ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประเภทของการวิจารณ์
2
แบ่งตามเรื่องวิจารณ์
2.1 การวิจารณ์ทางวิชาการ เป็นการวิจารณ์ผลงานสาขาวิชาต่างๆโดย นำหลักการในศาสตร์นั้นมาเป็นเกณฑ์ 2.2การวิจารณ์เชิงข่าว เป็นการวิจารณ์ข่าว อาทิ การแข่งขันกีฬา 2.3การวิจารณ์วรรณกรรม ระดับง่าย เป็นการให้ผู้อ่านได้รู้จักหนังสือหรือข้อเขียน ระดับลึก เป็นการพินิจพิเคาระห์คุณค่าในแง่ต่างๆ 2.4การวิจารณ์ทั่วไป วิจารณ์การแสดง ละคร ดนตรี ภาพยนตร์ วิจารณ์รายการต่างๆทางสื่อมวลชน วิจารณ์งานศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย
3
แบ่งตามการวิจารณ์ 1) จิตวิจารณ์ เป็นการวิจารณ์ตามความรู้สึกนึกคิดของผู้วิจารณ์ ตัวอย่าง เมื่อเรายังเล็กเป็นเด็กน้อย เคยกล่าวถ้อยวอนจันทราว่าให้สม ขอข้าวแกงแหวนให้น้องปองนิยม ขอเตียงตั่งนั่งชมดาวและเดือน เมื่อเห็นดาวล้อมเดือนกลาดเกลื่อนฟ้า ชวนน้องนับดาราที่เป็นเพื่อน ระยับระยิบพริบตาดาวพร่าเลือน แต่ดวงเดือนเด่นสว่างกลางโพยม อยากตะกายว่ายฟ้าไปหาจันทร์ และใฝ่ฝันอยากเอื้อมให้ถึงโสม เคยนึกตามใจชอบปลอบประโลม ว่าเติบใหญ่จะได้โคมรัตติกาล ฝันไปตามอารมณ์ผสมโง่ ว่าเติบโตจะบินไปด้วยใจหาญ สอยดวงดาวพราวฟ้ามาเป็นยาน พาเราผ่านเมฆด้นจนถึงจันทร์ บทกวีเรื่อง วอนขอ ของ กุลทรัพย์ รุ่งฤดี
4
ผลวิเคราะห์และวิจารณ์คุณค่าด้านวรรณศิลป์
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นกลอนสุภาพจำนวน ๔ บท เนื้อความกล่าวถึง ตัวผู้เขียน เมื่อเป็นเด็ก เคยวอนขอสิ่งต่าง ๆ จากดวงจันทร์ และอยาก ไปให้ถึงดวงจันทร์ ผู้เขียนใช้ถ้อยคำ แสดงภาพความฝันอย่างง่าย ๆ แต่ให้ความรู้สึกน่ารัก สวยงาม เช่น ดาวล้อมเดือน ระยับระยิบ เด่น สว่าง ตะกายว่ายฟ้า ดวงดาวพราวฟ้า ผ่านเมฆ เป็นต้น ลีลาการเขียนเช่นนี้วิจารณ์ได้ว่า สร้างอารมณ์คนอ่านได้ดี ชวนให้คิดถึงดวงจันทร์ ดวงดาวที่กลาด เกลื่อนอยู่บนท้องฟ้ายามค่ำคืน เป็นบทร้อยกรองที่ใช้ถ้อยคำช่วยสร้าง ความรู้สึก และมีเนื้อหาสร้างสรรค์จินตนาการได้
5
อรรถวิจารณ์ เป็นการตีความ
วิจารณ์ตามเนื้อหาสาระและสรุปผล สรุปงานแล้วเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย
6
วิพากษ์วิจารณ์ เป็นการวิจารณ์เชิงตัดสิน
หรืออาจใช้ความรู้สึกชอบไม่ชอบ อาจใช้แบบอย่างที่ผ่านมาเป็นเครื่องวัด
7
ตัวอย่าง ประการที่หนึ่ง “ความสุขของกะทิ” เป็นวรรณกรรมที่มีข้อคิดที่ดีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การสอนให้มองโลกในแง่ดี และพอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ ซึ่ง ผู้เขียนได้พยายามสื่อความคิดนี้ออกมาผ่านตัวละครกะทิ ซึ่งเป็นตัวเอก ของเรื่อง โดยให้กะทิเป็นเด็กหญิงที่ถึงแม้จะเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ไม่ สมบูรณ์ แต่กะทิไม่เคยรู้สึกอ้างว้าง หรือขาดความรักจากคนรอบข้างแม้แต่ น้อย เนื่องจากกะทินั้นได้รับความรักและความเอาใจใส่จากตากับยายและ คนรอบข้าง หัวใจของกะทิเต็มเปี่ยมด้วยความสุข กะทิจึงไม่เคยคิด อยากจะไขว่คว้าความสุขจากสิ่งอื่นมาทดแทนความรักและความรู้สึกดี ๆ ที่คนรอบข้างคอยมอบให้เธอ ประการที่สอง วรรณกรรม “ความสุขของกะทิ” มีการใช้ภาษาที่เรียบง่าย แต่ให้ความรู้สึกซาบซึ้งและกระทบใจผู้อ่านได้เป็นอย่างดี มีการบรรยาย ฉาก และใช้โวหารเปรียบเทียบที่เห็นภาพชัดเจน นอกจากนี้วรรณกรรม เรื่องนี้ยังมีการสอดแทรกอารมณ์ขันไว้ในเรื่องอีกด้วย
8
ประการที่สาม “ความสุขของกะทิ” เป็นหนังสือที่ประสบความสำเร็จทั้ง ยอดขายและการประกวดรางวัล สามารถชนะรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ประเภทนวนิยาย ประจำปี 2549 และยังได้รับการ แปลเป็นภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา และกำลังจะทำเป็นภาพยนตร์ใน อนาคต จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นการยืนยันว่าวรรณกรรมเรื่องนี้มีคุณค่า และน่าสนใจนำมาศึกษา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.