งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจความปลอดภัย วัตถุประสงค์การตรวจความปลอดภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจความปลอดภัย วัตถุประสงค์การตรวจความปลอดภัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจความปลอดภัย วัตถุประสงค์การตรวจความปลอดภัย
 การตรวจความปลอดภัยเป็นวิธีป้องกันอุบัติเหตุ โดยการเข้าไปตรวจค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุจาก สภาพการทำงานและวิธีการทำงานทีไม่ปลอดภัย แล้วหาวิธีการป้องกันแก้ไข วัตถุประสงค์การตรวจความปลอดภัย Uasafe Act การกระทำที่ไม่ปลอดภัย Unsafe Condition สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย Loss

2 หลักการตรวจความปลอดภัย
รู้อันตราย : สิ่งที่พบเห็นเป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย 2) ประเมินได้ : ต้องประเมินว่าสิ่งที่เห็นเป็นอันตรายจริงหรือไม่ ต้องแก้ไขหรือไม่ 3) ควบคุมเป็น : เป็นการให้คำแนะนำ แก้ไข บันทึก แจ้งผู้เกี่ยวข้อง เครื่องจักร,เครื่องมือ,เครื่องป้องกันอันตราย,สภาพการทำงาน

3 การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำการตรวจ
โอกาสการเกิดอุบัติเหตุอันตราย ระยะเวลาที่พนักงานสัมผัสต่อสิ่งที่อาจเกิดอุบัติเหตุ ความร้ายแรงหรือผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ความยากง่ายในการตรวจหาสาเหตุ เวลาและค่าใช้จ่าย ความผิดพลาดของบุคคล การเห็นคุณค่าหรือประโยชน์

4 แนวคิดในการตรวจการกระทำที่ไม่ปลอดภัย
ความประมาท เลินเล่อของคนงาน การชอบทำงานที่ชอบความเสี่ยง การทำงานที่ลัดขั้นตอน ความเมื่อยล้า ของร่างกาย ความไม่คุ้นเคยในการปฏิบัติงาน ของพนักงานใหม่ แนวคิดในการตรวจสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ระดับของแสงสว่าง เสียง สารเคมี วัตถุไวไฟ ความไม่ปลอดภัยจากเครื่องจักร โครงสร้างและอาคาร ผังโรงงานที่อึดอัด และคับแคบเกินไป

5 แผนการตรวจและแบบตรวจ
 การวางแผนการตรวจ จะตรวจที่ไหน จะตรวจดูอะไร ตรวจจากการวิเคราะห์อุบัติเหตุทั้งหมดที่มี จำนวนอุบัติเหตุ,แผนก,ชนิด สาเหตุของอุบัติเหตุ  ประเภทของการตรวจ การตรวจเป็นระยะ (Periodic Inspection) เครน ลิฟท์ ไฟฟ้า เครื่องดับเพลิง 2) การตรวจที่มิได้กำหนดเวลาแน่นอน (Intermittent Inspection) 3) การตรวจอย่างต่อเนื่อง (Regular Inspection) 4) การตรวจพิเศษ (Special Inspection)

6  วิธีการตรวจความปลอดภัย
การสำรวจ: ทำตามแบบตรวจหรืออาจใช้เครื่องมือ บางอย่าง การสุ่มตัวอย่าง: การเลือกสำรวจจุดที่สงสัย เช่น การฟุ้งกระจายของสารเคมี หรือหาประสิทธิภาพเครื่อง ป้องกัน 3) การวิเคราะห์วิจัย: การวิจัยเชิงลึก เช่น เสียงดัง 4) การตรวจเยี่ยม (Safety tour) การตรวจแบบเยี่ยม เยียนหน่วยงานต่างๆ กระตุ้นความร่วมมือและรับทราบ ปัญหาข้อขัดข้อง

7 ใครมีหน้าที่ตรวจความปลอดภัย
1) ผู้บริหารโรงงานหรือผู้บริหารบริษัท 2) ผู้บังคับบัญชาระดับต้น หรือหัวหน้างาน หัวหน้างานจะตรวจความปลอดภัยใน 3 ลักษณะคือ - การตรวจอย่างต่อเนื่อง - การตรวจทั่วไป - การตรวจเป็นระยะ 3) วิศวกรและงานซ่อมบำรุง 4) พนักงาน 5) คณะกรรมการความปลอดภัย 6) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

