งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลในการบริหารยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลในการบริหารยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลในการบริหารยา
บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ

2 วัตถุประสงค์ 1.สามารถนำความรู้เรื่องยาไปใช้ในการให้ยาผู้ป่วยได้ถูกต้อง
2.สามารถวิเคราะห์บทบาทขอบเขตความรับผิดชอบของการให้ยาได้ 3.สามารถให้คำแนะนำในการใช้ยาแก่ผู้รับบริการได้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ 4.สามารถสืบค้นข้อมูลเรื่องยาจากแหล่งข้อมูลได้

3 การให้ยา 6 ประการทุกครั้งคือ
Right drug                  ให้ยาถูกชนิดของยา Right dose                   ให้ยาถูกขนาด Right time                    ให้ยาถูกเวลา Right patient               ให้ยาถูกผู้ป่วย Right route                  ให้ยาถูกทาง Right technique          ให้ยาถูกเทคนิค

4 การบริหารยา ซักประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย ก่อนที่จะให้ยาและลงบันทึกไว้อย่างชัดเจน ประเมินภาวะของผู้ป่วยก่อนที่จะให้ยา เช่น การวัดความดันโลหิตผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ก่อนที่จะให้ยาที่จะมีผลทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนไป หรือการฟังเสียงการทำงานของปอดก่อนที่จะให้ยาขยายหลอดลม เป็นต้น เพื่อที่จะได้สังเกตอาการหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาได้ถูกต้อง สังเกตอาการก่อนและหลังการให้ยา

5 การให้ยาผู้ป่วยทุกครั้งมีหลักการปฏิบัติ
ขณะจัดยาต้อง บันทึกการให้ยา (medication record) หากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์ที่เป็นผู้สั่งแผนการรักษานั้น ขณะจัดยาต้องอ่านชื่อยา 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อจะหยิบขวดยา ครั้งที่สองขณะรินยาหรือหยิบยา และครั้งที่สามเมื่อวางขวดยา บริเวณที่จัดยาต้องสะอาด พยาบาลต้องมีสมาธิขณะที่เตรียมยาและให้ยาแก่ผู้ป่วย ถามชื่อผู้ป่วยก่อนที่จะให้ยาทุกครั้ง

6 การให้ยาผู้ป่วยทุกครั้งมีหลักการปฏิบัติ
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อหน้าพยาบาลไม่วางทิ้งไว้ข้างเตียง ลงบันทึกหลังจากที่ให้ยาแก่ผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาง่ายขึ้น เช่น กรณียาที่มีรสขม หรือรสเฝื่อนอาจจัดของเปรี้ยว หรือน้ำ ประเมินประสิทธิภาพของยาที่ให้ เช่น ยาแก้ปวดสามารถลดอาการปวดได้เพียงใด สังเกตอาการก่อนและหลังการให้ยา จัดเก็บยาให้ถูกต้องตามคำแนะนำ

7   ยาที่ใช้กิน

8    ยาที่ใช้ฉีด  (ยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง  เข้ากล้ามเนื้อเข้าหลอดเลือดดำ  เข้าข้อต่างๆ) ยาที่ใช้ภายนอก (ยาทา ยาดม ยาหยอด ยาล้างแผลหรือโพรงต่างๆของร่างกาย) ยาที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ได้แก่             ยาผง ยาแคปซูล  ยาเม็ดอัด ยาเม็ดเคลือบ                ยาเม็ดกลม 

9 ตัวย่อ คำเต็มภาษาละติน ความหมาย a.c. Ante cibum ก่อนอาหาร p.c. Post cibum หลังอาหาร b.i.d. Bis in die วันละ 2 ครั้ง q.i.d. Quaque in die วันละ 4 ครั้ง t.i.d. Ter in die วันละ 3 ครั้ง o.d. Ommi die วันละครั้ง h.s. Hora somni ก่อนนอน

10 เป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น
ตัวย่อ คำเต็มภาษาละติน ความหมาย p.r.n. Pro re nata เป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น q. Quaque ทุกๆ q. 2 h. Quaque 2 hora ทุก 2 ชั่วโมง q. 4 h. Quaque 4 hora ทุก 4 ชั่วโมง s.o.s. Si opus sit เมื่อจำเป็น Stat Statim ทันทีทันใด t.i.n. Ter in nocte คืนละ 3 ครั้ง

11 การให้ยาทางปาก

12 การให้ยาทางปาก

13

14 การหยอดตา และการป้ายตา

15     การให้ยาทางหู

16 การให้ยาทางจมูก

17 การให้ยาทางช่องคลอด รูปครีม เม็ด เจล โฟม ยาเหน็บ หรือสวน
การให้ยาทางทวารหนัก การให้ยาโดยการสวนเก็บ

18 การบริหารยา เมื่อ 5R เผชิญกับ 5R ระหว่างหลักการประกันความถูกต้องกับสิทธิที่ต้องประกัน 5R ที่สอง “Five Rights” นี้เป็นสิทธิ ของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ที่มุ่งผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

19 สิทธิตาม 5 R สิทธิที่จะได้รับการประเมิน
สิทธิที่จะได้รับการบันทึกเอกสารที่ ถูกต้อง เหมาะสม สิทธิที่จะได้รับข้อมูลและความรู้ สิทธิที่จะได้รับการประเมินผล สิทธิในการปฏิเสธที่จะไม่รับการรักษาพยาบาลที่ไม่ เหมาะสม

20 หลักการที่ 1 การประกันความถูกต้องด้านผู้ป่วย (Right patient/client)
หลักการที่ 2 การประกัน ความถูกต้องด้านยา (Right drug) หลักการที่ 3 การประกันความถูกต้องด้านขนาดยา (Right dose) หลักการที่ 4 การประกันความถูกต้องด้านเวลา (Right time) หลักการที่ 5 การประกันความถูกต้องด้านวิถีทางของการบริหารยา (Right route) หลักการที่ 6 การประกันความถูกต้องด้านเทคนิค (Right technique)


ดาวน์โหลด ppt ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลในการบริหารยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google