตรายเพิ่มเติมสำหรับ อันตรายที่มีระดับความเสี่ยงในกลุ่ม ยอมรับไม่ได้ และจัดทำ แผนงานควบคุมความ เสี่ยง เพื่อควบคุมให้มีการปฏิบัติตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับอันตรายที่มี ระดับความเสี่ยงในกลุ่ม ยอมรับได้
กระบวนการประเมินความเสี่ยง
การประเมินที่ดำเนินไปโดยปราศจากการวางแผนที่ดี หรือประเมินด้วยความเชื่อว่าเป็นเรื่องยุ่งยากจะทำให้ เสียเวลา และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ องค์กรไม่ ควรยึดติดอยู่กับการประเมินในรายละเอียดมากเกินไป ทำ ให้ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ การประเมิน ความเสี่ยงจะให้ได้มาซึ่งแผนงาน เพื่อเป็นแนวทางที่จะ นำไปใช้เป็นมาตรฐานควบคุม
ผู้ประเมินความเสี่ยงที่ยังขาดประสบการณ์อาจขาด ความรอบคอบ ปกติบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับงานมากเกินไป อาจจะมองข้ามอันตราย หรือตัดสินว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่ สำคัญ เพราะเข้าใจว่า ไม่มีใครเคยได้รับอันตราย ควรจะให้ ทุกคนประเมินความเสี่ยงด้วยมุมมองใหม่ ๆ และโดยการ ใช้คำถาม
การประเมินความเสี่ยงควรดำเนินการโดยบุคคล ที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งมีความรอบรู้ในกิจกรรม การดำเนินงานโดยเฉพาะมีการอบรมให้ความรู้ในการ ประเมินความเสี่ยงด้วย
1.จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน การประเมินความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรควรจะดำเนินตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน ให้เขียนชนิดของกิจกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และให้เขียน ขั้นตอนปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม โดยให้ครอบคลุม สถานที่ทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร รวมทั้งทำการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว
2.การบ่งชี้อันตราย ชี้บ่งอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แต่ละกิจกรรมของงาน พิจารณาว่าใครจะได้รับอันตรายและจะได้รับอันตรายอย่างไร 3.กำหนดความเสี่ยง ประมาณความเสี่ยงจากอันตรายแต่ละอย่าง โดยสมมุติว่ามีการ ควบคุมตามแผน หรือตามขั้นตอนการทำงานที่มีอยู่ ผู้ประเมิน ควรพิจารณาประสิทธิผลของการควบคุม และผลที่เกิดจากความ ล้มเหลวของการควบคุม
4.ตัดสินว่าความเสี่ยงยอมรับได้หรือไม่ ตัดสินว่า แผนหรือการระวังป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่มีอยู่ (ถ้ามี) เพียงพอที่จะจัดการอันตรายให้อยู่ภายใต้การควบคุมและ เป็นไปได้ตามข้อกำหนดตามกฎหมายหรือไม่ 5.เตรียมแนวฏิบัติการควบคุมความเสี่ยง (ถ้าจำเป็น) หากพบว่า ขั้นตอนปฏิบัติข้อใดมีความหละหลวม ไม่ถูกต้อง และ ต้องการปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดระดับหรืออันตราความเสี่ยงลงให้อยู่ใน ระดับที่ยอมรับได้ เตรียมแผนงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ที่พบในการ ประเมิน หรือที่ควรเอาใจใส่ องค์กรควรแน่ใจว่าการควบคุมที่จัดทำใหม่ และที่มีอยู่มีการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิผล
6.ทบทวนความเพียงพอของแผนปฏิบัติการ ประเมินความเสี่ยงใหม่ด้วยวิธีการควบคุมที่ได้มีการปรับปรุง และตรวจสอบว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ข้อกำหนดในการประเมินความเสี่ยง แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เพื่อส่งเสริมและจัดการกิจกรรมการประเมิน ความเสี่ยง ปรึกษากับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าควรวางแผนทำอะไร แล้วขอความคิดเห็นและ คำมั่นสัญญา กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม การประเมินความเสี่ยงสำหรับบุคลากร หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ประเมินแล้วจัดให้มีโครงการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม ทบทวนความเพียงพอของการประเมิน ให้กำหนดว่ารายละเอียดความเข้มงวดของ การประเมินเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่ จัดทำเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการ และสาระสำคัญที่พบจากการประเมิน
