ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
International Environmental Law
กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 4 International Environmnetal Law
2
องค์กรที่มีบทบาทในการดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติ (United Nations) United Nations Environment Program – UNEP โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ Food and Agriculture Organization – FAO องค์การอาหารและการเกษตร International Maritime Organization – IMO องค์การพาณิชยนาวีระหว่างประเทศ International Atomic Energy Agency – IAEA ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ องค์การอื่นๆ เช่น WHO, WTO, World Bank 4 International Environmnetal Law
3
4 International Environmnetal Law
UN Millennium Goals: Sustainable Development: UNEP: FAO: WHO: IAEA: IMO: Basel Convention: Rotterdam Convention: Ramsar Convention: CITES: Convention on Biological Diversity: Cartagena Protocol on Biosafety: Kyoto Protocol: 4 International Environmnetal Law
4
กฎบัตรสหประชาชาติ และ ปฎิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
กฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 55 ด้วยความมุ่งหมายในการสถาปนาภาวการณ์แห่งเสถียรภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจำเป็นสำหรับความสัมพันธ์โดยสันติและโดยฉันทมิตร ระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยมีความเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกันและการกำหนดเจตจำนงของตนเองของประชาชนเป็นมูลฐานสหประชาชาติจะต้องส่งเสริม ก. มาตราฐานการครองชีพที่สูงขึ้น ข. การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม อนามัยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและความร่วมมือระหว่างประเทศทางวัฒนธรรมและการศึกษา และ ค. การเคารพโดยสากล และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพอันเป็นหลักมูลสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ปฎิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงแห่งบุคคล 4 International Environmnetal Law
5
4 International Environmnetal Law
United Nations Environment Program – UNEP โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ตั้งขึ้นจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ที่สต๊อกโฮม 1972 โดยมติของสมัชชาที่ประชุมใหญ่ (General Assembly Resolution)ที่ 2997 UN GA Res. 2997 กฎบัตรของสหประชาชาติ เพื่อคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านทางคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) ปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 4 International Environmnetal Law
6
4 International Environmnetal Law
โครงสร้างของ UNEP คณะมนตรีปกครอง Governing Council (คือตัวแทน 58 รัฐ จากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก โดยเลือกตั้งในสมัชชาที่ประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติ) ทำการประชุมปีละครั้ง และรายงานผลต่อที่ประชุมใหญ่ คณะกรรมการผู้แทนถาวร Committee of Permanent Representatives (คือตัวแทนจากรัฐทั้งหมด 187 รัฐ ประชุมทุก 3 เดือน และรายงานต่อคณะมนตรีปกครอง) คณะกรรมการรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูง High – Level Committee of Ministers and Officials (กรรมการ 36 คนที่รับเลือกจากผู้แทนของรัฐจากภูมิภาคต่างๆ ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเลขาธิการ UNEP) 4 International Environmnetal Law
7
4 International Environmnetal Law
กิจกรรมของ UNEP การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ Climate change ภัยพิบัติและความขัดแย้ง Disasters & Conflicts การจัดการระบบนิเวศ Ecosystem Management การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม Environmental Governance เช่น การเงิน นโยบาย กฎหมาย สารพิษและวัตถุอันตราย Harmful Substances การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ Resource Efficiency 4 International Environmnetal Law
8
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) ปี 1976 องค์การยูเนสโกได้จัดตั้ง "คณะกรรมการมรดกโลก" เพื่อทำหน้าที่ดูแลมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของโลก และจัดตั้ง "กองทุนมรดกโลก" เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 4 International Environmnetal Law
9
4 International Environmnetal Law
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ตามข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ ในปี พ.ศ (ค.ศ. 1987) ประเทศไทยเป็นสมาชิกของยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 ม.ค (ลำดับที่ 49) และให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเมื่อวันที่ 17 ก.ย.2530 และเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกชุดปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งระหว่างปี ภายในเดือนมกราคม 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง "คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก" โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีการดำเนินงานตามแผนการจัดการแหล่งมรดกโลก 4 International Environmnetal Law
10
พิธีสารเกียวโต (Kyoto protocol)
ริเริ่มเมื่อ 1990 เป็นข้อผูกพันทางกฎหมาย (Legal binding) ซึ่งกำหนดพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคีในภาค ผนวกที่ 1 (Annex I) โดยรวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากระดับการปล่อยโดยรวมของกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ในปี พ.ศ (ค.ศ. 1990) ภายในช่วงปี พ.ศ โดยปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และมีการกำหนดชนิดก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ภายใต้พิธีสารฯ 6 ชนิดคือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6) 4 International Environmnetal Law
11
พิธีสารเกียวโต (Kyoto protocol) ต่อ
ไทยลงนามเมื่อ 1997 อย่างไรก็ตามประเทศไทยในฐานะภาคีในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่ม Non-annex I จึงไม่มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ ประเทศไทยได้นำ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ซึ่งเป็นกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโตมาดำเนินงาน โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. ทำหน้าที่เป็น Designated National Authority of Clean Development Mechanism (DNA-CDM) office ทำหน้าที่ วิเคราะห์ กลั่นกรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism (CDM) และให้ความเห็นแก่คณะกรรมการบริหารองค์การก๊าซเรือนกระจก ว่าโครงการต่างๆ ที่ดำเนินงานในประเทศไทย 4 International Environmnetal Law
12
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movement of Hazardous Waste and their Disposal :BASEL) การควบคุมการเคลื่อนย้ายของของเสีย และเครื่องมือหรือกลไกการจัดการของเสียอันตรายให้อยู่ในระดับสากล ประเทศไทยให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 1997 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1998 เป็นต้นมา กรมควบคุมมลพิษ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน (Focal Point) ของอนุสัญญาฯ โดยทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลการรายงานอุบัติเหตุ การแจ้งคำนิยามของเสียอันตรายแห่งชาติ รายงานประจำปี ส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดส่งค่าใช้จ่ายในการเป็นสมาชิกอนุสัญญาฯ 4 International Environmnetal Law
