แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
บทนำ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 สนับสนุนให้เกิดการประหยัดพลังงานขึ้นในประเทศไทย พ.ร.บ. ดังกล่าวจะทำให้แต่ละหน่วยงานและองค์กรรายงานผลการดำเนินการด้านอนุรักษ์พลังงานและระบุสภาพที่แน่นอนที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในการประหยัดพลังงานได้ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังอำนวยให้เกิดการประหยัดพลังงานและ ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานแก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ
บทเรียนในวิชานี้ หลังจากผ่านการอบรมในวิชานี้แล้วท่านควรที่จะสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ. 2535 คืออะไร จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ฯ นี้ ถ้าหากไม่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฯ นี้จะมีผลอย่างไร ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฯ นี้มีอะไรบ้าง
เนื้อหาวิชา 1. สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย 2. ศักยภาพการประหยัดพลังงานของประเทศไทย 3. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
ศักยภาพการประหยัดพลังงานของประเทศไทย จากผลของการอนุรักษ์พลังงาน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม พ.ศ.2538 ได้กำหนดให้อาคารที่ติดตั้ง หม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ หรือมีปริมาณพลังงานทั้งหมดเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่ 20 ล้านเมกกะจูลขึ้นไป เป็นอาคารควบคุม
ศักยภาพการประหยัดพลังงานของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการต่อนโยบายพลังงาน : การจัดโครงสร้างการพัฒนาแผนนโยบายพลังงานและ จัดผู้รับผิดชอบการดำเนินการในรัฐบาล การผ่านร่างกฎหมายให้มีการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การจัดให้มีการสนับสนุนทางการเงินในการส่งเสริม โครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ได้ประกาศ ใช้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2535 กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายคือ อาคารภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน ดังกล่าวต้อง ๏ ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบ ๏ รัฐจะให้การสนับสนุนทางเทคนิค และวิชาการทางเทคโนโลยี การอนุรักษ์พลังงาน ๏ ให้ความสนับสนุนทางการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน
โครงสร้างของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 โครงสร้างของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 หมวด มาตรา เรื่อง แนะนำ 1 - 6 บทนำและคำนิยาม หมวด 1 7 - 16 การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน หมวด 2 17 - 22 การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร หมวด 3 23 การอนุรักษ์พลังงานในเครื่องจักรอุปกรณ์ และส่งเสริมการใช้วัสดุเพื่ออนุรักษ์พลังงาน หมวด 4 24 -39 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หมวด 5 40 - 41 มาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือ หมวด 6 42 - 46 ค่าธรรมเนียมพิเศษ หมวด 7 47 - 49 พนักงานเจ้าหน้าที่ หมวด 8 50 - 52 การอุทธรณ์ หมวด 9 53 - 61 บทกำหนดโทษ
หมวด 2 การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร หมวด 2 การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร กฎกระทรวง เงินทุนสำหรับ สนับสนุนแผนการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อลงทุน ป้องกันสภาพแวดล้อมจากการ ดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน การสาธิตและโครงการตัวอย่าง การฝึกอบรม เป็นต้น ไม่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฯ ภายใน 3 ปี อาคารควบคุม > 1 เมกะวัตต์ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (ผชอ.)