การประเมินความเสี่ยงในทางปฏิบัติ กระบวนการประเมินความเสี่ยงนี้ จะครอบคลุมอันตรายของ ระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งหมดเป็นการที่จะ รวบรวมการประเมินความเสี่ยงทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ควรแยกแผนการประเมินอันตรายเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การเคลื่อนย้าย การขนส่งวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน อันตรายจาก เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์อื่น ๆ ถ้าเราแยกการประเมินออกเป็นเรื่อง ๆ โดยใช้วิธีการที่แตกต่าง การจัดลำดับความสำคัญของการควบคุมความเสี่ยงจะทำได้ยาก ขึ้น
หัวข้อประเมินความเสี่ยงต่อไปนี้ที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบตั้งแต่เริ่มแรก การกำหนดรูปแบบง่าย ๆ สำหรับใช้ในการประเมินความเสี่ยง เกณฑ์ของการแบ่งกิจกรรมของงาน และข้อมูลที่จำเป็นของแต่ละกิจกรรม วิธีการชี้บ่งและการจัดลำดับความรุนแรงของอันตราย ขั้นตอนการกำหนดความเสี่ยง คำอธิบายการประมาณระดับความเสี่ยง เกณฑ์การตัดสินว่า ความเสี่ยงนี้ยอมรับได้หรือไม่ และมาตรการที่วางแผนไว้หรือ ที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ กำหนดช่วงเวลาในการปรับปรุงแก้ไขตามความจำเป็น วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมความเสี่ยง เกณฑ์ของการทบทวนความเพียงพอของแผนงาน
รูปแบบการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Pro-Forma) กิจกรรมของงาน (Work Activity) อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น (Hazards) มาตรการควบคุมที่มีอยู่ (Control in place) บุคคลที่มีโอกาสเสี่ยง (Personnel at risk) สิ่งที่น่าจะก่อให้เกิดอันตราย (ความเป็นไปได้ในการเกิดอันตรายนั้นมีมากน้อย เพียงใด) ความรุนแรงของอันตราย ระดับความเสี่ยง สิ่งที่ต้องการทำภายหลังการประเมิน รายละเอียดทั่วไป เช่น ชื่อผู้ประเมิน วันที่ประเมิน ฯลฯ
ตารางเลือกวิธีการชี้บ่งอันตราย แบบ สภาพการณ์ วิธีการที่เหมาะสม 1 จะตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือกฏหมายกำหนด Checklist 2 จะวิเคราะห์ว่าคนจะสัมผัสกับอะไรจนทำให้ บาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วย JSA 3 มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เป็นกิจกรรมที่ไม่มีวิธีให้ปฏิบัติแต่บังเอิญจะต้องทำ บันทึกเหตุการณ์ คิดก่อนทำ( S&T ) 4 จะวิเคราะห์เหตุการณ์รุนแรงที่ไม่ต้องการให้เกิด ( Top Event ) FTA 5 จะวิเคราะห์ระบบหรือมาตรการควบคุมว่าถ้าทำงานไม่สำเร็จ ETA 6 จะวิเคราะห์ความล้มเหลวของอุปกรณ์ เป็นชิ้นๆ FMEA 7 จะวิเคราะห์การเบี่ยงเบนไปจากค่าควบคุมปัจจัยการผลิต (Parameter) HAZOP 8 วิเคราะห์เรื่องอื่นๆที่อาจจะยังไม่ครอบคลุม What If
อาจารย์รุจิพรรณ แฝงจันดา การชี้บ่งอันตราย อาจารย์รุจิพรรณ แฝงจันดา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย JSA(job safety analysis) Checklist What if Failure Mode and Effect Analysis
เทคนิค Job Safety Analysis เทคนิค JSA เป็นเทคนิคชี้บ่งอันตรายที่เหมาะสมสำหรับใช้วิเคราะห์ในแต่ละขั้นตอนการทำงานว่าคนขณะทำงานจะสัมผัสสิ่งอันตรายใดบ้าง ที่อาจจะทำให้คนบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยโดยตรง แล้วกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันเพื่อนำไปจัดทำเป็นวิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัยต่อไป
ห้าม ไม่อันตราย อันตราย กิริยาที่ปฏิบัติซ้ำๆเป็นประจำ ใช้เทคนิค JSA ไม่จำเป็นต้องทำ จำเป็นต้องทำ มาตรการ พิจารณามาตรการ จัดระดับอันตราย เรียกว่า ประเมินความเสี่ยง กิริยาที่ไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ หรือคิดทำเอง 1 ใช้จิตสำนึก โดย Stop and Think(SAT) คือ หยุดคิดก่อนทำ 2
