พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 30 มิถุนายน 2546
กฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผลและขอบเขตของกฎหมาย ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ วันนี้จะมาพูดเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 2 เรื่อง คือ เรื่องแรกจะพูดถึงผลของการมีกฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและขอบเขตการกำกับดูแลของกฎหมายฉบับนี้ ส่วนเรื่องที่สองเป็นเรื่องโครงสร้างของกฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่แตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ ซึ่งท่านรองประสงค์จะบรรยายในส่วนนี้
ผลของการมีกฎหมาย กฎหมายนี้ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ * เพื่อรองรับการเกิดตลาด * เพื่อคุ้มครองประชาชน โดยให้อำนาจทางการ ควบคุมการให้บริการและกำกับดูแลการ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า - เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันมีการทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากันอย่างกว้างขวางในระบบการเงินของโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งแม้ยังไม่มีการจัดตั้งศูนย์ซื้อขายก็มีการทำใน OTC derivatives ในหมู่สถาบันการเงินและผู้ลงทุนสถาบันมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งการตรากฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้ทำให้เกิดผลสำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์ซื้อขายในประเทศไทย ซึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนมีช่องทางในการบริหารความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับสถานภาพของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อช่วยให้ผู้ที่ทำสัญญามีความมั่นใจว่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นสัญญาที่ผูกพันตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันหากเกรงว่าประชาชนจะถูกเอาเปรียบหรือถูกหลอกลวงให้ทำธุรกรรมนี้ ทางการก็สามารถเข้ามากำกับดูแลผู้ประกอบการที่ให้บริการดังกล่าวและผลกระทบของการทำธุรกรรมต่อความมั่นคงของระบบการเงินได้
กฎหมายรองรับการเกิดตลาดอย่างไร ศูนย์ซื้อขายไม่ได้เกิดโดยอัตโนมัติ กฎหมายเพียงรองรับโดยการให้ใบอนุญาต เช่นเดียวกับที่รองรับผู้ประกอบธุรกิจ ทางการอาจกระตุ้นการเกิดตลาดได้ แต่เอกชนต้องยินยอมพร้อมใจด้วย ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างจากตลาดหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า คือ ศูนย์ซื้อขายไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ กฎหมายเพียงรองรับว่าถ้าใครต้องการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายจะต้องขออนุญาตอย่างไร และมีภาระหน้าที่อย่างไร ทางการอาจจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการจัดตั้ง แต่จำเป็นต้องได้รับความ ยินยอมพร้อมใจจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
การให้ความคุ้มครองประชาชน ให้อำนาจทางการกลั่นกรองสินค้าที่จะนำมาซื้อขาย กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจทั้งในด้านฐานะและ การประกอบธุรกิจ ครอบคลุมผู้ประกอบธุรกิจที่ชักชวนประชาชน ในการทำธุรกรรมไม่ว่าในหรือนอกประเทศ ป้องปรามไม่ให้เกิดตลาด/ ผู้ประกอบการเถื่อน สินค้าที่จะนำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานก่อน (ดูว่ามีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ, มีความเสี่ยงจริง, ปั่นราคายาก) กำกับดูแลผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจทั้งในด้านฐานะและการดำเนินธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจที่ได้รับอนุญาตด้วย - ให้ความคุ้มครองลูกค้าที่ถูกชักชวนให้ทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ว่าในหรือนอกประเทศ โดยผู้ที่ชักชวนต้องได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลด้วย ปัจจุบันลูกค้าต้องเสี่ยงกับการถูกหลอกให้ทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เนื่องจากทางการไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้ การมีกฎหมายนี้ทำให้ผู้ที่จะประกอบการเป็นตลาดหรือทำธุรกิจต้องได้รับอนุญาตจากทางการ มิฉะนั้นถือว่าเป็นการประกอบการเถื่อน ดังนั้น ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ที่ชักชวนให้ทำ ธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ที่ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือเพียงใด
