TIM2303 การขายและการตลาด ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เอกชัย สีทำมา
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค การโน้มน้าวใจ เป็นการสื่อสารที่ตั้งใจจะมีอิทธิพลต่อการเลือก ลักษณะพิเศษของการโน้มน้าวใจ 1. เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสาร 2. มีวัตถุประสงค์ - แบบทันทีทันใด และแบบรอผล - เน้นเรื่องความเชื่อ และเน้นเรื่องการกระทำ 3. เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการเลือก 4. เกี่ยวข้องกับระบบการใช้สัญลักษณ์อย่างจงใจ 5. เน้นผู้รับสารเป็นศูนย์กลาง 6. เป็นกระบวนการ
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยภายใน (Personal Factors/Internal Variables) ความจำเป็น ความต้องการ และการจูงใจ (Needs Wants and Motivations) (มาสโลว์) การรับรู้ (Perception) การเรียนรู้ (Learning) บุคลิกภาพ (Personality) รูปแบบการดำรงชีวิต (Life Style) แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ทัศนคติ (Attitudes)
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยภายนอก (Interpersonal Factors / External Variables) วัฒนธรรม และวัฒนธรรมย่อย (Culture and Subcultures) ชั้นของสังคม (Social Classes) กลุ่มอ้างอิง (Referenc Groups) ผู้นำความคิด (Opinion Leaders) ครอบครัว (The family)
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการยอมรับและตัดสินใจ 5.Adoption (ยอมรับ) 4.Trial (ทดลอง) 3.Evaulation (ประเมิน) 2. Interest (สนใจ) 1.Awareness (รับรู้)
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค สำหรับการเดินทางและท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการและความรู้สึกภายในของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ผลักดัน (Push Factors) ให้สามารถเดินทางได้ และยังมีแรงจูงใจอีกหลายอย่างที่ดึงดูด (Pull Factors) ให้คนอยากเดินทางมากขึ้น แรงจูงใจในการท่องเที่ยว (Motivation) แรงจูงใจทางกายภาพและจิตวิทยา (Physical and Phychological Motives) แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรมและการศึกษา (Cultural/Personal Education Motives) แรงจูงใจทางด้านสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Social/Interpersonal/Ethnic Motives) แรงจูงใจทางด้านการเงินและธุรกิจ (Business/Work Related Motive) แรงจูงใจทางด้านการบันเทิงและสิ่งเพลิดเพลิน (Entertainment/Amusement/Pleasure/Pastime Motive) แรงจูงใจทางด้านศาสนา (Religious Motives) แรงจูงใจทางด้านสถานภาพและเกียรติภูมิ (Prestige and Status Motive)
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค การรับรู้ เป็นกระบวนการที่เราเอาสิ่งที่สัมผัส ความเชื่อ อารมณ์และประสบการณ์ที่ผ่านมา รวบรวมเป็นภาพที่มี ความหมายภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ 1. ปัจจัยภายนอก - ความใกล้ชิดทางกายภาพ - ความคล้ายคลึงกัน - การเติมเต็มในการรับรู้ - บริบท 2. ปัจจัยภายใน - ประสบการณ์ส่วนตัว - แรงจูงใจ
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ/หรือความเข้าใจอันเป็นผลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การเรียนรู้ของบุคคลเกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น (Stimulus) ผ่านเข้ามาในความรู้สึกนึกคิดและเกิดการตอบสนอง (Response) ตามทฤษฎีสิ่งกระตุ้น (Stimulus-Response Theory) กลยุทธ์การโฆษณาซ้ำแล้วซ้ำอีกจึงได้นำมาใช้ในการส่งเสริมการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Learning)
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค บุคลิกภาพ (Personality) เป็นลักษณะเด่นของแต่ละบุคคลเกิดจากความรู้สึกนึกคิด ความรับผิดชอบ ความต้องการภายใน การจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ และแสดงออกมาเป็นบุคลิกภาพเฉพาะตน นักท่องเที่ยวมีบุคลิกภาพแตกต่างกันตามเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และสังคม ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจบุคลิกภาพของนักท่องเที่ยว หมายถึงความเข้าใจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวด้วย
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค รูปแบบการดำรงชีวิต (Life Style) ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ชั้นสังคม และกลุ่มอาชีพของแต่ละบุคคล การเลือกบริโภคหรือเลือกซื้อสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค แนวความคิดเกี่ยวกับตัวเอง (Self-concept) ความคิดหรือความเข้าใจที่เกิดขึ้นภายในของบุคคลพร้อม ๆ กับการรับรู้ ประกอบด้วย แนวคิดของตนเองที่แท้จริง (Real Self) แนวคิดของตนเองในอุดมคติ (Ideal Self concept) แนวความคิดของตนเองที่คิดว่าบุคคลอื่นมองตนเองที่แท้จริง (Reference-group self concept) แนวความคิดของตนเองที่ต้องการให้บุคคลอื่นคิดเกี่ยวกับตนเอง
Model รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค ทัศนคติ (Attitudes) ความโน้มเอียงที่เกิดจากการเรียนรู้ในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไปในทิศทางที่สม่ำเสมอ หรือความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทัศนคติเป็นพลังที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยว