งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อาหารเพื่อสุขภาพ การรับประมานอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพของเรา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อาหารเพื่อสุขภาพ การรับประมานอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพของเรา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อาหารเพื่อสุขภาพ การรับประมานอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพของเรา
เป็นการทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุดจากอาหาร ทำให้เรามีร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพดี มีความสุข

2 คุณค่าของสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

3 ประโยชน์ของอาหาร วิตามิน (Vitamin) ทำหน้าที่เป็นตัว Co=enzyme ช่วยให้เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังช่วยในการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ให้เป็นพลังงาน ช่วยในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ถ้าร่างกายขาดวิตามินจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เกลือแร่ (Mineral) ที่จำเป็นต่อร่างกายมี 16 ชนิด ช่วยในการเสริมฤทธิ์กับวิตามิน ช่วยให้ร่างกายทำงานตามปกติ ช่วยเร่งการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นพลังงาน ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่ ๆ เส้นใยอาหาร (Fiber) มีส่วนสำคัญต่อร่างกายในขบวนการย่อยอาหาร และช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่ให้พลังงานป้องกันอาการท้องผูก และท้องเสีย นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาล และคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด โปรตีน (Protein) ร่างกายย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยในการเสริมสร้างเซลล์ใหม่ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และยังให้พลังงานอีกด้วย

4 สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
วิตามินดี มีการวิจัยว่าการขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกเปราะ ซึ่งจะทำให้หลังค่อมในผู้สูงอายุ กระดูกแตก เปราะ ดังนั้น นมเป็นแหล่งวิตามินดีที่ดีที่สุด     ธาตุเหล็ก ผู้หญิงมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีการเสียเลือดทุกเดือน จากการมีรอบเดือน ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และหากได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ท่านจะมีอาการเหนื่อยง่าย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง อาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อแดง ปลา ธัญพืช ผักขม พืชกระกูลถั่ว และผักต่าง ๆ แต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกไทย มะเขือเทศ พืชจำพวกมะนาว กะหล่ำปลี และมันฝรั่ง     แคลเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำให้กระดูกแข็งแรง ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจะสูญเสียมวลกระดูก 1% ทุกปี ซึ่งนำไปสูงสาเหตุของการเป็นโรคกระดูกเปราะ แต่หากท่านรับประทานแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน และ 1,500 มิลลิกรัมหลังวัยหมดประจำเดือน ก็จะช่วยทดแทนมวลกระดูกที่เสียไปได้     นม เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด นมพร่องมันเนย 1 แก้ว ให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม นมเปรี้ยวพร่องมันเนย ปลาซาดีน ปลาแซลมอนติดกระดูกอ่อนก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม     ผัก ผลไม้ และธัญพืช อาหารเพื่อสุขภาพกลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งเพื่อป้องกัน และต่อสู้โรคร้าย ทุกวันนี้หลายท่านมีมุมมองในการรับประทานผักโดยคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ผักมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่รับประทานกันแพร่หลาย ผักพื้นบ้านที่เราไม่คุ้นเคย ขอแนะนำผักพื้นบ้านที่หารับประทานได้ไม่ยาก อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการป้องกัน และรักษาโรค

5 อาหารของผู้ป่วย ผู้ป่วยเป็นบุคคลที่จำเป็นต้องเลือก อาหารที่มีประโยชน์ในการรับประทาน ผู้ป่วยเป็นผู้ที่ต้องได้รับการดูแล เรื่องการรับประทานเป็นพิเศษ ควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่ต้านทานโรค ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่เรา ไม่ควรรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์เช่นอาหารขยะหรือ[Junk Food]

6 สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของชีวิต ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการให้คำแนะนำด้านสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายดังต่อไปนี้