ขอบเขตของกฎหมาย สินค้าที่กำหนดในกฎหมายเป็นสินค้าที่สะท้อนความต้องการมีตลาดในประเทศ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย หลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ทองคำ น้ำมันดิบ สินค้าที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเพิ่มเติมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ยกเว้นเงินตราสกุลใดๆ สินค้า/ตัวแปรที่กำหนดในกฎหมายแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. สินค้าที่มีความต้องการมีตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ ทองคำ น้ำมันดิบ 2. สามารถประกาศสินค้า/ตัวแปรเพิ่มได้โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหากเห็นว่ามีความต้องการสินค้า/ตัวแปรนั้น ทั้งนี้ ไม่สามารถประกาศ เงินตราเป็นสินค้าภายใต้กฎหมายนี้ได้
ขอบเขตของกฎหมาย สัญญาที่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้รวมถึง futures, option และ combination ของ futures และ/หรือ option ทั้ง exchange-traded และ OTC derivatives ขึ้นอยู่กับสินค้า/ตัวแปรด้วย (บางอย่างอาจตัดออกจากกฎหมายแล้ว) ไม่รวม repo และ forward - สัญญาที่กฎหมายครอบคลุม คือ futures option และ combination ของ futures/option กฎหมายครอบคลุมทั้ง exchange-traded และ OTC derivatives สินค้า/ตัวแปรบางอย่างถูกตัดออกไปในระหว่างที่มีการเสนอกฎหมาย เหตุผลของการตัดสัญญา สินค้า/ตัวแปรบางอย่าง ที่จะเป็นเรื่องว่า ใครเหมาะสมจะเป็นผู้กำกับดูแล repo และ forward (สัญญาที่มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งมอบสินค้าจริง มิได้วัตถุประสงค์เพื่อการค้าสัญญา) ไม่อยู่ใน พรบ.นี้
ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็น equity, ทองคำ, น้ำมันดิบ, อื่นๆ อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ทั้ง exchange-traded และ OTC derivatives
ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็น currency - กรณีส่งมอบเป็นเงินตราจริง ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ - กรณี cash settlement จากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน อยู่ภายใต้กฎหมายนี้เฉพาะ exchange-traded (โดยต้องหารือ ธปท. ก่อนนำ contract มาซื้อขาย ใน exchange) กรณีที่สินค้าเป็น currency ถ้า settle เป็น physical ไม่ว่าในหรือนอก exchange ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ เนื่องจากอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. อยู่แล้ว กรณีที่ settle เป็นส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ใต้กฎหมายเฉพาะในศูนย์ซื้อขาย แต่ในการนำอัตราแลกเปลี่ยนมา trade ในศูนย์ฯ ต้องหารือ ธปท.ก่อน - กรณี settle เป็นส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน โดยทำนอกศูนย์ฯ ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ เนื่อง ธปท. ขอเป็นผู้กำกับดูแลในเรื่องนี้เอง
ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็น interest rate (พันธบัตร, หุ้นกู้, อัตราดอกเบี้ย) ถ้าอ้างอิงกับหลักทรัพย์ (พันธบัตร/หุ้นกู้) ไม่ว่าจะ settle โดยการส่งมอบหรือคำนวณจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ อยู่ภายใต้ กฎหมายนี้ทั้ง exchange-traded และ OTC derivatives ดังนั้น credit derivative เช่น credit default swap จึงอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน ถ้าอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย (ไม่ใช่ราคาหลักทรัพย์) จะอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เฉพาะ exchange-traded ส่วน OTC derivative เช่น interest rate swap ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ จะอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ ไมว่าจะ settle โดยการส่งมอบหรือชำระส่วนต่างราคา และไม่ว่าจะ trade ในหรือนอกศูนย์ซื้อขาย credit derivatives ซึ่งมักจะ settleโดยการส่งมอบตราสารหนี้หรือชำระราคาโดยอ้างอิงกับราคาตราสารหนี้ ก็จะอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในกฎหมายเฉพาะการซื้อขายในศูนย์ฯ ส่วนที่ทำนอกศูนย์ฯ เช่น interest rate swap ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ เนื่องจาก ธปท. กำกับดูแลในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ผลของการตัดสัญญาที่อ้างอิงกับ FX/ interest rate ที่ทำนอกศูนย์ซื้อขาย - ไม่สามารถใช้กฎหมายนี้กำกับหรือปราบปรามธุรกิจเถื่อนในสินค้า/ตัวแปรเหล่านี้ - แต่จะขึ้นอยู่กับ ธปท. ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลธุรกรรมสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนและ อัตราดอกเบี้ยที่ทำนอกศูนย์ซื้อขาย มีข้อสังเกตว่าการที่กฎหมายฉบับนี้ไม่รวมถึงเงินตราสกุลใดๆ ตลอดจนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยที่มิได้กระทำในศูนย์ซื้อขายที่ได้รับอนุญาต ทำให้ไม่สามารถใช้กฎหมายนี้เป็น เครื่องมือกำกับควบคุมหรือป้องปรามมิให้เกิดการทำธุรกิจเถื่อนในสินค้า/ ตัวแปรเหล่านี้ได้ และขึ้นอยู่กับ ธปท. ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการ กับศูนย์ซื้อขายเถื่อนสำหรับสินค้า/ตัวแปรดังกล่าวเอง
ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ ความแตกต่างด้านรูปแบบ (form) การให้อนุญาตประกอบธุรกิจเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แทนการออกกฎกระทรวง ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีโครงสร้างเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มาขอรับอนุญาตอาจเป็นบุคคลธรรมดาได้ พรบ.สัญญาซื้อขายฯ มีความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ในด้านรูปแบบที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขาย หรือสำนักหักบัญชี ซึ่งน่าจะทำให้กระบวนการให้ใบอนุญาตสั้นลง กฎหมายกำหนดให้ศูนย์ซื้อขายเป็นบริษัทมหาชน ไม่ใช่นิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ การประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายต้องขอใบอนุญาตและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ กลต. ที่ปรึกษาที่มาขอรับใบอนุญาตอาจเป็นบุคคลธรรมดาได้ ช่วยให้ลดขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ เพราะที่ปรึกษาอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องform ในรูปบริษัท ในทางกลับกัน ช่วยให้ทางการสามารถป้องปรามผู้ที่ให้คำแนะนำประชาชนให้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการได้
แนวคิดที่เพิ่มเติมจากกฎหมายหลักทรัพย์ การแบ่งระดับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ ตามประเภทผู้ลงทุน การนำมาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) มาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลในส่วนที่เห็นว่าจะเป็นผลดีกว่าการกำหนดโทษทางอาญา การกำหนดบทบาทขององค์กรกำกับดูแลสมาชิกตนเอง มาตรการคุ้มครองระบบและทรัพย์สินลูกค้า พรบ.สัญญาซื้อขายฯ มีโครงสร้างการกำกับดูแลเช่นเดียวกับ พรบ. หลักทรัพย์ แต่มีแนวคิดบางเรื่องที่แตกต่างกัน คือ การแบ่งระดับการกำกับดูแลตามประเภทผู้ลงทุน เพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระหรืออุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นำมาตรการทางปกครองมาใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือยับยั้งความเสียหายไม่ให้ลุกลามโดยเร็ว ซึ่งกฎหมายกำหนดความผิดและกระบวนการลงโทษไว้ชัดเจน กฎหมายฉบับนี้ได้สร้างความชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ SRO ไว้ โดยเห็นว่าหาก SRO มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลสมาชิกของตน จะช่วยลดภาระและทรัพยากรของทางการ และช่วยให้ทางการกำกับดูแลตลาดทุนได้อย่างมีประสิทธิผล เนื่องจากการซื้อขายสัญญาในศูนย์มีสำนักหักบัญชีรับประกันการซื้อขาย ซึ่งสำนักหักบัญชีจำเป็นต้องมีการเรียกหลักประกันเพื่อความมั่นคงของระบบและมีมาตรการที่ช่วยสร้างความมั่นใจว่าทรัพย์สินที่ลูกค้านำมาวางเป็นหลักประกันจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี และถูกนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์