นอกนั้นช่วยลดโดยอ้อม มาตรการที่จะไปลดความเสี่ยงต่ออันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องสามารถควบคุมป้องกันสาเหตุ หรือลดความรุนแรง ได้โดยตรง 1.เป็นวัสดุอุปกรณ์เพื่อควบคุม ป้องกัน 2.เป็นการตรวจสอบบำรุงรักษา (PM) 3.เป็น W/I ให้ปฏิบัติแบบมีตัวช่วย 4. เป็น W/I ให้ปฏิบัติแบบไม่มีตัวช่วย 5.เป็น W/I ให้สวมใส่ PPE นอกนั้นช่วยลดโดยอ้อม
ถ้าตอบข้อ 3 ได้ ให้ทำตามที่ตอบ SAT หยุดคิด..ก่อนทำ เมื่อไม่มีมาตรการกำหนดไว้ให้ แน่ใจว่า..ไม่ ใช้ประโยค ไม่แน่ใจ 1.ถ้า ......................จะ.......................หรือไม่? 2.ถ้า ...............แล้ว..จะรุนแรง.........หรือไม่? 3.ถ้า จะไม่ให้...........จะต้องทำอย่างไร.........? ถ้าตอบข้อ 3 ได้ ให้ทำตามที่ตอบ ถ้า ตอบข้อ 3 ไม่ได้........หยุด!........แจ้งหัวหน้างาน
บันทึกเหตุการณ์ (Near Miss Report) เมื่อรู้สึกว่า.. หวาดเสียว ตกใจ เจ็บ วันที่.................................................เวลา............................................ แผนก..................................งาน................................จุดทำงาน.............................. เหตุการณ์ .......................................................................................................................................... ..................................................................... ผู้บันทึก...................... ไม่แก้ไข แก้ไข คะแนน................
อันตรายเกิดขึ้นได้อย่างไร ขั้นตอนงาน อันตรายเกิดขึ้นได้อย่างไร มาตรการ ผิด
ขั้นตอนงาน ลักษณะอันตราย สาเหตุที่เป็นไปได้ มาตรการ แผนก..........................งาน...................................ชื่อหัวหน้างาน.................................................วันที่ทำ.................................... ขั้นตอนงาน ลักษณะอันตราย สาเหตุที่เป็นไปได้ มาตรการ 1
การประเมินความเสี่ยง แผนก..........................งาน...................................ชื่อหัวหน้างาน.................................................วันที่ทำ.................................... การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง ขั้นตอนงาน ลักษณะอันตราย สาเหตุที่เป็นไปได้ มาตรการ โอกาส รุนแรง ผลลัพธ์ ความเสี่ยง
ลักษณะอันตรายที่ทำให้คนบาดเจ็บ/เจ็บป่วยโดยตรง รูปแบบ ลักษณะอันตรายที่ทำให้คนบาดเจ็บ/เจ็บป่วยโดยตรง 1 กระแทก ชน ครูด 2 หนีบ บีบ อัด ทับ 3 บาด ตัด เฉือน ฟัน ฉีก 4 ทิ่ม แทง เจาะ ข่วน เกี่ยว เสียบ 5 กัดกร่อน ระคายเคือง 6 ลวก ไหม้ 7 ไฟฟ้าช๊อต ไฟฟ้าดูด 8 หล่นใส่ หล่นทับ ล้มทับ ล้มใส่ 9 กระเด็นใส่ ปลิวใส่ ดีดใส่ สะบัดใส่ ฟาดใส่ พุ่งชน เลื่อนชน เลื่อนทับ 10 (คน)ตกกระแทก ตกใส่ ตกลงใน 11 (คน)ล้มกระแทก ล้มใส่ ล้มลงใน
ลักษณะอันตรายที่ทำให้คนบาดเจ็บ/เจ็บป่วยโดยตรง 12 สัตว์กัด ต่อย ทำร้าย 13 ปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ เคล็ด ยอก (เฉียบพลัน) 14 .....................ทำให้หมดสติเฉียบพลัน 15 ................ทำให้.................... โรคจากการทำงาน 1 2 ผลที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ เช่น ไฟไหม้ ระเบิด สารรั่วไหล การพังทลาย อุปกรณ์ ชำรุด เสียหาย ฯลฯ ไม่มีคำเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ และประสบการณ์ พิจารณา ไม่เหมาะที่จะใช้เทคนิค JSA ให้ใช้เทคนิคอื่น ม
ความรุนแรง คน ทรัพย์สินเสียหาย ตั้งแต่.............ถึง............ 1 ปฐมพยาบาล (ใส่ยา) 2 ต้องการการรักษาทางการแพทย์ (ไปโรงพยาบาล) 3 สูญเสียอวัยวะ 4 เสียชีวิต ไฟไหม้ ระเบิด ตั้งแต่.............ถึง............ เกิน........................บาท
Questions?