7 อาหารที่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
สำหรับหลักการง่ายๆ ในการควบคุมอาหารทั่วๆไปได้แก่ ทุกมื้อในปริมาณใกล้เคียงกัน ไม่ทานจุกจิก         2. อาหารที่ควรงด ได้แก่ ขนมหวาน ขนมเชื่อม น้ำหวาน น้ำอัดลม นมหวาน เหล้า เบียร์ ผลไม้ที่ มีรสหวานจัด ผลไม้กระป๋อง ผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม         3. อาหารที่ควรควบคุมปริมาณ ได้แก่ อาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง , ขนมจีบ ส่วนผักที่มีน้ำตาลและแป้ง เช่นฟักทองหรือพวก ผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน ลำใย เป็นต้น         4. อาหารที่ควรรับประทาน ได้แก่ โปรตีน เช่น ไก่ , ปู ,ปลา , กุ้ง , เนื้อ , หมู และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว, เต้าหู้        1. ทานอาหารให้ตรงเวลาและทานครบนอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ข้าวซ้อมมือ , ถั่วฝักยาว , ถั่วแขก , ตลอดจนผักทุกชนิด         5. ในคนไข้เบาหวานที่อ้วนมากๆ ต้องเริ่มรักษาด้วยการควบคุมอาหาร เพื่อให้ลดน้ำหนัก ลงมาให้ ได้ก่อน ควรลดอาหารที่มีมันมากๆ หรืออาหารทอด ลดไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น กะทิ, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์ม

8 อาหารที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
        มะเร็งแม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่จากการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้จากประวัติ ของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ในวงการแพทย์จึงให้คำแนะนำว่า ท่านไม่ควรบริโภคอาหารที่อาจจะเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ดังนี้                1. อาหารที่ขึ้นราง่าย เช่นถั่วลิสงที่เรามาบดใส่ในก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ถ้าเก็บรักษาไม่ดี ไว้ในที่ชื้นๆจะทำให้เกิดเชื้อราที่มีสารพิษ ซึ่งทำให้สามารถเกิดโรคมะเร็งของตับได้                2. อาหารหมักที่ใช้ดินประสิว การหมักด้วยดินประสิวจะทำให้เนื้อสัตว์มีสีแดงน่ารับประทาน ถ้ารับประทานดินประสิวเข้าไปบ่อยๆ จะไปรวมกับสารอาหารบางอย่างในอาหารอื่นๆ ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งของตับและสมองได้                 3. อาหารที่มียาฆ่าแมลงติดค้างอยู่ เช่นพวกผักผลไม้ต่างๆ ต้องมีการแช่น้ำไว้ นาที หรือล้าง 2-3 ครั้ง ยาฆ่าแมลงบางอย่างอาจเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกาย ทำให้เกิดมะเร็งของกระเพาะอาหาร มะเร็งของตับและไตได้                4. อาหารที่ใส่สี ที่ไม่ได้ทำไว้สำหรับผสมอาหาร อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้          5. อาหารที่สุกเกินไปจากการทอดหรือย่าง มีลักษณะสีดำเหมือนถ่าน ซึ่งเชื่อกันว่ามีสารก่อมะเร็งอยู่ในส่วนที่ไหม้เกรียมนั้น           ดังนั้น ถ้าท่านหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ท่านจะได้รับสารที่อาจก่อมะเร็งเข้าไปในบริเวณร่างกายน้อยลง

9 อาหารผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือดประกอบด้วย   1. โคเลสเตอรอล     2.  ไตรกีเซร์ไรด์                     3. เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล ไขมันชนิดที่ไม่ดีก่อให้เกิดโรค คือ        1. โคเลสเตอรอล                 2. ไตรกลีเซอร์ไรด์              ไขมันชนิดที่ดีต่อต้านการเกิดโรค คือ  เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล โรคแทรกซ้อนของระดับไขมันในเลือดสูง        1. โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก เวลาออกกำลังกาย        2. อัมพาต แขนขาไม่มีแรงไปข้างใดข้างหนึ่ง เวียนศีรษะ บ้านหมุน        3. เส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณขาไม่พอ ทำให้เวลาเดินแล้วปวดน่อง        4. ตับอ่อนอักเสบ (ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง)

10 ระดับไขมันที่พึงประสงค์
        ระดับไขมันที่ดี ที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้น้อย คือ             1. ระดับโคเลสเตอรอลต่ำกว่า 200 มก./ดล.             2. ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ต่ำกว่า 200 มก./ดล.             3. ระดับเอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล สูงกว่า 50 มก./ดล.             4. อัตราส่วนโคเลสเตอรอล : เอ็ช ดี แอล ต่ำกว่า 4

