ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การประเมินโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย
จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน และคณะ
2
ประเด็นสำคัญในการประเมิน
เป้าหมายในการประเมินคืออะไร จะประเมินอะไร ค่าพารามิเตอร์ของเครื่องประเมินอย่างไร ใครเป็นผู้ประเมิน
3
เป้าหมายในการประเมิน
เพื่อคัดกรอง การคัดกรองจะช่วยในการแยกผู้ที่มีแนวโน้ม จะป่วย เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ ดังนั้น แบบประเมินเพื่อการคัดกรอง ควรต้องพิจารณา - Criterion validity - Cut off score - Sensitivity - Specificity
4
เป้าหมายในการประเมิน
เพื่อวินิจฉัยและจำแนก เครื่องมือที่สามารถวินิจฉัยและจำแนกโรคซึมเศร้านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อนำมาใช้ทดแทน Clinical diagnostic interviews ซึ่งเครื่องมือนี้จำเป็นจะต้องมีความแม่นยำ (Accuracy) ความเที่ยง (Reliability) และความตรง (Validity) เนื่องจากผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและแยกโรคแล้วจะต้องได้รับการบำบัดรักษาและติดตามต่อเนื่อง
5
เป้าหมายในการประเมิน
เพื่อบรรยายอาการและประเมินอาการ มีเครื่องมือหรือแบบประเมินบางชนิดที่สามารถจำแนกอาการ ความรุนแรง และวัดความถี่ของอาการ เพื่อจะให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลในกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยเฉพาะ และความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ซึ่งพบบ่อยว่า มักจะเป็นเป้าหมายของการประเมินทั้งทางคลินิกและการวิจัยโดยเฉพาะประเมินความสำเร็จในการรักษา ด้วยเป้าหมายเช่นนี้ เครื่องมือที่จะนำมาใช้ความพิจารณาในเรื่อง ความเที่ยง (Reliability) ของเครื่องมือเป็นสำคัญ
6
เป้าหมายในการประเมิน
ทดสอบสมมุติฐานทางคลินิก และ Case formulation ในการรักษาทางสังคมจิตใจผู้ป่วยซึมเศร้าจำเป็นต้องมี Case formulation ที่แม่นยำ ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุ หน้าที่ และปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับอาการสำคัญของผู้ป่วย (Nezu 1997) ปัจจัยด้านความคิด อารมณ์ พฤติกรรม สังคมหรือทางชีววิทยา อาจเชื่อมโยงกับอาการเจ็บป่วย
7
เป้าหมายในการประเมิน
เพื่อการวางแผนการรักษา เครื่องมือในการประเมินบางอย่างจะช่วยในการวางแผนการรักษา เช่น ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วย Cognitive behavioral Therapy (CBT) จะต้องมีการประเมินระบบความคิดของผู้ป่วยเพื่อดูว่า มี Cognitive distortion มากน้อยรุนแรงแค่ไหน โดยใช้ Automatic though questionnaire (Kendell 1989) เป็นต้น บางครั้งผลที่ได้สามารถคาดทำนายผลการรักษาหรือช่วยในการเลือกวิธีการรักษา (Nezu1996)
8
จะประเมินใคร ควรเลือกแบบประเมินให้เหมาะสมกับกลุ่มที่จะประเมิน ในกลุ่มที่มีความแตกต่างของวัฒนธรรมและเชื้อชาติหรือภูมิภาค อาจจะต้องมีแบบประเมินที่พัฒนาเฉพาะ เนื่องจากมีการวิจัยที่พบว่าการแสดงออกของภาวะซึมเศร้ามีความแตกต่างกันในบางวัฒนธรรม (Kaiser 1998)
9
ค่าพารามิเตอร์เป็นอย่างไร
ค่าพารามิเตอร์หลักๆที่จะต้องพิจารณาได้แก่ ค่าความแม่นยำ (Accuracy) ค่าความเที่ยง (Reliability) ค่าความตรง (Validity) ค่าความไว (Sensitivity) ค่าความจำเพาะ (Specificity)
10
ใครเป็นผู้ประเมิน Self-report measures ผู้ป่วยหรือผู้ที่ถูกประเมินเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งผลที่ได้จะค่อนข้างเป็นความคิด ความรู้สึกของผู้ตอบ ความแม่นยำอาจจะเสียไปบ้าง แต่มีประโยชน์ที่ใช้ง่ายและสามารถประเมินในกลุ่มคนจำนวนมากในเวลาอันสั้น อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย มักจะใช้ในการสำรวจหรือในกรณีที่ต้องการค้นหาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า Clinician-rated measures ผู้ถูกประเมินจะเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จากการสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ (structural interview) ตามหัวข้อที่มีในแบบประเมิน โดยแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับการอบรมการใช้แบบประเมินมาอย่างดีแล้ว
