งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาสังคม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาสังคม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาสังคม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

2 บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาสังคม
บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาสังคม ความหมายของการพัฒนา ความหมายของการพัฒนาสังคม ความสำคัญของการพัฒนาสังคม ประวัติศาสตร์การพัฒนาสังคม

3 ความหมายของการพัฒนา “การพัฒนา” เป็นคำที่ถูกจุดประกายขึ้นและใช้กันกว้างขวางภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ ประธานาธิบดีแฮรี เอส. ทรูแมน แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศเป็นครั้งแรกว่า “ประเทศต่าง ๆ ทางซีกโลกทางใต้นั้นเป็นเขตด้อยพัฒนา (underdeveloped areas) ” ความหมายของการพัฒนาผูกติดอยู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งช่วงปี ค.ศ เริ่มมีการตระหนักถึงปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นควบคู่กับการเติบโต และการถกเถียงเรื่องความหมายของการพัฒนาขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1980

4 ภูมิหลัง ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการสร้างเอกลักษณ์/ ตัวตนชนิดหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า “ความด้อยพัฒนา” (Underdevelopment)ในฐานะที่เป็นความเป็นอื่น/ เป็นคู่ตรงข้ามของ “การพัฒนา” ด้วยการผูกขาดรูปแบบ/ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสังคมว่ามีเพียงแบบเดียวคือ แบบทันสมัย(Modernization) อย่างตะวันตก(Westernization) วาทกรรมการพัฒนาแห่งยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ได้ทำหน้าที่เก็บกด/ ปิดกั้น/ กดทับ/ แทนที่/ สวมรอยวัฒนธรรมท้องถิ่น/ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในประเทศโลกที่ 3 ภายใต้เอกลักษณ์/ ตัวตน ที่เรียกว่า “ความด้อยพัฒนา”

5 ก่อนหน้ายุคแห่งการพัฒนา ไม่ปรากฏว่ามีการจัดแบ่งประเทศออกเป็น “ประเทศพัฒนา” กับ “ประเทศด้อยพัฒนา” หรือ “ประเทศโลกที่ 3” แต่อย่างใด จะมีก็แต่ประเทศยากจน (แต่ไม่จำเป็นต้อง “ด้อยพัฒนา”) ดังนั้น จึงพบว่า การจัดประเภทของประเทศ (catigorization) ออกเป็น “ประเทศพัฒนา” และ ”ประเทศด้อยพัฒนา” หรือ “ประเทศโลกที่ 3” มิใช่เป็นการจัดแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ แต่เป็นการจัดแบ่งตามความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

6 ปัจจุบันนี้คำว่า “การพัฒนา” ที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีหลายความหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบท อันได้แก่ บุคคล สถานการณ์ และเวลา นั่นย่อมหมายความว่า เมื่อใดก็ตามที่เงื่อนไขของบุคคล สถานการณ์และเวลาเปลี่ยนไป ความหมายของการพัฒนาก็มักมีการเปลี่ยนแปลง/ เลื่อนไหลไปตามบริบททางสังคม

7 ความหมายของการพัฒนาสังคม
นักคิดอย่าง R. P.Misra ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “ความพยายามที่จะสร้างกรอบการอธิบายคำว่า “การพัฒนาสังคม” เป็นเรื่องที่ยาก ทั้งนี้เนื่องจาก การพัฒนาโดยธรรมชาติไม่อาจกำหนดนิยามเชิงสังคมวัฒนธรรม หรือนิยาม ในเชิงคุณภาพของชีวิตมนุษย์ได้อย่างชัดเจน” ความหมายของการพัฒนาในยุคแรก ๆ มักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่จึงลงความเห็นกันว่า “การพัฒนา” หมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจ(economics development) โดยเฉพาะ ในความหมายของ การพัฒนากระแสหลัก ที่ถือเอาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลัก

8 การพัฒนาสังคม (social development) แตกต่างจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (growth)
แม้ว่าในระยะแรกนั้นเป้าหมายของการพัฒนาจะให้น้ำหนักอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักก็ตาม ในเวลาต่อมาในการวางแผนพัฒนาสังคมได้หันมาให้ความสำคัญในเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องการเมือง ทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมุ่งหวังทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอีกด้วย ในแง่นี้ความหมายของการพัฒนาจึงครอบคลุมหลายมิติ

9 ความสำคัญของการพัฒนาสังคม
การพัฒนามักจะเกิดควบคู่มากับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยเฉพาะ ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ด้วยเหตุดังกล่าวความหมายของการพัฒนาในยุคแรก ๆ จึงมักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่จึงลงความเห็นกันว่า “การพัฒนา” หมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจ (economics development) โดยเฉพาะในความหมายของการพัฒนากระแสหลัก ที่ถือเอาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลัก ส่วนปัญหาเรื่องความยากจน การกระจายผลผลิต หรือความเจริญที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ถือเป็นเรื่องรอง