13
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and PesticPIC) ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญารอตเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 หน่วยงานหลัก ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ 1) กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช 2) กรมโรงงานอุตสาหกรรม รับผิดชอบสารเคมีทางอุตสาหกรรม และ 3) กรมควบคุมมลพิษ รับผิดชอบสารเคมีอื่นๆ นอกเหนือจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ และทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางประสาน 4 International Environmnetal Law
14
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมศุลกากร กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมการค้าต่างประเทศ กรมยุโรป การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4 International Environmnetal Law
15
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES) ระบบการควบคุมของไซเตส การค้าสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ จะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต (Permit) หมายความว่า สัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาฯ ควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการส่งออก (export) การส่งกลับออกไป (re-export) การนำเข้า (import) และการนำเข้าจากทะเล (Introduction from the sea) 4 International Environmnetal Law
16
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES) 2 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ (เมื่อประเทศที่ลงนามรับรองอนุสัญญาฯ ได้ให้สัตญาบันครบ 10 ประเทศ) ปัจจุบันอนุสัญญาไซเตสมีประเทศภาคี 169 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549) ประเทศไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมเพื่อยกร่างอนุสัญญาฯ นี้ในปี พ.ศ แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาฯ นี้ในปี พ.ศ และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ นับเป็นภาคีลำดับที่ 78 หน่วยงานประสานกลางของชาติ (National Focal Point) คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 4 International Environmnetal Law
17
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES) 3 พระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ครั้งที่ 13 ในประเทศไทย พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2534 ประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ พ.ศ. 2547 4 International Environmnetal Law
18
4 International Environmnetal Law
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) 1980หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เชื่อมโยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ การจัดตั้งคณะกรรมการการเจรจาระหว่างรัฐบาลด้านกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Negotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change: INC) ในปี พ.ศ และต่อมา INC ได้ยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ขึ้นและได้มีการลงมติรับรองในวันที่ 9 พฤษภาคม 2535 ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นได้เปิดให้มีการลงนามในระหว่างการประชุม Earth Summit ในเดือนมิถุนายน 2535 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งมีประเทศต่างๆ รวม 154 ประเทศได้ร่วมลงนาม และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2537 (ค.ศ. 1994) 4 International Environmnetal Law
19
อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention on Wetlands)
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ (ค.ศ.1971) ที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 และอนุสัญญามีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยในวันที่ 13 กันยายน 2541 ซึ่งการเข้าเป็นภาคีนั้นประเทศสมาชิกต้องเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Wetland of International Importance) 1 แห่ง ซึ่งประเทศไทยได้เสนอพรุควนขี้เสียน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง มีพื้นที่ 3,085 ไร่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 948 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของอนุสัญญาแรมซาร์ 4 International Environmnetal Law
20
4 International Environmnetal Law
ข้อตกลงอนุสัญญาว่าด้วยความหลากลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) อนุสัญญาฯ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ และมีการประชุม The Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity; COP) เพื่อมีการหาข้อยุติในประเด็นขัดแย้งต่างๆ ในอนุสัญญามาแล้ว ถึง 8 ครั้ง โดยครั้งสุดท้าย จัดขื้นที่เมืองคูริติบา ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ มีนาคม 2549 ประเทศไทยได้ลงนามรับรองอนุสัญญา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2535 และได้ให้สัตยาบรรณเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีอนุสัญญา ลำดับที่ 188 จาก 190 ประเทศ (มีนาคม 2550) 4 International Environmnetal Law
21
พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (1989)
สนธิสัญญานี้มุ่งไปที่การจำกัดการใช้กลุ่มสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน-ฮาโลเจนซึ่งพบว่ามีส่วนสำคัญในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยสารทำลายชั้นโอโซนทั้งหมดนี้มีส่วนผสมของคลอรีนหรือโบรมีนประกอบอยู่ด้วย (ในขณะที่สารที่ประกอบด้วยฟลูออรีนเท่านั้นจะไม่ทำลายชั้นโอโซน) สนธิสัญญาได้จำแนกสารทำลายชั้นโอโซนออกเป็นกลุ่มๆ โดยแบ่งเป็นตารางเวลาที่ระบุถึงจำนวนปีที่การผลิตสารเหล่านี้จะต้องยุติลงและหมดสิ้นลงไปในที่สุด 4 International Environmnetal Law
22
4 International Environmnetal Law
พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) เป็นพิธีสารที่เป็นผลสืบเนื่อง มาจากบทบัญญัติของข้อ 19 วรรค 3 และ 4 และข้อ 8 (g) และ 17 ของอนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการคำนึงถึงความตกลงของสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่ II/5 ให้พัฒนาพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเน้นเรื่องการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดน (Transboundary movement) ซึ่งสิ่งมีชีวิตใดๆ ก็ตามที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม (Living modified organisms – LMOs) ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตลอดจนกำหนดกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับความตกลงในการแจ้งล่วงหน้า (Advance Informed Agreement – AIA) 4 International Environmnetal Law
23
4 International Environmnetal Law
ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ริเริ่มเมื่อ 2002 ระหว่างกลุ่มสมาชิกอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลหมอกพิษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4 International Environmnetal Law
24
4 International Environmnetal Law
5 เรื่องที่ต้องอ่าน Agenda 21 Kyoto Protocol Convention on Climate Change CITES Convention on Biological Diversity จบ ☃ 4 International Environmnetal Law
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.