ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รสวรรณกรรมสันสกฤต ๙ รส
2
รสวรรณคดีสันสกฤต มีปรากฏใน ตำรานาฏยศาสตร์ (นาฏยเวท) ของพระภรตมุนี ซึ่งกล่าวถึงคุณสมบัติของตัวละครสันสกฤตที่ดีกว่า ต้องประกอบด้วยรส 9 รส คือ ศฤงคารรส หาสยรส กรุณารส รุทรรส วีรรส ภยานกรส พีภัตสรส อัพภูตรสและศานติรส โดยมีรายละเอียดดังนี้
3
รสแห่งวรรณคดี ๙ รส ในสันสกฤต
๑. ศฤงคารรส ( รติรส ) หมายถึง รสแห่งความรัก (เสาวรจนี นารีปราโมทย์ ) ๒. หาสยรส หมายถึง รสแห่งความขบขัน ( เสาวรจนี ) ๓. กรุณารส หมายถึง รสแห่งความสงสาร โศกเศร้า (สัลลาปังคพิสัย ) ๔. รุทธรส หมายถึง รสโกรธ ไม่พอใจ ผิดใจ (พิโรธวาทัง ) ๕. วีรรส หมายถึง รสแห่งความกล้าหาญ ( เสาวรจนี สัลลาปังคพิสัย ) ๖. ภยานกรส หมายถึง รสแห่งความกลัว สะดุ้ง ( สัลลาปังคพิสัย ) ๗. วิภัจฉรส หมายถึง รสที่ก่อให้เกิดความเกลียด ขยะแขยง ( พิโรธวาทัง ) ๘. อัพภูตรส หมายถึง รสแห่งความอัศจรรย์ใจ ตื่นเต้น ( เสาวรจนี ) ๙. ศานติรส หมายถึง รสแห่งความสงบ บริสุทธิ์ ( เสาวรจนี)
4
ศฤงคารรส (รสแห่งความรัก)
ศฤงคารรส (รสแห่งความรัก) เป็นการพรรณนาความรักระหว่างหนุ่มสาวระหว่างสามี ภรรยา ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย บิดามารดากับบุตร ญาติกับญาติ ฯลฯ สามารถทำให้ผู้อ่าน พอใจรัก เห็นคุณค่าของความรักนึกอยากรักกับเขาบ้างเช่น รักฉันชู้สาว รักหมู่คณะ รักประเทศชาติ เป็นต้น อย่างเช่น เรื่องลิลิตพระลอ เต็มไปด้วยรสรัก (บาลี เรียกรสนี้ว่า รติรส)
5
หาสยรส (รสแห่งความขบขัน)
หาสยรส (รสแห่งความขบขัน) เป็นการพรรณนาที่ทำให้เกิดความร่าเริง สดชื่น เสนาะ ขบขัน อาจทำให้ผู้อ่าน ผู้ดูยิ้มกับหนังสือ ยิ้มกับภาพที่เห็น ถึงกับลืมทุกข์ดับกลุ้มไปชั่วขณะ เช่น เรื่องระเด่นลันได เป็นต้น (บาลีเรียกรสนี้ว่า หาสะรส)
6
กรุณารส ( รสแห่งความเมตตากรุณาที่เกิดภายหลังความเศร้าโศก )
กรุณารส ( รสแห่งความเมตตากรุณาที่เกิดภายหลังความเศร้าโศก ) เป็นบทพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่านหดหู่เหี่ยวแห้ง เกิดความเห็นใจถึงกับน้ำตาไหล พลอยเป็นทุกข์ เอาใจช่วยตัวละคร เช่น เห็นใจนางสีดา เห็นใจจรกา และเห็นใจนางวันทอง เป็นต้น (บาลีเรียกรสนี้ว่า โสกะรส)
7
รุทรรส/เราทรรส (รสแห่งความโกรธเคือง)
รุทรรส/เราทรรส (รสแห่งความโกรธเคือง) บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้ดูผู้อ่านขัดใจฉุนเฉียว ขัดเคืองบุคคลบางคนในเรื่อง บางทีถึงกับขว้างหนังสือทิ้ง หรือฉีกตอนนั้นก็มี เช่น โกรธขุนช้าง โกรธชูชก (บาลีเรียกรสนี้ว่า โกธะ)
8
วีรรส (รสแห่งความกล้าหาญ)
วีรรส (รสแห่งความกล้าหาญ) บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่าน ผู้ดู ผู้ฟังพอใจผลงานและหน้าที่ ไม่ดูหมิ่นงาน อยากเป็นใหญ่ อยากร่ำรวย อยากมีชื่อเสียง เลียนแบบสมเด็จพระนเรศวร ชอบความมีขัตติมานะของพระมหาอุปราชา จากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย (บาลีเรียกรสนี้ว่า อุตสาหะรส)
9
ภยานกรส (รสแห่งความกลัว ตื่นเต้นตกใจ
ภยานกรส (รสแห่งความกลัว ตื่นเต้นตกใจ บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่านผู้ฟัง ผู้ดู มองเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยในบาปกรรมทุจริต เกิดความสะดุ้ง กลัวโรคภัยสัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจ บางครั้งต้องหยุดอ่าน รู้สึกขนลุกซู่ อ่านเรื่อง ผีต่างๆ (บาลีเรียกรสนี้ว่า อุตสาหะรส)
10
พีภัตสรส (รสแห่งความชัง ความรังเกียจ)
พีภัตสรส (รสแห่งความชัง ความรังเกียจ) บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่านผู้ดู ผู้ฟังชังน้ำหน้าตัวละครบ้างตัว เพราะจิต(ของตัวละคร) บ้าง เพราะความโหดร้ายของตัวละครบ้างเช่น เกลียดนางผีเสื้อสมุทร ในเรื่องพระอภัยมณีที่ฆ่าพ่อเงือก เป็นต้น (บาลีเรียกรสนี้ว่า ชิคุจฉะรส)
11
อัทภูตรส (รสแห่งความพิศวงประหลาดใจ)
อัทภูตรส (รสแห่งความพิศวงประหลาดใจ) บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้นึกแปลกใจ เอะใจ อย่างหนัก ตื่นเต้นนึกไม่ถึงว่าเป็นไปได้เช่นนั้น หรือ อัศจรรย์คาดไม่ถึงในความสามารถ ในความคมคายของคารม ในอุบายหรือในศิลปวิทยาคุณแปลกใจในสุปฏิบัติ (ความประพฤติที่ดีงาม)แห่งขันติ เมตตา กตัญญู อันยากยิ่งที่คนธรรมดาจะทำได้ (รสนี้บาลีเรียก วิมหะยะรส)
12
ศานติรส (รสแห่งความสงบ)
ศานติรส (รสแห่งความสงบ) อันเป็นอุดมคติของเรื่อง เช่น ความสงบสุขในแดนสุขาวดี ในเรื่อง วาสิฏฐี อันเป็นผลมุ่งหมายทางโลกและทางธรรม เป็นผลให้ผู้อ่าน ผู้ดู ผู้ฟัง เกิดความสุขสงบ ในขณะได้เห็นได้ฟัง ตอนนั้น ด้วย (บาลีเรียกรสนี้ว่า สมะรส)
13
อ้างอิง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.