11
คุณสมบัติของแบบประเมิน
ความแม่นตรง ค่าความไว (Sensitivity) ความแม่นตรงของแบบประเมิน โดยทั่วไปแบบประเมินทางคลินิก คือ การใช้แบบประเมินแล้วสามารถระบุคนที่ป่วยจริงได้ว่า ป่วย (True positive) และระบุคนที่ไม่ป่วยว่า ไม่ป่วย (True negative) โดยเรียกค่าที่บ่งบอกความสามารถของเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยแยกโรคได้ถูกต้องเมื่อเทียบกับคนที่ป่วยเป็นโรคทั้งหมดจากความเป็นจริง ค่าความจำเพาะ (Specificity) เป็นค่าที่บ่งบอกความสามารถของเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยแยกคนที่ไม่ป่วยได้ถูกต้องเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ป่วยทั้งหมดจากความเป็นจริง
12
คุณสมบัติของแบบประเมิน
ภาษาที่ใช้ในแบบวัด สำนวนภาษาที่ใช้อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดซึ่งจะส่งผลต่อค่าความเชื่อมั่นและความแม่นตรงของการประเมิน เนื่องจากคนต่างวัฒนธรรมอาจมีการตอบสนองต่อคำบางคำต่างกัน หรือตอบสนองต่อคำถามทางบวกและลบต่างกัน ดังนั้นการพิจารณาใช้แบบวัดข้ามวัฒนธรรมนอกจากพิจารณาเปรียบเทียบจุดตัดแล้ว ควรตรวจสอบสำนวนภาษาที่ใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมนั้นๆด้วย โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างในการเลือกตอบเป็นรายข้อ (Iwata et al. 1998)
13
คุณสมบัติของแบบประเมิน
องค์ประกอบหรือมิติของแบบวัด เป็นตัวบอกว่า โครงสร้างของแบบวัดประกอบด้วยมิติใดบ้าง ซึ่งถ้าเราสามารถทราบองค์ประกอบของแบบวัดเราจะสามารถเลือกใช้แบบวัดได้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่เราต้องการ แต่ที่พบว่ามักจะมีปัญหาคือ ส่วนใหญ่แล้วการศึกษาที่วิเคราะห์ตรวจสอบองค์ประกอบในแบบวัดต้นฉบับมักจะไม่สอดคล้องกับฉบับที่แปลเป็นไทยมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต่างทางขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและภาษา ดังนั้นหากจะนำแบบวัดไปใช้โดยเลือกเพียงบางองค์ประกอบอาจทำให้ขาดความแม่นตรงได้
14
คุณสมบัติของแบบประเมิน
มาตราส่วนในการประเมิน (Response format) เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่ต้องพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากเครื่องมือบางชนิดประเมินความบ่อยของการเกิดอาการแตกต่างกัน
15
แบบประเมินโรคซึมเศร้าของไทย
การคัดกรอง Thai Version of the Beck depression inventory (BDI) Zung self rating depression scale (SDS) Center for Epidemiological Studies Depression Scale (CES-D) Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (THADS) Health-Relate Set-Reported (HRSR) Scale: The Diagnosis Screening Test for Depression in Thai Population) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย Khon Kaen University depression inventory (KKU-DI) การสร้างเครื่องมือเผ้าระวังการฆ่าตัวตายในชุมชนเขตภาคใต้ตอนบน
16
แบบประเมินโรคซึมเศร้าของไทย
การจำแนก/วินิจฉัยโรค การวินิจฉัยโรคด้วย Mini International Neuropsychiatric Interview :M.I.N.I. เพื่อบรรยายอาการและประเมินอาการ Hamilton rating scale for depression (HRSD-17) Thai depression inventory (TDI) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale) เพื่อประเมินผลลัพธ์ Montgomery-Asberg Depression Rating Scale (MADRS)
17
แบบประเมินโรคซึมเศร้าของเรา
ภาษาอีสาน แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม (2 Q) แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9 Q) 2 Q แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าที่สั้นที่สุด ง่าย มีความไวในการคัดกรองโรคซึมเศร้า 9 Q เป็นเครื่องมือที่มีความแม่นยำสูงในการบ่งชี้และจำแนกความรุนแรงของโรคซึมเศร้า ที่จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาและสอดคล้องกับบริบทของวัฒนธรรมชาวอีสาน ใช้ง่าย สั้นและบุคลากรทางสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าได้ แบบประเมินการฆ่าตัวตาย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.