เงื่อนไขที่ใช้สำหรับกำหนดให้เป็นอาคารควบคุม ๏ มีการใช้เครื่องวัดไฟฟ้า 1,000 kW หรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า 1,175 kVA ๏ มีการใช้พลังงานรวมทั้งหมดตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ในปีที่ผ่านมา พลังงานไฟฟ้า 20 ล้านเมกะจูล
หน้าที่ของ เจ้าของอาคารควบคุม (มาตรา 21 & 22) หน้าที่ของ เจ้าของอาคารควบคุม (มาตรา 21 & 22) อนุรักษ์พลังงาน ตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารของตน แต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานภายใน 180 วัน ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้และการอนุรักษ์พลังงาน บันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน กำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินการตามคำสั่งของอธิบดี
คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารควบคุม (มาตรา 22) เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและมีประสบการณ์การทำงานอย่าง น้อย 3 ปี โดยมีผลงานด้านอนุรักษ์พลังงานตามการรับรองของเจ้าของ อาคารควบคุม ...หรือ... เป็นผู้ได้รับปริญญาทางวิศวกรรมศาสตร์หรือทางวิทยาศาสตร์ โดยมีผลงาน ด้านการอนุรักษ์พลังงานตามการรับรองของเจ้าของอาคารควบคุม ...หรือ... เป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานหรือการฝึก อบรมที่ มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม จัดขึ้นหรือให้ความเห็นชอบ
หน้าที่ของผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารควบคุม (มาตรา 22) ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ 7 ประการ 1. บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงาน เป็น ระยะ ๆ 2. ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน 3. รับรองข้อมูลที่เจ้าของอาคารควบคุมส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน 4. ควบคุมดูแลการบันทึกข้อมูลเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และรับรอง ความถูกต้องของการบันทึกดังกล่าว (โดยเก็บบันทึกข้อมูลไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี)
หน้าที่ของผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารควบคุม (มาตรา 22) ต่อ... 5. ช่วยเจ้าของอาคารควบคุมในการกำหนดเป้าหมายและแผน อนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุมนั้น ๆ 6. รับรองผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ 7. ช่วยเจ้าของอาคารควบคุมปฏิบัติตามคำแนะนำของอธิบดี
การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร (มาตรา 17) 1) การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร 2) การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภาย ในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 3) การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงานตลอดจนการ แสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ
การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร (มาตรา 17) ต่อ... 4) การใช้แสงสว่างในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ 5) การใช้และการติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ทำให้เกิดการ อนุรักษ์พลังงานในอาคาร 6) การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ 7) การอนุรักษ์พลังงานโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (ฉบับที่ 2 & 3) กฎกระทรวงสำหรับอาคารควบคุมได้กำหนดให้เจ้าของอาคารจะต้องดำเนินการ ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานในแบบ บพอ.1 และส่งให้กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานทุก ๆ 6 เดือน (กรกฎาคม และ มกราคม) จัดให้มีการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานในแบบ บพอ.2 ทุกเดือนและเก็บไว้เป็นเวลา 5 ปี ดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น และส่งรายงานให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทุก 3 ปี
กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (ฉบับที่ 2 & 3) กฎกระทรวงสำหรับอาคารควบคุมได้กำหนดให้เจ้าของอาคารจะต้องดำเนินการ(ต่อ) ดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียดและจัดส่งรายงานให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ทุก ๆ 3 ปี จัดส่งเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงานที่จัดเตรียมโดยบริษัทที่ปรึกษาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานทุก ๆ 3 ปี ดำเนินการตรวจและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานที่อนุมัติโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจัดส่งรายงานการประเมินผลให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานปีละครั้ง
