งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 6 ดนตรีกับชีวิตประจำวัน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 6 ดนตรีกับชีวิตประจำวัน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 6 ดนตรีกับชีวิตประจำวัน

2 ดนตรีที่มาจากต่างประเทศ
1.1 ดนตรีคลาสสิก ได้รับการถูกยกย่องว่าเป็นเพลงชั้นสูงมีระดับ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพลงโบราณชนิดหนึ่งซึ่งประพันธ์จากบุคคลธรรมดา แต่ได้รับการชุบเลี้ยงส่งเสริมจากราชสำนักและชนชั้นปกครองในสมัยนั้น คลาสสิก หมายถึงช่วงเวลาหรือยุคสมัยหนึ่งที่ดนตรียุโรปเฟื่องฟูอยู่ราวปี 1750 – 1820 มีลักษณะเป็นเพลงบรรเลง ไม่มีเนื้อร้อง นอกจากการประพันธ์เนื้อเรื่องประกอบในโอเปร่า

3 โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท

4 1.2 โอเปร่า เป็นเพลงโต้ตอบกันตามเรื่องราวที่ประพันธ์เป็นลักษณะของละคร ประกอบด้วยการกริยาอารมณ์ สีหน้า ท่าทาง ตามแบบของการแสดงละครทั่วไป มีฉาก เครื่องแต่งกาย และมีออเคสตร้า บรรเลงประกอบการแสดง

5 1.3 คันทรี่ ดนตรีที่ชนผิวขาวทางใต้ของสหรัฐอเมริกาคิดค้นขึ้น เคยมีชื่อเรียกว่าดนตรี The White Men’s Blues ได้รับอิทธิพลจากคนงานผิวสีชาวอเมริกันซึ่งนิยมเล่นเครื่องดนตรีประเภทแบนโจ

6 1.4 ร็อค เอ็น โรล เป็นดนตรีที่เริ่มจากการผสมผสานระหว่างอเมริกันและแอฟริกัน โดยนำดนตรีพื้นบ้านของชาวตะวันตกผิวขาวมาผสมกับดนตรีประเภท Blues และ R&B ซึ่งเป็นดนตรีที่พัฒนามาจากชนผิวสี ทำให้เกิดดนตรีประเภทใหม่ที่มีจังหวะรุนแรง เสียงกีตาร์และการตีกลองแสดงถึงความตื่นเต้นเร้าใจ

7 1.5 ป๊อป จากอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงมีความก้าวหน้ามากขึ้น มีความทันสมัยและได้รับความนิยมอย่างก้างขวางแทนที่ดนตรีแบบเดิม ๆ และทำกันเป็นธุรกิจ ดนตรีป๊อปพัฒนามาตั้งแต่ปี 1950 มีจังหวะและท่วงทำนองที่ชวนฟัง เครื่องดนตรีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีไฟฟ้า และปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำให้สะดวกสบาย ในการบรรเลงและผลิต พอล แองก้า

8 ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมร์รี่
1.6 โฟล์ค ความหมายที่แท้จริง คือ เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงที่ร้องและเล่นด้วยเครื่องดนตรีท้องถิ่นที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนใหญ่ทั้งเนื้อร้องและทำนองจะไม่บันทึกเป็นโน้ตหรือลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีจำแบบบอกต่อ เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมร์รี่

9 1.7 แจ๊ส มาจากหมู่ทาสผิวดำในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันเน้นหลักการใช้ไหวพริบที่เกิดขึ้นฉับพลันแบบไม่ทันตั้งตัวเป็นการพิสูจน์ฝีมือที่เรียกว่า Improvisation เครื่องดนตรีที่นิยมได้แก่ แบนโจ, กีตาร์, คอร์เน็ต, ทรอมโบน, ทรัมเป็ต, แซกโซโฟน, เปียโน, เบสและกลองชุด หลุยส์ อาร์มสตรอง

10 ดับบริว ซี แฮนดี้ (W.C.Handy)
1.8 บลูส์ มีวิวัฒนาการมาจากวิถีชีวิตตามไร่นา และการร้องรำทำเพลงขณะทำงานของคนผิวดำในสหรัฐฯ ที่มีการสืบทอดวัฒนธรรมทางดนตรีจากแอฟริกาบ้านเกิดของตน และบลูส์เป็นจุดเริ่มต้นของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา ดับบริว ซี แฮนดี้ (W.C.Handy)

11 ดนตรีที่มีอยู่ในประเทศ
2.1 ดนตรีไทยเดิม ดนตรีที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประจำชาติ เช่น ระนาดเอก ซออู้ ซอด้วง ปี่ และอื่น ๆ ตามแต่จะจัดรูปแบบของวงตามโอกาสต่าง ๆ ดนตรีไทยเดิมอาจไม่เป็นที่นิยมฟังกันเท่าที่ควร เช่น วงปีพาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี

12 2.2 ดนตรีพื้นบ้านต่าง ๆ หมายถึงดนตรีประจำท้องถิ่น เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันโดยชาวบ้านทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้อยู่ในสังคมเมือง ซึ่งจะแสดงบุคลิกลักษณะเฉพาะให้เห็นถึงความเป็นภูมิภาค หรือหมู่บ้าน ชุมชนของตนตามเพลงต่าง ๆ เช่น เพลงโคราช

13 2.3 ดนตรีลูกทุ่ง สะท้อนชีวิตชาวชนบท มีความแตกต่างจากวิถีชีวิตของชาวกรุง กล่าวถึงลักษณะทางธรรมชาติในชนบทกับการเปรียบเปรยเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านสภาพแวดล้อมรอบตัว การร้องมักมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการเชื่อมคำหรือลากเสียงต่อเนื่องไม่ให้ขาด เหมือนกับเพลงไทยเดิมที่มักมีการเอื้อน นอกจากนี้ยังมีการเน้นลูกคอมากเป็นพิเศษ

14 2.4 เพลงลูกกรุง (เพลงไทยสากล)
เพลงที่สะท้อนลักษณะของคนกรุง ในยุคแรก ๆ เรียกว่า วงสุนทราภรณ์ โดยการนำของครูเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อปี พ.ศ.2586 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนปัจจุบันก็ยังถูกนำมาขับร้องจากรุ่นสู่รุ่น

15 2.5 เพลงไทยสมัยนิยม เรียกเพลงประเภทนี้ว่า ป๊อปปูล่า ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน โดยเฉพาะจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องใช้นักดนตรีบรรเลงจริง ๆ ก็ได้ มักได้รับความนิยมในช่วงเวลาระยะหนึ่ง มักกล่าวถึงเนื้อหาความรักของหนุ่มสาว

16 2.6 เพลงเพื่อชีวิต มีเนื้อหาสาระสะท้อนปัญหาในสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจจะบอกตรง ๆ หรือใช้การกระทบกระเทียบเปรียบเปรย หรือใช้เนื้อร้องเสียดสี บางครั้งไม่ได้โจมตีแต่ต้องการเรียกร้องถึงความอิสระเสรี

17 อารยะธรรมคาราโอเกะ Karaoke เกิดขึ้นจากช่างคิดชาวญี่ปุ่น ชื่อ ไดสุเกะ อิโนอุเอะ ซึ่งคาราโอเกะเป็นการประสมกันจากคำย่อสองคำว่า “คารา” ที่มาจาก คารับโปะ แปลว่าความว่างเปล่า และ “โอเกะ” ย่อมาจาก โอเกะซุตุระ เป็นคำญี่ปุ่นเลียนเสียงมาจากออร์เคสตร้า คาราโอเกะจึงสื่อความหมายว่า ดนตรีที่ว่างเปล่าโดยปราศจากนักร้อง

18

19 ดนตรีที่มากับภาพยนตร์
1. โหมโรง เป็นเรื่องราวของครูเพลง หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร.ศิลปะ บรรเลง) ที่มีฝีมือในการตีระนาดเอก มีการประชันระนาดเอกที่ชิงกันอย่างดุเดือด และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีผลกระทบกับวงการดนตรีไทยอย่างชัดเจน

20 2. Amadeus (อมาเดอุส) เรื่องของคีตกวีเอกของโลกในยุคคลาสสิกนามว่า โวฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท บอกเล่าความอัจฉริยะในทางดนตรี แรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง และความล้มเหลวในชีวิตด้วยวัยเพียง 35 ปี

21 3. School of Rock เรื่องของครูซ่าขาร็อค ที่พยายามให้ลูกศิษย์เปลี่ยนใจจากดนตรีคลาสสิกมาเป็นร็อคด้วยวิธีแปลก ๆ

22 4. Mr.Holland’s Opus (มิสเตอร์ฮอลแลนด์ โอปุส) ชีวิตของครูดนตรีที่ทุ่มเทให้ลูกศิษย์ แต่ครอบครัวตัวเองกลับมีปัญหา เนื่องจากลูกชายที่เกิดมาหูหนวก ไม่รับรู้ถึงเสียงดนตรีของพ่อได้ เรื่องนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างครูกับศิษย์ และระหว่างพ่อกับลูก

23 5. The Legend of 1900 (ตำนาน นาย 1900 หัวใจรักจากท้องทะเล) นักเปียโนหนุ่มไฟแรงที่เกิดบนเรือสำราญลำหนึ่ง ตลอดชีวิตเกิดและตายบนเรือ ไม่เคบสัมผัสพื้นดิน แต่เขาสามารถปราบราชาเพลงแจ๊สในยุคนั้นได้อยู่หมัด ด้วยการบรรเลงเปียโนตามแบบฉบับของตัวเอง


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 6 ดนตรีกับชีวิตประจำวัน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google