8 กระบวนการตรวจ ขั้นตอนและกระบวนการตรวจอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละโรงงาน
พนักงานตรวจต้องทราบนโยบาย,กฎหมาย,กฎกระทรวง ต่าง ๆ ควรตรวจเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้มีมาตรฐานสูงขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุจะเป็นข้อมูลที่ดี การตรวจควรมี แบบตรวจ จะระบุหัวข้อที่ต้องการตรวจ โดยแต่ละแห่งก็พัฒนาขึ้นเอง แบบรายงานการตรวจ เป็นแบบที่ใช้สรุปรายงานในขั้นสุดท้าย(3 ชนิด) บัตรวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย เป็นบัตรรายงานวิเคราะห์งานโดยละเอียด ที่เจาะจง สาเหตุการเกิดได้

9 ขั้นตอนการตรวจ 1) แจ้งหัวหน้าแผนก : เดินตรวจไปพร้อมกัน
เพื่อขอความร่วมมือ,การตรวจพบทำได้ง่ายขึ้น 2) ดำเนินการตรวจโดยใช้แบบตรวจ ตรวจตามการ Flow ของวัสดุ ตรวจตามการ Flow ของผลิตภัณฑ์ ตรวจแบบสวน Flow ของวัสดุ 3) การบันทึกสภาพการปฏิบัติงานนั้นทันที (ไม่ควรจำมานั่งเขียน)

10 การจัดทำรายงาน • รายงานการตรวจควรมีลักษณะดังนี้
มีรายละเอียดสภาพการปฏิบัติงานจริงที่สมบูรณ์ รายละเอียดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข • รายงานการตรวจมี 3 ประเภทคือ รายงานฉุกเฉิน : ต้องมีการสั่งการให้แก้ไขทันที : รายงานปกติ : รายงานการตรวจพบสภาพที่ไม่พึงประสงค์ รายงานเป็นระยะ : สรุปการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัย ผลการดำเนินงานเป็นระยะ (ช่วง ๆ) พร้อมแนบรายงานแบบปกติไว้ด้วย

11 การเสนอแนะ พนักงานตรวจหากมีข้อเสนอแนะ ควรจัดลำดับไว้ เช่น เร่งด่วน
สำคัญมาก เป็นต้น ข้อเสนอแนะเมื่อได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารก็บรรจุไว้ใน โครงการปรับปรุงโรงงาน  พนักงานตรวจควรเฝ้าติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอีกทางด้วย ควรรายงานข้อเสนอแนะที่ปฏิบัติแล้วให้คณะกรรมการ ความปลอดภัยได้ทราบเป็นระยะ

12 การสอบสวนอุบัติเหตุ  วัตถุประสงค์ของการสวบสวนอุบัติเหตุ
เพื่อค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ แล้วหาทางป้องกันมิให้อุบัติเหตุทำนองนี้เกิดขึ้นอีก ค้นหาวิธีการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความผิดพลาด เป็นการค้นหาข้อเท็จจริง มิใช่หาตัวผู้กระทำผิด โดยอาศัย บรรทัดฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายจัดการต้องทำความเข้าใจ เพราะอาจมีบางคนกลัวถูกลงโทษ ถ้าพนักงานไม่ให้ความร่วมมือ ความล้มเหลวในการสอบสวนจะเกิด ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ อุบัติเหตุก็ไม่หมดไปได้

13 อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บถึงขั้นพิการทุพพลภาพ หรือตาย
 ลักษณะของอุบัติเหตุที่ควรทำการสอบสวน อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บถึงขั้นพิการทุพพลภาพ หรือตาย อุบัติเหตุที่มีการเจ็บเล็กน้อยต้องการเพียงการปฐมพยาบาล เช่น ลื่นหกล้มและหัวเข่าข้างซ้ายแตกต้องห้ามเลือดและทำแผล อุบัติเหตุที่อุปกรณ์เครื่องจักร วัตถุดิบหรือทรัพย์สินเสียหาย เช่น ลื่นล้มชนเก้าอี้ไปกระแทกกระจกแตก อุบัติเหตุที่เกือบจะเกิดการบาดเจ็บ (Near Injury Accident) เช่นลื่นไม่ล้มและไม่มีการบาดเจ็บที่อวัยวะส่วนใดของร่างกาย

14 ขั้นตอนการสอบสวน หัวหน้างานหรือผู้ควบคุมรับแจ้ง
แจ้ง จป. /ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการโรงงาน และคณะกรรมการฯ หัวหน้างานไปยังที่เกิดเหตุเพื่อสอบสวน หัวหน้างานบันทึกคำสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ ตรวจสอบความถูกต้องและส่งสำเนา จป. พิจารณา และแจ้งผล