(มาตรฐานและมาตรการสำหรับอาคารควบคุม) กฎกระทรวงสำหรับอาคาร หัวข้อหลักของกฎกระทรวง : ๏ เกณฑ์ในการคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคาร(OTTV) ๏ เกณฑ์สำหรับค่า OTTV ของอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) ๏ เกณฑ์สำหรับค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (RTTV) สำหรับ อาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) ๏ เกณฑ์ดัชนีการบังแดด ๏ เกณฑ์สำหรับการใช้พลังงานแสงสว่างภายในอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) ๏ เกณฑ์สำหรับการคำนวณประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ (กิโลวัตต์ต่อตัน ความเย็น)
กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (มาตรฐานและมาตรการสำหรับอาคารควบคุม) ค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดในปัจจุบัน คือ ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคาร (OTTV) อาคารใหม่ = 45 วัตต์ต่อตารางเมตร อาคารเก่า = 55 วัตต์ต่อตารางเมตร ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (RTTV) อาคารเก่าและใหม่ = 23 วัตต์ต่อตารางเมตร
กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (มาตรฐานและมาตรการสำหรับอาคารควบคุม) การใช้พลังงานแสงสว่าง อาคารสำนักงาน โรงแรม สถานศึกษา และโรงพยาบาลหรือสถานพักฟื้น = 16 วัตต์ต่อตารางเมตร ร้านขายของ ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือศูนย์การค้า = 23 วัตต์ต่อตารางเมตร
กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (มาตรฐานและมาตรการสำหรับอาคารควบคุม) ภายใต้ข้อ 5(1) ระบบปรับอากาศกับเครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วย น้ำต้องมีค่ากิโลวัตต์ต่อตันความเย็นไม่เกินค่าที่กำหนดในตารางข้างล่าง : กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (มาตรฐานและมาตรการสำหรับอาคารควบคุม) เครื่องทำความเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ อาคารใหม่ อาคารเก่า (กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น) ก. ส่วนทำน้ำเย็นแบบหอยโข่ง ขนาดไม่เกิน 250 ตัน ขนาดเกินกว่า 250 ตัน ถึง 500 ตัน ขนาดเกินกว่า 500 ตัน ข. ส่วนทำน้ำเย็นแบบลูกสูบ ขนาดไม่เกิน 35 ตัน ขนาดเกินกว่า 35 ตัน ค. เครื่องทำความเย็นแบบเป็นชุด ง. ส่วนทำน้ำเย็นแบบสกรู 0.75 0.70 0.67 0.98 0.91 0.88 0.90 0.84 0.80 1.18 1.10 1.06
กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (มาตรฐานและมาตรการสำหรับอาคารควบคุม) กฎกระทรวงสำหรับอาคาร (มาตรฐานและมาตรการสำหรับอาคารควบคุม) ภายใต้ข้อ 5(2) ระบบปรับอากาศกับเครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศต้องมีค่า กิโลวัตต์ต่อตันความเย็นไม่เกินค่าที่กำหนดในตาราง เครื่องทำความเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ อาคารใหม่ อาคารเก่า (กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น) ก.ส่วนทำน้ำเย็นแบบหอยโข่ง ขนาดไม่เกิน 250 ตัน ขนาดเกินกว่า 250 ตัน ข.ส่วนทำน้ำเย็นแบบลูกสูบ ขนาดไม่เกิน 50 ตัน ขนาดเกินกว่า 50 ตัน ค. เครื่องทำความเย็นแบบเป็นชุด ง. เครื่องทำความเย็นแบบติดหน้าต่าง หรือ แยกส่วน 1.40 1.20 1.30 1.25 1.37 1.61 1.38 1.50 1.44 1.58
เป้าหมายและแผน เป้าหมายและแผนจากเจ้าของหน่วยงานที่ส่งให้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จะต้องแสดงรายละเอียดว่าทำอย่างไร อาคารจึงจะสามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐานเกณฑ์และกระบวนการที่ระบุในกฎกระทรวงฉบับที่ 3 ได้
๏ กำหนดเครื่องจักรหรือวัสดุประสิทธิภาพสูง หมวด 3 การอนุรักษ์พลังงานในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์และส่งเสริมการใช้วัสดุ เพื่ออนุรักษ์พลังงาน (มาตรา 23 & 40) ๏ กำหนดเครื่องจักรหรือวัสดุประสิทธิภาพสูง ๏ กำหนดวัสดุที่ใช้เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์และวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง มีสิทธิที่จะขอเงินสนับสนุนและช่วยเหลือได้
การคำนวณเงินสนับสนุน ที่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง F = 0.746 x Kr x HP (100/E1-100/E2) โดย : F = เงินสนับสนุนเป็นบาท Kr = ค่าคงที่ซึ่งคิดที่ 11,000 บาทต่อกิโลวัตต์ที่ประหยัดได้ HP = ขนาดของมอเตอร์ (แรงม้า) E1 = ประสิทธิภาพของมอเตอร์มาตรฐาน (%) E2 = ประสิทธิภาพของมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (%)
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หมวด 4 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประโยชน์ของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน อาคารควบคุมจะขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้เมื่อมีการดำเนินการตรงตามข้อกำหนดของกองทุนฯ องค์กรอื่นๆ ก็มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือหรือเงินสนับสนุนเช่นกัน
แผนงานภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานแบ่งออกเป็น 3 แผนงานดังนี้ แผนงานภาคบังคับซึ่งประกอบด้วย 4 โครงการย่อย อาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน อาคารที่อยู่ในระหว่างออกแบบหรือก่อสร้าง อาคารของรัฐ อาคารทั่วไปที่กำลังใช้งาน