การแบ่งระดับการกำกับดูแลตามประเภทผู้ลงทุน กรณีทั่วไป ต้องได้รับใบอนุญาตจาก คณะกรรมการ ก.ล.ต. กรณีที่ผู้ให้บริการเป็นสถาบันการเงิน และให้บริการเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันสามารถมาจดทะเบียนกับ สำนักงาน ผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจะเหมือนกับทางด้านหลักทรัพย์ คือ ศูนย์ซื้อขาย สำนักหักบัญชี และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมี 4 ประเภทคือ ตัวแทน ผู้ค้า ที่ปรึกษา และผู้จัดการเงินทุน ในกรณีที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ให้บริการกับบุคคลทั่วไปก็จะกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และปฏิบัติตามเกณฑ์ของ กลต. แต่ถ้าเป็นการให้บริการเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้นและผู้ประกอบการจะต้องเป็นสถาบันการเงินซึ่งต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ออกโดยผู้กำกับดูแลหลัก (primary regulator) อยู่แล้วก็จะผ่อนคลายการกำกับดูแลลงมา โดยเพียงมาจดทะเบียนกับสำนักงาน และยกเว้นการปฎิบัติตามเกณฑ์ในบางเรื่อง เช่น การขอความเห็นชอบคุณสมบัติผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การจัดทำบัญชี/งบการเงิน เนื่องจากผู้ให้บริการเป็นผู้ที่ถูกกำกับดูแลโดยผู้กำกับดูแลหลักอยู่แล้วอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันผู้รับบริการก็อยู่ในฐานะที่สามารถดูแล ตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) เหมาะที่จะนำมาใช้กับผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันที่อยู่ ภายใต้การกำกับดูแลที่มีพฤติกรรมกรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ต้องพิสูจน์ความผิดจนปราศจากข้อสงสัย ตามกระบวนการทางอาญา แต่เป็นการตัดสินความผิด โดยผู้กำกับดูแลและคนในวงการซึ่งมีความเข้าใจในธุรกิจ มาตรการทางปกครอง ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตำหนิ ปรับ จำกัดการประกอบการ สั่งพักหรือเพิกถอนการอนุญาต มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการที่นำมาใช้ลงโทษทางปกครองกับผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะวิธีนี้ไม่ต้องพิสูจน์ความผิดตามกระบวนการทางอาญา แต่ตัดสินความผิดโดยการวินิจฉัยของผู้กำกับดูแลและคนในวงการซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลเป็นอย่างดี และใช้เวลาในการพิจารณาความผิดน้อยกว่าการพิจารณาคดีในศาล อย่างไรก็ดี มาตรการนี้ไม่เหมาะจะนำมาใช้กับการกระทำความผิดในลักษณะที่เป็นการทุจริตหลอกลวง ซึ่งยังคงจำเป็นต้องดำเนินการเอาผิดทางอาญา แม้จะเป็นมาตรการทางปกครอง แต่ก็มีระบบของการคุ้มครองและให้สิทธิ ผู้ถูกกล่าวหาอย่างเต็มที่
มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) ผู้ใช้อำนาจลงโทษทางปกครองมี 3 ระดับคือ สำนักงาน คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง และคณะกรรมการ ก.ล.ต. สำนักงานจะลงโทษได้ในระดับเบา คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองจะลงโทษได้แรงขึ้น และ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ลงโทษได้ถึงขั้นสั่งพักและ เพิกถอนใบอนุญาต มาตรการให้ความเป็นธรรม (ทราบข้อกล่าวหา - สิทธิอุทธรณ์) บุคคลซึ่งมีอำนาจสั่งลงโทษทางปกครอง ได้แก่ สำนักงาน คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยสำนักงานจะลงโทษได้ในระดับที่เบา คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองจะลงโทษได้แรงขึ้น และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะสามารถลงโทษได้ถึงขั้นสั่งพักและเพิกถอนการประกอบธุรกิจ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาสำหรับการ ลงโทษทางปกครอง ผู้ที่ถูกลงโทษมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางปกครองต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้หากเห็นว่าคำสั่งนั้นไม่เป็นธรรม / ฟ้องศาลปกครอง
บทบาทขององค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) องค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสมาชิกของตน โดยการออกกฎระเบียบบังคับใช้กับสมาชิก โดยสมาชิก ในองค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้วย องค์กรที่เป็น SRO ในกฎหมายนี้ ได้แก่ ศูนย์ซื้อขาย และสมาคมกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ องค์กรกำกับดูแลสมาชิกของตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสมาชิก ของตนโดย การออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรการต่างๆ มาบังคับใช้กับสมาชิก มีกระบวนการกำกับดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของตน ซึ่งสมาชิกขององค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรนั้นๆ ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายและสมาคมกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ สมาคมกำกับฯ หมายถึง สมาคมเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสมาคมตามกฎหมายอื่นใด ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมในการกำกับดูแลสมาชิกอย่าง จริงจัง จึงได้รับความเห็นชอบให้เป็นสมาคมกำกับฯ ซึ่งมีฐานะเป็น SRO และ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้เป็นเรื่องๆ ทั้งนี้ เมื่อสมาคมมีฐานะเป็น SRO แล้ว การกำหนดหรือแก้ไขระเบียบข้อบังคับจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจสั่งแก้ไขระเบียบข้อบังคับที่เห็นว่าไม่เหมาะสมเช่นเดียวกับในกรณีของศูนย์ซื้อขาย
บทบาทขององค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) กฎหมายกำหนดบทบาทของ SRO ในการลงโทษ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นสมาชิกของตนว่า หาก SRO ลงโทษเพียงพอแล้ว ทางการจะไม่ลงโทษซ้ำก็ได้ เหตุที่ให้ความสำคัญกับ SRO เพราะ SRO ใกล้ชิดกับธุรกิจ มีความคล่องตัว และตอบสนองต่อสภาพตลาดได้เร็ว หาก SRO มีความพร้อมและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพจะช่วยทางการในการกำกับดูแลตลาดทุน กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของ SRO ไว้ว่า - ในกรณีที่กฎหมายหรือกฎคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมาตรการลงโทษทางปกครองสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ทำผิดกฎนั้น และ SRO มีกฎและกระบวนการลงโทษในเรื่องเดียวกันอยู่ด้วย และ SRO ได้ดำเนินการลงโทษทางวินัยสมาชิกซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของตนแล้ว คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานจะไม่ ลงโทษทางปกครองสมาชิกของศูนย์ซื้อขายนั้นอีกก็ได้ หากเห็นว่าสมาชิกดังกล่าวได้รับโทษอย่างเหมาะสมแล้ว SRO ต้องมีระบบให้ความเป็นธรรมกับสมาชิกผู้ถูกลงโทษโดยจัดให้มี คณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ และมีหน้าที่รายงานการลงโทษสมาชิกดังกล่าวให้สำนักงานทราบด้วย เหตุที่ให้ความสำคัญกับ SRO เนื่องจาก SRO เป็นองค์กรเอกชนที่มีสมาชิกซึ่งมีความชำนาญเกี่ยวกับธุรกิจและใกล้ชิดกับตลาดซึ่งสามารถตอบสนองต่อสภาพตลาดได้เร็วกว่าและมีความยืดหยุ่นคล่องตัวมากกว่าทางการ หาก SRO มีความพร้อมก็จะสามารถช่วยทางการทำหน้าที่กำกับดูแลได้อย่างดี
การคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคา การซื้อขายในศูนย์ซื้อขายต้องมีระบบชำระราคาที่มั่นคง ปลอดภัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้ลงทุน โดยมีสำนักหักบัญชีเป็นผู้รับประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อทุกฝ่าย สำนักหักบัญชีจึงต้องมีมาตรการควบคุมความเสี่ยง โดยกำหนดให้ผู้ซื้อผู้ขายต้องวางหลักประกัน เนื่องจากการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายเป็นลักษณะ blind trade คือไม่รู้ว่าใครเป็นคู่สัญญาของตน การสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกฝ่ายที่มาใช้บริการศูนย์ซื้อขายจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน มาตรการสำคัญอย่างหนึ่งคือ การมีระบบชำระราคาที่มั่นคงปลอดภัยโดยมีสำนักหักบัญชีเป็นผู้รับประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อทุกฝ่ายซึ่งสำนักหักบัญชีจะเป็นผู้รับความเสี่ยงที่เกิดจากการที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา ดังนั้นสำนักหักบัญชีจึงต้องมีวิธีการควบคุมความเสี่ยงโดยกำหนดให้ผู้ซื้อ ผู้ขายต้องวางหลักประกันกับสำนักหักบัญชี
การคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคา เพื่อให้ความมั่นใจว่าระบบมีความมั่นคงเพียงพอที่จะ รองรับความเสี่ยง จึงกำหนดมาตรการไว้ดังนี้ - ดูความพร้อมของสำนักหักบัญชีในการบริหารความเสี่ยง - เมื่อตัวแทน/ลูกค้ารายใดมีปัญหาต้องสามารถนำเงิน ประกันของตัวแทน/ลูกค้ามาใช้ได้ทันที - กรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น กลต.