15 เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุ
เทคนิคทั่วไป ไป : สถานที่เกิดเหตุในทันทีที่ได้รับแจ้ง พูด : สอบถามผู้บาดเจ็บและพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ฟัง : ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สนทนาหรือวิจารณ์ ส่งเสริม : ผู้อยู่ในเหตุการณ์ออกความเห็นเสนอแนะ ศึกษา : สาเหตุอุบัติเหตุ ประชุม : ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องกับวิธีการแก้ไขปัญหา เขียน : รายงานอุบัติเหตุ/บันทึกอุบัติเหตุ ติดตามผล : ยืนยันการแก้ไขปัญหา ประชาสัมพันธ์ : เพื่อผลในการป้องกันอุบัติเหตุ

16 เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุ
เทคนิคในการสัมภาษณ์ ใครคือผู้บาดเจ็บ (บุคคล) อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ไหน (สถานที่ แผนก) อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อไร (เวลา) ทำไม จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น (สาเหตุ) มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น (ลำดับเหตุการณ์) จะสามารถป้องกันอุบัติเหตุคล้ายๆ กันมิให้เกิดได้อย่างไร (วิธีการป้องกัน)

17 ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุ
1) เวลา : การสอบสวนอุบัติเหตุควรดำเนินการทันทีโดยไม่ชักช้า 2) สถานที่ : ควรตรวจดูสถานที่ประกอบการสอบสวนปากคำพยาน 3) การจัดอันดับความสำคัญในการสอบสวน : ปัญหาที่พบคือ อุบัติเหตุรายใดจึงจะทำการสอบสวน โดยหลักการแล้ว สอบสวนทุกราย ในทางปฏิบัติขึ้นกับสถานการณ์ของ สถานประกอบการ

18 ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนอุบัติเหตุ
4) ผู้ทำการสอบสวน : หัวหน้างานควรเป็นผู้สอบสวนอุบัติเหตุนั้น และมีนักวิชาการด้านความปลอดภัยคอยตรวจผลการ สอบสวนเป็นระยะ ในสถานประกอบการที่มีจป.วิชาชีพ ประจำโรงงาน ร่วมกับหัวหน้างาน 5) กระบวนการดำเนินงาน : ฝ่ายจัดการต้องกำหนด หลักการเกี่ยว การสอบสวนอุบัติเหตุให้เป็นรูปธรรม

19 การรายงานอุบัติเหตุ •การรายงานอุบัติเหตุ
เป็นการรวบรวมข้อมูลการประสบอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพ การรายงานจะทำโดยผ่านใบรายงานที่รายละเอียดบ่งชัด ทราบถึงสาเหตุอุบัติเหตุ และหาทางแก้ไขที่ต้นเหตุได้ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย,สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นข้อมูลสนับสนุนให้มีระบบควบคุมการเกิดอุบัติเหตุ การจัดระบบขจัด,ป้องกัน อุบัติเหตุ เช่น ระบบ JSA,KYT เพราะในแบบ รายงานจะเสนอแนะวิธีการที่เป็นไปได้มาด้วย เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทน ในรายงานจะมีการประเมินความเสียหายจากการประสบอุบัติ ทำให้ องค์กรสามารถทราบได้ว่า ต้นทุนจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นคิดเป็นกี่ส่วน

20 ลักษณะการรายงานอุบัติเหตุ
1) จัดระเบียบและวิธีการบันทึกและสอบสวนอย่างมีระบบ 2) มีแบบฟอร์มการบันทึกและวิธีการใช้แบบฟอร์ม 3) ให้มีการรายงานอุบัติเหตุทุกรายไม่ว่าจะทำให้เกิดความ เสียหายหรือบาดเจ็บหรือไม่ก็ตาม 4) ดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุทุกครั้ง 5) จัดส่งรายงานอุบัติเหตุให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการทุกระดับได้ทราบ 6) นำรายงานอุบัติเหตุและมาตรการแก้ไขเข้าสู่การประชุม ระดับคณะกรรมการความปลอดภัยโรงงาน

21 ข้อมูลที่ควรจะได้จากการสอบสวนอุบัติเหตุ
ลักษณะการบาดเจ็บ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร อุบัติเหตุมีสาเหตุอย่างไร มีความบกพร่องจากการสื่อสารจนเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ มีปัจจัยที่พร้อมจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ การกำหนดวิธีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา การแยกประเภทอุบัติเหตุ ค่าความสูญเสีย จบแล้วครับ


ดาวน์โหลด ppt การตรวจความปลอดภัย วัตถุประสงค์การตรวจความปลอดภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google