แผนงานภาคความร่วมมือซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการย่อยดังนี้ โครงการพลังงานหมุนเวียนและกิจกรรมการผลิตในชนบท โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา โครงการส่งเสริมธุรกิจด้านการอนุรักษ์พลังงาน แผนงานสนับสนุน ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการย่อยดังนี้ โครงการพัฒนาบุคลากร โครงการประชาสัมพันธ์ โครงการบริหารงานตามกฎหมาย
หมวด 4 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พพ. โดยขอในรูปการชดเชยภาระดอกเบี้ยจากการลงทุน เพื่อให้มาตรการแต่ละมาตรการ ในแผนอนุรักษ์พลังงานที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มีผลตอบแทนการลงทุนทางการเงินสูงถึงระดับเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ + 2% แต่ขอได้ไม่เกิน 60% ของเงินลงทุนในการอนุรักษ์พลังงาน และไม่เกิน 10 ล้านบาท ต่อมาตรการในแผนอนุรักษ์พลังงาน อย่างละเอียด โดยที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับ พพ. ขอรับการสนับสนุนได้ 50% ของค่าใช้จ่ายแต่ไม่เกิน 500,000 บาท ต่ออาคาร เบื้องต้น โดยที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับ พพ. ขอรับการสนับสนุนได้ ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อราย เจ้าของอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน
หมวด 4 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พพ. การปรับปรุงการออกแบบก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อให้แบบของอาคารที่จะสร้างขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ขอรับการสนับสนุนได้ไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าแบบฯ เดิมจะต้องเป็นแบบฯ ที่ ทำให้มีการใช้พลังงานตามมาตรฐานและ หลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว และจะขอรับการสนับสนุนได้เฉพาะใน ส่วนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการปรับปรุงเดิมเท่านั้น การลงทุนตามแบบฯ ที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากแบบเดิม ขอรับการสนับสนุนได้ตามเกณฑ์เดียวกับอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน เจ้าของอาคารควบคุมที่อยู่ในระหว่างออกแบบหรือก่อสร้าง
หมวด 4 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พพ. การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียด และการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานรวมถึงค่าออกแบบทางวิศวกรรม ขอรับการสนับสนุนได้ในลักษณะเดียวกับอาคารควบคุม แต่ทั้งนี้ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน อาจกำหนดให้อาคารที่ขอรับการสนับสนุนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของอาคารควบคุมในบางข้อหรือทุกข้อตาม พ.ร.บ. ด้วยก็ได้ เจ้าของอาคารทั่วไปที่กำลังใช้งาน (ที่ไม่ใช่อาคารควบคุม)
วิธีการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน : การขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์พลังงานเบื้องต้น แบบคำขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์ การใช้พลังงานเบื้องต้น (บพท.1) (ตามเอกสารแนบท้าย)
วิธีการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน : การขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์พลังงาน เบื้องต้น เจ้าของอาคารควบคุมที่กำลังใช้งานที่มีความประสงค์จะขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น ดำเนินการดังนี้
ขอรายชื่อที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ประเภท ก หรือ ข จากสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน พพ. ทำการคัดเลือกที่ปรึกษา และกรอกรายละเอียดในแบบคำขอรับการสนับสนุนตามที่ พพ. กำหนด (บพท.1) ยื่นต่อ พพ. เพื่อพิจารณา โดยแนบหนังสือรับเป็นผู้ดำเนินการของที่ปรึกษาที่คัดเลือกแล้ว ตามรายละเอียดในเอกสารประกอบ บพท.1
ทำหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุนภายใน 30 วัน เมื่อได้รับหนังสือแจ้งตอบเห็นชอบคำขอรับการสนับสนุนจาก พพ. และว่า จ้างที่ปรึกษาดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น โดยที่ปรึกษาจะต้องส่งรายงานการตรวจสอบฯ ให้ เจ้าของอาคารควบคุมภายใน 2 เดือนนับจาก พพ. มีหนังสือแจ้งตอบเห็นชอบคำขอรับการสนับสนุน
จัดส่งรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้นพร้อมหนังสือขอเบิกเงินสนับสนุนให้ พพ. โดย พพ. จะตรวจสอบรายงานการตรวจสอบฯ และแจ้งตอบเมื่อเห็นชอบ รับเงินสนับสนุนจาก พพ. เมื่อได้รับแจ้งตอบเห็นชอบรายงานการตรวจสอบฯ แล้ว ซึ่ง พพ. จะจัดส่งแบบ บพท.2 ให้ เพื่อใช้ในการขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้ พลังงานโดยละเอียด และการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์ พลังงานต่อไป
วิธีการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน : การขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์พลังงาน โดยละเอียดและการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน แบบคำขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์ การใช้พลังงานโดยละเอียด และการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน (บพท.2)
วิธีการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน : การขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์พลังงานโดยละเอียดและการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน เจ้าของอาคารควบคุมที่กำลังใช้งานที่มีความประสงค์จะขอรับการสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียดและการจัดทำ เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินการดังนี้
ขอรายชื่อที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประเภท ข ขอรายชื่อที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประเภท ข. ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จากสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ทำการคัดเลือกที่ปรึกษา และกรอกรายละเอียดในแบบคำขอรับการ สนับสนุนตามที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกำหนด (บพท.2) ยื่นต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อพิจารณา โดยแนบหนังสือรับเป็นผู้ดำเนินการของที่ปรึกษาที่คัดเลือกแล้ว ตามรายละเอียดในเอกสารประกอบ บพท.2
ดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียดและการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน จัดส่งรายงานการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยละเอียดให้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
จัดส่งรายงานการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานพร้อมหนังสือขอเบิกเงินสนับสนุนและแบบคำขอรับการสนับสนุนสำหรับการลงทุนในการอนุรักษ์ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน บพท.3 ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ทำหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุนภายใน 30 วัน เมื่อได้รับหนังสือแจ้งตอบเห็นชอบรายงานการจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และรับเงินสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
วิธีการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน : การขอรับการสนับสนุนสำหรับการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงาน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน แบบคำขอรับการสนับสนุนสำหรับการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงาน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (บพท.3)
วิธีการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน : การขอรับการสนับสนุนสำหรับการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน เจ้าของอาคารควบคุมที่กำลังใช้งานที่มีความประสงค์จะขอรับการสนับสนุนสำหรับการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินการดังนี้
กรอกรายละเอียดในแบบคำขอรับการสนับสนุนตามที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนด (บพท.3) และรายละเอียดมาตรการที่ขอรับการสนับสนุนในเอกสารแนบท้าย (โดยใช้รายละเอียดในเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน) ยื่นต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกับรายงาน การจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ทำสัญญากับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานภายใน 30 วัน เมื่อได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
มาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือ หมวด 5 มาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือ อาคารควบคุมจะสามารถขอรับความ ช่วยเหลือในรูปแบบดังต่อไปนี้ การได้รับค่าธรรมเนียมพิเศษจาก พ.ร.บ.ฯ การได้รับเงินสนับสนุนดังต่อไปนี้
เงินสนับสนุนสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้น (ไม่เกิน 100,000 บาท) เงินสนับสนุนสำหรับการจัดทำเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน (50% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท) เงินสนับสนุนสำหรับการปรับปรุงให้โรงงานและอาคารมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการออกแบบหรือ ก่อสร้างที่จะทำให้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานสูงขึ้นกว่าที่ออกแบบไว้ในตอนแรก(ไม่เกิน 2,000,000 บาท)
มาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือ หมวด 5 มาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือ เงินสนับสนุนจากการดำเนินงานตามแผนการอนุรักษ์ พลังงานหลังจากที่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอนุมัติ การเข้ารับการฝึกอบรมการอนุรักษ์พลังงานโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย อาคารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาคารควบคุมที่ต้องการจะปรับปรุงเพื่ออนุรักษ์พลังงานอาจจะขอรับการสนับสนุนได้
