ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ
โดยธรรมชาติแล้ว ไม่ว่าหญิงหรือชายต่างก็มีฮอร์โมนของทั้งสองเพศอยู่ในร่างกาย ซึ่งบทบาทของฮอร์โมนเพศนี่เองที่จะทำหน้าที่ขับเน้นให้เกิดความแตกต่างของแต่ละเพศอย่างเด่นชัด โดยฮอร์โมนเพศถูกสร้างขึ้นในต่อมไร้ท่อที่เรียกว่า ต่อมโกแนด
2
ฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของเพศหญิงเรียกว่าเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน มีหน้าที่ทำให้ผู้หญิงพัฒนาจากเด็กไปสู่วัยสาว ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้เต้านมขยาย สะโพกผายขึ้น น้ำเสียงเปลี่ยนเป็นนุ่มนวล มีลีลา อ่อนไหวมากขึ้น และที่สำคัญคือการมีประจำเดือน
3
ฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนที่กำหนดความเป็นชายคือกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งทำหน้าที่สร้างความเป็นชายนับตั้งแต่ปฏิสนธิ ส่วนใหญ่ได้แก่ เทสโทสเตอโรน ทำให้เด็กชายที่กำลังเข้าสู่วัยหนุ่มมีเสียงห้าวขึ้น เริ่มมีหนวด บางรายมีลักษณะทางพันธุกรรมเด่นชัด เช่น ศีรษะล้าน
4
เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
เอสโตรเจนเป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สร้างลักษณะทางเพศของผู้หญิง ช่วยเสริมสร้างเซลล์ให้เจริญเติบโต ซ่อมแซมระบบสืบพันธุ์ รักษาสภาพผนังช่องคลอด ควบคุมเมือกในช่องคลอด เพื่อป้องกันการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างหน้าอก ทำให้เต้านมเต่งตึง สะโพกผาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง รวมทั้งป้องกันไม่ให้กระดูกผุ และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย
5
หน้าที่หลักอีกอย่างหนึ่งของฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงคือ ทำให้ไข่ในรังไข่เจริญเติบโต พร้อมกับเสริมสร้างเยื่อบุมดลูกให้หนาขึ้นด้วย ระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเดือนจะส่งผลให้อารมณ์ของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไป
6
เมื่อระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเข้าสู่วัยทอง อาการที่มักเกิดขึ้นคือรู้สึกร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน หรือหนาวสั่น ตื่นบ่อยๆความชื้นในช่องคลอดลดลงทำให้ติดเชื้อง่าย หมดความสนใจเรื่องเพศสัมพันธ์ อารมณ์แปรปรวน ปัสสาวะเล็ด หน้าอกหย่อนยาน ผิวหนังแห้ง ภาวะความผิดปกติเหล่านี้จะเกิดแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน
7
เทสโทสเตอโรน ผู้ชายแต่ละวัยจะมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่แตกต่างกันไป วัยหนุ่มจะผลิตได้มากกว่า ฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ผู้ชายมีนิสัยชอบเอาชนะและชอบการแข่งขัน เว้นแม้แต่เรื่องความรักและความสัมพันธ์ นอกจากนี้ในบางช่วงฮอร์โมนชนิดนี้ยังส่งผลให้ผู้ชายรู้สึกเครียด วิตกกังวล จนรู้สึกหดหู่มากกว่าปกติและในชายหนุ่มบางรายที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ไม่เพียงพอ จะมีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังตลอดจนส่งผลถึงความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์ลดลงได้
8
เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นในตอนกลางคืน ช่วงที่กำลังนอนหลับสนิท นอกจากนี้แล้วการกินอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีในปริมาณที่เพียงพอ คือวันละ มิลลิกรัม จะช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชายได้อย่างดี เมื่อมีปริมาณฮอร์โมนเพศชายมากพอก็จะช่วยกระตุ้นการสร้างอสุจิได้โดยอัตโนมัติ โดยธาตุสังกะสีจะพบมากในอาหารทะเล
9
การใช้ฮอร์โมนทดแทน ปี ค.ศ. 2002 มีการค้นพบฮอร์โมนที่สามารถใช้ทดแทนฮอร์โมนเอสโตนเจนได้อย่างปลอดภัยกว่าซึ่งเรียกกันว่าดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน ( Dehydroepiandrosterone ) หรือ DHEA ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ร่างกายจะผลิตขึ้นได้เองในต่อมหมวกไต
10
ฮอร์โมน DHEA เมื่ออยู่ในร่างกายจะสามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศชาย และฮอร์โมนเพศหญิงได้ และจะเป็นฮอร์โมนเพศที่สร้างขึ้นทดแทนฮอร์โมนเพศในระบบหมุนเวียนเลือดที่ขาดหายไปทั้งในผู้หญิงและผู้ชายวัยทอง หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการเสริมฮอร์โมน ซึ่งจะสามารถช่วยให้ฟื้นคืนความตื่นตัวทางเพศได้อีกด้วย
11
จัดทำโดย นาย ยงยุทธิ์ สุขประสงค์ เลขที่ 12 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เสนอ
นาย ยงยุทธิ์ สุขประสงค์ เลขที่ 12 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เสนอ คุณครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ โรงเรียนวัดพวงนิมิต ต. เขาสามสิบ อ. เขาฉกรรจ์ จ. สรแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสะแก้วเขต 1
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.