10 ในการวิเคราะห์ของ Cleveland และ Jacops การพัฒนาสังคมเป็นเรื่องเกี่ยวกับศักยภาพของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สังคม ดังนั้นการพัฒนาสังคมจึงเป็นเรื่องของความใฝ่ฝัน ความคิด และการตื่นตัวของมนุษย์ในสังคม ซึ่งพาดพิงไปถึงมิติต่าง ๆ เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม อุดมการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม กฎระเบียบ บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม ความรู้ การศึกษา สถาบันเศรษฐกิจการเมือง สังคม ไปจนถึงศาสนา และจิตวิญญาณ

11 ประวัติศาสตร์การพัฒนาสังคม
การพัฒนาเป็นแนวคิดที่มีกำเนิดมาจากตะวันตก และมีอิทธิพลครอบงำการกำหนดนโยบายการพัฒนาในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สาม ประวัติศาสตร์ความคิดว่าด้วยการพัฒนามีจุดเริ่มต้น และการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ ตั้งแต่การเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มาเป็นการกระจาย ความเติบโตทางเศรษฐกิจ ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน จนมาถึงการเน้นในตัวมนุษย์และการมีชีวิตอย่างยั่งยืนร่วมกับธรรมชาติ โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงทางความคิดว่าด้วยการพัฒนา

12 แนวคิดการพัฒนายุคเริ่มต้นตามความเชื่อของกลุ่มโลกเสรี เห็นว่า การคุกคามของ “ลัทธิคอมมิวนิสต์” ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ จึงต้องการปกป้องโลกเสรีด้วยการเผยแพร่แนวคิด “การพัฒนา” ไปยังประเทศโลกที่สาม โดยการโฆษณาชวนเชื่อว่า การพัฒนามีบทบาทสำคัญในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ พร้อมกันนั้นก็ได้ผนวกเอาประเทศโลกที่สามเข้ามาอยู่ในวงจรเศรษฐกิจทุนนิยม ในฐานะประเทศบริวารที่ต้องพึ่งพาประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ แนวความคิดดังกล่าวได้ทำให้ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายตกอยู่ในฐานะเป็น “รัฐกันชน” ระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์

13 จะเห็นได้ว่า ก่อนหน้ายุคแห่งการพัฒนา ไม่ปรากฏว่ามีการจัดแบ่งประเทศออกเป็น “ประเทศพัฒนา” กับ “ประเทศด้อยพัฒนา” หรือ “ประเทศโลกที่สาม” แต่อย่างใด จะมีก็แต่ประเทศยากจน (แต่ไม่จำเป็นต้องด้อยพัฒนา) ดังนั้นจึงพบว่า การจัดประเภทของประเทศ (categorization) ออกเป็น “ประเทศพัฒนา” และ “ประเทศด้อยพัฒนา” หรือ “ประเทศโลกที่สาม” มิใช่การจัดแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ แต่เป็นการจัดแบ่งตามความสัมพันธ์ เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียม

14 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสร้างเอกลักษณ์/ ตัวตนชนิดหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า “ความด้อยพัฒนา” (underdevelopment) ในฐานะที่เป็น “ความเป็นอื่น” หรือเป็นคู่ตรงข้ามของ ”การพัฒนา“ ด้วยการผูกขาดรูปแบบ/ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสังคมว่า มีแบบเดียว คือ ตะวันตก จะเห็นได้ว่า วาทกรรมการพัฒนาแห่งยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะทำหน้าที่เก็บกด/ ปิดกั้น/ กดทับ/ แทนที่/ สวมรอยวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในประเทศโลกที่สาม ภายใต้เอกลักษณ์/ ตัวตน ที่เรียกว่า “ความด้อยพัฒนา”

15 ปรีชา เปี่ยมพงษ์สานต์ ได้สรุปไว้ว่า
การพัฒนาสังคม ได้เกิดขึ้นแล้ว 2 ครั้ง ในกระบวนการทางประวัติศาสตร์ โดยครั้งแรกเมื่อมีการปรับเปลี่ยนจากเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรมในยุโรป (ศตวรรษที่ 18/ 19) และครั้งที่สองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการ “พัฒนา” ประเทศที่ถูกเรียกว่า “ด้อยพัฒนา” (ค.ศ.1945 – ปัจจุบัน)


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาสังคม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google