หมวด 6 ค่าธรรมเนียมพิเศษ การบังคับโดยอาศัยค่าธรรมเนียมพิเศษ (หมวด 6 & 9) อาคารควบคุมที่ไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพิเศษตามการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ใช้และยังเสียโอกาสได้รับผลประโยชน์จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3 ปี หมวด 6 ค่าธรรมเนียมพิเศษ หลังจาก ของกฎกระทรวงประกาศใช้ เมื่อไรการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษจึงมีผลบังคับใช้ หลังจาก 3 ปี ของกฎกระทรวงประกาศใช้
ถ้าเจ้าของอาคารควบคุมไม่ดำเนินการตามกฎกระทรวง ในกรณีไหนที่จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ถ้าเจ้าของอาคารควบคุมไม่ดำเนินการตามกฎกระทรวง
ค่าธรรมเนียมพิเศษจะเรียกเก็บอย่างไร ตามอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
หมวด 7 พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ บุคคลที่จะทำให้แน่ใจว่าอาคารควบคุมจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 โดยมีอำนาจหน้าที่ที่จะ ขอหลักฐานเอกสารที่แสดงว่าอาคารนั้นปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฯ เข้าไปในโรงงานหรืออาคารเมื่อไรก็ได้ในระหว่างเวลา พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบบันทึกและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงาน ขอความร่วมมือจากเจ้าของอาคารควบคุม ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ใน สถานที่นั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ให้อำนวยความสะดวกตามสมควร
หมวด 8 การอุทธรณ์ (มาตรา 50, 51 & 52) อาคารควบคุมจะต้องดำเนินการตาม พระราชกฤษฎีกาซึ่งมีผลภาย ใน 120 วัน หลังจากที่ได้มี การประกาศในราชกิจจานุเบกษา เจ้าของอาคารควบคุมที่ใช้พลังงานน้อยกว่าที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เป็นระยะเวลา 6 เดือนต่อเนื่อง จะสามารถอุทธรณ์ต่ออธิบดีได้ภายใน 30 วันก่อนที่จะ มีผลต่อโรงงานหรืออาคารนั้น ๆ
มาตรา 50 ผู้ได้รับหนังสือแจ้งผลตามมาตรา 8 วรรค 3 ผู้ใดไม่เห็น ด้วยกับหนังสือแจ้งดังกล่าว ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้ง ในกรณีเช่นว่านี้ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานรอการดำเนินการไว้ ก่อน จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้ยื่นคำร้องทราบแล้ว
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด หมวด 8 การอุทธรณ์ (มาตรา 50, 51 & 52) มาตรา 51 ผู้ได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา 44 วรรค 1 ผู้ใดไม่เห็นด้วยกับ หนังสือแจ้งให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามกฎหมาย เว้นแต่รัฐมนตรีจะเห็น สมควรให้มีการทุเลาการบังคับตามกฎหมายนั้นไว้ชั่วคราว มาตรา 52 การพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 50 และ 51 ให้ รัฐมนตรี พิจารณาโดยเร็ว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 53 - 56) บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 53 - 56) สำหรับเจ้าของอาคารควบคุม ให้ข้อมูลเป็นเท็จตามมาตรา 8 วรรค 3 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน และหรือปรับไม่เกิน 150,000 บาท
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีภายใต้มาตรา 10 ต้องระวางโทษปรับไม่ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีภายใต้มาตรา 10 ต้องระวางโทษปรับไม่ เกิน 50,000 บาท ไม่มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบตามมาตรา 11(1)ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท ไม่มีการเก็บข้อมูลหรือจัดตั้งเป้าหมายตามมาตรา 11(2)-(5) ต้องระวาง โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 57) บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 57) สำหรับเจ้าของโรงงานหรืออาคารซึ่ง รับรองข้อมูลที่เป็นเท็จตามมาตรา 13(1) หรือ 13(2) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารควบคุมซึ่ง รับรองข้อมูลที่เป็นเท็จตามมาตรา 14(3) , 14(4) หรือ 14(6) จะต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
บทกำหนดโทษสำหรับการส่งเงินเข้ากองทุน (หมวด 9, มาตรา 58) บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 58) บทกำหนดโทษสำหรับการส่งเงินเข้ากองทุน (หมวด 9, มาตรา 58) สำหรับบุคคลที่ ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่งตามมาตรา 35 ถึง 37 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 10 ล้านบาท
บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 59) บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 59) สำหรับบุคคลที่ ขัดขวางหรือไม่ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 47(2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
บทกำหนดโทษสำหรับการส่งเงินเข้ากองทุน (หมวด 9, มาตรา 60) บทกำหนดโทษ (หมวด 9, มาตรา 60) บทกำหนดโทษสำหรับการส่งเงินเข้ากองทุน (หมวด 9, มาตรา 60) สำหรับผู้จัดการหรือกรรมการของนิติบุคคลซึ่ง ต้องโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้จัดการหรือกรรมการนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นๆ
เอกสารแนบท้าย แบบ บพท.1 แบบ บพท.2 แบบ บพท.3
จบการนำเสนอ เมนู