ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย ผศ.ดร.เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์
ขอบข่ายของการแนะแนว โดย ผศ.ดร.เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์
2
ขอบข่ายของการแนะแนว การแนะแนวด้านการศึกษา (Educational Guidance)
การแนะแนวด้านการงานและอาชีพ (Vocational Guidance) การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม การแนะแนวบุคลิกภาพ (Personality Guidance)
3
ประเภทของการให้บริการปรึกษา
ทวิชซ์และโควิชซ่า ได้แบ่งประเภทของการให้การปรึกษา ๓ ประเภท คือ ๑. การปรึกษาในภาวะวิกฤต (Crisis Counseling) เป็นบริการให้การปรึกษากับผู้รับบริการที่มีปัญหาคับข้องใจ หรือความกดดันจากปัญหาก่อนแล้ว จึงใช้วิธีการที่เหมาะสมต่อไป ๒. การปรึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ (Developmental Counseling) เป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบริการให้มีพัฒนาการที่ดีในแต่ละช่วงของวัย การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีพัฒนาการที่ดีในทุกๆ ด้านตามวัยของตนเอง
4
(ต่อ) ๓. การปรึกษาเพื่อบำบัด (Therapeutic Counseling) เป็นการปรึกษาที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต และชีวิตจิตประสาท (Kowithz, Gerald+Knowithz Norma, An Introduction to School Guidance. New York:Holt Rinehart and Winston Inc pp )
5
จุดมุ่งหมายของบริการปรึกษา
๑. ด้านการศึกษา ผู้ให้การปรึกษาจะช่วยให้ผู้มารับการปรึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการศึกษา การวางอนาคตของชีวิตทางการศึกษา ซึ่งจะส่งผลสะท้อนถึงการประกอบอาชีพต่อไปในภายหน้า การเลือกวิชาเรียนให้เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละคน ๒. ด้านอาชีพ จะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาชีพสามารถเข้าใจถึงโลกของงานอาชีพไว้ดียิ่งขึ้น เข้าใจถึงโอกาสในการประกอบอาชีพ การเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับคุณสมบัติ คุณลักษณะของตนเอง ตลอดจนถึงความสุขใจในการประกอบอาชีพ
6
(ต่อ) ๓. ด้านส่วนตัวและสังคม
ช่วยให้ผู้มารับการปรึกษาปรับตัวได้ดีขึ้น ในขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่ในครอบครัว ที่ทำงาน โรงเรียน การให้การปรึกษาทางด้านส่วนตัวและสังคม จะช่วยให้บุคคลนั้นมีสุขภาพจิตที่ดี เข้าใจตนเอง ยอมรับตนเอง และยอมรับผู้อื่นได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การทำงานร่วมกับผู้อื่นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะเป็นการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคม
7
๑.ภารกิจของงานแนะแนว ภารกิจของการแนะแนวด้านบริการ
๑.๑. การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล ๑.๒. บริการสารสนเทศ ๑.๓. บริการให้การปรึกษา (Counseling Service) ๑.๔. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service) ๑.๕. บริการติดตามและประเมินผล (Follow up + Evaluation Service) ๑.๖. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
8
๒.ภารกิจของการแนะแนวด้านบริหาร
๒.๑ การบริหารงานแนะแนวด้วยกระบวนการบริหารโดยระบบ POSDCORB ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากร การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน และการบริหารงบประมาณ ๒.๒ การบริหารโดยเน้นขั้นตอนดำเนินงาน - กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการแนะแนว - สำรวจปัญหาและความต้องการด้านต่างๆของกลุ่มเป้าหมาย - สำรวจความต้องการด้านบุคลากร งบประมาณ และแหล่งบริการในชุมชน - ปฏิบัติงานตามแผน - ติดตามและประเมินผล
9
๓. ภารกิจของการแนะแนวด้านวิชาการ
๓.๑ สร้างองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยา ๓.๒ การรวบรวมและใช้องค์ความรู้ผ่านผลงานวิจัยต่างๆ
10
ขอขอบคุณ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.