เรื่อง ความต้านทานไฟฟ้า สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน เรื่อง ความต้านทานไฟฟ้า สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย นางสุพรรษา ทิพย์สิงห์
วงจรไฟฟ้า เมื่อต่อวงจรไฟฟ้าเราจะพบว่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร จะทำให้หลอดไฟสว่าง ถ้าปริมาณกระแสมาก ก็จะทำให้หลอดไฟสว่างมาก
วงจรไฟฟ้า เราจึงสังเกตปริมาณไฟฟ้าโดยการดูที่ความสว่าง ของหลอดไฟ แต่ถ้าต้องการให้ได้ค่าที่แน่นอนก็ต้อง นำแอมมิเตอร์มาต่ออนุกรมเข้ากับวงจร
วงจรไฟฟ้า ความต้านทานของลวดตัวนำ สาเหตุที่หลอดไฟสว่างน้อยหรือมากนอกจากจะขึ้นอยู่กับ ปริมาณกระแสไฟฟ้าแล้ว สิ่งที่มีผลอีกอย่างก็คือ ความต้านทานของลวดตัวนำ
วงจรไฟฟ้า ความต้านทานที่เกิดขึ้น คือ สมบัติของลวดตัวนำที่ต้าน การไหลของกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น โอห์ม (Ohm) มีสัญลักษณ์เป็นเส้นยักๆ ดังรูป
ตัวนำไฟฟ้า ตะกั่ว ทองแดง เงิน ถ้าสารใดที่มีความต้านทานน้อยและยอมให้กระแส ไหลผ่านไปได้มากเรียกสารนั้นว่า ตัวนำไฟฟ้า เช่น เงิน ทองแดง ตะกั่ว (นอกจากนี้ยังมีสารโลหะอื่นๆด้วย)
ฉนวนไฟฟ้า ถ้าสารใดที่มีความต้านทานมากและยอมให้กระแสไหล ผ่านไปได้น้อย จะเรียกสารนั้นว่า ฉนวนไฟฟ้า เช่น เซรามิค กระดาษ พลาสติก
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้านทาน 1. ชนิดของลวดตัวนำ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกโลหะมี ความต้านทานต่ำ โดย เงิน จะนำไฟฟ้าได้ดีที่สุดแต่ราคาสูง ในสายไฟตามบ้านเรือนจึงใช้ ทองแดง ในการทำลวดตัวนำ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้านทาน 2. ความยาวของลวดตัวนำยิ่งยาวมากเท่าไหร่ความต้านทานยิ่งมากตามไปด้วย ความต้านทานมาก ความต้านทานน้อย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้านทาน 3. พื้นที่หน้าตัดของลวดตัวนำ ยิ่งกว้างมากเท่าไหร่ ความต้านทานยิ่งลดลงจะแปรผกผันกับความต้านทาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้านทาน 4. อุณหภูมิของลวดตัวนำ ถ้าลวดตัวนำที่ทำมาจากโลหะบริสุทธิ์หรือโลหะผสมเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความต้านทานก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้านทาน แต่สารที่เป็นสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน โบรอน เออร์เมเนียม เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความต้านทาน จะมีค่าลดลง