11 วิธีควบคุมอาหาร    1.ลดจำนวนโคเลสเตอรอลในอาหาร ควรลดหรืองดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ ไข่แดง หอยนางรม สมองหมู ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์ โดยดูปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร              ควรงดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงมาก เช่นเกิน 100 มก./100 กรัม ในขณะเดียวกันอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่สูงมากนัก แต่รับประทานจำนวนมาก จะทำให้โคเลสเตอรอลในอาหารต่อวันสูงเกินไป เช่น เนื้อวัว 3 ขีด มีโคเลสเตอรอลทั้งหมด 185 มก. ดังนั้นผู้ที่มีระดับไขมันสูง ควรลดปริมาณเนื้อสัตว์ในอาหารลงด้วย เพื่อลดปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร โดยผู้ป่วยสามารถคำนวณปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารได้เอง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 300 มก./วัน ในขั้นที่ 1 และ 200 มก./วัน ในขั้นที่ 2         2. ลดไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันสัตว์ เช่น หมูสามชั้น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เป็นต้น ถ้าจะรับประทาน หมู เนื้อ ควรเลามันออกให้หมด ถ้ารับประทานไก่ควรเอาหนังออกให้หมด         3. การรับประทานเนื้อสัตว์นั้น ถึงแม้ว่าจะเลาะหนัง และมันออกแล้วยังมีมันปนอยู่ในเนื้อสัตว์จำนวนมากน้อยต่างกัน ควรพิจารณาเลือกเนื้อสัตว์นั้นด้วย                 ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน เนื้อไก่ไม่ติดมันมากกว่าเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ส่วนปลามีมากน้อยต่างกัน ปลาเนื้อขาวมีไขมันต่ำกว่า 5%         4. งดอาหารจำพวกกะทิ เนื่องจากเป็นกรดไขมันอิ่มตัว         5. เลือกใช้น้ำมันที่ถูกต้อง ควรใช้น้ำมันพืชที่ไม่ใช่น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันปาล์ม

12 โป้ยกั๊ก โป๊ยกั๊กเป็นผลของต้นโป๊ยกั๊ก ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง เมตร เปลือกไม้สีเทาจนถึงสีน้ำตาลอมแดง จะมีดอกออกตรงโคนใบ ก้านดอกยาว ซม. ดอกมีลักษณะกลม มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง 3 กลีบ กลีบดอกมีสีชมพูอ่อนๆไปจนถึงสีแดงเข้ม มี 6-9 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2-3 วง ต้นโป๊ยกั๊กชอบขึ้นในดินร่วนซุย ชอบอากาศชื้นและอบอุ่น มีทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่เพาะปลูกไว้ มีกระจายอยู่ในมณฑลต่างๆของจีน เช่น ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน กุ้ยโจว และไต้หวัน เป็นต้น เมื่อเก็บผลโป๊ยกั๊กมาแล้ว จะอบให้แห้งด้วยไฟอ่อนๆ หรือแช่ในน้ำเดือดสักครู่ รอจนผลกลายเป็นสีแดง แล้วจึงนำไปตากแห้ง ผลที่แห้งแล้วมักแตกเป็นแปดแฉก จึงได้ชื่อว่าโป๊ยกั๊ก

