ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThaksincha Kurusatienkit ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
8311412 เทคโนโลยีไร้สาย Department of Informatics, Phuket Rajabhat University. THAILAND
2
การบรรยายครั้งที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสเปกตรัมคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า Department of Informatics, Phuket Rajabhat University. THAILAND
3
เทคโนโลยีไร้สายคืออะไร เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถที่จะส่งข้อมูลข่าวสารถึงกัน และกันได้ผ่านทางอากาศ โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ การส่งสัญญาณจะใช้เทคนิคการรวมข้อมูลข่าวสารเข้ากับคลื่น ความถี่วิทยุ (Radio Frequency, RF) เริ่มมีการใช้งานในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดย มาร์โคนี่ (G. Marconi) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีเป็นคนแรกที่ประสบความสำเร็จใน การส่งข้อมูลโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ
4
เทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีไร้สายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนิน ชีวิตประจำวันของเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตัวอย่างของ เทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ โทรทัศน์ (Television) โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) เครือข่ายไร้สาย (Wireless Network, Wi-Fi) วิทยุกระจายเสียง (Radio) รีโมตคอนโทรล (Remote Control)
5
เทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างของเทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ( ต่อ ) วิทยุสื่อสาร (Walkies-Talkies) ประตูอัตโนมัติ (Automatic Door) อินเตอร์คอม (Intercom) ฯลฯ
6
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นพลังงานที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แหล่งกำเนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น คลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ สร้างโดยมนุษย์ เข่น คลื่นวิทยุกระจายเสียง สัญญาณ โทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น
7
คุณลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวคลื่น (Wavelength) คือ ระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ลูกหนึ่งถึงยอดคลื่นอีกลูกหนึ่ง ที่อยู่ติดกัน แอมพลิจูด (Amplitude) คือ ความสูงของคลื่น ซึ่งจะเป็นตัว บอกความเข้มของสัญญาณ ถ้าคลื่นมีความสูงมากแสดงว่า มีความเข้มของสัญญาณมาก รอบคลื่น (Time of Period) หมายถึงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ ได้ครบหนึ่งวงกลมโดยนัย ความถี่ (Frequency) คือ จำนวนครั้งหรือจำนวนรอบต่อ วินาทีที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านไป
8
หน่วยวัดความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
9
หน่วยวัดรอบคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
10
ความสัมพันธ์กันของคุณลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวคลื่น (Wavelength) กับ ความถี่ (Frequency) มี ความกัน ถ้าความยาวคลื่นสูงจะมี ความถี่ต่ำ ถ้าความยาวคลื่นต่ำจะมี ความถี่สูง คลื่นความถี่วิทยุมีความยาว คลื่นสูงที่สุดดังนั้นจึงมีความถี่ ต่ำที่สุด จึงมีความเหมาะสมที่ จะนำมาใช้ในการสื่อสารบนผิว โลก
11
ความสัมพันธ์ของจำนวนรอบกับความถี่ของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า สามารถคำนวนได้ตามสูตร f = 1/P, P = 1/f โดยที่ f คือความถี่ของคลื่น (Hertz) P คือรอบคลื่น (Seconds) ตัวอย่างที่ 1 จงคำนวนหารอบ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของไฟฟ้า ที่ใช้กันภายในบ้านทั่วๆ ไปซึ่ง มีความถี่ 50 และ 60 Hz P = 1/50 = 0.0200 s = 20 ms P = 1/60 = 0.0166 s = 16.6 ms
12
ตัวอย่างที่ 2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีรอบคลื่นวัดได้ 100 ms จงหา ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้นมีความถี่กี่กิโลเฮริตซ์ 100 ms = 100 x 10 -3 s = 10 -1 s f = 1/P = 1/10 -1 Hz = 10 Hz = 10 x 10 -3 kHz = 10 -2 kHz ความสัมพันธ์ของจำนวนรอบกับความถี่ของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า
13
สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
14
คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความเร็วในการเดินทาง เท่ากับแสงคือประมาณ 3 x 10 8 เมตรต่อวินาที ในขณะที่คลื่นเดินทางผ่าน อากาศ คลื่นจะมีสัญญาณอ่อน ลงเนื่องจากเกิดกระบวนการ ดูดซับสัญญาณ (Absorption) เช่น มีการสัมผัสกับโมเลกุล ของอากาศ ไอน้ำ ความร้อน และสายฝน เป็นต้น คลื่นที่มีความถี่สูงสามารถ เดินทางไปในอากาศได้ ระยะทางสั้นกว่าคลื่นที่มี ความถี่ต่ำ ( ด้วยกำลังส่งที่ เท่ากัน )
15
คลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency, RF) เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความถี่ต่ำที่สุดในสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี
16
สเปกตรัมคลื่นความถี่วิทยุ
17
ITU (International Telecommunication Union, ไอทียู.) สหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ FCC (Federal Communication Commission, เอฟซีซี ) คณะกรรมการบริหารความถี่แห่งชาติสหรัฐอเมริกา NBTC (The National Broadcasting and Telecommunications Commission, กสทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (www.nbtc.go.th) องค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการคลื่นความถี่วิทยุ
18
Questions and Answers
19
Exercises 1
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.