สามารถสั่งให้ ผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขาย สำนักหักบัญชีดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกัน แก้ไข หรือจำกัดผลกระทบได้ มาตรการที่ช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าระบบมีความมั่นคงเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยง ทางการยังกำหนดฐานะขั้นต่ำของตัวแทนและของสำนักหักบัญชี ตลอดจนการดูความพร้อมของสำนักหักบัญชีในการบริหารความเสี่ยงเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาและคุ้มครองระบบ สำนักหักบัญชีต้องสามารถนำหลักประกันนำมาใช้ได้ทันทีที่มีการผิดนัด เกิดขึ้น คณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถสั่งการให้ผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขาย สำนักหักบัญชีดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกัน จำกัด หรือแก้ไขผลกระทบได้ กรณีมีเหตุฉุกเฉิน
การคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า ตัวแทนต้องแยกเงินประกันของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของตัวเอง และเมื่อเอาเงินประกันไปวางที่สำนักหักบัญชีต้องแยกเป็นคนละกอง ห้ามตัวแทนเอาทรัพย์สินลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อบุคคลอื่น ถ้าตัวแทนล้มละลาย ทางการจะเข้ามาดูแลให้มีการจัดการคืนทรัพย์สินที่อยู่กับตัวแทนดังกล่าวให้กับลูกค้าโดยเร็ว หรือโอนไปยังตัวแทนรายอื่นที่ลูกค้าเลือก ในการเรียกหลักประกัน สำนักหักบัญชีจะเรียกหลักประกันผ่านทางสมาชิกหรือตัวแทนซึ่งตัวแทนอาจเรียกหลักประกันเกินกว่าจำนวนที่สำนักหักบัญชีเรียกก็ได้ ตัวแทนต้องแบ่งแยกทรัพย์สินของลูกค้าไว้ต่างหากจากทรัพย์สินของตนและจัดทำบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย และห้ามตัวแทนนำทรัพย์สินของลูกค้าไปใช้เพื่อประโยชน์ใด เว้นแต่เพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงการชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของลูกค้ารายนั้น และหากตัวแทนนำทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากไว้กับบุคคลอื่น เช่น สำนักหักบัญชีหรือผู้รับฝากอื่น บุคคลผู้รับฝากต้องรับรู้และปฏิบัติต่อทรัพย์สินนั้นว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ฝากด้วย ในกรณีที่ตัวแทนหรือลูกค้ารายใดมีปัญหา มีบทรองรับให้สามารถนำหลักประกันที่วางไว้เพื่อประโยชน์ในการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามาใช้ได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น และคณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถสั่งการให้ ผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขาย สำนักหักบัญชีดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกัน จำกัด หรือแก้ไขผลกระทบได้กรณีมีเหตุฉุกเฉิน ในขณะเดียวกันก็มีบทคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าไม่ให้ถูกยึดไปหากตัวแทนล้มละลาย และให้อำนาจทางการเข้ามาดูแลจัดการคืนทรัพย์สินที่อยู่กับตัวแทนให้ลูกค้าโดยเร็วหรือโอนไปยัง ตัวแทนรายอื่นที่ลูกค้าเลือก
การแก้ไข พรบ.หลักทรัพย์ฯ บลจ. จำเป็นต้องมีเครื่องมือบริหารสภาพคล่องและความเสี่ยงจากการลงทุนของกองทุนรวม แก้ไขมาตรา 126(5) เพื่อให้กองทุนรวมเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือกู้ยืมเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง ในกรณีที่จำเป็นได้ โดยทางการควบคุมขอบเขตการ ก่อภาระผูกพันเพื่อป้องกันการก่อภาระเกินตัว ซึ่งกระทบต่อผู้ถือหน่วยได้ ในการบริหารจัดการกองทุนรวมของ บลจ. ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหน่วย บลจ. ต้องสามารถบริหารสภาพคล่องและความเสี่ยงจากการลงทุนของกองทุนรวมที่อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาทรัพย์สินที่ตนถือครองอยู่ หรือจากการที่มีผู้ถือหน่วยมาไถ่ถอนหน่วยลงทุน ณ ขณะใดขณะหนึ่ง กองทุนรวมจึงควรมีกลไกที่ช่วยในการเสริมสภาพคล่องในกรณีดังกล่าว เช่น การกู้ยืมเงิน หรือการทำสัญญาขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาซื้อคืน (repo) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขาดสภาพคล่อง อย่างไรก็ดี การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการกู้ยืมเงินหรือการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวมอย่างไม่มีขอบเขตอาจทำให้เกิดผลเสียหายต่อ กองทุนรวมได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรมีประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดขอบเขตของการก่อภาระของกองทุนรวมในด้านต่างๆ ไว้ให้ชัดเจน