งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือการวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือการวิจัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระ ครึกครื้นจิตร ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย
เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบทดสอบ แบบสังเกต เป็นต้น ต้องมีคุณภาพที่ดี คุณภาพของเครื่องมือวิจัยที่สำคัญๆ ได้แก่ ++ ความตรง (Validity) ++ ความเที่ยง หรือความเชื่อถือได้ (Reliability) + อำนาจจำแนก (Discrimination)

3 ความตรง ๒. ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-related validity)
หมายถึง ความถูกต้อง แม่นยำของเครื่องมือวิจัยที่วัดได้ในสิ่งที่ต้องการจะวัด(ตัวแปร) เช่น ต้องการวัดความพึงพอใจ ข้อคำถามของเครื่องมือ(แบบสอบถาม) ก็มุ่งแต่ประเด็นของความพึงพอใจเท่านั้น ความตรง มีหลายประเภท ดังนี้ ๑. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ๒. ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-related validity) ๓. ความตรงตามโครงสร้าง (Construct validity)

4 ความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามเนื้อหา เป็นการตรวจสอบว่าเครื่องมือวิจัย(แบบสอบถาม) วัดได้ตรงกับเนื้อหา หรือสาระของสิ่ง(ตัวแปร) ที่ต้องการจะวัด โดยทั่วไปจะให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ เป็นผู้ตรวจสอบว่าเนื้อหาของข้อคำถามในเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นมามีความสอดคล้องกับเนื้อหาตามทฤษฎีหรือไม่ จำนวนผู้เชี่ยวชาญยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่ที่นิยมกันมักใช้จำนวน ๓-๕ คน

5 การสรุปผลความตรงตามเนื้อหา โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหา(Item-Objective Congruence : IOC) สูตรคำนวณ IOC = ΣR/n โดยที่ R คือผลคูณของคะแนนความสอดคล้องกับจำนวน ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละระดับความสอดคล้อง n คือจำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินข้อคำถามใน ๓ ระดับ คือสอดคล้อง(๑ คะแนน) ไม่แน่ใจ(๐ คะแนน) และไม่สอดคล้อง(-๑ คะแนน) ค่า IOC มีค่าอยู่ระหว่าง -๑ ถึง ๑ ค่า IOC ควรมีค่าตั้งแต่ ๐.๕ ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่าค่านี้ข้อคำถามนี้ต้องปรับปรุงแก้ไข

6 ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์
เป็นการตรวจสอบว่าเครื่องมือวิจัยนั้นวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดได้แม่นยำถูกต้องหรือไม่ โดยดูจากความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากเครื่องมือวิจัย(แบบสอบถาม)กับคะแนนจากเกณฑ์ภายนอก มี ๒ แบบ ดังนี้ ๑. ความตรงตามสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน ( Concurrent validity) ๒. ความตรงตามการทำนาย (Predictive validity) สรุปผลจากการคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

7 ความตรงตามโครงสร้าง เป็นการตรวจสอบว่าเครื่องมือวิจัยนั้นวัดได้ถูกต้องแม่นยำ ครอบคลุม และครบถ้วนตามขอบเขตของความหมาย องค์ประกอบตามทฤษฎี การคำนวณมีได้หลายวิธี ดังนี้ ๑. วิธีเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ทราบค่า(Known group) ๒. วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis)

8 ความเที่ยง หรือความเชื่อถือได้
หมายถึง ความคงที่ของผลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือวิจัยชุดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาต่างกัน การหาค่าความเที่ยงมีการวัดหลายแบบด้วยกัน ดังนี้ ๑. การวัดความคงที่ (Measure of stability) ๒. การวัดความสมมูลกัน (Measure of equivalance) ๓. การวัดความสอดคล้องภายใน (Measure of internal consistency)

9 การวัดความคงที่ เป็นการนำเครื่องมือวิจัยไปวัดกับคนกลุ่มเดียวกัน สองครั้ง โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างกันพอสมควร เรียกวิธีนี้ว่า วิธีสอบซ้ำ(test-retest method) แล้วนำผลคะแนนที่ได้มาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน nΣxy - ΣxΣy สูตร rxy = ___________________ √[n Σx2­(Σx2)] [n Σy2­(Σy2)] โดยที่ rxy ก็คือค่าความเที่ยงนั่นเอง

10 การวัดความสมมูลกัน เป็นการนำเครื่องมือวิจัยที่มีความคล้ายกัน สองฉบับ หรือเรียกว่าแบบวัดคู่ขนาน(parallel test) มาใช้วัดกับคนกลุ่มเดียวกัน แล้วนำคะแนนผลการวัดทั้งสองฉบับมาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

11 การวัดความสอดคล้องภายใน
เป็นการวัดโดยใช้เครื่องมือวิจัยฉบับเดียว และวัดครั้งเดียว แล้วนำมาคำนวณค่าความเที่ยงด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ ๑. วิธีแบ่งครึ่ง(split-half method) โดยการนำเครื่องมือวิจัยทั้งฉบับมาแบ่งครึ่งจำนวนข้อคำถาม เช่น ส่วนข้อคี่ และส่วนข้อคู่ แล้วนำผลการวัดของทั้งส่วนมาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าที่ได้เป็นค่าความเที่ยงแค่ครึ่งฉบับ ต้องนำมาปรับเป็นทั้งฉบับจากสูตร rtt = 2rhh/(1+rhh)

12 ๒. วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน(kuder and richardson) ได้เสนอสูตรหาความเที่ยงไว้คือ สูตรที่ ๒๐ เรียกว่า K-R ๒๐ และ K-R ๒๑ โดยใช้กับเครื่องมือที่มีการตรวจให้คะแนน ๑ เมื่อตอบถูก และคะแนน ๐ เมื่อตอบผิด เช่นแบบวัดความรู้ สูตร K-R ๒๐ r = [n/(n-1)] [1-(Σpq/st2) โดยที่ r คือ ค่าความเที่ยง n คือ จำนวนข้อคำถามในแบบวัด p คือ สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกในแต่ละข้อ q คือ สัดส่วนของผู้ที่ตอบผิดในแต่ละข้อ st2 คือ ความแปรปรวนของคะแนนรวมของผู้ตอบทั้งหมด

13 ๓. วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา(ά Coefficient)คิดขึ้นโดย conbach
ใช้กับเครื่องมือวิจัย(แบบสอบถาม)ที่มีการวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่า(rating scale) เช่น เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ค่าความเที่ยงคำนวณได้จากสูตร ά = (n/n-1)(1-(Σбi2/ бt2)) โดยที่ ά คือสัมประสิทธิ์ความเที่ยง n คือจำนวนข้อของแบบสอบถาม бi2 คือความแปรปรวนของคะแนนของข้อคำถามรายข้อ бt2 คือความแปรปรวนของคะแนนของแบบสอบถามทั้งฉบับ

14 การสรุปผลค่าความเที่ยงนั้นต้องมีค่าตั้งแต่ ๐
การสรุปผลค่าความเที่ยงนั้นต้องมีค่าตั้งแต่ ๐.๘๐ ขึ้นไป ถ้าได้ค่าต่ำกว่านี้ต้องแก้ไข การปฎิบัติ โดยการนำเครื่องมือวิจัยไปทดลองใช้ อย่างน้อย ๓๐ ราย แล้วนำมาคำนวณค่าตามสูตร ปัจจุบันนิยมคำนวณโดยใช้โปรแกรม SPSS


ดาวน์โหลด ppt การตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google