ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยManiwan Sriwarunyu ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
สื่อกลางการสื่อสาร สื่อกลางแบบมีสาย 2. สื่อกลางแบบไร้สาย
2
1. สื่อกลางแบบมีสาย
3
1. สายโคแอกเชียล (Coaxcial Cable)
เป็นสายสัญญาณที่ประกอบด้วย ลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่นแล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่ง ข้อมูล 350 Mbps ระยะทาง 2-3 Mile
4
2. สายคู่ตีเกลียว (Twist Pair)
สายคู่ตีเกลียว แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก สายคู่ตีเกลียวสามารถส่งข้อมูลในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร และเนื่องจาก สายคู่ตีเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่าง คือ สายโทรศัพท์ สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ
5
สายคู่เกลียวบิดที่ใช้กับเครือข่าย LAN แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. STP (Shielded Twisted Pairs) สายคู่ตีเกลียวมี Shield 2. UTP (Unshielded Twisted Pairs) สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มี Shield
6
STP (Shielded Twisted Pairs)
สายคู่เกลียวบิดแบบมีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน มีส่วนที่ เพิ่มมาคือ ส่วนที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ซึ่งชั้นที่ป้องกันจะเป็นโลหะบาง ๆ หรือใยโลหะที่ถักเป็น ตาข่าย จุดประสงค์ของการเพิ่มชั้นห่อหุ้มเพื่อป้องกันการรบกวน จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุจากแหล่งต่าง ๆ
7
UTP (Unshielded Twisted Pairs)
เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เนื่องจากราคาถูก การใช้สายนี้ความยาวต้องไม่เกิน 100 เมตร โดยการเชื่อมต่อโดยใช้ Star Topology โดยต่อเข้ากับ หัวต่อสัญาณแบบ RJ-45 แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub สาย UTP มีหลายเกรด (Category) ถ้าในมารฐาน BASE T จะใช้สาย UTP CAT-5
8
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optical Cable )
Fiber Optics ลักษณะภายนอกจะเหมือนกับสาย โคแอกเชียล แต่โครงสร้างภายในจะเป็นใยแก้ว ส่งสัญญาณโดยใช้ลำแสง แทนไฟฟ้า สามารถส่งได้ไกลหลายกิโลเมตร สายใยแก้วนำแสงจะมี 2 ชนิด คือ 1. แบบส่งเป็นลำแสงตรง (Single Mode) 2. แบบส่งเป็นลำแสงสะท้อนหักเหภายในสาย (Multi Mode)
9
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
10
2. สื่อกลางแบบไร้สาย Wireless
11
เครือข่าย LAN ไร้สาย (Wireless LAN)
คือ เครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล เช่น ที่บ้านอาจเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องที่ทำหน้าที่ เชื่อมต่อผ่านโมเด็มได้จากทุกห้อง ในบ้าน เนื่องจากคลื่นวิทยุนี้มีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางต่างๆ ได้ดี
12
2.1 ระบบคลื่นไมโครเวฟ
14
มีอุปกรณ์ระบบทวนสัญญาณ (Repeater)
2.2 ดาวเทียม (Satellite) Up-link Down-link มีอุปกรณ์ระบบทวนสัญญาณ (Repeater)
15
ระบบดาวเทียม (Satellite System)
ใช้หลักการคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในส่วนของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายโดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ขั้นตอน คือ 1. การ Up-Link 2. ตรวจสอบสถานีปลายทาง Down-Link อัตราความเร็วในการส่ง 1-2 Mbps
16
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular)
จะอาศัยการส่งสัญญาณของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูล ประเทศไทยนำเข้ามาใช้ในราว ๆ ปี พ.ศ เป็นแบบอะนาล็อก หรือที่เรียกว่าระบบ 800
17
คลื่นวิทยุ (Radio Wave)
การใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อนำสัญญาณในการรับ-ส่งข้อมูล มีข้อดี คือ สามารถส่งได้รอบทิศทางโดยไม่ต้องใช้สาย คลื่นสามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางได้ จะมีปัญหากับการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่
18
อินฟราเรด (Infrared Wave)
คลื่นอินฟราเรดถูกนำไปใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ เช่น ในรีโมตคอนโทรลของทีวี วิทยุ เป็นต้น เพราะราคาถูก มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสะท้อนกลับวัตถุได้ ข้อเสีย มีพลังงานต่ำ และเดินทางในแนวเส้นตรง ไม่สามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางได้ และข้อจำกัดของแสง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.