13 สรรพคุณ ในตำราการแพทย์จีนโบราณหลายเล่มได้กล่าวถึงสรรพคุณของโป๊ยกั๊กไว้ว่า ช่วยบำบัดอาการเย็นในร่างกาย ซึ่งอาจแสดงออกเป็นอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้ออึดอัดแน่นท้อง อาเจียน เพราะโป๊ยกั๊กจะออกฤทธิ์ขับความเย็นออกจากร่างกาย ฉะนั้นจึงได้ใช้โป๊ยกั๊กสำหรับแก้ปวด แก้อาเจียน บำบัดอาการปวดท้อง ท้องผูก ถ่ายปัสสาวะยาก นอกจากนั้นยังใช้แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว ซึ่งมีสูตรง่ายๆคือ คั่วโป๊ยกั๊กแล้วบดเป็นผง ใช้ประมาณ 10 กรัมชงกินกับเหล้า หรือชงใส่น้ำเกลือแกง กินก่อนอาหาร จะช่วยบำบัดอาการปวดเอวได้ ใช้ขับพิษ บำบัดโรคฟันและโรคในช่องปาก บำรุงไต ตับ โป๊ยกั๊กนอกจากใช้เป็นสมุนไพรบำบัดโรคแล้ว ยังเป็นเครื่องเทศสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้สำหรับการปรุงอาหารที่ต้องใช้เครื่องเทศ โดยเฉพาะอาหารประเภทพะโล้ สูตรอาหารง่ายๆก็เช่น ใช้เนื้อวัวสดครึ่งกิโลกรัม พร้อมด้วยเครื่องปรุงคือ ขิง กระเทียมโขลกแหลก พริกหอม เปลือกส้มแห้ง ซีอิ๊วดำ ซีอิ๊วขาว เกลือ และโป๊ยกั๊ก ปริมาณเครื่องปรุงกะประมาณเอาตามแต่ชอบ ส่วนโป๊ยกั๊กให้ใช้เพียงดอกเดียวก็พอ เอากระเทียมลงเจียว ใส่ขิง เปลือกส้มแห้ง และเนื้อวัวผัดให้ทั่วๆ จากนั้นจึงใส่พริกหอม โป๊ยกั๊ก ตามด้วยซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ และเกลือ เติมน้ำให้ท่วมเนื้อและเครื่องปรุง ต้มจนเดือด แล้วจึงค่อยหรี่ไฟให้อ่อนลง ต้มต่อไปจนเนื้อเปื่อยนุ่มและน้ำงวดแล้วก็เป็นอันใช้ได้ อาหารสูตรนี้มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างร่างกาย บำรุงเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร

14 อาหารที่ดีกับผิวพรรณ
เนื้อปลา เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ของร่างกายที่เสื่อมโทรม และยังมีเซเลเนียม ซึ่งเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความชราและความเสื่อมของร่างกาย น้ำมันมะกอก น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันจากพืชที่แม้จะมีแคลอรี่สูงก็จริง แต่มีข้อดีคือ มีกรดไขมันชนิดที่เป็นประโยชน์กับร่างกายสูง และเป็นไขมันชั้นดี ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและที่สำคัญในน้ำมันมะกอกยังประกอบด้วยวิตามินเอ และอี ที่เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ทำให้ผิวดูอ่อนวัยคงความชุ่มชื้นและเนียนนุ่ม เมล็ดข้าวและธัญพืช ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ด ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ งา นอกจากจะมีวิตามินบีสูงแล้ว ยังมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ซึ่งจะช่วยสร้างและรักษาความแข็งแรงของเซลล์ มีงานวิจัยระบุว่าวิตามินอี ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว และช่วยปกป้องความเสียหายที่เกิดจากมลภาวะให้แก่ผิว

15 ผลไม้และผักสด ผักสด มีวิตามินเอ ช่วยทำให้ผิวหนังไม่แห้ง และยังสดใสเปล่งปลั่งอยู่เสมอ และยังมีวิตามินซีซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเส้นใย คอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ผิวพรรณของใบหน้าดูเต่งตึง มีความยืดหยุ่น ผักสดและผลไม้ จึงควรเป็นอาหารที่คุณควรบรรจุไว้ในเมนูอาหารทุกมื้อของคุณ ผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก ได้แก่ ส้ม มะนาว มะเขือเทศสับปะรด ฝรั่ง ส่วนผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอมาก ได้แก่ กล้วย มะละกอ ฟักทอง แครอท น้ำเปล่า น้ำทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับทุกระบบภายในร่างกาย และหากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้ผิวพรรณไม่สดใส การดื่มน้ำวันละ6-8 แก้วโต ๆ เป็นวิธีที่ทำให้ผิวผ่อง แบบไม่ต้องลงทุนมาก เพราะน้ำจะช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และยังป้องกันผิวหย่อนยานจากการลดน้ำหนักอย่างอวบฮาบอีกด้วย ตัวอย่างเมนูอาหารเพื่อผิวผ่อง มื้อเช้า : สลัดผลไม้ราดด้วยโยเกิร์ตหรือสลัดผักสดกับน้ำสลัดใส มื้อเที่ยง : ปลาจาระเม็ดนึ่ง แกงเลียง ข้าวกล้อง มื้อว่าง : นมถั่วเหลือง หรือน้ำผลไม้คั้นสด ๆ มื้อเย็น : ลาบเห็ด ซุบเต้าหู้ ข้าวกล้อง

