ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยWila Patalung ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
หลักละทฤษฎีกฎหมายอาญา เรื่อง เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย โดย
หลักละทฤษฎีกฎหมายอาญา เรื่อง เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย โดย รศ.อัจฉรียา ชูตินันทน์
2
เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย
เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่นอกโครงสร้างความผิดอาญา ไม่เกี่ยวข้องกับข้อสาระสำคัญทั้ง ๓ ประการ อันได้แก่ การกระทำที่ครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ ความผิดกฎหมาย และการกระทำที่มีความชั่ว เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย เป็นคำที่ใช้ในประมวลกฎหมายเยอรมนี แต่ในประมวลกฎหมายอาญาของไทย เรียกว่า “เหตุลักษณะคดี”
3
๑. ความหมายของเงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย คือ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ”การกระทำ”ของผู้กระทำที่เป็นความผิดอาญา ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่อยู่ในข้อสาระสำคัญทั้งสามประการของโครงสร้างความผิดอาญา ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวข้องกับเจตนาหรือประมาท
4
๒. ประเภทของเงื่อนไขของการลงโทษทางภาวะวิสัย (๑) เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยที่แท้ เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยที่แท้ เป็นเงื่อนไขที่มีข้อจำกัดในการลงโทษโดยจะลงโทษผู้กระทำความผิดได้นั้นต้องมี “เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย” อาทิ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้แทนของรัฐต่างประเทศ ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติตามหน้าที่
5
๒) เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยไม่แท้ เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยไม่แท้ มีจุดมุ่งหมาย ที่จะเป็นเหตุให้ลงโทษกันอาทิ ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้ หรือมีจุดมุ่งหมายที่เป็นเหตุเพิ่มโทษให้หนักขึ้นอีกสำหรับความผิดนั้น อาทิ ความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีอาวุธ ความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน
6
๓. การบังคับใช้เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำต้องรู้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่นอกโครงสร้างความผิดอาญา จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเจตนาหรือประมาท ฉะนั้น เจตนาหรือประมาทจึงไม่มีความสำคัญต่อเรื่องการลงโทษ ดังนั้น จึงมีผลตามกฎหมายดังนี้ (๑) ความสำคัญผิดเกี่ยวกับ “เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย” ย่อมไม่มีผลใดๆตามกฎหมาย
7
(๒) เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิด เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยจึงใช้กับผู้กระทำความผิดทุกคน (๓) เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ในมาตรา ๒ และเมื่อเงื่อนไขแห่งการลงทาทางภาวะวิสัยเป็นกฎหมายอาญาสารบัญญัติ จึงต้องนำหลัก”ยกประโยชน์แห่งความสงสัย” (in dubio pro reo) มาใช้กับผู้กระทำความผิดด้วย หรือเรียกว่า “หลักการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย” ดังนั้น หากสงสัยว่ากรณีใดกรณีหนึ่งมีเงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัยหรือไม่ ต้องถือว่ากรณีนั้นมีเงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.