16 การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
ร่างกายต้องใช้พลังงานในการเดิน กิน หรือทำสิ่งต่างๆพลังงานเหล่านี้ได้มาจากการเผาผลาญพลังงาน ที่ถูกสร้างขึ้นจากน้ำตาลและไขมัน โดยใช้ออกซิเจนจากอากาศ ที่เราหายใจเข้าไป เรียกว่า ปฏิกิริยาออกซิ เดชั่น การเผาไหม้ที่เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ และก่อให้เกิดโมเลกุลที่ไม่เสถียร ซึ่งหลุดลอดมาจากไมโตคอนเด รีย(เป็นแหล่งสร้างพลังงานในเซลล์) ซึ่งเรียกว่า “ อนุมูลอิสระ”               อนุมูลอิสระ คือ โมเลกุลออกซิเจนที่ขาดอิเล็กตรอนไป 1ตัว (มีประจุลบ) อนุมูลอิสระจะเข้าทำปฏิกิริยากับอะตอมหรือโมเลกุลอื่น เพื่อแย่งอิเล็กตรอนเพื่อให้ตัวเองเสถียร และทำให้โมเลกุลที่เสถียรอยู่แล้วกลายเป็นอนุมูลอิสระเสียเอง อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายคุณภาพของเซลล์และก่อให้เกิดโรคต่างๆ (โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ต้อกระจก อัลไซ เมอร์ มะเร็ง) อนุมูลอิสระ คือต้นตอของความชรา ไม่ว่าจะเป็นการเสื่อมของข้อ ผิวหนังแห้ง (เหี่ยวย่นและจุดด่างดำ) เนื้อเยื่อกล้ามเนื้ออ่อนแรง และสัญญาณของอาการต่างๆ ที่แสดงถึงความชรา             อนุมูลอิสระถูกสร้างขึ้นโดยธรรมชาติจากการ ทำกิจกรรมประจำวัน แต่มีปัจจัยภายนอก เชน ควันที่เกิดจากการไหม้ สารเคมี รังสีแม่เหล็ก ยาฆ่าแมลง ยาสูบ แอลกอฮอล์ รังสีจากแสงแดด มลภาวะ คลอรีน โอโซน และยาต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการรับประทานอาหารมากเกินควรและวิถีชีวิตที่ขาดสมดุล

17 สารต้านอนุมูลอิสระแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
สารปกป้อง มีบทบาทในการทำลายโมเลกุลที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ สารทำหน้าที่ในการขับสารพิษ เป็นตัวขับสารพิษประเภท Superoxide Dismutease ยับยั้งปฏิกิริยา เพื่อทำหน้าที่กำจัดสารก่อมะเร็ง สารทำหน้าที่ขับสารพิษโดยอ้อม เป็นสารที่ร่างกายได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป มีบทบาทในการำจัดสารอนุมูลอิสระบางอย่างที่ต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระ

18 แนวทางในการเลือกอาหาร
หลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตแปรรูป เช่น น้ำตาลขาว ข้าวขัดขาว เป็นต้น รับประทานอาหารสดและมาจากธรรมชาติ รับประทานคาร์โบไฮเดรตให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย งดดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รับประทานปลาที่มีไขมันปลาสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว รับประทานโปรตีนทุกมื้อ โดยเฉพาะโปรตีนจากปลา

19 อาหารที่อุดมไปด้วยโอ เมก้า 3 และโอ เมก้า 6
น้ำมันจากเมล็ดน้ำเต้า ใช้รักษาปัญหาที่เกิดขึ้นในต่อมลูกหมาก (โอ เมก้า 6 ) -น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย   ช่วยป้องกันโรคหัวใจ(โอ เมก้า 3) - อิฟนิ่งพรีม โรส   ลดระดับคอ เรสเตอรอลและช่วยลดอาการผิดปกติในผู้หญิงวัยใกล้หมด   ประจำเดือน(โอ เมก้า 6 ) -น้ำมันคาเพลิน   ช่วยป้องกันหลอดเลือด(โอ เมก้า 3)

20 นาย ศิวนัส จันทร์พิสุทธิ์กุล ม.6.4 เลขที่ 36
นาย ศิวนนท์ จันทร์พิสุทธิ์กุล ม.6.4 เลขที่ 37


ดาวน์โหลด ppt อาหารเพื่อสุขภาพ การรับประมานอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพของเรา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google